ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai


เรื่องทุกข์ที่มาในอรรถกถา

          ทุกข์ตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎกนั้นมีปรากฏหลายแห่ง แต่โดยสรุปแล้ว  ในความเป็นทุกข์แห่งสังขารเรียกว่า “ทุกฺขตา” และลักษณะที่แห่งทุกขตา พระอรรถกถาจารย์ได้จำแนกทุกข์ไว้ถึงสิบประเภทคือ
        1.  สภาวทุกข์  หรือทุกข์ประจำสังขาร  คือความเกิด ความแก่ และความตาย ตราบใดที่ยังมีสังขารจึงไม่มีทางหนีความเกิด ความแก่ และความตายได้พ้น มีทางเดียวคือกำหนดรู้
        2.  ปกิณณกทุกข์  หรือทุกข์จร  คือ  โสกะ  ปริเทวะ  ทุกขะโทมนัส  อุปายาส  ทุกข์จรเป็นทุกข์ในส่วนเจตสิก เกิดเพราะการพลัดพรากจากอารมณ์อันเป็นที่รัก(ปิยารมณ์)หรือมิได้สมหวัง  ทุกข์เกิดเพราะประจวบด้วยอารมณ์อันไม่เป้นที่รัก (อัปปิยารมณ์) เช่น ความอึดอัด  ขึ้งเคียด เกลียดชัง เป็นเป็นต้นจัดเป็นโสกะ ปริเทวะ  อุปายาส  เข้าในหมวดแห่งทุกข์เกิดเพราะพรากจากปิยารมณ์  ส่วนโทมนัสเข้าในความไม่สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา ทุกข์ประเภทนี้เป็นสิ่งที่เฝ้าระวังไม่ให้เกิดได้
        3.  นิพัทธทุกข์ คือทุกข์เนืองนิตย์ หรือทุกข์เป็นเจ้าเรือนได้แก่  หนาว  ร้อน  หิว   กระหาย  ปวดอุจจาระ  ปวดปัสสาวะ  ทุกข์หมวดนี้ไม่ค่อยมีใครคำนึงถึงนัก  เพราะเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ง่าย  แต่ ถ้าถ้ามีความผิดปกติก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้เดือดร้อน ทุกข์ประเภทนี้ต้องคอยบำบัดวันละหลายรอบ
        4. พยาธิทุกข์หรือทุกขเวทนา  คือโรคภัยต่าง ๆที่เกิดขึ้นทางกายเพราะอวัยวะทำหน้าที่ไม่ปกติ ปัจจุบันการแก้ทุกข์ประเภทนี้จึงทำให้เกิดโรงพยาบาลเกิดขึ้นมากมาย แต่ก็ยังมีโรคใหม่ๆเกิดขึ้นไม่น้อยเหมือนกันมนุษย์หนีเจ็บไม่ได้ หนีตายไม่พ้น
        5.  สันตาปทุกข์  ทุกข์คือความร้อนรุมหรือทุกข์ร้อน  ได้แก่ความกระวนกระวายใจเพราะถูกไฟคือกิเลสราคะ โทสะ  โมหะเผา    เราสามารถป้องกันได้เพียงแต่ไม่ให้กิเลสเหล่านี้มีมากเกินประมาณ

        6. วิปากทุกข์หรือผลกรรม  ได้แก่วิปฏิสารคือความร้อนใจ การเสวยกรรมกรณ์ คือถูกลงอาชญา  ความฉิบหาย  ความตกยาก และความตกอบาย ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสันตาปทุกข์
        7.  สหคตทุกข์ทุกข์ไปด้วยกัน  หรือทุกข์กำกับกัน  ได้แก่ทุกข์มีเนื่องมาจากวิบุลผล  ดังแสดงในธรรมสูตร อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต (23/95/123)ว่า “โลกธรรม 8 ประการนี้ ย่อมหมุนไปตามโลกและโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม 8 ประการ คือลาภ  ความเสื่อมลาภ ยศ  ความเสื่อมยศ  นินทา  สรรเสริญ   สุข  ทุกข์  แต่ธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่แน่นอน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ท่านผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ ทราบธรรมเหล่านั้นแล้ว พิจารณาเห็นว่ามีความแปรปรวนเป็นธรรมดา  ธรรมอันน่าปรารถนา ย่อมย่ำยีจิตของท่านไม่ได้ ท่านย่อมไม่ยินร้ายต่ออนิฏฐารมณ์ ท่านขจัดความยินดีและความยินร้าย  เสียได้จนไม่เหลืออยู่ อนึ่ง ท่านทราบทางนิพพานอันปราศจากธุลี ไม่มีความเศร้าโศก เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพย่อมทราบได้อย่างถูกต้อง
        8.  อาหารปริเยฏฐิทุกข์ คือทุกข์ในการทำมาหากินได้แก่อาชีวทุกข์  คือทุกข์เนื่องด้วยการเลี้ยงชีวิต สัตว์ทั้งหลายย่อมแย่งกันหากิน ดิรัจฉานมีเนื้อเป็นภักษา ย่อมผลาญชีวิตชนิดเล็กกว่าตนเป็นอาหารย่อมสู้กันเองบ้าง  เพราะเหตุแห่งอาหาร  สัตว์มีหญ้าเป็นภักษา  ออกหากิน  ย่อมเสี่ยงต่ออันตราย  ย่อมหวาดเสียวเป็นนิตย์  ต้องคอยหลีกหนีศัตรู  หมู่มนุษย์มีการงานขัดทางแห่งกันและกัน ต่างคิดแข่งขันตัดรอนกัน   ทำร้ายกัน   ผลาญชีวิตกัน    เพราะเหตุแห่งอาชีวะก็มีได้เสวยทุกข์อันเป็นวิบากเนื่องมาจากอาชีวะก็มีเป็นอันมาก  แม้ผู้มีทางหาโดยไม่ต้องประกับผู้อื่น  แทบทุกคนยังรู้สึกว่า  หาได้ไม่พอเพื่อเป็นอยู่สะดวก  คนส่วนมากมักมีความรู้สึกว่าหาได้ไม่พอกิน แม้แต่คนที่รวยมากๆก็ยังรู้สึกว่าตัวเองยังรวยไม่พอ แต่ความจริงคนเรากินพออิ่มท้องในแต่ละวันเท่านั้นเอง
        9.  วิวาทมูลกทุกข์  คือทุกข์มีวิวาทเป็นมูล  ได้แก่ความไม่โปร่งใจ  ความกลัวแพ้  ความหวั่นหวาด  มีเนื่องมาจากทะเลาะกันก็ดี  สู้คดีกันก็ดี  รบกันก็ดี  แสดงในบาลีโดยความเป็นกามาทีนพ ดูเหมือนว่าโลกปัจจุบันเสี่ยงกับการเกิดสงครามก็เพราะความเห็นไม่ตรงกันเลยก่อการวิวาทและนำไปสู่สงครามระหว่างประเทศได้
        10.  ทุกขขันธ์  หรือทุกข์รอบยอด  หมายเอาสังขารคือประชุม ปัญจขันธ์เอง  แสดงในบาลีธัมมจักกัปปวัตตนสูตรว่า  "โดยย่ออุปาทานขันธ์ 5  เป็นทุกข์"  แสดงในบาลีปฏิจจสมุปบาทว่า  "ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั่น  ย่อมมีด้วยอย่างนี้  ทุกข์ขันธ์นี่แหละเป็นยอดของทุกข์ เมื่อเราเกิดมา เราก็ได้ความเจ็บ ความตายมาด้วย ขันธ์ทั้งห้าเราต้องบริหาร คอยดูแลเอาใจใส่ตลอดเวลา

ทุกข์เป็นส่วนหนึ่งของสามัญญลักษณะ
          ทุกข์ที่สำคัญที่สุดคือขันธ์ห้าที่ต้องบริหารดูแลรักษา แต่ขันธ์ก็อยู่ในกฎแห่งสามัญญลักษณะคือไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตาดังที่ปรากฎในสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค อนิจจสูตร (17/39/20)“ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง 
          สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ดังที่ปรากฏในทุกขสูตร (17/40/20) ว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ เวทนาเป็นทุกข์ สัญญาเป็นทุกข์ สังขารเป็นทุกข์ วิญญาณเป็นทุกข์  อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
          สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็นอนัตตาดังที่ปรากฎในอนัตตสูตร(17/40/20) ว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา
          สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็นอนัตตาดังที่ยืนยันไว้ในอนิจจสูตรที่ 2 (17/42/20) ว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้
          เมื่อกำหนดรู้ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้ว พระพุทธองค์ทรงสรุปถึงผลที่ตามมาว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญาแม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก