ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

 

 

5. ยุคการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางอินเทอร์เน็ต
            หลังจากการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางวิทยุและโทรทัศน์ได้รับความนิยมจนกระทั่งมีสถานีวิทยุธรรมะและสถานีโทรทัศน์พระพุทธศาสนา เมื่อเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นเทคโนโลยีที่ร้อนแรงที่สุด สะดวกที่สุด เข้าถึงคนได้มากที่สุดตามการใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศนั้นไทยนั้นมีข้อมูลระบุว่า “ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกๆในทวีปเอเชียที่มีการนำอินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้ อินเทอร์เน็ตเข้าสู่ประเทศไทยประมาณปี พ.ศ. 2530 จากการผลักดันของ ดร.กาญจนา กาญจนสุตแห่งสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ทำให้มีการเริ่มต้นส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ติดต่อกันระหว่างมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลียกับหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต่อมาปลายปี พ.ศ. 2536 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC)ได้เปิด (World Wide Web) หรือ เวิลด์ ไวด์ เว็บ โดยใช้ตัวย่อว่า www เป็นครั้งแรกในประเทศไทยคือ
http://www.nectec.or.th/ ซึ่งทำหน้าที่แนะนำประเทศไทยให้กับทั่วโลกเป็นภาษาอังกฤษภายใต้ชื่อ “Thailand the Big Picture” ในปัจจุบันได้เปลี่ยนหน้าที่มาให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ โดยมีการปรับปรุงรูปแบบให้ทันสมัยและเปลี่ยนมาใช้ภาษาไทยเป็นหลัก (ดร.นพดล อินนา, ไอทีกับการเมืองไทย, กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักท์, 2549, หน้า 117)
            จากนั้นเป็นต้นมาการใช้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet) ในประเทศไทยได้รับความนิยมอย่างสูงและมีความต้องการใช้งานเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน ทั้งปริมาณผู้ใช้และปริมาณอัตราการรับส่งข้อมูลที่มีปริมาณมากขึ้นทุกวัน จนกระทั่งมีรัฐวิสาหกิจได้นำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในเชิงพาณิชย์
            ในยุคแรกๆคณะสงฆ์ไทยยังไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ตในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา แต่มีการนำเอาพระไตรปิฎกบันทึกลงแผ่นซีดีกลายเป็นพระไตรปิฎกฉบับซีดีรอมเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช 2531 มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดทำพระไตรปิฎกฉบับซีดีรอม บันทึกลงในแผ่นซีดี มีบันทึกไว้ว่า“ในช่วงวันวิสาขบูชาปีพุทธศักราช 2531 ศูนย์คอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยมหิดลได้พัฒนาพระไตรปิฎกฉบับดิจิตอล ได้เริ่มโครงการนำเอาพระไตรปิฎกฉบับภาษาลีจำนวน 45 เล่ม พิมพ์ลงแผ่นซีดีรอม และพัฒนาโปรแกรมสืบค้นพระไตรปิฎก จนกระทั่งปีพุทธศักราช 2540 จึงได้จัดทำพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยและยังได้รับการพัฒนามาตามลำดับ ประกอบด้วยพระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นภาษาไทย 45 เล่ม พระไตรปิฎกฉบับบาลีอักษรไทย 45 เล่ม พระไตรปิฎกฉบับบาลีอักษรโรมัน 45 เล่ม อรรถกถาและคัมภีร์อื่น ๆ พระไตรปิฎกฉบับบาลีอักษรไทย 70 เล่ม อรรถกถาและคัมภีร์อื่น ๆ พระไตรปิฎกฉบับบาลีอักษรโรมัน 70 เล่ม และพระไตรปิฎกภาษาเทวนาครีและสิงหล  (
http://www.budsir.org/budsir-main.html
            ปัจจุบันมีการนำเอาพระไตรปิฎกเผยแผ่ทางอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก มีทั้งฉบับภาษาไทย ภาษาบาลี และภาษาอังกฤษเป็นต้น คนรุ่นใหม่สามารถศึกษาพระพุทธศาสนาผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศได้ทุกโอกาสที่ต้องการ โดยผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆ
            ในทางคณะสงฆ์มีหลายองค์กรได้นำเอาหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ข่าวสารขององค์กรและข่าวสารทางศาสนาเผยแผ่ทางอินเทอร์เน็ต ในส่วนขององค์กรนั้นเริ่มต้นที่องค์กรทางด้านการศึกษาคือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยได้สร้างเว็บไซต์ภายใต้โดเมนเนมว่า mbu.ac.th และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้มีเว็บไซต์ภายใต้โดเมนเนมว่า mcu.ac.th โดยระบุตามประวัติของการเกิดเว็บไซต์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยไว้ว่า “การกำเนิดศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เกี่ยวเนื่องด้วยเหตุผลหลายประการ คือ เนื่องด้วยการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2541 เรื่อง ให้ทุกส่วนราชการในระดับกระทรวง ทบวง กรม จัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ และกระแสโลกาภิวัตน์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นกระแสพัฒนาจากทางตะวันตกหลั่งไหลเข้ามา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในระยะแรกของการได้รับพระราชบัญญัติการศึกษา ไม่มีหน่วยงานรองรับงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการดำเนินการโดยอธิการบดีมอบหมายให้บุคลากรรับผิดชอบดำเนินการ ต่อมามูลนิธิน้ำทอง คุณวิศาล ได้มีจิตศรัทธามอบทุนให้มหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่ง อธิการบดีจึงได้อนุมัติให้นำกองทุนดังกล่าวให้ดำเนินการโครงการในระยะเริ่มแรก (1 มกราคม 2541 - 1 กุมภาพันธ์ 2542) โดยจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ พร้อมด้วยครุภัณฑ์สำนักงาน โดยให้ใช้ห้องที่สร้างขึ้นใหม่ โดยใช้ชื่อว่า  “ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศและประมวลผล” แต่เนื่องจากสถานที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาและการปฏิบัติงานไม่สะดวก จึงได้ขออนุมัติย้ายสำนักงานไปตั้งที่ห้องประชุมเล็กชั้นที่1ตึกกวีบรรณาลัย ซึ่งถือเป็นกำเนิดหน่วยงานอย่างแท้จริง เมื่อปี พ.ศ.2543 ใช้เป็นสำนักงานได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (
http://www.ict.mbu.ac.th/th/index.php)
            องค์กรอิสระที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาทางอินเทอร์เน็ตโดยได้เปิดเว็บไซต์ขึ้นมาในยุคแรกๆคือ Dhammathai.org ตามที่ระบุไว้ในประวัติของเว็บไซต์ว่า  “พระพุทธศาสนาได้อยู่คู่ประเทศไทยมาเป็นเวลาหลายร้อยปี อีกทั้งมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต แนวคิด และวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างมาก โดยมีส่วนช่วยจรรโลงให้สังคมอยู่ในความสงบสุขโดยหลักธรรม คำสอน ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บริษัท เรียลเน็ทโซลูชั่น โดย คุณล้วนชาย ว่องวานิช ได้มุ่งเน้นเห็นความสำคัญของธรรมและพระพุทธศาสนา จึงได้จัดทำเว็บไซต์ “ธรรมะไทย” ขึ้นมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2541 เพื่อเป็นศูนย์กลางและสื่อกลางในการเผยแผ่พระธรรมแก่ผู้สนใจทั่วไป ทั้งในประเทศไทยและชาวต่างประเทศที่สนใจในพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ซึ่งเป็นพระพุทธศาสนานิกายหลักของคนไทย โดยได้จัดทำข้อมูลเป็น ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ(
www.dhammathai.org/aboutus/aboutus.php)
            เมื่อมีเว็บไซต์เกิดขึ้นในประเทศไทยจึงทำให้องค์กรทางศาสนา วัด สถาบันองค์กรอิสระต่างๆได้สร้างเว็บไซต์ขึ้นมาเพื่อเป็นช่องทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา วัดที่ใช้ช่องทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางอินเทอร์เน็ตในยุคแรกๆเช่นวัดป่าบ้านตาดจากประวัติของวัดที่ปรากฏทางเว็บไซต์มีข้อความที่ระบุถึงการเกิดขึ้นของเว็บไซต์ประมาณปีพุทธศักราช 2544 ดังข้อความว่า “ที่วัดป่าบ้านตาดปัจจุบัน(ปีพุทธศักราช 2544) ในพรรษามีพระเณรจำพรรษา 49 รูป สามเณร 1 รูป นอกพรรษาจะมีพระภิกษุสามเณรอาคันตุกะ เข้ามาพักศึกษาข้อวัตร ปฏิบัติเพิ่มขึ้นรวมเป็น 50-60 รูปเป็นประจำ สำหรับในยามเช้าก่อนออก บิณฑบาตทั้งพระและเณรต่างช่วยกันขัดถูปัดกวาดศาลาและบริเวณรอบๆ เสร็จแล้วเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ระยะทางไปกลับประมาณสามกิโลเมตร ขากลับแวะรับบาตรที่หน้าวัดอีกครั้งหนึ่ง และในช่วงประมาณบ่ายสามโมงเย็น ท่านก็จะออกมาทำข้อวัตรปัดกวาด เสนาสนะ ขัดถู กุฏิ ศาลา บริเวณวัด ทำความสะอาด ห้องน้ำห้องส้วม อย่างพร้อมเพรียงกัน (
http://www.luangta.com/resume/wat_history.php)
            จากนั้นก็มีวัดและองค์กรทางศาสนาใช้วิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางอินเทอร์เน็ตหลายแห่งโดยผ่านทางเว็บไซต์ จากข้อมูลของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ระบุเว็บไซต์ของวัดต่างไว้คือเว็บไซต์วัดในประเทศไทยมีจำนวน 47 เว็บไซต์  เว็บไซต์วัดไทยในต่างประเทศมีจำนวน 32 เว็บไซต์  เว็บไซต์องค์กรทางศาสนามีจำนวน 21 เว็บไซต์  เว็บไซต์ความรู้ทางศาสนามีจำนวน 29 เว็บไซต์ (
http://www.onab.go.th/
) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1.เว็บไซต์วัดในประเทศไทย
            1.วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ 2.วัดท่าตอน จังหวัดเชียงใหม่ 3.วัดเขาสุกิม จังหวัดจันทบุรี 4.วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 5.วัดศรีชมภูองค์ตื้อ จังหวัดหนองคาย 6.วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ 7.วัดพระบาทน้ำพุ จังหวัดลพบุรี 8.วัดนาคปรก กรุงเทพฯ 9.วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จังหวัดราชบุรี 10.วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี 11.วัดหัวลำโพง กรุงเทพฯ
12.วัดราชาธิวาสวิหาร กรุงเทพฯ 13.วัดบ้านกลับ จังหวัดสิงห์บุรี 14.วัดบุปผาราม กรุงเทพฯ 5.วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี 16.วัดดาวดึงษาราม กรุงเทพฯ 17.วัดนางรอง จังหวัดนครนายก 18.วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ 19.วัดปัญญานันทาราม จังหวัดนนทบุรี 20.วัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ 21.วัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง 22.วัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่) กรุงเทพฯ 23.วัดดอนชะเอม จังหวัดกาญจนบุรี 24.วัดสัมมาชัญญาวาส กรุงเทพฯ 25.วัดน้อยนางหงษ์ จังหวัดสมุทรสาคร 26.วัดนายโรง กรุงเทพฯ 27.วัดสุวรรณบำรุงราชวราราม จังหวัดปทุมธานี 28.วัดโพธิคุณ จังหวัดตาก 29.วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม 30.วัดสังฆทาน จังหวัดนนทบุรี 31.วัดนาป่าพง จังหวัดปทุมธานี 32.วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ 33.วัดทุ่งเซียด จังหวัดสุราษฎร์ธานี 34.วัดบ้านโพธิ์ จังหวัดสุรินทร์ 35.วัดคงคาเลียบ จังหวัดสงขลา 36.วัดบ้านน้อยท่าทอง จังหวัดพิษณุโลก  37.วัดจันทาราม (ท่าซุง) จังหวัดอุทัยธานี 38.วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 39.วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพฯ 40.วัดญาณเวศกวัน จังหวัดนครปฐม 41.วัดป่าภูผาสูง จังหวัดนครราชสีมา 42.วัดสำราญ จังหวัดขอนแก่น 43.วัดโพธิ์ชัย จังหวัดขอนแก่น 44.วัดห้วยทรายใต้ จังหวัดเพชรบุรี 45.วัดป่ามณีกาญจน์ จังหวัดนนทบุรี 46.วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ 47.วัดธรรมนาวา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

2.เว็บไซต์วัดไทยในต่างประเทศ
            1.วัดพรหมคุณาราม ประเทศสหรัฐอเมริกา  2.วัดลาวพุทธวงศ์ ประเทศสหรัฐอเมริกา  3.วัดไทยลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา 4.วัดภูริทัตตวนาราม ประเทศสหรัฐอเมริกา 5.วัดใหม่สามัคคีธรรม ลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา 6.วัดชัยรัตนาราม ประเทศสหรัฐอเมริกา 7.วัดนวมินทรราชูทิศ นครบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา 8.วัดธรรมประทีป ประเทศสหรัฐอเมริกา 9. วัดญาณรังษี ประเทศสหรัฐอเมริกา 10. วัดไทย มินิโซต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา 11. วัดไทยกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.ประเทศสหรัฐอเมริกา 12.วัดพุทธมงคลนิมิต ประเทศสหรัฐอเมริกา 13. วัดสามัคคีธรรมาราม ประเทศสหรัฐอเมริกา 14.วัดป่าสันติธรรม ประเทศสหรัฐอเมริกา
15. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ประเทศสหรัฐอเมริกา 16.วัดพุทธวิปัสสนา ประเทศสหรัฐอเมริกา 17. วัดพุทธดัลลัส ประเทศสหรัฐอเมริกา 18. วัดพุทธประทีป ประเทศสหรัฐอเมริกา 19. วัดพุทธนานาชาติ ออสติน ประเทศสหรัฐอเมริกา 20.วัดพุทธาวาส ประเทศสหรัฐอเมริกา 21. วัดป่าอภัยคีรี ประเทศสหรัฐอเมริกา 22. วัดพุทธมหามุนี (วัดไทยอาร์ลิงตัน) ประเทศสหรัฐอเมริกา 23.วัดพุทธานุสรณ์ ประเทศสหรัฐอเมริกา 24. วัดสุทธาวาส ประเทศสหรัฐอเมริกา 25. วัดไทยในสหรัฐอเมริกา 26. วัดป่าสันติธรรม ประเทศอังกฤษ 27. วัดพุทธปิยวราราม ประเทศเยอรมนี 28.วัดศรีนครินทรวราราม ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ 29.วัดพุทธธรรม ประเทศเยอรมนี 30.วัดศรีรัตนาราม ประเทศอังกฤษ 31.วัดพุทธปทีป ประเทศลอนดอน 32.วัดซัมเตอร์พุทธาราม ประเทศสหรัฐอเมริกา

3. เว็บไซต์องค์กรทางศาสนา
            1.มหาเถรสมาคม 2. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร) 3.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) 4. สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง 5. สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง 6. โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษากลุ่มที่สาม 7.โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษากลุ่มที่หก 8.โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ 9. โรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย 10. ชมรมพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าธนบุรี 11. มูลนิธิดวงแก้ว 12. องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก 13. ศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย 14. ชมรมพระพุทธศาสนา บริษัท เอไอเอ จำกัด 15.  ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ 16. สำนักงานเจ้าคณะตำบลสุขไพบูลย์ 17. สถาบันโยคะวิชาการ 18.โครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน 19. โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา วัดธรรมิการาม 20. สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา 21. หมู่บ้านพลัม

4.เว็บไซต์ความรู้ทางศาสนา
            1.พุทธทาสศึกษา  2. หลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถร  3. บ้านพระดอทคอม  4. ศาลาธรรม 5. budpage.com 6.ธรรมจักร 7. แดนธรรม 8. ธรรมะพุทธองค์ 9. ศึกษาพุทธธรรม 10. คนดีดอทคอม 11. ศาสนา 12. มงคลชีวิต 38 ประการ13. ธรรมะเดลิเวอรี่ 14. กัลยาณมิตร 15.Buddhism Today 16. 84000.org 17. บ้านธัมมะ 18. ชมรมเว็บพระพุทธศาสนา 19. ธรรมะไทย 20. พุทธทาสดอมคอม 21.โรงมหรสพทางวิญญาณ 22. ลานธรรมเสวนา 23. เว็บวัดดอทเน็ท 24. ฟังธรรมดอทคอม 25.มรดกไทย มรดกโลก 26.เว็บธรรมติดใจ 27.โพธิยาลัย 28.หลวงปู่ทิม 29. คุณธรรมดอทคอม
            ยังมีเว็บไซต์ทางศาสนาอื่นๆที่ไม่ได้จัดเข้าในทำเนียบของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งแยกตามประเภทดังนี้ 1.เว็บธรรมะจำนวน 227 เว็บไซต์ 2.ประวัติพระพุทธศาสนาจำนวน 17 เว็บไซต์  3.วันสำคัญทางศาสนาจำนวน 3 เว็บไซต์  4.พระบรมสารีริกธาตุ พระเจดีย์จำนวน 10 เว็บไซต์ 5.พระพุทธรูปจำนวน 22 เว็บไซต์  6.พระพุทธเจ้าจำนวน 13 เว็บไซต์  7.พระสาวกจำนวน 30 เว็บไซต์ 8.พระสงฆ์ไทยจำนวน 32 เว็บไซต์  9.การศึกษาศาสนาจำนวน 43 เว็บไซต์ 10.องค์กร และหน่วยงานศาสนาจำนวน 40 เว็บไซต์ 12.วัด สถานที่ปฏิบัติธรรมจำนวน 392 เว็บไซต์ 13.เว็บประชาสัมพันธ์กิจกรรมจำนวน 36 เว็บไซต์ 14.พระไตรปิฎก จำนวน 13 เว็บไซต์ 15.หนังสือธรรมะจำนวน 9 เว็บไซต์  16.สุภาษิตจำนวน 8 เว็บไซต์ 17. คติธรรม และคำกลอนจำนวน 11 เว็บไซต์ 18.ซีดีธรรมะจำนวน 3 เว็บไซต์  19.เสียงสวดมนต์ mp3 จำนวน 7 เว็บไซต์ 20.นิทาน จำนวน 9 เว็บไซต์ 21.รูปภาพจำนวน 35 เว็บไซต์ 22.บอร์ดสนทนาธรรมจำนวน 9 เว็บไซต์ 24.ศาสนาอื่นๆจำนวน 14 เว็บไซต์ 25.บทสวดมนต์จำนวน 11 เว็บไซต์  26.เสียงแสดงธรรม mp3 จำนวน 21 เว็บไซต์  27.ศาสนพิธีจำนวน 8 เว็บไซต์ 29.เว็บศาสนาพุทธ(อังกฤษ)จำนวน 12 เว็บไซต์  30.คำศัพท์จำนวน 6 เว็บไซต์ 31.เว็บทั่วไปจำนวน 45 เว็บไซต์ (
http://www.dhammajak.net/directory)
            เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับพระสงฆ์ไทยที่นำเสนอประวัติ ผลงาน ธรรมะของแต่ละรูปยังมีอีกหลายเว็บไซต์ ตามข้อมูลระบุไว้ดังต่อไปนี้ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์(ธรรมจักร)รวบรวมประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์ต่างๆจากทั่วประเทศ นำเสนอที่เว็บไซต์
http://www.dhammajak.net/monk/index.php  
            หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ประวัติปฏิปทาของหลวงปู่มั่น (ภูริทตฺตมหาเถร) สถานที่ที่เกี่ยวข้อง สถานที่จำพรรษา ครูบาอาจารย์ ธรรมคำสอน เมตตาธรรม 5 พรรษาสุดท้าย ณ วัดป่าบ้านหนองผือ เคลื่อนขบวนสู่ความจริง ประวัติวัดป่าบ้านหนองผือ บทความจากหนังสือ “บูรพาจารย์”    หนังสือสื่ออ้างอิง ข่าวพระกรรมฐาน ชื่อเว็บไซต์
http://www.luangpumun.org/ 
            พระพุทธทาสภิกขุ รวบรวมชีวประวัติและผลงานต่างๆ ของพระพุทธทาสภิกขุ สวนโมกขพลาราม (วัดธารน้ำไหล) อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมทั้ง รวมบทความ รูปภาพ และวาทะพุทธทาสเป็นต้น ชื่อเว็บไซต์
http://www.buddhadasa.org/  
  พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ) รวบรวมประวัติของหลวงพ่อจรัญ และประวัติวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี รวบรวมข่าวสารกิจกรรม วันสำคัญทางศาสนา ข้อมูลหลักการปฎิบัติธรรม และฝึกวิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้น คติธรรม คำสอนจากหลวงพ่อจรัญ ชื่อเว็บไซต์
http://www.jarun.org/  
            หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน รวบรวมประวัติและพระธรรมเทศนาของหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน รวมทั้ง ประวัติความเป็นมาของวัดป่าบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ตลอดจน โครงการช่วยชาติ ฟังเทศน์ถ่ายทอดสด ฟังวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน FM 103.25 ออนไลน์ ห้องสมุดธรรมะ/วิชาการ กระดานสนทนาธรรม หนังสือธรรมะ และประมวลภาพงานต่างๆ ชื่อเว็บไซต์
http://www.luangta.com/   
            พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ชีวประวัติพระธรรมปิฎก (ประยุตต์ ปยุตฺโต) วัดญาณเวศกวัน ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพรานจังหวัดนครปฐมปัจจุบันได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ที่พระพรหมคุณาภรณ์ ชื่อเว็บไซต์
http://oldwww.mcu.ac.th/dhamapitaka/  
            หลวงพ่อพุธ ฐานิโย รวบรวมประวัติและหลักธรรมของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย อัลบั้มภาพ หนังสือธรรมะ เทปธรรมะ รวมทั้ง ประวัติของวัดป่าสาลวัน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ตลอดจนงานพระราชทานเพลิงศพของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ชื่อเว็บไซต์
http://www.geocities.com/thaniyo/
            หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ประวัติหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล บูรพาจารย์ด้านวิปัสสนากรรมฐาน เป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หลักธรรม พระเจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่เสาร์ ชื่อเว็บไซต์ http://www.geocities.com/bhuthaphum/
 
            หลวงพ่อเกษม เขมโก รวบรวมประวัติและคำสอนของหลวงพ่อเกษม เขมโก แห่งสุสานไตรลักษณ์ (ประตูม้า) อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง รวมทั้งสถานที่ปฏิบัติธรรมและรวมภาพอิริยาบทต่างๆของหลวงพ่อเกษม

ชื่อเว็บไซต์ http://www.geocities.com/kasam_kam/
            ประวัติพระอริยสงฆ์ รวบรวมประวัติพระอริยสงฆ์เช่น หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม หลวงปู่ดุลย์ อตุโล หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ และหลวงปู่สิม พุทธาจาโรเป็นต้น

ชื่อเว็บไซต์ http://www.manager.co.th/Dhamma/    

 

            หลวงพ่อชา สุภัทโท หนังสือ “ใต้ร่มโพธิญาณ พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)” ได้รวบรวมชีวประวัติของหลวงพ่อชา สุภทฺโทแห่งวัดหนองป่าพงตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ชื่อเว็บไซต์ http://www.isangate.com/dhamma/prawat.htm 
            หลวงปู่ทิม อตฺตสนฺโต รวบรวมชีวประวัติและพระธรรมเทศนาของหลวงปู่ทิม อตฺตสนฺโต รวมทั้ง ประวัติของวัดพระขาว ตำบลพระขาว อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตลอดจน แผนที่การเดินทางไปวัด รวมรูปภาพของหลวงปู่ทิม กระดานสนทนาธรรม และวัตถุมงคล ชื่อเว็บไซต์
http://www.luangputim.com/
   
            ประวัติสมเด็จพระสังฆราช (กรุงรัตนโกสินทร์) รวบรวมพระประวัติความเป็นมาของสมเด็จพระสังฆราชไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งหมด 19 พระองค์

ชื่อเว็บไซต์ http://www.dhammathai.org/thailand/sangkharaja.php 
            หลวงปู่หงษ์ พรหฺมปญโญ รวบรวมอัตชีวประวัติของหลวงปู่หงษ์ พรหฺมปญฺโญ (พระครูปราสาทพรหมคุณ) แห่งสุสานทุ่งมน (วัดเพชรบุรี) ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ รวมทั้ง รวบรวมงานบุญตามรอยหลวงปู่ บอร์ดสนทนาธรรม วัตถุมงคล และกองทุนปลูกป่าเป็นต้น  ชื่อเว็บไซต์
http://www.luangpuhong.com/  
             หลวงพ่อถาวร จิตฺตถาวโร ประวัติและผลงาน 9 ภาษา ของพระราชพิพัฒนาทร (หลวงพ่อถาวร จิตฺตถาวโร) วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร รับฟังเสียงพระธรรมเทศนา กว่า 200 กัณฑ์เทศน์ ข่าวประชาสัมพันธ์ ชมภาพพระบรมสารีริกธาตุ และภาพในงานพิธีต่างๆ ชื่อเว็บไซต์
http://www.thavorn.org/

            หลวงปู่ดูลย์ อตุโล รวบรวมประวัติและปฏิปทาของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ รวมทั้งพระธรรมเทศนาและคำสอน รวมรูปภาพของหลวงปู่ดูลย์ และแนะนำสถานที่ทำบุญฟังธรรม

ชื่อเว็บไซต์ http://pudule.wimutti.net/  
            หลวงปู่จันทา ถาวโร รวบรวมชีวประวัติของหลวงปู่จันทา ถาวโร วัดป่าเขาน้อย ตำบลวังทรายพูน อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร โดยคัดลอกมาจาก หนังสือ 80 ปี หลวงปู่จันทา ถาวโร ชื่อเว็บไซต์
http://www.geocities.com/janthathavaro/ 
            ประวัติพระบุญนาคเที่ยวกรรมฐาน ประวัติพระบุญนาคเที่ยวกรรมฐาน คัดลอกมาจากหนังสือ “เที่ยวกรรมฐาน” ซึ่งเป็นหนังสือที่ได้รวบรวมอัตตชีวประวัติของพระบุญนาค โฆโส ชื่อเว็บไซต์
http://www.dharma-gateway.com/monk/pra-boonnak-00.htm    
            หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี รวบรวมอัตตโนประวัติของหลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี แห่งวัดหินหมากเป้ง บ้านไทยเจริญ หมู่ 4 ตำบลพระพุทธบาท อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ชื่อเว็บไซต์
http://www.thewayofdhamma.org/page1.html 
            หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ รวบรวมประวัติและพระธรรมะเทศนาของพระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ) วัดอรัญบรรพต ตำบลบ้านหม้อ อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย รวมทั้ง พระสุธรรมเจดีย์ และรวมภาพหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ ตลอดจนขอเชิญรับฟังพระธรรมเทศนาหลวงปู่เหรียญเป็นต้น ชื่อเว็บไซต์
http://www.relicsofbuddha.com/worralapo/ 
            สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก รวบรวมพระประวัติของสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก รวมทั้ง พระศาสนกิจในประเทศและต่างประเทศ รูปนิทรรศการ งานฉลองพระชนมายุ 90 พรรษา ปกิณณกะ และเบ็ดเตล็ด ชื่อเว็บไซต์
http://www.sangharaja.org/  
            หลวงพ่อชม อนํคโณ รวบรวมประวัติของหลวงพ่อชม อนํคโณ แห่งวัดเขานันทาพาสุภาพ (วัดทุ่งยาว) ตำบลโพธิ์งาม อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี รวมทั้ง รวบรวมพระธรรมเทศนา บรรยายโดยหลวงพ่อชม ตลอดจนแผนที่การเดินทางไปวัด และนานาสาระ ชื่อเว็บไซต์
http://www.luangpochom.com/ 
            พุทธบุตร ธรรมะคำสอนและประวัติของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) กรรมฐาน40  สนทนาธรรม รวมคำสอน ประสบการณ์เจอผี หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม พระโพธิสัตว์ คำสอนพระสุปฏิปันโน ข่าวงานบุญ กำหนดการธัมมวิโมกข์ และนานาสาระต่างๆ อีกมากมาย ชื่อเว็บไซต์
http://www.geocities.com/buddha_family
  
            พระอาจารย์สำเภา สนฺติญาณโก รวบรวมประวัติของพระอาจารย์สำเภา สนฺติญาณโก วัดประจันตคามเสมาราม (ใยพิมล) ตำบลโพธิ์งาม อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี รวมทั้ง รวบรวมหลักธรรมคำสั่งสอนของพระอาจารย์สำเภา เช่น ธรรมะสายทางนรก ธรรมะสายทางสวรรค์ ธรรมะสายทางมนุษย์ ธรรมะสายทางพระนิพพาน (ธรรมพิสดาร)

ชื่อเว็บไซต์ http://www.geocities.com/santiyango/ 
            หลวงพ่อวิชัย เขมิโย รวบรวมประวัติและคำสอนของหลวงพ่อวิชัย เขมิโย รวมทั้ง ประวัติของวัดถ้ำผาจม ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ตลอดจนศาสนสถานภายในวัด กิจกรรมงานบุญกุศลของวัด และประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆของวัดเป็นต้น ชื่อเว็บไซต์
http://www.freewebs.com/prawichai/  
            คณะสงฆ์อำเภอเมืองนครพนม ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร และงานการคณะสงฆ์อำเภอเมืองนครพนมให้มีประสิทธิภาพ และรวบรวมข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับการคณะสงฆ์ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานคณะสงฆ์ นำเสนอทางเว็บไซต์
http://www.muangnakhon.com/

            นอกจากเว็บไซต์ที่นำเสนอประวัติและผลงานของพระสงฆ์ไทยบางรูปแล้ว ยังมีสถานที่ปฏิบัติธรรม ศาสนสถาน ศาสนพิธี พุทธศาสนสุภาษิต นิทานธรรมะ การ์ตูนธรรมะ พระไตรปิฎก วันสำคัญทางศาสนาหรือเว็บไซต์ส่วนบุคคลอื่นๆอีก
            เว็บไซต์ทางพระพุทธศาสนาเหล่านี้เกิดขึ้นในยุคแรกประมาณปีพุทธศักราช 2541 จนถึงปีพุทธศักราช 2549 ที่เริ่มทำการรวบรวมในการเขียนครั้ง มีจำนวนไม่คงที่บางปีมีปริมาณมาก บางปีมีน้อย เนื่องจากบางเว็บไซต์เปิดแล้วก็ปิด จำนวนเว็บไซต์ที่แน่นอนจึงไม่อาจจะกำหนดปริมาณที่คงที่ได้ รูปแบบในการนำเสนอของแต่ละเว็บไซต์ก็มีความหลากหลาย วิธีการนำเสนอก็มีความแตกต่างกัน ประสิทธิผลเบื้องต้นสำรวจจากจำนวนคนที่เข้ามาดูเว็บไซต์ก็มีปริมาณที่แตกต่างกัน
            การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากอดีตถึงปัจจุบันได้รับการพัฒนาให้ทันกับยุคสมัย จากยุคแรกที่ใช้วิธีมุขปาฐะ ต่อมาใช้วิธีจารึกลงบนผนังถ้ำ จารึกลงใบลาน พิมพ์เป็นหนังสือ เผยแผ่ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและทางสถานีโทรทัศน์ และพอมาถึงปัจจุบันก็มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตผ่านทางเว็บไซต์โดยวัดองค์กรและสถาบันสงฆ์ได้เปิดเว็บไซต์ในนามของวัดหรือองค์กร นอกจากนั้นยังมีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านทางเครือข่ายทางสังคมอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก พระพุทธศาสนาดำรงอยู่ในโลกที่กำลังพัฒนาด้านวัตถุให้เจริญก้าว จนกำลังจะกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า “โลกกว้างแต่จิตใจคนแคบลง” ในอนาคตยังคาดคะเนไม่ได้ว่า การเผยแผ่พระพุทธศาสนานั้นจะเป็นไปในลักษณะใด ในช่วงนี้พระพุทธศาสนาได้ปรากฎบนโลกไซเบอร์มาหลายปีแล้ว

 

 

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
09/11/55

 

 

บรรณานุกรม

 

กรมการศาสนา.พระไตรปิฏกภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ.กรุงเทพ ฯ:กรมการศาสนา,2525.
กรมการศาสนา.พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับหลวง.กรุงเทพ ฯ:กรมการศาสนา,2514.
กรมการศาสนา.พระไตรปิฏกภาษาไทยพร้อมอรรถกถา.กรุงเทพฯ:มหามกุฏราชวิทยาลัย,2525.

ก่องแก้ว วีระประจักษ์, จารึกลานทองสมเด็จพระมหาเถรจุพามณี, กรุงเทพมหานคร : ศิลปากร,2526.
ณัฐนันท์ ประกายสันติสุข, ประสิทธิผลของการสื่อสารในการเผยแผ่ธรรมะ:หลักสูตรการพัฒนาจิต ให้เกิดปัญญาและสันติ
สุข,

             กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์, 2542.
นพดล อินนา,ดร, ไอทีกับการเมืองไทย, กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักท์, 2549.
ปนัดดา นพพนาวัน, “การศึกษากระบวนการสื่อสารเพื่อเผยแพร่ธรรมะของสถาบันสงฆ์”,
            วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533.
พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ, วิพากษ์แนวคิดพระพุทธศาสนาสำหรับโลกหลังยุคใหม่,
            กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2547.
พระนันทปัญญาจารย์, จูฬคันถวงศ์, กรุงเทพมหานคร : ธนาเพรสแอนด์กราฟฟิค, 2546.
ลิขิต ลิขิตานนท์, ยุคทองแห่งวรรณกรรมพระพุทธศาสนาในล้านนาไทย : ล้านนาไทย,
            อนุสรณ์พระราชพิธีเปิดพระบรมราชานุสรณ์สามกษัตริย์,เชียงใหม่ : ทิพย์เนตรการพิมพ์, 2523.
สมเกียรติ เรืองอนันต์เลิศ, “การเปิดรับธรรมะในยุคโลกาภิวัตน์”, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,
            บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2539.
สานิตย์  กายาผาด, เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต, กรุงเทพมหานคร : เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น, 2542.
สุภาพรรณ ณ บางช้าง, วิวัฒนาการงานเขียนภาษาบาลีในประเทศไทย : จารึก ตำนาน พงศาวดาร สาส์น  
            ประกาศ, กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2529.
สุชีพ  ปุญญานุภาพ, พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน, พิมพ์ครั้งที่ 16,กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏ ราชวิทยาลัย, 2539.

 

เว็บไซต์
กองกิจการนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้, “ยุคทองแห่งพระพุทธศาสนาในล้านนา”,                
            16 กุมภาพันธ์ 2551,<
http://lanna.mju.ac.th/lannareligion_detail.php?recordID=5> (16 February 2008)

เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี, “ศิลาจารึกเนินสระบัว”,
            17 มีนาคม 2551,<
http://www.prachinburi-museum.go.th/inscript/> (17 March 2508)
ดำรงค์ สมฤทธิ์ , “เว็บไซต์ธรรมะไทย”, (14 มกราคม 2550) 
            <
http://www.dhammathai.org/aboutus/aboutus.php
> (14 January 2007)
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เครือข่ายกาญนาภิเษก, “คัมภีร์ใบลาน”, 28 มีนาคม 2549,

             <http://kanchanapisek.or.th/kp8/cem/cem603.html>(28 March 2006)
เว็บมาสเตอร์วัดยานนาวา, “ประวัติการก่อตั้งสถานีโทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย วัดยานนาวา”,

            30 กรกฎาคม 2552, <www.watyan.tv/resume> (30 July 2009)
ศูนย์คอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยมหิดล, “พระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์บนอินเทอร์เน็ต” 14 มกราคม 2550,

              <http://www.budsir.org/budsir-main.html>  (14 January 2007)
เว็บมาสเตอร์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, “กำเนิดศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย”,

             14 มกราคม 2550,  <http://www.ict.mbu.ac.th/th/index.php> (14 January 2007)
เว็บมาสเตอร์หลวงตาดอทคอม, “ประวัติวัดป่าบ้านตาด” ,14 มกราคม 2550,
            <
http://www.luangta.com/resume/wat_history.php
> (12 January 2007)
เว็บมาสเตอร์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, “เว็บวัดในประเทศไทย” ,14 มกราคม 2550,

            < http://www.onab.go.th/> (12 January 2007)
เว็บมาสเตอร์ธรรมจักรดอทเน็ต, “รวมเว็บพระพุทธศาสนา”, 15 มกราคม 2550,
            <
http://www.dhammajak.net/directory
> (15 January 2007)

 

 

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก