ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

        ในอดีตวรรณกรรมที่มีคุณค่าทางพระพุทธศาสนามักจะเก็บรักษาไว้ในวัด เมื่อวัดถูกทำลายด้วยลัทธิป่าเถื่อนนอกศาสนา และเมื่อพระพุทธศาสนาเสื่อมสลายลง วรรณกรรมพระพุทธศาสนาก็หายสาบสูญไปด้วย เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน วรรณกรรมพระพุทธศาสนามักจะเป็นภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ซึ่งนำมาจากศรีลังกา, พม่า,เนปาลและทิเบต ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีเยี่ยมและด้วยความเคารพนับถือในฐานะของธรรมเจดีย์อย่างหนึ่ง แต่การศึกษาค้นคว้าพระพุทธศาสนานั้นมีคัมภีร์และวรรณกรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาสมัยใหม่มากมาย จากหนังสือพระพุทธศาสนาในอินเดียยุคใหม่ได้รวบรวมไว้ดังต่อไปนี้


        การค้นคว้าวิจัยของนักปราชญ์ชาวตะวันตก โดยเฉพาะผลงานในยุคแรกๆของเซอร์วิลเลี่ยม โจนส์ (พ.ศ. 2289-2337) และเซอร์ เอ. คันนิ่งแฮม(พ.ศ. 2357-2436) ผู้ที่ขุดค้นเอาสิ่งที่มีคุณค่าอันประมาณมิได้ของพระพุทธศาสนาขึ้นมา และนำไปสู่การตื่นตัวในหมู่นักปราชญ์อินเดีย นักวิชาการอินเดียในยุคเริ่มต้นคือราเชนทรา ลาล มิตรา(พ.ศ. 2367-2434) ผลงานที่สำคัญชิ้นหนึ่งคือ “พุทธคยา” สถานศักดิ์สิทธิ์ของนักปราชญ์ศากยะ (พ.ศ.2420),วรรณกรรมพระพุทธศาสนาภาษาสันสกฤตแห่งเนปาล(พ.ศ. 2425)และลลิตาวิสตาร(พ.ศ. 2430) ได้ปลุกเร้าในเกิดความสนใจในการศึกษาพระพุทธศาสนา อีกสองท่านในยุคบุกเบิกคือ หาร ประสาท ศาสตรีและสรัต จันทรา ดัส ทั้งสองท่านเป็นนักอรรถกถาจารย์หนุ่มในงานของราเชนทรา ลาล มิตรา ในขณะที่ เอช.พี. ศาสตรีให้ความสนใจในวรรณกรรมพุทธศาสนาภาษาสันสกฤต สรัส จันทรา ดัส เชี่ยวชาญพิเศษในด้านทิเบตศึกษา  ผลงานของท่านคือ “บัณฑิตอินเดียในแผ่นดินแห่งหิมะ” เขียนขึ้นครั้งแรกภายหลังที่เดินทางท่องเที่ยวในทิเบตได้เปิดมุมมองใหม่สำหรับนักวิชาการ ในปีพุทธศักราช 2435 เอส.ซี.ดัส,เอช.พี ศาสตรีและอีกหลายท่านได้ก่อตั้งสมาคมตำราทางพระพุทธศาสนาขึ้นที่กัลกัตตา ภายใต้เครื่องป้องกันคือสมาคมนี้ ตำราพระพุทธศาสนาส่วนหนึ่งที่ยังไม่มีใครเคยรู้จักก็ได้รับการพิมพ์เผยแพร่ งานที่สำคัญๆ เช่น: พุทธจรรยาวตารและวิสุทธิมรรค(ภาษาสันสกฤต,พิมพ์ครั้งแรกมีเพียง 2-3 บทเท่านั้น) โดยสรัส จันทรา ทัส, สวยัมภู-ปุรานะและอัสตะ-สหศรีกะ-ปรัชญา-ปารามิตา โดยหาร ประสาท ศาสตรี,และงานแปลมัธยมิกะ-วฤตติ ของจันทรเกียรติ (บางส่วน) โดยหริโมหัน วิทยาภูสาน
        นักวิชาการทางด้านภาษาบาลีคนแรกที่มีชื่อเสียงในอินเดียคือสาติสห์ จันทรา วิทยาภูสาน เป็นอินเดียคนแรกที่ได้รับปริญญาโทด้านภาษาบาลีจากมหาวิทยาลัยกัลกัตตาในปีพุทธศักราช 2444 ที่ได้เปิดภาควิชาพุทธศาสตร์ ที่ได้เป็นตัวอย่างในการสร้างสมาคมตำราพุทธศาสนาขึ้น และมหาโพธิสมาคม ดร. วิทยาภูสานมุ่งความสนใจไปที่พุทธตรรกวิทยาและปรัชญา ผลงานของท่านรวมถึงหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีของกัจจายนะโดยแปลเป็นภาษาอังกฤษ(พ.ศ.2450),พุทธ-สโตตระ-สันครหะ(พ.ศ.2451),นยายพินทุ (พ.ศ. 2460)และประวัติศาสตร์ที่สำคัญของตรรกวิทยาอินเดีย (พ.ศ. 2465) ความสนใจเป็นพิเศษของวิทยาภูสานในเรื่องเกี่ยวกับตรรกวิทยาและปรัชญาได้ทำให้เกิดการย้อนกลับมาศึกษาค้นคว้าวิจัยในพระพุทธศาสนา
        ดร. เบนี มธับ บารัว(พ.ศ. 2431-2491) เป็นนักวิชาการชาวอินเดียที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่ง ผู้ที่ส่งเสริมให้เกิดการศึกษาพุทธปรัชญา ผลงานชิ้นแรกของท่านคือ ประวัติศาสตร์ยุคก่อนพุทธปรัชญา ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ยุคก่อนพระพุทธศาสนาทำให้มองเห็นได้ชัดเจน ส่วนงานเขียนอื่นๆคืออาชีวิกและปรากฤตธัมมบท ดร.บารัวยังได้เขียนงานทางพระพุทธศาสนาที่ทรงคุณค่าอีกมากในด้านคำจารึกและประวัติศาสตร์ ดร. บี.ซี. ลอว์ เพื่อนร่วมงานที่ทรงคุณค่าของ ดร. บารัว มีผลงานที่น่าเชื่อถือมากกว่า 50 ชุด ผลงานของท่านในเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาคือประวัติวรรณคดีบาลี 2 ชุด,พุทธโกศะ, การศึกษามหาวัสตุ,สตรีในวรรณกรรมพระพุทธศาสนา,ความคิดของพระพุทธศาสนา,และแปลพุทธวังศ์,จริยาปิฎก,กถาวัสถุ เป็นต้น
        นักวิชาการที่มีชื่อเสียงที่ประสบความสำเร็จอีกท่านหนึ่งคือศาสตราจารย์ บารัวเป็นหัวหน้าภาควิชาภาษาบาลีที่มหาวิทยาลัยกัลกัตตาและรุ่มรวยในการศึกษาภาษาบาลีคือ ดร. นาลินักสะ ทุตต์  ความเชื่อถือในการค้นหางานชุดที่ยิ่งใหญ่ของต้นฉบับคิลกิต และจัดพิมพ์ในชุดเดียวกัน 8 ชุด ผลงานที่มีคุณค่ามากที่สุดของท่านคือ “คุณลักษณะของพุทธศาสนามหายานและความสัมพันธ์กับหินยาน (พ.ศ. 2473) และวัดในพระพุทธศาสนายุคแรก  พิมพ์ 2 ชุด (พ.ศ. 2484-2488)  งานที่จัดพิมพ์ครั้งล่าสุดคือ “พุทธนิกายในอินเดีย” นับเป็นงานบันทึกที่ทรงคุณค่าด้วย ดร. นาลินักสะ ทุตต์ (พ.ศ. 2436-2516) ยังเป็นประธานกรรมการบริหารด้านการศึกษาของมหาโพธิสมาคมและวารสารมหาโพธิสมาคมแห่งอินเดียอีกด้วย
        นักวิชาการชาวอินเดียท่านแรกที่แนะนำภาษาบาลีในตัวอักษรเทวนาครีคือศาสตราจารย์ ธัมมนันทะ โกสัมพี(พ.ศ. 2419-2490) ในปีพุทธศักราช 2445 ท่านได้เดินทางไปที่ศรีลังกาอุปสมบทและศึกษาภาษาบาลีที่วิทโยทัยวิทยาลัยภายใต้การดูแลของพระหิกกาทุเว ศรี สุมังคล มหานายกเถระ จากปีพุทธศักราช 2455-2461 ท่านได้รับราชการเป็นอาจารย์สอนภาษาบาลีในเฟอร์กูสันวิทยาลัย ปูณา  ซึ่งเป็นพื้นฐานในการศึกษาภาษาบาลีในอินเดียตะวันตก พระธัมมนันทะ โกสัมพี ยังได้เขียนตำราทางพุทธศาสนาด้วยภาษามารธีและคูจราตีเป็นจำนวนมาก ผลงานที่ยิ่งใหญ่ของท่านคือการเป็นบรรณาธิการจัดพิมพ์วิสุทธมรรคเป็นภาษาเทวนาครีในปีพุทธศักราช 2483
        ศาสตราจารย์ เอ็น.เค. ภัควัต(พ.ศ. 2430-2505) ลูกศิษย์ที่มีคุณค่าของธัมมนันทะ โกสัมพี เป็นนักวิชาการด้านภาษาบาลีที่มีลักษณะพิเศษท่านหนึ่ง ได้จัดพิมพ์ตำราภาษาบาลีด้วยตัวอักษรภาษาเทวนาครี และจัดพิมพ์งานในลักษณะเดียวกันเพื่อประโยชน์ของมหาวิทยยาลัยบอมเบย์ งานที่สำคัญในชุดนี้คือนิทานกถา(ชาดก),มหาวังศะ, ทีฆนิกาย(ชุดที่ 1,2),มัชฌิมนิกาย เถรคาถา,เถรีคาถาและมหาวัคค์ 2 ชุด ศาสตราจารย์ภัควัต ยังได้แปลธัมมบท,ขุททกปทาและชาดกอีกจำนวนหนึ่ง
        ย้อนกลับมาที่ภาษาอินเดียยุคใหม่ เราพบว่าเริ่มต้นด้วยคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่แปลความโดยนักปราชญ์ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือมวลชนอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม ก็มาจากวรรณกรรมที่เขียนในภาษาสมัยใหม่ที่เรียบง่ายและชาญฉลาด ผู้บุกเบิกในงานด้านนี้คือมหาบัณฑิตราหุล กฤตยยัน(พ.ศ. 2436-2506)พระเถระผู้ชาญฉลาดและผู้สร้างสรรค์วรรณกรรมพระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียง (เขียนตำราและจุลสารประมาณ 175 เล่ม) ในภาษาฮินดีอันเป็นภาษาประจำชาติของอินเดีย
        ราหุล สันกฤตยยันเป็นนักเขียนที่มีผลงานมาก นอกจากวรรณกรรมพุทธศาสนาแล้ว ยังมีผลงานที่เป็นตำราและกึ่งวิชาการ ท่านได้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์,วิทยาศาสตร์และปรัชญา,บันทึกการท่องเที่ยวและประวัติบุคคล เป็นต้น ท่านยังเป็นนักสำรวจผู้ยิ่งใหญ่อีกด้วย เคยเดินทางตามเส้นทางทุรกันดารไปยังทิเบตสามครั้ง และได้นำเอาต้นฉบับลายมือเขียนภาษาทิเบตที่ทรงคุณค่าหลายชุดกลับมาด้วย ผลงานบางชิ้นท่านยังเป็นบรรณาธิการจัดพิมพ์ ท่านราหุล สันกฤตยยันได้ก่อตั้งสถาบันหลายแห่ง ที่เป็นสถานที่ในการให้บริการสำหรับงานด้านวรรณคดี ยังเคยได้รับรางวัลปัทมภูสานจากรัฐบาลอินเดียอีกด้วย
        ในหมู่นักวิชาการพุทธศาสนา นักวิชาการที่มีชื่อเสียงเด่น ๆ  คือพระภทันต์ อนันท์ เกาสัลยยันและพระดร. ธัมมรักษิตะ ร่วมกันเขียนตำราไว้ 12 เล่ม(รวมถึงที่แปลเป็นภาษาบาลี) ด้วยความน่าเชื่อถือ มีงานที่เขียนเป็นภาษาบาลีและภาษาฮินดี ทั้งสองท่านได้รับปริญญาเอกแห่งวิทยาวาริธี(ดอกเตอร์ทางวรรณคดี) โดยมหาวิทยาลัยปัตนะ, นวนาลันทามหาวิหาร นาลันทา นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาที่เด่นๆคนอื่นๆคือพระ นันทพรรษา มหาสถวีระ ท่านได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่มในภาษาอัสสัม
        วรรณกรรมที่เป็นตำราและกึ่งตำราที่แต่งโดยนักปราชญ์และนักวิชาการต่างๆเพื่อปลุกให้ขบวนการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้ตื่นขึ้นมามีผลกระทบต่อนักเขียนชาวอินเดีย  ในท่ามกลางวรรณกรรมจำนวนมากที่เขียนบนเรื่องราวของพระพุทธศาสนา นักเขียนที่เด่นๆคือ คุรุเทพ ระพินทรนารถ ฐากูร รัฐกวีแห่งอินเดียผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบล อาจารย์ จตุรเศียร ศาสตรีและยัสหปาล นักเขียนภาษาฮินดีชั้นยอดสองท่าน และกุมารัน อัสสัน กวีชาวมาลายลัมสมัยใหม่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง
        พระพุทธเจ้าไม่ใช้ภาษาสันสกฤต ที่เป็นภาษาที่คนส่วนน้อยศึกษา และได้ใช้ภาษาพูดของประชาชน เพื่อเผยแผ่คำสอนของพระองค์สู่มหาชนโดยตรง  ภาษานี้ต่อมาได้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารสำหรับชาวพุทธในอินเดียนั่นคือภาษาบาลี เป็นภาษาที่ใช้เขียนพระติปิฎก(สันสกฤตเป็นไตรปิฎก) เป็นภาษาหนึ่งที่กลับมามีชีวิตอีกครั้งในอินเดีย ภาษาบาลีคือภาษาปรากฤตเก่าและปัจจุบันเขียนด้วยอักษรเทวนาครี การศึกษาภาษาบาลีได้มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับขบวนการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยกัลกัตตาเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่แยกเป็นภาควิชาภาษาบาลี ปริญญามหาบัณฑิตทางภาษาบาลี  เปิดขึ้นครั้งในปีพุทธศักราช 2444      มหาวิทยาลัย
        บอมเบย์เป็นมหาวิทยาลัยต่อมาที่เปิดสอนด้านการศึกษาภาษาบาลี  วิทยาลัยเฟอร์กูสัน ปูณา ที่พระธัมมนันทะ โกสัมพีเป็นศาสตราจารย์ทางภาษาบาลีจากปีพุทธศักราช 2455-2461 เป็นวิทยาลัยที่สำคัญในการสอนภาษาบาลีที่เดกแคน  ปัจจุบันมีภาควิชาพุทธศาสตร์แพร่หลายในมหาวิทยาลัยในกัลกัตตา,เดลีและสันสกฤตมหาวิทยาลัย,วาราณสี อันธระ,อัลลาฮาบาด,บาโรดา,บานารัส,ลัคเนาว์,มคธ,มารัถวาดา,ปัตนะ เป็นต้น มีการสอนที่จัดเตรียมไว้อย่างพอเพียงสำหรับภาษาบาลี การสอนภาษาบาลีในโรงเรียน ภาษาบาลีเป็นภาษาคลาสสิคจัดสอนในโรงเรียนที่อัสสัม,มหาราษฎร์,อุตตรประเทศและเวสท์เบงกอล
        สังเกตได้จากประวัติบุคคล ผลงานทางตำราของพระพุทธศาสนาปัจจุบันมีจำนวนมากในภาษาฮินดี,อัสสัม,เบงกาลี,คูจราตี,มาราธี,เตเลกูและอูรดู ธรรมบทเป็นตำราที่มีผู้นิยมแปลมากที่สุด  สาเหตุน่าจะมาจากเนื้อหาที่ชัดเจน ซึ่งเป็นแบบแผนในการดำเนินชีวิตสำหรับประชาชนหลายล้านคนตลอดอายุ ปัจจุบันวรรณกรรมพุทธศาสนาหาได้ง่ายในภาษาสำคัญๆ  เป็นที่สังเกตได้ว่าเริ่มเห็นคุณค่าตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 25 มีหนังสือมากกว่า 500 เรื่องที่เขียนโดยนักเขียนชาวอินเดีย ในจำนวนงานเขียนเหล่านี้ งานเขียนภาษามาราธีของธัมมนันทะ โกสัมพีเรื่อง “ภัควัน พุทธะ” เป็นงานที่ได้รับการแปลมากที่สุด เกือบจะทุกภาษาในอินเดียโดยสหิตะอคาเดมี งานเขียนที่มีชื่อเสียงของดร. บี.อาร์.เอ็มเบ็ดการ์คือ “พระพุทธเจ้าและธรรมของพระองค์” (คนทั่วไปรู้จักเหมือนเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธศาสนา) ชาวพุทะในอินเดียศึกษาด้วยความเคารพ พระภทัต์ อนันท์ เกาสัลยยันแปลเป็นภาษาฮินดีและปัญจาบี
        นอกจากนั้นยังมีรายการหนังสือในภาษาต่างๆ รวมถึงวารสารที่อุทิศเพื่อพระพุทธศาสนา มีบางช่วงที่รับเอาตามเหตุของพระพุทธศาสนา


 

 

1. คัมภีร์ภาษาบาลี

        อินเดียก็ยังไม่ยอมรับคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธศาสนาในตัวอักษรสมัยใหม่ จนกระทั่งไม่นานมานี้ ต้องขอขอบคุณความร่วมมือรัฐบาลอินเดียและรัฐบาลรัฐพิหาร ปัจจุบันอินเดียได้จารึกตำราภาษาบาลีด้วยตัวอักษรเทวนาครี จัดพิมพ์โดยคณะกรรมการการพิมพ์ภาษาบาลี รัฐบาลรัฐพิหาร,นาลันทาภายใต้การเป็นบรรณาธิการของพระจักดิสห์ กัสหยัป งานแต่ละชุดมีบทสรุปที่ถือเป็นคำนำด้วยภาษาฮินดีและภาษาอังกฤษ บาลีติปิฏกะ(ไตรปิฎก)ในตัวอักษรเทวนาครีมี 41 ชุดชุดละประมาณ 400 หน้าดังนี้

1.สุตตปิฏก

        1. ทีฆนิกาย 3  เล่ม
        2. มัชฌิมนิกาย 3 เล่ม
        3. สังยุตตนิกาย 4 เล่ม
        4. อังคุตตรนิกาย 4 เล่ม
        5. ขุททกนิกาย ซึ่งแแบ่งออกเป็น 15 เล่มดังนี้
        1. ขุททกปาท
        2. ธัมมปท
        3. อุทาน
        4. อิติวุตตกะ
        5. สุตตนิปาท
        6. วิมานวัตถุ
        7. เปตวัตถุ
        8. เถรคาถา
        9. เถรีคาถา
        10. ชาตก 2  เล่ม
        11.  นิทเทส 2  เล่ม
        12. ปฏิสัมภิทามัคค์
        13. อปทาน
        14. พุทธวังส์ 2  เล่ม
        15. จริยาปิฏก

2. วินัยปิฏก
        1. มหาวัคค์
        2. จุลวัคค์
        3. ปาราชิก
        4. ปาจิตติยา
        5. ปาริวาร
3. อภิธรรมปิฏก
        1. ธัมมสังคนี
        2. วิภังค์
        3. ธาตุกถา
        4. ปุคคลปันนี
        5. กถาวัตถุ
        6. ยมก 3 เล่ม
        7. ปัฏฐาน 6 เล่ม
        ผลงานเหล่านี้ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆของอินเดียในชื่อไตรปิฏกหนังสือศักดิ์สิทธิ์ดังต่อไปนี้

ภาษาฮินดี

1. พระอนันท์ เกาสัลยยัน,ภทันต์
        1. อังคุตตรนิกาย-เล่ม 1-4
        2. ชาตก เล่ม 1-4
        3. อภิธัมมสังคโห
        4. ธัมมปท
2. จันทริกะ ประสาท จาเกียสุ
        ธัมมปท (พร้อมทั้งอรรถกถาแปล)
3. พระธัมมรักษิตะ,ดร. 
        1. สังยุตตนิกาย เล่มที่ 1-2
        2. ธัมมปท (ฉบับแปลอย่างเดียว)
        3. ธัมมปท (ต้นฉบับและฉบับแปล)
        4. ธัมมปท (ต้นฉบับและฉบับแปลพร้อมตำนาน)
        5. อิติวุตตกะ
        6. มหาปรินิพพานสูตร
4. พระธัมมรัตนะ,ดร. 
        1. สุตตนิปาท (ต้นฉบับและฉบับแปล)
        2. ขุททกปาท (ต้นฉบับและฉบับแปล)
        3. เถระคาถา (แปล)
5. อินเดอร์,ศาสตราจารย์
        ธัมมปท
6.พระจักดิสห์ กัสหยัป 
        1. สังยุตตนิกาย เล่มที่ 1-2
        2. อุทาน
7. พระกิติมา
        1. สิคลสูตร (ต้นฉบับและฉบับแปล)
        2. มหาปรินิพพานสูตร (ต้นฉบับและฉบับแปล)
8. พระปรักยนันท์,จี
        กาลามสูตร
9. ราหุล สันกฤตยยัน
        1. ทีฆนิกาย
        2. มัชฌิมนิกาย
        3. วินัยปิฏก
        4. อัมบัตถะสูตร
        5. ธัมมปท (ต้นฉบับภาษาบาลี,สันสกฤตและคำแปล)
        6. ขุททกนิกาย ( 11 เล่ม ยกเว้นเล่มที่ 10-13)
10. อุปธัย,ภรัต ซิงห์
        เถรีคาถา (แปล)
11. วันสินารายณ์ ลาล
        ธัมมปท (โคลง)
อัสสัม

1. นันทพรรษา,พระ
        ธัมมปท
2. อุเปนทรจันทรา เลขารุ
        ธัมมปท

 

เบงกาลี

1. ภิกขุ สีลภัทร
        1. ธัมมปท
        2. ทีฆนิกาย เล่มที่ 1-3
        3. เถรีคาถา
        4. สุตตนิปาท
        5. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
        6. มัชฌิมนิกาย
        7. อุทาน
2. เบโจย จันทรา โกสห์
        1. เถรคาถา
        2. เถรีคาถา
3. ชารุ จันทรา โบส
        ธัมมปท (ต้นฉบับภาษาสันสกฤตและแปล)
4. อีสาน จันทรา โกสห์
        ชาตก
5. ประกานโลกา สถวีระ และภิกขุ อโนมทัสสี
        ธัมมปท
6. วิธูเสขระ ศาสตรี
         ปาฏิโมกข์

 

คูจราตี
1. ธัมมนันทะ โกสัมพี

        1. สุตตนิปาต
        2. อภิธัมม์
2. มานี ลาล นาธุไภ โทสี
        ธัมมนัม ปาโท ธัมมปัท

 

มาราธี

1. ชี.วี.ราชเวท        
        ทีฆนิกาย
2. ธัมมนันทะ โกสัมพี
         สุตตนิบาต
3. ธัมมรักษิต ภิกษุ
        1. ธัมมปท
        2. ขุททกปาท
4. คุนเดอร์ บัลพันต์ ทีวัน
        ธัมมปท
5. นารายัน วสุเทพ ตุนการ์
        ชาตก

 

ปัญจาบี
1. ลาล มานี โชศรี
        ธัมมปท(ต้นฉบับบาลีอักษรกุรมุขีและฉบับแปล)

 

เตเลกุ
1. สุเมธ วิมลักษะ
        ธัมมปท

 

อุรดู
1. ไพศวรสหวาร ประสาท มันนาวารค, ลักนาวี
        ธัมมปท ยา สาชิ ราห์ (แปลเป็นฉันท์)

 

ภาษาอังกฤษ
1. ธัมมปท- ชี. คุนฮัน ราช บรรณาธิการ
        1. ต้นฉบับบาลีอักษรเทวนาครีพร้อมคำแปลภาษาอังกฤษ
        2. ต้นฉบับบาลีอักษรโรมันพร้อมคำแปลอังกฤษ
        3. ภาษาอังกฤษอย่างเดียว
2. ธัมมปท ต้นฉบับบาลี อักษรเทวนาครีพร้อมด้วยคำนำ,คำแปลและบันทึกภาษาอังกฤษ โดย พี.แอล.วิทยา
3. ธัมมปท ต้นฉบับบาลี อักษรเทวนาครีพร้อมด้วยคำนำ,คำแปลและบันทึกภาษาอังกฤษ โดย เอ็น.เค. ภควัต
4. ธัมมปท ต้นฉบับบาลี อักษรโรมันพร้อมด้วยคำนำ,คำแปลและบันทึกภาษาอังกฤษ โดย เอ็ส.ราธกฤษนัน
5. ธัมมปท แปลโดยอาจารย์ พุทธรักขิต
6. ปรากฤต ธัมมปท พร้อมกับคำแปลและบันทึก โดย บี.เอ็ม บารัว
7. เทศนาและคำสอนของพระพุทธเจ้า คำสอนของพระพุทธเจ้าคัดมาจากทีฆนิกาย,มัชฌิมนิกายและแหล่งอื่นๆ นำเสนอด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย โดยสุธการ์ ดิกสิต
8. จริยาปิฏก  ต้นฉบับอักษรเทวนาครีพร้อมกับคำแปลภาษาอังกฤษ โดย บี.ซี.ลอว์
9. ทัตถาวังศ  ต้นฉบับอักษรเทวนาครีพร้อมกับคำแปลภาษาอังกฤษ โดย บี.ซี.ลอว์
10. พุทธวังศ แปลโดย บี.ซี. ลอว์
11. ศาสนวังศ แปลโดย บี.ซี. ลอว์
12. กถาวัตถุ  ถามตอบอรรถกถา แปลโดย บี.ซี.ลอว์
13. สุตตนิปาต โดย ศาสตราจารย์ พี.วี. บพัต
14. กาลามสูตร แปลโดยพระโสมะ เถระ
15. สักกะปัญหา  แปลจากสักกะปัญหาสูตร โดยแม่ชีวชิรา
16. อรถาปทสูตร แปลจากภาษาจีนอัตถากวรรค โดย พี.วี. บพัต


 

 

2.วรรณกรรมภาษาสันสกฤต

1. อภิธัมมสมุจจัยของอสังคะ ต้นฉบับสันสกฤตอักษรเทวนาครี ปรับปรุงและแปลมาจากการภาษาทิเบตและจีน  บรรณาธิการพร้อมด้วยคำนำ โดย ประหลัด ประธัน
2. อภิธัมมโกศ สมุจจัย ต้นฉบับภาษาสันสกฤตอักษรเทวนาครี นำมาจากทิเบตโดยศาสตราจารย์ ประหลัด ประธัน
3. อภิธัมมโกศ การิกา  ต้นฉบับภาษาสันสกฤตพร้อมด้วยอรรถกถาของยโสมิตรา ,สภูตารถะ อภิธัมมโกศ วยาขยา โดยราหุล สันกฤตยยัน
4. อภิธัมมโกศ การิกา ต้นฉบับเดิมมาจากต้นฉบับภาษาสันสกฤต โดยดร. วี.วี โกขเล
5. อภิธัมมมฤต โดย โฆสกะ แปลจากภาษาจีนเป็นภาษาสันสกฤต โดยศานติ ภิกษุ ศาสตรี
6. อภิธัมมโกศ (อาจารย์วสุพันธุ) สวามี ดวารกะ ดัส ศาสตรี บรรณาธิการ
7. อภิสมัยลังการวฤิทธี สภูตารถะ ของอาจารย์หริภัทร์ (ต้นฉบับทิเบต,แปลเป็นภาษาสันสกฤต) โดยอาจารย์ราม ศานการ์
8. อภิธัมมปราทิปะ  แปลจากภาษาทิเบตโดยศาสตราจารย์ปัทมนภ ไชนี
9. อภิสมจริกะ ดร. บี.ชินนันทะ บรรณาธิการ
10. อัทวายวัชระ สังครห์ มหามโหปัธยายะ หารา ประสาท ศาสตรี
11. อลัมบนะ ปริกสะและวฤิทธี โดยทินนาคะ แปลจากภาษาทิเบตเปป็นภาษาสันสกฤตโดยศาสตราจารย์ เอ็น.ไอยาสวามี ศาสตรี เป็นบรรณาธิการ
12. อัสถะ สหัสริกะ ปรัชญา ปารามิตา แปลโดย หารา ประสาท ศาสตรี
13. อวทนกัลปาลาต กเสเมนทรวิราชิตะ พี.แอล.วิทยา
14. โพธิจรรยาวตาร โดยสันติเทวะ แปลเป็นภาษาสันสกฤตโดยสรัต จันทรา ทัส (แปลเป็นภาษาฮินดีโดยศานติ ภิกษุ ศาสตรี)
15. โพธิจรรยาวตาร โดยสันติเทวะ (ต้นฉบับภาษาสันสกฤตพร้อมคำแปลภาษาฮินดีโดยสวามี ทวารกะ ดัส ศาสตรี
16. พุทธชาริตรัม (กวยา) อัศวโกศา (พร้อมกับอรรถกถาภาษาฮินดี) โดยราม จันทรา ทัส ศาสตรี
17. โพธิจิตโตตปท สูตร ศาสตร์ โดย วสุพันธุ แปลจากภาษาจีนเป็นภาษาสันสกฤต โดย ศานติ ภิกษุ ศาสตรี
18. พุทธจริต โดยอัศวโกศ ต้นฉบับภาษาสันสกฤตและฮินดีแปลโดยสุรยะ นารายัน เจาธารี
19. จตุหัสตกของอารยเทพ แปลจากภาษาทิเบตเป็นภาษาสันสกฤต โดยวิธูเสขระ ภัตตจรรยา ศาสตรี บรรณาธิการ
20. จตุหสตกะ (พร้อมกับจันทเกียรติวิธีและฉบับแปลภาษาฮินดี) โดยภัค จันทรา เจน
21. จิตวิสุทธิ ปราการนะของอารยเทวะ วิจารณ์ปรัชญามาธยมิกะของอารยเทพ โดย พี.บี. ปาเตล
22. ธัมโมตตร ปราทิปะของทุรเวก ศาสตราจารย์ มูลวนา บรรณาธิการ
23. ทวาทสมุข ศาสตร์ โดย นาครชุน แปลเป็นภาษาสันสกฤตและบรรณาธิการโดยไอยาสวามี ศาสตรี
24.  ต้นฉบับภาษากิลกิต 8 ชุด รวมถึง วินยวัสถุของนิกายมูล-สรวัสติวาท โดย ดร. นาลินักสะ ดุตต์
25. ชาตกมาลา โดยอารยสุร ต้นฉบับภาษาสันสกฤตและคำแปลภาษาฮินดู โดย สุรยะ นารายัน เจาธารี
26. ชาตกมาลาของอารยสุระ ต้นฉบับพร้อมด้วยคำแปลภาษาอังกฤษและฮินดี โดย ทวีเวที และ ภัตต์
27. ชาตกมาลาโดยอารยสุระ (ฉบับแปลภาษาฮินดี) โดยจักดิสห์ จันเดอร์ มิสระ
28. ชญานปราสถานะศาสตร์ ของ กตยานีปุตร แปลจากต้นฉบับภาษาจีน โดย ศานติ ภิกษุ ศาสตรี
29. การตาลรัตนะโดยภววิเวก  แปลเป็นภาษาสันสกฤตจากภาษาจีนโดยไอยาสวามี ศาสตรี
30. ลาลิตาวิสตาร ต้นฉบับภาษาสันสกฤต บทบรรณาธิการภาษาเทวนาครีพร้อมด้วยคำนำภาษาอังกฤษและฮินดี โดย พี.แอล วิทยา
31. ลาลิตาวิสตาร ต้นฉบับพร้อมคำแปลภาษาอังกฤษ โดยราเชนทรา ลาล มิตรา
32. มาธยมกะ ศาสตรัม ของนาครชุน เล่ม 1 (พร้อมกับอรรถกถาอกุโตภยของนาครชุน,มาธยมกะวฤทธีของพุทธปาลิต,ปรัชญา ประทีปของภววิเวกและประสันนปทของจันทรเกียรติ ต้นฉบับภาษาสันสกฤตและอรรถกถาปรับปรุงมาจากต้นฉบับภาษาทิเบต) โดย อาร์ เอ็น. ปันเทย์
33. มาธยันตะ วิภังคะ ศาสตร์ (ของวสุพันธุพร้อมด้วยการิกาของไมเตรยะและภัสยะของวสุพันธุ ต้นฉบับภาษาเทวนาครี) โดย อาร์.เอ็น.ปันเทย์
34. มาธยมกะ ศาสตร์ (อาจารย์นาครชุน) สวามี ทวารกะ ทัส ศาสตรี
35. มาธยมิกะมาเต สิกษาสมุจจัยห์ ศานติเทวะวีระชิตห์ พี.แอล วิทยา
36. มหายานสูตรสังครห ประถมาห ขันทาห์ สุวิกรันตวิกรามิปรัชญาปารมิตา ,วัชรเฉทิกะ,สาลิสตัมพะสุตรัม, สุขวติวยุหะ, การันทวยุหะ,ปฤทตยสมุตปทาสูตรัม,ไภสัชยคุรุวิทุรยประภาสุตรัม,รัชตรปาลปริปรัชชา,อารถวินิสชยสุตรัม,รัตนะคุณะสันชยหะ- พี.แอล วิทยา
ทวิติยาหะ ขันทหะ: อารยมัญชุศรีมูลกัลปห์- พี.แอล วิทยา
37. มาธยมิกะ วฤตติของจันทรเกียรติ โดยหริโมหัน วิทยาภูสาน
38. มหายาน วิมสกะของนาครชุน แปลจากภาษาทิเบตเป็นภาษาสันสกฤตและวิธูเสขร ภัตตจรรยา บรรณาธิการ
39. นวธัมมะ
ลลิตาวิสตร- พี.แอล วิทยา
สมาธิเรียชสุตรัม- พี.แอล วิทยา
ลังกาวตารสูตร-   พี.แอล วิทยา
อัสตสหสตริกะ ปรัชญาปารมิตา อโลกวยาขยายะ สหิตะ -  พี.แอล วิทยา
คันทวยุหสูตรัม- พี.แอล วิทยา
สัทธัมมปุณทริกาสูตรัม- พี.แอล. วิทยา
ทสภูมิกสูตรัม-พี.แอล. วิทยา
สุวรมประภาสสูตรัม -  เอส. บักชิ
กุหยสมาชตันตระ -เอส. บักชิ
40. นยายะพินทุ (อาจารย์ธรรมเกียรติ) สวามี ดวารกะ ดัส ศาสตรี บรรณาธิการ
41. ไนรัตมยปริปโรหะของ อัศวโกศ (สันสกฤต-ทิเบต) สุจิตกุมาร มุโขปัทธยายะ บรรณาธิการ
42. นยายประเวสะ (เกี่ยวกับพุทธตรรกวิทยา) เอ.บี. ธรูว
43. ปัญจวิมสติ ปรัชญาปารมิตา -นาลินักษะ ดุตต์ บรรณาธิการ
44. ประมาณวารติกะ ต้นฉบับสันสกฤต ราหุล สันกฤตยยันเรียบเรียงและบรรณาธิการ
45. ปารนาม-วาริกา (อาจารย์ธัมมรักขิต) สวามี ดวารกะ ดัส ศาสตรี บรรณาธิการ
46. ปารมารถา-ชินตานะ (ธรรม) สวามี ดวารกะ ดัส ศาสตรี บรรณาธิการ
47. ปราติโมกศะของนิกายมูลสารวัสติวาท - อนุกุล จันทรา บาเนอร์จี บรรณาธิการ
48. สาธนะ-มาลา - บี. ภัทรจรรยา บรรณาธิการ
49. สัทธัมมะ-ปุณทริกา นาลินักสะ ดุตต์ บรรณาธิการ
50. สวนทารนันทะ โดย อัศวโกศ  ต้นฉบับสันสกฤตและแปลโดย สุรยะ นารายัน เจาธารี
51. สภูตารถา-อภิธัมมโกศ-วยาขยา โดย นาลินักสะ ดุตต์
52. สารทูล-การนวทาน แปลเป็นภาษาสันสกฤตจากภาษาทิเบตและสุจิต กุมาร มุโขปัธยายะบรรณาธิการ
53. สภูตารถา ศรีคหนาจารสังครห์-ติกะ, ดร. สังฆเสน บรรณาธิการ
54. ศรี-กุหยสมาช-ตันตระ, บี. ภัทรจรรยา บรรณาธิการ
55. ตัตตวสังครหของสันตรักษิตะ พร้อมอรรถกถาของกมลาศีล-ตัตตวสังครหะ (คำสอนแหงสัจจะย่อ) เอ็มบาร์ กฤษณมจรรยา (แปลเป็นอังกฤษ โดยคันกานาถ ชหา 2 เล่ม)
56. ตัตตวะ-สังครห (ศานติรักษิต), สวามี ดี.ดี. ศาสตรี บรรณาธิการ
57. ไตรสวภาวะนิรเทสะของวสุพันธุ ต้นฉบับสันสกฤต อักษรเทวนาครี บทบรรณาธิการพร้อมด้วยคำแปลอังกฤษ โดยสุจิต กุมาร มุโขปัธยายะ
58. อุปสัมปาทชญาปลิห์, ดร. บี.ชินานันทะ บรรณาธิการ
59. วาทานยายะ ต้นฉบับอังกฤษปรับปรุงใหม่, ราหุล สันกฤตยายัน บรรณาธิการ
60. วารติกะ-อลันการะ- ราหุล สันกฤตยายัน บรรณาธิการ
61. วาทานยายะและสัมพันธะ ปะริกษะ (อาจารย์ ธัมมรักขิต), สวามี ดวารกะ ดัส ศาสตรี บรรณาธิการ
62. วาคราชเชทิกะ ปรัชญาปารมิตาสูตร (ต้นฉบับสันสกฤต แปลเป็นฮินดี)โดย แอล. เอ็ม โชศรี
63. วิมาลากิรตินิรเทสะ สูตร (ต้นฉบับภาษาทิเบต แปลเป็นสันสกฤตและฮินดี)โดยภิกษุประสาทิกะ และ แอล.เอ็ม.โชศรี
64. วินายาห มหาวัสถุ-โลโกตตรวาทินัม วินายาห- เอ็ส. บักชิ มูลสารวัสติวาทินัม วินายห์ (กิลกิต  เอ็มเอ็สเอ็ส) 2 เล่ม เอ็ส. บักชิ
65. โยคชารมาเต สุตรลันการาห์ อาจารย์ สันกาวีราชิตาห์, เอ็ส. บักชิ
66. โยคจารภูมี-ศาสตรา, วิธูเสขระ ศาสตรี บรรณาธิการ

 

3. วรรณกรรมฮินดีสมัยใหม่

1. อาจารย์ นาเรนทร ดีโอ
        พุทธะ ธัมมะ ดารศาน
2. เอ็มเบ็ดการ์,ดร. บี.อาร์.
        1.ภัควัน พุทธะ อูระ อันกะ ธัมมะ (แปลโดย ภทันต์ อนันท์ เกาสัลยยัน)
        2.พุทธ ธัมมะ หิ มานัฟ ธัมมะ (รวบรวมและแปลโดยภิกษุ ธัมมรักษิต)
3. อนันท์ เกาสัลยยัน, ภทันต์
        1. พุทธะ วจาน
        2. ภิกษุ เค ปัตตาร
        3. สัมโยจัน
        4. มหาวังศะ (แปล)
        5. โมคคัลลานะ ปาลี เวยะกรนะ
        6. พุทธธัมม (เอก พุทธิวาที อัทธยัน)
        7. ขันติ เก อกาทุต-ภควัน พุทธะ
        8. อนตัมวาท
        9. ศรี ลังกา
        10. ตถากัต กา ศาสวัต สันเทศ
        11. ภควัน พุทธ กะ ธัมมะ
        12. พุทธ คยัน
        13. พุทธชีวัน ปาธิติ
        14. พุทธธัมม อุระ มาร์ควาด
        15. ภควัตคีตา ตถา ธัมมปท
        16. ทารศาน
4. อนันท์ คอมมารสวามี และ ไอ.บี. ฮอนเนอร์
        ภควัน พุทธะ (แปล โดย ดร. เทเวศร์ จันทรา)
5. อริยวังสะภิกขุ และ ดี.ชี.เอหิร
        พุทธชีวัน พาธ
5.ก. อริยวังสะภิกขุ
        1. ตถาคต กะ อุปเทศ
         2. พุทธวานี อุระ วันทาน วิธี
6. โพธนันท์,ภทันต์
        1. ปัญจศีล อุระ พุทธวันทาน
        2. ภควัน โคตมพุทธะ นักเขียนร่วม: จันทริกา ประสาท จเกียสุ
        3. พุทธจริยา ปธีติ
7. บัลเทพ อุปธยะ
        พุทธ ทารศาน มิมานสา
8. ภรัต ซิงห์,อุปธยะ
        1. พุทธ ทารศาน ตถา  แอน ภารติยะ ทารศาน เล่ม 1 และ 2.
        2. พุทธ อุระ พุทธ สาธัค
        3. ปาลี สาหิตยะ กะ ไอธัส
9. จันทริกา ประสาท จเกียสุ
        1. ภควัน เคาตมพุทธะ
        2. พุทธจริยะ วิธี (พุทโธน เก ไนยมิค การม)
        3. พุทธ กริสตโยน เก ลิเย นิตยะ อุปสนะ พาธ
        4. อังคุลิมาล (นาตัก)
10. จตุรชาอิน ศาสตรี
        พุทธา อุระ พุทธะ ธรรม
11. ธัมมนันทะ โกสัมพี
        1. วิสุทธิมัคคทีปิกะ (อรรถกถาวิสุทธมัคค์)
        2. ภควัน พุทธะ- สหิตยะ อคาเดมี นิวเดลี แปล
        3. ภารติยะ สันสกฤตติ อุระ อหิงสา
12. ธัมมรักษิต, ภิกขุ ดร.
        1. วิสุทธิมัคค์ (แปล) ภาค 1,2
        2. อาจารย์ พุทธโกศ
        3. สารนาถ กะ อิธัส
        4. พุทธ โยคี เก ปัตตาร
        5. พุทธจริยาวิธี
        6. จริยปิฏก
        7. พุทธ พิภูติยัน
        8. ตถากัต หิรทยา
        9. พุทธ ธัมม เก มูล สิทธันต์
        10. ปาลี เวยกรณ
        11. ชาติ เภท อุระ พุทธะ
        12. พุทธ ศันการ ปธีติ
        13. ปาลี พาธ มาลา
        14. กุสินาคาร์ กา อิธัส
        15. ตถาคต กา ปราธัม อุปเทส
        16. เตลกตาห์ กถา
        17. มหาวังโส
        18. พุทธ กาลิน ภรัต กะ เภาโกลัค ปริเชย์
        19. สารนาถ ทีฆทารสัน
        20. ปาลี สหิตยะ กะ อิธัส
        21. พุทธ ธัมมะ ทารสาน ตถา สาหิตยะ
        22. สารนาถ-วาราณสี
         23. ภิกษุ ปราติโมคศะ
        24. สรัมเนร วินย
        25. พุทธ ธัมมะ เก อุปเทส
        26. กาลามะ คันตันตระ กา เกสปุตร
13. ธัมมะ ทารศี พุทธ (เทวี ทยัล)
        พุทธะ อุปสากน เก ธัมมะ
14. ธัมมรัตนะ, อู พระ
        วิสุทธิมัคค กิ รูปเรขะ
15. หาวัลทาร ไตรปธี “สหทยะ”
        พุทธ ธัมมะ อุระ พิหาร
16. จักดิสห์ กัสหยัป,พระ
        1. มิลินทะปัญหา
         2. โมคคัลลานะ เวยากรณะ
17. กุมารี วิทยาวาตี มาลิกะ
        1. พุทธ กาล กฤติยัน
         2. ปุรนิมา (โคลง)
        3. ฮินดี สันต สหิตย ปาร พุทธ ธัมม กา ปราภาว
        4. อรชนา (ทรามัส)
        5. อทาส พุทธ เมหลาอิน
         6. ภควัน เคาตมะ พุทธะ
18. ลามะ,ริคจิน ลุนดุฟ
         1. โพธิพาธ ประทีป
        2. อารยะ อังคุลิมาลสูตร
19. มันกัล หริทยา, ภทันต์
        ตถคต คารภสูตร (แปลจากภาษาทิเบต)
20. นาเกนทร นาถ อุปธยะ
         ตันตริก พุทธ สาธนะ อุระ สหิตยะ
21.นาเกนทร นาถ วสุ
        ภัคติมารค พุทธ  ธัมมะ แปล โดย นัมราเทสวาร จตุรเวที
22. นาลินักสะ ทุตต์ และ เค.ดี. พัชไภ
        อุตตร ประเทศ เมอิน พุทธธัมมะ กะ วิกัส
23. เปรม ซิงห์ เจาหัน
        1. พุทธารจัน
        2. พุทธ กิรตัน
24. ปารขุรสต์,ซี.เอ
        เคาตัม กิ ราห ปาร แปล โดย ศรีมาตี เปรม ศรีวัสตาวะ
25. ปรักยนัน,จี.พระ
         วัชรสุจิ-อุปนิษัท (แปล)
26. พี.วี. บพัต
        พุทธ ธัมม เก 2500 วารสา(วัสสา)
27. รพินทรนารถ ฐากูร
        พุทธเทวะ (แปล จากภาษาเบงกาลี โดย กมลา รอย)
28. ราหุล สันกฤตยยัน
        1. สูตรทูยัม (แปลจากภาษาจีน)
         2. พุทธจริยา
         3. มหามาณว พุทธะ
        4. พุทธะ สันกฤตติ
        5. ทารสัน ทีฆ ทารสัน
         6. ปาลี สาหิตยะ กะ อิธัส
29. รามจันทราลาล
        พุทธะ จาริตารวาลี
30. ราม พาหทุร ชารมา
         นันท กถา (สาอันทารนันทะของอัศวโกศะ)
31. รามขันต์ ไตรปธี “ประกาศ”
        ภควันพุทธะ
32. สัตยนาราอิน โกเอ็นกา
         1. ธัมมะชีวัน ชีเน กิ กาลา
        2. อตมะ ทารศาน
         3. ธัมรัม ชโยติ
33. ศานติ ภิกษุ ศาสตรี
        1. โพธิจรรยาวตาร
         2. มหายาน
34. ศาสันศรี,ภทันต์
        1. พุทธะ กิ เทน
         2. พุทธะ วาจานัมริต
35. สิตารัม จตุรเวที
         พุทธธรรม กะ เคนทรา: สารนาถ
36. ศิวะ นารายณ์ คุปตะ
         พุทธวจาน
37. อุปาลี,ภิกษุ
         พุทธสันเทศ
38. เวทราช ประสาท
        พุทธชีวานี
39. วิจัย ศรีวัสตาว
         กปิลวัสถุ-ลุมพินี ทีฆ ทารศาน
40. วโยกิ หารี
         พุทธ พานี

 

อัสสัม

1. พันทาโลอิ โคปินาถ
        พุทธเทวะ
2. ภิกษุ นันทพรรษา
        1. พุทธจริต
        2. พุทธวันทาน
        3. พุทธะ สิศุ โพธ
        4. พุทธ มหิลา
        5. อังคุลิมาล (ธรรม)
        6. สิทธารถจริต
        7. วิศวะ พุทธะ ปาตกะ
        8. พุทธาร สาโม ชิวานี
3. บรินชิ กุมาร บารัว
        สารีปุตต และโมคคัลลาน
4. ธัมมนันท โกสัมพี
        ภควัน พุทธะ (สาหิตยะ อคาเดมีแปล) 
5. สาสันพันษา,ภิกษุ
        1. สาธารมะ สิกสา
        2. โลก นิติ
        3. นาพิน ปาลี วยากรณและ ตำราบาลีเล่มอื่นๆสำหรับโรงเรียนไฮสกูล

 

เบงกาลี

1. อนาคาริกธรรมปาล
        ภควัน พุทเหร อุปเทส
2. ภิกษุ แอล. อริยวังสะ
        1. สุโพธะ ลันการ
        2. พุทธ นิติ สิกสา
3. ภิกษุ ธรรมปาล
        สัทธัมมรัตนะ มาลา
4. ภิกษุ ศีลภัทร
        1. พุทธพานี
        2. พุทธ นิติ สิกสา
        3. พันจิเตร สันธานี
5. ภิกษุ ศีลจาร
        1.  อิสิปัตตนะ
        2.  สารนาถ ไตรัถ
         3. พุทธวันทนา
        4. สิวาลี พรัต กถา
        5. พุทธคยา
6. พิมลจารัน
        พุทธ รามนี
7. พรหมจารี สีลนันทะ
        สัมโพธิ ปาเธย์
8. หารา ปราสาท ศาสตรี
        พุทธ คณะ โอ โทหะ
9. ไชนิค อุปสิน
        ราชคริเหร อินทรคุปตะ
10. ชโยติส จันทรา โกศ
        1. ชาร ปุญญาสถาน
        2. ทีน พุทธสถาน
11. เค.ซี. คุปตะ
        สารีปุตต และโมคคัลลาน
12. มหินทร นาถ จักรโพรติ
        พุทธจริต
13. นาลินิกันตะ ทัสคุปตะ
        พุทธธรรม
14. พี.ซี. บารัว 
        วิทารศาน ภวัน
15. ประโพธจันทรา บากุอิ
        พุทธธรรม โอ สาหิตยะ
16. ประกานโลก สถวีระ
        ปฏิจจสมุปาท
17. สัตยันทรนาถ ฐากูร
        พุทธธรรม
18. ศรีธาร จันทรา
        อภิสัมพุทธะ
19. สภูติ รันจัน บารัว
        1. สัทธรรม นิติ รัตนมาลา
        2. พุทธ พาธ
20. สุธันสะ พิมาล บารัว
        ระพินทรนาถ โอ พุทธะ สันสกฤต
21. สุจิต กุมาร มุโขปัธย
        พุทธจรรยาวตารของสันติเทวะ
22. ตรีภัง รอย
        เคาตมพุทธะ
23. วิสุทธจาร สถวีระ
        1. สิวลี พรัต กถา
        2. มารวิชัย
        3. อโศกจาริต
24. วิธูเสขระ ศาสตรี
        1. ปาลี ประกาศ (บาลีไวยากรณ์)
2. มิลินทปัญหา

 

คูจราตี

1. ธัมมนันทะ โกสัมพี
        1. พุทธธรรม อนิ สังฆะ แปลจากภาษามาราตีโดย หารโกวินท ซิงห์ ประทัก
        2. พุทธะลิลา สาร สังฆ์
        3. พุทธสังฆ์ นะ ปะริชัย
        4. สมาธิมารกะ
        5. ภควันพุทธะ นะ ธัมมสัมวัด
        6. ภควันพุทธะ แปล: สาหิตยะ อคาเดมี

 

คารานาตกะ
ธัมมนันทะ โกสัมพี
        ภควันพุทธะ แปล: สาหิตยะ อคาเดมี

 

มาลยาลัม
ธัมมนันทะ โกสัมพี
        ภควันพุทธะ แปล: สาหิตยะ อคาเดมี

 

มารธี
1. เอ็มเบ็ดการ์,ดร. บี.อาร์
        1. พุทธธรรม หาช มานว ธรรม
        2. พุทธะอุปสนะ ปาท
        3. ภควันพุทธะ อนิ ตวันจะ ธรรม แปล: คันสหยัม ตัลวัตการ,เอ็ม.บี.จิตนิส เอส.เอส.เรเจ
2. ธัมมรักษิต,ภิกขุ
        1. พุทธ ธัมมจิ มูลตัตเวน
        2. ชติ เภท อนิ พุทธะ
        3. พุทธะ สันสการ ปธีติ
3. ธัมมนันทะ โกสัมพี
        1. ภควันพุทธะ
        2. พุทธ-ลิลา-สาระ สังครห
        3. พุทธธรรม อนิ สังฆะ
        4. สมาธิมารกะ
        5. พุทธะ-สังฆจะ ปริจยะ
        6. ฮินดี สันสกฤติ อนิ อหิงสา
4. โกลันกันเด, รามจันทรา โควินท์
        ตยัคราช ภควัน เคาตมะ พุทธะ
5. โพนชุรัง สดาสิวะ เสน
        มหาตมะ เคาตมะ พุทธะ
6. ศานการ ทัตตาราราเย เทพ
        ภควัน พุทธะ
7. พี.แอล วิทยา
        พุทธะธรรมจะ
        อภิอุทัย อนิ ประสาระ

 

โอริยะ
ธัมมนันทะ โกสัมพี
        ภควันพุทธะ: สาหิตยะ อคาเดมีแปล

 

ปัญจาบี

1. โมหัน ซิงห์
        เอเชีย ดา จานัน แปลจากประทีปแห่งทวีปเอเชีย โดย เซอร์ เอ็ดวิน อาร์โนลด์
2. เอ็มเบ็ดการ์,ดร. บี.อาร์
        ภควันพุทธะ อเต อุนาห ดา ธัมม: ภทันต์ อนันท์ เกาสัมยยันแปล

 

สินธี
ธัมมนันทะ โกสัมพี
        ภควันพุทธะ : สาหิตยะ อคาเดมีแปล

 

ทมิฬ
1. อโยธยา ทัส, บัณฑิต
        พุทธธรรม อวทิเวทัม
2. อัปปธุไร,บัณฑิต
        พุทธราทู อรุลาสัม
3. ธัมมนันทะ โกสัมพี
        ภควันพุทธะ : สาหิตยะ อคาเดมีแปล
4. ฮาร์มาน เฮสเส
        สิทธารถ

 

เตเลกู

1. อทาวี บาพีราช
        หิมพินทุ
2. ทักกิสาลา โกปาลา กฤษณาอิหะ
        พุทธะ วังมยัม
3. กรุณากรี
        1. สุอันทารานันทามุ แปลจากสุอันทารนันทะของอัศวโกศ
        2. พุทธะ จริถะ แปลจากพุทธจริตของอัศวโกศะ
4. วีรภัทร ราโอล,บี.
        1. รุสสาอิโล พุทธธรรม
        2. พุทธ ธรรม ปริชยัม แปลจากอังกฤษ:  องค์ทะไล ลามะ

 

อุรดู
1. ธัมมนันทะ โกสัมพี
        ภควันพุทธะ : สาหิตยะ อคาเดมี,นิวเดลีแปล
2. เค.แอล.ยิบบีระ และ บี.ธัมมสิริ
        จตาชิซึ่มพุทธะ (แปลเป็นภาษาอุรดูจากภาษาอังกฤษของ เฮนรี เอส. โอลคอต)

 


 

อังกฤษ(เรียงตามอักษร)
 

เอ.

ปรัชญาอภิธรรมเล่ม 1-ภิกขุ จักดิสห์ กัสหยัป
อภิธัมมโกศของวสุพันธุ: แง่มุมทางจิตวิทยาในพุทธปรัชญายุคแรก-อรุน หาลเดอร์
อาทิพุทธ-กาไน ลาล หาซรา
อชันตะ เอลโลรา และถ้ำออลังกาบาด-อาร์.เอส.คุปเตและ บี.ดี. มหาจัน
อมลา ปรัชญา-ทิศทางการศึกษาพระพุทธศาสนา-การแสดงความยินดีต่อศาสตราจารย์ พี.วี.บะพัต เอ็น.
เอช. สัมตานี บรรณาธิการ
อมรวตี-เอช. สารการ์และบี.บี. มิสระ
ประติมากรรมอมรวตีในพิพิธภัณฑ์รัฐบาลมัทราส-ซี. สิวรมมูรติ
ดร.เอ็มเบ็ดการ์กับพระพุทธศาสนา- ดี.ซี.เอหิระ บรรณาธิการ
อมิตาภะและวงศ์สกุล- สันติปริยะ มูโขปะธยายะ
อมิตาภพุทธะ-เอส.เอ็น.ดีซิต
การศึกษาเชิงวิเคราะห์อภิธัมมโกศ-สุโกมาล เจาธุรี
อารยธรรมของศักยมุนี,โคตมะพุทธะ-อนาคาริก ธรรมปาล
อโศก-ราธะ กุมุท มูเคอร์จี
ประกาศพระเจ้าอโศก-อมุลยา จันทรา เสน
พระเจ้าอโศกและจารึก-บี.เอ็ม.บารัว
จารึกอโศก-อาร์จี. บะสัก
อโศกและความล่มสลายของราชวงค์เมารยะ-โรมิลา ธาปาล
ทิศทางของพระพุทธศาสนาในประวัติศาสตร์อินเดีย-แอล.เอ็ม.โชศรี
ทิศทางของวัฒนธรรมพระพุทธศาสนา-วี. สุภมาเนียม
ทิศทางของพระพุทธศาสนามหายานและความสัมพันธ์กับหินยาน-นาลินักสะ ทุตต์
อัศวโกศ : บทความ-บี.ซี. ลอว์
อัศวโกศและยุคสมัย-สารลา โกศล
อติษะและทิเบต –อลากะ จัตโตปธยาย

 

บี
ความคิดพื้นฐานของพระพุทธศาสนา-วิสุทธเสขระ ภัตตจรรยา
ภารหุต, มหาสถูปในพระพุทธศาสนา –บี.เอ็ม. บารัว
จารึกภารหุต- บี.เอ็ม.บารัว
โพธคยาสถานที่ตรัสรู้-ทีปัก กุมาร บารัว
โพธคยา-ศิวะพุทธ- สาจินทรา นารายัน
คำสอนเรื่องพระโพธิสัตว์ในวรรณกรรมพุทธศาสนาภาษาสันสกฤต –หารทยัล
พุทธเจ้า,พุทธประวัติ,พุทธธรรม,และพุทธสาวก-มันมถะ นาถ ศาสตรี
ภควันพุทธะ-อาร์.เค.ทิวาการ
พระพุทธเจ้า-ปาปุล ชยการ
พระพุทธเจ้า,ประวัติและคำสอน-เทวมิตตะ ธรรมปาละ
พระพุทธเจ้า-เขียนในเชิงอัตชีวประวัติ-เจ. วิชยตุงคะ
พระพุทธเจ้าและพุทธศาสนา-บี.อาร์.บารัว
พระพุทธเจ้าและพุทธธรรม  บี.อาร์  เอ็มเบ็ดการ์
พระพุทธเจ้าและข่าวสารของพระองค์- เอ็น.คันกุลี
พระพุทธเจ้าและข่าวสารของพระองค์- พระธัมมรัตนะ
พระพุทธเจ้าและหลังศตวรรษที 5-สุกุมาร ทุตต์
พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์-เอ.เค. บิสวัส
พระพุทธเจ้า,ตรีมูรติและฮินดูสมัยใหม่-เอ.อาร์.กุลการนิ
พระพุทธเจ้าและระบบวรรณะ-พระ ดร. อู ธัมมรัตนะ
พุทธธรรม (การยืนยันขั้นสูง)-จี.จี. ลาล
ที่ระลึกพุทธชยันตี-งานฉลองพุทธชยันตี-คณะกรรมการ,จักกยเปตา-ศรีนิวสเจรี บรรณาธิการ
พระบรมสารีริกธาตุจากกบิลวัตถุ์-เค.เอ็ม ศรีวัสตาวะ
ระบบการฝึกสมาธิของพระพุทธเจ้า(4 เล่ม) เอ.พี. ประธัน
พุทธคยา-ราเชนทรลาล มิตรา
พุทธโกษา-บี.ซี. ลอร์
พระพุทธศาสนา-บัณฑิต เชโอ นารายณ์
พระพุทธศาสนา: การเต้นรำและการละคร- วี.สุภมเนียม
พระพุทธศาสนา: ตามความคิดเห็นของข้าพเจ้า- ดร. อาร์.แอล โสนิ
พระพุทธศาสนา-ทางแห่งการตรัสรู้- อาจารย์พุทธรักขิต
พระพุทธศาสนาประวัติบุคคลสำคัญ-สัตยประกาศ
พระพุทธศาสนาในเมืองหลวงของอินเดีย-ดี.ซี. เอหิระ
พระพุทธศาสนาในเอเชียกลาง-บี.เอ็น.ปุรี
พระพุทธศาสนาในยุคคลาสสิค-สุธา เสนคุปตะ
พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออก-ดี.พี. ซิงหัล
พระพุทธศาสนาในอินเดียและต่างประเทศ-เอ.ซี. บันเนอร์จี
พระพุทธศาสนาในอินเดียตามคำบรรยายของนักจาริกชาวจีน –เค.แอล. หาซรา
พระพุทธศาสนาในแคชเมียร์-นาลินักสะ ทุตต์
พระพุทธศาสนาในแคชเมียร์และลาดักห์-เจ.เอ็น คันหาร และ พี.เอ็น.คันหาร
พระพุทธศาสนาในเคราลา-พี.ซี. อเล็กซานเดอร์
พระพุทธศาสนาในลาดักห์-นาวัง เซริง
พระพุทธศาสนามัลวา-เอ็ส.เอ็ม.ปหาเทีย
พระพุทธศาสนาในมหาราษฎร์: ประวัติ- บี.จี.โกขาเล
พระพุทธศาสนาในอินเดียสมัยใหม่-ดี.ซี.เอหิระ
พระพุทธศาสนาในอินเดียเหนือ –ดี.ซี. เอหิระ
พระพุทธศาสนาในปัญจาป,หารยนะและหิมาจัลประเทศ-ดี.ซี.เอหิระ
พระพุทธศาสนาและเอ็มเบ็ดการ์-ดี.ซี.เอหิระ
พระพุทธศาสนาและพระเจ้าอโศก-บี.จี.โกขาเล
พระพุทธศาสนาและอารยธรรมชาวพุทธในอินเดีย-อาร์.ซี. ทุตต์
บทความทางพระพุทธศาสนาต่อวัฒนธรรมและอารยธรรมของโลก –อานันทะ ดับเบิลยู.พี. คูรเก,
ดี.ซี.เอหิระ บรรณาธิการ
พระพุทธศาสนาและพัฒนาการ-ภิกขุ พุทธรักขิต
พระพุทธศาสนาและมุมมองของชาวอินเดีย- อาร์.แอล. โสนิ
พระพุทธศาสนาและศาสนาไชนะ-หาริส จันทรา ทัส บรรณาธิการ
พระพุทธศาสนาและลัทธิมาร์ค-การศึกษาทางมนุษยนิยม-วี.บาเนอร์จี
พระพุทธศาสนาและพิธีกรรมในศาสนาอื่น-เอ็ส.เอ็ส. ไตรปาธี
พระพุทธศาสนาสำหรับทุกคน-ภิกษุ จักดิสห์ กัสหยัป
2,500 ปี พระพุทธศาสนา- พี.วี. บะพัต
ศิลปะพระพุทธศาสนาแห่งมธุรา-อาร์.ซี. ซาร์มา
พุทธอวตาน-เอ็ส. ซาร์มา
แนวคิดของพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับจิตวิญญาณ-บี.ซี.ลอว์
แนวคิดของพระพุทธศาสนาว่าด้วยมาร-บี.ซี.ลอว์
บทความทางพระพุทธศาสนาในโคลงสันสกฤต-มูลจันท์ ศาสตรี
วัฒนธรรมพระพุทธศาสนาในแอ่งอารยธรรมทิเบต-เอ.ซี.บันเนอร์จี
ภาพวาดพระพุทธศาสนา, 2 เล่ม โลเคส จันทรา บรรณาธิการ
แคชเมียร์พุทธศาสนา-เอฟ.เอ็ม. หัสเนียน
พุทธตรรกวิทยา:  การศึกษาช่วงแรกในปรัชญาของธรรมเกียรติ-แอล. บะพัต
คู่มือพระพุทธศาสนาสำหรับการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน-อาจารย์พุทธรักขิต
วัดพระพุทธศาสนาในหิมาจัลประเทศ- โอ.ซี. ฮันดา
วัดพระพุทธศาสนาหิมาลัยตะวันตก-โรมิ โกศล
พระภิกษุปละวัดในอินเดีย-สุกุมาร ทุตต์
ขบวนการพระพุทธศาสนา -นาง เดเบลา มิตรา
พุทธปรัชญา: ในฐานะที่นำเสนอในมีมามสาโลกะ วารติกะ-วชัย รานี
พุทธปรัชญาว่าด้วยจักรวาล-ราธกมาล มุกเคอร์จี
พุทธปรัชญาว่าด้วยพลังจักรวาล-สัตการี มุกเคอร์จี
พุทธปรัชญาเถรวาท-เอ็น.เค. ภควัต
ชาวพุทธที่อาศัยอยู่ในอินเดีย-เอ.ซี. เซ็น
ชาวพุทธที่อาศัยอยู่ในอันธรประเทศ- เค.อาร์.สุภัทรมาเนียน
ชาวพุทธที่อาศัยอยู่ในอินเดียใต้และประวัติอันธรในยุคแรก-เค.เอ็ส.สุภัทรมีเนียน
นักปราชญ์ชาวพุทธในแคชเมียร์-บทความที่นำเสนอต่อต่างประเทศ-เอ. คาอูล
นิกายพระพุทธศาสนาในอินเดีย-นาลินักสะ ทุตต์
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธศาสนา-ดี.ซี. ภัทรจรรยา
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธศาสนาในอินเดีย-ดี.ซี.เอหิระ
พุทธศาสตร์-บี.ซี. ลอว์
พุทธศาสตร์ในอินเดีย-อาร์.ซี. ปันเทยา
พุทธสถูปแห่งอมราวตีและจักกัยยาเปตา-ซี. สีวตมมูรติ

 

ซี.
เมืองหลวงของพระพุทธศาสนา: สารนาถ- อาจารย์ สีตรัม จตุรเวที
ศูนย์กลางพุทธปรัชญา-ที.อาร์.วี.มูรติ
จักรธวัช: ล้อแห่งธรรมของอินเดีย (ประวัติการเปิดเผยความหมายของธรรมจักรและเมืองสารนาถ-
วี.เอ็ส.อครวาลา
พระภิกษุจีนในอินเดีย-ลาติกะ ลาหิรี
การศึกษาเชิงเปรียบเทียบศาสนาไชนและพระพุทธศาสนา-สีตัล ประสาท
ความคิดของพระพุทธศาสนา-บี.ซี.ลอว์
ธรรมนูญของภิกษุสงฆ์-เค.แอล. หาซระ
การศึกษาเชิงวิเคราะห์มิลินทปัญหา-อาร์.บาสุ
กระแสตรงข้ามในพระพุทธศาสนายุคแรก-เอ็ส.เอ็น.ดูเบ
มรดกทางวัฒนธรรมแห่งอินเดีย-ลักษณะทางวัฒนธรรมพุทธศาสนา-วี.สุภัทรมาเนียน

 

ดี
ทะไล ลามะแห่งทิเบต: ทายาทแห่งการกำเนิด-อินเดอร์ แอล. มาลิค
วิภาษวิธีของนาครชุน,วิครหวยาวารตานี,ตำรา, แปลเป็นภาษาอังกฤษ- เค. ภัตตจรรยา
วิภาษวิธีของนาครชุน-ราเมนทร นาถ โกสห์
ความเสื่อมของพระพทุธศาสนาในอินเดีย-อาร์ ซี. มิตรา
ระบอบประชาธิปไตยในคณะสงฆ์ยุคแรก-โกคุลทัส เท
พัฒนาการของพระพุทธศาสนาในอุตตรประเทศ-นาลินักสะ ทุตต์ และ เค.ดี. บัชไภ
พัฒนาการของพุทธจริยศาสตร์-เกียชะ ประสาท มิสระ
พัฒนาการของภาพเขียนพุทธศาสนาในอินเดียตะวันออก-การศึกษานางตารา,ปรัชญาแห่งตถาคตทั้งห้าและภิรุกติ-มัลลาร์ โกสห์
ธรรมะที่แสดงโดย ดร. เอ็มเบ็ดการ์- ดี.ซี.เอหิระ บรรณาธิการ
ความเข้าใจเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า การศึกษาพระพุทธศาสนาท่าทีของพรามหณ์ฮินดูที่มีต่อพุทธศาสนา-ลาล มานี โชสี
การค้นพบเมืองกบิลวัสถุ์-เค.เอ็ม. ศรีวัสตวะ

 

อี
พระพุทธศาสนาและภควัตคีตายุคแรก-เค.เอ็น. อุปธยายะ
พระพุทธศาสนายุคแรกและต้นกำเนิด-วิสวนาถ วารมะ
ระบบวัดวาอารามในพระพุทธศาสนายุคแรก-สุกุมาร ทุตต์
เทพนิยายพระพุทธศาสนายุคแรก-เจ.พี.หาลเดอร์
ประวัติศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนายุคแรกและนิกายพระพุทธศาสนา- นาลินักสะ ทุตต์
วัดพระพุทธศาสนายุคแรก-นาลินักสะ ทุตต์
จารึกพระเจ้าอโศก- จี.ศรีนิวสมูรติและเอ.เอ็น.เค. ไอยันการ
สภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาในพระพุทธศาสนายุคแรก-เอ็ส.เค. รามจันทรา ราโอ
สาระสำคัญของพระพุทธศาสนา-พี. ลักษมี นาราสุ

 

เอฟ
ตามรอยบาทพระศาสดา-ที.แอล.วัสวานี
ระบบวัดในทิเบตเบื้องต้น-อนาคาริก โควินทะ ลามะ
โครงร่างปรัชญาของนาครชุน-เอ.เอ็ม. ปัธยะ
อนาคตพุทธเจ้า(โพธิสัตว์)-ซามุ ที. เมรานี

 

จี
ประติมากรรมคันธาระ-เค.กฤษณะ มูรติ
โคตมพุทธะและพารภัทชาตก-บี.ซี. ลอว์
โคตมพุทธะ-เอ็ส. ราธกฤษณัน
โคตมพุทธะ: นายแพทย์ผู้หาใครเทียบไม่ได้(ยอดเยี่ยม)-เอ็ส.แอล. ภาเตีย
โคตมพุทธะ-  อักสยะ กุมาร เดบี
โคตมะ: เรื่องราวของพระพุทธเจ้า-ศกุนตลา มสานี
คยาและโพะคยา-บี.เอ็ม บารัว
ภูมิศาสตร์ในพระพุทธศาสนายุคแรก-บี.ซี.ลอว์
ต้นฉบับตัวอักษรคิลกิต –นาลินักส ทุตต์
แสงสว่างแห่งพระพุทธศาสนา-อาร์.แอล. โซนี
แสงสว่างแห่งพระพุทธศาสนา-เอ็น ราเมสัน
แสงสว่างแห่งวัฒนธรรมพระพุทธศาสนาในอินเดียรวมถึงลีลาทั้งสี่-วี.สุภัทรมาเนียน
เส้นทางสู่โพธคยา-เทวปริยะ วาลิสินหะ
เส้นทางสู่ความพินาศของพระพุทธศาสนาที่สารนาถ-ทยา ราม สาหนี
เส้นทางสู่กสินาคาร์-ภิกษุ ธัมมรักษิต
เส้นทางสู่นาลันทา-เอ.โกสห์

 

เอช
สวรรค์และนรกในมุมมมองของพระพุทธศาสนา-บี.ซี.ลอว์
สาระสำคัญ(หัวใจ)ของพุทธปรัชญา: ทินนาคะและธรรมกีรติ-อมร ซิงห์
มรดกของพระพุทธศาสนา-ดี.ซี. เอหิระ
ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา(ศาสนวงศ์) บี.ซี. ลอว์
ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอัสสัม (พุทธศักราช 200-1700) เอ็ส. ศาสนนันทะ
ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในแคชเมียร์-เอ็ส.โกศล
ประวัติศาสตร์เอเชียกลาง-ราหุล สันกฤตยยัน
ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย-เอ็ส.อาร์. โกยัล
ประวัติศาสตร์รัฐโอริสสา-หาเรกรุสนะ มหตาป
ประวัติวรรณคดีบาลี 2 เล่ม- บี.ซี. ลอว์
ประวัติศาสตร์การวิจัยพระพุทธศาสนาในอินเดีย-เอ็น.เอ็น. ภัตตจรรยา
วิวัฒนาการในประวัติศาสตร์แห่งพุทธตำนาน-สารลา โกศล
การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์คำศัพท์ในหินยานและมหายานและกำเนิดพุทธมหายาน-อาร์. กิมูระ
ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาเถรวาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้,พร้อมกับการศึกษาพิเศษในอินเดีย
และศรีลังกา-กาไน ลาล หาวระ
พระพุทธศาสนาเสื่อมจากอินเดียอย่างไรและทำไม-ดี.ซี.เอหิระ
สิทธิมนุษยชนในคำสอนของพระพุทธเจ้า-เอ็ม.เอ็น. ปะธัก

 

ไอ
หนี้ของอินเดียต่อพระพุทธศาสนา- ดี.ซี. เอหิระ
อินเดียและจีน- พี.ซี. บักชิ
ภาพเขียนพระพุทธศาสนาในอินเดีย- บี. ภัตตจรรยา
บัณฑิตอินเดียในแผ่นดินหิมะ-สรัต จันทรา ทัส
ญาณในพระพุทธศาสนา- เอ็ส.เค. คุปตะ บรรณาธิการ
ความปรีชาในการแนะนำมนุษย์ของพระพุทธศาสนา-ภทันต์ อนันท์ เกาสัลยยัน
ลัทธิลึกลับในพระพุทธศาสนาเบื้องต้น- บี. ภัตตจรรยา
พระพุทธศาสนาเบื้องต้น-ทะไล ลามะ
ลัทธิลามะเบื้องต้น- อาร์.อาร์.อนุรุธะ
ปรัชญามาธยมิกะเบื้องต้น-ไชเทวะ ซิงห์
วรรณคดีบาลีเบื้องต้น-เอ็ส.ซี. บาเนอร์จี
พุทธตันตระเบื้องต้น-สาสิ ภูสาน ทัสคุปตะ
วิสุทธิมัคค์เบื้องต้น-พระอู ธัมมรัตตนะ
จารึกพระเจ้าอโศก-ดี.ซี. สีรจาร
สถาบันพระเจ้าอโศก-เอ็ส.เค. เสน คุปตะ

 

เค
กุสินาคาร์-ดี.อาร์.ปาติล

 

แอล
ตำนานสถูปเจดีย์(ธูปวังสะ) แปลเป็นภาษาอังกฤษ –บี.ซี. ลอว์
พุทธประวัติในประติมากรรมของอินเดีย-รัตน ปาริโม
พรอันสูงสุดของชีวิต- ดร. อาร์.แอล. โซนี
วิถีชีวิตในประติมากรรมที่ศานจิ- เอ.แอล. ศรีวัสตวะ
ประวัติวรรณคดีพระพุทธศาสนาภาษาสันสกฤต- ซี.เค. นาริมัน
ตำนานชีวิตของพระพุทธเจ้า-อาจารย์ พุทธรักขิต

 

เอ็ม
มหาราษฎร์แผ่นดินแห่งพระพุทธศาสนา-ดี.ซี. เอหิระ
พระพุทธศาสนามหายาน-นาลนักสะ ทุตต์
อุดมคติของพระพุทธศาสนามหายานแห่งกเสเมนทร-เอ็น.เอ็ส.สุกลา
มาธยันตระ วิภังค ศาสตรา-อาร์.ซี. ปันเทยะ
มาธยมิกะ ศาสตรัมของนาครชุน เล่ม 1- อาร์.ซี. ปันเทยะ
คู่มือประเพณีในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา-บี.ซี.ลอว์
คู่มือบาลี (หนังสือไวยากรณ์) –ซี.วี. โชสี
ข่าวสารของพระพุทธเจ้า- เอ.พี. วาเทีย
จิต: การเอาชนะความรำคาญใจ-อาจารย์พุทธรักขิต
มิลินทปัญหา-อาร์.บาสุ
พระพุทธศาสนายุคใหม่และเหล่าสาวกในโอริสสา- นาเคนทร นาถ วาสุ

 

เอ็น
ปรัชญาของนาครชุนที่ปรากฎในมหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์-เค. เวนคาตะ รามนัน
นาครชุนคอนดา- ที.เอ็น. รามจันทรัน
ธรรมชาติของพันธนาการและความหลุดพ้นในระบบพุทธศาสนา-เค.สุกลา
นิพพานในพระพุทธศาสนายุคแรก(มีพื้นฐานอยู่ในแหล่งข้อมูลบาลี)-เอช.เอส.โสบติ
ความเข้าใจสัจจะและพระพุทธศาสนาและลัทธิปฏิบัตินิยม-กมลา กุมารี

 

โอ
กำเนิดพระพุทธรูป-อัดริส บันเนอร์จี
กำเนิดและพัฒนาการภาษาบาลี-อาร์.สิทธารถ
โครงร่างพระพุทธศาสนายุคแรก-อเจย์ มิตร ศาสตรี

 

พี
ไวยากรณ์บาลี-เอ็น. จักรวารตี วิทยาภูสานและ เอ็ม.เค. โกส
ภาษาและวรรณคดีบาลี-วิลเฮลม ไกเกอร์,,แปลโดยบัลกฤษณะโกส
ปาลี สังครห (เลือกจากตำราพุทธศาสนายุคแรก) พี.วี. บพัต บรรณาธิการ
การฟื้นฟูพระพุทธศาสนายุคแรกในอินเดีย- ดี.ซี.เอหิระ
ประมามนวารตติกัมของอาจารย์ธรรมเกียรติ-อาร์.ซี.ปันเดย์ บรรณาธิการ
อินเดียก่อนพระพุทธศาสนา-ราติลาล เมหตะ
การบรรยายตามประวัติศาสตร์พุทธปรัชญา-บี.เอ็ม บารัว
ทัศนคติทางจิตวิทยาของพุทธปรัชญายุคแรก-อนาคาริก โควินทะ ลามะ

 

อาร์
ราชคิร(ราชคฤห์)-เค.เอ็ม.เอช. กุไรศรี และ เอ. โกส
ราชคฤห์และนาลันทา-อมัลยา จันทรา เสน
การอุปถัมภ์ของกษัตริย์ต่อพระพุทธศาสนาในอินเดียโบราณ-เค.แอล.หาซรา

 

เอส
ศานจิ- นาง เดบาลา มิตรา
สันสกฤตพุทธศาสนา-นิหาร รันจัน เรย์
วรรณกรรมพระพุทธศาสนาสันสกฤตแห่งเนปาล-อาร์ แอล.มิตรา
สารีปุตตและโมคคัลลานะ-พระเอ็น.ชินรัตนะ
สารนาถ-วี.เอส. อการวาลา
สารนาถ-บัณฑิตเซโอ นารายณ์
วรรณกรรมสรวัสติวาท-เอ.ซี.บันเนอร์จี
สารวะ-ตถาคตะ-ตัตวะ-สังครหะ-โลเคส จันทรา บรรณาธิการ
ประติมากรรมของพระพุทธศาสนาวัชรญาณ-เค. กฤษณะ มูรติ
ความหมายและความสำคัญของชาดก – โกคุลทัส เดย์
มิติทางสังคมของพระพุทธศาสนายุคแรก-อุมา จักราวารตี
คุณค่าพื้นฐานบางส่วนของพระพุทธศาสนา-อาร์.แอล.โซนี
วิญญาณพระพุทธศาสนา-หาริ ซิงห์ กาอุระ
ซี่แห่งล้อ(การศึกษาธรรมของพระพุทธเจ้า)-อารวินท ซาร์มา
สรวัสตี-เอ็ม.เวนกาตารามัยยะ
เรื่องราวของพระพุทธศาสนาพร้อมกับการอ้างอิงพิเศษในอินเดียใต้-เอ.เอ.
ไอยปานและ พี.พี. ศรีนิวสาน
การศึกษามหาวัสถุ-บี.ซี. ลอว์
การศึกษาปฏิสัมภิทามัคค์-พระอู ธัมมรัตนะ
การศึกษาพระพุทธศาสนาและศาสนาซิกซ์-เอช.เอส.โสบตี
การศึกษาศิลปะทางพระพุทธศาสนาในเอเชียใต้- เอ.เค. นารายณ์
การศึกษาวัฒนธรรมพุทธศาสนาในอินเดีย-แอล.เอ็ม.โชศรี
การศึกษารูปบูชาของพระพุทธศาสนา-ดี.ซี. ภัตตจรรยา
การศึกษาพุทธชาตก-อาร์.ซี. เสน
การศึกษาพระพุทธศาสนาในจีน-เอ.ซี. บันเนอร์จี
การศึกษาสถาปัตยกรรมอินเดียในพุทธศาสนายุคแรก-เอช.สารการ์
การศึกษาอนุสาวรีย์พระพุทธศาสนายุคแรกและคำจารึกอักษรพราหมีแห่งอันธรเทสา-ไอ.เค. สาร์มา
การศึกษากำเนิดพระพุทธศาสนา-จี.ซี.ปันเท
การศึกษาบาลีและพระพุทธศาสนา: ที่ระลึกเพื่อเป็นเกียรติของภิกขุ จักดิสห์ กัสหยัป-เอ.เค. นารายณ์
การสำรวจพระพุทธศาสนา-ภิกขุ สังฆรักษิต

 

ที
ตารกภาษา: คู่มือพุทธตรรกวิทยา-บี.เอ็น.ซิงห์
ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดียของตารนาถ  แปลจากภาษาทิเบตโดยลามะ ฉิมปาและอัลกา จัตโตปะทัย-เดบีประสาท จัตโตปทัย บรรณาธิการ
ตถาคตพุทธะ: เรื่องที่ไม่ได้เปิดเผยของพระพุทธเจ้า-พี.วาย.เทสปันเท
โรงละครของชาวพุทธ-เอช.วี.ซาร์มา
พระพุทธศาสนาเถรวาท-นิหาร์ รันจัน เรย์
ทฤษฎีสัมพันธภาพของพระพุทธศาสนาในพุทธปรัชญา-พิมเคนทรา กุมาร
ทิเบตศึกษา-เอส.ซี. ทัส

 

ยู
มรดกที่ยากจะลืมเลือน(เรื่องของธัมมปท) เล่มที่ 1,2,3,4-อาจารย์พุทธรักขิต

 

วี
งานของวัชรญาณ-บี.ภัตตจรรยา
วิหารในอินเดียโบราณ-ทีปัก กุมาร บารัว
วิมุตติมัคค์และวิสุทธิมัคค์-การศึกษาเชิงเปรียบเทียบ - พี.วี บะพัต
เสียงแห่งพุทธะ: สัจจะชั่วนิรันดร์-ประนัป บันโธโพทัย

 

ดับเบิลยู
ทางแห่งพุทธะ-แผนกพิมพ์,กระทรวงข่าวสารและวิทยุกระจายเสียงจัดพิมพ์
พระพุทธศาสนาคืออะไร-พี. ลักษมี นาราสุ
สตรีในวรรณกรรมพระพุทธศาสนา-บี.ซี.ลอว์

 

วายส์
จิตนิยมโยคาจาร-เอ.เค. จัตเตอร์จี

 

แชด
พระพุทธศาสนานิกายเซน: การวิเคราะห์เรื่องที่สำคัญ-แอล.พี. ซิงห์และบี.เอ็ม. สิริเสนา

 

4. วารสารทางพระพุทธศาสนา

        วารสารพระพุทธศาสนาฉบับแรกที่สุดคือ มหาโพธิ วารสารรายเดือนภาษาอังกฤษโดยมหาโพธิสมาคมแห่งอินเดีย 4 –เอ, ถนนบันคิม จัตเตอร์จี กัลกัตตา ก่อตั้งโดยอนาคาริกธรรมปาละในเดือนพฤษภาคม 2435  เป็นวารสารพุทธศาสนาฉบับเดียวที่ออกติดต่อกันนานกว่าหนึ่งศตวรรษ มีวารสารฉบับอื่นๆ อีกจำนวนมากที่ต้องหยุดพิมพ์
        วารสารพุทธศาสนาที่มีอายุนานเป็นอันดับสองคือ ชกัชชโยติ ซึ่งก่อตั้งในปีพุทธศักราช 2451 โดยพระกริปาสรันมหาเถระ ผู้ก่อตั้งพุทธสมาคมเบงกอล เมื่อเริ่มก่อตั้งชกัชชโยติออกเป็รายเดือนภาษาเบงกาลี แต่ปัจจุบันพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษและเบงกาลีอย่างละครึ่ง ภายใต้การเป็นบรรณาธิการของเฮเมนทู บี. เชาธุรี โดยพุทธสมาคมเบงกอล ถนนพุทธวิหาร กัลกัตตา
        วารสารพุทธศาสนาที่มีความสำคัญอันดับสามเป็นวารสารรายเดือนชื่อ ธรรมะ พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ โดยมหาโพธิสมาคม 14 ถนนกาลิทาส,คันธินาคาร์ บังกาลอร์ การนาตกะ ก่อตั้งโดยพระอาจารย์พุทธรักขิตในปีพุทธศักราช 2519 และเป็นบรรณาธิการเองด้วย
        วารสารพุทธศาสนาบางเล่มยังที่ยังพิมพ์เผแพร่ในอินเดียคือ   (1) สัมยัค ทริสติ (สัมมาทิฏฐิ) วารสารรายเดือนภาษาอังกฤษ-ฮินดี โดยมหาโพธิ อโศก มิชชั่น,อัชเมอร์,ราชสถาน (2) โพธิปาท,รายปี ฮินดี-อังกฤษ พุทธสมาคมนานาชาติไวศาลี,มูซาฟฟารปุระ,พิหาร (3) นาลันทา รายสามเดือน,ภาษาเบงกาลี, นาลันทาวิทยาภวัน,กัลกัตตา,เวสท์เบงกอล (4) วิปัสสนา รายเดือนภาษาฮินดี สถาบันวิปัสสนานานาชาติ ธัมมคีรี อิกัตปุรี มหาราษฎร์ (5) ประกายะ วิจัย รายเดือน ฮินดี ภูร พูลันทสาหาหระ อุตตรประเทศ (6) ธัมมเกียรติ รายสามเดือน ฮินดี ชลันธร ปัญจาบ (7) พุทธ ธูรัม ประจักร รายเดือน ฮินดี เมืองอนันทครห์  โหสิอารปุระ ปัญจาบ (8) ธัมมาลีปิ รายเดือน มารธี บอมเบย์ มหาราษฎร์

 

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
แปลจาก D.C. Ahir, Buddhism in Modern India, Sri Satguru Publications,Delhi,1991. (บทที่ 6)
04/06/55

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก