ในอดีตวรรณกรรมที่มีคุณค่าทางพระพุทธศาสนามักจะเก็บรักษาไว้ในวัด เมื่อวัดถูกทำลายด้วยลัทธิป่าเถื่อนนอกศาสนา และเมื่อพระพุทธศาสนาเสื่อมสลายลง วรรณกรรมพระพุทธศาสนาก็หายสาบสูญไปด้วย เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน วรรณกรรมพระพุทธศาสนามักจะเป็นภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ซึ่งนำมาจากศรีลังกา, พม่า,เนปาลและทิเบต ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีเยี่ยมและด้วยความเคารพนับถือในฐานะของธรรมเจดีย์อย่างหนึ่ง แต่การศึกษาค้นคว้าพระพุทธศาสนานั้นมีคัมภีร์และวรรณกรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาสมัยใหม่มากมาย จากหนังสือพระพุทธศาสนาในอินเดียยุคใหม่ได้รวบรวมไว้ดังต่อไปนี้
การค้นคว้าวิจัยของนักปราชญ์ชาวตะวันตก โดยเฉพาะผลงานในยุคแรกๆของเซอร์วิลเลี่ยม โจนส์ (พ.ศ. 2289-2337) และเซอร์ เอ. คันนิ่งแฮม(พ.ศ. 2357-2436) ผู้ที่ขุดค้นเอาสิ่งที่มีคุณค่าอันประมาณมิได้ของพระพุทธศาสนาขึ้นมา และนำไปสู่การตื่นตัวในหมู่นักปราชญ์อินเดีย นักวิชาการอินเดียในยุคเริ่มต้นคือราเชนทรา ลาล มิตรา(พ.ศ. 2367-2434) ผลงานที่สำคัญชิ้นหนึ่งคือ “พุทธคยา” สถานศักดิ์สิทธิ์ของนักปราชญ์ศากยะ (พ.ศ.2420),วรรณกรรมพระพุทธศาสนาภาษาสันสกฤตแห่งเนปาล(พ.ศ. 2425)และลลิตาวิสตาร(พ.ศ. 2430) ได้ปลุกเร้าในเกิดความสนใจในการศึกษาพระพุทธศาสนา อีกสองท่านในยุคบุกเบิกคือ หาร ประสาท ศาสตรีและสรัต จันทรา ดัส ทั้งสองท่านเป็นนักอรรถกถาจารย์หนุ่มในงานของราเชนทรา ลาล มิตรา ในขณะที่ เอช.พี. ศาสตรีให้ความสนใจในวรรณกรรมพุทธศาสนาภาษาสันสกฤต สรัส จันทรา ดัส เชี่ยวชาญพิเศษในด้านทิเบตศึกษา ผลงานของท่านคือ “บัณฑิตอินเดียในแผ่นดินแห่งหิมะ” เขียนขึ้นครั้งแรกภายหลังที่เดินทางท่องเที่ยวในทิเบตได้เปิดมุมมองใหม่สำหรับนักวิชาการ ในปีพุทธศักราช 2435 เอส.ซี.ดัส,เอช.พี ศาสตรีและอีกหลายท่านได้ก่อตั้งสมาคมตำราทางพระพุทธศาสนาขึ้นที่กัลกัตตา ภายใต้เครื่องป้องกันคือสมาคมนี้ ตำราพระพุทธศาสนาส่วนหนึ่งที่ยังไม่มีใครเคยรู้จักก็ได้รับการพิมพ์เผยแพร่ งานที่สำคัญๆ เช่น: พุทธจรรยาวตารและวิสุทธิมรรค(ภาษาสันสกฤต,พิมพ์ครั้งแรกมีเพียง 2-3 บทเท่านั้น) โดยสรัส จันทรา ทัส, สวยัมภู-ปุรานะและอัสตะ-สหศรีกะ-ปรัชญา-ปารามิตา โดยหาร ประสาท ศาสตรี,และงานแปลมัธยมิกะ-วฤตติ ของจันทรเกียรติ (บางส่วน) โดยหริโมหัน วิทยาภูสาน
นักวิชาการทางด้านภาษาบาลีคนแรกที่มีชื่อเสียงในอินเดียคือสาติสห์ จันทรา วิทยาภูสาน เป็นอินเดียคนแรกที่ได้รับปริญญาโทด้านภาษาบาลีจากมหาวิทยาลัยกัลกัตตาในปีพุทธศักราช 2444 ที่ได้เปิดภาควิชาพุทธศาสตร์ ที่ได้เป็นตัวอย่างในการสร้างสมาคมตำราพุทธศาสนาขึ้น และมหาโพธิสมาคม ดร. วิทยาภูสานมุ่งความสนใจไปที่พุทธตรรกวิทยาและปรัชญา ผลงานของท่านรวมถึงหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีของกัจจายนะโดยแปลเป็นภาษาอังกฤษ(พ.ศ.2450),พุทธ-สโตตระ-สันครหะ(พ.ศ.2451),นยายพินทุ (พ.ศ. 2460)และประวัติศาสตร์ที่สำคัญของตรรกวิทยาอินเดีย (พ.ศ. 2465) ความสนใจเป็นพิเศษของวิทยาภูสานในเรื่องเกี่ยวกับตรรกวิทยาและปรัชญาได้ทำให้เกิดการย้อนกลับมาศึกษาค้นคว้าวิจัยในพระพุทธศาสนา
ดร. เบนี มธับ บารัว(พ.ศ. 2431-2491) เป็นนักวิชาการชาวอินเดียที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่ง ผู้ที่ส่งเสริมให้เกิดการศึกษาพุทธปรัชญา ผลงานชิ้นแรกของท่านคือ ประวัติศาสตร์ยุคก่อนพุทธปรัชญา ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ยุคก่อนพระพุทธศาสนาทำให้มองเห็นได้ชัดเจน ส่วนงานเขียนอื่นๆคืออาชีวิกและปรากฤตธัมมบท ดร.บารัวยังได้เขียนงานทางพระพุทธศาสนาที่ทรงคุณค่าอีกมากในด้านคำจารึกและประวัติศาสตร์ ดร. บี.ซี. ลอว์ เพื่อนร่วมงานที่ทรงคุณค่าของ ดร. บารัว มีผลงานที่น่าเชื่อถือมากกว่า 50 ชุด ผลงานของท่านในเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาคือประวัติวรรณคดีบาลี 2 ชุด,พุทธโกศะ, การศึกษามหาวัสตุ,สตรีในวรรณกรรมพระพุทธศาสนา,ความคิดของพระพุทธศาสนา,และแปลพุทธวังศ์,จริยาปิฎก,กถาวัสถุ เป็นต้น
นักวิชาการที่มีชื่อเสียงที่ประสบความสำเร็จอีกท่านหนึ่งคือศาสตราจารย์ บารัวเป็นหัวหน้าภาควิชาภาษาบาลีที่มหาวิทยาลัยกัลกัตตาและรุ่มรวยในการศึกษาภาษาบาลีคือ ดร. นาลินักสะ ทุตต์ ความเชื่อถือในการค้นหางานชุดที่ยิ่งใหญ่ของต้นฉบับคิลกิต และจัดพิมพ์ในชุดเดียวกัน 8 ชุด ผลงานที่มีคุณค่ามากที่สุดของท่านคือ “คุณลักษณะของพุทธศาสนามหายานและความสัมพันธ์กับหินยาน (พ.ศ. 2473) และวัดในพระพุทธศาสนายุคแรก พิมพ์ 2 ชุด (พ.ศ. 2484-2488) งานที่จัดพิมพ์ครั้งล่าสุดคือ “พุทธนิกายในอินเดีย” นับเป็นงานบันทึกที่ทรงคุณค่าด้วย ดร. นาลินักสะ ทุตต์ (พ.ศ. 2436-2516) ยังเป็นประธานกรรมการบริหารด้านการศึกษาของมหาโพธิสมาคมและวารสารมหาโพธิสมาคมแห่งอินเดียอีกด้วย
นักวิชาการชาวอินเดียท่านแรกที่แนะนำภาษาบาลีในตัวอักษรเทวนาครีคือศาสตราจารย์ ธัมมนันทะ โกสัมพี(พ.ศ. 2419-2490) ในปีพุทธศักราช 2445 ท่านได้เดินทางไปที่ศรีลังกาอุปสมบทและศึกษาภาษาบาลีที่วิทโยทัยวิทยาลัยภายใต้การดูแลของพระหิกกาทุเว ศรี สุมังคล มหานายกเถระ จากปีพุทธศักราช 2455-2461 ท่านได้รับราชการเป็นอาจารย์สอนภาษาบาลีในเฟอร์กูสันวิทยาลัย ปูณา ซึ่งเป็นพื้นฐานในการศึกษาภาษาบาลีในอินเดียตะวันตก พระธัมมนันทะ โกสัมพี ยังได้เขียนตำราทางพุทธศาสนาด้วยภาษามารธีและคูจราตีเป็นจำนวนมาก ผลงานที่ยิ่งใหญ่ของท่านคือการเป็นบรรณาธิการจัดพิมพ์วิสุทธมรรคเป็นภาษาเทวนาครีในปีพุทธศักราช 2483
ศาสตราจารย์ เอ็น.เค. ภัควัต(พ.ศ. 2430-2505) ลูกศิษย์ที่มีคุณค่าของธัมมนันทะ โกสัมพี เป็นนักวิชาการด้านภาษาบาลีที่มีลักษณะพิเศษท่านหนึ่ง ได้จัดพิมพ์ตำราภาษาบาลีด้วยตัวอักษรภาษาเทวนาครี และจัดพิมพ์งานในลักษณะเดียวกันเพื่อประโยชน์ของมหาวิทยยาลัยบอมเบย์ งานที่สำคัญในชุดนี้คือนิทานกถา(ชาดก),มหาวังศะ, ทีฆนิกาย(ชุดที่ 1,2),มัชฌิมนิกาย เถรคาถา,เถรีคาถาและมหาวัคค์ 2 ชุด ศาสตราจารย์ภัควัต ยังได้แปลธัมมบท,ขุททกปทาและชาดกอีกจำนวนหนึ่ง
ย้อนกลับมาที่ภาษาอินเดียยุคใหม่ เราพบว่าเริ่มต้นด้วยคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่แปลความโดยนักปราชญ์ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือมวลชนอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม ก็มาจากวรรณกรรมที่เขียนในภาษาสมัยใหม่ที่เรียบง่ายและชาญฉลาด ผู้บุกเบิกในงานด้านนี้คือมหาบัณฑิตราหุล กฤตยยัน(พ.ศ. 2436-2506)พระเถระผู้ชาญฉลาดและผู้สร้างสรรค์วรรณกรรมพระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียง (เขียนตำราและจุลสารประมาณ 175 เล่ม) ในภาษาฮินดีอันเป็นภาษาประจำชาติของอินเดีย
ราหุล สันกฤตยยันเป็นนักเขียนที่มีผลงานมาก นอกจากวรรณกรรมพุทธศาสนาแล้ว ยังมีผลงานที่เป็นตำราและกึ่งวิชาการ ท่านได้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์,วิทยาศาสตร์และปรัชญา,บันทึกการท่องเที่ยวและประวัติบุคคล เป็นต้น ท่านยังเป็นนักสำรวจผู้ยิ่งใหญ่อีกด้วย เคยเดินทางตามเส้นทางทุรกันดารไปยังทิเบตสามครั้ง และได้นำเอาต้นฉบับลายมือเขียนภาษาทิเบตที่ทรงคุณค่าหลายชุดกลับมาด้วย ผลงานบางชิ้นท่านยังเป็นบรรณาธิการจัดพิมพ์ ท่านราหุล สันกฤตยยันได้ก่อตั้งสถาบันหลายแห่ง ที่เป็นสถานที่ในการให้บริการสำหรับงานด้านวรรณคดี ยังเคยได้รับรางวัลปัทมภูสานจากรัฐบาลอินเดียอีกด้วย
ในหมู่นักวิชาการพุทธศาสนา นักวิชาการที่มีชื่อเสียงเด่น ๆ คือพระภทันต์ อนันท์ เกาสัลยยันและพระดร. ธัมมรักษิตะ ร่วมกันเขียนตำราไว้ 12 เล่ม(รวมถึงที่แปลเป็นภาษาบาลี) ด้วยความน่าเชื่อถือ มีงานที่เขียนเป็นภาษาบาลีและภาษาฮินดี ทั้งสองท่านได้รับปริญญาเอกแห่งวิทยาวาริธี(ดอกเตอร์ทางวรรณคดี) โดยมหาวิทยาลัยปัตนะ, นวนาลันทามหาวิหาร นาลันทา นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาที่เด่นๆคนอื่นๆคือพระ นันทพรรษา มหาสถวีระ ท่านได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่มในภาษาอัสสัม
วรรณกรรมที่เป็นตำราและกึ่งตำราที่แต่งโดยนักปราชญ์และนักวิชาการต่างๆเพื่อปลุกให้ขบวนการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้ตื่นขึ้นมามีผลกระทบต่อนักเขียนชาวอินเดีย ในท่ามกลางวรรณกรรมจำนวนมากที่เขียนบนเรื่องราวของพระพุทธศาสนา นักเขียนที่เด่นๆคือ คุรุเทพ ระพินทรนารถ ฐากูร รัฐกวีแห่งอินเดียผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบล อาจารย์ จตุรเศียร ศาสตรีและยัสหปาล นักเขียนภาษาฮินดีชั้นยอดสองท่าน และกุมารัน อัสสัน กวีชาวมาลายลัมสมัยใหม่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง
พระพุทธเจ้าไม่ใช้ภาษาสันสกฤต ที่เป็นภาษาที่คนส่วนน้อยศึกษา และได้ใช้ภาษาพูดของประชาชน เพื่อเผยแผ่คำสอนของพระองค์สู่มหาชนโดยตรง ภาษานี้ต่อมาได้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารสำหรับชาวพุทธในอินเดียนั่นคือภาษาบาลี เป็นภาษาที่ใช้เขียนพระติปิฎก(สันสกฤตเป็นไตรปิฎก) เป็นภาษาหนึ่งที่กลับมามีชีวิตอีกครั้งในอินเดีย ภาษาบาลีคือภาษาปรากฤตเก่าและปัจจุบันเขียนด้วยอักษรเทวนาครี การศึกษาภาษาบาลีได้มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับขบวนการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยกัลกัตตาเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่แยกเป็นภาควิชาภาษาบาลี ปริญญามหาบัณฑิตทางภาษาบาลี เปิดขึ้นครั้งในปีพุทธศักราช 2444 มหาวิทยาลัย
บอมเบย์เป็นมหาวิทยาลัยต่อมาที่เปิดสอนด้านการศึกษาภาษาบาลี วิทยาลัยเฟอร์กูสัน ปูณา ที่พระธัมมนันทะ โกสัมพีเป็นศาสตราจารย์ทางภาษาบาลีจากปีพุทธศักราช 2455-2461 เป็นวิทยาลัยที่สำคัญในการสอนภาษาบาลีที่เดกแคน ปัจจุบันมีภาควิชาพุทธศาสตร์แพร่หลายในมหาวิทยาลัยในกัลกัตตา,เดลีและสันสกฤตมหาวิทยาลัย,วาราณสี อันธระ,อัลลาฮาบาด,บาโรดา,บานารัส,ลัคเนาว์,มคธ,มารัถวาดา,ปัตนะ เป็นต้น มีการสอนที่จัดเตรียมไว้อย่างพอเพียงสำหรับภาษาบาลี การสอนภาษาบาลีในโรงเรียน ภาษาบาลีเป็นภาษาคลาสสิคจัดสอนในโรงเรียนที่อัสสัม,มหาราษฎร์,อุตตรประเทศและเวสท์เบงกอล
สังเกตได้จากประวัติบุคคล ผลงานทางตำราของพระพุทธศาสนาปัจจุบันมีจำนวนมากในภาษาฮินดี,อัสสัม,เบงกาลี,คูจราตี,มาราธี,เตเลกูและอูรดู ธรรมบทเป็นตำราที่มีผู้นิยมแปลมากที่สุด สาเหตุน่าจะมาจากเนื้อหาที่ชัดเจน ซึ่งเป็นแบบแผนในการดำเนินชีวิตสำหรับประชาชนหลายล้านคนตลอดอายุ ปัจจุบันวรรณกรรมพุทธศาสนาหาได้ง่ายในภาษาสำคัญๆ เป็นที่สังเกตได้ว่าเริ่มเห็นคุณค่าตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 25 มีหนังสือมากกว่า 500 เรื่องที่เขียนโดยนักเขียนชาวอินเดีย ในจำนวนงานเขียนเหล่านี้ งานเขียนภาษามาราธีของธัมมนันทะ โกสัมพีเรื่อง “ภัควัน พุทธะ” เป็นงานที่ได้รับการแปลมากที่สุด เกือบจะทุกภาษาในอินเดียโดยสหิตะอคาเดมี งานเขียนที่มีชื่อเสียงของดร. บี.อาร์.เอ็มเบ็ดการ์คือ “พระพุทธเจ้าและธรรมของพระองค์” (คนทั่วไปรู้จักเหมือนเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธศาสนา) ชาวพุทะในอินเดียศึกษาด้วยความเคารพ พระภทัต์ อนันท์ เกาสัลยยันแปลเป็นภาษาฮินดีและปัญจาบี
นอกจากนั้นยังมีรายการหนังสือในภาษาต่างๆ รวมถึงวารสารที่อุทิศเพื่อพระพุทธศาสนา มีบางช่วงที่รับเอาตามเหตุของพระพุทธศาสนา