ประเทศอินเดียตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2420 เป็นเวลายาวนานกว่า 70 ปี จนกระทั่งอินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษในวันที่ 15 สิงหาคม พุทธศักราช 2490 ประเทศอินเดียหรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า "สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India)" หลังจากได้รับเอกราช การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาก็ได้ดำเนินการในอีกรูปแบบใหม่ เพราะมีนักวิชาการกลุ่มหนึ่งคิดย้อนกลับไปยังอดีตที่อินเดียเคยเจริญรุ่งเรืองมาก่อน ทำให้คิดถึงพระพุทธศาสนาซึ่งถือได้ว่าถือกำเนิดขึ้นในชมพูทวีปซึ่งก็คือดินแดนส่วนหนึ่งของอินเดียนั่นเอง การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอดีตเคยดำเนินการโดยกลุ่มบุคคลและองค์กรต่างๆ แต่เมื่อินเดียได้รับเอกราชจึงเริ่มฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในรูปแบบของมวลชนหรืออย่างเป็นทางการโดยเริ่มต้นจากรัฐบาลแห่งชาติ
3. การดำเนินการที่เป็นทางการ
หลังจากที่อินเดียได้รับเอกราช การดำเนินการเพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ก็ได้ยึดถือแนวทางในการปฏิบัติแบบใหม่ โดยย้อนกลับไปสู่การนำเอาพระพุทธศาสนาเข้าสู่ความสัมพันธ์กับลัทธิชาตินิยมและสายธารวัฒนธรรมอินเดียตั้งแต่โบราณเป็นต้นมา เมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญกำลังดำเนินการอย่างจริงจังในการยกร่างรัฐธรรมเพื่อความเป็นเอกราชของอินเดีย เกี่ยวกับธงชาติและตราประจำชาติทำให้คณะกรรมการยกร่างต้องคิดหนัก มีหลายท่านที่มองย้อนกลับไปที่มรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นสุดยอดของกระแสธารนั่นคือพระพุทธศาสนา ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นตัวแทนแห่งวันเวลาอันรุ่งโรจน์ของชมพูทวีปในอดีตกาล ภายใต้การอุปถัมภ์ของอดีตกษัตริย์ที่เป็นพุทธมามกะ และการมองเห็นคุณค่าอันยิ่งใหญ่ของคณะกรรมการสภาร่างรัฐธรรมนูญ ดร.ราเชนทร์ ประสาท ได้เสนอกงล้อธรรมจักรของพระพุทธศาสนาและสิงห์สีเศียรบนเสาหินพระเจ้าอโศก เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของอินเดียที่เป็นเอกราช แม้ว่าที่ประชุมจะคัดค้านบ้างแต่ในที่สุดประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญในขณะนั้นคือ ดร. บี.อาร์.เอ็มเบ็ดการ์ เห็นด้วยและในที่สุดที่ประชุมจึงตกลงนำเอาสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของอินเดียในอดีตมาเป็น “ตราประจำชาติ”ของอินเดีย
รัฐธรรมสำหรับสาธารณรัฐอินเดียเอกราช ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 (1949) เหตุการณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในปี พ.ศ.2492(1949)คือการนำเอาพระสารีริกธาตุของพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะกลับมาจากกรุงลอนดอน อังกฤษที่ถูกนำไปตั้งแต่ ปี พ.ศ.2393 (1851) อีกเหตุการณ์หนึ่งในปี พ.ศ.2492 (1949)คณะผู้ปกครองแห่งรัฐพิหาร ได้ออกพระราชบัญญัติในการจัดการบริหารงานวัดพุทธคยา ซึ่งมีคณะกรรมการ 8 คนประกอบด้วยชาวพุทธ 4 คนและชาวฮินดู 4คน บริหารในรูปของคณะกรรมการ แม้ว่าวิธีการเช่นนี้จะไม่ค่อยเป็นเอกภาพนัก แต่อย่างไรก็ตามก็ถือได้ว่าชาวพุทธประสบความสำเร็จพอสมควรในการได้รับการควบคุมและจัดการวัดมหาโพธิตามวิธีนี้ ซึ่งเคยอยู่ภายใต้การควบคุมของฮินดูนิกายมหันต์มาตลอดระยะเวลาอันยาวนาน
ในปี พ.ศ.2493 (1950) ขบวนการดำเนินการเพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนาได้รับการสนับสนุนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ บาบาสาเหฟ ดร. บี. อาร์. เอ็มเบ็ดการ์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นผู้นำวรรณศูทร เป็นวรรณะชั้นต่ำในสังคมที่ถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพ ได้กลายที่เป็นที่ยอมรับของมหาชน เมื่อเขาได้ให้ความสนใจในปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ สังคมการเมือง แต่ในปี พ.ศ.2493 (1950) เขาได้ทำให้สาธารชนรู้ถึงจุดมุ่งหมายที่สำคัญในจิตใจของเขาคือการดำเนินการเพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย ในปีนั้นเขาได้จัดงานพุทธชยันตีท่ามกลางชาวพุทธจำนวนมาก และงานนี้ก็ได้ถูกจัดขึ้นทุกๆปีในเวลาต่อมา ในปีเดียวกันนั้นเขายังได้เขียนบทความเนื่องในวันวิสาขะ ลงพิมพ์ในวารสารมหาโพธิในชื่อเรื่องว่า “พระพุทธเจ้าและศาสนาในอนาคตของข้าพเจ้า” สาระสำคัญของเรื่องนี้คือสิ่งที่เขากล่าวไว้ว่า “ในโลกนี้มีเพียงพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาเดียวเท่านั้นที่สอนเน้นถึงเรื่องเหตุผลและศีลธรรมเพื่อนำพาไปสู่ความหลุดพ้น และสอนว่ามนุษย์มีความเท่าเทียมกันมีความรักความผูกพันธ์เสมือนหนึ่งเป็นเครือญาติร่วมโลก
เหตุการณ์ที่สำคัญในปีประกาศเอกราชของอินเดีย ซึ่งยังคงอยู่ในความทรงจำของมหาชนคือการบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ประสูติของอัครสาวกทั้งสองคือพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะและนำเอาสารีริกธาตุของสองอัครสาวกกลับคืนสู่ถิ่นกำเนิด โดยรัฐบาลอังกฤษส่งคืนให้รัฐบาลอินเดียในเดือนมกราคม พ.ศ. 2492(1949) ตามคำเรียกร้องของมหาโพธิสมาคม ก่อนที่จะถูกนำไปบรรจุที่ศานจิ สารีริกธาตุของสองอัครสาวกก็ได้ถูกนำไปแสดงให้ประชาชนได้ชมทั่วอินเดีย และยังนำไปยังประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาอื่นๆและประเทศเหล่านั้นยังแสดงการชื่นชมและแสดงสักการะบูชาต่อสารีริกธาตุของอัครสาวกทั้งสองอีกด้วย ส่วนในอินเดียมีการต้อนรับอย่างมโหฬารตื่นตาตื่นใจ ในที่สุดสารีริกธาตุก็ได้กลายเป็นสมบัติของรัฐพิหาร ซึ่งเป็นสถานที่ประสูติของสองอัครสาวก ในวันที่ 26 มีนาคม 2492 (1949) สารีริกธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ของพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะได้มาถึงปัตตนะ มีประชาชนมาร่วมต้อนรับด้วยความปีติยินดีอันล้นพ้นมากกว่า 50,000 คนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้มีบันทึกไว้โดย ดร. ศรีกฤษณะ สิงห์ ประธานคณะมนตรีแห่งรัฐพิหาร ได้แสดงไว้ด้วยความเคารพยกย่องในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์นี้ว่า “นับเป็นประวัติการณ์ของรัฐพิหารและถือเป็นประวัติศาสตร์ของอินเดีย นอกจากนั้นยังนับได้ว่าเป็นเหตุการณ์ของโลก ที่น่าภาคภูมิใจสำหรับชาวอินเดียที่มีผู้นำทางศาสนาคือพระพุทธเจ้าและอัครสาวกที่เสียสละแก่ชาวโลกโดยปราศจากความเห็นแก่ตัวตลอดระยะเวลาอันยาวนาน
เมื่อสิ้นสุดงานฉลองการกลับบ้านเกิดสารีริกธาตุของอัครสาวกทั้งสอง งานในการดำเนินการต่อไปจึงมอบให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่ศานจิ ใกล้โบพัล (Bopal) ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2495 (1952) ในงานนี้มีนายกรัฐมนตรีอินเดียและพม่าเข้าร่วมพิธีด้วย ตลอดจนผู้นำชาวพุทธจากทั่วโลก มีคำปราศัยจากพระภิกษุจากประเทศต่างๆ ในโอกาสนี้ยวาหราล เนห์รู นายกรัฐมนตรีอินเดียได้กล่าวคำปราศัยว่า “ข้าพเจ้ามองเห็นลึกลงไปในคำสอนของพระพุทธเจ้าว่าจะเป็นเครื่องชี้นำทางไปสู่ความก้าวหน้าและความเจริญรุ่งเรือง ภาระกิจส่วนนี้นับเป็นส่วนสำคัญของชีวิต เพื่อเปิดเผยวิญญาณแห่งความรู้ของมหาชน ในการกลับสู่ถิ่นกำเนิดของสารีริกธาตุของอัครสาวกทั้งสอง นับเป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญอย่างลึกซึ้งต่อจิตใจของข้าพเจ้ามาก สาระสำคัญอีกประการหนคึ่งคือการสร้างวัดที่มีจิตวิญญาณขึ้นภายในหัวใจของทุกคน ประดิษฐานไว้เพื่อสักการะบูชาสำหรับความทรงจำในอดีตไว้เป็นผู้นำทางในโลกที่สับสน”ในบทสรุปเนห์รูกล่าวว่า “หลังจากการประชุมครั้งนี้สิ้นสุดลง เมล็ดพันธ์แห่งสันติสุขจะผลิบานและแพร่กระจายทั่วไป”ดังนั้นงานพิธีที่ศานจิจึงเป็นการเปิดแนวทางแห่งการหวนรำลึกถึงเรื่องราวในอดีตกาล เพื่อพลิกฟื้นคืนสู่การดำเนินการเพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย
ในปี พ.ศ. 2499 (1956) เหตุการณ์ที่ถือเป็นนิมิตหมายในการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา เริ่มต้นด้วยวันคล้ายวันประสูติตรัสรู้และปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ล่วงผ่านกาลเวลาไปนานถึง 2,500 ปี พุทธศาสนิกชนทั่วโลกได้จัดงานที่ยิ่งใหญ่เพื่อรำลึกถึงบรมครูผู้ยิ่งใหญ่ สำหรับที่อินเดียได้จัดงานพุทธชยันตีขึ้น เพื่อเป็นเครื่องหมายของการเริ่มต้นศักราชใหม่ในปีกึ่งพุทธกาล ซึ่งถือได้ว่าเป็นศักราชแห่งความหวัง,สันติภาพและความรุ่งเรืองแห่งพระพุทธศาสนา ในการฉลองพุทธปุรนัมตามความเหมาะสมในประวัติศาสตร์ครั้งนี้ รัฐบาลอินเดียได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานพุทธชยันตีขึ้น โดยมี ดร. เอส. ราธกฤษณันรองประธานาธิบดีเป็นประธาน กรรมการคนอื่นมีอาทิเช่น ดร. สัมบุรณนันท์ ประธานคณะมนตรีแห่งรัฐอุตรประเทศ,ดร. ศรี กฤษณะซิงห์ ประธานคณะมนตรีแห่งรัฐพิหาร,เอส.ดี ซาร์มา ประธานคณะมนตรีแห่งรัฐอัสสัม,พระกุศักดิ์ พากุล ผู้นำลามะแห่งลาดัคห์และมหาราชกุมารแห่งสิกขิม ท่านศรี เนห์รู นายกรัฐมนตรีก็ได้เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย ค่าใช้จ่ายในการจัดงานพิธีฉลองพุทธชยันตี รัฐบาลอินเดียให้การสนับสนุนเต็มที่ พิธีนี้จัดติดต่อกันตลอดระยะเวลา 1ปีเต็ม สิ้นสุดลงเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2500 (1957) ในงานนี้มีกำหนดการดังนี้
1. วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 (1956) พธิวางศิลาฤกษ์อนุสาวรีย์แห่งความทรงจำในนิวเดลี โดย ยวาหราล เนห์รู นายกรัฐมนตรีแห่งอินเดีย (ปัจจุบันอนุสาวรีย์นี้ยังคงอยู่ที่สวนพุทธชยันตี สร้างเป็นรูปดอกบัวเสริมคอนกรีต)
2. วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 (1956) ประชุมสาธารณชน โดยมีดร.ราเชนทร์ ประสาท ประธานาธิบดีอินเดียเป็นประธาน
3. วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 (1956) เปิดแสดงนิทรรศการทางศิลปะเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่นิวเดลี ในการแสดงนิทรรศการนี้ยังได้เชิญตัวแทนจากนานาประเทศด้วย
4. วันที่ 17-18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 (1956) ประชุมสัมนาทางพระพุทธศาสนา
5. สิ่งตีพิมพ์
5.1. พิมพ์หนังสือ พระพุทธศาสนา 2,500 ปี
5.2. สมุดภาพอนุสาวรีย์ที่สำคัญๆทางพระพุทธศาสนา
5.3. ประกาศบนแผ่นหินของมหาจักรพรรดิ์อโศก
5.4. พระไตรปิฎกตัวอักษรเทวนาครี
6. จัดทำภาพยนต์สารคดีพุทธประวัติ พร้อมด้วยประติมากรรมและภาพพิมพ์ในอินเดีย
7. การพิมพ์สาระสำคัญที่เป็นเครื่องหมายแสดงถึงพิธีฉลองมหาพุทธชยันตี เริ่มต้นด้วยสานส์จากประธานาธิบดี ดร.ราเชนทร์ ประสาท มีสาระสำคัญตอนหนึ่งว่า “ในวาระโอกาสที่ถือเป็นศุภมงคลสมัยแห่งการครบรอบ 2,500 ปีของพระพุทธศาสนานี้ ข้าพเจ้าขอส่งคำอวยพรต่อพลเมืองชาวอินเดีย และพุทธศาสนิกชนทั่วโลกด้วย นับว่าเป็นวันเวลาอันทรงเกียรติสำหรับผู้ที่มีศรัทธาในความมหัศจรรย์ทางศีลธรรม และเป็นความเยี่ยมยอดแห่งวิญญาณมนุษย์ที่อยู่เหนือโลกียวิสัยและมวลสรรพสัตว์ หมู่ประชาชนที่ได้พบเห็นกับการกระทำทุกรกิริยาเพื่อค้นหาสัจจธรรม ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงด้วยขันติธรรมเพื่อสันติสุขแห่งจักรวาล นับเป็นการย้อนรำลึกถึงประสบการณ์แห่งสันติสุขเพื่อสร้างสันติธรรมต่อมวลมนุษยชาติจากโอกาสอันเป็นมงคลครั้งนี้”
ช่วงเวลาในการเฉลิมฉลองพุทธชยันตีอันยาวนานตลอดปีนี้หน่วยงานทางศาสนาและวัฒนธรรมมากกว่า 1,000 แห่ง ได้เข้าร่วมในงานด้วย กระดาษมากกว่าล้านหน้าได้ถูกเขียนในการสรรเสริญพระพุทธองค์ หนังสือพิมพ์และวารสารทุกฉบับในประเทศได้เพิ่มหน้าเพื่ออุทิศแด่พระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนา หนังสือและจุลสารอีกหลายร้อยเล่มได้รับการตีพิมพ์ด้วยภาษาต่างๆของชาวอินเดีย สถานีวิทยุทั่วประเทสออกอากาศบทสนทนาธรรมและการแสดงธรรมในพระพุทธศาสนาตลอดปี มีการสร้างภาพยนตร์สารคดี 2 เรื่องคือองคุลีมาลและอัญชลี ที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นเฉลิมฉลองในงานนี้ด้วย ดร. บี อาร์ เอ็มเบ็ดการ์ ได้เตรียมการเพื่อการบันทึกแผ่นเสียง 2 แผ่นกับบริษัท H.M.V. เป็นภาษาบาลีคือไตรสรณคมน์และเบญจศีล ส่วนการฉลองความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาที่มหาโพธิสมาคมจัดขึ้นตามปรกตินั้นนับว่าเป็นพิธีการที่มีคุณลักษณะพิเศษและเน้นพิธีการทางศาสนามากกว่าเป็นการฉลองตามปรกติในโอกาสที่พระพุทธศาสนาล่วงเลยมาถึง2,500 ปีที่พระพุทธศาสนาเคยเปล่งประกายแห่งความรุ่งเรืองในดินแดนอันเป็นถิ่นกำเนิดคืออินเดียและได้รับการพลิกฟื้นคืนกลับมาอีกครั้ง โดยการซ่อมแซม ปรับปรุงส่วนที่ชำรุดเสียหายให้มีความน่าดูชมสำหรับนักทัศนาจรจากทุกสารทิศที่มาเยือน มีการสร้างถนนหนทางเพื่อการสะดวกในการเดินทางสร้างที่พัก สร้างโรงเรียนและสวนสาธารณะเพื่อประโยชน์สำหรับมหาชน การเดินทางเข้าประเทศอินเดียในปีฉลองพุทธชยันตีนี้ รัฐบาลผ่อนปรนสำหรับนักจาริกแสวงบุญเป็นพิเศษ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปีเดียวกันนี้ (2499) คือการนำสารีริกธาตุของพระอรหันต์โมคคัลลีบุตรติสสะเถระและพระเถระรูปอื่นๆกลับคืนสู่มาตุภูมิ ซึ่งตกอยู่ในการครอบครองของพิพิธภัณฑ์กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ อัฐิธาตุเหล่านี้ส่วนมากเป็นของพระอรหันต์ที่อยู่ในยุคสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช สถานที่ค้นพบอัฐิธาตุทุกแห่งได้จัดทำรูปโกศจำลองไว้ 3แห่งคือ (1) โกศแรกบรรจุอัฐิธาตุของพระโมคคัลลีติสสะเถระอรหันต์,โกสิกปุตตอรหันต์และโกติปุตตอรหันต์ (2)โกศที่สองบรรจุอัฐิของพระมหาวินัยอรหันต์,พระอปาคิระอรหันต์และโคทินีปุตตอรหันต์ (3) โกศที่สามบรรจุอัฐิของวาชิยะ สาวิชัยตะและพระอรหันต์องค์อื่นๆ อัฐิธาตุเหล่านี้นำมาถึงเมื่อวันที่5กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 (1956) โดยศรีมาตี วิชัย ลักษมีบัณฑิต สมาชิกคณะกรรมาธิการระดับสูงของอินเดียประจำรัฐอุตรประเทศ นอกจากนั้นท่านเนห์รูนายกรัฐมนตรีอินเดียยังต้อนรับถึงปะรำพิธีในสนามบินอีกด้วยพิธีการอันสมเกียรติ อัฐิโกศแรกรัฐบาลอินเดียมอบให้รัฐบาลศรีลังกา ส่วนอีก 2 โกศมอบให้มหาโพธิสมาคมแห่งอินเดีย ตั้งประดิษฐานไว้เพื่อสักการะบูชาที่ศานจิวิหาร
เหตุการณ์ที่มีความสำคัญอีกอย่างหนึ่งในระหว่างพิธีพุทธชยันตีคือวันที่14 ตุลาคม 2499 วันนั้น ดร. บีอาร์เอ็มเบ็ดการ์ได้ประกาศตนเป็นพุทธมามกะโดยถือเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต มีประชาชนที่ปฏิบัติตามประมาณ 5 แสนคน พิธีนี้กระทำที่นาคปูร์ มีขบวนแห่พร้อมด้วยเสียงดนตรี ติดตามด้วยขบวนผู้ที่พร้อมจะปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ มีกงล้อธรรมจักรประทับอยู่ท่ามกลางขบวนพร้อมด้วย ดร.เอ็มเบ็ดการ์ ในการนี้ถือได้ว่าเป็นศักราชใหม่แห่งการดำเนินการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอย่างได้ผล ซึ่งสมควรจะเรียกได้อย่างเหมาะสมว่า “เป็นศักราชแห่งเอ็มเบ็ดการ์” สำหรับพระพุทธศาสนาในอินเดีย ไม่มีสิ่งใดที่มีคุณค่ามากกว่านี้ภายในช่วงเวลา 5ปี (1956-1961,2499-2504)ประชากรที่นับถือพุทธศาสนาได้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยการจดทะเบียนประชากรอย่างน่าตื่นตาตื่นใจ โดยคิดเป็นร้อยละ 1670.71 คือเพิ่มจากที่เคยมีอยู่ก่อน 180,823 คน เป็น 3,250,227 คน จำนวนนี้เป็นเพียงการประมาณการ ยังมีจำนวนพุทธศาสนิกชนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก หลังจากวันที่ ดร.เอ็มเบ็ดการ์ ได้ประกาศตนเป็นพุทธศาสนิกชน แล้วมหาชนที่ประกาศตนตามเจตนารมย์ของดร. เอ็มเบ็ดการ์ ยังมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ในปี พ.ศ. 1964-65 (2507-2508) มหาโพธิสมาคมแห่งอินเดีย ได้จัดพิธีฉลองวันครบรอบวันเกิด 100 ปี ของอนาคาริกธรรมปาละ ในระหว่างพิธีฉลองอันยาวนานตลอดปี ซึ่งงานนี้จัดขึ้นทั่วประเทศเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ริเริ่มงานด้านพระธรรมทูต พิธีฉลองที่น่าประทับใจมากที่สุดจัดขึ้นที่เมืองกัลกัตตา,นิงเดลีและสารนารถ งานฉลองวันเกิดครบรอบ100 ปีของธรรมปาละในเมืองหลวงของอินเดีย ได้ปลูกต้นโพธิในวันที่25ตุลาคม 1964 (2507) ที่สวนสาธารณะพุทธชยันตี โดยท่านลาล บาหดูร์ สาสตริ นายกรัฐมนตรีอินเดีย ซึ่งนำหน่อต้นโพธิมาโดย นาล สิริมาโว บันดารา ไนยเก นายกรัฐมนตรีแห่งศรีลังกา จากต้นโพธิที่อนุราธปุระ ในขณะที่ปลูกต้นโพธิมีการสวดพระสูตรอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นการร่วมงานที่มีสีสรรค์ อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นเวลาประมาณ2,300 ปี ล่วงมาแล้ว ที่พระนางสังฆมิตา (ราชธิดาของพระเจ้าอโศก) ได้นำเอาหน่อต้นโพธิจากต้นโพธิต้นเดิมที่พุทธคยาไปยังอนุราธปุระ หลังจากพิธีปลูก ได้มีการประชุมทางวิชาการ โดยจัดขึ้นที่พุทธวิหาร ณ มันคีร มารค์ นิวเดลี โดยมีท่านลาล บาหดูร์ สาสตริ และนาล สิริมาโว บันดารา ไนยเก ได้รับเชิญให้เป็นประธานเมื่อกล่าวถึงการปลูกต้นศรีมหาโพธิท่านศรี สาสตรี ได้กล่าวไว้ว่า “ในนามประชาชนชาวอินเดีย ถือว่าต้นโพธิเป็นต้นไม้อันศักดิ์สิทธิ์ และอาจได้รับแรงกระตุ้นจากต้นไม้นี้”และยังกล่าวต่อไปว่า “เมื่อหน่อต้นโพธิเจริญขึ้นเป็นต้นไม้ใหญ่ ก็จะกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งปรัชญาอันลึกซึ้งของพระพุทธเจ้า”ต้นโพธิในสวนสาธารณะพุทธชยันตีได้งอกงามขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เพราะความน่าสักการะ(ศักดิ์สิทธิ์)ของต้นโพธิเอง จึงได้กลายเป็นที่สักการะของชาวพุทธผู้ที่มาเยี่ยมชมในวันพุทธปุรนิมา และในวันสำคัญทางพุทธศาสนาวันอื่นๆอีก
ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2507(1964) นับเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ชาวอินเดียได้รับการชำระทางจิตวิญญาณโดยพุทธธรรมของพระพุทธเจ้า เหตุการณ์ครั้งนี้คือการจัดเตรียมการประชุมองค์กรพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก โดยจัดขึ้นที่ป่าอิสิปตนะสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ เมืองสารนารถ จากวันที่ 29พฤศจิกายน -4ธันวาคม นับเป็นการประชุมครั้งแรกขององค์กรพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ที่จัดขึ้นที่อินเดีย ชาวพุทธอินเดียตื่นเต้นอย่างยิ่ง และพวกเขาก็ได้เข้าร่วมฟังในการประชุมอย่างล้นหลาม และได้รับฟังแนวความคิดที่แตกต่างกันจากชาวพุทธที่มาจากต่างประเทศเหล่านั้นด้วย โดยมีตัวแทนจาก 68 ประเทศ พร้อมด้วยผู้สังเกตุการณ์อีก 75 คนที่มาจาก 23 ประเทศตัวแทนชาวอินเดียมีจำนวนมากที่สุด ซึ่งมาจากอัสสัม,เดลี,แคชเมียร์(ลาดักส์),มัทราช,มหาราษฎร์,ไมซอร์,ราชสถาน,ตรีปุระ,อุตตรประเทศและเบงกอลตะวันตก การประชุมเริ่มต้นโดย ดร.สรวาปัลลีราธกฤษณันประธานาธิบดีอินเดียกล่าวเปิดงานในตอนเย็นวันที่ 29 พฤศจิกายน ต่อหน้าบุคคลสำคัญหลายคนเช่นพระสังราชา,ทะไลลามะ ผู้นำสูงสุดแห่งทิเบต,มหาราชาแห่งสิกขิม,นางสุเชตกริปลานีหัวหน้าคณะรัฐมนตรีแห่งรัฐอุตตรประเทศมหาราชาแห่งพาราณสี(บานารัส),นางลักษมี เอ็นมีนอน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีฝ่ายกิจการต่างประเทศมายอร์แห่งพาราณสี,นักการทูตและกลุ่มพระมหาเถระระดับสูง เป็นต้น เรื่องที่น่าสนใจเป็นพิเศษในการประชุมครั้งนี้คือ ผู้เข้าร่วมกลุ่มใหญ่ที่มีแนวความคิดตาม ดร. เอ็มเบ็ดการ์ ซึ่งมีจำนวนหลายพันคนที่มาจากทุกภาคของอินเดีย
สุนทรพจน์ในพิธีเปิดของ ดร.ราธกฤษณันท์คือมธุรสวาจาสำหรับพุทธศาสนาที่เคยได้ยินในช่วงเวลานั้น ทุกคนที่มีเกียรติและความคิดเห็นทางความคิดและอารมณ์ความรู้สึกได้ให้การต้อนรับบทสรุปของนักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่ ท่านประธานาธิบดีแห่งอินเดียได้กล่าวกับผู้ฟังว่า “ด้วยความสุจริตใจต่อคำสอนของบรมครูผู้ยิ่งใหญ่ ไม่เพียงแต่ถ้อยคำตามตัวอักษรเท่านั้น แต่เป็นจิตวิญญาณ” ส่วนการพูดแสดงความขอบคุณนำโดยดร. จี.พี.มาลัลเสขร แห่งศรีลังกา กล่าวถึงความสำคัญของการมองการณ์ไกล ภาพแห่งการระลึกถึงอดีตแห่งการก่อตั้งองค์กรพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2493 (1950) ในการประชุมได้มีมติที่ประชุมหลายข้อที่ถูกนำไปใช้ การประชุมสิ้นสุดลงในวันที่ 4 ธันวาคม พร้อมด้วยสุนทรพจน์ในการปิดการประชุมโดยหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิษกุล จากประเทศ ประธานองค์กรพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกคนปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2509 (1966) ได้เห็นความสำเร็จอันงดงามของคณะสงฆ์ไทย ที่พุทธคยา ชาวพุทธไทยได้สร้างวัดขึ้นมีมูลค่าประมาณ 16ล้านรูปี เป็นวิหารที่ประณีตงดงามที่สุดที่สร้างในอินเดียสมัยปัจจุบัน(สมัยใหม่)
ในช่วงระยะเวลา 20 ปี พ.ศ. 2490-2510 (1947-1967) พระพุทธศาสนาดูเหมือนว่าจะมีความเจริญเต็มที่ ในช่วงที่อินเดียเป็นเอกราช ในสองทศวรรษแรกได้มีการอภิปรายในรัฐสภา โดยคณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งยอมรับว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรม เป็นมรดกแห่งชาติ และยังได้นำเอาสัญลักษณ์ในโบราณของพระพุทธศาสนามาใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งอินเดียยุคใหม่ ในปี พ.ศ. 2510 (1967)พระสูตรอันศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธศาสนาก็ได้รับการท่องสาธยายเป็นครั้งแรก ที่สนามหญ้าหน้าลานรัฐสภานำโดยพระภทันต์ อนันท์ เกาสัลยายัน เป็นเหมือรการให้พรต่อรัฐสภา ในโอกาสนี้ได้รับการจัดเตรียมวิธีการที่เปิดเผย รูปปั้นขนาดเท่าตัวจริงของ ดร. เอ็มเบ็ดการ์ ผู้นำชาวพุทธสมัยใหม่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและถือว่าเป็นบิดาแห่งรัฐธรรมนูญของอินเดีย รูปเหมือนปั้นโดยพรหมเมส.วี.ปวาคห์ ประติมากรที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักกันดีแห่งบอมเบย์ นำเสนอต่อพิธีกรแห่งโลกสภา โดยคณะกรรมการแห่งการระลึกถึงดร. บาบาสาเหฟ เอ็มเบ็ดการ์ ซึ่งมี วาย. บี.ชยัน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแห่งรัฐบาลอินเดีย เป็นประธาน ดร. ศรี ราธกฤษนันท์ ประธานาธิบดีแห่งอินเดียเป้นผู้เปิดผ้าคลุม ในการประชุมฆที่ยิ่งใหญ่ วันที่ 2เมษายน 2510 (1967) ชาวพุทธกลุ่มใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาเพื่อพิสูจน์พิธีการทางประวัติศาสตร์นี้ จากแทบทุกส่วนของประเทศ พิธีสำคัญที่สุดได้ถูกเพิ่มเข้ามาในงานนี้ โดยการยืนกล่าวปาฐกถาของ พันซ์ ซีล หน้ารูปปั้นผู้นำของพวกเขา ซึ่งเป็นผู้บอกเส้นทางแห่งอิสรภาพแก่พวกเขา
ในปี พ.ศ. 2511(1968) พระพุทธศาสนาในอินเดียเป็นยุคสมัยของ ดร. เอ็มเบ็ดการ์ มีความสำเร็จต่อเนื่องถึง 12 ปี เพื่อการเก็บสะสมสถานภาพทางสังคมในทางศาสนาสำหรับชาวพุทธใหม่ ผู้ที่ดำเนินตามแนวทางของดร.เอ็มเบ็ดการ์ ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านไปถึง 12ปี ในการบรรยายและแลกเปลี่ยนวิถีทางและมรรควิธีเพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริมต่อการดำเนินการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอนาคต มรการประชุม 2ครั้ง จัดขึ้นโดยชนทุกชั้นทุกวรรณะในบอมเบย์ ระหว่างเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน การประชุมครั้งแรกจัดขึ้นวันที่ 23-24 ตุลาคม ภายใต้การควบคุมของภารติยะพุทธมหาสังฆะ ศรีมาติ อินทิรา คานที นายกรัฐมนตรีอินเดีย เป็นประธานเปิดการประชุม และศาสตราจารย์ อาร์ ดี ภันดาเรประธานรัฐมัธยมประเทศ เป็นประธานการประชุม
การประชุมครั้งที่ 2 ซึ่งจัดยิ่งใหญ่กว่าครั้งแรกจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-24 พฤศจิกายน ภายใต้การอุปถัมภ์และคุ้มครองของพุทธสมาคมแห่งอินเดีย องค์ทะไล ลามะ เป็นประธานเปิดการประชุม ไภยาสาเหฟ วาย บี เอ็มเบ็ดการ์ บุตรชายคนเดียวของ ดร. เอ็มเบ็ดการ์ เป็นประธานโดยการพิจารณาร่วมกันในการประชุมครั้งนี้ ในท่ามกลางชาวพุทธทั้งหลายมีผู้นำเสนอในครั้งนี้เช่นพระกุศักดิ์ ภากุล หัวหน้าลามะแห่งลาดักห์ และพระภทันต์ อนันต์ เกาสัลยายัล
เหตุการณ์ทั่วไปในการประชุมครั้งนี้ นับเป็นความทรงจำของจิตยะภูมี (บริเวณที่เผาศพ ดร. เอ็มเบ็ดการ์ วันที่ 7 ธันวาคม 2499(1956) ณ สวนสาธารณะวาสี บอมเบย์ ถูกเปิดเผย (เปิดผ้าคลุม) โดย วี พี ไนยเก หัวหน้าคณะมนตรีแห่งรัฐมหาราษฎร พิธีเปิดอนุสรณสถูป (สถูปแห่งความทรงจำ)ย้ายมาเปิดวันที่ 24 พฤศจิกายน
การเปิดวิศวะศานติสถูป (เจดีย์สันติภาพแห่งโลก)บนยอดเขารัตนคีรี เมืองราชคฤห์ รัฐพิหาร โดยประธานาธิบดีอินเดียวี วี คิริ วันที่ 25ตุลาคม นับเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญมากที่สุดในปี 2513 (2513) ออกแบบทางศิลปะโดยศาสตราจารย์มิโนรุ โอโฮกะ แห่งญี่ปุ่น และแสดงคุณลักษณะตามแบบศิลปะอินเดีย อุเปนทรา มหาราชิ สูง130 ฟุต ยอดเจดีย์เป็นทองคำ ส่วนกว้างเกือบสองเท่าของศานติสถูปสร้างโดยพระนิชิทัตสุ ฟูจิประธานพุทธสังฆแห่งญี่ปุ่น ที่บนสุดของห้องกลางในสถูปนี้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุอันศักดิ์สิทธ์ของพระพุทธเจ้า โดยรัฐบาลอินเดียมอบให้ญี่ปุ่นเพื่อสักการะบูชาในปี 2495 (1952) ศิลาฤกษ์แห่งเจดีย์สันติภาพวางในเดือนมีนาคม 2505(1965)โดยดร. เอส ราธกฤษนันท์ ประธานาธิบดีอินเดีย เจดีย์สันติภาพที่สร้างโดยพระคูจิคุรุจิบนยอดเขาทาอูลิห่างจากภูวเนสวาร์ (โอริสสา) ประมาณ 16 กิโลเมตร ทาอูลิคือสถานที่ที่พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ หลังจากทำสงครามครั้งประวัติศาสตร์ที่กาลิงคะเจดีย์สันติภาพกาลิงคะเริ่มสร้างเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2515 (1972)
รัฐบาลแห่งประเทศไทยได้สร้างวัดไทยวัดแรกที่พุทธคยา ระหว่างปี 2513-2515 (1970-72) สร้างด้วยศิลปะแบบไทยและเป็นการจำลองแบบมาจากวัดเบญจมบพิตรในกรุงเทพ วัดนี้น่าประทับใจทีเดียว โดยเฉพาะพระพุทธรูปทองคำภายในพระวิหารใหญ่ นับเป็นสิ่งที่ดึงดูดใจมากที่สุด
วัดพระพุทธศาสนาที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง ที่สร้างในพุทธคยาในช่วงระยะเวลาเดียวกันคือวัดพุทธแบบญี่ปุ่น (Indosan Nipponji Temple) สร้างโดยสมาคมพี่น้องชาวพุทธนานาชาติแห่งญี่ปุ่น เริ่มต้นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2516(1927)
การประชุมชาวพุทธเบงกอลทั่วอินเดียครั้งแรกจัดขึ้นที่กัลกัตตาระหว่างวันที่ 23-27 ธันวามคม 2516(1973) มีผู้เข้าร่วมประชุมหลายพันคน มีพระภิกษุจากประเทศไทย,ลาว กัมพูชา,ญี่ปุ่น,ศรีลังกาและบังคลาเทศ ได้เตรียมความรุ่งโรจน์และความสำคัญของการรวมเป็นหนึ่งเดียวของวัฒนธรรมทางสังคมนี้เนื้อหา (วัตถุประสงค์ของการประชุมคือการสร้างความเป็นเอกภาพและเชื่อมความสัมพันธ์ในระหว่างชาวพุทธเบงกอลประมาณ 150,000 คนที่กระจัดกระจายทั่วประเทศอินเดีย
การประชุมชาวพุทธทั่วอินเดียและในบริเวณเทือกเขาหิมาลัย เพื่อส่งเสริมสันติภาพลดความรุนแรงและยกเลิกการแบ่งแยกชนชาติเพื่อความสเสมอภาค จัดขึ้นที่เมืองดาร์จิลิง เวสเบงกอล วันที่ 24-25 พฤษภาคม 2518(1975)ในการประชุมมีผู้เข้าร่วมที่เป็นตัวแทนนักวิชาการและผู้นำทางการเมืองจากทั่วประเทศอินเดียประมาณ 200 คน รวมทั้งจากเบงกอลและภูฐานด้วย ของขวัญเหล่านั้นรวมทั้งองค์ทะไลลามะ,กาซิ เลนคุน ดอรจิ หัวหน้าคณะรัฐมนตรีแห่งสิกขิม สิทธารถะ สันการ์ เรย์ หัวหน้าคณะรัฐมนตรีแห่งเวสเบงกอล ดุปซาน ริมโปเซ รวมทั้งพระภิกษุและลามะอีกจำนวนมาก
การประชุมชาวพุทธทั่วเอเชียครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่นิวเดลี ระหว่างวันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2518(1975) ผู้เข้าร่วมประชุมคือตัวแทนจากประเทศต่างๆที่นับถือพระพุทธศาสนารวมทั้งจากรัสเชีย,มองโกเลีย,เวียตนาม,ญี่ปุ่น,ศรีลังกา,เนปาล,เกาหลีมลายาและอินเดียก่อนการประชุมเริ่มต้นด้วยพิธีทางศาสนาอันเป็นทางการ นำโดยองค์ทะไลลามะ ปิดการประชุมโดย วาย บี ชยัน รัฐมนตรี (สำนักนายก)ฝ่ายกิจการต่างประเทศ แห่งรัฐบาลอินเดียเป็นประธาน
การประชุมสนธิสัญญา ที่รู้กันทั่วอินเดียคือสนธิสัญญาพุทธะธรรมที่จัดขึ้นที่นาคปูร์ จัดขึ้นวันที่ 6-10 ธันวาคม 2518(1975)มีตัวแทนจากส่วนต่างๆทั่วประเทศเข้าร่วมประมาณ 300 คน
พิธีเปิดการประชุมเริ่มต้นด้วยการสมาทานศีล 5 และการสวดสาธยายพระสูตร โดยพระภิกษุนำโดยพระธรรมธารี มหาสถวีระ แห่งกัลกัตตา ตามด้วยการระลึกถึงความทรงจำของดร. เอ็มเบ็ดการ์ ซึ่งตรงกันพอดีกับวันครบรอบวันมรณฏรรมของเขา ในงานนี้มีพระอนันต์ เกาสัลยยัน เป็นประธาน มีบันทึกไว้ว่า ในโอกาสนี้มีขบวนแห่ที่เต็มไปด้วยสีสรรค์ มีพุทธศาสนิกชนมากกว่า 30,000 คน นำรูปเหมือนพระพุทธเจ้า(พระพุทธรูป)และโกฐิใส่อัฐิของ ดร.เอ็มเบ็ดการ์ ไปในขบวนแห่ด้วย หลังจากขบวนแห่ไปตามถนนเมืองนาคปูร์และวก็ได้ย้อนกลับไปที่สถานที่จัดประชุมที่สวนสาธารณะเอ็มเบ็ดการ์
วันสุดท้านมีการปิดประชุมในรูปแบบของการระดมพล (ชุมนุม) ชาวพุทธทั่วอินเดีย ซึ่งเริ่มต้นด้วย ศาสตราจารย์ ภันดาเร นายกเทศมรตรีรัฐพิหาร มีชาวพุทธเข้าร่วมประมาณ 4 แสน (Lakhs) บี.ดี โภรากาเด อยู่กลางกลุ่ม และมีชาวพุทธอื่นๆแสดงสุนทรพจน์ ต่อหน้าชุมชนอันมากมาย มติหลายอย่างได้นำมาใช้ในการประชุมครั้งนี้ด้วย
ในปี พ.ศ. 2519 (1976) ชาวพุทธทั่วโลกได้จัดงานฉลองวันครบรอบวันประสูติของพระพุทธเจ้า 2,600 ปี ในอินเดียมีงานฉลองยาวนานตลอดปี เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์นี้ เป็นการจัดสัมนาชาวพุทธนานาชาติภายใต้หัวข้อ “การให้ทานของพระพุทธศาสนาต่อความเจริญและวัฒนธรรมของโลก” จัดขึ้นที่วิคยัน ภวัน (Vigyan Bhavan) นิวเดลี ระหว่างวันที่ 27-29 มีนาคม 2520(1977) ในการสัมนาครั้งนี้ดำเนินการโดยมหาโพธิสมาคมแห่งอินเดีย ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและสวัสดิการสังคม รัฐบาลอินเดีย ผู้ให้การสนับสนุนด้านการเงินตามวัตถุประสงค์นี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมจากต่างประเทศ 33 ประเทศ จากภูฐาน,แคนาดา,เยอรมัน,เยอรมันประชาธปไตย,ฮ่องกง,เกาหลี,มองโกเลีย,เนปาล,ศรีลังกา,ไต้หวัน,ไทย,อังกฤษ,สหรัฐ,รัสเชียและองค์กรต่างๆอีก 5 แห่งจากญี่ปุ่น และตัวแทนจากอินเดียอีก 55 คน มีผู้ร่วมสังเกตูการณ์อีก 18 คน
พิธีเปิดการปะชุมร่วมต้นด้วยการอ่านสุนทรพจน์ของ บี.ดี.จัตติ รักษาการประธานาธิบดีแห่งรัฐบาลอินเดีย ส่งสานส์ต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม โดยพระแอลอริยวงสะ มหาเถระ เลขาธิการคณะกรรมการจัดงานเป็นผู้อ่าน จากพิธีเริ่มต้นและปิดการประชุมมีการร่วมลงประชามติขอบคุณโดยพระเอ็น ชินารัตนะ นายกะเถระ เลขาธิการทั่วไปแห่งคณะกรรมการจัดงาน ดร. อนันทะ ดับบริว บี คุรุเกซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการทั่วไปในการจัดการสัมนา มี 36 เรื่องที่นำเสนอเพื่ออภิปรายหาข้อสรุปโดยตัวแทนที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 26 ผลงานที่ประชุมยอมรับให้มีการตีพิมพ์เป็นหนังสือ โดยมหาโพธิสมาคมแห่งอินเดียงานชุดนี้มี อนันท์ คุรุเกและดี.ซี.อาเธอร์ เป็นบรรณาธิการ
การบำเพ็ญสมาธิ เป็นบทบาทที่สำคัญมากในพระพุทธศาสนา มีวิธีปฏิบัติอยู่ 2ประการคือสมถะ หมายถึงความสงบหรือการพัฒนาความสงบทางใจอีกแบบหนึ่งคือวิปัสสนา ที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ ณ ห้วงเวลาที่พระองค์ทรงตรัสรู้ วิปัสสนาหมายถึงการมองเห็นสรรพสิ่งตามความเป็นจริง (ตามที่มันเป็น)มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญอยู่ที่ “การเปิดเผยความจริงของการเปลี่ยนแปลง(อนิจจัง) ทุกข์และอนัตตา(ธรรมชาติที่ไร้แก่นสาร) ในปรากฏการณ์ทั้งทางวัตถุและจิตใจของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย” วิปัสสนานำสู่ความจริงอันสูงสุดเพื่อการหลุดพ้นทางใจอันสมบูรณ์เพื่อควารมจริงแท้แห่งความจริงอันสูงสุดนั่นคือนิรวาน (นิพพาน)
เพราะความตกต่ำของพระพุทธศาสนาในอินเดีย หลักวิชาวิปัสสนาก็ได้อันตรธานไปด้วยแต่นับว่าเป็นความโชคดี ที่วิชานี้ยังได้รับการรักษาไว้ในพม่า ซึ่งพระพุทธศาสนาได้รับการเผยแผ่ไปยังพม่าในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ประมาณพุทธศักราช 300 (ก่อนคริสศตวรรตที่ 3 ) ผู้ที่สามารถปฏิบัตวิปัสสนาสมาธิที่ยิ่งใหญ่แห่งพม่ายุคใหม่ (วปัสสนาจารย์) คือสยัคยิ อู บา ขิ่น (Sayagyi U. Ba Khin 2441-2514 1898-1971) ท่านลาออกจากงานในตำแหน่งสมุห์บัญชีทั่วไปแห่งพม่า ปลีกตัวเพื่อปฏิบัติวิปัสสนา อีกท่านคือ เอส.เอ็น.โกเอ็นกา ชาวอินเดียแต่เกิดในพม่า ร่วมกับอู.บา ขิ่น สอนวิปัสสนาวิธีขึ้นครั้งแรกในปี 2498 (1955) เป็นเวลายาวนานถึง 14 ปีที่โกเอ็นกาฝึกวิปัสสนากับอู บา ขิ่น ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น “คุรุ” อู บา ขิ่น มีความปรานาว่า เทคนิควิธีแห่งวิปัสสนาควรจะย้อนกลับไปยังอินเดีย และช่วยเหลือมนุษยชาติผู้เต็มไปด้วยทุกข์ในแผ่นดินอันเป็นถิ่นกำเนิดแห่งวิปัสสนา
โกเอ็นกาได้ถือเอาความปรารถนานี้ว่าเป็นภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากครูของเขา ในเวลาต่อมาวิชาวิปัสสนาก็เฟื่องฟูมากในพม่า โกเอ็นกากลับอินเดียในปี พ.ศ. 2512 (1969) พร้อมกับการนำเอาวิชาวิปัสสนาในฐานะที่เป็นสมบัติมีมีค่าของเขาไปด้วย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2514 (1971) ด้วยความเชื่อมั่นเพื่อการประกาศวิชาวิปัสสนาในอินเดีย โกเอ็นกา จึงพบทำเลที่เหมาะแก่การเป็นศูนย์กลางของการประกาศวิชาวิปัสสนาได้เป็นแห่งแรกในดินแดนอันเป็นถิ่นกำเนิดของพระพุทธเจ้า โดยซื้อที่ดินมีเนื้อที่ประมาณ 20 เอเคอร์ บนยอดเขาใกล้ๆกับอิจัตปุรี (เมืองโบราณคือสุจัตบุรี) ห่งจากบอมเบย์ประมาณ 140 กิโลเมตร บนถนนสายบอมเบย์-นาริก (N.H.No. 3) นับเป็นเรื่องที่เป็นศุภมงคลสมัยอย่างที่ยอดเขาแห่งนี้มีชื่อว่า “ธัมมคีรี” นับเป็นหุบเขาแห่งธรรม และได้สถาปนา “สถาบันวิปัสสนานานาชาติ” ขึ้นในปี พ.ศ. 2519 (1976)สถาบันแห่งนี้ทำการวิจัยทางวิปัสสนาและสอนภาษาบาลีตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง
ธัมมคีรี สิ่งแรกอันเป็นต้นแบบสมัยใหม่ในถ้ำโบราณ ปัจจุบันมีความสะดวกทุกอย่างที่เหมาะแก่การฝึกสมาธิวิปัสสนาเป็นการเฉพาะ ท่ามกลางธรรมชาติแวดล้อมที่มีลักษณะดึงดูดใจทั้งบุรุษและสตรี มีผู้เข้าร่วมฝึกวิปัสสนาครั้งละประมาณ 400คน เพราะมีความพร้อมทั้งห้องพักส่วนตัว ศาลาการเปรียญและครูฝึก โดยเฉพาะที่พักสร้างขึ้นให้มีลักษณะเป็นส่วนตัว สิ่งที่ทุกคนได้รับคือโอกาสเพื่อการฝึกฝนสมาธิ สำหรับผู้ที่ต้องการความสันโดษ โดยปิดการติดต่อกับโลกภายนอก ด้านข้างศูนย์วิปัสสนาธัมมคีรีมีการก่อสร้างจากเมืองไฮเดอราบาส รัฐอันตรประเทศ และไชยปุรี รัฐราชสถาน อย่างน้อยที่สุดในหนึ่งเดือนจะจัดให้มีการฝึกประมาณ 10วัน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใดทั้งสิ้น อาหารและที่พักทุกอย่างมีคณะกรรมการจัดหา เมื่อจบการฝึกแต่ละครั้งจะมีผู้ที่ได้รับผลของการฝึกในขั้นสูงเสมอ
ชายแดนอินเดียแทบทุกแห่งจะมีปัณณมหาศาลา ตั้งขึ้นในเดือนมกราคม พ.ศ.2517 (1974) ใช้เวลาสร้าง 2วัน การประชุมชาวพุทธทั่วอินเดียระหว่างวันที่ 17-78 กันยายน 2512 (1978) จัดขึ้นที่ลาดักพุทธวิหาร กรุงเดลี หลังจากการประชุมนี้มีการประชุมชาวพุทธนานาชาติในวันที่19 กันยายน ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่เป็นตัวแทนชาวพุทธจากต่างประเทศ สาระสำคัยของการประชุมคือการพิจารณาเรื่องที่สำคัญ 3 เรื่องคือ การพัฒนาการศึกษาและวิจัยพุทธศาสนาทั่วโลก,การเผยแผ่และการติดต่อสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมชาวพุทธทั่วโลก และบทบาทของพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาการแห่งคุณค่าความเป็นมนุษย์
การประชุมชาวพุทธแห่งชาติจัดขึ้นที่เมืองนิวเดลี ในวันที่11-12 เมษายน 2524 (1981) พี.เค.ธุงกัน หัวหน้าคณะรัฐมนตรีแห่งอุรุนาจัลประเทศ และที.เอส.เนจิ โฆษกแห่งรัฐหิมาจัลประเทศ วิทัน สาภะ ร่วมเป็นประธานในที่ประชุม การประชุมครั้งนี้ดำเนินการโดยคณะกรรมการควบคุม (ชี้นำทาง) มีพระกุศักดิ์ ภากุล เป็นประธาน ศาสตราจารย์ ประสารี สมาชิกโลกสภา ทำหน้าที่เป็นเลขาธิการในการประชุม
Silver Jubilee เป็นเหตุการณ์ที่มีลักษณะเฉพาะตัว เป็นพิธีเพื่อการเปลี่ยนแปลง(ทางศาสนา เศรษฐกิจและการเมือง)ที่ยิ่งใหญ่ในปี พ.ศ. 2499 (1956)นับเป็นการเฉลิมฉลองเพื่อแสดงถึงเกียรติภูมิแห่งความสนใจที่ยิ่งใหญ่ทั่วประเทสในเดือนตุลาคม พ.ศ.25424(1981)พิธีที่ยิ่งใหญ่จัดขึ้นที่ติกสา ภูมิ,นาคปุร์ โดยสร้างปรัมบูชา ดร. บาบาสาเหฟ สมรัค สามีติ ระหว่างวันที่ 1-8 ตุลาคม 2524 (1981) ส่วนหนึ่งของรายการประชุมชาวพุทธที่มีชื่อเสียงทั่วอินเดียพระสงฆ์,ผู้นำทางการเมืองและนักวิชาการต่างก็จัดการประชุมขึ้นหน้าที่หลักคือเพื่อกำหนดโดอกาสในการจัดงานวันที่ 8 ตุลาคม (วันวิชัย ทัสมี) เป็นวันที่ชาวอินเดียกลุ่มหนึ่งหันมานับถือพระพุทธศาสนาตามแนวที่ดร.เอ็มเบ็ดการ์ เคยปฏิบัติมา
ในปี พ.ศ. 2524 (1981) ยังได้เห็นความสำเร็จและการเปิดวัดพระพุทธศาสนาแบบญี่ปุ่นอันงดงาม ที่รู้จักกันว่า วัดนิปปอน ซานเมียวโฮจิ ที่ราชคฤห์ สร้างโดยท่านฟูจิ คุรุจิวัดนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เวฬุวันวิหาร” ภายหลังที่พระพุทธเจ้าได้ก่อตั้งคณะสงฆ์จนรู้จักกันทั่วที่เมืองราชคฤห์แล้ว พระเจ้าพิมพิสารได้ถวายวัดเวฬุวันแด่พระพุทธเจ้า
ในปี พ.ศ. 2526 (1983) ที่พุทธคยาได้มีการก่อสร้างวัดพระพุทธศาสนาแบบญี่ปุ่นที่สวยงามขึ้นอีกแห่งหนึ่ง คือวัดไดโจโกโย สร้างโดยสมาคมไดโกโจโย แห่งญี่ปุ่นเปิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13กุมภาพันธ์ 2526(1983)โดยไจอานี ซาอิลซิงห์ ประธานาธิบดีอินเดียเป็นประธาน
การประชุมพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมนานาชาติครั้งแรกจัดขึ้นวันที่ 10-15 ตุลาคม 2527(1984) ที่กรุงเดลี การประชุมในเดือนสิงหาคม ได้จัดประชุมโดยสภาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม คณะที่ปึกษาการวิจัยทางประวัติศาสตร์แห่งอินเดีย,สมาคมศิลปะแห่งอินเดีย,สถาบันสังคีตนาทัก,สถาบันลาลิตกาลา,คณะกรรมการพิเศษเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ อินเดีย เริ่มงานโดย SMT. อินทริรา คานธี นายกรัฐมนตรีอินเดีย กล่าวสุนทรพจน์ในห้องประชุมวิคยัน ภวัน วันที่10 ตุลาคม 2527 (1984) มีใจความโดยสรุปว่า “ พระพุทธศาสนาได้สร้างมรดกทางวัฒนธรรมของอินเดียที่โลกไม่มีวันลืม ชนชาติอินเดียเป็นหนี้บุญคุณต่อพระพุทธเจ้า ที่ได้นำข่าวสารต่อโลกภายนอกตลอดระยะเวลา 45 พรรษาที่พระพุทธองค์ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ นับเป็นภารกิจที่สำคัญยิ่งจนกระทั่งพุทธธรรมแผ่กระจายทั่วอินเดีนในยุคต่อมา”
การประชุมพิเศษในครั้งนี้ มีนักวิชาการจาก 42 ประเทศ ร่วมเสนอผลงาน,วางทฤษฎีใหม่ๆ,อภิปรายและร่วมร่างกฏระเบียบอย่างเป็นทางการ ตลอดจนนำเสนอแนวทางใหม่ๆ เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโลกสมัยใหม่ โดยเฉพาะต่อชาวตะวันตกที่กำลังสนใจศึกษาพระพุทธศาสนาและสมาธิแบบพุทธ
ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2528(1985) องค์ทะไล ลามะ ได้เริ่มสร้างวัดพระพุทธศาสนาที่สวยงาม มีชื่อว่า “สันติวันวิหาร” ที่ตีอุลปุร เมืองฮูกลี เบงกอลตะวันตก สร้างโดยนักธุรกิจท้องถิ่นชื่อ ทรักจันทราไพรี และภรรยา,สานหลาต สิ้นมูลค่าในการก่อสร้างประมาณ 16 ลักค์ กว่าจะสำเร็จก็ต้องสิ้นเวลาไปถึง 14ปี
แม้ว่าสถานที่เกี่ยวกับโบราณคดีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาจะมีอยู่มากมายก็ตาม แต่ที่ถูกค้นพบและทำงานขุดค้นในช่วงระยะเวลาก่อนอินเดียได้รับเอกราชและหลังวันรับเอกราช จากปี พ.ศ. 2490 (1947) การค้นพบที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งคือที่เมืองโกสัมพี เมืองหลวงในสมัยพุทธกาล หลักฐานที่ถูกค้นพบมีหลายอย่างเช่นบริเวณเมืองหลวง วัดโฆษิตาราม ที่พระพุทธเจ้าเคยประทับอยู่ตามคำนิมนต์ของพระเจ้าอุทัย ที่ไวศาลียังได้ค้นพบทรากสถูปที่กษัตริย์ลัจฉวีสร้างไว้เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เทวันโมรี (Devnmori) อินเดียตะวันตก ยังคงมีวัด,พระภิกษุและโกฐิใส่อัฐิบรรจุอยู่ในสถูปหลายแห่ง ที่เมืองปาอุนิในวิทารภะ ได้ค้นพบจารึกและปฏิมากรรมยุคสุญกะสัตวาหนะ ก่อนคริสตวรรตที่ 2 (พุทธศักราช 200 ) ที่สันโนธะฝั่งซ้ายแม่น้ำภีมะ เมืองกัลบารกา การนาตนะ ได้พบก้อนอิฐประมาณ 2,000 ก้อน ที่ใช้ในการสร้างสถูปและยังได้พบอัฐิธาตุ ที่สานติ ใกล้ซากัตรี ในรัฐหารยนะ ยังคงมีทรากเมารยะสถูป มีการค้นพบประกาศบนแผ่นหินของพระเจ้าอโศกมากกว่า 4ชิ้น หินเหล่านี้พบที่ ราชจุฬา –มันดาคีรี ในรัฐอันตรประเทศ พ.ศ. 2496 (1953),คูจารราในรัฐมัธยมประเทศ พ.ศ.2497(1954),อาหราอุระในรัฐอุตรประเทศ พ.ศ. 2504 (1961),และพาหปุระ นิวเดลี พ.ศ. 2409 (1966) ในเวลาต่อมาก็ได้ค้นพบสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงกาลามสูตรอันมีชื่อเสียงในปีพ.ศ. 2512 (1969) โดยพระธรรมรักษิตะ แห่งสารนารถ ท่านชี้ไปที่หมู่บ้านกัตวาร์ ไปทางทิศเหนือแม่น้ำโมมาตีประมาณ 10 ไมล์ ตอนเหนือของสุลตันปุระในรัฐอุตตรประเทศ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีอีกอย่างหนึ่งว่าเกสปุตแห่งชาวกาลามะ ปี พ.ศ. 2513 (1970) ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่อีกอย่างหนึ่งคือการค้นพบก้อนหินจารึกพระเจ้าอโศกในภูเขาอันทนะและมาทันนา ที่วิชยวาทในรัฐอันตรประเทศซึ่งค้นพบโดยดร.เอ็น เว็นกตรมัยยะ รองผู้อำนวยการการศึกษาจารึกโบราณในปี พ.ศ. 2514 (1971) บริเวณที่ตั้งมหาวิทยาลัยวิกรมศิลาในรัฐพิหาร ในยุคสมัยของกษัตริย์ปารัส (พ.ศ.1162(750) ได้ถูกนำเสนอพร้อมด้วยความชี้แจงอย่างชัดเจน โดยทีมงานแห่งมหาวิทยาลัยปัตนะ ซึ่งร่วมขุดค้นโดยมหาโพธิสมาคม ผู้บรรยายคือตรันตะ นักประวัติศาสตร์ชาวทิเบต ผู้ที่ทำงานในมหาวิทยาลัยปัตนะ การค้นพบอีกอย่างหนึ่งในช่วงปี พ.ศ. 2514(1971) คือถ้ำพุทธศาสนาโบราณ พร้อมกับคำจารึกในภาษาพราหมี และปรากิตที่ป่าอันทา ห่างจากนาคปุร์ประมาณ 60 กิโลเมตร การขุดค้นครั้งนี้คณะทำงานมี ดร. เอส เอ็น ดีโอ หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและโบราณคดีอินเดียโบราณ แห่งมหาวิทยานาคปุร์เป็นประธาน
ทำเลที่ตั้งของเมืองกบิลพัสดุ์ ยังมีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ยาวนานกว่า100 ปี คือติเลาราโกตในเนปาลและปิปราห์วา ในอินเดียกลุ่มที่เรียกร้อง(อ้างสิทธิ์)สำหรับทำเลที่ตั้งเมืองกบิลพัสด์ที่สำคัญๆคือฟูท์เรอร์ นักโบราณคดีชาวเยอรมัน ซึ่งได้รับมอบหมายจากรับบาลเนปาลในปี พ.ศ. 2439(1896) นำเสนอครั้งแรกยืนยันว่า ติเลาราโกตคือเมืองกบิลพัสดุ์ แต่ต่อมามีการค้นพบในปี พ.ศ. 2441(1898) ที่ปิปราห์วาสถูป พบหีบใส่เงินที่ทำด้วยหินชิ้นใหญ่ บรรจุอัฐิธาตุ 5 ชิ้น ระบุไว้อย่างน่าจะเป็นไปได้ว่า เมืองปิปราห์วาคือทำเลที่ตั้งของเมืองกบิลพัสดุ์ในอดีต เกี่ยวกับเรื่องนี้ยังไม่มีการติดสินใจที่ชัดเจน และปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมาถึง 75 ปี (นับถึงปี พศ. 2516)
เดือนมกราคม พ.ศ. 2514(1971) เค.เอ็ม.ศรีวัสตวะ และกลุ่มนักโบราณคดีแห่งปัตตนได้เริ่มทำการขุดค้นใหม่ที่พิปราห์วาอีกครั้ง ในการขุดค้นครั้งแรกแสดงให้เห็นว่าสถูปที่พบโกฐิใส่อัฐิธาตุในครั้งแรก ล้อมรอบด้วยโคลนตม เมื่อสถูปโคลนได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียด และสรุปผลการสำรวจในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2515(1972) โกศบรรจุอัฐิที่ทำด้วยหินสบู่ 2 ชิ้น บรรจุอัฐิของพระพุทธเจ้าที่มีรอยไฟไหม้ และพระอังคารบรรจุบนฐานหิน 3 แผ่น โกศใส่อัฐินี้แสดงว่าสร้างในหัต พระราชวังทางทิศเหนือที่ยังมีสภาพที่เหมือนเดิมขนาด 12 x 7 เซ็นติเมตร โกศใส่อัฐิในท้องพระโรงทางทิศใต้มีขนาด 16 x 9 เซนติเมตร ยังไม่แตกหัก เพียงอัฐิเปื้อนโคลนเท่านั้น
การขุดค้นใเวลาต่อมาในปี พ.ศ. 2516(1973) ศรีวัสตวะและทีมงานของเขา ได้ขุดค้นพบที่ตั้งอารามทางทิศตะวันออกในบริเวณใกล้เคียงมากกว่า 40 แห่ง มีตราประทับสีน้ำตาลแดงพร้อมด้วยเรื่องราวอันเป็นตำนานเป็นภาษาบาลีมีข้อความว่า “เทวปุตต วิหาร กปิลวัสตุ ภิกขุสังฆะ” และจารึกภาษาพราหมีว่า “มหา กปิลวัสตุ ภิกขุสังฆะ” ในช่วงคริสตวรร6แรก ในปี พ.ศ. 2517(1974) มีการจัดสัมนาเกี่ยวกับตราประทับที่ค้นพบ สรุปว่าคำว่า “กปิลพัสตุ” คือคำที่มักได้ยินจนชินหู (พูดกันโดยทั่วไป) เมื่อนักโบราณคดีค้นพบฝาปิดหม้อที่นำมาจากจารึกฉบับเดียวกัน ซึ่งเป็นตราประทับในกลุ่มแรกที่ถูกค้นพบ
จากการขุดค้นได้รับการเปิดเผยว่า พิปราห์วาสถูป ถูกสร้างใน 3 ช่วงเวลาคือ (1) สถูปโคลนตมที่ขุดพบครั้งแรก สร้างโดยศากยวงศ์ก่อนคริสตวรรตที่ 5 (ประมาณ พุทธศักราช 1-100 ) ใส่อิฐิไว้รวมกันกับพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ปิดล้อมด้วยสถูปใหญ่ในช่วงก่อนคริสตวรรตที่ 3(พ.ศ. 200) จากการสที่ ดิบบลิว เป็ปเปอร์ ได้ค้นพบโกศใส่อัฐิอีก 5 อัน และในที่สุดก็ถูกขยายให้ใหญ่ขึ้น ค.ศ. 1(พ.ศ.500) กษัตริย์กุสหนะ กนิษกะ สร้างอารามทางทิศตะวันออกเพื่อภิกษุสงฆ์แห่งเมืองกบิลพัสดุ์ นอกจากนั้นนักโบราณคดีได้ทำการค้นพบอารามอีก 3 แห่ง การเหลืออยู่ของทรากเมืองโบราณนี้ ได้มีการขุดค้นในทำเลใกล้ๆกับคันวาเรีย ซึ่งต่อมาได้เปิดเผยว่า มีโครงสร้างที่ทำด้วยอิฐขนาดใหญ่ 2แห่ง อิฐเหล่านี้เชื่อว่าเป็นปราสาทที่พักของประธานศากยวงศ์ คือพระเจ้าสุทโธทนะพระบิดาของพระพุทธเจ้า
ปิปราห์วา เมืองกบิลพัสดุ์ในอดีต ห่างจากเนาวการห์ 22 กิโลเมตร มีสถานีรถไฟโครักปุร์-คอนดา ถนนสู่ลุมพินีจากสถานีเนาวการห์ บริเวณทางโค้งรถไฟสายตะวันออกจากเปอร์ปุระ 9 กิโลเมตร
พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าซึ่งค้นพบที่เมืองกบิลพัสดุ์ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ กรุงนิวเดลี
สถูปพระพุทธศาสนาโบราณถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2517 (1974)พบที่ภรัตปุระ ฝั่งซ้ายแม้น้ำทาโมดาร์ ห่างจากสถานีรถไฟปานาการืไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 7กิโลเมตรบนทางรถไฟสายตะวันออก ตรงสถานีย่อยทุรกาปุระ เมืองบุรดวัน เวสเบงกอล สถูปที่สร้าด้วยอิฐนี้ สร้างประมาณคริสตวรรตที่ 8-9 อยู่ใกล้ชานชาลาสถานี และมีพระพุทธรูป 2-3 องค์ในท่าภูมิสปารสะ ที่ค้นพบใหม่จากซากปรักหักพังรอบๆอาคารการขุดค้นดำเนินการภายใต้การอุปถัมถ์ของคณะสำรวจทางโบราณคดีแห่งอินเดียและพิพิธภัณฑ์และคณะศิลปศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยปูรตวัน ภายใต้การควบคุมและดูแลของหัวหน้าภัณฑารักษ์ เอส.เอ็น.สมันตะและ ดร.เอส.ซี.รอย และเอส.เอ็นมุคเขอร์จี นักโบราณคดีจากรัฐบาลอินเดีย
ในปี พ.ศ.2518 (1975) ได้มีการค้นพบที่สำคัญคือคำประกาศบนเสาหินพระเจ้าอโศก ที่มีคำบางคำที่ระบุถึงเหตุการณ์ที่น่าสนใจ เป็นประกาศของกษัตริย์ณ ปันกูราเรีย พุทธนิ เตหสีลในเมืองเสหอร์ มัธยมประเทศ การค้นคว้ากระทำโดย บี.พี.โพปาริการ์ แห่งสาขาวิชาโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์แห่งอินเดีย ผู้ที่ให้การช่วยเหลือคือ พี อาร์ เค ประสาทและนัมพิ ราชุ ในขณะที่ทำการขุดค้นที่ถ้ำโบราณแห่งอื่น ณ ชายแดนด้านทิศใต้แห่งภูเขาวิชยัน
การแปลข้อความจากหนังสือภาคภาษาอังกฤษปัญหาที่พบอย่างหนึ่งคือเรื่องของปีพุทธศักราช เพราะหนังสือภาษาอังกฤษมักจะใช้เป็นปีคริสตศักราช ต้องนำมาบวกกับจำนวนการเกิดขึ้นของศาสนาคือพระพุทธศาสนาเกิดก่อนคริสตศาสนาเป็น เวลา 543 ปี บางครั้งอาจเกิดความสับสนบวกเลขผิดแต่ให้ถือเกณฑ์ปีตามหนังสือคือปีคริสตศักราช หนังสือเล่มนี้แปลจบตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2545 มีเหตุผลข้อเดียวคือเพื่อใช้ประกอบการเขียนบทความเท่านั้น ซึ่งก็ได้นำเผยแผ่ไปบ้างแล้วในวารสาร "ปัญญา" ต้นฉบับส่วนที่เหลือเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันสูญหายไปหมดแล้ว ส่วนที่เหลือจะพยายามแปลให้จบอีกครั้ง และจะค่อยๆนำเสนอทางไซเบอร์วนารามในโอกาสต่อไป
พระมหาบุญไทย ปุญญมโน
แปลจาก D.C. Ahir,Buddhism in Modern India,New Delhi:Kiram Mudram Kendra,1991.
แก้ไขปรับปรุง 23/01/54
ภาพประกอบพระมหาสมศรี ปญฺญาสิริ