วัดพระพุทธศาสนาที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง ที่สร้างในพุทธคยาในช่วงระยะเวลาเดียวกันคือวัดพุทธแบบญี่ปุ่น (Indosan Nipponji Temple) สร้างโดยสมาคมพี่น้องชาวพุทธนานาชาติแห่งญี่ปุ่น เริ่มต้นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2516(1927)
การประชุมชาวพุทธเบงกอลทั่วอินเดียครั้งแรกจัดขึ้นที่กัลกัตตาระหว่างวันที่ 23-27 ธันวามคม 2516(1973) มีผู้เข้าร่วมประชุมหลายพันคน มีพระภิกษุจากประเทศไทย,ลาว กัมพูชา,ญี่ปุ่น,ศรีลังกาและบังคลาเทศ ได้เตรียมความรุ่งโรจน์และความสำคัญของการรวมเป็นหนึ่งเดียวของวัฒนธรรมทางสังคมนี้เนื้อหา (วัตถุประสงค์ของการประชุมคือการสร้างความเป็นเอกภาพและเชื่อมความสัมพันธ์ในระหว่างชาวพุทธเบงกอลประมาณ 150,000 คนที่กระจัดกระจายทั่วประเทศอินเดีย
การประชุมชาวพุทธทั่วอินเดียและในบริเวณเทือกเขาหิมาลัย เพื่อส่งเสริมสันติภาพลดความรุนแรงและยกเลิกการแบ่งแยกชนชาติเพื่อความสเสมอภาค จัดขึ้นที่เมืองดาร์จิลิง เวสเบงกอล วันที่ 24-25 พฤษภาคม 2518(1975)ในการประชุมมีผู้เข้าร่วมที่เป็นตัวแทนนักวิชาการและผู้นำทางการเมืองจากทั่วประเทศอินเดียประมาณ 200 คน รวมทั้งจากเบงกอลและภูฐานด้วย ของขวัญเหล่านั้นรวมทั้งองค์ทะไลลามะ,กาซิ เลนคุน ดอรจิ หัวหน้าคณะรัฐมนตรีแห่งสิกขิม สิทธารถะ สันการ์ เรย์ หัวหน้าคณะรัฐมนตรีแห่งเวสเบงกอล ดุปซาน ริมโปเซ รวมทั้งพระภิกษุและลามะอีกจำนวนมาก
การประชุมชาวพุทธทั่วเอเชียครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่นิวเดลี ระหว่างวันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2518(1975) ผู้เข้าร่วมประชุมคือตัวแทนจากประเทศต่างๆที่นับถือพระพุทธศาสนารวมทั้งจากรัสเชีย,มองโกเลีย,เวียตนาม,ญี่ปุ่น,ศรีลังกา,เนปาล,เกาหลีมลายาและอินเดียก่อนการประชุมเริ่มต้นด้วยพิธีทางศาสนาอันเป็นทางการ นำโดยองค์ทะไลลามะ ปิดการประชุมโดย วาย บี ชยัน รัฐมนตรี (สำนักนายก)ฝ่ายกิจการต่างประเทศ แห่งรัฐบาลอินเดียเป็นประธาน
การประชุมสนธิสัญญา ที่รู้กันทั่วอินเดียคือสนธิสัญญาพุทธะธรรมที่จัดขึ้นที่นาคปูร์ จัดขึ้นวันที่ 6-10 ธันวาคม 2518(1975)มีตัวแทนจากส่วนต่างๆทั่วประเทศเข้าร่วมประมาณ 300 คน
พิธีเปิดการประชุมเริ่มต้นด้วยการสมาทานศีล 5 และการสวดสาธยายพระสูตร โดยพระภิกษุนำโดยพระธรรมธารี มหาสถวีระ แห่งกัลกัตตา ตามด้วยการระลึกถึงความทรงจำของดร. เอ็มเบ็ดการ์ ซึ่งตรงกันพอดีกับวันครบรอบวันมรณฏรรมของเขา ในงานนี้มีพระอนันต์ เกาสัลยยัน เป็นประธาน มีบันทึกไว้ว่า ในโอกาสนี้มีขบวนแห่ที่เต็มไปด้วยสีสรรค์ มีพุทธศาสนิกชนมากกว่า 30,000 คน นำรูปเหมือนพระพุทธเจ้า(พระพุทธรูป)และโกฐิใส่อัฐิของ ดร.เอ็มเบ็ดการ์ ไปในขบวนแห่ด้วย หลังจากขบวนแห่ไปตามถนนเมืองนาคปูร์และวก็ได้ย้อนกลับไปที่สถานที่จัดประชุมที่สวนสาธารณะเอ็มเบ็ดการ์
วันสุดท้านมีการปิดประชุมในรูปแบบของการระดมพล (ชุมนุม) ชาวพุทธทั่วอินเดีย ซึ่งเริ่มต้นด้วย ศาสตราจารย์ ภันดาเร นายกเทศมรตรีรัฐพิหาร มีชาวพุทธเข้าร่วมประมาณ 4 แสน (Lakhs) บี.ดี โภรากาเด อยู่กลางกลุ่ม และมีชาวพุทธอื่นๆแสดงสุนทรพจน์ ต่อหน้าชุมชนอันมากมาย มติหลายอย่างได้นำมาใช้ในการประชุมครั้งนี้ด้วย
ในปี พ.ศ. 2519 (1976) ชาวพุทธทั่วโลกได้จัดงานฉลองวันครบรอบวันประสูติของพระพุทธเจ้า 2,600 ปี ในอินเดียมีงานฉลองยาวนานตลอดปี เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์นี้ เป็นการจัดสัมนาชาวพุทธนานาชาติภายใต้หัวข้อ “การให้ทานของพระพุทธศาสนาต่อความเจริญและวัฒนธรรมของโลก” จัดขึ้นที่วิคยัน ภวัน (Vigyan Bhavan) นิวเดลี ระหว่างวันที่ 27-29 มีนาคม 2520(1977) ในการสัมนาครั้งนี้ดำเนินการโดยมหาโพธิสมาคมแห่งอินเดีย ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและสวัสดิการสังคม รัฐบาลอินเดีย ผู้ให้การสนับสนุนด้านการเงินตามวัตถุประสงค์นี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมจากต่างประเทศ 33 ประเทศ จากภูฐาน,แคนาดา,เยอรมัน,เยอรมันประชาธปไตย,ฮ่องกง,เกาหลี,มองโกเลีย,เนปาล,ศรีลังกา,ไต้หวัน,ไทย,อังกฤษ,สหรัฐ,รัสเชียและองค์กรต่างๆอีก 5 แห่งจากญี่ปุ่น และตัวแทนจากอินเดียอีก 55 คน มีผู้ร่วมสังเกตูการณ์อีก 18 คน
พิธีเปิดการปะชุมร่วมต้นด้วยการอ่านสุนทรพจน์ของ บี.ดี.จัตติ รักษาการประธานาธิบดีแห่งรัฐบาลอินเดีย ส่งสานส์ต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม โดยพระแอลอริยวงสะ มหาเถระ เลขาธิการคณะกรรมการจัดงานเป็นผู้อ่าน จากพิธีเริ่มต้นและปิดการประชุมมีการร่วมลงประชามติขอบคุณโดยพระเอ็น ชินารัตนะ นายกะเถระ เลขาธิการทั่วไปแห่งคณะกรรมการจัดงาน ดร. อนันทะ ดับบริว บี คุรุเกซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการทั่วไปในการจัดการสัมนา มี 36 เรื่องที่นำเสนอเพื่ออภิปรายหาข้อสรุปโดยตัวแทนที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 26 ผลงานที่ประชุมยอมรับให้มีการตีพิมพ์เป็นหนังสือ โดยมหาโพธิสมาคมแห่งอินเดียงานชุดนี้มี อนันท์ คุรุเกและดี.ซี.อาเธอร์ เป็นบรรณาธิการ
การบำเพ็ญสมาธิ เป็นบทบาทที่สำคัญมากในพระพุทธศาสนา มีวิธีปฏิบัติอยู่ 2ประการคือสมถะ หมายถึงความสงบหรือการพัฒนาความสงบทางใจอีกแบบหนึ่งคือวิปัสสนา ที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ ณ ห้วงเวลาที่พระองค์ทรงตรัสรู้ วิปัสสนาหมายถึงการมองเห็นสรรพสิ่งตามความเป็นจริง (ตามที่มันเป็น)มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญอยู่ที่ “การเปิดเผยความจริงของการเปลี่ยนแปลง(อนิจจัง) ทุกข์และอนัตตา(ธรรมชาติที่ไร้แก่นสาร) ในปรากฏการณ์ทั้งทางวัตถุและจิตใจของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย” วิปัสสนานำสู่ความจริงอันสูงสุดเพื่อการหลุดพ้นทางใจอันสมบูรณ์เพื่อควารมจริงแท้แห่งความจริงอันสูงสุดนั่นคือนิรวาน (นิพพาน)
เพราะความตกต่ำของพระพุทธศาสนาในอินเดีย หลักวิชาวิปัสสนาก็ได้อันตรธานไปด้วยแต่นับว่าเป็นความโชคดี ที่วิชานี้ยังได้รับการรักษาไว้ในพม่า ซึ่งพระพุทธศาสนาได้รับการเผยแผ่ไปยังพม่าในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ประมาณพุทธศักราช 300 (ก่อนคริสศตวรรตที่ 3 ) ผู้ที่สามารถปฏิบัตวิปัสสนาสมาธิที่ยิ่งใหญ่แห่งพม่ายุคใหม่ (วปัสสนาจารย์) คือสยัคยิ อู บา ขิ่น (Sayagyi U. Ba Khin 2441-2514 1898-1971) ท่านลาออกจากงานในตำแหน่งสมุห์บัญชีทั่วไปแห่งพม่า ปลีกตัวเพื่อปฏิบัติวิปัสสนา อีกท่านคือ เอส.เอ็น.โกเอ็นกา ชาวอินเดียแต่เกิดในพม่า ร่วมกับอู.บา ขิ่น สอนวิปัสสนาวิธีขึ้นครั้งแรกในปี 2498 (1955) เป็นเวลายาวนานถึง 14 ปีที่โกเอ็นกาฝึกวิปัสสนากับอู บา ขิ่น ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น “คุรุ” อู บา ขิ่น มีความปรานาว่า เทคนิควิธีแห่งวิปัสสนาควรจะย้อนกลับไปยังอินเดีย และช่วยเหลือมนุษยชาติผู้เต็มไปด้วยทุกข์ในแผ่นดินอันเป็นถิ่นกำเนิดแห่งวิปัสสนา
โกเอ็นกาได้ถือเอาความปรารถนานี้ว่าเป็นภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากครูของเขา ในเวลาต่อมาวิชาวิปัสสนาก็เฟื่องฟูมากในพม่า โกเอ็นกากลับอินเดียในปี พ.ศ. 2512 (1969) พร้อมกับการนำเอาวิชาวิปัสสนาในฐานะที่เป็นสมบัติมีมีค่าของเขาไปด้วย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2514 (1971) ด้วยความเชื่อมั่นเพื่อการประกาศวิชาวิปัสสนาในอินเดีย โกเอ็นกา จึงพบทำเลที่เหมาะแก่การเป็นศูนย์กลางของการประกาศวิชาวิปัสสนาได้เป็นแห่งแรกในดินแดนอันเป็นถิ่นกำเนิดของพระพุทธเจ้า โดยซื้อที่ดินมีเนื้อที่ประมาณ 20 เอเคอร์ บนยอดเขาใกล้ๆกับอิจัตปุรี (เมืองโบราณคือสุจัตบุรี) ห่งจากบอมเบย์ประมาณ 140 กิโลเมตร บนถนนสายบอมเบย์-นาริก (N.H.No. 3) นับเป็นเรื่องที่เป็นศุภมงคลสมัยอย่างที่ยอดเขาแห่งนี้มีชื่อว่า “ธัมมคีรี” นับเป็นหุบเขาแห่งธรรม และได้สถาปนา “สถาบันวิปัสสนานานาชาติ” ขึ้นในปี พ.ศ. 2519 (1976)สถาบันแห่งนี้ทำการวิจัยทางวิปัสสนาและสอนภาษาบาลีตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง
ธัมมคีรี สิ่งแรกอันเป็นต้นแบบสมัยใหม่ในถ้ำโบราณ ปัจจุบันมีความสะดวกทุกอย่างที่เหมาะแก่การฝึกสมาธิวิปัสสนาเป็นการเฉพาะ ท่ามกลางธรรมชาติแวดล้อมที่มีลักษณะดึงดูดใจทั้งบุรุษและสตรี มีผู้เข้าร่วมฝึกวิปัสสนาครั้งละประมาณ 400คน เพราะมีความพร้อมทั้งห้องพักส่วนตัว ศาลาการเปรียญและครูฝึก โดยเฉพาะที่พักสร้างขึ้นให้มีลักษณะเป็นส่วนตัว สิ่งที่ทุกคนได้รับคือโอกาสเพื่อการฝึกฝนสมาธิ สำหรับผู้ที่ต้องการความสันโดษ โดยปิดการติดต่อกับโลกภายนอก ด้านข้างศูนย์วิปัสสนาธัมมคีรีมีการก่อสร้างจากเมืองไฮเดอราบาส รัฐอันตรประเทศ และไชยปุรี รัฐราชสถาน อย่างน้อยที่สุดในหนึ่งเดือนจะจัดให้มีการฝึกประมาณ 10วัน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใดทั้งสิ้น อาหารและที่พักทุกอย่างมีคณะกรรมการจัดหา เมื่อจบการฝึกแต่ละครั้งจะมีผู้ที่ได้รับผลของการฝึกในขั้นสูงเสมอ
ชายแดนอินเดียแทบทุกแห่งจะมีปัณณมหาศาลา ตั้งขึ้นในเดือนมกราคม พ.ศ.2517 (1974) ใช้เวลาสร้าง 2วัน การประชุมชาวพุทธทั่วอินเดียระหว่างวันที่ 17-78 กันยายน 2512 (1978) จัดขึ้นที่ลาดักพุทธวิหาร กรุงเดลี หลังจากการประชุมนี้มีการประชุมชาวพุทธนานาชาติในวันที่19 กันยายน ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่เป็นตัวแทนชาวพุทธจากต่างประเทศ สาระสำคัยของการประชุมคือการพิจารณาเรื่องที่สำคัญ 3 เรื่องคือ การพัฒนาการศึกษาและวิจัยพุทธศาสนาทั่วโลก,การเผยแผ่และการติดต่อสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมชาวพุทธทั่วโลก และบทบาทของพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาการแห่งคุณค่าความเป็นมนุษย์
การประชุมชาวพุทธแห่งชาติจัดขึ้นที่เมืองนิวเดลี ในวันที่11-12 เมษายน 2524 (1981) พี.เค.ธุงกัน หัวหน้าคณะรัฐมนตรีแห่งอุรุนาจัลประเทศ และที.เอส.เนจิ โฆษกแห่งรัฐหิมาจัลประเทศ วิทัน สาภะ ร่วมเป็นประธานในที่ประชุม การประชุมครั้งนี้ดำเนินการโดยคณะกรรมการควบคุม (ชี้นำทาง) มีพระกุศักดิ์ ภากุล เป็นประธาน ศาสตราจารย์ ประสารี สมาชิกโลกสภา ทำหน้าที่เป็นเลขาธิการในการประชุม
Silver Jubilee เป็นเหตุการณ์ที่มีลักษณะเฉพาะตัว เป็นพิธีเพื่อการเปลี่ยนแปลง(ทางศาสนา เศรษฐกิจและการเมือง)ที่ยิ่งใหญ่ในปี พ.ศ. 2499 (1956)นับเป็นการเฉลิมฉลองเพื่อแสดงถึงเกียรติภูมิแห่งความสนใจที่ยิ่งใหญ่ทั่วประเทสในเดือนตุลาคม พ.ศ.25424(1981)พิธีที่ยิ่งใหญ่จัดขึ้นที่ติกสา ภูมิ,นาคปุร์ โดยสร้างปรัมบูชา ดร. บาบาสาเหฟ สมรัค สามีติ ระหว่างวันที่ 1-8 ตุลาคม 2524 (1981) ส่วนหนึ่งของรายการประชุมชาวพุทธที่มีชื่อเสียงทั่วอินเดียพระสงฆ์,ผู้นำทางการเมืองและนักวิชาการต่างก็จัดการประชุมขึ้นหน้าที่หลักคือเพื่อกำหนดโดอกาสในการจัดงานวันที่ 8 ตุลาคม (วันวิชัย ทัสมี) เป็นวันที่ชาวอินเดียกลุ่มหนึ่งหันมานับถือพระพุทธศาสนาตามแนวที่ดร.เอ็มเบ็ดการ์ เคยปฏิบัติมา
ในปี พ.ศ. 2524 (1981) ยังได้เห็นความสำเร็จและการเปิดวัดพระพุทธศาสนาแบบญี่ปุ่นอันงดงาม ที่รู้จักกันว่า วัดนิปปอน ซานเมียวโฮจิ ที่ราชคฤห์ สร้างโดยท่านฟูจิ คุรุจิวัดนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เวฬุวันวิหาร” ภายหลังที่พระพุทธเจ้าได้ก่อตั้งคณะสงฆ์จนรู้จักกันทั่วที่เมืองราชคฤห์แล้ว พระเจ้าพิมพิสารได้ถวายวัดเวฬุวันแด่พระพุทธเจ้า
ในปี พ.ศ. 2526 (1983) ที่พุทธคยาได้มีการก่อสร้างวัดพระพุทธศาสนาแบบญี่ปุ่นที่สวยงามขึ้นอีกแห่งหนึ่ง คือวัดไดโจโกโย สร้างโดยสมาคมไดโกโจโย แห่งญี่ปุ่นเปิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13กุมภาพันธ์ 2526(1983)โดยไจอานี ซาอิลซิงห์ ประธานาธิบดีอินเดียเป็นประธาน
การประชุมพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมนานาชาติครั้งแรกจัดขึ้นวันที่ 10-15 ตุลาคม 2527(1984) ที่กรุงเดลี การประชุมในเดือนสิงหาคม ได้จัดประชุมโดยสภาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม คณะที่ปึกษาการวิจัยทางประวัติศาสตร์แห่งอินเดีย,สมาคมศิลปะแห่งอินเดีย,สถาบันสังคีตนาทัก,สถาบันลาลิตกาลา,คณะกรรมการพิเศษเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ อินเดีย เริ่มงานโดย SMT. อินทริรา คานธี นายกรัฐมนตรีอินเดีย กล่าวสุนทรพจน์ในห้องประชุมวิคยัน ภวัน วันที่10 ตุลาคม 2527 (1984) มีใจความโดยสรุปว่า “ พระพุทธศาสนาได้สร้างมรดกทางวัฒนธรรมของอินเดียที่โลกไม่มีวันลืม ชนชาติอินเดียเป็นหนี้บุญคุณต่อพระพุทธเจ้า ที่ได้นำข่าวสารต่อโลกภายนอกตลอดระยะเวลา 45 พรรษาที่พระพุทธองค์ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ นับเป็นภารกิจที่สำคัญยิ่งจนกระทั่งพุทธธรรมแผ่กระจายทั่วอินเดีนในยุคต่อมา”
การประชุมพิเศษในครั้งนี้ มีนักวิชาการจาก 42 ประเทศ ร่วมเสนอผลงาน,วางทฤษฎีใหม่ๆ,อภิปรายและร่วมร่างกฏระเบียบอย่างเป็นทางการ ตลอดจนนำเสนอแนวทางใหม่ๆ เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโลกสมัยใหม่ โดยเฉพาะต่อชาวตะวันตกที่กำลังสนใจศึกษาพระพุทธศาสนาและสมาธิแบบพุทธ
ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2528(1985) องค์ทะไล ลามะ ได้เริ่มสร้างวัดพระพุทธศาสนาที่สวยงาม มีชื่อว่า “สันติวันวิหาร” ที่ตีอุลปุร เมืองฮูกลี เบงกอลตะวันตก สร้างโดยนักธุรกิจท้องถิ่นชื่อ ทรักจันทราไพรี และภรรยา,สานหลาต สิ้นมูลค่าในการก่อสร้างประมาณ 16 ลักค์ กว่าจะสำเร็จก็ต้องสิ้นเวลาไปถึง 14ปี
แม้ว่าสถานที่เกี่ยวกับโบราณคดีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาจะมีอยู่มากมายก็ตาม แต่ที่ถูกค้นพบและทำงานขุดค้นในช่วงระยะเวลาก่อนอินเดียได้รับเอกราชและหลังวันรับเอกราช จากปี พ.ศ. 2490 (1947) การค้นพบที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งคือที่เมืองโกสัมพี เมืองหลวงในสมัยพุทธกาล หลักฐานที่ถูกค้นพบมีหลายอย่างเช่นบริเวณเมืองหลวง วัดโฆษิตาราม ที่พระพุทธเจ้าเคยประทับอยู่ตามคำนิมนต์ของพระเจ้าอุทัย ที่ไวศาลียังได้ค้นพบทรากสถูปที่กษัตริย์ลัจฉวีสร้างไว้เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เทวันโมรี (Devnmori) อินเดียตะวันตก ยังคงมีวัด,พระภิกษุและโกฐิใส่อัฐิบรรจุอยู่ในสถูปหลายแห่ง ที่เมืองปาอุนิในวิทารภะ ได้ค้นพบจารึกและปฏิมากรรมยุคสุญกะสัตวาหนะ ก่อนคริสตวรรตที่ 2 (พุทธศักราช 200 ) ที่สันโนธะฝั่งซ้ายแม่น้ำภีมะ เมืองกัลบารกา การนาตนะ ได้พบก้อนอิฐประมาณ 2,000 ก้อน ที่ใช้ในการสร้างสถูปและยังได้พบอัฐิธาตุ ที่สานติ ใกล้ซากัตรี ในรัฐหารยนะ ยังคงมีทรากเมารยะสถูป มีการค้นพบประกาศบนแผ่นหินของพระเจ้าอโศกมากกว่า 4ชิ้น หินเหล่านี้พบที่ ราชจุฬา –มันดาคีรี ในรัฐอันตรประเทศ พ.ศ. 2496 (1953),คูจารราในรัฐมัธยมประเทศ พ.ศ.2497(1954),อาหราอุระในรัฐอุตรประเทศ พ.ศ. 2504 (1961),และพาหปุระ นิวเดลี พ.ศ. 2409 (1966) ในเวลาต่อมาก็ได้ค้นพบสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงกาลามสูตรอันมีชื่อเสียงในปีพ.ศ. 2512 (1969) โดยพระธรรมรักษิตะ แห่งสารนารถ ท่านชี้ไปที่หมู่บ้านกัตวาร์ ไปทางทิศเหนือแม่น้ำโมมาตีประมาณ 10 ไมล์ ตอนเหนือของสุลตันปุระในรัฐอุตตรประเทศ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีอีกอย่างหนึ่งว่าเกสปุตแห่งชาวกาลามะ ปี พ.ศ. 2513 (1970) ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่อีกอย่างหนึ่งคือการค้นพบก้อนหินจารึกพระเจ้าอโศกในภูเขาอันทนะและมาทันนา ที่วิชยวาทในรัฐอันตรประเทศซึ่งค้นพบโดยดร.เอ็น เว็นกตรมัยยะ รองผู้อำนวยการการศึกษาจารึกโบราณในปี พ.ศ. 2514 (1971) บริเวณที่ตั้งมหาวิทยาลัยวิกรมศิลาในรัฐพิหาร ในยุคสมัยของกษัตริย์ปารัส (พ.ศ.1162(750) ได้ถูกนำเสนอพร้อมด้วยความชี้แจงอย่างชัดเจน โดยทีมงานแห่งมหาวิทยาลัยปัตนะ ซึ่งร่วมขุดค้นโดยมหาโพธิสมาคม ผู้บรรยายคือตรันตะ นักประวัติศาสตร์ชาวทิเบต ผู้ที่ทำงานในมหาวิทยาลัยปัตนะ การค้นพบอีกอย่างหนึ่งในช่วงปี พ.ศ. 2514(1971) คือถ้ำพุทธศาสนาโบราณ พร้อมกับคำจารึกในภาษาพราหมี และปรากิตที่ป่าอันทา ห่างจากนาคปุร์ประมาณ 60 กิโลเมตร การขุดค้นครั้งนี้คณะทำงานมี ดร. เอส เอ็น ดีโอ หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและโบราณคดีอินเดียโบราณ แห่งมหาวิทยานาคปุร์เป็นประธาน
ทำเลที่ตั้งของเมืองกบิลพัสดุ์ ยังมีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ยาวนานกว่า100 ปี คือติเลาราโกตในเนปาลและปิปราห์วา ในอินเดียกลุ่มที่เรียกร้อง(อ้างสิทธิ์)สำหรับทำเลที่ตั้งเมืองกบิลพัสด์ที่สำคัญๆคือฟูท์เรอร์ นักโบราณคดีชาวเยอรมัน ซึ่งได้รับมอบหมายจากรับบาลเนปาลในปี พ.ศ. 2439(1896) นำเสนอครั้งแรกยืนยันว่า ติเลาราโกตคือเมืองกบิลพัสดุ์ แต่ต่อมามีการค้นพบในปี พ.ศ. 2441(1898) ที่ปิปราห์วาสถูป พบหีบใส่เงินที่ทำด้วยหินชิ้นใหญ่ บรรจุอัฐิธาตุ 5 ชิ้น ระบุไว้อย่างน่าจะเป็นไปได้ว่า เมืองปิปราห์วาคือทำเลที่ตั้งของเมืองกบิลพัสดุ์ในอดีต เกี่ยวกับเรื่องนี้ยังไม่มีการติดสินใจที่ชัดเจน และปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมาถึง 75 ปี (นับถึงปี พศ. 2516)
เดือนมกราคม พ.ศ. 2514(1971) เค.เอ็ม.ศรีวัสตวะ และกลุ่มนักโบราณคดีแห่งปัตตนได้เริ่มทำการขุดค้นใหม่ที่พิปราห์วาอีกครั้ง ในการขุดค้นครั้งแรกแสดงให้เห็นว่าสถูปที่พบโกฐิใส่อัฐิธาตุในครั้งแรก ล้อมรอบด้วยโคลนตม เมื่อสถูปโคลนได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียด และสรุปผลการสำรวจในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2515(1972) โกศบรรจุอัฐิที่ทำด้วยหินสบู่ 2 ชิ้น บรรจุอัฐิของพระพุทธเจ้าที่มีรอยไฟไหม้ และพระอังคารบรรจุบนฐานหิน 3 แผ่น โกศใส่อัฐินี้แสดงว่าสร้างในหัต พระราชวังทางทิศเหนือที่ยังมีสภาพที่เหมือนเดิมขนาด 12 x 7 เซ็นติเมตร โกศใส่อัฐิในท้องพระโรงทางทิศใต้มีขนาด 16 x 9 เซนติเมตร ยังไม่แตกหัก เพียงอัฐิเปื้อนโคลนเท่านั้น
การขุดค้นใเวลาต่อมาในปี พ.ศ. 2516(1973) ศรีวัสตวะและทีมงานของเขา ได้ขุดค้นพบที่ตั้งอารามทางทิศตะวันออกในบริเวณใกล้เคียงมากกว่า 40 แห่ง มีตราประทับสีน้ำตาลแดงพร้อมด้วยเรื่องราวอันเป็นตำนานเป็นภาษาบาลีมีข้อความว่า “เทวปุตต วิหาร กปิลวัสตุ ภิกขุสังฆะ” และจารึกภาษาพราหมีว่า “มหา กปิลวัสตุ ภิกขุสังฆะ” ในช่วงคริสตวรร6แรก ในปี พ.ศ. 2517(1974) มีการจัดสัมนาเกี่ยวกับตราประทับที่ค้นพบ สรุปว่าคำว่า “กปิลพัสตุ” คือคำที่มักได้ยินจนชินหู (พูดกันโดยทั่วไป) เมื่อนักโบราณคดีค้นพบฝาปิดหม้อที่นำมาจากจารึกฉบับเดียวกัน ซึ่งเป็นตราประทับในกลุ่มแรกที่ถูกค้นพบ
จากการขุดค้นได้รับการเปิดเผยว่า พิปราห์วาสถูป ถูกสร้างใน 3 ช่วงเวลาคือ (1) สถูปโคลนตมที่ขุดพบครั้งแรก สร้างโดยศากยวงศ์ก่อนคริสตวรรตที่ 5 (ประมาณ พุทธศักราช 1-100 ) ใส่อิฐิไว้รวมกันกับพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ปิดล้อมด้วยสถูปใหญ่ในช่วงก่อนคริสตวรรตที่ 3(พ.ศ. 200) จากการสที่ ดิบบลิว เป็ปเปอร์ ได้ค้นพบโกศใส่อัฐิอีก 5 อัน และในที่สุดก็ถูกขยายให้ใหญ่ขึ้น ค.ศ. 1(พ.ศ.500) กษัตริย์กุสหนะ กนิษกะ สร้างอารามทางทิศตะวันออกเพื่อภิกษุสงฆ์แห่งเมืองกบิลพัสดุ์ นอกจากนั้นนักโบราณคดีได้ทำการค้นพบอารามอีก 3 แห่ง การเหลืออยู่ของทรากเมืองโบราณนี้ ได้มีการขุดค้นในทำเลใกล้ๆกับคันวาเรีย ซึ่งต่อมาได้เปิดเผยว่า มีโครงสร้างที่ทำด้วยอิฐขนาดใหญ่ 2แห่ง อิฐเหล่านี้เชื่อว่าเป็นปราสาทที่พักของประธานศากยวงศ์ คือพระเจ้าสุทโธทนะพระบิดาของพระพุทธเจ้า
ปิปราห์วา เมืองกบิลพัสดุ์ในอดีต ห่างจากเนาวการห์ 22 กิโลเมตร มีสถานีรถไฟโครักปุร์-คอนดา ถนนสู่ลุมพินีจากสถานีเนาวการห์ บริเวณทางโค้งรถไฟสายตะวันออกจากเปอร์ปุระ 9 กิโลเมตร
พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าซึ่งค้นพบที่เมืองกบิลพัสดุ์ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ กรุงนิวเดลี
สถูปพระพุทธศาสนาโบราณถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2517 (1974)พบที่ภรัตปุระ ฝั่งซ้ายแม้น้ำทาโมดาร์ ห่างจากสถานีรถไฟปานาการืไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 7กิโลเมตรบนทางรถไฟสายตะวันออก ตรงสถานีย่อยทุรกาปุระ เมืองบุรดวัน เวสเบงกอล สถูปที่สร้าด้วยอิฐนี้ สร้างประมาณคริสตวรรตที่ 8-9 อยู่ใกล้ชานชาลาสถานี และมีพระพุทธรูป 2-3 องค์ในท่าภูมิสปารสะ ที่ค้นพบใหม่จากซากปรักหักพังรอบๆอาคารการขุดค้นดำเนินการภายใต้การอุปถัมถ์ของคณะสำรวจทางโบราณคดีแห่งอินเดียและพิพิธภัณฑ์และคณะศิลปศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยปูรตวัน ภายใต้การควบคุมและดูแลของหัวหน้าภัณฑารักษ์ เอส.เอ็น.สมันตะและ ดร.เอส.ซี.รอย และเอส.เอ็นมุคเขอร์จี นักโบราณคดีจากรัฐบาลอินเดีย
ในปี พ.ศ.2518 (1975) ได้มีการค้นพบที่สำคัญคือคำประกาศบนเสาหินพระเจ้าอโศก ที่มีคำบางคำที่ระบุถึงเหตุการณ์ที่น่าสนใจ เป็นประกาศของกษัตริย์ณ ปันกูราเรีย พุทธนิ เตหสีลในเมืองเสหอร์ มัธยมประเทศ การค้นคว้ากระทำโดย บี.พี.โพปาริการ์ แห่งสาขาวิชาโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์แห่งอินเดีย ผู้ที่ให้การช่วยเหลือคือ พี อาร์ เค ประสาทและนัมพิ ราชุ ในขณะที่ทำการขุดค้นที่ถ้ำโบราณแห่งอื่น ณ ชายแดนด้านทิศใต้แห่งภูเขาวิชยัน
การแปลข้อความจากหนังสือภาคภาษาอังกฤษปัญหาที่พบอย่างหนึ่งคือเรื่องของปีพุทธศักราช เพราะหนังสือภาษาอังกฤษมักจะใช้เป็นปีคริสตศักราช ต้องนำมาบวกกับจำนวนการเกิดขึ้นของศาสนาคือพระพุทธศาสนาเกิดก่อนคริสตศาสนาเป็น เวลา 543 ปี บางครั้งอาจเกิดความสับสนบวกเลขผิดแต่ให้ถือเกณฑ์ปีตามหนังสือคือปีคริสตศักราช หนังสือเล่มนี้แปลจบตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2545 มีเหตุผลข้อเดียวคือเพื่อใช้ประกอบการเขียนบทความเท่านั้น ซึ่งก็ได้นำเผยแผ่ไปบ้างแล้วในวารสาร "ปัญญา" ต้นฉบับส่วนที่เหลือเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันสูญหายไปหมดแล้ว ส่วนที่เหลือจะพยายามแปลให้จบอีกครั้ง และจะค่อยๆนำเสนอทางไซเบอร์วนารามในโอกาสต่อไป
พระมหาบุญไทย ปุญญมโน
แปลจาก D.C. Ahir,Buddhism in Modern India,New Delhi:Kiram Mudram Kendra,1991.
แก้ไขปรับปรุง 23/01/54
ภาพประกอบพระมหาสมศรี ปญฺญาสิริ