ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

     งานวิจัยเรื่องนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งได้นำตีพิมพ์เผยแแพร่ในวารสารที่ได้มาตรฐาน เนื่องจากผู้เขียนเป้นหัวหน้าโครงการวิจัยเรื่องนี้จึงได้ปรับปรุงนำมาเขียนเป็นบทความวิจัย เรื่อง "การบูรณาการพุทธธรรมในการฟื้นฟูดอนหอยหลอดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข" ชื่อภาษาอังกฤษคือ The Integration Buddha Teaching in the Restoration of Don Hoi Lod (Razor Clam Mound) for Supporting the Tourism and Happy Life" น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่มีความต้องการจะเขียนบทความวิจัย
 
การบูรณาการพุทธธรรมในการฟื้นฟูดอนหอยหลอดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข  
The Integration Buddha Teaching in the Restoration of Don Hoi Lod (Razor Clam Mound) for Supporting the Tourism and Happy Life                      
บทคัดย่อ
          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายประโยชน์ของการท่องเที่ยวที่ดอนหอยหลอดเพื่อวิเคราะห์สังเคราะห์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการฟื้นฟูดอนหอยหลอดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และเพื่อศึกษาหลักธรรมที่มีความสอดคล้องในการฟื้นฟูดอนหอยหลอดนำมาบูรณาการเพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวการสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า ดอนหอยหลอดเคยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดสมุทรสงคราม แต่ปัจจุบันได้รับความนิยมน้อยลง การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของนักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ หากในช่วงใดที่มีปริมาณของหอยมากก็จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม ประชาชนก็จะมีรายได้ดีจากการขายผลผลิตต่างๆ ชุมชนจึงช่วยกันฟื้นฟูพื้นที่ให้มีความสมบูรณ์พร้อมที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกครั้ง ดังนั้นความสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อมและทรัพยากรจึงเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยว หากช่วงใดมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวมาก ประชาชนในชุมชนก็จะมีรายได้ดีและทำให้ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข การฟื้นฟูประสพความสำเร็จได้ เพราะประชาชนใช้ความซื่อสัตย์และความจริงใจต่อกัน 
 
คำสำคัญ : 1. การบูรณาการพุทธธรรม  2. การฟื้นฟู 3.ดอนหอยหลอด 4.การท่องเที่ยว 4.การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข
 
Abstract
       The Objectives of the research article were to explain the benefit of tourism at Don Hoi Lod, to analyze the public participation of community restoration to support the tourism and to study the religion principles in restoration Don Hoi Lod bring to integrate to support  the happy Life.  This research was the Qualitative Research. The tools used to collect the data were the in- dept- interview, focus group and observation form. The results of the research were found that Don Hoi Lod used to be the important tourist place of Sumudsongkram but at the present less popular. The amount of the tourists increasing or reducing depends on the plenty of the nature and environment. When the amount the shell increased, the place became popular and the people also had high income from selling the sea products. So the people in the community had to cooperate to restoration Don Hoi Lod to be the plenty place. The plenty of the nature and environment was a factor to support the tourism. When more tourists came to this place, the people had high income and lived happily. The people used the honesty and sincerity to support the success of the conservation and revitalization in Don Hoi Lod .
Keywords: 1. The Integration Buddha Teaching 2. the Restoration 3. Don Hoi Lod (Razor Clam Mound)   4.Tourism   5. Happy Life
 
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
 
       พื้นที่บริเวณชายฝั่งสมุทรสงครามมีลักษณะเป็นทะเลตม ทั้งยังเป็นดินดอนชายฝั่งทั่วทั้งบริเวณปากอ่าวหรือ “ดอนหอยหลอด” แห่งเดียวของประเทศไทย โดยมีอาณาบริเวณกว้างขวางกว่าสองหมื่นไร่ นำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเล รวมทั้งสัตว์น้ำมากมาย นับตั้งแต่หอยแครง หอยแมลงภู่ หอยหลอด หอยกระปุก หอยตลับ ปูแสม เป็นต้น ชาวบ้านจึงสามารถดำรงชีวิตด้วยการจับสัตว์น้ำ โดยใช้เครื่องมือขนาดเล็กได้อย่างหลากหลายตามแต่ความชำนาญเฉพาะตัว (สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรสงคราม : มปพ,68) พื้นที่ดอนหอยหลอดควรได้รับการอนุรักษ์ไว้ให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัดสมุทรสงคราม การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเป็นนโยบายที่สำคัญของประเทศทั้งนี้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ยุทธศาสตร์ที่ 8 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ข้อ 5.1.1 การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ระบุว่าคุ้มครอง ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูพื้นที่ป่าและเขตอนุรักษ์พื้นที่ที่เปราะบางมีความสำคัญเชิงนิเวศ สร้างพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างป่า วางระบบเพื่อแก้ปัญหาการรุกถือครองที่ดินในพื้นที่ป่าไม้  ส่งเสริมเครือข่ายอนุรักษ์และป้องกันการบุกรุกป่าไม้โดยภาคประชาชนและชุมชน (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนานาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ: 2554,107)
        ดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำมีความสำคัญระดับนานาชาติ โดยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแรมซาร์ไซต์ (Ramsar Site) เมื่อปี พ.ศ. 2544 ตามอนุสัญญาแรมซาร์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อป้องกันและยับยั้งการสูญหายของพื้นที่ชุ่มน้ำ ส่งเสริมและมีการสนับสนุนให้มีการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างชาญฉลาด เนื่องจากดอนหอยหลอดมีความหลากหลายทางธรรมชาติ เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำอันดับ 3 ของประเทศ และลำดับที่ 1099 ในทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำโลก ตามอนุสนธิแรมซาร์ มาตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ครอบคลุมตลอดแนวชายฝั่งจากระดับน้ำต่ำสุดลงไปในทะเลระยะทาง 300 เมตร ในพื้นที่ 4 ตำบล คือ บางแก้ว บางจะเกร็ง แหลมใหญ่ และคลองโคน รวม 546,875 ไร่ ดอนหอยหลอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับแรกที่สร้างชื่อให้จังหวัดสมุทรสงคราม  ในอดีตคนทั้งประเทศรู้จักดอนหอยหลอด  โดยที่ไม่รู้จักสมุทรสงครามด้วยซ้ำไป ชื่อเสียงของดอนหอยหลอดเกิดจากเอกลักษณ์ทางภูมิประเทศที่ไม่เหมือนใคร เพราะเมื่อน้ำทะเลลดระดับจะเกิดดอนเลนเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ นักท่องเที่ยวสมัยก่อนนิยมลงไปเดินเล่นและหยอดหอยกันเป็นที่สนุกสนาน (วารสารมนต์รักแม่กลอง :2553,49) อาชีพสำคัญของชุมชนดอนหอยหลอด นอกจากจะหาหอยซึ่งมีอยู่หลากหลายชนิด หาหอยมาเพื่อรับประทานและขาย  ในอดีตชาวบ้านหาหอยได้วันละจำนวนมากจากการสำรวจมีสถิติน่าสนใจดังนี้ ในปีพุทธศักราช 2542 มีหอยหลอด 20  ตัวต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ปี 2549 เหลือ 4 ตัว ในปี 2553 เหลือเพียง 0.5 ตัวเท่านั้น (แม้นวาด กุญชร ณ อยุธยา: 2553,12) จากการสัมภาษณ์นายภานุวัฒน์ คงรักษา ประธานกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูดอนหอยหลอดตอนหนึ่งว่า “ในอดีตชาวบ้านเคยหาหอยได้วันละ 10 กิโลกรัม เพราะมีหอยมาก แต่ปัจจุบันวันละกิโลกรัมก็ยังหาได้ยาก เพราะหอยมีปริมาณลดน้อยลง เมื่อก่อนหนึ่งตารางเมตรมีหอยมากถึง 10 ตัว แต่พอเกิดแพงตอนบูม (Pangton Boom) ทะเลก็สูญเสียภาวะสมดุล หอยก็แทบจะหาไม่ได้ สองตารางเมตรหาหอยได้เพียง 1 ตัว ชาวบ้านจึงเริ่มตระหนักถึงการฟื้นฟูดอนหอยหลอด(สัมภาษณ์นายภานุวัฒน์ คงรักษา  ประธานกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูดอนหอยหลอด : สัมภาษณ์วันที่ 7 พฤษภาคม 2557)
       ดอยหอยหลอดจึงกำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤต เมื่อชาวบ้านเก็บหอยได้น้อยลง ก็มีรายได้ลดลง แม้ว่าดอยหอยหลอดจะได้รับการประกาศให้เป็นแรมซาร์ไชต์ (Ramsar Site) แต่ก็ไม่ได้มีการวางแผนที่จะจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างยั่งยืน  ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งจึงรวมตัวก่อตั้งเป็นกลุ่มอนุรักษ์ฟื้นฟูดอนหอยหลอดขึ้นที่บ้านฉู่ฉี่ ตำบลบางจะเกร็งเพื่อทำการอนุรักษ์และฟื้นฟูดอนหอยหลอด  เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและเพื่อการดำเนินชีวิตที่ดี  
    ในการวิจัยครั้งนี้ต้องการศึกษาวิธีดำเนินงานของกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูแห่งดอนหอยหลอดว่าประสบความสำเร็จหรือไม่เพียงใด มีการนำหลักพุทธธรรมมาบูรณาการใช้ในการฟื้นฟูดอนหอยหลอดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขอย่างไร
 
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 
            1. เพื่ออธิบายประโยชน์ของการท่องเที่ยวที่ดอนหอยหลอด
            2. เพื่อวิเคราะห์สังเคราะห์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการฟื้นฟูดอนหอย
หลอดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
           3. เพื่อศึกษาหลักธรรมที่มีความสอดคล้องในการฟื้นฟูดอนหอยหลอดนำมาบูรณา
การเพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข
 
ขอบเขตการวิจัย
 
      กาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis) จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชุมชนดอนหอยหลอดที่เคยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม แต่ปัจจุบันสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลง จนมีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งร่วมกันฟื้นฟูดอนหอยหลอดให้พลิกฟื้นกลับคืนมาอีกครั้ง 
  ขอบเขตด้านพื้นที่คือหมู่บ้านฉู่ฉี่  หมู่ที่ 4  ตำบลบางจะเกร็ง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัด สมุทรสงคราม
  ขอบเขตด้านประชากรคือชาวบ้าน นักวิชาการ พระภิกษุ  ผู้นำหมู่บ้าน และชาวบ้านหมู่บ้านฉู่ฉี่  หมู่ที่ 4  ตำบลบางจะเกร็ง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม
 
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
          1. ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ดอนหอยหลอด
          2.  การมีส่วนร่วมของชุมชนในการฟื้นฟูดอนหอยหลอดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
      3. ได้แนวทางการบูรณาการหลักธรรมในการฟื้นฟูดอนหอยหลอดเพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข
 
วิธีดำเนินการวิจัย
  ศึกษาแนวความคิด  ทฤษฎี  และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากเอกสารทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิ จากนั้นจึงลงพื้นที่เก็บข้อมูลโดยการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม โดยคณะผู้วิจัยสำรวจสภาพพื้นที่โดยทั่วไปในหมู่บ้านฉู่ฉี่  หมู่ที่ 4  ตำบลบางจะเกร็ง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม สัมภาษณ์แบบเจาะลึกจำนวน 21 คน จากนั้นจึงมีการสนทนากลุ่ม(Focus group) กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอีกจำนวน 9 คน รวมทั้งหมดเป็น 30 คนเมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเสร็จแล้ว จึงวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก