ลบไม่ศูนย์
11. ผู้หาบโลก อยู่ใน “ระดับต่ำ” ผู้หิวโลก อยู่ใน “ระดับกลาง” ผู้ขวางโลก อยู่ใน “ระดับสูง”
12. ผู้วิจารณ์เห็นเหตุผลความเป็นอยู่ในภพนี้ จนเป็นพยานแห่งความมาจากภพเก่า และความจะไปสู่ภพใหม่ ชื่อว่าภูมิแห่งความเป็น “บุคคลชั้นเยี่ยม”
13. ผู้ที่มาดี อยู่ดี และไปดี ดีตลอด ๓ กาล ทุกคนลองนึกจะจัดได้ไหมว่าเปี่ยมด้วยคุณควรเป็น “เยี่ยง”
14. ยุติธรรมคือจริง มีมากอยู่แห่งหน เป็นของกลางใครถือสิทธิ์ก็ได้ แต่ชอบผู้มีเหตุผล มีญาณเห็นการณ์ไกล ชังผู้ไร้เหตุผลมีญาณแค่หางอึ่ง
15. ทุกคนเกี่ยวชั่วทั้งหมดไว้เสีย นำดีทุกอย่างออกใช้นี้เป็น “บทฐานที่ตั้งแห่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ ไว้เป็นอย่างดี”
16. ต่างด้าวเก็บฉลาดไว้ใน ชาวไทยเก็บฉลาดไว้นอก นี้เองเศรษฐกิจของเขาจึงก้าวหน้า ของเราจึงก้าวไม่ออก
17. ผู้หวังความสุขหาง่าย แต่ผู้ที่ประกอบเหตุที่จะให้ได้สุขนั้นแลหายากนัก
18. ความเมาของเขาอื่นเห็นไม่ชอบ แต่ของเราเองไม่เป็นไร เหมือนผ้านุ่งห่มของเขาอื่นเหม็นไม่ชอบ ของเราเองไม่เป็นไร
19. ชอบหมั่นของเขาอื่น แต่ไม่ชอบของเราเอง ชอบขี้เกียจของเราเอง แต่ไม่ชอบของเขาอื่น นี้เป็น “สันดานผู้เตี่ยต่ำ”
20. คำโบราณมีว่า “สวรรค์ในอก นรกในใจ” หมายความว่าผู้ประพฤติดี สวรรค์ก็ฉายแสงเข้ามาในโสรจสรงจิตให้ชุ่มชื่นเบิกบานสบายเอง ผู้ประพฤติชั่วนรกก็ฉายแสงเข้ามาจี้จิตให้เร่าร้อนลำบากยากเข็ญเอง เป็นอันว่าคนดีคนชั่วย่อมประสบ “สวรรค์ นรก” ก่อนตายทั้งนั้น
21. จิตเป็นผู้นำ ทุกคนจะดีชั่ว สุขทุกข์ ก็อยู่ที่จิตเป็นผู้บงการ ดังนั้นจึงควรสำเหนียกให้รู้จักจิต เมื่ออยากรู้จักจิตให้ค้นหาที่ “อยาก”
22. ทุกคนยังแคลงอยู่ในข้อที่ว่า “ตายแล้วยังเกิดอีกไหม” ดังนี้ ข้อนี้ควรแท้ที่จะค้นหาข้อเท็จจริง หาไม่จะงมงายตลอดชีพ
23. ท่านที่ซาบซึ้งในทางพระพุทธศาสนา ย่อมกำหนดได้ว่า นี้เป็นส่วนเกิดและตาย นี้เป็นส่วนบันดาลให้เกิดและตาย นี้เป็นส่วนไม่เกิดไม่ตาย นี้เป็นส่วนอบรมไม่ให้เกิดและไม่ให้ตาย ดังนั้น พระพุทธศาสนาจึงควร “สำเนียกแท้”
24. คนที่อยากดีหาง่าย แต่คนที่ทำดีหายาก
25. บัณฑิตเห็นดีเป็นดี เห็นชั่วเป็นชั่ว
26. พาลเห็นดีเป็นชั่ว เห็นชั่วเป็นดี
27. นักธรรมเห็นทุกสิ่งเป็นธรรม เหมือนหมอเห็นต้นไม้ทุกอย่างเป็นยา
28. สุขที่ได้จากทำชั่วเหมือน “กินขนมเจือยาพิษ”
29. สุขที่ได้จากทำดีเหมือน “กินยาทิพยโอสถ”
30. เอื้อเฟื้อผู้อื่น เหมือน “อุ้มชูตัวเอง”
สมเด็จพระมหาวรีวงศ์(อ้วน ติสฺโส)
อดีตเจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุ
บางเขน กรุงเทพมหานคร
(พ.ศ. 2485-2499)
ที่มา:กองบรรณาธิการ,พระธรรมทูตไปต่างประเทศ ธรรมยุต รุ่นที่ 17,สมุทรสาคร,ยูไนเต็ด โปรดักชั่นเพลส,2554,หน้า 49.