โลกเจริญก้าวหน้ามากขึ้นทุกวัน มีเทคโนโลยีใหม่ๆที่แม้จะวิ่งตามก็ยังรู้สึกว่าตามไม่ทันสักที มีสิ่งประดิษฐ์ใหม่อกมาอวดโฉมได้เพียงไม่กี่วัน ก็มีสิ่งใหม่ที่ดีกว่าออกมาอีกแล้ว เช่นโทรศัพท์บางรุ่นใช้ได้เพียงไม่กี่เดือนก็มีรุ่นใหม่ออกมาอีก ดูเหมือนว่ายิ่งวิ่งตามเทคโนโลยี ยิ่งกลายเป็นคนล้าหลังลงทุกที ลองย้อนกลับไปอ่านความคิดของนักปรัชญาทั้งหลายในอดีต ทำให้เกิดความรู้สึกว่า “นักปราชญ์ในอดีตเข้าใจโลกและชีวิตได้อย่างลึกซึ้ง” ลองอ่านและศึกษาดู
นักบุญจะอยู่กับชีวิตภายใน โดยไม่ใส่ใจชีวิตภายนอก (เล่าจื้อ)
บัญญัติอันศักดิ์สิทธิ์ของชีวิตก็คือ ควรยึดมั่นในจริยธรรมเท่านั้น ส่วนสิ่งอื่นที่เหลือไม่ถือว่าสำคัญอะไรเลย (พีทาโกรัส)
เราอยู่ในยุคของปรัชญา วิทยาศาสตร์ และสติปัญญาห้องสมุดใหญ่โตเปิดรอรับสำหรับทุกคน เรามีโรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยอยู่ทุกที่ ซึ่งทำให้เราเรียนรู้ถึงภูมิปัญญาของผู้คนเมื่อหลายพันปีก่อนได้ แล้วยังไงละ เรามีปัญญามากขึ้นเพราะสิ่งที่ว่ามาหรือไม่ เราเข้าใจชีวิตหรือความหมายของการดำรงอยู่ของตัวเราดีขึ้นหรือไม่ เรารู้ว่าสิ่งใดดีสำหรับชีวิตของเราหรือไม่ (ซอง ซาก รูโซ)
ไฟจะชำระล้างทุกสิ่งในโลกวัตถุ ส่วนความรักจะชำระล้างทุกสิ่งในโลกทางจิตวิญญาณให้บริสุทธิ์ (อองรี อาเมียน)
ร่างกายเป็นนักเรียนคนแรกของจิตวิญญาณ (เฮนรี่ เดวิด ทอโร)
คนเราโลกแล่นไปมาเพื่อตามหาความสุข ก็เป็นเพียงเพราะว่าพวกเขามองเห็นความไร้แก่นสารในชีวิตของตนเองได้ชัดเจนจนกว่าความไร้แก่นสารของสิ่งบันเทิงใหม่ๆที่ล่อใจเรา (แบลส์ ปาสกาล)
จงอย่าไปห่วงว่าจะเกิดอะไรขึ้นสักวัน สักแห่ง ในที่อันห่างไกล ในอนาคต แต่จงคิดและใส่ใจให้มากกับสิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้ ที่นี่ ในที่แห่งนี้ (จอห์น รัสกิน)
การแต่งตัวมากเกินไปทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวไม่ถนัด ความร่ำรวยเกินไปก็ขวางกั้นไม่ให้จิตวิญญาณของเราเคลื่อนไหว (เดโมสเทนีส)
การทำให้ตัวเราเป็นอิสระจากความหลงผิด ความจริงจอมปลอม และความมดเท็จ ไม่ได้ทำให้เขาเสียสละอะไรเลย แต่กลับทำให้เขาได้สิ่งที่สำคัญ (อาร์เทอร์ โชเพนเฮาเออร์)
พรสวรรค์ชั้นยอดทำลายลงได้ด้วยความเกียจคร้าน (มิเชล เดอ มงเตญ)
ลักษณะพิเศษของผู้ที่รู้จักคิดก็คือยอมรับต่อชะตากรรม ซึ่งตรงข้ามกับการพยายามขัดขืนอย่างน่าอดสู ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ที่มีแต่ร่าง (มาร์คัส ออเรลิอัส)
อนาคตไม่ได้มีอยู่จริง ตัวเราในปัจจุบันสร้างขึ้นมาต่างหาก (นิรนาม)
ศรัทธาใช่ว่าได้รับมาโดยเสียงข้างมาก (นิรนาม)
ความหลงผิดยังคงเป็นความหลงผิด แม้ว่าคนหมู่มากจะเห็นชอบด้วยก็ตาม (นิรนาม)
คนเราจะเข้าใจจุดหมายปลายทางแท้จริงในชีวิตได้ก็ต่อเมื่อปลดเปลื้องตัวเองจากโลกวัตถุและโลกียะได้สำเร็จ(นิรนาม)
การศึกษาศาสนาคือรากฐานการศึกษาทั้งมล(นิรนาม)
ลีโอ ตอลสตอย เขียน, มนตรี ภูมีแปล,ปฏิทินปัญญา,กรุงเทพฯ: แพรวสำนักพิมพ์,2555.