ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

       คนรุ่นใหม่ที่ไม่เคยศึกษาภาษาบาลีมาก่อน อาจจะสับสนเวลาที่ประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา เพราะจะต้องมีคำอาราธนาเป็นภาษาบาลีเช่นอาราธนาศีล อาราธนาธรรม บางคนที่ท่องจำภาษาบาลีไม่ได้ ทำให้ไม่อยากเข้าใกล้พระไม่อยากเข้าวัด หลายครั้งที่มีผู้มาถวายสังฆทาน แต่เมื่อบอกว่าให้กล่าวคำอาราธนาศีลก็ทำอะไรไม่ถูก เพราะไม่เคยศึกษามาก่อน แม้จะนำหนังสือสวดมนต์มาให้ก็ยังอ่านคำภาษาบาลีผิดๆถูกๆ หากค่อยๆศึกษาภาษาบาลีอันเป็นภาษาที่บันทึกคำสอนของพระพุทธศาสนาเถรวาท คนรุ่นใหม่ก็สามารถศึกษาค้นคว้าพระพุทธศาสนาได้ไม่ยาก โบราณว่าไว้ว่า "ถ้าหากใจรัก ถึงงานหนักก็เบา แต่ถ้าใจไม่เอา งานที่เบาก็ว่าหนัก"
 

       ภาษามคธหรือที่นิยมเรียกกันในประเทศไทยว่า“ภาษาบาลี”เป็นภาษาที่บันทึกหลักคำสอนของพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ในสมัยพุทธกาลเชื่อกันว่าพระพุทธเจ้าทรงใช้ภาษาบาลีในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแต่ภาษาบาลีไม่มีตัวอักษรจึงยากที่จะศึกษา เมื่อไปอยู่ในภาษาใดก็ใช้ภาษานั้น ดังนั้นการศึกษาภาษาบาลีจึงนิยมศึกษาโดยการใช้ตัวอักษรของประเทศนั้นๆ ที่นิยมโดยทั่วไปคือการใช้อักษรโรมันในการเขียนภาษาบาลี

 

อักษรที่ใช้เขียนภาษาบาลี
       เนื่องจากภาษาบาลีไม่มีตัวอักษร มีแต่เสียงเมื่อไปอยู่ในภาษาใดจึงใช้ตัวอักษรในภาษานั้นเขียนเช่นอักษรไทย  พราหมี เทวนาครี  สีหล  พม่า  มอญ ขอม ลาว โรมัน เป็นต้น
 ภาษาบาลีไม่มีตัวอักษรของตนเอง เรียกว่าเป็นภาษาพูดที่ถ่ายทอดกันมาโดยการท่องจำ ใช้ในถิ่นใดก็ใช้อักษรของถิ่นนั้นถ่ายเสียง เช่น ไทยก็ใช้อักษรไทย ลาวใช้อักษรธรรม เขมรใช้อักษรขอม (ส่วนใหญ่เป็นขอมบรรจง) ในซีกโลกตะวันตกใช้อักษรโรมัน ถ้าอักษรภาษาใดถ่ายเสียงได้ไม่ครบ เสียงก็จะเปลี่ยนไป และในปัจจุบัน  อักษรโรมันก็เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในการศึกษาภาษาบาลีเช่นเดียวกับภาษาสันสกฤต
       นักปราชญ์บางท่านยืนยันว่า ภาษาปาลิหรือบาลีนั้นหมายถึงภาษาท้องถิ่นของชาวมคธ มีลักษณะมีลักษณะที่สำคัญคือ(1) ภาษาบาลีเป็นอุตตมภาษาคือภาษาชั้นสูง (2) ภาษามคธเป็นมูลภาษาคือภาษาดั้งเดิมสมัยแรกตั้งปฐมกัป

สระและพยัญชนะในภาษบาลี เทียบกับอักษรโรมัน

       การเทียบอักษรบาลีกับอักษรโรมันมีแตกต่างกันแล้วแต่ตำราที่สมมุติขึ้นมา บางเล่มไม่เคยเห็นแต่สมมุติกันเอง เมื่อสืบค้นดูจากตำราหลายเล่มแล้วจึงได้กำหนดตามพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ของพระพรหมคุณาภรณ์(ประยุทธ์ ปยตฺต)  ซึ่งตรงกับหนังสือ A.K. Warder, Introduction to Pali,Oxford: The Pali Text Society,2001. 

 

สระ ในภาษาบาลีมีสระ  8 ตัว คือ
รัสสระ  เสียงสั้น        -ะ (-a)        -อิ (-i)        -อุ (-u)  
ทีฆสระ เสียงยาว       -า (-ā )       -อี (-  ī )     -อู (-ū )     เ- (-e)        โ- (-o)

 

พยัญชนะ ในภาษาบาลีมีพยัญชนะ 33 ตัว ดังต่อไปนี้

พยัญชนะวรรค                     โฆสะ(เสียงก้อง)    อโฆสะ(เสียงไม่ก้อง)        นาสิก(เสียงขึ้นจมูก)
                               สิถิล           ธนิต           สิถิล          ธนิต     
กัณฐชะ (วรรค กะ )       ก (k)        ข (kh)        ค (g)        ฆ (gh)        ง (ṅ )
ตาลุชะ (วรรค จะ )        จ (c)        ฉ (ch)        ช (j)         ฌ (jh)        ญฺ (ñ)
มุทธชะ (วรรค ฏะ )       ฏ ( t )      ฐฺ( th )        ฑ (d )       ฒ  (dh )     ณ (n )
ทันตชะ (วรรค ตะ )       ต (t)        ถ (th)         ท (d)        ธ (dh)        น (n)
โอฏฐชะ (วรรค ปะ )      ป (p)       ผ (ph)        พ (b)        ภ (bh)        ม (m)

       พยัญชนะอวรรคประกอบด้วย   ย   ร   ล   ว   ส   ห   ฬ   อํ    y   r   l   v   s   h   l    m  m หรือ  n   วิธีเขียนภาษาบาลีนี้ใช้ตามแบบพจนานุกรมพุทธศาสตร์   ซึ่งใช้  m   m   n  แทนนิคคหิต 
         สถิล คือเสียงหย่อน เสียงเบา ธนิต คือเสียงหนัก ทั้งสระและพยัญชนะในภาษาบาลีเรียกรวมกันว่า "อักขระ" มี 41 ตัว สระทั้งแปดตัวเป็น"นิสสัย" หมายถึงเป้นที่อาศัยของพยัญชนะ ส่วนพยัญชนะเรียกว่า "นิสสิต" หมายถึงพยัญชนะอันอาศัยสระ

 

การเขียนอักษรบางตัว
       1.เวลาเขียนเป็นอักษรไทย ตัว "ฐฺ" และ "ญฺ"  จะไม่มีเชิง 
       2.ตัวอักษรโรมันที่ใช้แทน "ง" ในภาษาบาลีนิยมใช้ “ṅ”   
      3. m เมื่อเขียนด้วยอักษรเทวนาครี จะแทนด้วยรูป  o   เรียกว่า  “นิคหิตหรือ อนุสาร”   จัดเป็นรูปพยัญชนะ เช่นในคำว่า  Buddham “ซึ่งพระพุทธ”  เสียงนี้นักไวยากรณ์ดั้งเดิมถือว่า เป็นเสียงนาสิกบริสุทธิ์ (Pure Nasal) ไม่ขึ้นกับวรรคใด แต่จะเปลี่ยนแปลงไปตามหลักการกลมกลืนเสียง (หลักสนธิ) ถ้าไปสนธิกับพยัญชนะวรรค นั่นคือ จะเปลี่ยนเป็นเสียงนาสิกประจำวรรคนั้นๆ  เช่น Samgama อ่านว่า  (Sangama / Sangama) 'การมาร่วมกัน', Samcara อ่านว่า (sañcara) 'การเที่ยวไป', Samdhi อ่านว่า (sandhi) 'การเชื่อมต่อ' เป็นต้น  โดยปกติถ้าเสียงนี้อยู่ท้ายคำจะออกเสียงเป็นเสียง  [m]  เพราะคนทั่วไปไม่สามารถออกเสียงนาสิกบริสุทธิ์ ที่ไม่ขึ้นกับวรรคหนึ่งวรรคใดได้  เสียงพยัญชนะนี้จะปรากฏท้ายพยางค์เสมอ โดยออกเสียงตามหลังสระ จะเป็นสระสั้นหรือยาวก็ได้
       ในตารางข้างบนนี้คือหน่วยเสียง ได้แก่เสียงพยัญชนะที่ยังไม่ประสมกับสระใดๆ  แต่ตามปกติ พยัญชนะเวลาเขียนโดดๆ เป็นอักษรเทวนาครี, อักษรชนิดอื่นในอินเดีย และอักษรไทย จะอ่านเหมือนมีสระ a ประสมอยู่ด้วย เช่น ka, kha, ga, gha, na (ṅa) เป็นต้น  ดังนั้น เวลาถ่ายถอดเสียงจากอักษรไทยเป็นอักษรโรมันจึงต้องเขียนสระ a ประสมอยู่ด้วยเสมอ   

    
หลักในการถ่ายเสียงภาษาบาลี จากอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน คือ
       1.หน่วยเสียงพยัญชนะใด เมื่อเขียนเป็นอักษรไทย ไม่มีสระกำกับอยู่ และไม่มีจุดพินทุ ( . ) อยู่ใต้ตัวอักษรด้วย เมื่อเขียนเป็นอักษรโรมัน จะต้องเขียนสระ a กำกับตลอดเวลา เช่น  ชวน javana อ่านว่า ชะวะนะ, วชฺช vajja อ่านว่า วัชะ, ภมร bhamara อ่านว่า ภะมะระ เป็นต้น
       2.หน่วยเสียงพยัญชนะใด เมื่อเขียนเป็นอักษรไทยมีจุดพินทุ ( . ) อยู่ใต้ตัวอักษรแสดงว่าเป็นตัวควบกล้ำ หรือเป็นตัวสะกด เมื่อเขียนเป็นอักษรโรมันไม่ต้องเขียนสระใดๆ กำกับ เช่น ปฺมาท pmāda, วฺยคฺฆ vyaggha, พินธุ bindhu
       3. เสียง ฤ, ฤๅ, ฦ เป็นสระ ดังนั้นเมื่อเขียนเป็นอักษรไทยโดยปกติ จึงไม่ใส่จุดพินทุใต้พยัญชนะต้น แต่มิได้หมายความว่า เวลาเขียนเป็นอักษรโรมันจะต้องใส่สระ a กำกับพยัญชนะต้นนั้นด้วย  จะเขียนสระ r ประสมกับพยัญชนะต้นลงไปได้เลย เช่น กฤษฺณ krsana, นฤปติ narapati
       4. ในภาษาบาลีไม่มีรูปพยัญชนะ อ  เหมือนในภาษาไทย  ถ้าคำใดเขียนเป็นอักษรไทยขึ้นต้นด้วย  อ  เวลาเขียนเป็นอักษรโรมัน จะขึ้นต้นด้วยสระเลย เช่น อมร amara, อินฺทฺ inda, อุทุมฺพร udumbara  เป็นต้น
       5. ควรสังเกตสระที่อยู่ข้างหน้า หรืออยู่ทั้งข้างหน้าข้างหลังพยัญชนะ เมื่อเขียนเป็นอักษรไทย (ได้แก่สระ เอ ไอ โอ เอา) ว่าประสมอยู่กับพยัญชนะตัวใด หรือพยัญชนะควบกล้ำกลุ่มใด เพราะเมื่อเขียนเป็นอักษรโรมัน สระเหล่านี้จะย้ายไปอยู่ข้างหลังพยัญชนะตัวนั้น หรือกลุ่มนั้น เช่น เทฺราปที drāupadī, ตุเมฺห tumhe  อ่านว่า ตุม-เห เป็นต้น

 

ตัวอย่างการถ่ายเสียงภาษาบาลีเป็นอักษรโรมัน
       นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมสมฺพุทฺธสฺส  Namo tassa Bhagavato Arahato Sammāsambuddhassa

อชฺฌตฺติก  Ajjhattika        อนฺตรธาน       Antaradhāna          อุปทฺทวเหตุ     Upaddavahetu   
ชมฺพูนท    Jambūnada      ขณฺฑสกฺขรา   Khandasakkharā     ทุพฺภิกฺขภย       Dubbhikkhabhaya 
ทุกฺกรกิริยา Dukkarakiriyā   ปจฺจตฺถรณ      Paccattharana        ปพฺพาชนียกมฺม Pabbājanīyakamma
ปทวลญฺช   Padavalañja     ปุญฺาภินิหาร   Puññābhinihāra     ราชปลฺลงฺก      Rājapallanka 

 

วิธีเขียนและอ่านออกเสียงในภาษาไทย
       การใช้ตัวอักษรไทยเขียนภาษาบาลีนั้นยังเขียนได้สองแบบ หนึ่งคือเขียนตัวอักษรตามเสียงพยัญชนะ (เช่น พุทฺธ, ธมฺม, พฺรหฺม) สองคือเขียนตามคำอ่านในภาษาไทย (เช่น พุทธะ, ธัมมะ, พ๎รัห๎มะ)  สำหรับการอ่านออกเสียงนั้น เนื่องจากเราใช้ตัวอักษรไทย เราก็คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าแต่ละตัวจะต้องอ่านออกเสียงว่าอย่างไร ส่วนตัวนิคคหิตนั้น จะเป็นตัวเสียงนาสิก ออกเสียงคล้าย “อัง” เช่น เขียนว่า พุทฺธํ อ่านว่า พุทธัง  ธมฺมํ    อ่านว่า  ธัมมัง  และ สงฺฆํ    อ่านว่า  สังฆัง  พุทฺธํ  สรณํ คจฺฉามิ อ่านว่า พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ เป็นต้น


การอ่านออกเสียงคำบาลีเขียนด้วยอักษรไทย
       พยัญชนะทุกตัวถ้าไม่มีสระอื่นประกอบ พึงออกเสียงสระอะ เช่น ก ข ค ฆ ง อ่านออกเสียงเป็น กะ ขะ คะ ฆะ งะ  ถ้า อ อยู่หน้าคำออกเสียงตามเสียงสระ เช่น อสโม อ่านว่า อะสะโม อาม อ่านว่า อามะ      อิงฺฆ  อ่านว่า อิงฆะ     อุกาส  อ่านว่า อุกาสะ    โอทาต อ่านว่า โอทาตะ    โอฏฺ  อ่านว่า    โอดถะ
       o  เรียกตามศาสนโวหารว่า "นิคหิต" หากเรียกตามคัมภีร์ศัพทศาสตร์จะเรียกว่า "อนุสาร" แปลว่ากดสระหรือกรณ์ ตามถ้าปรากฏอยู่บนพยัญชนะ หรือสระใด พึงออกเสียงเท่ากับ ง สะกด เช่น  มยํ อ่านว่า มะยัง   กุหึ  อ่านว่า กุหิง กาตุ อ่านว่า กาตุง  สํสาโร  อ่านว่า สังสาโร
       ตัวสะกดต้องมีจุด . อยู่ใต้พยัญชนะพึงอ่านพยัญชนะนั้นๆ เท่ากับมีเสียงสระ อะ เช่น  สมฺมาสมฺพุทฺโธ  อ่านว่า สัมมาสัมพุดโท   อุปฺปชฺชติ   อ่านว่า  อุปปัดชะติ
       พยัญชนะ พ  ม  ว  ร  ห  ฬ  บางทีใช้กล้ำกับพยัญชนะอื่น โดยมีจุด . อยู่ใต้เช่น  พฺยฺากตํ   อ่านว่า  พยากะตัง    พรหฺมา  อ่านว่า  พรัหมมา  วฺยากรณํ  อ่านว่า  วยากะระณัง    พฺยญฺชนํ  อ่านว่า พยัญชะนัง อมฺห  อ่านว่า  อำหะ     ตุเมฺห  อ่านว่า ตุมเห
สมฺปมูเฬหตฺถ อ่านว่า สัมปะมูฬเหตถะ  กลฺยาณธมฺโม   อ่านว่า กัลยานะธัมโม

       พยัญชนะ ต  ท  ส  ที่มีจุดอยู่เบื้องล่าง และนำหน้า  ว    ม อ่านกึ่งเสียงและกล้ำด้วยพยัญชนะ อื่นเช่น  

              ตฺวํ อ่านว่า ตวัง            เสฺว อ่านว่า สเหว           เสว   อ่านว่า    เสวะ
              ตสฺมา  อ่านว่า ตัดสมา   เทฺว อ่านว่า ทเว            เทว   อ่านว่า    เทวะ
              สุตฺวา อ่านว่า สุดตะวา   ทิสฺวาน อ่านว่า ทิสวานะ  เป็นต้น

 

คำอาราธนาศีล
ภาษาบาลี
       นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺธสฺส (3 จบ)
คำอ่าน
       นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธะสะ (นะโม 3 จบ)
คำแปล ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ พระองค์นั้น

 

คำอาราธนาศีล 5 หรือ คำขอศีล 5
ภาษาบาลี
       มยํ ภนฺเต วิสุ วิสุ รกฺขนตฺถาย  ติสรเณน สห ปญฺจสีลานิ ยาจาม
       ทุติยมฺปิ มยํ ภนฺเต วิสุ วิสุ รกฺขนตฺถาย  ติสรเณน สห ปญฺจสีลานิ ยาจาม
       ตติยมฺปิ มยํ ภนฺเต วิสุ วิสุ รกฺขนตฺถาย  ติสรเณน สห ปญฺจสีลานิ ยาจาม
คำอ่าน
       มะยัง ภันเต วิสุงวิสุง รักขนัตถายะ ติสะระเนนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
คำแปล ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอศีล 5 พร้อมกับไตรสรณะเพื่อประโยชน์แก่การรักษาเป็นข้อๆ
       ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุงวิสุง รักขนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
คำแปล ท่านผู้เจริญ แม้ในวาระที่ 2 ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอศีล 5 พร้อมกับไตรสรณะเพื่อประโยชน์แก่การรักษาเป็นข้อๆ
       ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุงวิสุง รักขนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
คำแปล ท่านผู้เจริญ แม้ในวาระที่ 3 ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอศีล 5 พร้อมกับไตรสรณะเพื่อประโยชน์แก่การรักษาเป็นข้อๆ

       (ถ้าคนเดียวเปลี่ยนจากคำว่า "มะยัง" เป็น "อะหัง" และ "ยาจามะ" เป็น "ยาจามิ")
 

บทไตรสรณคมน์
ภาษาบาลี
       พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
       ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
       สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
คำอ่าน
       พุทธัง สะระณัง  คัจฉามิ (ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง)
       ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ (ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง )
       สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ (ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง )

       ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ (แม้ในวาระที่ 2 ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง)
       ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ (แม้ในวาระที่ 2 ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง )
       ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ (แม้ในวาระที่ 2 ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง )

       ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ (แม้ในวาระที่ 3 ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง)
       ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ (แม้ในวาระที่ 3 ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง )
       ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ (แม้ในวาระที่ 3 ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง )

(พระภิกษุว่า ติสรณคมนัง นิฏฐิตัง ผู้ปฏิญาณว่า “อามะ ภันเต” (แปลว่า ขอรับ เจ้าข้า)
พระภิกษุว่าต่อไป ผู้ปฏิญาณว่าตาม)

 

คำสมาทานศีล
ภาษาบาลี

       ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
       อทินฺนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
       กาเมสุ มิจฺฉาจารา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
       มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
       สุราเมระยะมชฺขปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
คำอ่านและคำแปล
       ปาณาติปาตา  เวระมณี  สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
คำแปล ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์
       อทินนาทานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการลักทรัพย์
       กาเมสุ มิฉาจารา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
       มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการพูดเท็จ
       สุราเมระยะ มัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการดื่มสุรา เมรัย ของเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

 

คำท้ายศีล

       อิมานิ ปญฺจ สิกฺขาปทานิ สีเลน สุคตึ ยนฺติ สีเลน โภคสมฺปทา สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย ฯ  

 

คำอ่านและคำแปล

       อิมานิ ปัญจ สิกขาปทานิ  สิกขาบทห้าประการเหล่านี้
       สีเลนะ สุคติง ยันติ   ย่อมนำไปสู่ความสุขด้วยศีล
       สีเลนะ โภคะสัมปะทา  ถึงพร้อมด้วยโภคทรัพย์ด้วยศีล
       สีเลนะ นิพพุติง ยันติ  ย่อมไปสู่นิพพานด้วยศีล
       ตัสมา สีลัง วิโสธะเย  เพราะฉะนั้นพึงสมาทานศีลให้บริสุทธิ์

 

ความมหัศจรรย์ของภาษาบาลี 
       ศาสนาทั้งหลายในโลกนี้  ต่างมีภาษาสำหรับจารึกศาสนธรรมคำสอนของพระศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนานั้นๆ  ภาษาสันสกฤตผู้นับถือศาสนาพราหมณ์นับถือว่าเป็นภาษาอันศักดิ์สิทธิ์  เพราะจารึกคำสอนอขงพระเวทฉันใด  แม้ภาษาบาลีก็เป็นเช่นเดียวกัน  ชาวพุทธทั้งหลายฝ่ายเถรวาทก็นับถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธ์  เพราะจารึกพระธรรมอันเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่อนุพุทธยุคหลักได้ศึกษาเรียนรู้พระพุทธธรรมได้โดยง่าย  พระมหาเถระทั้งหลายผู้แต่งคัมภีร์อรรถกถา  และฎีกา  เป็นต้น  ต่างใช้ภาษาบาลีเป็นหลักในการแต่งคัมภีร์เหล่านั้น
       ฉะนั้นการที่จะมีความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทโดยถูกต้องและ  สมบูรณ์แบบที่สุดนั้น  ขึ้นกับภูมิความความแตกฉานภาษาบาลีเป็นสำคัญ  เพราะพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ปัจจุบันเรียกกันว่า  “พระไตรปิฎก” นั้น  ล้วนอยู่ในรูปของภาษาบาลีทั้งสิ้น ภาษาบาลีจึงเป็นภาษารักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ คือพระธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนานั่นเอง

 

1. ภาษาบาลีเป็นภาษาที่ไม่เสื่อม
       ภาษาบาลีนับว่าเป็นภาษาที่สูงกว่าภาษาทั้งหลาย  เพราะสมบูรณ์ด้วยคุณวิเศษและสภาวนิรุตติ  คำว่า  สภาวนิรุตตินั้น  หมายถึงภาษาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงความหมายและอธิบาย  มีอำนาจในการแสดงอรรถและอธิบายได้แน่นอน  เป็นภาษาที่ผู้วิเศษทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงใช้อยู่  กล่าวอีกนัยหนึ่ง  สภาวนิรุตติ  หมายถึงภาษาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง  ไม่เสื่อม  ตั้งอยู่โดยปกติ  ส่วนภาษาอื่นๆ เมื่อถึงกาลหนึ่งย่อมเปลี่ยนแปลง  และเสื่อมได้  สำหรับภาษาบาลีแล้วจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงและเสื่อมเลย ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนๆ  ในกาลไหนๆ  หากจะมีการเปลี่ยนแปลง  หรือเสื่อมสลายก็เป็นเพราะผู้ศึกษา  ผู้แสดง  ผู้สอน  เรียนผิด  แสดงผิด  และสอนผิด  แม้ถึงกระนั้น  ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงโดยตลอดกาล  เพราะท่านกล่าวไว้ในสัมโมทวิโนทนีว่า  สถานที่พูดภาษาบาลีมากที่สุดคือ  นรก  ดิรัจฉาน  เปรต  โลกมนุษย์  สวรรค์  และพรหมโลก  กล่าวอธิบายว่า  เมื่อโลกแตกสลาย  พรหมโลกมิได้เข้าข่ายการแตกสลายด้วย  ฉะนั้น  พรหมโลกแตกสลาย พรหมโลกมิได้เข้าข่ายการแตกสลายด้วย  ฉะนั้น  พรหมโลกจึงตั้งอยู่ได้สภาพเดิม


2.  ภาษาบาลีเป็นมูลภาษา
       ภาษาบาลีจัดเป็นภาษาของมนุษย์ในยุคแรกของโลก  เพราะเมื่อโลกถึงการแตกสลาย  พรหมโลกมิได้แตกสลายไปด้วย  ฉะนั้นพรหมโลกจึงตั้งอยู่ในสภาพเดิม  โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง  มีอธิบายเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยว่า มนุษย์ในยุคแรกของโรคนั้น  เป็นผู้จุติมาจากพรหมโลกด้วยอุปาทปฏิสนธิ  มนุษย์ดังกล่าวนั้นพูดภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กันในพรหมโลกเป็นต้น  ฉะนั้น  นักไวยากรณ์จึงมีความเชื่อว่า  ภาษาบาลี  เป็นมูลภาษาคือเป็นภาษาที่มนุษย์ในยุคแรกใช้พูดกัน  ดังที่คัมภีร์ปทรูปสิทธิ  ได้กล่าวว่า
                            สา  มาคธี  มูลภาสา         นรา  ยายาทิกปฺปิกา
                            พฺรหฺมาโน  จสฺสุตาลาปา    สมฺพุทฺธา  จาปิ  ภาสเร ฯ
       แปลว่า นรชนผู้เกิดในปฐมกัป พรหม แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย และบุคคลผู้มิได้สดับคำพูดของมนุษย์เลย กล่าวด้วยภาษาใด ภาษานั้นคือมาคธี ภาษามคธเป็นภาษาดั้งเดิม
       ภาษามาคธี  เป็นภาษาดั้งเดิมที่ใช้พูดกันโดยมนุษย์ต้นกัปป์  พวกพรหม  พระพุทธเจ้า  และบุคคลผู้ที่ยังไม่เคยได้ยินคำพูดจากบุคคลอื่น 

 

3. ภาษาบาลีเป็นสภาวนิรุตติ
         ท่านแสดงไว้ในสัมโมมหวิโนทนีว่า ภาษาบาลีเป็นสภาวนิรุตติหมายความว่าเป็นภาษา ธรรมชาติ อธิบายว่า  แม้ผู้ที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังภาษาอื่นมาก่อน หากมีความสามารถในการคิดและพูดได้เอง เขาคงจัดพูดภาษาบาลีอันเป็นภาษาที่เขาสนใจเท่านั้น  หมายความว่า  ในหนทางอันยืดยาวแห่งสังสารวัฏอันกำหนดนับไม่ได้นั้น มีการกำหนดเม็ดพืชของภาษาบาลีอยู่  ผู้ที่เดินทางไกลในสังสารวัฏล้วนเคยพูดเคยท่องบ่นภาษาบาลีมาแล้ว  โดยนับไม่ถ้วน  นั้น  เมื่อถึงเวลาพูดจริงแม้จะไม่เคยพูดภาษาบาลีมาก่อน ก็สามารถพูดภาษาบาลีได้เอง ทั้งนี้ปรากฏขึ้นมาเพราะพืชพันธ์แห่งสภาวนิรุตตินั่นเอง

 

4.ภาษาบาลีเป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
       ภาษาบาลี นอกจากจะได้ชื่อว่าสภาวนิรุตติแล้ว ยังชื่อว่าเป็นเหตุแห่งนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณอีกด้วย ผู้ที่ได้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณแล้ว จะสามารถรู้ภาษาบาลีได้เอง  เช่นเดียวกันความแตกฉานในภาษาบาลีก็เป็นปัจจัยส่วนหนึ่งแห่งการได้บรรลุปฏิสัมภิทาญาณ

 

5.  ภาษาบาลีเป็นภาษารักษาพระศาสนา
       ภาษาบาลี  มิใช่จะสมบูรณ์ด้วยคุณดังกล่าวมาแล้วเท่านั้น   ยังได้ชื่อว่าเป็นภาษารักษาพระพุทธศาสนาอีกด้วย  “การดำรงไว้ซึ่งวินัยกรรมที่รู้กันว่าเป็นอายุของพระศาสนา” นั้น จัดเป็นคำพูดที่ถูกทีเดียวเพราะในการทำสังฆกรรมมี อุโบสถ ปวารณา อุปสมบท และสมมติสีมา เป็นต้น  จะสำรวจได้ด้วยดีและถูกต้องตามแบบแผนพุทธบัญญัติ  ถ้าไม่มีวินัย  กรรมเกี่ยวเนื่องด้วยการสวดกรรมวาจาแล้ว  ถือว่ากรรมไม่สำเร็จ  แต่สังฆกรรมนั้นๆ จะสำเร็จได้ด้วยดีก็ด้วยผู้สวดกรรมวาจาสามารถสวดกรรมวาจา  ออกเสียงสิถิล  ธนิต  วิมุตติ  และนิคคหิต  ได้ถูกต้องชัดเจน  และผู้ที่สวดได้ถูกต้องชัดเจน  จะต้องมีความรู้แตกฉานในพยัญชนะพุทธิ  10  ประการมีสิถิลและธนิตเป็นต้น  ซึ่งแสดงถึงวิธีสวดภาษาบาลี  เมื่อมีความรู้แตกฉานในพยัญชนะพุทธิ  10  ประการแล้ว  จึงสวดกรรมวาจาได้ถูกต้องชัดเจน  และสังฆกรรมย่อมสำเร็จสมบูรณ์ตามพุทธประสงค์  หากไม่เรียนรู้ภาษาบาลีก็ไม่สามารถสวดกรรมวาจาให้สำเร็จได้  เมื่อเป็นเช่นนั้น  จึงกล่าวสรุปได้ว่า  ภาษาบาลีเป็นภาษาที่มีความสำคัญอันสูงสุดต่อความดำรงมั่นสิ้นกาลนานแห่งพระพุทธศาสนา

 

6.ภาษาบาลีเป็นภาษาอจินไตย
       กล่าวกันว่า   พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมจักกัปปวัตตนสูต ซึ่งเป็นปฐมเทศนาด้วยภาษาบาลี   เมื่อเป็นเช่นนั้นน่าจะมีปัญหาว่า  ผู้ที่ฟังพระธรรมจักรเทศนาทั้งหลาย (หมายถึงพระปัญจวัคคีย์) หากไม่รู้ภาษาบาลีแล้วจะเข้าใจพระธรรมจักรเทศนาที่พระองค์ทรงแสดงได้อย่างไร?  ตอบได้ว่า  ข้อที่กล่าวว่าพระองค์ทรงแสดงพระธรรมจักรด้วยภาษามคธนั้นเป็นความจริงทีเดียว  ถึงแม้ว่าปฏิคคาหกบุคคลผู้รับฟังธรรมทั้งหลาย จะรู้เฉพาะภาษาของตนอย่างเดียวก็จริง ขอยกตัวอย่างเช่น ชนชาวทมิฬก็นึกว่า (พระพุทธองค์) แสดงธรรมโปรดเขาด้วยภาษาทมิฬ ชนชาวอันธกะทั้งหลายก็นึกว่า (พระพุทธองค์) ทรงแสดงธรรมโปรดเขาด้วยภาษาอันธกะเช่นเดียวกัน การที่ผู้ฟังทั้งหลายนึกเช่นนั้นเป็นเพราะอานุภาพแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เรียกว่า “วาจาอจินไตย” อันมีอยู่ในอจินไตย ด้วยเหตุดังกล่าว การที่จะศึกษาพุทธธรรมหมีความรู้ความเข้าใจแตกฉาน อย่างลุ่มลึกในอรรถธรรมได้ดีนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้เข้าใจในภาษาบาลี ที่เรียกว่ามูลภาษาเสียก่อน ดังนั้น คัมภีร์นิรุตติทีปนี จึงนับได้ว่าเป็นตำราพื้นฐานของ การศึกษาภาษาบาลี ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้เข้าใจหลักภาษาก่อน จากนั้นจึงค่อยเข้าไป ศึกษาพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา เป็นต้นสืบต่อไป 
        เนื่องจากภาษาเป็นภาษาที่มีหลักไวยากรณ์ ดังก่อนที่จะศึกษาภาษาบาลีจึงต้องรู้จักไวยากรณ์ภาษาบาลีตามสมควร

 

 

แบบฝึกหัดการอ่านและเขียนภาษาบาลี

 

1.จงเขียนสะกดคำต่อไปนี้ตามแบบภาษาไทย
       อถโข  พฺรหฺมา   สหมฺปติ    กตาวกาโส    โขมฺหิ   ภควตา   ธมฺมเทสนายาติ ภควนฺตํ     อภิวาเทตฺวา     ปทกฺขิณํ กตฺวา   ตตฺเถวนฺตรธายิ ฯ   จตฺตาโรเม  ภิกฺขเว  ปุคฺคลา  สนฺโต สํวิชฺชมานา โลกสฺมึ  กตเม  จตฺตาโร    อุคฺฆฏิตญู    วิปจิตญู    เนยฺโย ปทปรโม อิเม โข  ภิกฺขเว จตฺตาโร ปุคฺคลา สนฺโต สํวิชฺชมานา โลกสฺมินฺติ ฯ  

 

2. จงเขียนสะกดแบบบาลี
       อุคฺฆะฏิตัญูสุตตะวัณณะนา  ตะติเย  ฯ  จตุนนัมปิ  ปุคคะลานัง  อิมินา  สุตเตน  วิเสโส  เวทิตัพโพ กะตะโม  จะ ปุคคะโล  อุคฆะฏิตัญฺญู ยัสสะ  ปุคคะลัสสะ  สะหะ  อุทาหะฏะเวลายะ  ธัมมาภิสะมะโย  โหติ อะยัง  วุจจะติ  ปุคคะโล  อุคฆะฏิตัญู  ฯ

 

3.จงเขียนเป็นอักษรโรมัน
       3.1.นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ มหาขนฺธกํ   เตน   สมเยน  พุทฺโธ  ภควา อุรุเวลายํ  วิหรติ  นชฺชา   เนรญฺชราย   ตีเร   โพธิรุกฺขมูเล   ปมาภิสมฺพุทฺโธ  ฯ  อถโข  ภควา  โพธิรุกฺขมูเล  สตฺตาหํ   เอกปลฺลงฺเกน   นิสีทิ   วิมุตฺติสุขปฏิสํเวที   ฯ  อถโข   ภควา   รตฺติยา   ปมํ   ยามํ  ปฏิจฺจสมุปฺปาทํ  อนุโลมปฏิโลมํ  มนสากาสิ     อวิชฺชาปจฺจยา    สงฺขารา    สงฺขารปจฺจยา    วิญฺาณํ   วิญฺาณปจฺจยา    นามรูปํ   นามรูปปจฺจยา   สฬายตนํ   สฬายตนปจฺจยา  ผสฺโส   ผสฺสปจฺจยา  เวทนา   เวทนาปจฺจยา  ตณฺหา  ตณฺหาปจฺจยา     อุปาทานํ     อุปาทานปจฺจยา     ภโว    ภวปจฺจยา  ชาติ     ชาติปจฺจยา  ชรามรณํ โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา  สมฺภวนฺติ    เอวเมตสฺส    เกวลสฺส    ทุกฺขกฺขนฺธสฺส   สมุทโย   โหติ ฯ
       3.2. เทวตาสํยุตฺตํ นฬวคฺโค ปโม ปมํ โอฆตรณสุตฺตํ ฯ เอวมฺเม   สุตํ   เอกํ   สมยํ   ภควา  สาวตฺถิยํ วิหรติ  เชตวเน   อนาถปิณฺฑิกสฺส   อาราเม   ฯ   อถ  โข  อญฺญตรา  เทวตา อภิกฺกนฺตาย   รตฺติยา  อภิกฺกนฺตวณฺณา  เกวลกปฺปํ  เชตวนํ  โอภาเสตฺวา  เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ  อุปสงฺกมิตฺวา   ภควนฺตํ  อภิวาเทตฺวา  เอกมนฺตํ อฏฺาสิ ฯ  เอกมนฺตํ   ฐิตา   โข   สา  เทวตา  ภควนฺตํ  เอตทโวจ  กถํ   นุ   ตฺวํ   มาริส   โอฆมตรีติ   ฯ   อปฺปติฏฺฐํ   ขฺวาหํ  อาวุโส อนายูหํ โอฆมตรินฺติฯ ยถากถํ ปน ตฺวํ   มาริส   อปฺปติฏฺฐํ  สํสีทามิ  ยทา  สฺวาหํ อายูหามิ  ตทาสฺสุ นิวุยฺหามิ  เอวํ ขฺวาหํ  อาวุโส อปฺปติฏฺฐํ อนายูหํ โอฆมตรินฺติ ฯ 
                       จิรสฺสํ วต ปสฺสามิ        พฺราหฺมณํ ปรินิพฺพุตํ 
                       อปฺปติฏฺฐํ อนายูหํ        ติณฺณํ โลเก วิสตฺติกนฺติ ฯ 
       อิทมโวจ   สา   เทวตา   สมนุญฺโญ   สตฺถา  อโหสิ  ฯ   อถ  โข  สา  เทวตา สมนุญฺโญ เมสตฺถาติ ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา  ปทกฺขิณํ กตฺวา ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ 


พระมหาบุญไทย  ปุญฺญมโน
07/06/55

 

หมายเหตุ:เขียนแบบฝึกหัดเสร็จจะส่งคำตอบมาที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. ก็ได้

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก