ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

            การนับจำนวนตัวเลขในแต่ละภาษาไม่เหมือนกัน แม้แต่การเขียนก็แตกต่างกัน ในภาษาบาลีมีวิธีการพิเศษ มีศัพท์เฉพาะเรียกตัวเลขว่า “สังขยา” คือตัวเลขหรือการนับ เมื่อมีจำนวนมากขึ้นก็นำจำนวนตัวเลขมาต่อกัน โดยใช้ศัพท์คือ “อุตตร”และ “อธิก” เป็นตัวเชื่อม ที่สำคัญการนับหรือที่ภาษาบาลีเรียกว่าสังขยานั้นใช้ตัวอักษรแทนตัวเลขเช่นเลข 1 ภาษาบาลีใช้คำว่า "เอก" มีหลายคนที่ชื่อเอก หากจะแปลตามความหมายก็ต้องบอกว่าหมายถึงลูกชายคนแรกนั่นเอง ในชั้นนี้หากผู้เริ่มศึกษาสนใจจำคำศัพท์ที่ใช้แทนตัวเลขได้ก็จะสะดวกในการนับจำนวนที่มากขึ้นไปด้วย 
สังขยา หมายถึงศัพท์ที่เป็นเครื่องกำหนดนับนามนามแบ่งออกเป็น  2  อย่างคือ 
            1. ปกติสังขยา (Cardinals) คือการนับโดยปกติ  เป็นต้นว่า  หนึ่ง  สอง  สาม  สี่  ห้า,  สำหรับนับนามนามให้รู้ว่ามีประมาณเท่าใด   ปกติสังขยานี้  ในคัมภีร์ศัพทศาสตร์ท่านแบ่งเป็น  2  พวก  ตั้งแต่ เอก   ถึง  จตุ  จัดเป็น  สัพพนาม  ตั้งแต่  ปญฺจ  ไป  เป็น  คุณนาม
            2.ปูรณสังขยา  (Ordinals) คือการนับนามนาม ที่เต็มในที่นั้น  ๆ  คือ  นับเป็นชั้น ๆ  เป็นต้นว่า  ที่หนึ่ง  ที่สอง  ที่สาม ที่สี่  ที่ห้า  ปูรณสังขยาเป็น  คุณนามแท้

วิธีนับปกติสังขยา    

เอก                             1              
ทฺวิ                              2           
ติ                                3                                   
จตุ                              4                       
ปญฺจ                           5                           
ฉ                                 6                   
สตฺต                            7          
อฏฺ                            8        
นว                               9                          
ทส                             10                             
เอกาทส                     11                             
ทฺวาทส,  พารส          12        
เตรส                          13 
จตุทฺทส,  จุทฺทส        14   
ปญฺจทส,  ปณฺณรส    15   
โสฬส                        16
สตฺตรส                      17   
อฏฺารส                    18   
เอกูนวีสติ,  อูนวีส     19
วีส,   วีสติ                  20
เอกวีสติ                    21     
ทฺวาวีสติ,  พาวิสติ    22
เตวีสติ                      23   
จตุวีสติ                     24
ปญฺจวีสติ                  25                          
ฉพฺพีสติ                    26                            
สตฺตวีสติ                  27                    
อฏฺวีสติ                  28              
เอกูนตฺตึส,  อูนตฺตึส 29            
ตึส,  ตึสติ                 30               
เอกตฺตึส                   31           
ทฺวตฺตึส,  พตฺตึส       32           
เตตฺตึส                     33           
จตุตฺตึส                    34           
ปญฺจตฺตึส                 35           
ฉตฺตึส                      36           
สตฺตตฺตึส                 37           
อฏฺตฺตึส                 38           
เอกูนจตฺตาฬีส,  อูนจตฺตาฬีส    39          
จตฺตาฬีส,  ตาฬีส     40           
เอกจตฺตาฬีส            41          
เทวฺจตฺตาฬีส            42     
เตจตฺตาฬีส              43      
จตุจตฺตาฬีส             44 
ปญฺจจตฺตาฬีส          45 
ฉจตฺตาฬีส               46     
สตฺตจตฺตาฬีส          47     
อฏฺจตฺตาฬีส          48  
เอกูนปญฺาส,  อูนปญฺาส    49   
ปญฺาส,  ปณฺณาส  50 
สฏฺฐี                         60     
สตฺตติ                      70
อสีติ                         80
นวุติ                          90
สตํ                          100
สหสฺสํ                   1000
ทสสหสฺสํ            10000
สตสหสฺสํ,  ลกฺขํ 100000
ทสสตสหสฺสํ   1000000 
โกฏิ                       โกฏิ


              เอกสังขยาเป็นเอกวจนะ อย่างเดียว   เอกสัพพนาม   เป็นทฺวิวจนะ   ตั้งแต่  ทฺวิ  จนถึง  อฏฺารส  เป็นพหุวจนะอย่างเดียว เป็น  3  ลิงค์   ตั้งแต่  เอกูนวีสติ  จนถึง  อฏฺนวุติ  เป็นเอกวจนะอิตถีลิงค์อย่างเดียวแม้เข้ากับศัพท์ที่เป็นพหุวจนะลิงค์อื่น ก็คงอยู่อย่างนั้นไม่เปลี่ยนไปตาม
ถ้าสังขยาจำนวนตั้งแต่ 100 ขึ้นไปมีวิธีนับดังนี้
              1. ถ้าสังขยาตั้งแต่ 1 ถึง 99 (หรือหลักหน่วยหรือหลักสิบ)จะไปต่อกับร้อย-พัน-หมื่น-แสน-ล้าน ให้ใช้ “อุตฺตร แปลว่ากว่า หรือ เกิน” ต่อในระหว่าง
ข้อควรจำ
              เมื่อ อ,อา การันต์อยู่หน้า อุตฺตร ให้ลบ อ, อา เสีย เช่น เอก+ อุตฺตร เป็น เอกุตฺตร
              เมื่อ อิ,อี การันต์อยู่หน้า อุตฺตร ให้แปลง อิ, อี เป็น ย  เช่น รตฺติ+ อุตฺตร เป็น รตฺตยุตฺตร
              เมื่อ อุ,อู การันต์อยู่หน้า อุตฺตร ให้ลบ อุ, อู  ที่อยู่หน้านั้นทิ้ง เช่น จตุ+ อุตฺตร เป็น จตุตฺตร
              2. ถ้าสังขยาจำนวนร้อย-พัน-หมื่น-แสน-ล้าน จะต่อกันเองให้ใช้ “อธิก แปลว่า ยิ่งด้วย” ต่อในระหว่าง    (พระมหานิยม อุตฺตโม, หลักสูตรย่อบาลีไวยากรณ์,พิมพ์ครั้งที่ 4,(กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง,2523),หน้า 64.)

ตัวอย่าง
              120  แยกออกเป็นสองส่วนคือ 100 + 20  กลับเลขเป็น 20+100 จากนั้นแทนค่าเป็น วีส +อุตฺตร+ สตํ  =  วีสุตฺตรสตํ แปลว่า อ. ร้อย กว่า 20
2035  แยกเป็น  2000 + 35  กลับเลขเป็น 35+ 2000 จากนั้นแทนค่าเป็น ปญฺจตึส  +อุตฺตร+ ทวิสหสฺสานิ  =  ปญฺจตึสุตฺตรเทฺวสหสฺสานิ แปลว่า อ. พันสอง กว่า 35
765483 แยกเป็น 700000 + 60000+ 5000 + 400 + 83
                    จากนั้นกลับเลขเป็น 83+ 400+ 5000+ 60000+700000
                    แทนค่า  เตอสีติ + อุตฺตร+ จตุสตาธิกานิ + ปญฺจสหสฺสาธิกานิ+ฉทสสหสฺสาธกานิ + สตฺตสตสหสฺสานิ
              สำเร็จรูปเป็น เตอสีตยุตฺตรจตุสตาธิกานิ  ปญฺจสหสฺสาธิกานิ  ฉทสสหสฺสาธกานิ  สตฺตสตสหสฺสานิ แปลว่า อ.แสนเจ็ด ท.ยิ่งด้วยหมื่นหก ท. ยิ่งด้วย พันห้า ท. ยิ่งด้วยร้อยสี่กว่าแปดสิบสาม

การนับสังขยากับนาม
              ถ้ามีนามแทรกเข้ามามีวิธีทำดังนี้ ตัวอย่างเช่น บรุษ 876372 คน  แยกจำนวนออกจากกันพร้อมกับกลับว่า 72 +  300  + 6000 + 70000 + 800000
              ทวิสตฺตติ + ปุริส + อุตฺตร + ติสตาธิกานิ + ฉสหสฺสาธิกานิ + สตฺตทสสหสฺสาธิกานิ+ อฏฺ+ปุริส+สตสหสฺสานิ
สำเร็จรูปเป็น :
              ทวิสตฺตติปุริสุตฺตรติสตาธิกานิ   ฉสหสฺสาธิกานิ    สตฺตทสสหสฺสาธิกานิ   อฏฺฐปุริสสตสหสฺสานิ

การแจกสังขยา: สังขยานั้นก่อนจะนำไปใช้มีวิธีแจกดังนี้   

เอก  ศัพท์ (หนึ่ง)  มีวิธีแจกดังต่อไปนี้   
                ปุงลิงค์                                        อิตถีลิงค์
                เอก.                                             เอก.
ป.         เอโก                                         ป.       เอกา
ทุ.         เอกํ                                           ทุ.      เอกํ
ต.         เอเกน                                        ต.      เอกาย
จ.         เอกสฺส                                       จ.      เอกาย
ปญฺ.     เอกสฺมา        เอกมฺหา             ปญฺ.      เอกาย
ฉ.        เอกสฺส                                       ฉ.      เอกาย
ส.        เอกสฺมึ  เอกมฺหิ                         ส.       เอกาย
              เอก  ศัพท์  ใน  นปุสกลิงค์  แจกเหมือนใน  ปุลิงค์  แปลกแต่ ป.  เอกํ  เท่านั้น. เอก  ศัพท์นี้  ถ้าเป็น  สังขยา  แจกอย่างนี้,  ถ้าเป็น  สัพพนาม แจกได้ทั้ง  2  วจนะ 

ทฺวิ  ศัพท์ ใน  3  ลิงค์  อุภ  ศัพท์  (สอง)    ใน  3  ลิงค์ มีวิธีแจกดังต่อไปนี้
                พหุ.                                        พหุ.
ป.        เทฺว                                        ป.        อุโภ
ทุ.        เทฺว                                        ทุ.       อุโภ   
ต.        ทฺวีหิ                                       ต.       อุโภหิ
จ.        ทฺวินฺนํ                                    จ.        อุภินฺนํ
ปญฺ.     ทฺวีหิ                                     ปญฺ.     อุโภหิ
ฉ.        ทิวินฺนํ                                   ฉ.        อุภินฺนํ
ส.        ทฺวีสุ                                      ส.        อุโภสุ

ติ  ศัพท์  มีวิธีแจกดังต่อไปนี้
          ปุงลิงค์                                         อิตถีลิงค์
             พหุ.                                                พหุ.
ป.        ตโย                                       ป.       ติสฺโส
ทุ.        ตโย                                       ทุ.       ติสฺโส
ต.        ตีหิ                                         ต.       ตีหิ
จ.        ติณฺณํ   ติณฺณนฺนํ                   จ.        ติสฺสนฺนํ
ปญฺ.     ตีหิ                                        ปญฺ.     ตีหิ  
ฉ.        ติณฺณํ   ติณฺณนฺนํ                   ฉ.       ติสฺสนฺนํ
ส.        ตีสุ                                         ส.        ตีสุ
        ติ  ศัพท์  ใน  นุปุงสกลิงค์  แจกเหมือนในปุงลิงค์  แปลกแต่  ป.  ทุ.  ตีณิ  เท่านั้น       
จตุ  ศัพท์  มีวิธีแจกดังต่อไปนี้

          ปุงลิงค์                                         อิตถีลิงค์
             พหุ.                                            พหุ.
ป.        จตฺตาโร        จตุโร                ป.        จตสฺโส
ทุ.        จตฺตาโร        จตุโร                ทุ.        จตสฺโส
ต.        จตูหิ                                        ต.       จตูหิ
จ.        จตุนฺนํ                                     จ.        จตสฺสนฺนํ
ปญฺ.     จตูหิ                                     ปญฺ.       จตูหิ
ฉ.        จตุนฺนํ                                     ฉ.       จตสฺสนฺนํ 
ส.        จตูสุ                                        ส.        จตูสุ
        จตุ  ศัพท์  ใน  นปุงสกลิงค์  แจกเหมือนใน  ปุงลิงค์  แปลกแต่  ป.  ทุ. จตฺตาริ   เท่านั้น.
ปญฺจ  ใน  3  ลิงค์  มีวิธีแจกดังต่อไปนี้
                            พหุ.
ป.                        ปญฺจ                    
ทุ.                        ปญฺจ                       
ต.                         ปญฺจหิ                       
จ.                         ปญฺจนฺนํ
ปญฺ.                     ปญฺจหิ
ฉ.                         ปญฺจนฺนํ
ส.                         ปญฺจสุ            
     ตั้งแต่  ฉ  ถึง  อฏฺารส  มีวิธีแจกเหมือน ปญฺจ

เอกูนวีส  ใน  อิตถีลิงค์  มีวิธีแจกดังต่อไปนี้
                            เอก.
ป.                       เอกูนวีสํ                        (ลงนิคหิต)
ทุ.                       เอกูนวีสํ
ต.                       เอกูนวีสาย 
จ.                       เอกูนวีสาย
ปญฺ.                   เอกูนวีสาย
ฉ.                      เอกูนวีสาย
ส.                      เอกูนวีสาย
                      ตั้งแต่  วีส  ถึง  ปญฺญาส  มีวิธีแจกอย่างนี้
              ตั้งแต่  เอกูนวีสติ  ถึง  อฏฺตฺตึสติ  และตั้งแต่  เอกูนสตฺตติ  ถึง  อฏฺนวุติ   แจกตามแบบ อิ  การันต์  ใน  อิตถีลิงค์ (รตฺติ)   ตั้งแต่  เอกูนสฏฺฐี  ถึง  อฏฺฐสฏฺฐี  แจกตามแบบ  อี  การันต์  ในอิตถีลิงค์  (นารี)

ปูรณสังขยา  นับในลิงค์ทั้ง  3  ดังต่อไปนี้    
ปุงลิงค์                         อิตถีลิงค์                              นปุงสกลิงค์                    คำแปล
ปโม                              ปมา                                 ปมํ                                ที่  1
ทุติโย                              ทุติยา                                 ทุติยํ                                ที่  2
ตติโย                               ตติยา                                ตติยํ                                 ที่  3
จตุตฺโถ                            จตุตฺถี-ถา                           จตุตฺถํ                               ที่ 4
ปญฺจโม                            ปญฺจมี-มา                        ปญฺจมํ                              ที่ 5 
ฉฏฺโ                               ฉฏฺฐี-า                           ฉฏฺฐํ                                  ที่  6
สตฺตโม                             สตฺตมี-มา                        สตฺตมํ                               ที่ 7
อฏฺโม                             อฏฺมี-มา                         อฏฺมํ                              ที่ 8
นวโม                               นวมี-มา                            นวมํ                                 ที่ 9
ทสโม                               ทสมี-มา                           ทสมํ                                ที่ 10
เอกาทสโม                       เอกาทสี-สึ                        เอกาทสมํ                        ที่ 11
ทฺวาทสโม,พารสโม         ทฺวาทสี,พารสี                   ทฺวาทสมํ,พารสมํ             ที่ 12
เตรสโม                            เตรสี                                 เตรสมํ                              ที่ 13
จตุทฺทสโม                        จตฺทฺทสี-สึ                       จตุทฺทสมํ                          ที่ 14
ปณฺณรสโม                       ปณฺณรสี-สึ                      ปณฺณรสมํ                        ที่ 15
โสฬสโม                          โสฬสี                               โสฬสมํ                            ที่ 16
สตฺตรสโม                        สตฺตรสี                             สตฺตรสมํ                          ที่ 17
อฏฺารสโม                     อฏฺารสี                              อฏฺารสมํ                        ที่ 18
เอกูนวีสติโม                   เอกูนวีสติมา                       เอกูนวีสติมํ                      ที่ 19
วีสติโม                            วีสติมา                               วีสติมํ                               ที่ 20
              ปูรณสังขยา   ที่แสดงมาพอเป็นตัวอย่างนี้  แจกตามแบบการันต์ใน 3  ลิงค์ ศัพท์ใด  เป็นลิงค์ใด  มีการันต์อย่างใด  จงแจกตามลิงค์นั้น  ตามการันต์นั้น 
สรุปท้ายบท
              สังขยาคือการนับในแต่ละภาษามีลักษณะไม่เหมือนกัน ภาษาไทยเขียนเป็นตัวเลข แต่ในภาษาบาลีเขียนเป็นตัวอักษร เมื่อต้องการนับจำนวนมากๆ จึงต้องอาศัยคำว่า “อุตฺตร แปลว่า เกิน” และคำว่า “อธิก แปลว่า ยิ่ง” มาเป็นคำเชื่อมต่อ บางครั้งถ้าตัวเลขจำนวนมากต้องเขียนหลายบรรทัด แต่วิธีการในการนับนั้นอาจมีหลายวิธี โดยเฉพาะสังขยาที่มีคำนานแทรก แต่ที่นำเสนอในบทนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษา ยังมีวิธีการอื่นๆ อีก ผู้ศึกษาในชั้นสูงๆขึ้นไปจึงค่อยหาตำรามาศึกษาเถิด

คำถามทบทวน

1.จงแปลเป็นไทย
              1.ทายกา  จตุปญฺญาสาย ภิกฺขูนํ จีวรานิ ททึสุ   
              2.จตฺตาโร ปุริสา จตูหิ ผรสูหิ จตฺตาโร รุกฺเข  ฉินฺทนฺติ
              3.เทฺว วาณิชฺชา  กหาปณานํ ตีหิ สเตหิ เทฺว อสฺเส กีนึสุ   
              4.เทฺว  ภิกฺขู  จตูหิ  สิสฺเสหิ  สทฺธึ  อารามํ  คจฺฉนฺติ
              5. ปฐโม  รุกฺโข  ตติเย  มคฺเค  ติฎฺฐติ
              6.จตสฺโส  กุมารี  ตีหิ  ปุริเสหิ  วตฺถานิ  คณฺหนฺติ
              7. ปญฺจนฺนํ  นทีนํ  โสตา  นินฺนํ  ปวตฺตึสุ
              8.รตฺติยํ  นเภ  ตารานํ  สหสฺสํ  ปญฺญายิ
              9.   กสฺมา  ปเนส  ทีฆนิกาโยติ  วุจฺจติ ฯ  ทีฆปฺปมาณานํ  สุตฺตานํ  สมูหโต  นิวาสโต  จ ฯ  สมูหนิวาสา  หิ  นิกาโยติ  วุจฺจนฺติ ฯ  นาหํ  ภิกฺขเว  อญฺํ  เอกนิกายมฺปิ  สมนุปสฺสามิ  เอวญฺจิตฺตํ  ยถยิทํ  ภิกฺขเว  ติรจฺฉานคตา  ปาณา  โปณิกนิกาโย  จิกฺขลฺลิกนิกาโยติ  เอวมาทีนิ  เจตฺถ  สาธกานิ  สาสนโต  จ  โลกโต  จ ฯ  เอวํ  เสสานมฺปิ  นิกายภาเว  วจนตฺโถ  กตโม  องฺคุตฺตรนิกาโย ฯ  เอเกกองฺคาติเรกวเสน  ิตาจิตฺตปริยาทานาทีนิ  นว  สุตฺตสหสฺสานิ  ปญฺจ  สุตฺตสตานิ  สตฺตปณฺณาส  จ สุตฺตานิ ฯ  กตโม  ขุทฺทกนิกาโย ฯ  สกลํ  วินยปิฏกํ  อภิธมฺมปิฏกํ  ขุทฺทกปาาทโย  จ  ปุพฺเพ  นิทสฺสิตา  ปญฺจทสเภทา เปตฺวา  จตฺตาโร  นิกาเย  อวเสสํ  พุทฺธวจนนฺติ ฯ  (พระพุทธโฆสาจารย์,สมนฺตปาสาทิกา,พิมพ์ครั้งที่ 8,(กรุงเทพฯ,มหามกุฏราชวิทยาลัย) 2548,หน้า26.)
              10. ปุน  จปรํ  ภิกฺขเว  มหาสมุทฺโท  มหตํ  ภูตานํ  อาวาโส  ตตฺรีเม   ภูตา   ติมิ   ติมิงฺคโล  ติมิติมิงฺโล  มหาติมิงฺคโล   อสุรา  นาคา    คนฺธพฺพา    สนฺติ    มหาสมุทฺเท   โยชนสติกาปิ   อตฺตภาวา  ทฺวิโยชนสติกาปิ   อตฺตภาวา  ติโยชนสติกาปิ  อตฺตภาวา  จตุโยชนสติกาปิ   อตฺตภาวา  ปญฺจโยชนสติกาปิ  อตฺตภาวา    ยมฺปิ     ภิกฺขเว  มหาสมุทฺโท   มหตํ   ภูตานํ   อาวาโส   ตตฺรีเม  ภูตา  ติมิ  ติมิงฺคโล  ติมิติมิงฺคโล   มหาติมิงฺคโล  อสุรา  นาคา  คนฺธพฺพา  สนฺติ  มหาสมุทฺเท  โยชนสติกาปิ    อตฺตภาวา
ฯเปฯ    ปญฺจโยชนสติกาปิ    อตฺตภาวา  อยมฺปิ   ภิกฺขเว   มหาสมุทฺเท   อฏฺโม   อจฺฉริโย   อพฺภุโต   ธมฺโม   ยํ   ทิสฺวา   ทิสฺวา  อสุรา  มหาสมุทฺเท  อภิรมนฺติ  อิเม  โข  ภิกฺขเว   มหาสมุทฺเท   อฏฺ   อจฺฉริยา  อพฺภุตา   ธมฺมา   เย  ทิสฺวา  ทิสฺวา   อสุรา มหาสมุทฺเท อภิรมนฺติ ฯ   (วิ.จุล.7/456/228.)
2. จงแปลเป็นบาลี
1.   55                        21. ภิกษุ  552400 รูป
2.   62                        22. หญิงสาว 224578 คน
3.   69                        23.  นกยูง 24475 ตัว
4.   76                        24.  อุบาสิกา  26849 คน
5.   79.                      25.  โจร  5852259 คน
6.    84                      26.  ครู 56626842  คน
7.   88                       27. ดาว 547893 ดวง
8.   94                       28.  ศาลา 4578300 หลัง
9.   97                       29. หม้อข้าว 4444444  หม้อ
10. 99                       30.  น้ำเต้า 564320  ลูก
11. 129                    31.  ดอกบัว 2552  ดอก
12. 125                    32.  เกวียน 45790 คัน
12. 528                    33.  ผ้า 47825  ผืน
13. 2445                  34. ธรรม 84000 พระธรรมขันธ์
14. 32640                35. น้ำตา 9999999 หยด
15.  485245             36.  กระดูก  300  ท่อน
17. 2647889            37. ใบไม้  52543865  ใบ   
18. 54478930          38. เสนา 62452    คน
19. 30 โกฏิ                39. หนี้  500000000   บาท    
20. 555  โกฏิ            40 . ทรัพย์ 75000000   บาท



พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
31/07/53



เอกสารอ้างอิง

กรมการศาสนา.พระไตรปิฏกภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ,เล่มที่ 7.กรุงเทพ ฯ:กรมการศาสนา,2525.
พระพุทธโฆสาจารย์,สมนฺตปาสาทิกา,พิมพ์ครั้งที่ 8.กรุงเทพฯ:มหามกุฏราชวิทยาลัย,2548.
พระมหานิยม อุตฺตโม. หลักสูตรย่อบาลีไวยากรณ์.พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง,2523.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส.บาลีไวยากรณ์(สังขยา). พิมพ์ครั้งที่ 48,กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย,2547.


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก