ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

              ส่วนที่สำคัญในภาษาบาลีที่จะทำให้สามารถแปลภาษาบาลีเป็นภาษาไทยได้นอกจากคำนามแล้วก็คือคำกิริยาภาษาบาลีเรียกว่า “อาขยาต” เป็นคำที่บ่งบอกว่าคำนามนั้นแสดงอาการอย่างไร คำนามเป็นส่วนประธาน ส่วนคำกิริยาเป็นส่วนที่แสดงอาการกระทำของประธาน ในบทนี้จึงควรรู้จักคำกิริยาหรืออาขยาตในภาษาบาลีก่อน เพราะจะเป็นการง่ายต่อการกำหนดในการแปลภาษาบาลี 

 

บทที่ 4
กิริยาอาขยาต (VERB)

              อาขยาตหมายถึงศัพท์ที่กล่าวกิริยาคือความทำ,  เช่นยืน  เดิน  นั่ง  นอน  กิน  ดื่ม  ทำ  พูด  คิด  ในอาขยาตนั้นท่านประกอบ  วิภัตติ  กาล  บท  วจนะ  บุรุษ  ธาตุ  วาจก  ปัจจัย  เพื่อเป็นเครื่องหมายเนื้อความให้ชัดเจน  ในอาขยาตมีเครื่องปรุงที่สำคัญมี 3 ประการคือ 
                            1. ธาตุ   คือรากของศัพท์ ประกอบเป็นกิริยาต่างๆ มี 8 หมวด                                                                    
                            2. ปัจจัย  คือศัพท์ที่ประกอบท้ายธาตุ  ในธาตุแต่ละหมวดมีปัจจัยประจำหมวด
                            3. วิภัตติ  คือแจกหรือจำแนกธาตุต่างๆประกอบที่ท้ายปัจจัย เมื่อลงแล้วจะบ่งถึง กาล,บท,วจนะ บุรุษ   จัดเป็น  8  หมวด  ในหมวดหนึ่ง ๆ มี  12  วิภัตติ
              กาล (Tenses)  หมายถึง ระยะเวลาที่กิริยาแสดงออกในขณะนั้น มีเครื่องหมายบอกเวลาที่เกิดขึ้นว่าเป็นปัจจุบัน,อดีตและอนาคต ในภาษาบาลีมี 3 กาลคือ
                            1. ปัจจุบันกาล (Present Tense)แปลว่า อยู่,ย่อม,จะ
                            2. อดีตกาล  (Past  Tense)แปลว่า แล้ว ถ้ามี อ อาคมอยู่หน้าแปลว่า ได้แล้ว
                            3.อนาคตกาล (Future Tense)แปลว่า จัก    ถ้ามี อ อาคมอยู่หน้าแปลว่า จักได้แล้ว
              บท เป็นเหตุให้รู้บทที่เป็นเจ้าของกริยาแบ่งเป็นปรัสสบท บทเพื่อผู้อื่นและอัตตโนบท บทเพื่อตน
              วจนะ หมายถึงคำพูดมี 2 อย่างคือ เอกวจนะ สิ่งเดียว ,พหุวจนะ ตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไป
              บุรุษ หมายถึงบุคคล สัตว์ สิ่งของ แบ่งเป็น 3 คือ
                            1. ประถมบุรุษหรือปมบุรุษ   ได้แก่กิริยาอาการที่เราพูดถึง ใช้แทนคนและสิ่งของที่พูดถึง ได้แก่ศัพท์ทั้งหลายยกเว้น ตุมฺห และ อมฺห ศัพท์
                            2. มัธยมบุรุษ   ได้แก่กิริยาอาการของคนที่เราพูดด้วย ใช้แทนคนที่เราพูดด้วย ได้แก่ ตุมฺห ท่าน
                            3. ใช้แทนตัวผู้พูดเอง ได้แก่กิริยาอาการของผู้พูดเองได้แก่ อมฺห ข้าพเจ้า

หมวดวิภัตติของอาขยาต

              มี 8 หมวด คือ วัตตมานา,ปัญจมี,สัตตมี,ปโรกขา, หิยัตตนี,อัชชัตตนี,ภวิสสันติและกาลาติปัตติ
1. ปัจจุบันกาล ใช้หมวด วัตตมานา  เป็นปัจจุบันกาล แปลว่า “อยู่ ย่อม จะ” ปัจจุบันแท้ แปลว่า อยู่,ปัจจุบันใกล้อดีต แปลว่า ย่อม,ปัจจุบันใกล้อนาคต แปลว่า จะ        

                        ปรสฺสปทํ                                               อตฺตโนปทํ
ปุริส.          เอก.             พหุ.                          เอก.                            พหุ.
ป.                ติ.               อนฺติ.                        เต.                             อนฺเต.
ม.                สิ.                   ถ.                         เส.                             วฺเห.
อุ.                มิ.                   ม.                         เอ.                              มฺเห.       

ตัวอย่าง ลภ ธาตุ (ได้) เมื่อลงในหมวดวัตตมานา   
                       ปรสฺสปทํ                                                           อตฺตโนปทํ
ปุริส.                  เอก.                           พหุ.                    เอก.                       พหุ.
ป.   (ชโน)         ลภติ.             (ชนา)   ลภนฺติ.               ลภเต.                  ลภนฺเต.
ม.    (ตฺวํ)           ลภสิ.             (ตุมฺเห) ลภถ.                  ลภเส.                    ลภวฺเห.
อุ.    (อหํ)           ลภามิ.           (มยํ)     ลภาม.                ลเภ.                      ลภมฺเห.   

2. หมวดปัญจมี  แปลว่า “จง, จงเถิด, ขอจง” 
                      ปรสฺสปทํ                                               อตฺตโนปทํ
ปุริส.      เอก.                 พหุ.                  เอก.                          พหุ.
ป.         ตุ.                    อนฺตุ.                 ตํ.                             อนฺตํ.
ม.         หิ.                         ถ.                 สฺส.                           วโห.
อุ.         มิ.                         ม.                 เอ.                            อามฺหเส.

3. หมวดสัตตมี ไม่แน่ว่าเป็นกาลไหน เรียกว่าอนุตตกาล แปลว่า “ควร, พึง”  อยู่ระหว่างปัจจุบันและอดีต
                    ปรัสสบท                                   อัตตโนบท           
ปุริส.     เอก               พหุ                          เอก                    พหุ
ป.        เอยฺย             เอยฺยุ.                      เอถ                     เอรํ.
ม.        เอยฺยาสิ         เอยฺยาถ                  เอโถ                   เอยฺยวฺโห.
อุ.        เอยฺยามิ         เอยฺยาม                  เอยฺยํ                   เอยฺยามฺเห.
ตัวอย่าง ลภ ธาตุ (ได้) เมื่อลงในหมวดสัตตมี   
                                   ปรสฺสปทํ                                                     อตฺตโนปทํ
ปุริส.                   เอก.                   พหุ.                                   เอก.                       พหุ.
ป.   (ชโน)         ลเภยฺย             (ชนา)   ลเภยฺยุ.                     ลเภถ                       ลเภรํ
ม.    (ตฺวํ)           ลเภยฺยาสิ        (ตุมฺเห) ลเภยฺยาถ                  ลเภโถ                    ลเภยฺยวฺโห.
อุ.    (อหํ)           ลเภยฺยามิ        (มยํ)     ลเภยฺยาม                 ลเภยฺยํ                    ลเภยฺยามเห.

2. กิริยาอดีตกาล (Past) ประกอบด้วยกิริยาสามหมวดคือ
     1. หมวดปโรกฺขา  (Perfect) สำหรับบอกอดีตกาลล่วงแล้ว หากำหนดมิได้ มักใช้เล่าเรื่องอดีต แปลว่า แล้ว
                ปรัสสบท                                     อัตตโนบท           
           เอก               พหุ                       เอก                    พหุ
ป.        อ.                  อุ.                        ตฺถ.                     เร.
ม.        เอ.                ตฺถ.                      ตฺโถ.                 วฺโห.
อุ.        อํ.                มฺห.                       อึ.                       มฺเห.
              วิภัตติหมวดปโรกขานี้ มีที่ใช้น้อยมาก มีใช้อยู่บ้างเพียงปรัสบท ปฐม เอก และพหุ เท่านั้นคือ พฺรู ธาตุในความกล่าว เช่น พฺรู+ อ+อ = อาห, พฺรู+ อ+อุ = อาหุ,อาหํสุ ( แปลง อุ เป็น อํสุ (แปลงพฺรู ธาตุ เป็น อาห) เช่น
         เตน  อาห  ภควา.  ด้วยเหตุนั้น  พระผู้มีพระภาค  ตรัสแล้ว
         เตน  อาหุ  โปราณา.  ด้วยเหตุนั้น  อาจารย์มีในปางก่อน ท. กล่าวแล้ว
2. หมวดหิยัตตนี  (Imperfect) บอกอดีตกาลล่วงแล้ววานนี้ แปลว่า แล้ว  เมื่อลง อ อาคมหน้าธาตุ แปลว่า ได้แล้ว
                  ปรัสสบท                           อัตตโนบท           
           เอก               พหุ                          เอก                          พหุ
ป.        อา.                  อู.                         ตฺถ.                           ตฺถุ.
ม.        โอ.                ตถ.                         เส.                           วฺหํ.
อุ.        อํ.                  มฺห.                         อึ.                             มฺหเส.
ตัวอย่างการแจก ปฺจ ธาตุ (หุง, ต้ม)                      
ป.  อปจา,  อปจ.                 อปจู.       
ม.  อปโจ.                         อปจตฺถ.       
อุ.  อปจํ.                            อปจมฺห.       
              มยํ  ชนานํ  สูทํ   อปจมฺห  เรา ท. หุงข้าวเพื่อคน ท.
              ขโณ  โว  มา  อุปจฺจคา. ขณะอย่าได้เข้าไปล่วงแล้ว ซึ่งท่านท.  อุปจฺจคา  (อุป+อติ+อ+คมฺ+อ+อา.)
              เอวํ  อวจํ  (ข้า)  ได้กล่าวแล้ว  อย่างนี้.
3. หมวดอัชชัตฺตนี (perfect)   สำหรับบอกอดีตกาลล่วงแล้วตั้งแต่วันนี้ แปลว่า  แล้ว ถ้าลง อ  อาคมหน้าธาตุ แปลว่า “ได้.....แล้ว”
                  ปรัสสบท                           อัตตโนบท           
           เอก               พหุ                          เอก                        พหุ
ป.         อี                    อุ.                          อา.                          อู.
ม.        โอ                   ตฺถ.                        เส.                          วฺหํ.
อุ.          อึ                 มฺหา.                        อํ.                           มฺเห.
              ตัวอย่างการแจก คมฺ ธาตุ (ไป)   (ไม่ลง อ อาคมต้นธาตุ และไม่แปลง คมฺ ธาตุเป็น คจฺฉ                    
            เอก                                                 พหุ       
ป.     คมฺ +อ + อี = คมิ                      คมฺ +อ + อุ = คมุ                              
ม.     คมฺ +อ + โอ = คโม                  คมฺ +อ + อิ+ตฺถ = คมิตฺถ
อุ.    คมฺ +อ + อึ = คมึ                       คมฺ +อ + อิ+ มฺหา = คมิมฺหา
              เช่น  เถโร  คามํ  ปิณฺฑาย  คมิ.  พระเถระ  ไปแล้ว  สู่บ้าน เพื่อบิณฑะ. 
              เอวรูปํ  กมฺมํ  อกาสึ.  (ข้า)  ได้ทำแล้วซึ่งกรรม  มีอย่างนี้เป็นรูป.

3. กิริยาอนาคตกาล (Future) มีสองหมวดคือ
1.หมวดภวิสฺสนฺติ (Future) สำหรับบอกอนาคตของปัจจุบัน  แปลว่า  “จัก”

                   ปรัสสบท                                  อัตตโนบท           
           เอก               พหุ                   เอก                    พหุ
ป.        สฺสติ.          สฺสนฺติ.                สฺสเต.            สฺสนฺเต.
ม.        สฺสสิ.          สฺสถ.                  สฺสเส.            สฺสวฺเห.
อุ.        สฺสามิ.         สฺสาม.               สฺสํ.                สฺสามฺเห.
              ตัวอย่างการแจก ปฺจ ธาตุ ในความหุง ในความต้ม                      
ป.  ปจิสฺสติ.                      ปจิสฺสนฺติ.       
ม.  ปจิสฺสสิ.                     ปจิสฺสถ.      
อุ.  ปจิสฺสามิ. ปจิสฺสํ.      ปจิสฺสาม.       
              เช่น ปูวํ  ปจิสฺสามิ.  ข้า  ท.  จักต้ม  ซึ่งขนม
 
2.หมวดกาลาติปตฺติ   สำหรับบอกอนาคตของอดีต แปลว่า  “จัก.....แล้ว”  ถ้าลง อ  อาคม หน้าธาตุ แปลว่า  “จักได้..... แล้ว”    
                 ปรัสสบท                                        อัตตโนบท           
           เอก               พหุ                            เอก                    พหุ
ป.        สฺสา.          สฺสํสุ.                           สฺสถ.                สฺสึสุ.
ม.        สฺเส.           สฺสถ.                           สฺสเส.               สฺสฺเห.
อุ.        สฺสํ.            สฺสามฺหา.                     สฺสํ.                  สฺสามฺหเส.
              ตัวอย่างการแจก คมฺ ธาตุ (ไป) แปลงคมฺ ธาตุเป็น คจฺฉ  
         เอก                                                               พหุ       
ป. คมฺ +อ + อิ+สฺสา= คจฺฉิสฺสา, คจฺฉิสฺส      คมฺ +อ + อุ+สฺสํสุ= คจฺฉิสฺสํสุ            
ม. คมฺ +อ + อิ+สฺเส = คจฺฉิสฺเส                   คมฺ +อ + อิ+สฺสถ = คจฺฉิสฺสถ
อุ. คมฺ +อ + อิ + สฺสํ= คจฺฉิสฺสํ                   คมฺ +อ + อิ+ สฺสามฺหา = คจฺฉิสฺสามฺหา
เช่น โส  เจ  ยานํ  ลภิสฺสา   อคจฺฉิสฺสา  ถ้าว่า เขา  จักได้แล้ว ซึ่งยานไซร้  (เขา) จักได้ไปแล้ว
                
ธาตุ 
              ธาตุคือรากของศัพท์ ประกอบเป็นกิริยาต่างๆ มี 8 หมวด ตามพวกที่ประกอบด้วยปัจจัยเป็นอันเดียวกัน แสดงแต่พอเป็นตัวอย่าง  ดังนี้ 
1.  หมวด  ภู   ธาตุ
              ภู  เป็นไปในความ  มี,  ในความ  เป็น  (ภู + อ = ภว + ติ) สำเร็จรูปเป็น  ภวติ  ย่อมมี,  ย่อมเป็น.
              หุ  เป็นไปในความ  มี,  ในความ  เป็น  (หุ + อ = โห + ติ)  สำเร็จรูปเป็น  โหติ  ย่อมมี,  ย่อมเป็น.
              สี  เป็นไปในความ  นอน  (สี + อ = สย + ติ)  สำเร็จรูปเป็นเสติ,  สยติ  ย่อมนอน.
              มรฺ  เป็นไปในความ  ตาย,  (มรฺ + อ + ติ) สำเร็จรูปเป็น มรติย่อมตาย.
              ปจฺ   เป็นไปในความ  หุง,  ในความ  ต้ม  (ปจฺ + อ + ติ) สำเร็จรูปเป็น  ปจติ  ย่อมหุง,  ย่อมต้ม.
              อิกฺขฺ  เป็นไปในความ  เห็น,  (อิกฺขฺ + อ + ติ)  สำเร็จรูปเป็น  อิกฺขติย่อมเห็น.
              ลภฺ   เป็นไปในความ  ได้  (ลภฺ + อ + ติ)    สำเร็จรูปเป็น  ลภติย่อมได้.
              คมฺ   เป็นไปในความ  ไป  (คมฺ + อ =  คจฺฉ + ติ)  สำเร็จรูปเป็นคจฺฉติ  ย่อมไป.

2.  หมวด  รุธฺ  ธาตุ
              รุธฺ     เป็นไปในความ  กั้น,  ในความ  ปิด  (รุธฺ + อ - เอ + ติ) สำเร็จรูปเป็น  รุนฺธติ,  รุนฺเธติ   ย่อมปิด. มุจฺ   เป็นไปในความ  ปล่อย  (มุจฺ + อ + ติ)  สำเร็จรูปเป็นมุญฺจติ ย่อมปล่อย.
              ภุชฺ    เป็นไปในความ  กิน  (ภุชฺ + อ + ติ)  สำเร็จรูปเป็น  ภุญฺชติ  ย่อมกิน.
              ภิทฺ  เป็นไปในความ  ต่อย  (ภึทฺ + อ + ติ)  สำเร็จรูปเป็น   ภินฺทติ ย่อมต่อย.
              ลิปฺ    เป็นไปในความ  ฉาบ  (ลึปฺ + อ + ติ)  สำเร็จรูปเป็น  ลิมฺปติ  ย่อมฉาบ.

3.  หมวด  ทิวฺ  ธาตุ  
              * ทิวฺ  เป็นไปในความ  เล่น  (ทิวฺ + ย =  พฺพ + ติ)   สำเร็จรูปเป็น ทิพฺพติ  ย่อมเล่น.
              สิวฺ    เป็นไปในความ  เย็บ  (สิวฺ + ย = พฺพ + ติ)  สำเร็จรูปเป็นสิพฺพติ  ย่อมเย็บ. 
              พุธฺ    เป็นไปในความ  ตรัสรู้  (พุธฺ + ย = ชฺฌ + ติ)  สำเร็จรูปเป็น พุชฺฌติ  ย่อมตรัสรู้.
              * ขี    เป็นไปในความ  สิ้น  (ขี + ย + ติ)  สำเร็จรูปเป็น ขียติ  ย่อมสิ้น.
              * มุหฺ  เป็นไปในความ  หลง  (มุหฺ + ย = ยฺห + ติ)   สำเร็จรูปเป็น มุยฺหติ  ย่อมหลง.
              มุสฺ     เป็นไปในความ  ลืม  (มุสฺ + ย = สฺส + ติ)  สำเร็จรูปเป็น มุสฺสติ  ย่อมลืม.
              รชฺ     เป็นไปในความ  ย้อม  (รชฺ + ย = ชฺช + ติ)  สำเร็จรูปเป็น รชฺชติ  ย่อมย้อม.
หมายเหตุ: เครื่องหมาย (*)  เป็นอกัมมธาตุ  เพราะไม่ต้องเรียกหากรรม
              1.  ถ้าลง  ย  ปัจจัยในหมวด  ทิวฺ  ธาติ  เป็นอกัมมธาตุ  เป็นไปในความ  หลุด,  พ้นสำเร็จรูปเป็น  มุจฺจติ  ย่อมหลุด.   
              ถ้าลง  ย  ปัจจัยในหมวด  ทิวฺ  ธาตุ  เป็นอกัมมธาตุ  เป็นไปในความ  แตก,  สำเร็จรูปเป็น  ภิชฺชติ  ย่อมแตก.  3.  สํสกฤต  เป็นไปในความ  สว่าง.

4.  หมวด  สุ  ธาตุ
              สุ    เป็นไปในความ  ฟัง  (สุ + ณา + ติ)  สำเร็จรูปเป็น  สุณาติ   ย่อมฟัง.
              วุ     เป็นไปในความ  ร้อย  (วุ + ณา + ติ)  สำเร็จรูปเป็น  วุณาติ  ย่อมร้อย.
              สิ     เป็นไปในความ  ผูก  (สิ + ณุ = โณ + ติ)  สำเร็จรูปเป็น  สิโณติ  ย่อมถูก.

5.  หมวด  กี  ธาตุ  
              กี     เป็นไปในความ  ซื้อ  (กี + นา + ติ)  สำเร็จรูปเป็น  กีนาติ   ย่อมซื้อ.
              ชิ     เป็นไปในความ  ชำนะ  (ชิ + นา  + ติ)  สำเร็จรูปเป็น  ชินาติ  ย่อมชำนะ.
              ธุ     เป็นไปในความ  กำจัด  (ธุ + นา  + ติ)  สำเร็จรูปเป็น  ธุนาติ ย่อมกำจัด.              
              จิ     เป็นไปในความ  ก่อ,ในความสั่งสม  (จิ + นา + ติ)  สำเร็จรูปเป็น  จินาติ  ย่อมก่อ,ย่อมสั่งสม.
              ลุ     เป็นไปในความ  เกี่ยว,ในความ  ตัด  (ลุ + นา + ติ)  สำเร็จรูปเป็น  ลุนาติ  ย่อมเกี่ยว,  ย่อมตัด.
              ญา  เป็นไปในความ  รู้  (ญา = ชา + นา + ติ)  สำเร็จรูปเป็น ชานาติ  ย่อมรู้.
              ผุ     เป็นไปในความ  ฝัด,ในความ  โปรย  (ผุ + นา + ติ)  สำเร็จรูปเป็น  ผุนาติ  ย่อมผัด,  ย่อมโปรย.

6.  หมวด  คหฺ  ธาตุ
              คหฺ   เป็นไปในความ  ถือเอา  (คหฺ + ณฺหา + ติ)  สำเร็จรูปเป็น คณฺหาติ  ย่อมถือเอา.

7.  หมวด  ตนฺ  ธาตุ
              ตนฺ        เป็นไปในความ  แผ่ไป  (ตนฺ + โอ + ติ)  สำเร็จรูปเป็น ตโนติ  ย่อมแผ่ไป.
              กรฺ        เป็นไปในความ  ทำ  (กรฺ + โอ + ติ)  สำเร็จรูปเป็น  กโรติ ย่อมทำ.
              * สกฺกฺ  เป็นไปในความ  อาจ  (สกฺกฺ + โอ + ติ) สำเร็จรูปเป็น สกฺโกติ  ย่อมอาจ.
              * ชาครฺ  เป็นไปในความ  ตื่น  (ชาครฺ + โอ + ติ)   สำเร็จรูปเป็น ชาคโรหิ  ย่อมตื่น.

8.  หมวด  จุรฺ  ธาตุ
              จุรฺ     เป็นไปในความ  ลัก  (จุรฺ + เณ - ณย + ติ)   สำเร็จรูปเป็น โจเรติ,  โจรยติ  ย่อมลัก.
              ตกฺกฺ  เป็นไปในความ  ตรึก  (ตกฺกฺ + เณ - ณย + ติ)  สำเร็จรูปเป็น  ตกฺเกติ,  ตกฺกยติ  ย่อมตรึก.
              ลกฺขฺ  เป็นไปในความ  กำหนด  (ลกฺขฺ + เณ - ณย + ติ)  สำเร็จรูปเป็น  ลกฺเขติ,  ลกฺขยติ  ย่อมกำหนด.
              * มนฺตฺ  เป็นไปในความปรึกษา  (มนฺตฺ + เณ - ณย + ติ)สำเร็จรูปเป็น มนฺเตติ,  มนฺตยติ  ย่อมปรึกษา.
              จินฺตฺ  เป็นไปในความ  คิด  (จินฺตฺ + เณ - ณย + ติ)  สำเร็จรูปเป็น จินฺเตติ,  จินฺตยติ  ย่อมคิด.

หมายเหตุ: เครื่องหมาย (*)  เป็นอกัมมธาตุ  เพราะไม่ต้องเรียกหากรรม


อสฺ ธาตุ
              อสฺ ธาตุ ซึ่งเป็นไปในความ มี, ความ เป็น, อยู่หน้าแปลงวิภัตติทั้งหลายแล้ว ลบพยัญชนะต้นธาตุบ้าง ที่สุดธาตุบ้างดังต่อไปนี้
              ติ เป็น ตฺถิ. ลบที่สุดธาตุ สำเร็จรูปเป็น อตฺถิ.
              อนฺติ คงรูป ลบต้นธาตุ สำเร็จรูปเป็น สนฺติ.
              สิ คงรูป ลบที่สุดธาตุ สำเร็จรูปเป็น อสิ.
              ถ เป็น ตฺถ ลบที่สุดธาตุ สำเร็จรูปเป็น อตฺถ.
              มิ เป็น มฺหิ ลบที่สุดธาตุ สำเร็จรูปเป็น อมฺหิ.
              ม เป็น มฺห ลบที่สุดธาตุ สำเร็จรูปเป็น อมฺห.
              ตุ เป็น ตฺถุ ลบที่สุดธาตุ สำเร็จรูปเป็น อตฺถุ.
              เอยฺย เป็น อิยา ลบต้นธาตุ สำเร็จรูปเป็น สิยา.
              เอยฺย กับทั้งธาตุ สำเร็จรูปเป็น อสฺส.
              เอยฺยุ กับทั้งธาตุ สำเร็จรูปเป็น อสฺสุ.
              เอยฺยุ เป็น อิยุ ลบต้นธาตุ สำเร็จรูปเป็น สิยุ.
              เอยฺยาสิ กับทั้งธาตุ สำเร็จรูปเป็น อสฺส.
              เอยฺยาถ กับทั้งธาตุ สำเร็จรูปเป็น อสฺสถ.
              เอยฺยามิ กับทั้งธาตุ สำเร็จรูปเป็น อสฺส.
              เอยฺยาม กับทั้งธาตุ สำเร็จรูปเป็น อสฺสาม.
              อิ คงรูป ทีฆะต้นธาตุ สำเร็จรูปเป็น อาสิ.
              อุ คงรูป ทีฆะต้นธาตุ สำเร็จรูปเป็น อาสุ.
              ตฺถ คงรูป ทีฆะต้นธาตุ สำเร็จรูปเป็น อาสิตฺถ.
              อึ คงรูป ทีฆะต้นธาตุ สำเร็จรูปเป็น อาสึ.
              มฺหา คงรูป ทีฆะต้นธาตุ สำเร็จรูปเป็น อาสิมฺหา.

สรุปท้ายบท
              อาขยาตนั้นมีถึง 8 หมวด เป็นการยากสำหรับผู้เริ่มศึกษา เพราะการจะจดจำวิภัตติอาขยาตทั้ง 8 หมวดนั้นมิใช่เรื่องง่ายนัก อีกอย่างหนึ่งการนำธาตุมาลงให้ถูกต้องตามวิภัตติอาขยาตก็จะเป็นการฝึกในเบื้องต้น เมื่อนำคำนามนามมาประกอบกับอาขยาตด้วยประโยคง่ายๆ ก็จะทำให้เข้าใจได้มากยิ่งขึ้น ในบทนี้ให้ประกอบธาตุให้ชำนาญและฝึกแปลในปฐมบุรุษเท่านั้น ส่วนมัธยมบุรุษและอุตตมบุรุษ จะนำเสนอในบทต่อๆไป


คำถามทบทวน

1.จงแจกธาตุตามวิภัตในหมวดกิริยาที่กำหนดให้
              1. จงนำธาตุต่อไปนี้คือ มฺร  ตาย,พุธ  รู้,หุ มี เป็น  ไปลงวิภัตติในหมวดวัตตมานา 
              2. จงนำธาตุต่อไปนี้คือ คมฺ ไป,มุจฺ ปล่อย , ทิวฺ เล่น  ไปลงวิภัตติในหมวดหมวดปัญจมี 
              3. จงนำธาตุต่อไปนี้คือ สี นอน, ภิทฺ ต่อย, สิวฺ เย็บ  ไปลงวิภัตติในหมวดสัตตมี 
              4. จงแจก ตนฺ ธาตุ แผ่ไป ด้วยวิภัตติหมวดหิยัตตนี
              5. จงแจก ลุ ธาตุ(เกี่ยว)ด้วยวิภัตติภวิสสันติ
              6. จงแจก ลกฺข ธาตุ(กำหนด) ด้วยวิภัตติอัชชัตตนี    
              7. จงแจก สุ ธาตุ(ฟัง) ด้วยวิภัตติกาลาติปัตติ   

2. จงแปลเป็นไทย 
              1. อาจริโย  เลขนผลเก  ลขติ                      16. อยฺยโก    คพฺเภ  ภณฺฑปสิพกานิ  กีณาสิ
              2.วานรา ผลานิ  ขาทนฺติ                             17.  ธมฺโม  โลกสฺส  สุขํ  เทติ
              3. ตวํ  กุสลํ  กโรตุ                                       18. ชปาโย   ทริกาย  หตฺเถ  โหนฺติ
              4.ตุมฺเห คณฺฑิฆรํ คจฺฉนฺติ                           19. อิกฺขณิกา  ธาราย  อุทกํ   ทิพฺพติ
              5. มกฺขลิโก  อาหาเร   อาสิ                         20.สหายโก  พาเลหิ   นตฺถิ
              6. อุปาสกา  รเถน ราชาวาสํ  อาคจฺฉนฺติ     21. รุกฺขา วนสฺมึ  โหนฺติ
              7. อีสา  กสิกานํ  โหติ                                 22. นาครา  หตฺเถหิ  อกฺกํ  รุนฺเธนฺติ
              8. นโร  พุทฺธปฏิมํ   วเทยฺย                          23. เวทคู  ปญฺาย   ปจฺจามิตฺตํ  ชยติ
              9. โฆณิโน  กุสลํ สหายํ  ลภึสุ                     24.เอณิมิคา  อรญฺเ  วสิสฺสนฺติ 
              10. กญฺญา  รติยา  ภตฺตํ    ภุญฺชนฺติ            25. ภิกฺขู มหามกุฏฺราชวิทฺยาลเย   สิกฺขนฺติ
              11. มนุสฺสา  อิกฺขณิกาย  ปญฺญาโย  อิกฺขนฺตุ 26.ปญฺญาโย   ญาณสฺมา  ลภนฺติ          
              12.พุทธสฺส  สาวกา  ธมฺมํ  จรนฺติ                27.วานรา  มหาวเน  ผลานิ   ขาทนฺติ
              13. ชนา เจตนาย  กมฺมานิ  กเรยฺยุ.             28.ปุริโส  สาลาย  สยตุ
              14.โยธา หตฺเถหิ  ริปุโย  ชยนฺติ                  29. กมลานิ  รตนํ  ปูชาย  ลเภยฺยุ.  
              15. ภิกฺขู  จีวเร    รชฺชนฺตุ               
              30. อหํ อิมินา สกฺกาเรน อสุกาย นมฺมทาย นทิยา ปุลิเน ฐิตํ มุนิโน ปาทวลญฺชํ อภิปูชยามิ ฯ
                    อยํ สกฺกาเรน มุนิโน ปาทวลญฺชสฺส ปูชาย อานิสํโส มยฺหํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย สํวตฺตตุ ฯ

3. จงแปลเป็นไทย (แปลโดยอรรถ)
              ภูตปุพฺพํ  ราชา  ทิสมฺปติ  นาม  อโหสิ. เรณุ  นาม  กุมาโร  ปุตฺโต  อโหสิ. โควินฺโท  นาม พฺราหมโณ  ปุโรหิโต อโหสิ. เรณุ จ ราชปุตฺโต  โชติปาโล จ มาณโว สหายา อเหสุ. อถโข  โควินฺโท  พฺราหฺมโณ  กาลํ  อกาสิ. ราชา   ทิสมฺปติ  ปริเทเวสิ.  อถโข  ราชา  ทิสมฺปติ  ปุริสํ  อามนฺเตสิ  โส  อาห “อหํ  อิเม  ธมฺเม  เทเสสึ. มา  สมณํ  อุปสงฺกมิ. อหํ  ปุโรหิโต  พฺราหมโณ  อโหสึ” อิติ.

4. จงแปลเป็นไทย (แปลโดยอรรถ)
              เอโก  ทุมฺเมโธ  คทฺรโภ  วนนฺเต  ติณํ  ขาทติ. โส  จีริกสฺส  สทฺทํ  สุตฺวา ตุฏฺโฐ  โหติ. โส  คทฺรโภ  “จีริกสฺส  สทฺโท  อติมธุโร  โหติ”อิติ  จินฺเตตฺวา  จีริกํ  อุปสงฺกมติ. คทฺรโภ  ปุจฺฉติ “สมฺม  จีริก  ตุยฺหํ สทฺโท  อติมธุโร  โหติ  มนาโป.กึ  ตฺวํ ขาทสิ” อิติ. จีริโก  วทติ “อหํ  ติเณ  อุสฺสาวํ  ปิวามิ  ตสฺมา  เม  สทฺโท อติมธุโร  โหตีติ. คทฺรโภ  ติณํ  น  ขาทติ. อุสฺสาวเมว  ปิวติ. น จิเรน  โส  มรณํ  ปตฺโต. อิทํ วตฺถุ  อิทมตฺถํ  ทีเปติ “ทุมฺเมโธ  สตฺโต สุเขน  วญฺจิโต  โหติ. โส  วินาสํ  ปตฺโต โหตีติ.เอโก  สุเมโธ  คทฺรโภ วนสมีเป ติณํ ขาทติ. อวิทูเร เอโก จีริโก มธุรํ สทฺทํ กโรติ. คทฺรโภ ตํ สทฺทํ สุตฺวา อตฺตมโน โหติ.  โส จีริกํ อุปสงฺกมิตฺวา เอวํ วทติ “กึ เต มาริส อาหาโร โหติ. ตว สทฺโท อติมธุโร โหติ มนาโป” อิติ. จีริโก วทติ “อหํ อญฺญํ  อาหารํ น ภุญฺชามิ.  อุสฺสาโว เอว เม อาหาโร โหตีติ.  โส คทฺรโภ วทติ “ตฺวํ มํ วญฺเจสิ. อหํ อีสปนิทาเน พาลคทฺรภสทิโส น โหมีติ. อถ โข คทฺรโภ ปาเทน ตํ จีริกํ อกฺกมติ. โส จีริโก มรํ ปตฺโต.      อิทํ วตฺถุ เอวํ นิทสฺเสติ “พยตฺโต สตฺโต เยน เกนจิ น วญฺจิยเต. โส วินาสํ น ปาปุณาตีติ.

5. จงแปลเป็นไทย (แปลโดยอรรถ)
              มลินทราชา  ภนฺเต  นาคเสน  อุนฺทุรสฺส  เอกงฺคํ  คเหตพฺพนฺติ  ยํ วเทสิ กตมนฺตํเอกงฺคนฺติ  ฯ  นาคเสโน  ยถา  มหาราช  อุนฺทุโร  นาม  อิโตปิ  เอโตปิ  จรนฺโต  อาหารุปสํสโกเยว  จรติ  เอวเมว  โข  มหาราช  โยคินา โยคาวจเรน  อิโตปิ  เอโปติ  จรนฺเตน  โยนิโส มนสิการุปสึสเกเนว  ภวิตพฺพํ ฯ  อิทํ  มหาราช  อุนฺทุรสฺส  เอกงฺคํ  คเหตพฺพํ  ฯ
ศัพท์ที่ควรทราบ
              ภูตปุพฺพํ                เรื่องเคยมีมาแล้ว,                      อโหสิ,อเหสุ      ได้มีแล้ว
              กาลํ  อกาสิ           ตายแล้ว,                                   ปริเทเวสิ            คร่ำครวญแล้ว
              อามนฺเตสิ             เรียกมาแล้ว,ปึกษาแล้ว,             เทเสสึ               แสดงแล้ว
              อุปสงฺกมิ               เข้าไปหาแล้ว                            คทฺรโภ              ลา
              จีริก                       จิ้งหรีด                                      อุสฺสาว              น้ำค้าง
6. จงแปลเป็นบาลี
              1. มนุษย์ ท . ย่อมนอน บนเมรุเผาศพ    
             
2.นางอัปสร ท. ดูอยู่ ซึ่ง ดาว ท. กับหญิงแม่มด ท.
              3. เรา ท. เล่นอยู่ กับนางสาวน้อย ท.                   
              4. เรา ท.พึงหุง ซึ่งภัตร เพื่อภิกษุ ท. 
              5. ทูต ท. จงเย็บ ซึ่งธง ท. เพื่อกษัตริย์   
              6. ท่าน ท. ย่อมนำไป ซึ่งถุง (ย่าม) ด้วยแขน
              7. เด็กหญิง ท. ควรเล่น บนในศาลา    
              8. มนุษย์ ท. ย่อมทำ ซึ่งกรรม ด้วยเจตนา
              9.ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม    
              10. ท่าน จงเห็น ซึ่งมหรสพในวัด ของเราทั้งหลาย   
                                                 

เอกสารอ้างอิงท้ายบทที่ 4

              สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส.บาลีไวยากรณ์(อาขยาต). พิมพ์ครั้งที่ 39,กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย,2550.
                                   

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
05/07/53


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก