ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

 

           ภาษาบาลีเป็นภาษาที่ใช้สำหรับบันทึกหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ในขณะที่พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานนิยมใช้ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาในการจดบันทึกหลักคำสอน ภาษาทั้งสองนี้มีทั้งส่วนที่คล้ายกันและมีส่วนที่แตกต่างกัน ที่คล้ายกันคือเป็นภาษาที่มีเพศเหมือนกัน โดยระบุว่าถ้อยคำใดๆก็ตามจะต้องระบุเพศว่าเป็นชายเรียกว่าปุงลิงค์ เป็นเพศหญิงเรียกว่าอิตถีลิงค์ หรือหากไม่สามารถระบุเพศได้ชัดเจนก็จะเป็นนปุงสกลิงค์คือไม่หญิงไม่ชาย เพศภาวะจึงมีปรากฏแม้ในหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีสันสกฤต ส่วนที่แตกต่างกันเช่นภาษามีเพียงสองวจนะคือเอกวจนะและพหุวจนะ คือหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่ง ส่วนภาษาสันสกฤตจะมีสามวจนะคือเอกวจนะคือหนึ่ง ทวิวจนะคือสอง และพหุวจนะคือมากกว่าสอง เป็นต้น

           ผู้ศึกษาหลักบาลีไวยากรณ์ในอดีตจะต้องท่องจำกฎเกณฑ์ของภาษาบาลี บางคำมาโดดๆ บางคำมาจากหลายคำมารวมกัน ด้วยวิธีสนธิบ้าง ด้วยวิธีสมาสบ้าง 
           คำว่า “สนธิ” เป็นคำนามเพศหญิง(อิตถีลิงค์) แปลว่า การต่อ ส่วนคำว่า “สมาส” เป็นคำนามเพศชาย(ปุงลิงค์) แปลว่าการย่อ
           คำสมาสบางคำใช้จนคุ้นเคย เช่นพุทธรัตนะ แปลตามศัพท์คือพุทธรัตนะหรือรัตนะคือพระพุทธเจ้า เป็นต้น มาจากการสมาสคำว่าคือ “พุทฺโธ เอว รตนํ = พุทฺธรตนํ แปลว่ารัตนะคือพระพุทธเจ้า
           หรือหากเป็นการย่อคำที่ยาวหน่อยเช่น “ปวตฺติตปฺปวรธมฺมจกฺโก” มาจากหล่ายคำคือ ปวตฺติโต+ปวร+ธมฺโม+ธมฺมจกฺโก” มีวิธีการในการย่อคำที่เรียกว่าสมาสท้องดังตัวอย่าง  
                      ธมฺโม เอว จกฺกํ = ธมฺมจกฺกํ    จักรคือธรรม กัม. อว.
                      ปวรํ ธมฺมจกฺกํ = ปวรธมฺมจกฺกํ   ธรรมจักรบวร กัม. วิ.
                      ปวตฺติตํ ปวรธมฺมจกฺกํ เยน โส ปวตฺติตปฺปวรธมฺมจกฺโก (ภควา) แปลว่า ธรรมจักรบวร อันพระผู้พระภาคใด ให้เป็นไปแล้ว พระผู้มีพระภาค นั้น ชื่อว่ามีธรรมจักรบวชอันให้เป็นไปแล้ว สมาสนี้เรียกว่า ตติยาตุลยาธิกรณพหุพพิหิ  มีกัมมธารยสมาสเป็นท้อง
           วันนี้ลองศึกษาคำสมาสในภาษาบาลีโดยสังเขป เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาภาษาบาลีเบื้องต้นต่อไป
           นามศัพท์ที่มีคำเดียวแปลได้ความ แต่เมื่อนำนามศัพท์สองคำมาต่อกันจะทำให้แปลได้ความหมายเพิ่มขึ้นเช่น “กุสลํ” แปลว่า ฉลาด,ดี,งาม และคำว่า “กมฺมํ” แปลว่า การงาน,กรรม เมื่อนำคำสองคำมาต่อกันเป็น “กุสลกมฺมํ” ก็จะแปลความว่า การงานอันดี หรือ กรรมดี เป็นต้น ลักษณะอย่างนี้เรียกว่าสมาส

ความหมายของสมาส

           สมาส คือนามศัพท์ ตั้งแต่ 2 ศัพท์ขึ้นไปย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน  มีวิธีย่อ 2 อย่างคือ
                      1.ลุตฺตสมาโส ได้แก่สมาสท่านลบวิภัตติเช่น กฐินทุสฺสํ ผ้าเพื่อกฐิน, ราชธนํ ทรัพย์ของพระราชา เป็นต้น
                      2. อลุตฺตสมาโส  สมาสที่ท่านยังมิได้ลบวิภัตติ เช่น ทูเรนิทานํ วัตถุมีนิทานในที่ไกล,
อุรสิโลโม พฺราหฺมโณ พราหมณ์มีขนที่อก เป็นต้น (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส,บาลีไวยากรณ์(สมาส), พิมพ์ครั้งที่ 38,(กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย,2550),หน้า 107.)

สมาสแบ่งออกเป็น 6 อย่าง

                      1 กมฺมธารโย กัมมธารยสมาส   
                      2.ทิคุ  ทิคุสมาส
                      3. ตปฺปุริโส ตัปปุริสสมาส         
                      4. ทวนฺทฺโว ทวันทวสมาส
                      5. อพฺยยีภาโว  อัพยยีภาวสมาส    
                      6.พหุพฺพิหิ  พหุพพิหิสมาส

1. กัมมธารยสมาส

           กัมมารยสมาสคือนามศัพท์ 2 บท มีวิภัตติและวจนะเป็นอย่างเดียวกันบทหนึ่งเป็นประธาน คือ เป็นนามนาม, บทหนึ่งเป็นวิเสสนะ คือเป็นคุณนาม หรือเป็นคุณนามทั้ง 2 บท มีบทอื่นเป็นประธาน ที่ท่านย่อเข้าเป็นบทเดียวกัน  กัมมธารยสมาสมี 6 อย่างคือ  วิเสสนปุพฺพปโท, วิเสสนุตฺตรปโท, วิเสสโนภยปโท, วิเสสโนปมปโท, สมฺภาวนปุพฺพปโท, อวธารณปุพฺพปโท
                      1.1.วิเสสนบุพพบท มีบทหน้าเป็นวิเสสนะ  บทประธานอยู่ข้างหลัง เช่น
                                    มหนฺโต ปุริโส = มหาปุริโส    บุรุษใหญ่
                                   ขตฺติยา กญฺญา = ขตฺติยกญฺญา    นางกษัตริย์
                                   นีลํ อุปฺปลํ = นีลุปฺปลํ    ดอกอุบลเขียว
          ในสมาสนี้ เอามหันตศัพท์ เป็นมหาก็มีเช่น

                                   มหาราชา    พระราชาผู้ใหญ่
                                   มหาธานี    เมืองใหญ่
                                  มหาวนํ         ป่าใหญ่ 
          
                       มหาวานรํ      ลิงใหญ่   
          บางสมาสท่านก็ย่อบทวิเสสนะเหลือไว้แต่อักษรตัวหน้าเช่น
             กุจฺฉิตา ทิฏฺฐิ = กุทิฏฺฐิ   ทิฏฐิอันบัณฑิตเกลียด
             ปธานํ  วจนํ = ปาวจนํ    คำเป็นประธาน
              สนฺโต ปุริโส = สปฺปุริโส บุรุษระงับแล้ว
    1.2.วิเสสนุตตรบท มีบทวิเสสนะ อยู่หลัง บทประธานอยู่หน้าเช่น
             สตฺโต วิเสโส = สตฺตวิเสโส    สัตว์วิเศษ
             นโร วโร=นรวโร    นระประเสริฐ
             มนุสฺโส ทลิทฺโท=มนุสฺสทลิทฺโท    มนุษย์ขัดสน
     1.3.วิเสสโนภยบท มีบททั้ง 2 เป็นวิเสสนะ มีบทอื่นเป็นประธานเช่น
             สีตญฺจ สมฏฺฐฺญจ = สีตสมฏฺฐํ     ( ฐานํ ที่ ) ทั้งเย็นทั้งเกลี้ยง
               อนฺโธ จ วธิโร จ=อนฺธวธิโร    (ปุริโส บุรุษ) ทั้งบอดทั้งหนวก
             ขญโช จ ขุชฺโช จ=ขญฺชขุชฺโช    (ปุริโส บุรุษ ) ทั้งกระจอกทั้งค่อม
             ในสัททนีติว่า สิตฺตํ จ ตํ สมฺมฏฺฐํ ฐานํ ฯ คือทั้งรดน้ำทั้งปัดกวาด ฯ
    1.4.วิเสสโนปมบท มีบทวิเสสนะเป็นอุปมา จัดเป็น 2 ตามวิเสสนะอยู่หน้าและหลัง

                      1.4.1. อุปมาปุพฺพปโท คือสมาสที่มีอุปมาอยู่หน้า เช่น
 
                           สงฺขํ อิว ปณฺฑรํ=สงฺขปณฺฑรํ     (ขีรํ น้ำนม) ขาวเพียงดังสังข์
                           กาโก อิว สูโร=กากสูโร        คนกล้าเพียงดังกา
                           ทิพฺพํ อิว จกฺขุ = ทิพฺพจกฺขุ    จักษุเพียงดังทิพย์
                      1.4.2. อุปมานุตฺตรปโท คือสมาส ที่มีอุปมาอยู่หลังเช่น
                           นโร สีโห อิว=นรสีโห        นระเพียงสีหะ
                           ญาณํ จกฺขุ อิว=ญาณจกฺขุ    ญาณเพียงดังจักษุ
                           ปญฺญา ปาสาโท อิว=ปญฺญาปาสาโท ปัญญา เพียงดังปราสาท
     1.5.สัมภาวนบุพพบท มีบทหน้าอันท่านประกอบด้วยอิติศัพท์ บทหลังเป็นประธาน เช่น
             ขตฺติโย (อหํ ) อิติ มาโน =ขตฺติยมาโน    มานะว่า (เราเป็น) กษัตริย์
             สตฺโต อิติ สญฺญา = สตฺตสญฺญา        ความสำคัญว่าสัตว์
             สมโณ ( อหํ ) อิติ ปฏิญฺญา = สมณปฏิญฺญา ปฏิญญาว่า (เราเป็น) สมณะ
      1.6.อวธารณบุพพบท มีบทหน้าอันท่านประกอบด้วย เอว ศัพท์(เพื่อจะห้ามเนื้อความอันอื่นเสีย) บทหลังเป็นประธาน เช่น
             ปญฺญา เอว ปโชโต = ปญฺญาปโชโต    (ประทีป) อันโพลงทั่ว คือปัญญา
             พุทฺโธ เอว รตนํ = พุทฺธรตนํ        รัตนะ คือพระพุทธเจ้า
             สทฺธา เอว ธนํ = สทฺธาธนํ        ทรัพย์คือศรัทธา

           วิธีวางวิเคราะห์แห่งกัมมธารยสมาส ที่เขียนไว้ข้างต้นนั้น มิใช่แบบที่นักปราชญ์ท่านใช้ในคัมภีร์ศัพทศาสตร์ เป็นแต่ข้าพเจ้าคิดย่อให้สั้นเข้า จะได้ไม่ต้องแปลวิเคราะห์ ให้ยืดยาว แบบวิเคราะห์ที่ท่านใช้ในคัมภีร์ศัพทศาสตร์ทั้งหลาย ดังนี้
 วิเสสนบุพพบท เช่น

           มหนฺโต จ โส ปุริโส จา ติ  มหาปุริโส     บุรุษ นั้น ด้วย เป็นผู้ใหญ่ ด้วย เหตุนั้น ชื่อบุรุษผู้ใหญ่
 วิเสสนุตตรบท เช่น

           สตฺโต จ โส วิเสโส จา ติ สตฺตวิเสโส  สัตว์ นั้น ด้วย วิเศษ ด้วย เหตุนั้น ชื่อสัตว์วิเศษ
 วิเสสโนภยบทเช่น

           สีตญฺจ ตํ สมฏฺฐญฺ จา ติ สีตสมฏฺฐํ (ฐานํ ทีนั้น ) เย็น ด้วย เกลี้ยง ด้วย เหตุนั้น ชื่อว่าทั้งเย็นทั้งเกลี้ยง อีก 3 สมาสนั้น มีแบบวิเคราะห์เหมือนอย่างในที่นี้

2. ทิคุสมาส     

           ทิคุสมาสคือกัมมธารยสมาสที่มีสังขยาอยู่ข้างหน้า มี 2 อย่างคือ
           2.1. สมาหาโร คือทิคุสมาสที่รวมนามศัพท์ มีเนื้อความเป็นพหุวจนะทำให้เป็นเอนกจนะ นปุงสกลิงค์เช่น 
                     ตโย โลกา = ติโลกํ    โลก 3
         
           จตสฺโส ทิสา = จตุทฺทิสํ    ทิศ 4
                     ปญจ อินฺทฺริยานิ = ปญจินฺทฺริยํ     อินทรีย์ 5
        2.2. อสมาหาโร คือทิคุสมาสที่มีเนื้อความเป็นวจนะใด นามนามเป็นลิงค์และการันต์อะไร เมื่อสำเร็จเป็นบทสมาสแล้ว ก็มีเนื้อความเป็นอย่างนั้น คือเป็นลิงค์ การันต์ตามนามนามนั้นๆไม่เปลี่ยนแปลงเช่น
        
           เอโก ปุคฺคโล = เอกปุคฺคโล    บุคคลผู้เดียว
        
           จตสฺโส ทิสา = จตุทฺทิสา        ทิศ 4 ท.
        
           ปญจ พลานิ = ปญจพลานิ    กำลัง 5 ท.  

3.ตัปปุริสสมาส

           ตัปปุริสสมาส คือสมาสที่มีนามศัพท์มี อํ วิภัตติเป็นต้นในที่สุด ย่อเข้าด้วยบทเบื้องปลายมี 6 อย่าง คือ ทุติยาตปฺปุริสสมาส, ตติยาตปฺปุริสสมาส, จตุตฺถีตปฺปุริสสมาส, ปญจมีตปฺปุริสสมาส,ฉฏฺฐีตปฺปุริสสมาส, สตฺตมีตปฺปุริสสมาส
           3.1.ทุติยาตัปปุริสสมาส มีบทหน้าประกอบด้วยทุติยาวิภัตติ มีสำเนียงแปลว่า “ซึ่ง สู่ ยัง สิ้น” เช่น
        
             สุขํ ปตฺโต = สุขปฺปตฺโต    (ปุริโส บุรุษ) ถึงแล้วซึ่งสุข
                      คามํ คโต = คามคโต     (ปุริโส บุรุษ) ไปแล้วสู่บ้าน
                      สพฺพรตฺตึ โสภโณ = สพฺพรตฺติโสภโณ     (จนฺโท พระจันทร์) งามตลอดราตรีทั้งสิ้น
           3.2. ตติยาตัปปุริสะ มีบทหน้าประกอบด้วยตติยาวิภัตติ มีสำเนียงแปลว่า “ด้วย โดย อัน ตาม เพราะ มี” เช่น
                      อสฺเสน ( ยุตฺโต ) รโถ = อสฺสรโถ    รถ (เทียมแล้ว ) ด้วยม้า
         
            สลฺเลน วิทฺโธ=สลฺลวิทฺโธ    ( ชนฺตุ สัตว์ ) อันลูกศรแทงแล้ว
        
             อสินา     กลโห=อสิกลโห     ความทะเลาะเพราะดาบ
           3.3.จตุตถีตัปปุริสสมาส มีบทหน้าประกอบด้วยจตุตถีวิภัตติ มีสำเนียงแปลว่า “แก่ เพื่อ ต่อ” เช่น
       
             กฐินสฺส ทุสฺสํ=กฐินทุสฺสํ         ผ้าเพื่อกฐิน
                     อาคนฺตุกสฺส ภตฺตํ  =อาคนฺตุกภตฺตํ    ภัตเพื่อผู้มา
         
           คิลานสฺส เภสชฺชํ = คิลานเภสชฺชํ     ยาเพื่อคนไข้
           3.4. ปัญจมีตัปปุริสสมาส มีบทหน้าประกอบด้วยปัญจมีวิภัตติ มีสำเนียงแปลว่า “แต่ จาก กว่า เหตุ” เช่น
        
           โจรมฺหา ภยํ=โจรภยํ    ภัยแต่โจร
                     มรณสฺมา ภยํ=มรณภยํ     ความกลัวแต่ความตาย
    
               พนฺธนา มุตฺโต=พนฺธนมุตฺโต    (สตฺโต สัตว์ ) พันแล้วจากเครื่องผูก
     3.5.ฉัฏฐีตัปปุริสสมาส  มีบทหน้าประกอบด้วยฉัฏฐีวิภัตติ มีสำเนียงแปลว่า “แห่ง ของ” เช่น
        
           รญฺโญ ปุตฺโต=ราชปุตฺโต        บุตรแห่งพระราชา
                    ธญญานํ ราส=ธญฺญราสิ        กองแห่งข้าวเปลือก
         
          รุกฺขสฺส สาขา=รุกฺขสาขา        กิ่งแห่งต้นไม้
     3.6.สัตตมีตัปปุริสะ มีบทหน้าประกอบด้วยสัตตมีวิภัตติ มีสำเนียงแปลว่า “ใน ใกล้ ที่ ใน เพราะ” เช่น

                    รูเป สญฺญา=รูปสญฺญา        ความสำคัญในรูป
                    สํสาเร ทุกฺขํ =สํสารทุกฺขํ        ทุกข์ในสงสาร
                    วเน ปุปฺผํ=วนปุปฺผํ        ดอกไม้ในป่า

           น บุพพบทกัมมธารยสมาสหรือ อุภยตัปปุริสสมาส
    
      สมาสที่มี น นิบาต อยู่หน้า  สมาสนี้สำหรับทำหน้าที่ปฏิเสธบททั้ง 2 ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เช่น
           น พฺราหฺมโณ=อพฺราหฺมโณ  (อยํ ชโน ชนนี้ ) มิใช่พราหมณ์
           น วสโล = อวสโล (อยํ ชโน ชนนี้) มิใช่คนถ่อย
          น อสฺโส = อนสฺโส  (อยํ สตฺโต สัตว์นี้) มิใช่ม้า
          น อริโย = อนริโย (อยํ ชโน ชนนี้) มิใช่พระอริยเจ้า

           ในสมาส น บุพพบทกัมมธารยสมาสนี้ ถ้าพยัญชนะ อยู่หลัง น  เอา น เป็น อ เช่น อพฺราหฺมโณ เป็นต้น ถ้าสระ อยู่หลัง น เอา น เป็น อน เหมือน อนสฺโส เป็นต้น
           ตัปปุริสสมาสนี้ต่างกันกับ กัมมธารยะ คือ กัมมธารยะ มีวิภัตติและวจนะเสมอกัน บทหนึ่งเป็นประธาน บทหนึ่งเป็นวิเสสนะหรือเป็นวิเสสนะทั้ง 2 บท  ส่วนตัปปุริสสมาส มีวิภัตติและวจนะไม่เสมอกัน

4. ทวันทวสมาส
           ทวันทวสมาส ได้แก่นามนามตั้งแต่ 2 ศัพท์ขึ้นไป ท่านย่อเข้าเป็นบทเดียวกันมี 2 อย่างคือ
 
                      4.1. สมาหารทวันทวสมาส  ได้แก่สมาสที่ทำการรวบรวมศัพท์ที่มีเนื้อความให้สำเร็จเป็น เอก. และ นปุงสกลิงค์ อย่างเดียวเช่นสมโถ จ วิปสฺสนา จ สมถ  วิปสฺสนํ  สมถะ ด้วย วิปัสสนา ด้วย ชื่อสมถะและวิปสฺสนา
          สงฺโข จ ปณโว จ สงฺขปณวํ        สังข์ ด้วย บัณเฑาะว์ ด้วย ชื่อสังข์และบัณเฑาะว์
         ปตฺโต จ จีวรญฺ จ ปตฺตจีวรํ        บาตร ด้วย จีวร ด้วย ชื่อบาตรและจีวร
         หตฺถี จ อสฺโส จ รโถ จ ปตฺติโก จ  หตฺถีอสฺสรถปตฺติกํ     ช้าง ด้วย ม้า ด้วย รถ ด้วย คนเดิน ด้วย ชื่อช้างและม้าและรถและคนเดิน

                      4.2. อสมาหารทวันทวสมาส ได้แก่สมาสที่รวบรวมนามนามให้สำเร็จเป็น พหุวจนะ  มีลิงค์ตามบทหลังเช่น
           จนฺทิมา จ สุริโย จ จนฺทิมสุริยา     พระจันทร์ ด้วย พระอาทิตย์ ด้วย พระจันทร์และพระอาทิตย์ ท.
           สมโณ จ พฺราหฺมโณ จ สมณพฺราหฺมณา    สมณะ ด้วยพราหมณ์ ด้วย ชื่อสมณะและพราหมณ์ ท.
           สารีปุตฺโต จ โมคฺคลฺลาโน จ สารีปุตฺตโมคฺคลฺลานา         พระสารีบุตรด้วย พระโมคคัลลานะ ด้วย ชื่อพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ท.
          ปณฺณญฺจ ปุปฺผญฺจ ผลญฺจ ปณฺณปุปฺผผลานิ      ใบไม้ด้วย ดอกไม้ด้วย ผลไม้ด้วย ชื่อใบไม้และดอกไม้และผลไม้ ท.

           ทวันทวสมาสนี้ต่างกับวิเสสโนภยบทกัมมธารยะคือวิเสสโนภยบท เป็นบทวิเสสนะทั้ง 2 บท ทวันทวสมาส เป็นบทประธานทั้งสิ้น

5. อัพยยีภาวสมาส

           อัพยยีภาวสมาส ได้แก่สมาสที่มีอุปสัคหรือนิบาตอยู่ข้างหน้าชื่ออัพยยีภาวสมาส ๆ มี 2 อย่าง คือ 
           5.1. อุปสคฺคปุพฺพกะ มีอุปสัคอยู่ข้างหน้า เช่น
                      นครสฺส สมีปํ อุปนครํ    ที่ใกล้เคียงแห่งเมือง ชื่อใกล้เมือง
                      ทรถสฺส อภาโว นทฺทรถํ    ความไม่มี แห่งความกระวนกระวายชื่อความไม่มีความกระวนกระวาย
                      วาตํ อนุวตฺตตีติ อนุวาตํ    ( ยํ วตฺถุ สิ่งใด ) ย่อมเป็นไปตามซึ่งลม เหตุนั้น ( ตํ วตฺถุ สิ่งนั้น ) ชื่อว่าตามลม

                      วาตสฺส ปฏิวตฺตตีติ ปฏิวาตํ    ( สิ่งใด ) ย่อมเป็นไป (ทวน,แก่ลม)(ตอบ,แก่ลม) เหตุนั้น ( สิ่งนั้น ) ชื่อว่าทวนลม
                      อตฺตานํ อธิวตฺตตีติ อชฺฌตฺตํ    ( สิ่งใด ) ย่อมเป็นไปทับ ซึ่งตนเหตุนั้น ( สิ่งนั้น ) ชื่อว่าทับตน. ( เอา อธิ เป็น อชฺฌ ในพยัญชนะสนธิ
           5.2. นิปาตปุพพกะ มีนิบาตอยู่ข้างหน้า เช่น

                      วุฑฺฒานํ ปฏิปาฏิ ยถาวุฑฺฒํ  ลำดับ แห่งคนเจริญแล้ว ท. ชื่อว่าตามคนเจริญแล้ว
                      ชีวสฺส ยตฺตโก ปริจฺเฉโท ยาวชีวํ  กำหนด เพียงไร แห่งชีวิต ชื่อเพียงไรแห่งชีวิต
                      ปพฺพตสฺส ติโร ติโรปพฺพตํ    ภายนอก แห่งภูเขา
                      นครสฺส พหิ พหินครํ    ภายนอก แห่งเมือง
                     ปาสาทสฺส อนฺโต อนฺโตปาสาทํ    ภายใน แห่งปราสาท
                     ภตฺตสฺส ปจฺฉา ปจฺฉาภตฺตํ    ภายหลัง แห่งภัตร

           อัพยยีภาวสมาสกับตัปปุริสสมาส ต่างกันคือ ตัปปุริสสมาสมีบทหลังเป็นประธาน ไม่ได้นิยมลิงค์และวจนะ  อัพยยีภาวสมาสนี้มีบทหน้าเป็นประธานและเป็นอุปสัคและนิบาต บทหลังเป็นนปุงสกลิงค์เอกวจนะ บางสมาสก็มีอาการคล้ายกัมมธารยะ เหมือนวิเคราะห์ว่า “เย เย วุฑฺฒา  ยถาวุฑฺฒํ ชนเจริญแล้ว ท. ใด ใด ชื่อเจริญแล้วอย่างไร”
           ถึงกระนั้น ก็เป็นที่สังเกตได้บ้าง ด้วยว่า กัมมธารยะ ไม่มีนิยมบทหลัง จะเป็นลิงค์ใดก็ได้ แต่สมาสนี้คงเป็นนปุงสกลิงค์ เอกวจนะอย่างเดียว เช่น “อนุตฺเถโร พระเถระน้อย” คงเป็นกัมมธารยสมาสแท้

6. พหุพพิหิสมาส หรือ ตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส

           พหุพพิหิสมาส ได้แก่สมาสที่มีบทอื่นเป็นประธาน มี 6 อย่างตามวิภัตติ คือทุติยาพหุพพิหิสมาสหรือทุติยาตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส,ตติยาพหุพพิหิสมาสหรือตติยาตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส,จตุตถีพหุพพิหิสมาสหรือจตุตถีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส, ปัญจมีพหุพพิหิสมาสหรือปัญจมีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส,ฉัฏฐีพหุพพิหิสมาสหรือฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส, สัตตมีพหุพพิหิสมาสหรือสัตตมีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส
           6.1. ทุติยาพหุพพิหิสมาสหรือทุติยาตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส ได้แก่สมาสที่เอาบทที่เป็นทุติยาวิภัตติ ในวิเคราะห์เป็นประธาน แห่งบทสมาส เช่น
           อาคตา สมณา ยํ โส อาคตสมโณ อาราโม     สมณะ ท. มาแล้ว สู่อารามใด อาราม นั้น ชื่อว่ามีสมณะมาแล้ว
           รุฬฺหา ลตา ยํ โส รุฬฺหลโต รุกฺโข    เครือวัลย์ ขึ้นแล้วสู่ต้นไม้ใด ต้นไม้ นั้น ชื่อว่ามีเครือวัลย์ขึ้นแล้ว
           สมฺปตฺตา ภิกฺขู ยํ โส สมฺปตฺตภิกขุ     อาวาโส ภิกษุ ท. ถึงพร้อมแล้ว ซึ่งอาวาสใด อาวาส นั้น ชื่อว่ามีภิกษุถึงพร้อมแล้ว

           6.2. ตติยาพหุพพิหิสมาสหรือตติยาตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส  ได้แก่สมาสที่เอาบทที่เป็นตติยาวิภัตติ ในวิเคราะห์ เป็นประธาน แห่งบทสมาส เช่น
           ชิตานิ อินฺทฺริยานิ เยน โส ชิตินฺทฺริโย    สมโณ อินทรีย์ ท. อันสมณะใด ชนะแล้ว สมณะ นั้น ชื่อว่ามีอินทรีย์อันชนะแล้ว
           กตํ ปุญฺญํ เยน โส กตปุญฺโญ ปุริโส    บุญ อันบุรุษใด ทำแล้ว บุรุษ นั้น ชื่อว่ามีบุญอันทำแล้ว.
           อาหิโต อคฺคิ เยน โส อาหิตคฺคิ พฺราหฺมโณ    ไฟ อันพราหมณ์ใด บูชาแล้ว พราหมณ์ นั้น ชื่อว่ามีไฟอันบูชาแล้ว

           อีกอย่างหนึ่ง บทวิเสสนะอยู่หลัง เช่น  “อคฺคิ อาหิโต เยน โส อคฺยาหิโต พฺราหฺมโณ  ไฟ อันพราหมณ์ใด บูชาแล้ว พราหมณ์ นั้น ชื่อว่ามีไฟอันบูชาแล้ว
           วิสํ ปีตํ เยน โส วิสปีโต สโร ยาพิษ อันลูกศรใดดื่มแล้ว ลูกศร นั้น ชื่อว่ามียาพิษอันดื่มแล้ว."

           6.3.จตุตถีพหุพพิหิสมาสหรือจตุตถีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส ได้แก่สมาสที่เอาบทที่เป็นจตุตถีวิภัตติ ในวิเคราะห์ เป็นประธาน แห่งบทสมาส ตัวอย่างเช่น
                   ทินฺโน สุงฺโก ยสฺส โส ทินฺนสุงฺโก ราชา       ส่วย ( นาคเรหิ อันชาวเมือง ท.) ถวายแล้ว แด่พระราชาใด พระราชา นั้น ชื่อว่ามีส่วยอันชาวเมือง ท. ถวายแล้ว
                    กตํ ทณฺฑกมฺมํ ยสฺส โส กตทณฺฑกมฺโม สิสฺโส    ทัณฑกรรม ( อันอาจารย์ ) ทำแล้ว แก่ศิษย์ใด ศิษย์ นั้น ชื่อว่ามีทัณฑกรรมอันอาจารย์ทำแล้ว    
                    สญฺชาโต สํเวโค ยสฺส โส สญฺชาตสํเวโค ชโน ความสังเวช เกิดพร้อมแล้วแก่ชนใด ชนนั้น ชื่อว่ามีความสังเวชเกิดพร้อมแล้ว
           6.4.ปัญจมีพหุพพิหิสมาสหรือปัญจมีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส ได้แก่สมาสที่เอาบทที่เป็นปัญจมีวิภัตติ ในวิเคราะห์ เป็นประธาน แห่งบทสมาส ตัวอย่างเช่น
                 นิคฺคตา ชนา ยสฺมา โส นิคฺคตชโน คาโม    ชน ท. ออกไปแล้ว จากบ้านใด บ้าน นั้น ชื่อว่ามีชนออกไปแล้ว
                 ปติตานิ ผลานิ ยสฺมา โส ปติตผโล รุกฺโข     ผล ท. หล่นแล้ว จากต้นไม้ใด ต้นไม้ นั้น ชื่อว่ามีผลหล่นแล้ว
                 วีโต ราโค ยสฺมา โส วีตราโค ภิกฺขุ     ราคะ ไปปราศแล้วจากภิกษุใด ภิกษุ นั้น ชื่อว่ามีราคะไปปราศแล้ว

           6.5. ฉัฏฐีพหุพพิหิสมาสหรือฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส  ได้ก่สมาสที่เอาบทที่เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ในวิเคราะห์ เป็นประธาน แห่งบทสมาส ตัวอย่างเช่น
                   ขีณา อาสวา ยสฺส โส ขีณาสโว ภิกฺขุ      อาสวะ ท. ของภิกษุใด สิ้นแล้ว ภิกษุ นั้น ชื่อว่ามีอาสวะสิ้นแล้ว
                   สนฺตํ จิตฺตํ ยสฺส โส สนฺตจิตฺโต ภิกฺขุ     จิตของภิกษุใดระงับแล้ว ภิกษุ นั้น ชื่อว่ามีจิตระงับแล้ว.
                   ฉินฺนา หตฺถา ยสฺส โส ฉินฺนหตฺโถ ปุริโส    มือ ท.ของบุรุษใด ขาดแล้ว บุรุษ นั้น ชื่อว่ามีมือขาดแล้ว

           อีกอย่างหนึ่ง บทวิเสสนะอยู่หลัง เช่น  “หตฺถา ฉนฺนา ยสฺส โส หตฺถจฺฉินฺโน ปุริโส  มือ ท.ของบุรุษใด ขาดแล้ว บุรุษ นั้น ชื่อว่ามีมือขาดแล้ว
 
           ฉัฏฐีอุปมาพหุพพิหิ ตัวอย่างเช่น
                      สุวณฺณสฺส วณฺโณ อิว วณฺโณ ยสฺส โส สุวณฺณวณฺโณ ภควา     วรรณ ของพระผู้มีพระภาคใด เพียงดัง วรรณ แห่งทองพระผู้มีพระภาค นั้น ชื่อว่ามีวรรณเพียงดังวรรณแห่งทอง.
           พฺรหฺมุโน สโร อิว สโร ยสฺส โส พฺรหฺมสฺสโร ภควา     เสียง ของพระผู้มีพระภาคใด เพียงดัง เสียง แห่งพรหม พระผู้มีพระภาค นั้น ชื่อว่ามีเสียงดังเสียงแห่งพรหม
           6.6.  สัตตมีพหุพพิหิสมาสหรือสัตตมีตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส ได้แก่สมาสที่เอาบทที่เป็นสัตตมีวิภัตติ ในวิเคราะห์ เป็นประธาน แห่งบทสมาส ตัวอย่างเช่น
                   สมฺปนฺนานิ สสฺสานิ ยสฺมึ โส สมปนฺนสสฺโส ชนปโท    ข้าวกล้า ท. ในชนบทใด ถึงพร้อมแล้ว ชนบท นั้น ชื่อว่ามีข้าวกล้าถึงพร้อมแล้ว
                   พหู นทิโย ยสฺมึ โส พหุนทิโก ชนปโท   แม่น้ำ ท. ในชนบทใด มาก ชนบท นั้น ชื่อว่ามีแม่น้ำมาก
                   ฐิตา สิริ ยสฺมึ โส ฐิตสิริ ชโน     ศรี ตั้งอยู่ ในชนใด ชน นั้น ชื่อว่ามีศรีตั้งอยู่

           ในวิเคราะห์แห่งสมาสทั้งหลายเหล่านี้ บทประธานและบทวิเสสนะมีวิภัตติและลิงค์เสมอกัน แปลกแต่บทสัพพนาม ที่เป็นประธานแห่งบทสมาส ท่านจึงเรียกสมาสทั้งหลายเหล่านี้ว่า ตุลยาธิกรณพหุพพิหิ. พหุพพิหิที่แสดงมาแล้วเหล่านี้ มีเนื้อความไม่ปฏิเสธพหุพพิหิ ที่มีเนื้อความปฏิเสธ มีวิเคราะห์อย่างนี้ 
                   นตฺถิ ตสฺส สโมติ อสโม     ผู้เสมอ ไม่มี แก่ท่าน ( ตสฺส ภควโต แก่พระผู้มีพระภาคนั้น) เหตุนั้น(โส ท่าน) ชื่อว่ามีผู้เสมอหามิได้ หรือไม่มีผู้เสมอ
                  นตฺถิ ตสฺส ปฏิปุคฺคโลติ อปฺปฏิปุคฺคโล    บุคคลเปรียบไม่มี แก่ท่าน เหตุนั้น ( ท่าน ) ชื่อว่ามีบุคคลเปรียบหามิได้ หรือไม่มีบุคคลเปรียบ
                  นตฺถิ ตสฺส ปุตฺตาติ อปุตฺตโก     บุตร ท. ของเขา ( ตสฺส  ชนสฺส ของชนนั้น ) ไม่มี เหตุนั้น ( โส เขา ) ชื่อว่ามีบุตรหามิได้ หรือไม่มีบุตร

           น บุพพบท พหุพพิหินี้ ในแบบเล่าเรียนท่านสอนให้แปลว่า  “ มี .....ไม่มี” เหมือนศัพท์ว่า อสโม แปลว่า “ มีผู้เสมอไม่มี” เพื่อจะไม่ให้เสียรูปสมาส แต่เห็นว่าผู้ศึกษาจะเข้าใจได้ยาก เพราะไม่มีโวหารใช้ในภาษาของเรา นอกจากแบบเรียน หรือจะแปลว่า  “ มี...... หามิได้” พอไม่ให้เสียรูปสมาส ถ้าจะต้องการแต่ความอย่างเดียว ไม่เอื้อเฟื้อต่อรูปสมาส ก็ต้องแปลว่า " ไม่มี " เท่านั้นเอง ข้าพเจ้าแปลไว้ทั้ง 2 อย่างนั้น ด้วยเห็นว่า วิธีแปลหนังสือมี 2 แปลตามพยัญชนะและแปลตามความหรือแปลโดยอรรถ แปลตามพยัญชนะนั้น ควรใช้ในแบบเล่าเรียน เป็นที่ให้ผู้ศึกษาสังเกตง่ายกว่าแปลตามความทีเดียว แปลตามความนั้น ควรใช้ในการแปลหนังสืออื่น ๆ นอกจากแบบเล่าเรียน ผู้อ่านผู้ฟังจะได้เข้าใจความได้ง่าย ๆ ผู้ศึกษาควรจะเข้าใจวิธีแปลหนังสือทั้งสองอย่าง
           ในวิเคราะห์แห่งสมาสใด บททั้งหลายมีวิภัตติต่างกัน ท่านเรียกสมาสนั้นว่า ภินนาธิกรณพหุพพิหิ มีอุทาหรณ์อย่างนี้
                  เอกรตฺตึ วาโส อสฺสา ติ เอกรตฺติวาโส     ความอยู่ ของเขา( อสฺส ชนสฺส ของชนนั้น ) สิ้นคืนเดียว เหตุนั้น ( โส เขา ) ชื่อว่ามีความอยู่สิ้นคืนเดียว
                  อุรสิ โลมานิ ยสฺส โส อุรสิโลโม พฺราหฺมโณ   ขน ท. ที่อกของพราหมณ์ใด (อตฺถิ มีอยู่ ) พราหมณ์ นั้น ชื่อว่ามีขนที่อก
                  อสิ หตฺเถ ยสฺส โส อสิหตฺโถ โยโธ  ดาบ ( มี ) ในมือของทหาร ( คนรบ ) ใด ทหาร นั้น ชื่อว่ามีดาบในมือ
                  ฉตฺตํ ปาณิมฺหิ ยสฺส โส ฉตฺตปาณี   ปุริโส ร่ม ( มี ) ในมือของบุรุษใด บุรุษ นั้น ชื่อว่ามีร่มในมือ.
                  มณิ กณฺเณ ยสฺส โส มณิกณฺโณ นาคราชา      แก้ว ( มี ) ที่คอของนาคราชใด นาคราช นั้น ชื่อว่ามีแก้วที่คอ."

           วิเคราะห์ที่แสดงมานี้ เป็นแต่รูปเอกวจนะอย่างเดียว ถ้าประสงค์ความเป็นพหุวจนะ จะแสดงเป็นรูปพหุวจนะก็ได้ ตัวอย่างเช่น
                  กตํ กุสลํ เยหิ เต กตกุสลา ชนา        กุศล ท. ใดทำแล้ว ชน ท. นั้น ชื่อว่ามีกุศลอันทำแล้ว
                  อาวุธา หตฺเถสุ เยสํ เต อาวุธหตฺถา โยธา     อาวุธ ท. (มี)ในมือ ท. ของทหาร ท. ใด ทหาร ท. นั้น ชื่อว่ามีอาวุธในมือ

สมาสท้อง

           พหุพพิหินี้ ถ้าจะสังเกตแต่ง่าย ๆ ว่า สมาสนี้แปลว่า “มี” ดูเป็นที่กำหนดง่ายกว่าทุกสมาส ถึงอย่างนั้น ถ้าสังเกตให้ละเอียดลงไปว่า เป็นพหุพพิหิอะไร ก็กลับเป็นที่กำหนดได้ยากว่าทุกสมาส เพราะแปลว่า “ มี ๆ” เหมือนกันไปหมด ผู้ศึกษา เมื่อได้ยินชื่อสมาส ที่แปลว่า “ มี” ทราบว่าเป็น พหุพพิหิ แล้ว ประสงค์จะทราบให้ละเอียดลงไปว่า เป็นพหุพพิหิอะไร จงแยกอนุบทแห่งสมาสนั้นออก แล้วลองตั้งเป็นวิเคราะห์ ตามแบบที่แสดงไว้แล้ว ตั้งแต่ทุติยาพหุพพิหิ เป็นต้นไป เมื่อตั้งเป็นวิเคราะห์แห่งสมาสใดแล้ว ถ้าไม่ได้เนื้อความชัด จงรู้ว่ามิใช้สมาสนั้น ถ้าได้เนื้อความชัด จงรู้ว่าเป็นสมาสนั้น อันนี้เป็นวิธีสำหรับกำหนดของผู้เริ่มศึกษา พหุพพิหิที่แสดงมานี้ เป็นแต่ชั้นเดียว พหุพพิหิบางอย่าง มีสมาสอื่นเป็นท้อง ตัวอย่างเช่น
                      ธมฺโม เอว จกฺกํ=ธมฺมจกฺกํ    จักรคือธรรม กัม. อว.
                      ปวรํ ธมฺมจกฺกํ= ปวรธมฺมจกฺกํ   ธรรมจักรบวร กัม. วิ.
                      ปวตฺติตํ ปวรธมฺมจกฺกํ เยน โส ปวตฺติตปฺปวรธมฺมจกฺโก ภควา  ธรรมจักรบวร อันพระผู้มีพระภาคใด ให้เป็นไปแล้ว พระผู้มีพระภาค นั้น ชื่อว่ามีธรรมจักรบวชอันให้เป็นไปแล้ว
     สมาสนี้เรียกว่า ตติยาตุลยาธิกรณพหุพพิหิ  มีกัมมธารยสมาสเป็นท้อง
                     คนฺโธ จ มาลา จ คนฺธมาลา   ของหอม ด้วย ระเบียบ ด้วยชื่อว่าของหอมและระเบียบ ท. อ. ทวัน.
                     ตา อาทโย เยสํ ตานิ คนฺธมาลาทีนิ วตฺถูนิ   มัน ท. (ตา  คนฺธมาลา ของหอมและระเบียบ ท. นั้น ) เป็นต้น ของวัตถุ ท. ใด วัตถุ ท. นั้น ชื่อว่ามีของหอมและระเบียบเป็นต้น
           สมาสนี้เรียกว่า ฉัฏฐีตุลยาธิกรณพหุพพิหิ มี ทวันทวสมาส เป็นท้อง
                      คนฺธมาลาทีนิ หตฺเถสุ เยสํ เต คนฺธมาลาทิหตฺถา มนุสฺสา   (วัตถุ ท. ) มีของหอมและระเบียบเป็นต้น ( มี ) ในมือ ท. ของมนุษย์ ท.ใด มนุษย์ ท. นั้น ชื่อว่ามีวัตถุมีของหอมและระเบียบเป็นต้นในมือ
         สมาสนี้เรียกว่า ฉัฏฐีภินนาธิกรณพหุพพิหิ มีทวันทว. พหุพพิหิ. เป็นท้อง
           สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากล่าวถึงการอธิบายสมาสไว้ว่า   “วิธีแบ่งสมาสที่แสดงมานี้ ตามความชอบใจของข้าพเจ้า ถูกกับคัมภีร์ศัพทศาสตร์บ้างก็มี ผิดกันบ้างก็มี เพราะสอบในคัมภีร์ศัพทศาสตร์หลายฉบับ ก็เห็นท่านแบ่งต่าง ๆ กัน หาตรงเป็นแบบเดียวกันไม่ ขาดสิ่งนี้ได้สิ่งโน้น หรือในที่นี้ว่าอย่างนี้ ในที่นั้นว่าอย่างนั้นเป็นอยู่อย่างนี้โดยมาก เหมือนหนึ่ง ศัพท์ คือ สงฺขปณฺฑรํ ( ขีรํ น้ำนม ) ขาวเพียงดังสั่ง ที่ข้าพเจ้าจัดเป็นอุปมาบุพพบท กัมมธารยะนั้น ตามมติของอาจารย์ผู้แต่ง คัมภีร์พาลปโพธิและสัตถสารัตถชาลินี  (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส,บาลีไวยากรณ์(สมาส), พิมพ์ครั้งที่ 38,(กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย,2550),หน้า 126.)

           ส่วนตัวอย่างที่พระมหานิยม อุตฺตโมยกขึ้นมานั้นบอกว่า “สมาสท้องมีลักษณะดังตัวอย่างเช่น
                      นีลุปฺปลปริปุณฺณสโร  อ. สระอันเต็มแล้วด้วยดอกอุบลเขียว ตั้งวิเคราะห์ว่า
                      วิ,บุพ.     นีลํ  อุปฺปลํ      นีลุปฺปลํ
                      ต.ตัป.    นีลุปฺปเลน  ปริปุณฺโณ    นีลุปฺปลปริปุณฺโณ (สโร)
                      วิ.บุพ.    นีลุปฺปลปริปุณฺโณ  สโร   นีลุปฺปลปริปุณฺณสโร
           สมาสนี้มี วิเสสน บุพพบท เป็นใหญ่ มี ตติยา  ตัปปุริสสมาส และ วิเสสน  บุพพบท เป็นท้อง พระมหานิยม  อุตฺตโม, บันทึกบทเรียนบาลีไวยากรณ์,(ขอนแก่น:คลังนานาธรรม,2547),หน้า 267.

           สมาสที่ใช้มากในหนังสือทั้งปวงอีกอย่างหนึ่ง คือ" สห ปุตฺเตน โย วตฺตตี ติ สปุตฺโต ปิตา ชนใด ย่อมเป็นไปกับ ด้วยบุตร เหตุนั้น ( โส ชโน ชนนั้น ) ชื่อว่าเป็นไปกับด้วยบุตร ( คือ ) บิดา สห รญฺญา ยา วตฺตตี-ตี สราชิกา ปริสา บริษัท ใด ย่อมเป็นไปกับ ด้วยพระราชา เหตุนั้น ( สา ปริสา บริษัทนั้น ) ชื่อว่าเป็นไปกับด้วยพระราชา.
           สห มจฺเฉเรน ยํ วตฺตตี-ติ สมจฺเฉรํ จิตฺตํ จิต ใด ย่อมเป็นไปกับ ด้วยความตระหนี่ เหตุนั้น ( ตํ จิตฺตํ จิตนั้น ) ชื่อว่าเป็นไปกับด้วยความตระหนี่
           ในคัมภีร์ทั้งหลาย ท่านกล่าวว่าเป็น สหบุพพบท พหุพพิหิสมาสในหนังสือสันสกฤตที่นักปราชญ์บอกสัมพันธ์ไว้ ถ้าเป็นปุงลิงค์หรืออิตถีลิงค์ เป็นคุณของบทอื่น ว่าเป็น พหุพพิหิ ถ้าเป็นนปุงสกลิงค์ กิริยาวิเสสนะ ว่าเป็น อัพยยีภาวะ ข้าพเจ้าพิจารณาตามรูปความแล้ว เห็นคล้ายอัพยยีถาวะ แปลกแต่ไม่เป็น นปุงสกลิงค์ เอกวจนะเหมือนอัพยยีภาวะเท่านั้น ถ้าว่าจะนิยมว่า อัพยยีภาวะ มีศัพท์ที่เรียกว่า อัพยยะ คือ อุปสัคและนิบาตอยู่ข้างหน้าและมีอรรถแห่งบทหน้าเป็นประธานโดยมาก สมาสนี้ก็จะพลอยชื่อว่า อัพยยีภาวะได้บ้าง ถ้านิยมลงเป็นอย่างเดียวว่า อัพยยีภาวะ ต้องมีอัพยยศัพท์อยู่ข้างหน้า  ข้างหลังต้องเป็น นปุงสกลิงค์ เอกวจนะ และสมาสที่มีบทอื่นเป็นประธาน ต้องเป็นพหุพพิหิ, สมาสนี้ก็จำต้องเป็นพหุพพิหิ ข้าพเจ้ามีความสนเท่ห์อยู่อย่างนี้ จึงไม่สามารถที่จะจัดไว้ในสมาสไหนได้ ในคัมภีร์ทั้งหลาย ท่านแบ่งสมาสต่าง ๆ กัน ตามมติของท่าน หาตรงกันเป็นแบบเดียวไม่ ที่ข้าพเจ้านำมากล่าวนี้ ยังไม่สิ้นเชิง เป็นแต่ส่วนที่มีในหนังสือนี้ เหตุนั้น ข้าพเจ้าจะถือเอาฉบับไหนเป็นประมาณให้สิ้นเชิงทีเดียว ก็ไม่ได้ ต้องเลือกเอาที่นั้นบ้างที่นี้บ้างมารวบรวมไว้ในที่นี้ พอเป็นเครื่องประดับปัญญาของผู้ศึกษา

           ในเรื่องสมาสนี้มีความพิเศษและมีความสลับซับซ้อนมาก นับเป็นเรื่องที่อธิบายให้ผู้ศึกษาเข้าใจยากอีกเรื่องหนึ่ง ในเบื้องต้นต้องการเพียงให้ผู้ศึกษาทราบสมาสที่สำคัญ 6 ประการ ส่วนสมาสท้องนั้นต้องค้นคว้าอีกมาก ผู้ศึกษาในชั้นสูงจะพบกับความพิสดารมากยิ่งขึ้น ในคัมภีร์ต่างๆนั้นปัจจุบันมีผู้แปลคัมภีร์ภาษาบาลีเป็นภาษาไทยไว้มาก หากสนใจจริงๆสามารถค้นคว้าได้ สมาสในบทนี้ยึดตามหลักของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสเป็นหลัก ส่วนคัมภีร์อื่นๆผู้สนคงต้องเสาะหามาศึกษาเอาในโอกาสต่อไป

คำถามทบทวน
1.จงบอกว่าศัพท์ต่อไปนี้เป็นสมาสอะไร และมีบทวิเคราะห์อย่างไร
           1. มหานาโค     นาคใหญ่
           2. ติทณฺฑํ     ไม้ 3 อัน
           3. อรญฺญคโต     ไปแล้วสู่ป่า
           4. ทาสีทาสํ     ทาสีและทาส
           5. ติโรปาการํ     ภายนอกแห่งกำแพง
           6. กณฺหเนตฺโต     มีตาดำ
           7. ฐิตเปโต     มีความรักตั้งอยู่
           8. อุปวนํ     ที่ใกล้เคียงแห่งป่า
           9. นรนาริโย     นระและนารี ท.
           10.สงฺฆทานํ     ทานเพื่อสงฆ์
           11.ปญฺจินฺทฺริยานิ อินทรีย์ 5 ท.
           12.ปุริสุตฺตโม     บุรุษสูงสุด
           13.ปญฺญาธานํ     ทรัพย์คือปัญญา
           14.กตกุสโล     มีกุศลอันทำแล้ว
           15.วนรุกฺโข     ต้นไม้ในป่า
           16.ปาปรหิโต     เว้นแล้วจากบาป
           17.ปุญฺญสมฺมตํ     สมมติว่าบุญ
           18.ทินฺนยโส     มียศอันท่านให้แล้ว
           19.มหิฬามุโข     มีหน้าเพียงดังหน้าแห่งช้างพัง
           20.คหฏฺฐปพฺพชิตา คฤหัสถ์และบรรพชิต
           21.พุทฺธสีโฆ     พระพุทธเจ้าเพียงดังสีหะ
           22.คมิกภตฺตํ     ภัตรเพื่อผู้ไป
           23.อนฺโตเคหํ     ภายในแห่งเรือน
           24.ธญฺญราสิ     กองแห่งข้าวเปลือง
           25.นิโคฺรธปริมณฺฑโล มีปริมณฑลเพียงดังปริมณฑลแห่งต้นนิโครธ
           26.นิกฺกิเลโส     มีกิเลสออกแล้ว
           27.ทีฆชงฺฆา     แข้งยาว
           28.ทีฆชงฺโฆ     มีแข้งยาว
           29.อนฺธวธิโร     บุรุษทั้งบอดทั้งหนวก
           30.อนฺธวธิรา     คนบอดและคนหนวก ท.
           31.ขตฺติยมาโน     มานะว่าเราเป็นกษัตริย์
           32.ขตฺติยมาโน มานะแห่งกษัตริย์
           33.สูรสีโห     กล้าเพียงดังสีหะ
           34.สูรสีโห     สีหะกล้า
           35.สารีปุตุตตฺเถโร พระสารีบุตรผู้เถระ
           36.สารีปุตฺตตฺเถโร พระเถระชื่อว่าสารีบุตร
           37.อผาสุกํ     ทุกข์ไม่ใช่ความสำราญ
           38.อผาสุกํ     มีความสำราญหามิได้
           39.สูกรเปโต     เปรตเพียงดังสุกร
           40.สูกรเปโต     เปรตมีศรีษะเพียงดังศรีษะแห่งสุกร
           41.ปุริสสทฺโท     เสียงแห่งบุรุษ
           42.ปุริสสทฺโท     ศัพท์คือปุริสะ
           43.สทฺทสญฺญา     ความสำคัญในเสียง
           44.สทฺทสญฺญา ความสำคัญว่าเสียง
           45.ญาณชาลํ     ญาณเพียงดังข่าย
           46.ญาณชาลํ     ข่ายคือญาณ
           47.นิทฺทรถํ     ความไม่มีแห่งความกระวนกระวาย
           48.นิทฺทรโถ     มีความกระวนกระวายหามิได้
           49.เทวราชา     เทวดาผู้พระราชา
           50.เทวราชา     พระราชาแห่งเทวดา

2. จงแปลเป็นไทย
             สาปิ  โข  สุนขี  ฉฏฺเฐ  วา  สตฺตเม  วา มาเส เอกเมว กุกฺกุรํ วิชายิ ฯ  โคปาลโก  ตสฺส เอกเธนุยา  ขีรํ  ทาเปสิ ฯ  โส  นจิรสฺเสว  วฑฺฒิ ฯ   อถสฺส   ปจฺเจกพุทฺโธ   ภุญฺชนฺโต   นิพทฺธํ   เอกํ   ภตฺตปิณฺฑํ เทติ ฯ   โส  ภตฺตปิณฺฑํ  นิสฺสาย  ปจฺเจกพุทฺเธ  สิเนหมกาสิ ฯ   โคปาลโก นิพทฺธํ  เทฺว  วาเร  ปจฺเจกพุทฺธสฺส  อุปฏฺฐานํ  ยาติ ฯ   โส  คจฺฉนฺโตปิ อนฺตรามคฺเค   วาลมิคฏฺฐาเน   ทณฺเฑน  คจฺเฉ  จ  ภูมิญฺจ  ปหริตฺวา  สุสูติ   ติกฺขตฺตุ  สทฺทํ   กตฺวา  วาลมิเค  ปลาเปสิ ฯ  สุนโขปิ  เตน  สทฺธึ   คจฺฉติ ฯ  โส  เอกทิวสํ  ปจฺเจกพุทฺธํ  อาห  ภนฺเต  ยทา  เม  โอกาโส   น   ภวิสฺสติ   ตทา   อิมํ   สุนขํ   เปเสสฺสามิ  อิมสฺส  ปหิตสญฺญาเณน    อาคจฺเฉยฺยาถาติ ฯ   ตโต   ปฏฺฐาย   อโนกาสทิวเส  คจฺฉ   ตาต   อยฺยํ  อาเนหีติ  สุนขํ  เปเสสิ ฯ  โส   เอกวจเนเนว ปกฺขนฺทิตฺวา   สามิกสฺส   คจฺฉภูมิโปถนฏฺฐาเน   ติกฺขตฺตุ  ภุสฺสิตฺวา เตน  สทฺเทน  วาลมิคานํ  ปลายนภาวํ  ญตฺวา  ปาโต  ว  สรีรปฺปฏิชคฺคนํ  กตฺวา   ปณฺณสาลํ    ปวิสิตฺวา   นิสินฺนสฺส   ปจฺเจกพุทฺธสฺส  วสนฏฺฐานํ   คนฺตฺวา   ปณฺณสาลาทฺวาเร   ติกฺขตฺตุ ภุสฺสิตฺวา อตฺตโน อาคตภาวํ ชานาเปตฺวา   เอกมนฺเต  นิปชฺชติ ฯ  
            ปจฺเจกพุทฺเธ  เวลํ  สลฺลกฺเขตฺวา นิกฺขนฺเต   โส   ภุสฺสนฺโต   ปุรโต   ปุรโต  ว   คจฺฉติฯ  อนฺตรนฺตรา  ปจฺเจกพุทฺโธ   ตํ   วีมํสนฺโต   อญฺญํ  มคฺคํ  ปฏิปชฺชติฯ  อถสฺส  ปุรโต  ติริยํ   ฐตฺวา   ภุสฺสิตฺวา   อิตรมคฺคเมว  นํ  อาโรเปสิฯ   อเถกทิวสํ  อญฺญํ     มคฺคํ    ปฏิปชฺชิตฺวา     เตน    ปุรโต    ติริยํ    ฐตฺวา  วาริยมาโนปิ  อนิวตฺติตฺวา  สุนขํ  ปาเทน  อปนุทิตฺวา  ปายาสิฯ  สุนโข ตสฺส    อนิวตฺตนภาวํ    ญตฺวา   นิวตฺติตฺวา   นิวาสนกณฺเณ   ฑํสิตฺวา อากฑฺฒนฺโต  อิตรมคฺคเมว  นํ  อาโรเปสิฯ  เอวํ  โส  ตสฺมึ พลวสิเนหํ  อุปฺปาเทสิฯ   ตโต   อปรภาเค   ปจฺเจกพุทฺธสฺส   จีวรํ  ชีริฯ  อถสฺส  โคปาลโก  จีวรวตฺถานิ  อทาสิฯ  ตเมนํ  ปจฺเจกพุทฺโธ  อาห  อาวุโส จีวรนฺนาม  เอกเกน  ทุกฺกรํ  กาตุ  ผาสุกฏฺฐานํ คนฺตฺวา กาเรสฺสามีติฯ  อิเธว   ภนฺเต   กโรถาติฯ  น  สกฺกา  อาวุโสติฯ  เตนหิ  ภนฺเต มา   จิรํ   พหิ   วสิตฺถาติฯ   สุนโข  เตสํ  กถํ  สุณนฺโต  ว  อฏฺฐาสิฯ ปจฺเจกพุทฺโธ   ติฏฺฐ   อุปาสกาติ   โคปาลกํ  นิวตฺตาเปตฺวา  เวหาสํ  อพฺภุคฺคนฺตฺวา   คนฺธมาทนาภิมุโข   ปกฺกามิฯ   สุนขสฺส   ตํ  อากาเสน คจฺฉนฺตํ   ทิสฺวา   ภุกฺกริตฺวา  ฐิตสฺส  ตสฺมึ  จกฺขุปถํ  วิชหนฺเต  หทยํ  ผลิตํ ฯ  (มหามกุฏราชวิทยาลัย,ธมฺมปทฏฺฐกถา (ทุติโย ภาโค), พิมพ์ครั้งที่ 32,(กรุงเทพฯ:มหามกุฏราชวิทยาลัย,2550),หน้า 10.)


3. จงแปลเป็นบาลี
       ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี   พวกชาวเมืองป่าวร้อง   การเล่นนักขัตฤกษ์ในพระนคร.   จำเดิมแต่กาลที่ได้ยินเสียงกลองประโคมในนักขัตฤกษ์.  ชาวพระนครทั่วถ้วนล้วนพากันเที่ยวเล่นการนักขัตฤกษ์ไปมาสนุกสนาน.   ครั้งนั้น   อุทยานของพระราชา   มีฝูงลิงอาศัยอยู่เป็นอันมาก,     คนเฝ้าสวนคิดว่า     ในเมืองมีงานนักขัตฤกษ์เอิกเกริกเราบอกให้ลิงเหล่านี้มันรดน้ำต้นไม้      แล้วเราก็จักเล่นนักขัตฤกษ์ได้     แล้วก็ไปหาวานรตัวจ่าฝูง     ถามว่า แนะวานรผู้เป็นจ่าฝูงผู้เป็นสหาย    อุทยานนี้    มีอุปการะเป็นอย่างมากแก่ท่านทั้งหลายพวกท่านได้พากันขบเคี้ยวดอกผล    และใบอ่อนในอุทยานนี้    บัดนี้ในพระนครกำลังมีงานนักขัตฤกษ์เอิกเกริก     เราจักไปเล่นงานนักขัตฤกษ์กับเขาบ้าง     พวกท่านจงช่วยรดน้ำต้นไม้ที่กำลังปลูกใหม่ ๆ    ในสวนนี้   ตลอดเวลาที่เรายังไม่มาก  จักได้ไหม วานรจ่าฝูง   รับคำว่า   ดีแล้ว   พวกเราจักรดน้ำให้.   นายอุทยานบาลก็กำชับว่า     ถ้าเช่นนั้น    พวกท่านจงระมัดระวังอย่าประมาทนะจัดหากระออมหนัง     และกระออมไม้   สำหรับตักน้ำให้แก่พวกวานรแล้วก็ไป.  พวกวานรพากันถือกระออมหนัง   ละกระออมไม้จะไปรดน้ำต้นไม้    ครั้งนั้นวานรจ่าฝูง     จึงพูดกะวานรด้วยกันอย่างนี้ว่า     วานรผู้เจริญทั้งหลาย   ธรรมดาน้ำเป็นสิ่งพึงสงวนพวกท่านจักรดน้ำต้นไม้ต้องถอนต้นไม้ขึ้น  ถอนขึ้นดูราก    ต้นไหนรากหยั่งลึก   ต้องรดน้ำให้มาก    ต้นไหนรากหยั่งลงไม่ลึก   รดแต่น้อย    ภายหลังน้ำของเราจักหาได้ยาก    พวกวานรต่างรับคำว่าดีแล้ว   พากันทำตามนั้น.ขุ.ชาดก  (อรรถกถาอารามทูสกชาดก. 45/ 34)
                      การประพฤติประโยชน์   โดยผู้ไม่ฉลาดในประโยชน์  มิได้นำความสุขมาให้เลย  
                      คนโง่  ๆทำประโยชน์เสื่อมเหมือนลิงเฝ้าสวนฉะนั้น"   (ขุ.ชาดก.27/46/17.)


 

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
16/08/59



เอกสารอ้างอิง

กรมการศาสนา.พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ, เล่มที่ 27. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย,2525.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทยพร้อมอรรถกถา, เล่มที่ 45. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย,2525.
มหามกุฏราชวิทยาลัย,ธมฺมปทฏฺฐกถา (ทุติโย ภาโค), พิมพ์ครั้งที่ 32.กรุงเทพฯ:มหามกุฏราชวิทยาลัย,2550.
พระมหานิยม  อุตฺตโม, บันทึกบทเรียนบาลีไวยากรณ์,ขอนแก่น:คลังนานาธรรม,2547.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส,บาลีไวยากรณ์(สมาส), พิมพ์ครั้งที่ 38,กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย,2550.

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก