ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

              งานประจำปีวัดมัชฌันติการามถือเป็นประเพณีที่กระทำสืบต่อกันมานานนับร้อยปีแล้ว พอถึงวันขึ้นเจ็ดค่ำเดือนสามของทุกปี วัดมัชฌันติการามจะจัดงานประจำปีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บูรพาจารย์ ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดมัชฌันติการาม เจ้าอาวาสรูปแรกคือพระครูธรรมสารวิจิตรหรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกันจนติดปากว่า “หลวงปู่อ่อน ญาณเตโช” ท่านมรณภาพไปตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2457 หากนับจนถึงปัจจุบันก็เป็นเวลายายนานถึง 96 ปีแล้ว 
              คนเฒ่าคนแก่เล่าสืบต่อกันมาว่า สมัยที่หลวงปู่อ่อน ญาณเตโชยังมีชีวิตอยู่นั้น พอถึงวันขึ้นเจ็ดค่ำเดือนสามของทุกปีศิษยานุศิษย์ต่างก็พร้อมใจกันมาร่วมงานวันเกิดของหลวงปู่กันถ้วนหน้า เนื่องจากหลวงปู่เป็นพระที่เชี่ยวชาญทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน สร้างวัตถุมงคลไว้มากมากหลายชนิด ส่วนมากจะทำจากสิ่งของที่หาได้ง่ายง่ายๆเช่นกระดูกห่านก็นำมาสร้างเป็นตระกรุด เขียนยันต์ลงไป นัยว่ากลายเป็นของขลัง ป้องกันอันตรายได้ ปัจจุบันกลายเป็นของหายากแล้ว หลวงปู่จะแจกจ่ายให้กับผู้มาร่วมงาน

              หลวงปู่จะเลี้ยงสัตว์หลายชนิดเช่นเป็ด ห่าน หมู่ สุนัข แมว เป็นต้น ถ้าคนไม่มีเมตตาธรรมประจำใจจริงจะเลี้ยงสัตว์พวกนี้ไม่ได้ ใจมันร้อนทำให้เกิดความรำคาญ สัตว์ก็รับรู้และสัมผัสถึงความีเมตตาได้จึงพากันมาพึ่งพาอาศัย วัสดุอะไรก็ได้ที่หลวงปู่แจกลูกศิษย์ส่วนมากจะกลายเป็นของขลัง แม้จะไม่โด่งดังเหมือนเกจิอาจารย์ท่านอื่น แต่ชาวบ้านในย่านคลองบางเขนใหม่ซึ่งเป็นคลองที่ไหลผ่านหน้าวัด จะเลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่อ่อนเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในอดีตชาวบ้านแถบนี้เป็นชาวสวนชาวไร่ ปลูกทะเรียน ส้ม เงาะ มะพร้าว เป็นต้น เมื่อผลไม้สุกได้ที่ก็จะนำผลไม้ไปขายโดยจะต้องพายเรือผ่านกุฏิหลวงปู่ที่ตั้งอยู่หน้าวัดหันหน้าเข้าหาคลอง แม้หลวงปู่จะไม่อยู่ที่กุฏิ ชาวบ้านก็นิยมวักน้ำใส่หัวเรือพลางยกมือไหว้ขอให้ขายดี  ใครที่กระทำอย่างนั้นส่วนมากจะขายดีจริงๆ ส่วนใครที่ไม่ได้ทำหรือลืมกระทำเล่าลือกันว่าผลไม้ต่างๆจะขายไม่ค่อยดี ความเชื่อนี้ยังมีคนปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ใครที่บนบานอะไรไว้มักจะไม่ผิดหวัง ในแต่ละเดือนจึงมีลิเกมาแสดงแก้บนให้เห็นอยู่ตลอดปี แต่สิ่งหนึ่งที่หลวงปู่ไม่รับบนคือการเกณฑ์ทหาร หากใครไม่อยากเป็นทหารมาบนกับหลวงปู่มักจะจับได้ใบแดงได้เป็นทหารกันทุกคน
              วัดมัชฌันติการาม มีฐานะป็นวัดราษฎร์ หน้าวัดติดกับคลองบางเขนใหม่โดยมีซอยวงศ์สว่าง 11 ผ่านเขตแยกวัดกับโรงเรียนวัดมัชฌันติการามอยู่คนละฝั่งซอย เลขที่วัด 102 วัดมัชฌันติการาม ถนนวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 

              เจ้าจอมมารดาเที่ยง ผู้ได้ให้การอุปถัมภ์ในการสร้างวัด เริ่มต้นนั้นไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด มีผู้สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เจ้าจอมมารดาเที่ยง เจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ 4 ทรงเข้ามาอุปถัมภ์ในปีพุทธศักราช 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “วัดมัชฌันติการาม”เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่เจ้าจอมมารดาเที่ยง ผู้ทรงอุปถัมภ์ต่อการสร้างวัด คำว่า “มัชฌันติก” ตามภาษาบาลีแปลว่า “เวลาเที่ยงวัน” คนสร้างวัดและอุปถัมภ์วัดชื่อเที่ยงซึ่งเป็นเจ้าจอมคนทั่วไปจึงนิยมเรียกว่า “วัดน้อย”สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงรับเป็นพระธุระในการผูกพัทธสีมาในปีพุทธศักราช 2417 ส่วน "วัดหลวง" ที่เชื่อกันว่าสร้างในยุคเดียวกันกับวัดน้อย ที่อยู่ซอยถัดไปปัจจุบันกลายเป็นวัดร้างไปแล้ว เหลือไว้แต่ชื่อซอยคือ "ซอยวัดหลวง"
              งานประจำปีเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554 ภาคเช้านิมนต์พระเถรานุเถระมาสวดพุทธมนต์ บังสุกุล ทำบุญอุทิศให้แก่บูรพาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้ว จากนั้นถวายภัตตาหารเพลแก่พระภิกษุสามเณรทั้งวัด พิธีเสร็จสิ้นในภาคบ่าย
              พอตกตอนเย็นจะเป็นงานบันเทิงมีทุกอย่างเท่าที่เคยมีมาในอดีต มีเวทีแสดงดนตรีหน้าศาลาการเปรียญ มีการตักบาตรร้อยแปด ถวายสังฆทาน ซื้อโลงศพถวายศพไร้ญาติ ซื้อกระเบื้องมุงหลังคาศาลา สอยดาว ชิงช้าสวรรค์ และอีกจิปาถะที่งานวัดควรจะมี ฯลฯ ส่วนสำคัญของงานคือการปิดทองรูปเหมือนหลวงปู่อ่อน ญาณเตโช  


ศาลาการเปรียญที่กำลังก่อสร้าง

              บริเวณรอบวัดจึงคราคร่ำไปด้วยผู้ด้วยที่มาเที่ยวงานประจำปีของวัด บางวันมีวงดนตรีชื่อดังมาแสดงให้ดูด้วย ในแต่ละวันจึงมีเสียงอึกทึกครึกโครมเสียงโฆษณาประชาสัมพันธ์ เสียงเพลงจากร้านค้าต่างๆ ข้างๆกุฏิเจ้าอาวาสยังมีเวทีหมอลำซิ่งอีกต่างหาก เรียกว่าบรรเลงกันเต็มที่ไปจนถึงเวลาเที่ยงคืนงานจะจึงเลิก หลังเที่ยงคืนทุกอย่างจึงกลับคืนสู่ความสงบอีกครั้ง ปีหนึ่งมีงานครั้งเดียวทุกคนจึงได้เที่ยวงานวัดอย่างเต็มที่ มนุษย์นั้นหากเป็นคนดีจริง แม้จะเสียชีวิตไปแล้วเป็นร้อยปีก็ยังมีคนระลึกถึง ตรงกันข้ามกับคนชั่วคนเลว บางคนตายไปยังไม่ถึงปีผู้คนก็ลืมชื่อกันแล้ว 
              ใครจะมาร่วมงานประจำปีของวัดมัชฌันติการาม ก็เชิญได้ตามสะดวก งานมีถึง 9 วัน 9 คืน วันสุดท้าย(18 กุมภาพันธ์)มีการหล่อพระประธานเพื่อประดิษฐานที่ศาลาการเปรียญหลังใหม่ที่กำลังก่อสร้าง ใครจะมาร่วมสร้างพระหล่อพระประธานเป็นสมบัติฝากไว้ในพระพุทธศาสนาขอเชิญได้

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
วัดมัชฌันติการาม
12/02/54


รายนามเจ้าอาวาสมัชฌันติการามจากอดีตถึงปัจจุบัน

              1.พระครูธรรมสารวิจิตร (หลวงปู่อ่อน ญาณเตโช) พ.ศ.2440 - 2457
              2.พระอาจารย์กล่อม พ.ศ.2458 – 2460
              3.พระอาจารย์สำราญ พ.ศ.2461 – 2464
              4.หลวงตาอินทร์ พ.ศ.2465 – 2468
              5.พระครูชม (มาจากวัดราชบพิธ) พ.ศ.2469 – 2475
              6.พระอาจารย์คำภา พ.ศ.2476 – 2486
              7.พระครูวิจิตรธรรมสาร (วิสุธรรม จนฺทสาโร น.ธ.โท,ป.ธ.4) พ.ศ.2487 – 2540
              อีกรูปหนึ่งแม้จะไม่ได้เป็นเจ้าอาวาส แต่ก็มีคนรู้จักและเคารพมากคือหลวงตาพันธ์  อาจาโร มีอายุเกือบร้อยปี มรณภาพวันที่ 9 สิงหาคม 2548 สิริรวมอายุได้ 94 ปี 10 เดือน 21 วันมีรูปหล่อเคียงข้างกับพระครูวิจิตรธรรมสารภายในพระอุโบสถ 
              8.พระครูธีรสารปริยัติคุณ (เดช กตปุญโญ น.ธ.เอก,ป.ธ.3,ศน.บ.M.A.,Ph.D) พ.ศ.2540 - ปัจจุบัน

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก