ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

            ในโลกออนไลน์คงมีหลายคนที่เคยเห็นและคุ้ยเคยกับคำเหล่านี้เช่น“ชิมิๆ มักๆ หุๆ ห้าๆ เป็นต้น” คำบางคำมีใช้เฉพาะกลุ่ม คนบางกลุ่มอาจฟังไม่รู้เรื่องหรืออาจตีความหมายไปในทางอื่นก็ได้ แต่ในกลุ่มแล้วพวกเขาเข้าใจความหมาย แม้แต่ในทางการเมืองสมัยหนึ่งก็พยายามที่จะใช้คำว่า “เหวง”มาใช้ในความหมายว่า “พูดไม่รู้เรื่อง”แต่คำนี้ไม่ติดปากประชาชน ในที่สุดก็ต้องหายไป ภาษาพูดก็เหมือนกับมนุษย์นั่นแหละมีเกิดมีตายเหมือนกัน 


            ปกติก็ไม่ค่อยได้ฟังเพลงอยู่แล้ว วันหนึ่งมีคนส่งเพลง “ชิมิ” ของนักร้องสาวกลุ่มหนึ่งมาให้ พร้อมกับขอความเห็นว่า คำว่า “ชิมิๆ”มันหมายถึงอะไร เป็นคำมาจากภาษาอะไร สงสัยจะกลายเป็นคนตกรุ่นไปนานแล้ว เพราะต้องยอมรับว่าพึ่งเคยฟังเพลงนี้จบครั้งแรก ส่วนมากหากได้ยินจากโทรทัศน์ก็จะเปลี่ยนไปช่องอื่น ชีวิตเราเลือกได้ไม่ชอบก็ไม่ฟัง แต่วันนี้เปิดฟังหลายรอบ จึงพอจะคาดคะเนได้ว่า คำว่า “ชิมิ” ในเพลงของวัยรุ่นกลุ่มนี้น่าจะหมายถึง “ใช่ไหม”เป็นคำถามเพื่อให้เกิดความแน่ใจเช่นเนื้อร้องตอนหนึ่งว่า “เธอเข้ามาทักเพราะเห็นว่าน่ารัก…ชิมิๆ  ทำถามว่ากี่โมงอยากได้เบอร์โทร...ชิมิๆ แล้วถามว่าเรียนกี่โมงอยากตามไปส่ง...ซิมิๆ” 

 

            ความหมายที่ต้องการสื่อคงใช้ในความหมายว่า “ใช่ไหม”นั่นเอง เด็กๆเขามีคำพูดที่ใช้ในกลุ่มของพวกเขา แต่นักวิชาการด้านภาษาคงไม่เห็นด้วย เพราะทำให้ภาษาเพี้ยน ภาษานั้นหากจะเปลี่ยนแปลงต้องเปลี่ยนอย่างมีหลักการ จึงจะกลายเป็นความงอกงาม แต่หลักการอะไร งอกงามอย่างไรนั้นก็ต้องมาตีความกันอีกที ส่วนมากมักจะเป็นไปตามความเห็นนักวิชาการด้านภาษาหรือความเห็นของราชบัณฑิตยสภา
            ศัพท์บัญญัติทางคอมพิวเตอร์ที่ราชบัณฑิตยสภา บัญญัติไว้บางคำก็ไม่เป็นที่นิยมเหมือนกัน เช่นคำภาษาอังกฤษว่า “Hard Ware” บัญญัติว่า “กระด้างภัณฑ์”   “Soft Ware” บัญญัติว่า “ลมุลภัณฑ์” เป็นต้น สองคำนี้แทบค่อยจะไม่มีใครนำมาใช้ ส่วนมากจะใช้คำตามภาษาอังกฤษคือ “ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์” หากใครที่ใช้ตามที่ราชบัณฑิตยสภาบัญญัติไว้ก็ต้องบอกว่าเป็นคนที่เคร่งครัดตามหลักการของภาษามากคนหนึ่ง 
            สมัยหนึ่งก็เคยค้านคำว่า “เดี้ยน” ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า “ดิฉัน” พอพูดเร็วๆก็จะฟังเป็น “เดี้ยน” พอนานๆเข้าก็เห็นมีใช้กันทั่วไปแล้ว 

            ผู้เขียนเห็นว่าภาษานั้นต้องมีการเปลี่ยนแปลง หากไม่เปลี่ยนแปลงเลยภาษาก็จะตายเช่นภาษาไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหง คำว่า “กู” เป็นคำสุภาพใช้พูดกันทั่วไป แต่พอมาถึงสมัยปัจจุบันกลายเป็นคำหยาบต้องเปลี่ยนใหม่เป็น “ผม กระผม ข้าพเจ้า” เป็นต้น ในภาษาอังกฤษใช้คำเดียวคือ “I”ภาษาบาลีก็ใช้คำเดียวคือ “อหํ หรือ อหัง หรือ Aham”ใช้เป็นประธานในประโยคซึ่งมาจากรากศัพท์เดิมว่า “อมฺห” มีแต่หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธแห่งวัดบ้านไร่ โคราช ที่ใช้คำว่า “กู”จนติดปาก และท่านก็ใช้กับทุกคน จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว วันไหนที่ได้ยินหลวงพ่อคูณพูดว่า “ผมหรืออาตมา” กับใครวันนั้นต้องมีความผิดปกติเป็นแน่ คนรอบข้างต้องระวังให้ดี
            พยายามค้นหาความหมายในอินเทอร์เน็ตว่ามันหมายถึงอะไรกันแน่ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยังไม่ได้บัญญัติคำนี้ไว้ มีเพียงคำที่คิดว่าใกล้เคียงคือใช่ ซึ่งอธิบายไว้ว่า “ใช่ ว. คํารับรองแสดงว่า เป็นเช่นนั้น, เป็นอย่างนั้น, ถูก, แน่; บางทีก็ใช้เป็นคําปฏิเสธหมายความว่า ไม่ใช่ เช่น ใช่คน ใช่สัตว์ ใช่ว่า” 

            แต่คำว่า “ใช่ไหม” สื่อไปในทางขอความเห็นหรือคำถามเหมือนกับคำว่า “ใช่หรือไม่” คำตอบที่เกิดจากคำถาม “ใช่หรือไม่” มักจะสื่อไปในทางเห็นด้วย เมื่อเด็กรุ่นใหม่นำมาใช้ ทำให้เสียงเพี้ยนไปว่า “ชิมิ” จึงน่าจะสื่อความหมายไปในทางถามเพื่อยืนยันว่าสิ่งที่ตนพูดหรือคิดนั้นมีคนเห็นด้วย

            ภาษาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัย เช่นภาษาบาลีที่ถือว่าเป็นภาษาที่ใช้จารึกคำสอนของพระพุทธศาสนา คำบางคำไม่มีใช้ในสมัยนั้น พอมาถึงยุคปัจจุบันก็ต้องบัญญัติศัพท์ขึ้นมาใช้แทนเช่น “เครื่องคอมพิวเตอร์” ก็มีผู้บัญญัติว่า “วิเสสมุทธายันตัง”แปลตามความหมายของคำศัพท์ว่า “เครื่องยนต์ที่มีสมองอันเลิศวิเศษ” เครื่องโทรศัพท์ ใช้คำว่า “ทูรสทฺทสวนยนฺตํ”แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องยนต์ที่ได้ยินเสียงในระยะไกล” เป็นต้น บัญญัติตามความหมาย ส่วนจะเป็นที่นิยมหรือไม่นั้น ภาษาที่บัญญัติใหม่ก็ไม่ได้เสียหายแต่ประการใด
            ภาษาจึงเป็นเครื่องแสดงถึงความสัมพันธ์ของคนในสังคม หากสังคมใดยังคงพูดภาษาเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง ก็จะจำกัดวงอยู่เฉพาะสังคมนั้นๆ โลกยุคปัจจุบันอย่างน้อยต้องรู้สามภาษาคือภาษาของตนเอง ภาษาคอมพิวเตอร์และภาษาสากล(อาจะเป็นภาษาอะไรก็ได้ที่สากลเขาใช้กันเช่น อังกฤษ จีน สเปน เป็นต้น) และภาษาที่ควรรับฟังอีกภาษาหนึ่งคือภาษาวัยรุ่น จะได้ไม่เป็นคนตกยุค ครอบครัวบางแห่งพูดกันไม่รู้เรื่องเพราะไม่เข้าใจภาษาของวัยรุ่นนี่เอง 

            ภาษานั้นต้องมีหลักภาษาของแต่ละภาษาไว้เพื่อเป็นแบบหรือมาตรฐานในการใช้คำแต่ละคำ แต่ภาษาพูดบางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามกฎของหลักภาษาเสมอไป ผ่านไปสักระยะหนึ่งหากคำที่ใช้พูดกันสามารถสื่อความหมายเป็นที่เข้าใจกันได้ก็ปล่อยให้ภาษาทำหน้าที่เป็นสื่อของสังคมต่อไป หากคนไม่นิยมภาษานั้นก็จะตายและหายไปเอง  ชิมิ ๆๆๆๆ 
 

 

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
12/12/53

 

ฟังเพลง "ชิมิ"

{youtube}48ngcA05GrI&feature=related{/youtube}

 

 

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก