ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

                ความสุขความทุกข์ของมนุษย์ส่วนหนึ่งมาจากการหมกมุ่นในสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากจนเกินไป  แม้ว่าความรู้ทางโลกจะเป็นสิ่งที่ควรศึกษาค้นคว้าเพื่อให้เกิดสติปัญญา แต่ทว่าบางเรื่องยิ่งศึกษายิ่งสับสน ยิ่งค้นหายิ่งเจอทางตัน อย่างเช่นความรู้เรื่องโลกนี้ โลกหน้า มนุษย์ต่างดาว เป็นต้น มนุษย์ศึกษาเรื่องเหล่านี้มาหลายพันปีแล้ว แต่ก็ยังหาบทสรุปที่แท้จริงไม่ได้ว่า มนุษย์ต่างดาวมีอยู่จริงหรือไม่ จะมายึดครองโลกเราจริงหรือไม่ ทฤษฎีบางอย่าสงนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ที่ดูน่าสะพรึงกลัว 


                สตีเฟ่น ฮอว์กิง นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ชื่อดังได้บรรยายพิเศษเรื่อง “ทำไมเราจึงต้องเดินทางสู่อวกาศ” (Why We Should Go Into Space) เมื่อวันที่ 21 เม.ย.51 ณ มหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน (George Washington University) กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.สหรัฐอเมริกา เนื่องในโอกาสครบรอบ 50ปี ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ หรือนาซา (NASA)สรุปได้ว่าเขา (ฮอว์กิง) เชื่อว่า “มนุษย์ต่างดาวทรงภูมิปัญญามีอยู่จริง และอาจกำลังร่อนเร่พเนจรอยู่ในจักรวาล เพื่อหาอาณานิคมแห่งใหม่ เตือนมนุษย์โลกให้ระวังอันตรายจากสิ่งมีชีวิตนอกโลก เพราะอาจจบไม่สวย เหมือนชนพื้นเมืองอเมริกันเมื่อครั้งโคลัมบัสขึ้นฝั่งที่อเมริกา เขาเปรียบการสำรวจอวกาศเหมือนโคลัมบัสเดินทางหาโลกใหม่ ที่ไม่รู้ว่าจะมีจริงหรือไม่ เชื่อสิ่งมีชีวิตต่างดาวน่าจะมีอยู่จริง แต่เป็นสัตว์ชั้นต่ำขนาดเล็ก แถมอาจเป็นตัวการนำโรคร้ายมาสู่คน ส่วนที่ทรงภูมิปัญญานั้นไม่น่ามีที่ไหนอีกนอกจากโลกของเราแห่งนี้เพียงที่เดียว”  เรื่องของมนุษย์ต่างดาวเป็นปัญหามานานแล้ว  แม้ปัจจุบันก็ยังมีปัญหาไม่จบ คนที่เชื่อตามฮอว์กิงอาจต้องแบกโลกนี้รวมทั้งโลกของมนุษย์ต่างดาวไว้บนบ่าแห่งความคิดซึ่งจะเพิ่มความหนักเป็นทวีคูณ

 

                ในพระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงเรื่องนอกโลกไว้มากมาย แต่ไม่เคยกล่าวถึงมนุษย์ต่างดาว แต่หากจะเทียบกับมนุษย์ต่างดาวน่าจะเทียบได้กับสัตว์ในโลกอื่นเช่นเทวดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ เปรต อสูรกาย แต่พระพุทธศาสนายังถือว่าสัตว์เหล่านี้อยู่ร่วมโลกกับโลกของเรา แม้เทวดาจะมีโลกของเขาแต่ก็ยังติดต่อสื่อสารกับมนุษย์ได้ 
                ดังจะเห็นได้ว่าในสังยุตตนิกาย สคาถวรรค จะมีเรื่องของเทวดาจำนวนมากที่มาถามปัญหากับพระพุทธเจ้า บางครั้งก็เป็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของโลกดังที่ปรากฎในจิตตสูตร(15/180/46) ครั้งหนึ่งเทวดาทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “โลกอันอะไรย่อมนำไป อันอะไรหนอย่อมเสือกไสไป โลกทั้งหมดเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคืออะไร พระพุทธเจ้าได้ตรัสตอบเทวดานั้นไปว่า “โลกอันจิตย่อมนำไป อันจิตย่อมเสือกไสไป โลกทั้งหมดเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคือจิต 
                ในโลกสูตร (15/180/46) เทวดาทูลถามว่า  “เมื่ออะไรเกิดขึ้น โลกจึงเกิดขึ้น โลกย่อมชมเชยในอะไรโลกยึดถือซึ่งอะไร โลกย่อมเดือดร้อนเพราะอะไร 
                พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เมื่ออายตนะหกเกิดขึ้น โลกจึงเกิดขึ้น โลกย่อมทำความชมเชยในอายตนะ หกโลกยึดถืออายตนะหกนั่นแหละโลกย่อมเดือดร้อนเพราะอายตนะหก” โลกตามทัศนะในพระสูตรนี้เป็นโลกภายในมนุษย์เองคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดขึ้นเมื่อกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส  โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์    

             แม้แต่ภิกษุก็ยังสงสัยเรื่องโลกสอบถามเรื่องกับพระพุทธเจ้าดังที่มีปรากฏในโลกสูตร สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค (18/98/51)  ความว่าครั้งหนึ่งมีภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า "โลก โลก" นั้น ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล จึงเรียกว่า "โลก" พระเจ้าข้า 
                พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่าโลก เพราะจะต้องแตกสลาย อะไรเล่าแตกสลาย ดูกรภิกษุ จักษุแลแตกสลาย รูปแตกสลาย จักษุวิญญาณแตกสลาย จักษุสัมผัสแตกสลาย สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยแตกสลาย ฯลฯ ใจแตกสลาย ธรรมารมณ์  มโนวิญญาณ มโนสัมผัสแตกสลาย สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข  เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็แตกสลาย ดูกรภิกษุที่เรียกว่าโลก เพราะจะต้องแตกสลาย ฉะนี้ 
                พระพุทธเจ้าได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้แจ้งโลกดังที่แสดงไว้ในในโลกสูตร อังคุตรนิกาย จตุกกนิบาต (21/23/23) ความว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกตถาคตตรัสรู้แล้ว ตถาคตพรากจากโลกแล้ว เหตุเกิดแห่งโลกตถาคตตรัสรู้แล้ว เหตุเกิดแห่งโลกตถาคตละได้แล้ว ความดับแห่งโลกตถาคตตรัสรู้แล้ว ความดับแห่งโลกตถาคตกระทำให้แจ้งแล้วปฏิปทาอันยังสัตว์ให้ถึงความดับแห่งโลก ตถาคตตรัสรู้แล้ว ปฏิปทาอันยังสัตว์ให้ถึงความดับแห่งโลกตถาคตให้เจริญแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปารมณ์ที่เห็นด้วยจักษุ สัททารมณ์ที่ฟังด้วยหู คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ที่รู้ได้ด้วยทวารนั้นๆ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจของโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลกพรหมโลก ของหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ตถาคตได้บรรลุแล้ว เสาะแสวงหาแล้ว ค้นคว้าแล้วด้วยใจ ตถาคตตรัสรู้รูปารมณ์ที่เห็นได้ด้วยจักษุเป็นต้นนั้นโดยชอบ เพราะฉะนั้นโลกจึงเรียกว่า "ตถาคต"

 

                เรื่องของโลกหากศึกษามากๆเข้าจะเกิดยึดมั่นถือมั่น เหมือนที่สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง บอกว่าให้มนุษยโลกระวังเรื่องมนุษย์ต่างดาว อีกไม่นานเขาอาจมายึดโลกไว้ก็ได้ แต่เรื่องนี้แม้จะเป็นเรื่องจริงก็ไม่น่ากลัวแต่อย่างใด เพราะถึงแม้มนุษย์จากต่างดาวจะไม่มายึดครองโลก คนในโลกนี้ก็พยายามยึดครองอยู่แล้ว โลกนี้มีความแปรปรวน มีความเปลี่ยนแปลงตามธรรมดาอยู่แล้ว ถึงหากแม้ไม่มีมนุษย์อยู่โลกก็ยังเปลี่ยนแปลงด้วยตัวมันตลอดเวลาตามธรรมชาติ ผู้ที่เข้าใจโลก รู้ธรรมชาติของโลกตามความเป็นจริงก็จะไม่ทุกข์ เพราะการแบกโลกไว้เป็นทุกข์ มนุษย์ส่วนหนึ่งมักจะเป็นทุกข์เพราะแบกโลก และโศกเพราะแบกรักนี่เอง
                พระพุทธเจ้าสรุปไว้ในโลกสูตรว่า “ ผู้ใดรู้ยิ่งแล้วซึ่งโลกทั้งปวง รู้ตามเป็นจริงในโลกทั้งปวง พรากไปจากโลกทั้งปวง ไม่มีกิเลสนอนเนื่องในสันดานในโลกทั้งปวง ผู้นั้นแล เป็นธีรชนผู้ครอบงำอารมณ์ทั้งปวงได้ ปลด เปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งมวลเสียได้ เป็นผู้ถูกต้อง นิพพานอันมีความสงบอย่างยิ่ง ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ ผู้นี้เป็นพระขีณาสพผู้รู้แล้ว ไม่มีทุกข์ ตัดความสงสัยได้แล้ว ถึงความสิ้นไปแห่งกรรมทั้งปวง เป็นผู้หลุดพ้นเพราะความสิ้นไปแห่งอุปธิ บุคคลนี้เป็นผู้มีโชค เป็นพุทธะ”คำว่าพุทธะในที่นี้หมายถึงผู้รู้

                พระพุทธศาสนาไม่ขัดแย้งกับโลก พระพุทธเจ้ายืนยันว่าแม้พระพุทธองค์ก็ไม่ขัดแย้งกับโลกดังที่ปรากฎในปุปผสูตร สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค (17/239/133) ความว่า  “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่ขัดแย้งกับโลก แต่โลกย่อมขัดแย้งกับเรา ผู้กล่าวเป็นธรรมย่อมไม่ขัดแย้งกับใครๆ ในโลก สิ่งใดที่บัณฑิตในโลกสมมติว่า ไม่มี แม้เราก็กล่าวสิ่งนั้นว่า ไม่มี สิ่งใดที่บัณฑิตในโลก สมมติว่า มี แม้เราก็กล่าวสิ่งนั้นว่ามี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบลก็ดี ปทุมก็ดี บุณฑริกก็ดี เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ ขึ้นพ้นจากน้ำตั้งอยู่ แต่น้ำไม่ติด แม้ฉันใด พระตถาคตเกิดแล้วในโลก เจริญแล้วในโลก ย่อมครอบงำโลกอยู่ แต่โลกฉาบทาไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกันแล”
                ความรู้เรื่องโลกเป็นที่เข้าใจยากจงเรียนรู้โลกแต่อย่าจริงจังกับโลกจนเกินไป จงเป็นเพียงรับรู้แต่อย่ายึดมั่น เพราะอุปาทานความยึดมั่นเป็นความทุกข์ ส่วนอนุปาทานหรือการปล่อยวางเป็นความสุข ผู้ที่ยึดมั่นกับโลกมากเกินไปอาจเรียกได้ว่ากำลังแบกโลกไว้บนบ่ามีแต่จะหนักและเป็นทุกข์เพราะการแบกนั้น

                อยู่ในโลกไม่ขัดแย้งกับโลก ไม่แบกโลก ไม่จริงจังกับโลกมากเกินไปก็ไม่มีทุกข์ เหมือนดอกบัวที่เกิดจากโคลนตมแต่ไม่ติดในโคลนตม ปล่อยให้โลกเป็นไปตามธรรมชาติของโลกเถิด หากมนุษย์จากต่างดาวมาในช่วงที่เรายังมีชีวิตอยู่อาจจะกลายเป็นมิตรร่วมพัฒนามนุษยโลกก็ได้ ถึงวันนั้นเราคงวางโลกไม่ได้แบกโลกแล้ว

 

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
15/09/53

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก