ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

       ช่วงวิกฤตโควิดที่กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลก แม้จะพยายามติดตามข่าวให้น้อยลง พยามยามที่จะไม่คิด ปล่อยให้เจ้าโรคนี้มันผ่านไป แต่มันก็ยังอดคิดไม่ค่อยได้ พยามยามหยุดคิดแต่ไม่นานก็มีเรื่องให้ต้องคิดขึ้นมาอีก บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่เป็นไปเพื่อความเจริญ แต่บางเรื่องมักจะนำเราดิ่งลงสู่ห้วงเหวแห่งความหม่นมัว  ธรรมชาติของจิตคือการรับรู้อารมณ์และปรุงแต่งตามอารมณ์ที่มากระทบ จิตใจมันคิดไปเรื่อย เวลาจะหาความสงบโดยการหยุดคิด ดูเหมือนจะง่ายก็แค่เลิกคิดก็น่าจะจบ แต่เรื่องของจิตใจเรื่องของการคิดไม่ได้ง่ายอย่างนั้น เพราะธรรมชาติของจิตคือการคิด หยุดนิ่งไม่ค่อยได้ พอมีอะไรมากระทบก็มักจะนำมาปรุงแต่งต่อ ถ้าเป็นเรื่องที่เป็นไปในทางบวกก็ดีไป จิตใจก็พลอยอิ่มเอิบ ผ่องใสส่งผลไปถึงหน้าหน้าที่แจ่มใส รอยยิ้มที่เบิกบาน อารมณ์ที่ผ่องแผ้ว ถ้าถ้าเป็นเรื่องในทางลบ ผลที่ตามมายากจะคาดเดา เพราะบางคนคุมความคิดตัวเองไม่ได้ ถึงขั้นลงมือกระทการที่อาจจะส่งผลเสียให้กับตนเองและสังคมรอบข้างด้วย 
       การคิด การดำริ การตรึก มีอยู่สามทางคือคิดไปในทางดี คิดไปในทางร้าย และการการคิดที่เป็นกลางๆ คือไม่ดีและไม่ร้าย คนส่วนมากมักจะมีความคิดอยู่สองทางคือถ้าไม่คิดดีก็คิดร้าย แต่ก็ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่ยังแยกไม่ออกว่าการคิดที่ตนกำลังคิดอยู่นั้นคิดไปในดีหรือคิดไปในทางร้ายหรือไม่คิดทั้งสองด้าน 
       ถ้าคิดไปในทางร้ายเรียกว่า “อกุศลวิตก”ได้แก่การคิดไม่ดี คิดร้ายคิดไปในทางที่นำไปสู่ความโง่ที่เรียกว่าการคิดที่เป็นอกุศลวิตก ตามที่ปรากฏในวิตกกสูตร อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต (22/380) ความว่า“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม สามประการนี้ คือ กามวิตก  พยาบาทวิตก  วิหิงสาวิตก ธรรมสามประการ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละ”
 
       มีคำอธิบายในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ไว้ว่า  อกุศลวิตกหมายถึงความตรึกที่เป็นอกุศล, ความนึกคิดที่ไม่ดีได้แก่  (1) กามวิตก คือความตรึกในทางกาม, ความนึกคิดในทางแส่หาหรือพัวพันติดข้องในสิ่งสนองความอยาก   (2) พยาบาทวิตก คือความตรึกในทางพยาบาท, ความนึกคิดที่ประกอบด้วยความขัดเคืองเพ่งมองในแง่ร้าย และ (3)  วิหิงสาวิตก คือความตรึกในทางเบียดเบียน, ความนึกคิดในทางทำลาย ทำร้ายหรือก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น 
       หากพิจารณาตามหลักการนี้ การไม่คิดอยากได้ ไม่คิดพยาบาทปองร้ายคนอื่น ไม่คิดเบียดเบียนคนอื่น ไม่น่าจะยาก ก็แค่ไม่คิดเท่านั้นก็น่าจะจบ แต่ตามธรรมชาติของจิตเรามักจะห้ามความคิดไม่ได้ มันมักจะคอยสาดส่ายไปมาหาเรื่องคิดจนได้ 
       ส่วนการคิด การวิตกในทางที่ดี เป็นทางปฏิบัติที่สำคัญข้อหนึ่งในองค์แห่งอริยมรรค เรียกว่า “สัมมาสังกัปปะ” หมายถึง การดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป ทั้งสามอย่างนี้เป็นความคิดที่ควรเจริญให้มาก  ดังที่แสดงไว้ในวิกตกสูตร อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต (22/380) ความว่า ”ธรรมสามประการเหล่านี้ คือ (1) เนกขัมมวิตก  อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละกามวิตก (2) อัพยาบาทวิตก  อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละพยาบาทวิตก (3) อวิหิงสาวิตก อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละวิหิงสาวิตก ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรม สามประการนี้ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละธรรมสามประการนี้แล”
 
       มีคำอธิบายในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ไว้ว่า (1) เนกขัมมวิตก คือความตรึกปลอดจากกาม, ความนึกคิดในทางเสียสละ ไม่ติดในการปรนปรือสนองความอยากของตน (2)อพยาบาทวิตก คือความตรึกปลอดจากพยาบาท, ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ขัดเคืองหรือเพ่งมองในแง่ร้าย และ(3) อวิหิงสาวิตก คือความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน, ความนึกคิดที่ประกอบด้วยกรุณาไม่คิดร้ายหรือมุ่งทำลาย
       การคิดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทุกขณะจิตถ้าคิดดีเรียกว่า “กุศลวิตก” ส่วนการคิดร้ายเรียกว่า “อกุศลวิตก” เมื่อความตรึกความวิตกความคิดเรื่องของกามเข้ามาในจิตท่านให้คิดในมุมกลับคิดไปในทางแห่งวิถีของการเสียสละวิถีของความเพียงพอ แค่ “พอ” คำเดียวก็สามารถบรรเทาเรื่องของความอยากได้บ้างแล้ว
       เมื่อความคิดเกี่ยวกับความพยาบาทปองร้ายคนอื่น ความนึกคิดนี้ทำให้เกิดความขัดเคืองเพ่งมองในแง่ร้าย เกิดขึ้นก็ให้คิดถึงเมตตาธรรม มองอะไรให้เป็นไปในทางดี ปรารถนาให้คนอื่นมีความสุข เรื่องราวต่างๆของแต่ละคนนั้น เราไปห้ามคนอื่นไม่ได้ แต่เราสามารถห้ามใจตนเองได้
       เมื่อวิหิงสาคือความนึกคิดในทางทำลาย ทำร้ายหรือก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นเกิดขึ้น  ก็ให้คิดถึง “กรุณาธรรม” คิดถึงการอยากให้คนอื่นพ้นทุกข์ คิดถึงความเป็นไปของโลก ธรรมดาของสัตว์โลกที่เกิด แก่ เจ็บตายด้วยกัน จะไปโกรธ อาฆาตพยาบาทปองร้ายเข้าให้จิตเศร้าหมองทำไม 
 
       การคิดที่ไม่มีกรอบ การคิดที่อาจจะส่งผลให้เกิดความวุ่นวาย การคิดที่เป็นสิ่งที่ปรุงแต่งใจให้ตกลงไปในทางลบ เรียกว่า “อุทธัจจะ” หมายถึงความฟุ้งซ่าน ความคิดพล่าน เรียกอีกอย่างหนึ่งสังโยชน์ (11/285/) เป็นกิเลสอันผูกใจสัตว์ ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล เป็น “อุทธัมภาคิยสังโยชน์” คือสังโยชน์เบื้องบนอย่างหนึ่ง” 
       การกระทำของมนุษย์มาจากความคิด ถ้าคิดไปในทางที่ดีมีประโยชน์ สิ่งที่จะเกิดตามมาคือจะทำให่สิ่งที่ดีมีประโยชน์ แต่ถ้าคิดในทางร้าย ผลที่เกิดจากการคิกคือการทำลาย บางคนถึงกับลงไม้ลงมือกระทำการเพียงเพราะความคิดชั่ววูบ ยิ่งในสภาวะที่โลกกำลังเผชิญกับปัญหารอบด้านทั้งจากการระบาดของเชื้อโควิดมำให้การทำงานลำบาก บางคนตกงาน บางคนไม่มีอะไรจะกิน ก็ต้องคิดหาทางเอาตัวรอดให้ได้ก่อน เพราะเราคงช่วยคนทั้งโลกไม่ได้ แต่เราช่วยเหลือตัวเราได้ จนกว่าวิกฤตการณ์จะผ่านไป ธรรมดาสิ่งใดเกิดขึ้นได้ สิ่งนั้นก็จะต้องดับไปได้คงอีกไม่นาน จะคิดด้านดีหรือคิดด้านร้ายหรือเลือกที่จะไม่คิดอยู่ที่ตัวเราเอง
 
 
พระมหาบุญไทย   ปุญญมโน
17/06/63 
 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก