ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

          ใครที่เคยเรียนนักธรรม ธรรมศึกษาหรือบาลีไวยากรณ์จะต้องรู้จัก สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เพราะหนังสือสรรพตำราทั้งหลายจะปรากฏชื่อผู้ประพันธ์ซึ่งตำราในสมัยก่อนส่วนมากจะจัดพิมพ์ในนามมหามกุฏราชวิทยาลัย ตำราเรียนนักธรรมและบาลีส่วนหนึ่งมาจากบทประพันธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แม้ว่าการศึกษาทางโลกจะมีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด แต่ตำรานักธรรม บาลีแม้จะผ่านมาเกือบร้อยปีแล้ว ทว่าหลักสูตรบาลีแม้จะเปลี่ยนแปลงบ้างจากการสอบปากเปล่ามาเป็นการสอบข้อเขียนหรือหลักสูตรบางประโยคเปลี่ยนบ้างแต่ส่วนมากยังคงเดิม ส่วนหลักสูตรนักธรรมยังไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลง คณะสงฆ์ยังคงใช้หลักสูตรนักธรรมบาลีแบบเดิมที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงประพันธ์ไว้
 

          วันที่ 2 สิงหาคมได้รับนิมนต์ไปร่วมงานวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ปีที่ 90 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้รับแจกหนังสือมาหลายเล่มเช่นพระประวัติสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ พระประวัติตรัสเล่า  พระมหาสมณานุศาสน์ คำจารึกว่าด้วยลายลักษณะพระบาทที่เมืองสุโขทัย อ่านแล้วเพลิดเพลินมีความสุข แม้ว่าจะเป็นผลงานที่ผ่านมาเกือบร้อยปีแล้วก็ตาม แต่งานที่เป็นอมตะนั้นกาลเวลาไม่อาจจะทำให้คุณค่าเหือดหายไปเลย 

          สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  พระองค์สิ้นพระชนม์ในวันที่ 2 สิงหาคม 2464 หากนับถึงปัจจุบันคือปีพุทธศักราช 2554 ก็เป็นปีที่ 90 เนื่องในวันสิ้นพระชนม์ วัดบวรนิเวศวิหารได้บำเพ็ญกุศลถวายเป็นประจำทุกปี
          สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นพระราชโอรส องค์ที่ 47  ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และ เจ้าจอมมารดาแพ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 แรม 7 ค่ำ ปีวอก จุลศักราช 1221 ตรงกับวันที่ 12 เมษายน พุทธศักราช 2403 ณ ตำหนักหลัง พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานมุขหลัง ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันประสูตินั้นฝนตกใหญ่ พระบรมชนกนาถจึงทรงถือเป็นมงคลนิมิต พระราชทานนามว่า “พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ”
          เมื่อพระชนมายุ 14 พรรษา ทรงผนวชเป็นสามเณรตามพระราชประเพณี ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับเจ้านายอื่นอีกสองพระองค์ โดยมีสมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์
และหม่อมเจ้าพระธรรมุณหิศธาดา (มีพระนามเดิมว่า ศิขเรศ) เป็นผู้ประทานสรณะและศีล เมื่อทรงผนวชแล้วมาประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงผนวชเป็นสามเณรอยู่สองเดือนเศษ จึงทรงลาผนวช

 

          ครั้นพระชนมายุ 20 พรรษา ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2422 โดยมี สมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จันทรังสี)  วัดมกุฎกษัตริยาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ทรงได้รับพระนามฉายาว่า “มนุสฺสนาโค” ทรงผนวชแล้วเสด็จมาอยู่จำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
          หลังจากสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามสิ้นพระชนม์ เมื่อ พ.ศ. 2442 แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ไม่ทรงสถาปนาพระเถระรูปใดในตำแหน่งที่สมเด็จพระสังฆราช อีกจนตลอดรัชกาล ในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 จึงว่างสมเด็จพระสังฆราชอยู่เป็นเวลา 11 ปี พอถึงรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงถวายมหาสมณุตมาภิเษกแด่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระวชิรญาณวโรรส เป็น “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส”  กล่าวอย่างสามัญทั่วไปก็คือทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชนั่นเอง

 

          นี่เป็นพระประวัติย่อของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ผลงานที่พระองค์ทรงกระทำไว้นับเป็นคุณานุปการต่อคณะสงฆ์ที่ทำให้มีการเรียนนักธรรมบาลี โดยทรงประพันธ์ตำราเรียนไว้เป็นเบื้องต้น แต่ทว่าตำราเหล่านั้นยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน แม้จะมีนักวิชาการทางศาสนาพยายามเขียนตำราขึ้นมาใหม่ แต่เมื่อเกิดข้อสงสัยก็ยังต้องย้อนกลับไปอ่านจากตำราฉบับเดิม
หนังสือนวโกวาทพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงรจนาหัวข้อธรรมและวินัย เพื่อใช้เป็นแบบศึกษาพระธรรมวินัยของภิกษุนวกะผู้อุปสมบทใหม่ในระยะเวลาสามเดือน ในหมวดพระวินัยทรงรจนาตามใจความแห่งสิกขาบทในพระปาฏิโมกข์เรียกว่า “วินัยบัญญัติ” ในหมวดพระธรรมทรงเลือกหัวข้อธรรมแยกออกเป็นหมวดๆเรียกว่า “ธรรมวิภาค” อีกส่วนหนึ่งเรียกว่า “คิหิปฏิบัติ” ทรงรวบรวมเรียบเรียงไว้โดยย่อ เพื่อให้พอแก่เวลาที่ภิกษุใหม่บวชเพียงสามเดือน จะได้มีเวลาทันศึกษาได้ตลอดเล่มจึงทรงตั้งชื่อว่า “นวโกวาท” (ชื้น ยอดเศรณี,พระประวัติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ,กรุงเทพฯ:มหามกุฏราชวิทยาลัย,2553,หน้า184)
          หนังสือนวโกวาทเล่มนี้พิมพ์เป็นครั้งที่ 81 ในปีพุทธศักราช 2552 พิมพ์ครั้งละ 50000 เล่ม หากนับจำนวนเล่มคงเกินล้านเล่มไปแล้ว

 

          คณะสงฆ์ไทยแม้จะมีมหาวิทยาลัยสงฆ์คือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเป็นผลที่สืบเนื่องมาจากพระดำริของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสจากข้อความตอนหนึ่งในหนังสือพระประวัติสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ในการจัดตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัยตอนหนึ่งว่า “เพื่อจัดเป็นสถานศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมของภิกษุสามเณรอย่างหนึ่ง เพื่อจัดเป็นสถานที่เล่าเรียนในวิทยาการต่างๆเช่นหนังสือไทยและเลขสำหรับเด็กที่บิดามารดาหรือผู้ปกครองนำมาฝากไว้ในวัด เพื่อให้ได้รับการศึกษาเล่าเรียนอย่างหนึ่ง เพื่อเป็นสถานที่อบรมสั่งสอนและเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ประชาชนอีกอย่างหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้โปรดเกล้าให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นประธานจัดตั้งสถานที่เล่าเรียนของพระสงฆ์ธรรมยุติกนิกายขึ้นที่วัดบวรนิเวศวิหาร พระราชทานนามศึกษาสถานนี้ว่า “มหามกุฏราชวิทยาลัย”  และได้เปิดสถานศึกษาแห่งนี้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2436 มหามกุฏราชวิทยาลัยจึงเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของคณะสงฆ์ไทย (หน้า 99)
          สถานศึกษาแห่งนั้นปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เปิดสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอก และได้ย้ายจากวัดบวรนิเวศวิหารไปยังที่ตั้งใหม่อำเภอศาลายา จังหวัดนครปฐม มีวิทยาเขตในส่วนภูมิภาคอีก 7 วิทยาเขตและวิทยาลัยอีก 3 แห่ง

          ระยะเวลา 90 ปีแห่งวันสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส หากเป็นคนที่ไม่มีผลงานปรากฏไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาคงลืมเลือนไปนานแล้ว แต่เพราะนักศึกษาวิชานักธรรม บาลีที่ยังคงใช้ตำราที่พระองค์ทรงประพันธ์ไว้ นามของคนเงาของไม้ปรากฎให้เห็นจากผลงานที่ฝากไว้ในบรรณพิภพ ใครที่เขียนหนังสือฝากไว้นามนั้นยังคงอยู่ คนรุ่นหลังยังระลึกนึกถึง พระราชามหากษัตริย์หลายพระองค์ที่สวรรคตล่วงลับดับขันธ์ไป บางพระองค์คนก็ลืมเลือนพระนามไปแล้ว แต่นักประพันธ์ทั้งหลายที่มีผลงานทางด้านวรรณกรรม แม้จะสิ้นชีพไปนานนับพันปีก็ยังมีจดจำได้ หากเมื่อใดได้อ่านหนังสือที่ท่านเขียน
          วันนี้ขอน้อมรำลึกนึกถึงพร้อมทั้งก้มกราบถวายสักการบูชาในพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ที่ได้ทรงประพันธ์สรรพตำราทางพระพุทธศาสนาให้อนุชนคนรุ่นหลังได้ศึกษา แม้จะสิ้นพระชนม์ไปนานแล้วแต่ทว่าผลงานที่พระองค์ทรงประพันธ์ไว้นั้นไม่มีมีตาย

 

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
03/08/54

 

หนังสืออ้างอิง

 

ชื้น ยอดเศรณี,พระประวัติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ,กรุงเทพฯ:มหามกุฏราชวิทยาลัย,2553.

คณะสงฆ์ธรรมยุตและวัดบวรนิเวศวิหาร,พระประวัติตรัสเล่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ,กรุงเทพฯ:มหามกุฏราชวิทยาลัย,2553.
 

พระประวัติของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสศึกษาได้จาก
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13562

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก