การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดียในยุคใหม่ ผู้ที่ริเริ่มดำเนินการครั้งแรกแทนที่จะเป็นพระภิกษุกลับกลายเป็นชาวบ้านคนหนึ่ง ที่ไม่ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแต่ดำเนินวิถีชีวิตเหมือนพระภิกษุเรียกตัวเองว่าอนาคาริกหมายถึงผู้สละบ้านเรือนหรือผู้ไม่มีเรือนเป็นเหมือนนักบวช เขาคนนั้นคืออนาคาริกธรรมปาละชาวศรีลังกา บางครั้งการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอาจจะต้องเริ่มต้นที่ชาวบ้านซึ่งจัดเข้าในบริษัททั้งสี่ตามทัศนะของพระพุทธศาสนาคือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เพราะอนาคาริกธรรมปาละนี่เองจึงเกิดการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้กลับคืนสู่่เดียอีกครั้งโดยดำเนินการอย่างเป็นระบบ
2. การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดียที่ดำเนินการอย่างเป็นระบบ
การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอย่างเป็นระบบในอินเดียเริ่มต้นขึ้นในปีพ.ศ. 2434 (1891) พร้อมกับการมาถึงของอนาคาริกธรรมปาละ ชาวพุทธหนุ่มชาวสิงหล(ศรีลังกา) ผู้ที่ต่อมาได้กลายเป็นผู้ทำงานด้านเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่คนแรกในยุคสมัยปัจจุบัน บทความเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาของเซอร์เอ็ดวิน อาโนลด์ กระตุ้นให้ธรรมปาละเดินทางไปยังสารนาถและพุทธคยาในเดือนมกราคม
พ.ศ. 2434 (1891) เพื่อดูสภาพของสถานที่สักการะของพระพุทธศาสนาด้วยตนเอง เขาต้องตกตะลึงเมื่อเห็นสภาพที่เลวร้ายของสถานที่สักการะอันศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญ พุทธคยานั้นเขามองไปที่การโจมตีของฮินดูมหัต (mahat) ที่ครอบครองวัดมหาโพธิ์ซึ่งถูกดูถูกและทำให้เสื่อมความศักดิ์สิทธิ์อย่างน่าอดสูใจ ดังนั้นเขาจึงตัดสินใจที่จะปฏิสังขรณ์สถานที่อันศักด์สิทธิ์แห่งนี้ เพื่อเกียรติยศของบรรพชน และเพื่อสร้างให้เป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา เขายังตกลงใจที่จะขอกระชับพื้นที่วัดมหาโพธิ์จากไศวมหัต ที่บรรพบุรุษได้เปลี่ยนศาสนาไปเป็นวัดของไศวะประมาณปลายศตวรรตที่16 เพราะเรื่องนี้ในความเห็นของเขาจึงได้สถาปนาสมาคมมหาโพธิ์แห่งอินเดียขึ้นในวันที่ 31 พฤษภาคม 2434 (1891) หลังจากกลับศรีลังกาในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เขาได้กลับมาอินเดียอีกครั้งและนิมนต์พระภิกษุ 4 รูปชาวศรีลังกาที่พักอาศัยในที่พักสงฆ์ของพม่า ที่ก่อสร้างโดยกษัตริย์มินดงในปี พ.ศ.2418 (1875) เพื่อให้ดูแลวัดมหาโพธิ์ นอกจากนั้นธรรมปาละยังได้จัดการประชุมพระพุทธสาสนานานาชาติขึ้น โดยจัดที่พุทธคยาในวันที่ 31 ตุลาคม 2434 (1891) มีตัวแทนจากศรีลังกา,จีน,ญี่ปุ่นและจิตกอน(บังคลาเทศ) เข้าร่วมในการประชุมนี้ และได้ช่วยกันพิจารณาหาแนวทางที่จะรักษาโพธิบัลลังค์ที่พระพุทธเจ้าใช้ประทับนั่งในวันตรัสรู้ จากความเสื่อมโทรมต่อไป
ในปีพ.ศ. 2434 (1891) เป็นปีที่น่าจดจำอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย ในปีเดียวกันนั่นเอง พระกริปาสารันมหาสถวีระ พระภิกษุชาวเบงกอลได้ก่อตั้งพุทธสมาคมแห่งเบงกอลขึ้น หรือธัมมันกุรสาบาห์ (Dharmankur Sabha) อีกเหตุการณ์หนึ่งคือนาย เรีย แห่งบัตติโปรลูได้ค้นพบโกศบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ในอันตรประเทศ เหตุการณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในปี คือวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2434 เป็นวันเกิดของ พิม ราโอ เอ็มเบ็ดการ์ มหาบุรุษผู้เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอีก 65 ปี ต่อมา ยิ่งกว่านั้นในเวลาใกล้เคียงกัน พระมหาวีระ ชาวอินเดียคนแรกที่อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้สร้างที่พักสงฆฺขึ้นที่กุสินาคาร์(กุสินารา) สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ในเวลานั้นกุสินาคาร์ยังเหลือซากที่สมบูรณ์อยู่ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ยังคงอยู่ในความทรงจำที่ประชาชนยังกลัวที่เข้าไปที่นั่น เมื่อพระมหาวีระมาถึงจึงได้สร้างกุสินาคาร์ให้เป็นสถานที่สักการะที่เข้าถึงได้สะดวกขึ้น
ต้นปี พ.ศ. 2435 (1892) เจ้าหน้าที่ของมหาโพธิสมาคมได้ย้ายที่ทำการไปที่เมืองกัลกัตตา เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2435 (1892) อนาคาริก ธรรมปาละได้เริ่มออกวารสารมหาโพธิ์ ซึ่งยังคงเป็นวารสารที่ยังคงเสนอบทความธรรมะในส่วนต่างๆของโลก ในปีเดียวกันที่นักวิชาการชาวอินเดีย ได้ถูกปลุกให้ตื่นโดยความเพียรพยายามของนักวิชาการชาวตะวันตก ได้ร่วมกันก่อตั้งสมาคมบาลีปกรณ์ขึ้นที่เมืองกัลกัตตา สมาคมนี้ได้จัดพิมพ์ตำราทางพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมากในภาษาของชาวอินเดียที่มีพื้นฐานบนการวิจัยอย่างจริงจังของราเชนทร ลาล มิตรา,ฮารา ประสาท ศาสตรี, สารัต จันทรา ทัส,สาธิต จันทรา วิทยาภูสาน ในปีเดียวกันนี้ยังมีบันทึกการค้นพบประกาศบนแผ่นหินของพระเจ้าอโศก 3 แผ่น ที่พรหมคีรี,ไชทินกา-ราเมศวร และสิทธาปุระในเมืองจิตราทูรกะ การนาตะกะ
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2436 (1893) ธรรมปาละได้เข้าร่วมประชุมกับคณะรัฐสภาแห่งศาสนาที่ชิคาโกสหรัฐอเมริกา โดยวิธีนี้ทำให้เขาต้องย้อนกลับไปเยี่ยมชมฮาวาย,ญี่ปุ่น,จีน,ไทยและมาเลเชีย(Malaya) ที่โฮโนลูลุ เขาได้พบสุภาพสตรีท่านหนึ่งโดยบังเอิญ(โดยไม่คาดฝัน) คือนางแมรี่ อี. ฟอสเตอร์ ซึ่งในปีต่อมาได้กลายเป็นผู้อุปถัมภ์การดำเนินการที่สำคัญอย่างยิ่งของธรรมปาละและบริจาคเงินมากกว่า 1 ล้านรูปี
ใน ปี พ.ศ. 2439 (1896)มีหลักฐานว่า พูห์เลอร์ ได้ค้นพบเสาหินพระเจ้าอโศกที่รุมมินเดย์ (ลุมพินี) เสาหินนี้ได้เพิ่มคุณค่าในความเป็นจริงในพุทธประวัติ ตามจารึกที่กล่าวไว้ว่า “พระพุทธเจ้าศักยมุนีประสูติที่นี้” สองปีต่อมา พ.ศ. 2441 (1898) ได้ค้นพบโกศบรรจุอัฐิในสวนลุมพินี โดยเจ้าของพื้นที่ บนโกศมีคำจารึกว่า “โกศบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของศากยพุทธเจ้า”
ในปี พ.ศ. 2443 (1900) เป็นปีที่เต็มไปด้วยเหตุการณ์สำหรับการดำเนินการเพื่อฟื้นฟู พระพุทธศาสนา ในปีนี้มหาโพธิสมาคมได้เปิดสาขาขึ้น 2 แห่งที่มัทราสและกุสินาการ์ ในปีเดียวกันนั่นเองบัณฑิตอโยธยา ทาสาได้ก่อตั้งพุทธสมาคมแห่งอินเดียใต้ขึ้นมีสำนักงานใหญ่ที่เมืองมัทราส ประธานคนแรกคือบัณฑิตอโยธยาทาสา ส่วนคนที่ 2 คือศาสตราจารย์ พี.ลักษมี นราสุ ได้ทำการเผยแผ่ธรรมะในอินเดียใต้ตั้งแต่นั้นมา มีสาขาถึง 6 แห่งในรัฐการนาตกะและทมิฬนาดู
ในปี พ.ศ. 2445 (1902) มหาวีระสวามีได้สร้างพุทธวิหารแห่งแรกขึ้นในอินเดียสมัยใหม่ที่กุสินาคาร์ โดยทำการปฏิสังขรณ์และกู้ฐานะกุสินาคาร์คืนมาอีกด้วย ในปีนี้ยังได้ค้นพบเสาหินอโศกที่รัมปูรวะที่รัฐพิหาร ในปี พ.ศ. 2446 (1903) กริปสรันมหาสถวีระได้สร้างธัมมันกุรวิหารขึ้นที่กัลกัตตา ตั้งแต่นั้นมาวิหารแห่งนี้ก็ได้ใช้เป็นสำนักงานใหญ่ของพุทธสมาคมแห่งเบงกอล สมาคมซึ่งได้ทำการกระตุ้นสมาชิกแห่งเบงกอล ผู้ซึ่งจะกำเนิดเป็นชาวพุทธโดยกำเนิด ที่เคยลืมเลือนสาระแห่งพุทธธรรมในปี พ.ศ. 2447 (1904) ได้ค้นพบเสาหินพร้อมสิงห์สี่เศียรของพระเจ้าอโศกที่มีชื่อเสียงที่สารนารถ ซึ่งต่อมาได้ดัดแปลงเป็นสัญลักษณ์ (ตราเครื่องหมาย) ประจำชาติอินเดีย
พ.ศ. 2452 (1909) ดร. ดี.บี. สมูนเนอร์ จากโครงการสำรวจทางโบราณคดีแห่งอินเดีย ได้ทำงานด้วยความเพียรพยายามที่สาทจิ-ติ-เทหริ (Kanishka Stupa) ที่เมือง เปซาวาร์(Peshawar) จึงได้ค้นพบโกศโลหะที่มีเครื่องประดับบนยอด มีรูปเหมือนพระพุทธเจ้าในท่าประทับนั่ง ด้านในมีกล่องเล็กๆเป็นภาชนะที่มีรูปร่างทำด้วยแก้วเจียรนัย ปากปิดด้วยตราประทับดินเหนียว มีลักษณะคล้ายช้าง ด้านล่างภาชนะบรรจุรูปจำลองของกษัตริย์กนิษกะ ภายในภาชนะบรรจุพระบรมสาริกธาตุของพระพุทธเจ้า ตามคำจารึกกล่าวไว้ว่า กษัตริย์กนิษกะตั้งไว้ในที่บูชา การค้นพบพระบรมสาริกธาตุเหล่านี้ สร้างความรู้สึกในโลกแห่งพระพุทธศาสนาได้อีกทางหนึ่ง และเพิ่มโฉมหน้าของพระพุทธศษสนาอีกทางหนึ่งด้วย พระบรมสารีริกธาตุเหล่านนี้ในที่สุดก็ได้นำไปบรรจุในโกศทองคำที่สวยงาม รัฐบาลอินเดียได้มอบให้ชาวพุทธในพม่าใน พ.ศ. 2457 (1914) เซอร์จอห์นมาแซล ได้ค้นพบพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าในขณะที่ทำการขุดเจาะธรรมราชิกวิหาร ที่ตักศิลา ตามคำจารึกในที่เก็บที่ทำด้วยทองคำกล่าวไว้ว่า “พระบรมสารีริกธาตุเป็นของพระพุทธเจ้า ตั้งไว้ในที่บูชาโดยอุราสกะ เชื้อพระวงศ์แห่งอินทราวหเรีย บักเตรียน ที่อาศัยอยู่ในเมืองโนเอชา (Noacha) ในปี ที่ 136 แห่งราชวงศ์เอเวส์ (Azes) วันที่ 15เดือนอาสาทห์ (Asadha) โกศที่บรรจุพระธาตุที่สำคัญ 2 อันของพระพุทธเจ้าถูกค้นพบจากวิหารหลังเล็กๆ 2 หลังใกล้ๆ ธัมมราชิกสถูป พระธาตุเหล่านี้รัฐบาลอินเดียมอบให้ชาวพุทธในศรีลังกา ในปี พ.ศ. 2460 (1917) และนำไปประดิษฐานไว้ที่วัดทูตที่แคนดี้ (Dalada Maligawa) โกศบรรจุพระธาตุอื่นๆอีกยังถูกค้นพบในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน จากสูปที่สร้างด้วยอิฐ บางที่อาจจะเป็นยุคก่อนพระเจ้าอโศก โกฐบรรจุพระธาตุนี้ เป็นพระธาตุที่ค้นพบในสถูปเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า มรรคาแห่งพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมได้ถูกนำไปสู่แสงสว่างอันชัดเจน
วิหารแห่งแรกที่สร้างโดยสมาคมมหาโพธิ์แห่งอินเดียคือศรีธัมมราชิกไชตยวิหาร อันงดงามที่เมืองกัลกัตตา ซึ่งมีพิธีเปิดเป็นทางการเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2463 (1920) ในวิหารนี้มีพระบรมสารีริกธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธเจ้า ที่ค้นพบในโกฐแก้วหินคริสตัลระหว่างการขุดค้นที่ปัตติโปรลูในอันตรประเทศประดิษฐานไว้ พิธีฉลองวิหารมีลอร์ดโรนัลเชย์ (มาควิสแห่งเชดแลนด์) เป็นประธาน ธัมมราชิกวิหาร เป็นสำนักงานใหญ่ของมหาโพธิสมาคม หลายปีต่อมาก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการดำเนินการคฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย
มีจุดเด่นที่ควรนำเสนอคือเรื่องราวของพระมหาวีระ สวามี และพระกริปสรันมหาสถวีระ ในการดำเนินการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ภิกษุรูปอื่นๆทีมีชื่อเสียงในทำนองเดียวกันคือ พระโพธนันทะมหาสถวีระ พระโพธินันทะ เป็นภิกษุรูปแรกที่สนใจต่อการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ในพ.ศ. 2439 (1896)เมื่อเขาได้พบกับพระภิกษุรูปหนึ่งที่เมืองบานารัส (พาราณสี) และตัดสินใจอุปสมบทเป็นภิกษุใน ในพ.ศ. 2457 (1914) ด้วยความช่วยเหลือพระกริปสรัน มหาสถวีระ แต่ในเวลานั้นยังไม่มีสมมุติสีมาในอินเดียเพื่อใช้ในการอุปสมบท พิธีอุปสมบทของพระโพธนันทะจึงกระทำกันในเรือกลางแม่น้ำคงคาอันศักดิ์สิทธิ์ (Ganges) ใกล้เมืองกัลกัตตา โดยมีพระภิกษุชาวพม่า,ศรีลังกาและจิตกอง (บังคลาเทศ) แม้แต่อนาคาริกธรรมปาละก็ได้เข้าร่วมในพิธีอันถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ครั้งนี้ด้วย หลังจากการอุปสมบทนี้แล้ว พระโพธนันทะก็ได้เดินทางกลับไปลัคเนาว์ และได้สร้างให้เป็นศูนย์กลางเพื่อดำเนินกิจการ
ในการเคลื่อนไหวนับตั้งแต่นั้นมา ในพ.ศ. 2459 (1916) ท่านโพธนันทะได้สถาปนาพุทธสมาคมแห่งอินเดีย (ภารติยพุทธสมิติ,Bhartiya Baudh Samiti ) ใน พ.ศ. 2468 (1925) ท่านได้สร้างวิหารอันสวยงาม ริสาลดาร์ ปาร์ค เมืองลัคเนาว์ ด้วยการเทศนาของพระโพธนันทะมหาสถวีระ ด้วยบรรยากาศที่น่าศรัทธา ทำให้เกิดการกระตุ้นให้การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดียเหนือเป็นไปด้วยความราบรื่น และชาวพุทธส่วนมากก็สามารถนำหลักธรรมะไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย
ส่วนในอินเดียตะวันตก การดำเนินการเพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ได้เริ่มต้นขึ้นโดยบุคคลที่ยิ่งใหญ่ 2ท่านคือดร.อามันโด แอลเนียร์และท่านธัมมนันทะ โกสัมพี ดร. อามันโดได้ก่อตั้งสมาคมพระพุทธเจ้าขึ้น ที่เมืองบอมเบย์ ใน พ.ศ. 2455 (1922) และสร้างวิหารหลังแรกขึ้นในชื่อว่าอานันทวิหารในเมืองบอมเบย์ ใน พ.ศ. 2474 (1931)สมาคมพระพุทธเจ้าทำให้พระพุทธศาสนาเป็นที่นิยมทั่วไปในอินเดียตะวันตก โดยเผยแผ่ผ่านทางหนังสือพิมพ์ฉบับแรกคือ พุทธปุนิมา (Buddha Purnima) ต่อมาจึงได้ออก “ธัมมจักร : กงล้อแห่งธรรม” ธัมมนันทะ โกสัมพีเป็นนักวิชาการชาวอินเดียทางด้านภาษาบาลีคนแรก เขาได้เขียนหนังสือทางพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมากในภาษามารธีและกูจารธี(Marathi and Gujarati) ผลงานทุกชิ้นของท่านได้กระตุ้นให้เกิดความเร่าร้อนในการศึกษาวรรณคดีภาษาบาลีและพุทธธรรมอย่างแพร่หลาย ใน พ.ศ. 2480 (1937) เขาได้สร้างวสิหารหลังเล็กๆขึ้นที่พาเรล (Parel) บอมเบย์โดยเรียกชื่อว่า “พหุชนวิหาร” (Bahujana Vihar) ซึ่งเป็นไปตามความต้องการหาที่พึ่งทางจิตวิญญาณของกรรมกรผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งนั้น ผู้นำชาวพุทธในอินเดียตะวันตกอีกคนคือ ศาสตราจารย์ เอ็น เค. ภควัต ลูกศิษย์ของธัมมนันทะ โกสัมพี
ศาสนาของพระพุทธเจ้าได้สร้างสรรค์ความก้าวหน้าที่มีนัยสำคัญในเมืองเคราลา ด้วยบทสนทนาของ ซี. กฤษนันท์ บรรณาธิการหนังสือมิตาวตี ผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นประธานพุทธสมาคมแห่งเคราลา ซึ่งตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2468 (1925) มีสำนักงานใหญ่ที่เมืองคาลิคัส ภิกษุธัมมักขันธ์ ชาวเมืองมัลยาลิ ได้รับการศึกษาที่ศรีลังกาได้ให้การช่วยเหลือกฤษนันท์ และเป็นเพื่อนร่วมงานของกฤษนันท์ในการสนทนาธรรม เพื่อเผยแผ่ต่อสาธารณชนในรัฐนั้น
ในปี พ.ศ. 2471 (1928) มีการประชุมชาวพุทธทั้งหมดในอินเดีย จัดที่หอประชุมมหาโพธิสมาคม เมืองกัลกัตตา โดยมีชีฟ จรัล ลาล แห่งลัคเนาว์เป็นประธานมีตัวแทนเกือบ 300 คน ที่เข้าร่วมในการประชุมชาวพุทธครั้งแรกนี้ ศาสตราจารย์ ที.เอ็ม.บารัว เป็นประธานคณะกรรมการแผนกต้อนรัน
การตัดสินใจในการประชุมที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการเรียกร้องขออัฐิของพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะที่ถูกนำไปเมืองลอนดอน จัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์วิคตอเรียและอัลเบริต์คืนกลับมา
ในปี พ.ศ. 2471 (1928) มหาสถูปที่นาครชุนคนทาได้ถูกขุดค้น ทำให้ได้พบวัตถุโบราณที่สำคัยหลายอย่างเช่นหม้อ (โกศ) ใส่อัฐิ เครื่องปั้นดินเผาที่แตกหัก ซึ่งระบุว่าเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า จากการขุดค้นและการสำรวจทำให้เกิดการคาดคะเนได้ว่าสถูปน่าจะสร้างในระหว่างคริสตวรรตที่ 3 (พ.ศ. 800) สร้างในรูปแบบกงล้อธรรมจักรซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ชาวพุทธทั่วไปรู้จักกันดี
ในปี พ.ศ. 2472 (1929) คำประกาศบนแผ่นหินพระเจ้าอโศก 32 แผ่นได้ถูกค้นพบที่เชอรากุฎีในเมืองเดอร์พูล รัฐอันตรประเทศ สองปีต่อมาคือ ในปี พ.ศ.2474 (1931) ประกาศบนแผ่นหินพระเจ้าอโศกได้ถูกค้นพบที่การิมาชและปันจิกุนดู เมืองไรเซอร์ รัฐอันตรประเทศ
ในปี พ.ศ.2474 (1931) มหาโพธิสมาคมแห่งอินเดียได้สร้างมูลคันธกุฏิอุนสวยงามขึ้นที่สารนารถ ซึ่งใช้เงินเป็นจำนวนมาก บนยอดคันธกุฏิได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ที่ค้นพบจากธรรมราชิกวิหาร ในตักศิลา การสร้างมูลคันธกุฏินับเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งของอนาคาริกธัมมปาละ หลังจากนั้นท่านได้สร้างเมืองสารนารถให้เป็นศูนย์กลางทางด้านการศึกษาและวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนาสำหรับยุคสมัยปัจจุบัน โดยสร้างห้องสมุดพระพุทธศาสนาขึ้น ท่านบัณฑิต ซีโอ นาราชิน ผู้บุกเบิกในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในปัญจาบ ได้บริจาคหนังสือส่วนตัวจำนวนมากให้แก่ห้องสมุดนี้ด้วย
อนาคาริกธรรมปาละ ผู้ซึ่งได้รับการสมมุติชื่อในยุคนั้นว่า “ศรีเทวมิตตาธรรมปาละ” ได้เข้าสู่สังฆมณฑลในปี 2474 (1931) และเสียชีวิตในอีกสองปีต่อมาคือ พ.ศ.2476 (1933) ในขณะที่ภาระหน้าที่ในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาของเขายังไม่สมบูรณ์เต็มที่ แต่เพื่อนร่วมงานและลูกศิษย์ก็ได้ช่วยกันสานต่องานต่อไป ที่มีชื่อเสียงในยุคต่อมาคือท่านเทวปริยา วาลิสิงห์,พระสังฆรัตนะและพระชินรัตนะ จากปี พ.ศ.2474 (1931) เป็นต้นมาเมืองสารนารถก็ได้กลายเป็นศูนย์กลางที่สำคัญสำหรับงานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อมหาชน ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือวารสาร “ธรรมทูต (DHARMADUTA) ออกเป็นภาษาฮินดี ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2478 (1935) นับเป็นผลงานที่ช่วยเหลือในการเผยแผ่พุทธธรรมสู่มหาชนได้อย่างแพร่หลายและมีประสิทธิภาพสำหรับมหาชนที่ใช้ภาษาฮินดีในอินเดียเหนือ
ในปี พ.ศ.2482 (1939) มหาโพธิสมาคมได้เปิดสาขาขึ้นที่นิวเดลี ด้วยการสร้างวิหารแห่งแรกขึ้นที่เมืองหลวงของอินเดีย ต่อจากนั้นวิหารแห่งอื่นๆก็ได้รับการก่อสร้างขึ้นเรื่อยๆก่อนที่อินเดียจะได้รับเอกราช เช่นวัดเทวสังฆปาณี ในอัสสัม พ.ศ.2482 (1939),พุทธวิหารในบังกาลอร์ พ.ศ.2483 (1940),เวณุวันวิหารในอการตลา ในปี พ.ศ.2489 (1946),และมัทราชวิหาร (เคนเนสเลน) ในปี พ.ศ.2490 (1947)
ในบรรดานักเขียนที่แสดงบทบาทในการดำเนินการเพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนานั้น ชื่อของมหาบัณฑิต ราหุล สันกฤตยายัน,พระอนันต์ เกาสันยยันและพระจักดิษฐ์ กัสยัป(ภาษาบาลีออกเสียงเป็นกัสปะ) นับว่าเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงที่คนรู้จักมากที่สุด ท่านราหุลจิ เป็นนักเขียนที่มีผลงานมากมายในภาษาฮินดี มีผลงานทั้งที่เป็นนวนิยาย,ประวัติศาสตร์,วิทยาศาสตร์,ปรัชญา,บันทึกการเดินทาง,ชีวประวัติบุคคลสำคัญ เป็นต้น ท่านยังเป็นนักสำรวจที่ยิ่งใหญ่อีกด้วย และเป็นนักเดินทางผจญภัยโดยเคยเดินทางไปถึงทิเบตถึง 3ครั้งยังได้นำหนังสือเก่าที่เป็นลามมือเขียนภาษาทิเบตมาด้วย แปลความหมายเป็นบรรณาธิการจัดพิมพ์เองความเพียรพยายามของท่านราหุลจิ เพื่อเติมความรู้สึกในความต้องการศึกษาวรรณกรรมพระพุทธศาสนาของคนอินเดียที่ใช้ภาษาฮินดี อันเป็นภาษาประจำชาติของอินเดีย ในการดำเนินงานด้านนี้ได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงานที่สำคัญคือพระภทันต์ อนันท์เกาสัลยยันและพระจักดิษฐ์ กัสยัปนั่นเอง,
การได้รับแรงบันดาลใจในการดำเนินกิจกรรมของมหาโพธิสมาคมแห่งอินเดีย ทำให้ชาวพุทธที่อาศัยอยู่บริเวณเชิงเขา ผู้ที่ปฏิญาณตนว่าเป็นพุทธมามกะมาเป็นเวลายาวนาน จนกลายเป็นความสำนึกในภาระหน้าที่ของชาวพุทธที่จะต้องพิทักษ์รักษาวิถีการดำเนินชีวิตแบบพุทธศาสนิกชน แม้ว่าการจัดกิจกรรมทางศาสนาและสอนพุทธธรรมจะอยู่ในวงจำกัดในสังคมของพวกเขาเอง โดยอาศัยพุทธสมาคมแห่งลาดักส์ที่สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ.2480 (1937) โดยท่านกโลนตเซวัง ริกชินและท่านมุนชิ โซนัม ตเซวัง,พุทธสมาคมอัสสัมสถาปนาขึ้นในปี พ.ศ.2482(1939)โดยพระนันทพรรษา มหาสถวีระและพระชินรัตนะ มหาสถวีระ และพุทธสมาคมแห่งหิมาลัย คุรุมนาสี สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ.2485 (1942)โดยพระกุศักด์ ภกุล
การดำเนินการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอย่างเป็นระบบโดยอาศัยผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์เพื่อการบูรณะสถานที่สำคัญของพระพุทธศาสนา นอกจากนั้นยังมีพระภิกษุชาวอินเดียอีกหลายรูปร่วมมือกันเพื่อที่จะทำให้พระพุทธศาสนากลับคืนสู่มาตุภูมิและกลับมายิ่งใหญ่เหมือนในอดีตอีกครั้ง
พระมหาบุญไทย ปุญญมโน
แปลจาก D.C. Ahir,Buddhism in Modern India,New Delhi:Kiram Mudram Kendra,1991.
แก้ไขปรับปรุง 22/01/54
ภาพประกอบพระมหาสมศรี ปญฺญาสิริ