ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

        เสียงเครื่องบินผ่านไปหลายรอบแล้ว โทรทัศน์นำเสนอข่าวการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างคนเสื้อแดงกับทหาร ข่าวว่ามีคนบาดเจ็บหลายร้อยคน ข้อเท็จจริงเราไม่รู้เห็นแต่ภาพทหารถือปืนเพื่อแย่งชิงพื้นที่คืนจากชุมชนคนเสื้อแดง ภายใต้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินต้องคอยระวังว่าเมื่อไหร่อันตรายจะกลายมาใกล้ ในยุคที่ทีวีเสรีถูกปิด เว็บไซต์ถูกปิด ข่าวสารไม่เพียงพอ ก็ได้แต่เฝ้าภาวนาว่าขออย่าให้มีความรุนแรงเกิดขึ้นเลย ถึงอย่างไรก็เป็นคนไทยเหมือนกัน ความเห็นอาจต่างกันได้ แต่ความเป็นคนไทยควรหันหน้าเจรจากัน ในสภาวะที่มีเพียงทีวีจากฝ่ายรัฐบาลด้านเดียว ไม่มีอารมณ์อยากดู ทำให้คิดถึงเรื่องขุนแผนโคโยตี้ขึ้นมา 

        จากกรณีที่มีข่าวโด่งดังหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์เรื่องพระเครื่องที่กำลังยอดนิยมในขณะนี้คือ “ขุนแผนโคโยตี้” นั้น ได้รับการวิพากย์วิจารณ์จากสังคมมากพอสมควร เพราะเป็นภาพที่ไม่เหมาะสม ทางพระเถระได้ออกมาว่ากล่าวตักเตือนผู้สร้างและให้งดสร้างแล้ว แต่ว่ากระแสของขุนแผนโคโยตี้ยังแรงไม่หยุดเพราะมีผู้เช่าไปแล้วบอกว่าค้าขายดี ในยุคที่ประเทศชาติกำลังวุ่นวายพึ่งพาใครไม่ได้อย่างนี้การมีเครื่องรางของขลังไว้เป็นที่พึ่งก็อาจจะทำให้จิตใจสบายได้บ้าง 
        พระเครื่องดังกล่าวเป็นรูปขุนแผนโคโยตี้ ลักษณะเป็นซุ้มทรงเดียวกับ พระขุนแผนทั่วไป แต่แตกต่างกัน ตรงที่เสาซุ้มมีสาวโคโยตี้เปลือยกายแสดงท่าเต้นรูดเสาทั้งสองข้าง ติดอยู่กับองค์พระ ส่วนด้านหลังเป็นรูปปลัดขิก ประดับติดผีเสี้อมีสาวโคโยตี้เปลือยอก ใส่กางเกงในแบบจีสติงอุ้มปลัดขิก โดยพระรุ่นนี้ สร้างขึ้นสองแบบ คือแบบเนื้อผงขุนแผนทั่วไป และแบบเพ้นท์สีสวยงามร้อนแรง สร้างโดยหลวงพ่ออึ่ง วัดเชิงหวาย เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร  

 

        นายรัชชานนท์ พวงสมบัติ ลูกศิษย์พระอาจารย์สุเทพ สุทธสีโล เจ้าอาวาสวัดเชิงหวาย ผู้จัดสร้างเครื่องรางขุนแผนโคโยตี้ที่เป็นข่าวกล่าวว่า พระอาจารย์สุเทพได้เข้าไปชี้แจงกับทางเจ้าคณะแขวงแล้ว ซึ่งตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะสงฆ์ ทั้งนี้ตนในฐานะเป็นผู้จัดสร้างขุนแผนโคโยตี้รุ่น 2 ยืนยันว่า เป็นเครื่องรางของขลัง แต่ไม่มีพิธีปลุกเสก และไม่ใช่วัตถุมงคล ไม่ใช่พระ โดยรุ่นแรกทำขึ้นมา 2,000องค์ ได้รับความนิยม ประชาชนสนใจกันมากจึงทำรุ่น 2ขึ้นมาจำนวน 200 องค์ แต่คราวนี้ลดความเซ็กส์ซี่ลง และแจกจ่ายไปหมดแล้วเช่นกัน(ไทยรัฐ 5 เม.ย. 53) 
        ถ้ายืนยันว่าเป็นเพียงเครื่องรางก็แล้วกันไป แต่รูปตรงกลางเป็นรูปพระพุทธรูปหรือรูปเทวรูปกันแน่ ถ้าเป็นเทวรูปก็แล้วกันไป หากเป็นพระพุทธรูปจะตอบคำถามชาวพุทธอย่างไร ถึงอย่างไรก็เป็นภาพที่ไม่เหมาะสมทำร้ายหัวใจชาวพุทธพอสมควร
        ในปัจจุบันมีพระพุทธรูปมากมายหลายปาง จนแทบจะจดจำไม่ไหว มีพระพิมพ์อีกนับไม่ถ้วน มีเครื่องรางของขลังอีกมากมาย สรรพคุณก็แล้วแต่อาจารย์ผู้สร้างผู้ปลุกเสกจะให้มีผลทางด้านใด ส่วนมากก็จะเป็นด้านคงกระพัน แคล้วคลาด เมตตามหานิยมเป็นต้น
   ความเป็นมาของการสร้างพระพุทธรูปนั้นนักปราชญ์หลายท่านเชื่อว่ามีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมโปรดพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้าเป็นเวลานานเกิดความคิดถึงจึงรับสั่งให้นายช่างสร้างพระพุทธรูปขึ้นด้วยไม้แก่นจันทน์แดง จากนั้นนำมาประดิษฐานไว้เหนืออาสน์ที่พระพุทธเจ้าเคยประทับ ครั้นเมื่อพระพุทธองค์เสด็จกลับมาจากดาวดึงส์แล้ว ก็ทรงบันดาลให้พระแก่นจันทน์นั้นเลื่อนหลีกไปจากพระอาสนะ แต่พระพุทธองค์ก็ได้ตรัสสั่งให้รักษาพระแก่นจันทน์นั้นไว้ให้แก่สาธุชนรุ่นหลังเพื่อเป็นตัวอย่างของพระพุทธรูปเมื่อพระองค์ทรงดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว (ส.พลายน้อย,พระพุทธรูปสำคัญในเมืองไทย,กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์สารคดี,2545,หน้า 33)

        แต่ตามหลักฐานของการสร้างพระพุทธรูปนั้นมีผู้กล่าวว่าเริ่มสร้างครั้งแรกโดยฝีมือของพวกโยนก (กรีก) โดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้กรีฑราทัพเข้ายึดครองอินเดียประมาณพุทธศักราช 217 เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์แล้วชาวโยนกก็ได้เข้าตั้งถิ่นฐานในคันธารราฐ และได้สร้างรูปเคารพแทนพระพุทธเจ้าจึงกลายเป้นพระพุทธรูปปางคันธาร (สมพร  ไชยภูมิธรรม,ปางพระพุทธรูป,กรุงเทพฯ:ต้นธรรมสำนักพิมพ์,2537,หน้า 27) พระพุทธรูปในปัจจุบันมีประมาณ 80 ปาง หรืออาจจะมากกว่านั้น
        ประเทศไทยได้นิยมสร้างพระพุทธรูปพระพิมพ์มานานแล้ว แต่ไม่ค่อยมีใครนิยมนำพระพิมพ์หรือพระเครื่องต่างๆมาพกติดตัวหรือห้อยคอบูชาเหมือนในสมัยปัจจุบัน  เมื่อมีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นมาแล้วต่อมาก็ได้มีคติความเชื่อในการสร้างพระเครื่องต่างๆตามมา พระเครื่องมาจากพระเครื่องราง โดยเครื่องรางหมายถึงของที่นับถือว่าป้องกันอันตรายยิงไม่ออก ฟันไม่เข้าเช่นตระกรุด ผ้ายันต์ เหล็กไหลเป็นต้น วัตถุประสงค์ของการสร้างพระเครื่องพระพิมพ์นั้นยอร์ซ เซเดย์ (ยอร์ซ เซเดย์,ตำนานพระพิมพ์,กรุงเทพฯ:ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์,2507,37) ได้สรุปได้สี่ประการคือ
        1.สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกในการสักการะสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา เมื่อพุทธศาสนิกชนเดินทางไปสักการะสังเวชนียสถานทั้งสี่คือสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนาและปรินิพพาน ก็อาจจะนำเอาพระพิพม์ในสถานที่ต่างๆที่ตนได้เดินทางไปสักการะติดตัวไปด้วยเพื่อเป้นที่ระลึก
        2.สร้างขึ้นเพื่อสืบอายุพระศาสนา ตามคติความเชื่อในพระพุทธศาสนาที่ว่าเมื่อนับจากพุทธกาลล่วงไป 5,000 ปีแล้ว พระพุทธศาสนาจะเสื่อมลงและสูญหายไปจากโลก จึงได้มีการสร้างพระพิมพ์ขึ้นแล้วนำไปบรรจุไว้ในเจดีย์ต่างๆ เผื่อเมื่อมีเวลาใดที่พระพุทธศาสนาเสื่อมไป คนรุ่นหลังมาพบพระพิมพ์เหล่านี้เข้าก็จะได้มีการศึกษาค้นคว้าและฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
        3.สร้างขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย  ตามคตินิยมในพระพุทธศาสนามหายาน มีการสร้างพระพิมพ์ดินดิบเป้นรูปพระโพธิสัตว์เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย โดยจะนำเอาเถ้ากระดูกและอัฏฐิของผู้ตายที่เผาแล้วมาผสมกับดินทำเป็นพระพิมพ์ขึ้น โดยมีความเชื่อว่าพระโพธิสัตว์จะได้พาวิญญาณของผู้ตายให้พ้นทุกข์ขึ้นสู่สวรรค์ได้
        4.สร้างขึ้นในฐานะรูปเคารพบูชาหรือเป็นภาพเล่าเรื่อง ตามคติของเถรวาทในสมัยทวารวดีมักจะสร้างพระพิมพ์ต่างๆ เพื่อเอาไว้เคารพบูชา รวมทั้งในพระพิมพ์เป็นภาพเล่าเรื่องเช่นพุทธประวัติเป็นต้น


รูปพระพุทธรูปหรือรูปเทพเจ้าโปรดสังเกตให้ดี

        นอกจากพระพุทธรูป พระพิมพ์แล้วในพระพุทธศาสนายังมีเครื่องรางของขลังอีกประเภทหนึ่ง เครื่องรางของขลังนั้นน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิความเชื่อเรื่องวิญญาณนิยมและลัทธิบรรพบุรุษนิยมซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมของท้องถิ่น แนวคิดของพระพุทธศาสนาแบบทิเบต รวมทั้งอาถรรพเวท ไสยศาสตร์ในศาสนาพราหมณ์ ความเชื่อเหล่านี้ทำให้พระพุทธศาสนาในประเทศไทยมีเรื่องของเวทมนต์คาถา การปลุเสกเลขยันต์ พระเครื่อง เครื่องรางของขลังต่างๆ เครื่องรางของขลังในพระพุทธศาสนาแบ่งได้สองประเภทคือเครื่องรางของขลังตามธรรมชาติเช่นเหล็กไหล เขี้ยวหมูตัน เขี้ยวเสือกลวง เขากวางคุด คด ว่านเป็นต้น  ส่วนเครื่องรางของขลังจประเภทที่สองมาจากการสร้างขึ้นเช่นเขี้ยวเสือแกะ งาแกะ กะลาแกะ ตระกุด ผ้ายันต์ ประคำ เบี้ยแก้ มีดหมอ เป็นต้น 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก