ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

        ภายหลังการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดียยุคใหม่ ในช่วงแรกกระทำโดยลักษณะของการอุทิศตนโดยปัจเจกบุคล ต่อมาจึงมีผู้เข้าร่วมในการฟื้นฟู บางท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุและสร้างวัดขึ้นในสถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าเช่นสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนาและสถานที่ปรินิพพาน แต่ในบางรัฐไม่สามารถสร้างวัดได้จึงเป็นการร่วมมือกันในลักษณธขององค์กร สมาคม สถาบันเพื่อทำการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้กลับคืนมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง วันนี้นำเสนอในเรื่องของสมาคมและสถาบันที่ดำเนินการเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

 

 

1. สมาคม
    ในอดีตสมาคมบางแห่งไม่มีการดำเนินการเคลื่อนไหวใดๆ มีเพียงชื่อสมาคม จนกระทั่งจะมีการลงมือปฏิบัติตามอย่างมีประสิทธิภาพในลักษณะที่มีกฎระเบียบและระบบ ในปัจจุบันมีพุทธสมาคมประมาณ 100 แห่งที่เกิดขึ้นเพื่อเผยแผ่ธรรมในส่วนต่างๆของอินเดีย แสดงให้เห็นถึงพลังแห่งการเคลื่อนไหวของพุทธศาสนิกชนในยุคสมัยปัจจุบัน ที่แสดงให้เห็นถึงความจริงจังของชาวพุทธอินเดียเพื่อกระตุ้นความสนใจทางศาสนาของพวกเขา
        มหาโพธิสมาคมคือสมาคมแห่งแรกที่เกิดขึ้นในอินเดีย อนาคาริก ธรรมปาละตั้งขึ้นในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2434 วัตถุประการแรกเพื่อดำเนินการฟื้นฟูวัดมหาโพธิ์ที่พุทธคยาที่ได้ถูกเปลี่ยนเป็นวัดของฮินดูไศวะ ธรรมปาละได้ต่อสู้อย่างแข็งขันเพื่อฟื้นฟูพุทธคยา เพื่อเรียกร้องสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คืนกลับมา จึงได้สร้างสิ่งที่ผูกมัดขึ้นคือมหาโพธิสมาคม และธำรงไว้ซึ่งกระแสแห่งความต่อเนื่องในการเผยแผ่ พร้อมด้วยผลในอนาคต อีก 45 ปีพระพุทธศาสนาจึงสร้างความเจริญก้าวหน้าที่น่าสนใจในความสัมพันธ์ทั้งมวล การก่อสร้างธรรมราชิกในกัลกัตตาและมูลคันธกุฎีที่สารนาถในปีพุทธศักราช 2463 และในปีพุทธศักราช 2474 โดยเฉพาะอย่างยิ่งถือเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของผู้ที่ทำงานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคสมัยใหม่ การเสียชีวิตของอนาคาริกธรรมปาละในปีพุทธศักราช 2476  เทวปริยะ วาลีสิงห์ ก็ได้รับตำแหน่งเลขาธิการทั่วไปของมหาโพธิสมาคมและอยู่ในตำแหน่งนี้ยาวนานถึง 35 ปีจนกระทั่งถึงปีพุทธศักราช 2511 วาลีสิงห์ ไม่เพียงแต่รักษากระแสแห่งการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาไว้เท่านั้น แต่ยังทำให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นด้วย ท่านได้สร้างพุทธวิหารมากว่า 2 แห่ง(นิวเดลีและสาญจิ) และยังควบคุมดูแลวิหารที่มีผู้ริเริ่มสร้างไว้อีก 3 แห่งคือพหุชนวิหาร บอมเบย์,อานันทวิหาร บอมเบย์และพุทธวิหารริสัลดาร์ ปาร์ค ลัคเนาว์ พระเอ็น. ชินรัตนนายเกมหาเถระ ได้รับตำแหน่งเลาธิการทั่วไปของมหาโพธิสมาคมแห่งอินเดียคนที่สามจากปีพุทธศักราช 2511-2526 ส่วนเลขาธิการคนปัจจุบันคือพระเอ็ม. วิปุลสารมหาเถระ

 

        ประธานมหาโพธิสมาคมคนแรกคือประธานนายเก เอช. สุมังคลมหาเถระแห่งศรีลังกา พันเอก เอช.เอส.ออลคอตต์ เป็นผู้อำนวยการและประธานที่ปรึกษา อนาคาริกธรรมปาละผู้ก่อตั้งเป็นเลขาธิการ ในปีพุทธศักราช 2459 เซอร์ อสุโตสห์ มูขเคอร์จีได้รับเลือกเป็นประธาน หลังจากที่เสียชีวิตในปีพุทธศักราช 2467 เซอร์เอ็ม.เอ็นมุขเคอร์จีได้ดำรงตำแหน่งประธานสมาคมและอยู่ในตำแหน่งจนกระทั่งเสียชีวิตในปีพุทธศักราช 2485 ความสำเร็จบางส่วนเกิดจากความช่วยเหลือของศยามประสาท มุขเคอร์จี ที่เสียชีวิตในปีพุทธศักราช 2496 เอช.เอช. โชคยัลแห่งสิกขิม รับตำแหน่งประธานมหาโพธิสมาคมต่อมาจากปีพุทธศักราช 2496-2525  ในปีพุทธศักราช 2526 พี.เค. ธุงกัน เอ็ม.พี. (อดีตประธานคณะรัฐมนตรีของอรุนาจัลประเทศ)ได้เป็นประธานมหาโพธิสามคมคนต่อมา
        มหาโพธิสมาคมเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการเพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดียที่ยิ่งใหญ่มาก สภาพที่รุ่งเรืองของพุทธวิหารในอดีตซึ่งพบเห็นได้ในปัจจุบันทั้งทางตรงและทางอ้อม ผลของการทำงานหนักด้วยการอุทิศตนและไม่เห็นแก่ตัว ทำให้สมาคมนี้มีอายุยาวนานผ่านมาถึง 100 ปีแล้วทางด้านกองบัญชาการที่กัลกัตตา มหาโพธิสมาคมก็ได้มีความเชื่อมสัมพันธ์กับศูนย์กลางทั่วอินเดียคือที่พุทธคยา,สารนาถ,สาญจิ,บอมเบย์,นิวเดลี,ลัคเนาว์,เนาว์คารห์(ลุมพินี) อัชเมอร์,บังกาลอร์และมัทราส ยังมีมหาโพธิสมาคมอีกส่วนหนึ่งที่มีศูนย์กลางอยู่นอกประเทศอินเดียด้วย
        พุทธสมาคมที่เบงกอล(ธัมมันกุรสภา) ก่อตั้งโดยพระกริปสรัน มหาสถวีระในปีพุทธศักราช 2435 ซึ่งมีการปฏิบัติการณ์โดยกลุ่มชาวพุทธบารัวร์แห่งเบงกอล ความเชื่อถือในพุทธธรรมของประชาชนในอินเดียใต้ จึงได้เกิดพุทธสมาคมแห่งอินเดียใต้ สร้างที่มัทราสโดยบัณฑิต อโยธัยดัสในปีพุทธศักราช 2443 ประธานคนที่สองของสมาคมแห่งนี้ ผู้ร่วมก่อตั้งคือศาสตราจารย์พี.ลักษมี นาราสุ นักเขียนที่รู้จักกันดีที่เขียนเรื่อง “สาระสำคัญแห่งพระพุทธศาสนา”
        พุทธสมาคมที่ลาดัคห์ (พ.ศ.2480) เป็นสถานที่น่ายกย่องสำหรับชาวพุทธแห่งลาดัคห์ พุทธสมาคมที่อัสสัมก่อตั้งโดยพระนันทพรรษาในปีพุทธศักราช 2482 เป็นองค์กรที่มีพลังสำหรับชาวพุทธในอัสสัม ทางด้านวิหารได้มีการสร้างโรงเรียนที่รู้จักกันดีว่า “ปาลีทูล/วิทยาลัย เพื่ออบรมสั่งสอนวิญญาณแห่งธรรมะสำหรับเยาวชนชาวพุทธ  พุทธสมาคมไตรปุระราชยะก่อตั้งโดยอารยมิตราในปีพุทธศักราช 2497 เพื่อหล่อหลอมชาวพุทธในไตรปุระ

 

        เรื่องราวทางศาสนาสำหรับชาวพุทธยุคใหม่ ที่ได้รับการดูแลเบื้องต้นโดยพุทธสมาคมแห่งอินเดีย(ภารติยะ พุทธ มหาสภา) ที่ก่อตั้งโดยดร. เอ็มเบ็ดการ์ ในปีพุทธศักราช 2498 โดยถือเอาศุภมงคลฤกษ์ที่ดร.เอ็มเบ็ดการ์ได้ประกาศต่อสาธารณชนในการนับถือพุทธศาสนาที่นาคปูร์ในวันที่ 14 ตุลาคม 2499 และได้ชักชวนประชาชนให้แสวงหาที่พึ่งคือพุทธธรรม หลังจากการปรินิพพานของ ดร.เอ็มเบ็ดการ์ ในวันที่ 6 ธันวาคม 2499 ลูกชายคือยัสหวันต์ เอ็มเบ็ดการ์ ก็ได้รับเลือกเป็นประธานพุทธสมาคมแห่งอินเดีย ภายใต้การนำของเขาก็ได้จัดตั้งสมาคมขึ้นที่บอมเบย์ ที่เป็นสถานที่จัดประชุมชาวพุทธครั้งแรกในอินเดีย ซึ่งตรงกันพอดีกับการเริ่มต้นงานฉลองสถูปที่เจติยภูมีในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2511 ไภยสาเหบ ยัสหวันต์ เอ็มเบ็ดการ์เสียชีวิตในปีพุทธศักราช 2520  หลังจากนั้นภรรยาของท่านคือนางมิราเทีย เอ็มเบ็ดการ์ก็ได้รับเลือกเป็นประธานพุทธสมาคมแห่งอินเดีย การประชุมชาวพุทธในอินเดียครั้งที่ 2 จัดขึ้นโดยสมาคมที่นาคปุร์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2523 ส่วนครั้งที่สามเป็นการประชุมตัวแทนชาวพุทธในอินเดีย จัดโดยพุทธสมาคมที่เอ็มเบ็ดการ์ภาวัน นิวเดลี ในวันที่ 18-19 มีนาคม พ.ศ. 2532
        พุทธสมาคมแห่งอินเดียมีที่ทำการอยู่ที่เอ็มเบ็ดการ์ภาวัน ถนนโกคุลดัส ปัสตะ ดาดาร์ บอมเบย์- 14  มีสาขาอยู่เกือบทุกอำเภอและตำบลในรัฐมหาราษฎร์ ยังมีเครือข่ายของแต่ละสาขาในรัฐอื่นๆในอินเดียอีกด้วย
 

2. องค์กรพุทธศาสนสัมพันธ์แห่งโลก (W.F.B. CENTRES)

        เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาที่ชาวพุทธจากทั่วโลก ได้รวมตัวกันภายใต้ธง 6 สีคือพุทธศาสนสัมพันธ์แห่งโลกที่กรุงโคลัมโบ ศรีลังกา  ในปีพุทธศักราช 2493 ความน่าเชื่อถือสำหรับการสถาปนาองค์กรนี้ขึ้นมุ่งต่อดร. จี.พี.มาลาลาเสขระ ประธานผู้ก่อตั้ง ผู้ที่จัดให้มีการประชุมทั่วไปครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม 2493 ดร. บี.อาร์ เอ็มเบ็ดการ์ผู้ริเริ่มการฟื้นฟูศาสนาที่ยิ่งใหญ่ในอินเดียได้เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ด้วยในฐานะแขกรับเชิญพิเศษ จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กรพุทธศาสนสัมพันธ์แห่งโลกคือ
        1. เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกปฏิบัติศาสนกิจและปฏิบัติอย่างถูกต้องในคำสอนของพระพุทธเจ้า
        2. เพื่อสานความสามัคคี ความพร้อมเพรียงกันและความสัมพันธ์ฉันท์พี่น้องในระหว่างชาวพุทธ
        3. เพื่อเผยแผ่คำสอนอันสูงส่งของพระพุทธเจ้า
        4. เพื่อรวบรวมและส่งเสริมการให้บริการแก่สังคม,การศึกษา,วัฒนธรรมและบำเพ็ญประโยชน์อื่นๆต่อมนุษยชาติ
        5. เพื่อสร้างสันติภาพอันยั่งยืนและความกลมกลืนกันในระหว่างมนุษย์ และความสุขสำหรับสรรพสัตว์ และเพื่อร่วมมือกับองค์กรอื่นที่ทำงานที่มีจุดมุ่งหมายคล้ายคลึงกัน

 

        สำนักงานใหญ่ถาวรขององค์กรพุทธศาสนสัมพันธ์แห่งโลก   ตั้งอยู่ที่เลขที่ 41 ถนนพระอาทิตย์ กรุงเทพ ประเทศไทย   องค์กรพุทธนานาชาติปัจจุบันมีศูนย์กลางอยู่ทั่วโลกมากกว่า 60 แห่ง ในอินเดีย ศูนย์กลางทางศาสนาขององค์กรพุทธศาสนสัมพัธ์แห่งโลก (W.F.B.) คือ
        1. พุทธสมาคมแห่งอัสสัม เทสังฆปาณี สิบสาคร
        2. อโศกมิชชั่น นิวเดลี
        3. พุทธสมาคมเบงกอล กัลกัตตา
        4. พุทธสมาคมแห่งอินเดีย บอมเบย์
        5. พุทธสมาคมลาดัคห์ เลห์
        6. มหาโพธิสมาคมแห่งอินเดีย กัลกัตตา
        7. มหาโพธิอโศกมิชชั่น อัชเมอร์
        8. พุทธสมาคมแห่งอินเดียใต้ มัทราส
        9. พุทธสมาคมไตรปุร ราชยะ อการตาลา

 

3. ศูนย์สมาธิ

        สมาธิในพระพุทธศาสนามีอยู่ 2 ประเภทคือสมถะ(ความสงบจิตหรือการพัฒนาสมาธิทางจิต) และวิปัสสนา (ญาณ การมองสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง) ภายหลังจากที่พระพุทธศาสนาได้ตกต่ำ การปฏิบัติวิปัสสนาก็ได้อันตรธานไปจากอินเดีย แต่นับเป็นความโชคดี ที่ยังคงถูกรักษาไว้ด้วยความบริสุทธิ์ตามแบบดั้งเดิมในพม่า จากพม่าการปฏิบัติวิปัสสนาได้ถูกนำกลับคืนสู่อินเดียอีกครั้งในปีพุทธศักราช 2512 โดยเอ็ส. เอ็น. โคเอ็นก้า คนอินเดียแต่อาศัยอยู่ในพม่า ได้ศึกษาวิธีปฏิบัติวิปัสสนาจากท่านสยัคยี อู บา ขิ่นครูสอนวิปัสสนาสมาธิผู้มีชื่อเสียงในพม่าสมัยใหม่ ในปีพุทธศักราช 2519 อาจารย์ เอ็ส.เอ็น โคเอ็นก้า ได้ก่อตั้งสถาบันวิปัสสนานานาชาติขึ้นที่ไอกัตปุรีในรัฐมหาราษฎร์ ในปัจจุบันมีศูนย์วิปัสสนาถึง 4 แห่งที่ท่านได้ก่อตั้งขึ้นในอินเดีย อย่างน้อยที่สุดในเดือนหนึ่งจะมีการฝึกอบรม 10 วัน มีศูนย์สมาธิต่างๆ ดังนี้
        1. สถาบันวิปัสสนานานชาติธัมมคีรี ไอกัตปุรี 422403 เมืองนาสิก รัฐมหาราษฎร์
        2. ศูนย์วิปัสสนาธัมมธาลี ถนนสิโสไดเอบูค-คัลตาจี ไชยปุระ-302001,ราชสถาน
        3. ศูนย์สมาธิวิปัสสนานานาชาติธัมมเขต กุสุมนาคาร์ ห่างจากถนนนาครชุนสาคาร์ 12.6 กิโลเมตร ไฮเดอร์ราบาด-500661,อันธรประเทศ
        4. ธัมมคันกาวิปัสสนาเคนทร์ บาโร แมนดิร์ โสเดปุระ,ปานิหตี 24 ปรากานส์(กัลกัตตา)-743176, เวสท์เบงกอล
ศูนย์สมาธิพุทธศาสนาอีกแห่งอื่นๆคือ
        1. ศูนย์สมาธินานาชาติที่โพธคยา เมืองคยา รัฐพิหาร
เลขาธิการทั่วไปคือพระ ดร. รัฏฐปาลภิกขุ
        2. ศูนย์สมาธิมหาโพธิ 14  ถนนเฟอสเมน จันดิการ์ บานาลอร์- 9,การนาตกะ มีสาขาอยู่ที่: เลห์-ลาดักห์-194101,จัมมูแคชเมียร์ ผู้ก่อตั้ง: อาจารย์พุทธรักขิต 
        3. ศูนย์สมาธิอนาคาริกธรรมปาละ กัลกัตตา
        4. วิดารสาร ธยาน อัสรัม ไฮเดอร์ประ,สิลิคุรี ดารจิลิง รัฐเวสท์เบงกอล
        5. ศูนย์สมาธิตุสิตมหายาน ซี 34 เอ นิซัมมูดินตะวันออก นิวเดลี-110013

 

 

4. สถาบันการศึกษา

        ในเรื่องของการศึกษา สมาคมการศึกษาของประชาชน เมืองบอมเบย์ เป็นผู้นำชาวพุทธทั้งมวล ก่อตั้งโดยดร. บี.อาร์ เอ็มเบ็ดการ์ ในปีพุทธศักราช 2488 สถานที่ทำการตั้งอยู่ที่อานันท์ ภาวัน ใกล้น้ำพุ(แหล่งกำเนิด)ถนนดาดาไภ เนาโรจี บอมเบย์-1 ในปีพุทธศักราช 2499 ดร.เอ็มเบ็ดการ์ได้ก่อตั้งวิทยาลัยขึ้น 3 แห่งที่บอมเบย์(สิทธารถ  วิทยาลัยทางศิลปะและวิทยาศสาตร์,สิทธารถ วิทยาลัยทางเศรษฐกิจและพาณิชย์,และสิทธารถ วิทยาลัยทางกฏหมาย)และอีกแห่งหนึ่งที่ออลังกบาด (มิลินทมหาวิทยาลัย)  และยังได้สร้างไฮสกูลขึ้นอีก 2 แห่งคือสิทธารถไนท์ไฮสกูล,บอมเบย์และมิลินท์โรงเรียนไฮสกูลอเนกประสงค์ ที่ออลังกบาด สมาคมทางการศึกษาของประชาชน สอนถึงระดับปริญญาตรี ปัจจุบันมีอยู่ถึง 5 แห่งในบอมเบย์ ในออลังกบาดอีก 5 แห่ง,ที่มหัด 1 แห่งและที่ปูเณ่อีก 1 แห่งสมาคมยังดำเนินการจัดการไฮสกูลอีก 6 แห่งคือ ในบอมเบย์ 2 แห่ง ในออลังกบาด 2 แห่ง ที่ดาโปลี 1 แห่งและที่ปันธารปุระอีก 1 แห่ง ยังมีโรงเรียนระดับประถมอีกหลายแห่ง  พี.อี เอ็สยังได้สร้างหอพักในสถานที่ต่างๆ เพื่อประโยชน์ของนักศึกษาที่มาจากต่างเมือง
        มหาโพธิสมาคมแห่งอินเดียได้สร้างโรงเรียนและวิทยาลัย 3 แห่งที่สารนาถ อิสิปตนะแผ่นดินอันศักดิสิทธิ์คือธรรมปาลดีกรีวิทยาลัย,โรงเรียนมัธยมระดับสูงมหาโพธิและวิทยาลัยฝึกหัดครูมหาโพธิ
        ที่กุสินาคาร์ สถานที่มหาปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ปัจจุบันมีโรงเรียนไฮสกูลและวิทยาลัยคือมหาวีระวิทยาลัยและพุทธวิทยาลัย สร้างโดยพระอู จันทรามณีมหาเถระ
        สถาบันวิจัยเบื้องต้นทางภาษาบาลีอยู่ที่สถาบันวิจัยและบัณฑิตวิทยาลัยในการศึกษาพุทธศาสนาและภาษาบาลี เมืองนาลันทา ปัตนะ รัฐพิหาร นวนาลันทามหาวิหาร เป็นสถาบันที่รู้จักกันแพร่หลาย เป็นสถานที่ในการศึกษาค้นคว้าบาลีไตรปิฎกอักษรเทวนาครี ภายใต้การสนับสนุนของพระจักดิสห์ กัสหยัป

 

        สถาบันวิจัยทางวิปัสสนา (วี.อาร์.ไอ) ธัมมคีรี ที่ก่อตั้งโดยสถาบันวิปัสสนานานาชาติ ไอกัตปุรี รัฐมหาราษฎร์ เมื่อไม่นานมานี้ได้เริ่มต้นศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกและอรรถกถา (ตำราภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่พระพุทธใช้ในการสอนธรรม) ในอักษรโรมันเพื่อวัตถุประสงค์ในการวิจัยในอนาคต
        สถาบันวิจัยภาษาบาลีที่อื่นๆอีกสถาบันการศึกษาภาษาบาลีและพุทธวิทยามหาโพธิ์,สรัสวธีปุรัม,ไมซอร์-570009 การนาตกะ สถาบันนี้ก่อตั้งโดยอาจารย์พุทธรักขิต มหาโพธิสมาคม บังกาลอร์
        สถาบันอีก 2 แห่งคือ นาลันทาวิทยาภาวัน กัลกัตตา เป็นสถาบันทางพุทธวิทยาก่อตั้งโดยพุทธสมาคมเบงกอลในปีพุทธศักราช 2478 และศูนย์ศึกษาและวิจัยพุทธศาสตร์นานาชาติ สิลิคุรี ก่อตั้งโดยพระปรัชญานันทะในปีพุทธศักราช 2527
สถาบันที่สำคัญที่สนับสนุนการวิจัยพุทธศาสนาในธิเบตคือ
        1. โรงเรียนพุทธปรัชญา เลห์ ลาดัคห์ จัมมูแคชเมียร
        2. สถาบันธิเบตวิทยาและพุทธศาสตร์สิกขิม คังโตก สิกขิม
        3. สถาบันกลางในการศึกษาธิเบตชั้นสูง สารนาถ
อุตตรประเทศ

 

 

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
แปลจาก D.C. Ahir, Buddhism in Modern India, Sri Satguru Publications,Delhi,1991. (บทที่ 5)
28/05/55

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก