ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

             พระไตรปิฎกคือคัมภีร์ที่บรรจุหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาซึ่งมีเป็นจำนวนมาก เป็นปัญหาของผู้เริ่มต้นศึกษาว่าจะเริ่มจากตรงไหนก่อน เมื่อเริ่มต้นไม่ถูกเลยไม่ศึกษา พระไตรปิฎกนั้นเริ่มต้นจากตรงไหนก่อนก็ได้ สนใจเล่มใดก็เปิดเล่มนั้นขึ้นมาศึกษา โดยอ่านเฉพาะเรื่องที่สนใจไม่จำเป็นต้องอ่านให้จบเล่ม หากทำดังนี้การศึกษาพระไตรปิฏำก็ไม่ใช่เรื่องยาก ไม่หนักใจเพราะเราอ่านตรงไหนจากที่ใดก็ได้ พระไตรปิฏกมีสามปิฏกคือพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก หากจะศึกษาเรียงตามลำดับจะเริ่มต้นที่พระวินัยปิฎก

โครงสร้างพระวินัยปิฎก
             พระวินัยปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระวินัย คือพุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและการดำเนิน
กิจการต่างๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ โครงสร้างพระวินัยที่สำคัญแบ่งออกเป็น 3 ชั้นคือ
             1. โครงสร้างชั้นบาลี หมายถึงพระพุทธพจน์ที่ประมวลไว้ในพระวินัยปิฎก จัดแบ่งออกเป็น 5 คัมภีร์เรียกชื่อย่อ หรือหัวใจว่า อา ปา ม จู ป คือ
                          1. อา คือ อาทิกัมมิกะหรือปาราชิก ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติหนักของฝ่ายภิกษุสงฆ์ ตั้งแต่ปาราชิกถึงอนิยต
                          2. ปา คือ ปาจิตตีย์ ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติเบา ตั้งแต่นิสสัคคิยปาจิตตีย์ถึงเสขิยะ รวมตลอดทั้งภิกขุนีวิภังค์ทั้งหมด
                          3. ม คือ มหาวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนต้น 11 ขันธกะ หรือ 11 ตอน
                          4. จุ คือ จุลวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนปลาย 12 ขันธกะ
                          5. ป คือ ปริวาร คัมภีร์ประกอบหรือคู่มือ บรรจุคำถามคำตอบสำหรับซ้อมความรู้พระวินัย พระวินัยปิฎกนี้บางแห่งก็แบ่งอีกแบบหนึ่งเป็น 5 คัมภีร์เหมือนกัน เพียงแต่เรียกชื่อย่อต่างกันไปบ้างว่า ม ภิ ม จู ป คือ
                          1. ม คือ มหาวิภังค์หรือภิกขุวิภังค์ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล 227 ข้อ) ฝ่ายภิกษุสงฆ์
                          2. ภิ คือ ภิกขุนีวิภังค์ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล 311 ข้อ) ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์
                          3. ม คือ มหาวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนต้น 11 ขันธกะ หรือ 11 ตอน
                          4. จู คือจุลวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนปลาย 12 ขันธกะ
                          5. ปริวาร คัมภีร์ประกอบหรือคู่มือ บรรจุคำถามคำตอบสำหรับซ้อมความรู้พระวินัย บางทีท่านจัดให้ย่นย่อเข้าอีก แบ่งพระวินัยปิฎกเป็น 3 หมวด เรียกชื่อย่อว่า สุ ข ป คือ

 

 
             1. สุ คือ สุตตวิภังค์ เป็นชื่อคัมภีร์ที่ประมวลสิกขาบทในมหาวิภังคืหรือภิกขุวิภังค์และภิกขุภีวิภังค์เข้าด้วยกัน
             2.วิ คือ มหาวิภังค์ หรือภิกขุวิภังค์และภิกขุนีวิภังค์ เป็นชื่อคัมภีร์ที่ประมวลสิกขาบทจากทั้ง 2 วิภังค์นี้มาไว้ด้วยกัน
             3. ป คือ ปริวาร เป็นชื่อคัมภีร์ส่วนประกอบหรือภาคผนวก บางทีท่านจัดให้ย่นย่อเข้าอีก แบ่งพระวินัยปิฎกเป็น 3 หมวด วิ ข ป คือ
             1. วิภังค์ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ทั้งฝ่ายภิกษุสงฆ์และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ (คือรวมข้อ 1 และ 2 ข้างต้นทั้งสองแบบเข้าด้วยกัน)
             2. ขันธกะว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ทั้ง 22 ขันธกะหรือ 22 บทตอน (คือรวมข้อ 3 และ 4 เข้าด้วยกัน)
             3. ปริวารว่า คัมภีร์ประกอบ (คือข้อ 5 ข้างบน)
              ในประเทศไทยเมื่อจัดแบ่งพระวินัยปิฎกออกเป็นเล่มตามคตินิยมของไทยแล้วท่านจัดแบ่งเป็นพระวินัยปิฎก 8 เล่มคือ
              
             เล่ม 1 มหาวิภังค์ ภาค 1ว่าด้วยปาราชิก สังฆาทิเสส และอนิยตสิกขาบท(สิกขาบทในปาฏิโมกข์ฝ่ายภิกษุสงฆ์ 19 ข้อแรก)
                           เล่ม 2 มหาวิภังค์ ภาค ว่าด้วยสิกขาบทเกี่ยวกับอาบัติเบาของภิกษุ(เป็นอันครบสิกขาบท 227 หรือ ศีล 227)
             
              เล่ม 3 ภิกขุนีวิภังค์ว่าด้วยสิกขาบท 311 ของภิกษุณี
                           เล่ม 4 มหาวรรค ภาค 1 มี 4 ขันธกะ ว่าด้วยการอุปสมบท (เริ่มเรื่องตั้งแต่ตรัสรู้และประดิษฐานพระศาสนา)อุโบสถ จำพรรษา และปวารณา
                           เล่ม 5 มหาวรรค ภาค 2มี 6 ขันธกะ ว่าด้วยเรื่องเครื่องหนังเภสัช กฐิน จีวร นิคหกรรม และการทะเลาะวิวาท และสามัคคี
                           เล่ม 6 จุลวรรค ภาค 1มี 4 ขันธกะ ว่าด้วยเรื่องนิคหกรรม วุฏฐานวิธีและการระงับอธิกรณ์
                           เล่ม 7 จุลวรรค ภาค 2 มี 8 ขันธกะ ว่าด้วยข้อบัญญัติปลีกย่อยเรื่องเสนาสนะ สังฆเภท วัตรต่างๆ การงดสวดปาฏิโมกข์ เรื่องภิกษุณี เรื่องสังคายนาครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
              
            เล่ม 8 ปริวารคู่มือถามตอบซ้อมความรู้พระวินัย

2. โครงสร้างชั้นอรรถกถา               
               หมายถึงคัมภีร์หรือปกรณ์ที่พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายได้รจนาหรือเรียบเรียงขึ้น เพื่ออธิบายความหมายของพระวินัย จัดแบ่งออกเป็น 7 คัมภีร์คือ
1. สมันตปาสาทิกา 2. กังขาวิตรณีอัฏฐกถา 3. วินยสังคหอัฏฐกถา 4. วินยวินิจฉัย 5. ขุททสิกขา 6. มูลสิกขา

3. โครงสร้างชั้นฎีกา
               หมายถึงคัมภีร์หรือปกรณ์ที่พระฎีกาจารย์ทั้งหลายได้รจนาหรือเรียบเรียงขึ้น เพื่ออธิบายเพิ่มเติมต่อจากที่พระอรรถกถาจารย์ได้อธิบายไว้ จัดแบ่งออกเป็น 11 คัมภีร์คือ 1. วชิรพุทธฎีกา 2. สารัตถทีปนีฎีกา 3. วิมติวิโนทนีฎีกา 4.กังขาวิตรณีปุราณฎีกา 5.วินยัตถมัญชุสา กังขาวิตรณี อภินวฎีกา 6.วินยาลังการฎีกา 7.วินยวินิจฉยฎีกา 8.อุตตรวินิจฉยฎีกา 9.ขุททสิกขาปุราณฎีกา 10.ขุททสิกขาอภินวฎีกา 11. มูลสิกขาฎีกา

 

อาทิพรหมจริยกาสิกขาและอภิสมาจาริกาสิกขา อาทิพรหมจริยกาสิกขา               
               หมายถึงหลักการศึกษาอบรมในฝ่ายบทบัญญัติหรือข้อปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้นของพรหมจรรย์ เพื่อป้องกันความประพฤติเสียหายทางกายและวาจา ซึ่งก็คือสิกขาบทที่มาในพระปาฏิโมกข์นั่นเอง
             อภิสมาจาริกาสิกขา หมายถึงหลักการศึกษาอบรมในฝ่ายขนบธรรมเนียม ที่จะทำให้ภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์มีความประพฤติ ความเป็นอยู่เหมาะสมดีงาม และมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น เช่น ข้อปฏิบัติในเสขิยวัตรทั้ง 75 สิกขาบท ซึ่งว่าด้วยการนุ่งห่ม การฉันอาหาร การยืน การเดิน การนั่ง เป็นต้น ความหมายของคำว่าวินัย
คำว่า “วินัย”มีความหมายตามที่พระอรรถกถาจารย์ได้ประพันธ์เป็นคาถาไว้ว่า วิวิธวิเสสนยตฺตา วินยนโต เจว กายวาจานํ วินยตฺถวิทูหิ อยํ วินโย วินโยติ อกฺขาโต ฯ พระวินัยอันบัณฑิตผู้รู้อรรถแห่งวินัยทั้งหลาย กล่าวว่า วินัย เพราะนัยต่างๆ เพราะมีนัยพิเศษ และเพราะฝึกกายและวาจา เมื่อพิจารณาจากคำแปลนี้ สามารถแยกแยะความหมายของคำว่า “วินัย” ออกเป็น 3 นัย คือ
               1. วินัย หมายถึง นัยต่างๆ (วิวิธ + นย) เพราะมีปาฏิโมกข์ 2 คือภิกขุปาฏิโมกข์ และภิกขุนีปาฏฺโมกข์ มีวิภังค์ 2 คือ ภิกขุวิภังค์และภิกขุนีวิภังค์ และมีอาบัติ 7 กองเป็นต้น
               2. วินัย หมายถึงนัยพิเศษ (วิเสส + นย) เพราะมีพระอนุบัญญัติเพิ่มเติมให้สิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้วมีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น หรือผ่อนผันให้เหมาะสมแก่การกระทำความผิดหรือการล่วงละเมิด
               3. วินัย หมายถึงกฎหรือข้อบังคับสำหรับฝึกอบรมกายและวาจา (วินยนโต เจว กายวาจานํ) เพราะเป็นเครื่องป้องกันการประพฤติไม่เหมาะสมทางกายและวาจา
               คำที่เป็นไวพจน์ของคำว่า “วินัย” คำว่า “วินัย” มีคำที่เป็นไวพจน์หรือคำที่เขียนต่างกัน แต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมากอยู่ 3 คำคือ 1. ศีล หมายถึงความประพฤติดีงามทางกายและวาจา การรักษาการวาจาให้เรียบร้อย หรือข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความเรียบร้อยดีงาม
               2. พระบัญญัติ หมายถึงสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ ข้อห้ามมิให้ภิกษุและภิกษุณีประพฤติล่วงละเมิด ซึ่งมีบทกำหนดโทษหรือปรับอาบัติแก่ผู้ประพฤติล่วงละเมิด ถ้าเป็นการบัญญัติสิกขาบทครั้งแรกเรียกว่ามูลบัญญัติ หรือพระบัญญัติ ถ้าบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมให้กับสิกขาบทนั้นๆ เพื่อให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้นหรือผ่อนผันให้เหมาะสมแก่การกระทำความผิด สิกขาบทที่ทรงบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมนี้เรียกว่าพระอนุบัญญัติ
               3. สิกขาบท หมายถึงข้อความที่ต้อง ข้อศีล ข้อวินัย บัญญัติข้อหนึ่งๆ ในพระวินัยที่พระพุทธบริษัททุกหมู่เหล่าพึงศึกษาปฏิบัติเช่น ศีล 5 ศีล 8 ศีล 11 ศีล 227 และศีล 311 ซึ่งศีลแต่ละข้อดังกล่าวนี้เรียกว่าสิกขาบท ที่อุบาสก อุบาสิกา สามเณร สามเณรี ภิกษุ ภิกษุณี จะต้องศึกษาและฝึกฝนอบรมตนให้ดีงาม เพื่อจะได้ไม่ประพฤติล่วงละเมิดสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้

 

 

อานิสงส์การเรียนพระวินัย

             บรรพชิตหรือคฤหัสถ์ที่ศึกษาเล่าเรียนและปฏิบัติตามพระวินัยคือศีลอย่างเคร่งครัดแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ตามที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกและอรรถถกถาเหมือนกัน 5 ประการคือ
               1. อตฺตโน สีลกฺขนฺโธ สุคุตฺโต สุรกฺโข กองศีลของตนเป็นอันรักษาไว้ดีแล้ว
               2. กุกฺกุจฺจปกตานํ ปฏิสรณํ โหติ เป็นที่พึ่งแก่เหล่ากุลบุตรที่ถูกความสงสัยครอบงำได้
               3. วิสารโท สํฆมชฺเฌ โวหรติ กล้าแสดงความคิดเห็นในท่ามกลางสงฆ์
               4. ปจฺจตฺถิเก สหธมฺเมน สุนิคฺคหิตํ นิคฺคณฺหาติ ข่มขี่ฝ่ายตรงข้ามคือข้าศึกได้ด้วยดีโดยสหธรรม
               5. สทฺธมฺมฏฺฐิติยา ปฏิปนฺโน โหติ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
นอกจากนี้การศึกษาเล่าเรียนและการปฏิบัติตามพระวินัยคือศีลอย่างเคร่งครัดยังมีอานิสงส์อีก 3 ประการคือ
               1. สีเลน สุคตึ ยนฺติ บุคคลย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์ได้ก็เพราะศีล
               2. สีเลน โภคสมฺปทา บุคคลย่อมพรั่งพร้อมด้วยโภคทรัพย์ได้ก็เพราะศีล
               3. สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ บุคคลย่อมบรรลุพระนิพพานได้ก็เพราะศีล
               ที่แสดงมาทั้งหมดนี้เป็นเรื่องโครงสร้างของพระวินัยปิฎก อ่านแล้วอาจจะทำให้หนักสมองไปบ้าง แต่เรื่องบางอย่างจำเป็นต้องมีราบละเอียด แม้จะยากไปบ้าง หากศึกษาจนเข้าใจแล้วจะเป็นเบื้องต้นในการค้นคว้าต่อไป



พระมหาบุญไทย ปุญญมโน
รวบรวม/เรียบเรียง
แก้ไขปรับปรุง 30/06/53


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก