ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai



หลักฐานในวินัยปิฏก
          1.วินัยปิฏก เล่ม 7 หน้า 346 ห้ามมิให้มีภิกษุมีทาสหญิงชายไว้ใช้ ภิกษุใดฝ่าฝืนต้องอาบัติทุกกฎ
          2.วินัยปิฏก เล่ม 4 หน้า 156 แสดงว่าทาสที่มาบวชแล้ว ได้รับสิทธิทั้งปวงเท่าเทียมกับภิกษุอื่น และพระเจ้าแผ่นดินในครั้งนั้นก็ถือว่าท่านที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาแล้วให้ถือว่าเจ้าของไม่มีสิทธิที่จะจับกุมหรือเรียกตัวคืน แต่เพื่อตัดปัญหายุ่งยากพระบรมศาสดาจึงทรงบัญญัติสิกขาบทให้ผู้จะเข้าบวชมิใช่ผู้หนีเขามา ต้องได้รับอิสรภาพก่อน จึงมีคำถามที่ว่า ท่านเป็นไทหรือ หมายความว่า ไม่เป็นทาสหรือ

หลักฐานในสุตตันตปิฏก
          1.สุตตันตปิฏก เล่ม 22 หน้า 232 ทรงแสดงเรื่องการค้าขายที่อุบาสกควรงดเว้นว่ามีการค้าทาสรวมอยู่ด้วยข้อหนึ่ง
          2.ทรงแสดงคุณลักษณะของนักบวช ว่าจะต้องไม่รับทาสีทาสาที่มีผู้มอบให้ในสุตตันตปิฏก เล่ม 12 หน้า 284 และเล่ม 24 หน้า 220
          3. ในสุตตันตปิฏก เล่ม 23 หน้า 46 มีเรื่องเล่าว่า พราหมณ์คนหนึ่งกำลังตั้งพิธีบูชายัญเพื่อจะฆ่าสัตว์ต่าง ๆ ชนิดละ 500 ตัว ซึ่งเป็นการบูชายัญครั้งสำคัญ ครั้นแล้วจะคิดอย่างไรไม่ปรากฏ ได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทูลถามถึงเรื่องการบูชาไฟและบูชายัญ พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องการบูชาไฟ แบบตีความหมายใหม่ (Reinterpretation) ว่าในพระพุทธศาสนามีการบูชาไฟเหมือนกัน แต่ไฟในที่นี้ไม่ใช่ไฟจริง ๆ หากเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนในลักษณะต่าง ๆ กัน โดยทรงแสดงว่าไฟที่พึงบูชามี 3 ประเภท คือ :
          1.) ไฟคือบุคคลผู้ควรเคารพ (อาหุเนยยัคคิ) ได้แก่ มารดา บิดา เป็นไฟที่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา และปฏิบัติต่อในทางที่ให้มีความสุขโดยชอบ
          2.) ไฟคือคฤหบดี (คหปตัคคิ) ได้แก่ บุคคลผู้เกี่ยวข้องในบ้านคือ บุตร ภริยา ทาส และคนรับใช้ เป็นไฟที่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา และปฏิบัติต่อในทางที่ให้มีความสุขโดยชอบ
          3.) ไฟคือบุคคลผู้ควรแก่ทักขิณา คือ ของที่ให้โดยเคารพ (ทักขิเณยยัคคิ) ได้แก่ สมณพราหมณ์ผู้เว้นจากความมัวเมาประมาท ผู้ตั้งอยู่ในขันติความอดทน และโสรัจจะ ความสงบเสงี่ยม ผู้ฝึกตน ทำตนให้สงบระงับ เป็นไฟที่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา และปฏิบัติต่อในทางที่ให้มีความสุขโดยชอบ

          พราหมณ์ได้ฟังดังนี้ ก็เลิกบูชายัญ ปล่อยสัตว์ให้เป็นอิสระ เพราะเห็นว่าการบูชาไฟแบบตนเป็นการทรมานสัตว์ สู้การบูชาแบบปฏิบัติตนให้เหมาะสมต่อบุคคลในสังคมไม่ได้มีข้อพึงสังเกตว่า คำว่า บูชา สักการะ เคารพ ในที่นี้เป็นคำที่ใช้เพื่อเลียนแบบการบูชาไฟของพราหมณ์เท่านั้น เมื่อกล่าวถึงบุตร ภริยา ทาส คนรับใช้ ที่บุคคลพึงปฏิบัติต่อเขาเหล่านั้นด้วยดี ก็ไม่ใช่หมายความว่าให้ลงกราบหรือแสดงความเคารพอย่างไร หากให้ปฏิบัติตามความเหมาะสมให้เขามีความสุขจึงเห็นได้ชัดว่า ในกรณีที่ห้ามไม่ให้ซื้อทาสขายทาส หรือชี้แจงให้ละเว้นการมีทาสไว้ใช้ แต่ไม่สำเร็จในบางราย พระพุทธเจ้าก็ทรงสั่งสอนให้ปฏิบัติต่อทาสด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี ให้ทาสมีความสุข ไม่ใช่โหดร้ายทารุณต่อเขาบัดนี้ท่านผู้อ่านอาจพิจารณาได้เองว่า คำสอนเรื่องนี้เป็นคุณลักษณะพิเศษแห่งพระพุทธศาสนาอย่างไรบ้างพระพุทธศาสนากับการปลดเปลื้องทาสภายในคำว่าทาสภายในนั้นหมายความว่า บางครั้งคนเรามีอิสรภาพทางกายไปไหนมาไหนได้ หรือมีตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชาคนอื่นด้วยซ้ำ แต่การมีอิสรภาพทางกายมิได้หมายความว่า คนเราเป็นผู้มีอิสรภาพสมบูรณ์แล้ว เพราะบางทีคนเราก็เป็นทาสแห่งอำนาจฝ่ายต่ำ เช่น ความทะยานอยาก (ตัณหาทาโส) หรือความโลภ ความโกรธ และความหลงอย่างโงไม่ขึ้น ยอมทำความชั่วทุกจริต หรือแสดงอาการที่เลวทรามทุกอย่างสุดแต่ความโลภ ความโกรธและความหลงจะใช้หรือบัญชาให้ทำอะไรลงไปเคยมีผู้เปรียบกิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ว่าเหมือนม้าที่ผูกเชือกล่ามกับคนผู้เป็นเจ้าของ บางครั้งเจ้าม้า 3 ตัวนี้เกิดแสดงฤทธิ์เดชออกวิ่งนำหน้าเจ้าของอย่างรวดเร็วจนเดินหรือวิ่งตามไม่ทัน แล้วลองนึกหลับตาวาดภาพดูทีหรือว่าจะเป็นอย่างไร ภาพที่คนถูกม้าซึ่งล่ามเชือกติดกันไว้ฉุดกระชากล้มลุกคลุกคลาน ถลอกปอกเปิก ถึงขนาดอาจเสียชีวิตได้ในที่สุดนั้น อาจเป็นคติเตือนใจได้ดีกว่า ถ้าเราไม่พยายามรั้งบังเหียนขึ้นขี่หลังม้าควบคุมไว้ให้อยู่ในอำนาจเราบ้าง ก็จะต้องได้รับความลำบากเดือดร้อนดังตัวอย่างนี้
          เราคงได้ยินข่าวคนฆ่าตัวตาย เพราะรักไม่สมหวัง เพราะอยากสอบได้แต่กลับสอบตก หรือข่าวคนฟันกันยิงกัน หรือประหัตประหารกันด้วยวิธีการอย่างอื่น เพียงเพื่อสนองความไม่พอใจอันเกิดขึ้นประเดี๋ยวเดียว แต่ส่งผลให้คนที่ทำร้ายกันนั้นต้องบาดเจ็บหรือเข้าคุกเข้าตะรางไปทนทุกข์ทรมานอยู่แรมปี หรือบางครั้งไม่ใช่เรื่องของความโลภ ความโกรธ แต่เป็นเรื่องของความหลงซึ่งกินความถึงความมัวเมาประมาท เช่น ขับรถเร็วด้วยความคะนอง รถคว่ำหรือชนต้นไม้ ตกคู ตัวผู้ขับเสียชีวิต หรือทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต ดื่มสุรามากไปจนคุมสติไว้ไม่อยู่ตกน้ำตายบ้าง กลับบ้านไม่ถูก หรือเข้าบ้านผิดบ้าง
          ความจริงคนเราที่เกิดมานี้ ที่ยังมิได้บรรลุมรรคผลก็ต้องมีโลภโกรธหลงกันทุกคนเป็นธรรมดา เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจและน่าให้อภัยในการที่มนุษย์ยังต้องลุ่ม ๆ ดอน ๆ สุขบ้างทุกข์บ้าง ดีกันบ้างทะเลาะกันบ้าง แต่ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า ถ้าพอจะรู้สึกตัวได้ ก็อย่าถึงกับปล่อยให้ความโลภ ความโกรธ และความหลงมันฉุดกระชาก หรือบังคับบัญชาเราเสียจนล่มจมป่นปี้ ต้องคอยรั้งบังเหียนไว้บ้าง ด้วยการหักห้ามใจ หรือสอนใจเตือนใจตัวเราเอง
          ข้อที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ ถ้าเรารู้ว่าเรากำลังโลภ กำลังโกรธ หรือกำลังหลง ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่บางครั้งเจ้าความโลภ โกรธ หลงนี้มันปลอมตัวมาในรูปมิตรทำให้เราหลงเคารพบูชา หรือไม่รู้สึกตัวว่าเราเป็นทาสมันนี่สิร้ายนัก เพราะมันจะทำให้เรารู้สึกว่าเราทำถูกแล้ว เราไม่ได้เป็นทาสของอะไรเลย ถ้าพูดตามภาษาสมัยใหม่ก็ต้องว่า ความโลภ โกรธ หลง มันทำงานใต้ดินเอาเราเป็นทาสโดยไม่รู้สึกตัว พอรู้สึกก็ระเบิดตูมตามออกมาแล้ว จึงเป็นข้อที่ควรระวังมาก

 

          พระพุทธศาสนาสอนให้เราปลดปล่อยตัวเราเองให้พ้นจากความเป็นทาสภายในโดยวิธีการ 3 ขั้น ดังนี้ :-
          1.ความเป็นทาสอย่างหยาบ คือ ความโลภ โกรธ หลง อย่างรุนแรงถึงเหตุให้ประพฤติชั่วทางกายกับวาจา ให้แก้ด้วย ศีล คือตั้งใจเว้นจากการฆ่า การโกง การลักขโมย เป็นต้น
          2.ความเป็นทาสอย่างกลาง คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลงอย่างพอประมาณ ให้แก้ด้วยธรรม เช่นให้มีความเมตตากรุณา ให้มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้มีสติสำรวมระวัง คำว่า ศีลธรรม ที่มาคู่กันก็หมายความว่าศีลนั้นให้เว้นความชั่ว ส่วนธรรมคือให้อบรมความดี ศีลแก้ความเป็นทาสภายในอย่างหยาบ ธรรมแก้ความเป็นทาสภายในอย่างกลาง หรือจะกล่าวอีกสำนวนหนึ่งก็ได้ว่า ศีลแก้กิเลสอย่างหยาบ สมาธิแก้กิเลสอย่างกลาง คำว่า สมาธิ หมายความว่าการทำใจให้สงบระงับ มีวิธีการไม่น้อยกว่า 40 วิธี
          3.ความเป็นทาสอย่างละเอียด ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลงที่แฝงตัวอย่างลึกซึ้งจนเราไม่รู้สึกว่าเป็นกิเลส บางคราวมันเก็บตัวเงียบเหมือนตะกอนนอนก้นตุ่มพอมีอะไรมากระทบกระเทือนก็แสดงตัวออกทันที ความเป็นทาสอย่างละเอียดนี้ต้องแก้ด้วยใช้ ปัญญา พิจารณาเหตุผลให้รู้แจ้งประจักษ์ในความจริงของสิ่งทั้งหลาย คำว่า ปัญญาที่ใช้สำหรับแก้กิเลสอย่างละเอียดนี้ บางครั้งเรียกว่า วิปัสสนา แปลว่าเห็นอย่างแจ่มแจ้ง
          จากข้อความที่กล่าวมา อันเกี่ยวกับทาสภายนอก คือ การทำคนให้เป็นทาสของคนจริง ๆ กับทาสภายใน คือ การที่คนเราเป็นทาสแห่งอำนาจฝ่ายต่ำในตัวเองนี้ ท่านผู้อ่านจะเห็นได้เองว่าจะโดยประวัติศาสตร์หรือโดยหลักฐานใดๆ ก็ตาม ความก็บ่งชัดอยู่ทั้งสิ้นว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแรกในโลกที่มีหลักการและคำสอนเพื่อให้เลิกระบบทาส อันเป็นการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนตามที่เรียกร้องกันในปัจจุบันนี้ จึงนับได้ว่าข้อนี้เป็นคุณลักษณะพิเศษประการหนึ่งแห่งพระพุทธศาสนา

เว็บมาสเตอร์ รวบรวม
09/10/53

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก