ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

            พระพุทธศาสนสุภาษิตอันเป็นข้อความสั้นๆ ส่วนมากจะมาจากพระดำรัสของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงธรรมแก่พุทธสาวก บางคำจดจำได้ง่ายๆ แต่บาข้อความก็ยากที่จะเข้าใจต้องค่อยๆตีความ เพราะบางครั้งพูดกับคนๆหนึ่งที่กำลังประสบปัญหาชีวิต แต่พอได้ฟังพระพุทธเจ้าแสดงธรรมซึ่งตรงกับสิ่งที่เขากำลังคิดอยู่พอดีจึงเข้าใจได้ทันที ปัญหาหนึ่งที่คนสงสัยมาทุกยุคทุกสมัยคือทำไมคนในสมัยพุทธกาลจึงบรรลุธรรมได้ง่ายกว่าในปัจจุบัน คนในสมัยนั้นมีกิเลสน้อยกว่าสมัยปัจจุบันหรืออย่างไร 
            คำตอบนี้ตอบทันทีไม่ได้ เพราะยุคสมัยเปลี่ยนไป สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป ดาวเทียมยังไม่มี อินเทอร์เน็ตยังไม่มี การฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าก็ไม่ใช่เรื่องง่าย บางคนต้องเดินทางหลายเดือนกว่าที่จะได้พบพระพุทธเจ้า ความศรัทธาเลื่อมใสจึงต่างกัน แต่สมัยปัจจุบันข้อมูลแทบทุกอย่างอยู่ใกล้เพียงแค่ปลาบนิ้ว อยากรู้เรื่องอะไรก็เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์และค้นหาข้อมูลได้ทันที เพียงไม่กี่นาทีก็มีข้อมูลมากมายมหาศาลให้ค้นหา บางคนหายสงสัยแต่บางคนยังสับสนมากกว่าเดิม ข้อมูลมากหากไม่รู้จักวิธีย่อยข้อมูลอาจถูกข้อมูลทับตายได้ง่ายๆ 

 

            พุทธภาษิตแม้จะสั้นๆแต่หากพินิจพิเคราะห์ให้ดี ทุกถ้อยคำชัดเจนแมแจ้งในตัวมันเอง อ่านแล้วยังสามารถเป็นคติเตือนใจได้อีกด้วย เริ่มต้นปีใหม่หากเลือกได้พุทธภาษิตสักข้อหนึ่งเป็นคติเตือนใจชีวิตก็เหมือนกับมีแสงธรรมนำทาง เว็บมาสเตอร์ไซเบอร์วนารามเลือกสุภาษิตประจำปีกระต่ายไว้หนึ่งบทเป็นคติประจำใจในปีนี้คือสุภาษิตในอปณฺณกชาดก ขุททกนิกาย ชาดก เอกนิบาตความว่า "สิ่งใดไม่ผิด  พึงถือเอาสิ่งนั้น (ตํ  คณฺเหยฺย  ยทปณฺณกํ) ข้อความเต็มๆมาจากคำว่า
                                          อปณฺณกํ ฐานเมเก       ทุติยํ อาหุ ตกฺกิกา
                                          เอตทญาย เมธาวี         ตํ คณฺเห ยทปณฺณกนฺติ ฯ  
            แปลตามพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยว่า “คนพวกหนึ่งกล่าวฐานะอันหนึ่งว่าไม่ผิด นักเดาทั้งหลายกล่าวฐานะอันนั้นว่าเป็นที่สอง คนมีปัญญารู้ฐานะและมิใช่ฐานะนั้นแล้วควรถือเอาฐานะที่ไม่ผิดไว้” แต่หากยกมาเพียงประโยคสุดท้ายก็ต้องแปลตามลักษณะของภาษาบาลีว่า “สิ่งใดไม่ผิด  พึงถือเอาสิ่งนั้น” 
            วันนี้ได้รวบรวมพระพุทธศาสนสุภาษิตในปกิณณกวรรคคือหมวดเบ็ดเตล็ดมาไว้ในที่เดียวกันแล้ว โปรดอ่านด้วยความพินิจพิจารณา
      
พุทธศาสนสุภาษิตปกิณณกวรรคคือหมวดเบ็ดเตล็ด

1. อฏฺฐงฺคิโก  จ  มคฺคานํ  เขมํ  อมตคามินํ. บรรดาทางทั้งหลาย  ทางมีองค์  8  เป็นทางเกษมให้ถึงอมตธรรม.  ม.  ม.  13/281.
2. วิสุทฺธิ  สพฺพเกลฺเสหิ    โหติ  ทุกฺเขหิ  นิพฺพุติ. ความหมดจดจากกิเลสทั้งปวง  เป็นความดับจากทุกข์ทั้งหลาย. ร.  ร.  4.
3. ยงฺกิญฺจิ  สมุทยธมฺมํ    สพฺพนฺตํ  นิโรธธมฺมํ. สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา.
     สํ.  มหา.  19/531.
4. ยถาปจฺจยํ  ปวตฺตนฺติ. สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น  ย่อมเป็นไปตามปัจจัย. ร.  ร.  4.
5. อาโรคฺยปรมา  ลาภา.ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง.  ม.  ม.  13/281.  ขุ.  ธ.  25/42.
6. ชิฆจฺฉา  ปรมา  โรคา. ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง.  ขุ.  ธ.  25/42.
7. สงฺขารา  สสฺสตา  นตฺถิ. สังขารที่ยั่งยืนไม่มี. ขุ.  ธ.  25/49.
8. อนิจฺจา  วต  สงฺขารา. สังขารทั้งหลาย  ไม่เที่ยงหนอ. ที.  มหา.  10/181.  สํ.  ส.  15/8.  สํ.  นิ.  16/228.
9. ทุลฺลภา  ขณสมฺปตฺติ. ความถึงพร้อมแห่งขณะ  หาได้ยาก.  ส.  ม.
10. ทุลฺลภํ  ทสฺสนํ  โหติ    สมฺพุทฺธานํ  อภิณฺหโส. การเห็นพระพุทธเจ้าเนือง ๆ  เป็นการหาได้ยาก. ม.  ม.  13/554.  ขุ.  สุ.  25/444.
11. ขโณ  โว  มา  อุปจฺจคา. ขณะอย่าล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย. องฺ.  อฏฺฐก.  23/231.  ขุ.  ธ.  25/57.  ขุ.  สุ.  25/389.
12. อติปตติ  วโย  ขโณ  ตเถว. วัยย่อมผ่านพ้นไปเหมือนขณะทีเดียว.  ขุ.  ชา.  เอก.  27/312.
13. กาโล  ฆสติ  ภูตานิ    สพฺพาเนว  สหตฺตนา. กาลเวลา  ย่อมกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวมันเอง.ขุ.  ชา.  ทุก.  27/95.
14. อิติ  วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต    อตฺถา  อจฺเจนฺติ  มาณเว. ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนหนุ่มผู้ทอดทิ้งการงาน.ที.  ปาฏิ.  11/199.
15. นกฺขตฺตํ  ปฏิมาเนนฺตํ    อตฺโถ  พาลํ  อุปจฺจคา. ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนโง่ผู้มัวถือฤกษ์อยู่. ขุ.  ชา.  เอก.  27/16.

16. อตฺโถ  อตฺถสฺส  นกฺขตฺตํ    กึ  กริสฺสนฺติ  ตารกา. ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง  ดวงดาวจักทำอะไรได้. ขุ.  ชา. เอก.  27/16.
17. วโส  อิสฺสริยํ  โลเก. อำนาจเป็นใหญ่ในโลก. สํ.  ส.  15/60.
18. สิริ  โภคานมาสโย.  ศรีเป็นที่อาศัยแห่งโภคทรัพย์.  สํ.  ส.  15/61.
19. กิจฺฉา  วุตฺติ  อสิปฺปสฺส. ความเป็นไปของคนไร้ศิลปะ  ย่อมฝืดเคือง. ขุ.  ชา.  ทฺวาทส.  27/330.
20. สาธุ  โข  สิปฺปกํ  นาม    อปิ  ยาทิสกีทิสํ. ขึ้นชื่อว่าศิลปะแม้เช่นใดเช่นหนึ่ง  ก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้.   ขุ.  ชา.  เอก.  27/35.
22. มตฺตญฺญุตา  สทา  สาธุ.  ความรู้จักประมาณ  ยังประโยชน์ให้สำเร็จทุกเมื่อ. ว.  ว.
23. หิริโอตฺตปฺปิยญฺเญว    โลกํ  ปาเลติ  สาธุกํ.  หิริและโอตตัปปะ  ย่อมรักษาโลกไว้เป็นอันดี. ว.  ว.
24. โลโกปตฺถมฺภิกา  เมตฺตา. เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก. ว.  ว.
25. อรติ  โลกนาสิกา. ความริษยาเป็นเหตุทำโลกให้ฉิบหาย. ว.  ว.
26. มหาปุริสภาวสฺส  ลกฺขณํ  กรุณาสโห. อัชฌาสัยที่ทนไม่ได้เพราะกรุณา  เป็นลักษณะของมหาบุรุษ.  ว.  ว.27. นิมิตฺตํ  สาธุรูปานํ    กตญฺญูกตเวทิตา. ความกตัญญูกตเวที  เป็นเครื่องหมายแห่งคนดี. นัย-ส.  ส.
28. สพฺพญฺเจ  ปฐวึ  ทชฺชา    นากตญฺญุมภิราธเย. ถึงให้แผ่นดินทั้งหมด  ก็ยังคนอกตัญญูให้จงรักไม่ได้.ขุ.  ชา.  เอก.  27/23.
29. หนฺนติ  โภคา  ทุมฺเมธํ. โภคทรัพย์  ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม.  ขุ.  ธ.  25/63.
30. สกฺกาโร  กาปุริสํ  หนฺติ. สักการะ  ย่อมฆ่าคนชั่วเสีย. วิ.  จุล.  7/172.  สํ.  ส.  15/226.  สํ.  นิ.  16/284.

31. กิจฺโฉ  มนุสฺสปฏิลาโภ. ความได้เป็นมนุษย์  เป็นการยาก. ขุ.  ธ.  25/39.
32. กิจฺฉํ  มจฺจาน  ชีวิตํ. ความเป็นอยู่ของสัตว์  เป็นการยาก. ขุ.  ธ.  25/39.
33. กิจฺฉํ  สทฺธมฺมสฺสวนํ.  การฟังธรรมของสัตบุรุษ  เป็นการยาก.  ขุ.  ธ.  25/39.
34. กิจฺโฉ  พุทฺธานมุปฺปาโท. ความเกิดแห่งท่านผู้รู้  เป็นการยาก. ขุ.  ธ.  25/39.
35. อสชฺฌายมลา  มนฺตา. มนต์มีการไม่ท่องบ่น  เป็นมลทิน. องฺ.  อฏฺฐก.  23/198.  ขุ.  ธ.  25/47.
36. อนุฏฺฐานมลา  ฆรา. เหย้าเรือนมีความไม่หมั่นเป็นมลทิน. องฺ.  อฏฺฐก.  23/198.  ขุ.  ธ.  25/47.
37. มลํ  วณฺณสฺส  โกสชฺชํ. ความเกียจคร้านเป็นมลทินแห่งผิวพรรณ. องฺ.  อฏฺฐก.  23/198.  ขุ.  ธ.  25/47.
38. มลิตฺถิยา  ทุจฺจริตํ.  ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของหญิง.องฺ.  อฏฺฐก.  23/198.  ขุ.  ธ.  25/47.
39. สุทฺธิ  อสุทฺธิ  ปจฺจตฺตํ. ความบริสุทธิ์และความไม่บริสุทธิ์  มีเฉพาะตัว. ขุ.  ธ.  25/37.  ขุ.  มหา.  29/37.  ขุ.  จู.  30/116.
40. นาญฺโญ  อญฺญํ  วิโสธเย. ผู้อื่นพึงให้ผู้อื่นบริสุทธิ์ไม่ได้. ขุ.  ธ.  25/37.  ขุ.  มหา.  29/37.  ขุ.  จู.  30/116.
50. สุทฺธสฺส  สุจิกมฺมสฺส    สทา  สมฺปชฺชเต  วตํ. พรตของผู้บริสุทธิ์มีการงานสะอาด  ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ.ม.  ม.  12/70.
51. สุทฺสฺสํ  วชฺชมญฺเสํ    อตฺตาโน  ปน  ทุทฺทสํ. ความผิดของผู้อื่นเห็นง่าย  ฝ่ายของตนเห็นยาก.ขุ.  ธ.  25/48.
52. นตฺถิ  โลเก  รโห  นาม    ปาปกมฺมํ  ปกุพฺพโต. ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำบาปกรรม  ไม่มีในโลก.
            องฺ.  ติก.  20/189.  ขุ.  ชา.  จตุตกฺก.  27/131.
53. เนสา  สภา  ยตฺถ  น  สนฺติ  สนฺโต.สัตบุรุษไม่มีในชุมนุมใด  ชุมนุมนั้นไม่ชื่อว่าสภา.
            สํ.  ส.  15/270.  ขุ.  ชา.  อสีติ.  28/151.
54. นตฺเถตํ  โลกสฺมึ  ยํ  อุปาทิยมานํ  อนวชฺชํ  อสฺส. สิ่งใดเข้าไปยึดถืออยู่  จะพึงหาโทษมิได้  สิ่งนั้นไม่มีในโลก. ร.  ร.  4.
55. โภคา  สนฺนิจยํ  ยนฺติ    วมฺมิโกวูปจียติ.โภคทรัพย์ของผู้ครองเรือนดี  ย่อมถึงความพอกพูน  เหมือน
            จอมปลวกกำลังก่อขึ้น. ที.  ปาฏิ.  11/202.
56. อลํ  พาลสฺส  โมหาย  โน  จ  ปารคเวสิโน. รูปโฉมพอลวงคนโง่ให้หลงได้  แต่ลวงคนแสวงหา
            พระนิพพานไม่ได้เลย. ม.  ม.  13/401.  ขุ.  เถร.  26/377.
57. รูปํ  ชีรติ  มจฺจานํ    นามโคตฺตํ  น  ชีรติ. ร่างกายของสัตว์ย่อยยับได้  แต่ชื่อและสกุลไม่ย่อยยับ. สํ.  ส.  15/59.
58. ถีนํ  ภาโว  ทุราชาโน. ภาวะของหญิงรู้ได้ยาก. ขุ.  ชา.  เอก.  27/21.
59. อุกฺกฏฺเฐ  สูรมิจฺฉนฺติ.ในเวลาคับขัน  ย่อมต้องการคนกล้า. ขุ.  ชา.  เอก.  27/30.
60. มนฺตีสุ  อกุตูหลํ.ในบรรดาที่ปรึกษา  ย่อมต้องการคนไม่พูดพล่าม. ขุ.  ชา.  เอก.  27/30.

61. ปิยญฺจ  อนฺนปานมฺหิ.ในเวลามีข้าวน้ำ  ย่อมต้องการคนที่รัก. ขุ.  ชา.  เอก.  27/30.
62. อตฺเถ  ชาเต  จ  ปณฺฑิตํ. ในเมื่อเรื่องราวเกิดขึ้น  ย่อมต้องการบัณฑิต.ขุ.  ชา.  เอก.  27/30.
63. อาปทาสุ  ถาโม  เวทิตพฺโพ. กำลังใจพึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย. นัย-ขุ.  อุ.  25/178.
64. ยโส  ลทฺธา  น  มชฺเชยฺย.ได้ยศแล้ว  ไม่ควรเมา. ขุ.  ชา.  จตุกฺก.  27/145.
65. จาคมนุพฺรูเหยฺย. พึงเพิ่มพูลความสละ. ม.  อุป.  14/436.
66. สนฺติเมว  สิกฺเขยฺย. พึงศึกษาความสงบนั่นแล. นัย-ม.  อุป.  14/436.
67. โลกามิสํ  ปชเห  สนฺติเปกฺโข. ผู้เพ่งสันติ  พึงละอามิสในโลกเสีย. สํ.  ส.  15/3, 77, 90.
68. ตํ  คณฺเหยฺย  ยทปณฺณกํ. สิ่งใดไม่ผิด  พึงถือเอาสิ่งนั้น. ขุ.  ชา.  เอก.  27/1.
69. สมฺมุขา  ยาทิสํ  จิณฺณํ    ปรมฺมุขาปิ  ตาทิสํ. ต่อหน้าประพฤติเช่นใด  ถึงลับหลังก็ให้ประพฤติเช่นนั้น.ส.  ส.
70. อปฺปโต  โน  จ  อุลฺลเป.  เมื่อยังไม่ถึง  ไม่ควรพูดอวด. ส. ส.
71. สนาถา  วิหรถ  มา  อนาถา.ท่านทั้งหลายจงมีที่พึ่งอยู่เถิด  อย่าไม่มีที่พึ่งอยู่เลย.นัย.  องฺ.  ทสกฺ  24/25.
72. นาญฺญํ  นิสฺสาย  ชีเวยฺย. ไม่ควรอาศัยผู้อื่นเป็นอยู่. ขุ.  อุ.  25/179.
73. อาโรคฺยมิจฺเฉ  ปรมญฺจ  ลาภํ. พึงปรารถนาความไม่มีโรคซึ่งเป็นลาภอย่างยิ่ง. ขุ.  ชา.  เอก.  27/27.
74. อตีตํ  นานฺวาคเมยฺย.ไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว. ม.  อุป.  14/348.
75. นปฺปฏิกงฺเข  อนาคตํ. ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง. ม.  อุป.  14/348.

 

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
04/01/54

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก