ในพระพุทธศาสนามีพุทธศาสนสุภาษิตที่กล่าวถึงความอดทนไว้มากมายหลายแห่ง เกิดเป็นมนุษย์ต้องทนทุกข์ทรมานกับปัญหาต่างๆมากมาย บางครั้งต้องเผชิญกับภัยภิบัตินานาประการบางคนถึงกับสิ้นเนื้อประดาตัว ธรรมชาติของมนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันต่อสู้กับสิ่งต่างๆ ต้องช่วยเหลือตัวเองให้ได้ก่อน หากช่วยไม่ได้จริงๆจึงต้องพึ่งพาอาศัยคนอื่น ผู้ที่อดทนได้ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของคนอื่นเสมอ สุภาษิตอีกหมวดหนึ่งคือความโกรธ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์เกิดความเดือดร้อน ถ้าอดทนได้ก็ไม่โกรธ คนมักมีความโกรธย่อมอยู่เป็นทุกข์
ขันติวรรคคือหมวดอดทน
1. ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา. ขันติคือความอดทน เป็นตปะอย่างยิ่ง.
ที. มหา. 10/57. ขุ. ธ. 25/40.
2. ขนฺติ สาหสวารณา. ความอดทน ห้ามไว้ได้ซึ่งความผลุนผลัน.
ว. ว.
3. ขนฺติ หิตสุขาวหา. ความอดทน นำมาซึ่งประโยชน์สุข.
ส. ม.
4. ขนฺติ ธีรสฺสลงฺกาโร. ความอดทน เป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์.
ส. ม.
5. ขนฺติ ตโป ตปสฺสิโน. ความอดทน เป็นตปะของผู้พากเพียร.
ส. ม.
6. ขนฺติ พลํ ว ยตีนํ. ความอดทน เป็นกำลังของนักพรต.
ส. ม.
7. ขนฺติพลา สมณพฺราหฺมณา. สมณพราหมณ์ มีความอดทนเป็นกำลัง.
องฺ. อฏฐก. 23/227.
8. มนาโป โหติ ขนฺติโก. ผู้มีความอดทน ย่อมเป็นที่ชอบใจ (ของคนอื่น).
ส. ม.
โกธวรรคคือหมวดโกรธ
1. น หิ สาธุ โกโธ. ความโกรธไม่ดีเลย.
ขุ. ชา. ฉกฺก. 27/188.
2. โกโธ สตฺถมลํ โลเก. ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก.
สํ. ส. 15/60.
3. อนตฺถชนโน โกโธ. ความโกรธก่อความพินาศ.
องฺ. สตฺตก. 23/99.
4. อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โกโธ สหเต นรํ. ความโกรธครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดมนย่อมมีเมื่อนั้น.
องฺ. สตฺตก. 23/99. ขุ. มหา. 29/18.
5. อปฺโป หุตฺวา พหุ โหติ วฑฺฒเต โส อขนฺติโช. ความโกรธน้อยแล้วมาก มันเกิดจากความไม่อดทนจึงทวีขึ้น.
ขุ. ชา. ทสก. 27/273.
6. โกโธ ทุมฺเมธโคจโร. ความโกรธเป็นอารมณ์ของคนมีปัญญาทราม.
ขุ. ชา. ทสก. 27/280.
7. โทโส โกธสมุฏฺาโน. โทสะมีความโกรธเป็นสมุฏฐาน.
ขุ. ชา. ทสก. 27/273.
8. นตฺถิ โทสสโม คโห. ผู้จับเสมอด้วยโทสะ ไม่มี.
ขุ. ธ. 25/48.
9. นตฺถิ โทสสโม กลิ. ความผิดเสมอด้วยโทสะไม่มี.
ขุ. ธ. 25/42.
10. โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ. ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข.
สํ. ส. 15/57, 64.
11. โกธํ ฆตฺวา น โสจติ. ฆ่าความโกรธได้ ไม่เศร้าโศก.
สํ. ส. 15/57, 64.
12. โกธาภิภูโต กุสลํ ชหาติ. ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมละกุศลเสีย.
นัย. ขุ. ชา. ทสก. 27/286.
13. โกธโน ทุพฺพณฺโณ โหติ. คนมักโกรธ ย่อมมีผิวพรรณเศร้าหมอง.
องฺ. สตฺตก. 23/98.
14. ทุกฺขํ สยติ โกธโน. คนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์.
นัย. องฺ. สตฺตก. 23/98.
15. อโถ อตฺถํ คเหตฺวาน อนตฺถํ ปฏิปชฺชติ. คนมักโกรธถือเอาประโยชน์แล้ว กลับประพฤติไม่เป็นประโยชน์.
องฺ. สตฺตก. 23/98.
16. โกธาภิภูโต ปุริโส ธนชานึ นิคจฺฉติ. ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมถึงความเสื่อมทรัพย์.
องฺ. สตฺตก. 23/98.
17. โกธสมฺมทสมฺมตฺโต อายสกฺยํ นิคจฺฉติ. ผู้เมามึนด้วยความโกรธ ย่อมถึงความไร้ยศศักดิ์.
องฺ. สตฺตก. 23/98.
18. ญาติมิตฺตา สุหชฺชา จ ปริวชฺเชนฺติ โกธนํ. ญาติมิตรและสหาย ย่อมหลีกเลี่ยงคนมักโกรธ.
องฺ. สตฺตก. 23/99.
19. กุทฺโธ อตฺถํ น ชานาติ. ผู้โกรธ ย่อมไม่รู้อรรถ.
องฺ. สตฺตก. 23/99.
20. กุทฺโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ. ผู้โกรธ ย่อมไม่เห็นธรรม.
องฺ. สตฺตก. 23/99.
21. ยํ กุทฺโธ อุปโรเธติ สุกรํ วิย ทุกฺกรํ. ผู้โกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย.
องฺ. สตฺตก. 23/99.
22. ปจฺฉา โส วิคเต โกเธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ.ภายหลัง เมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้.
องฺ. สตฺตก. 23/99.
23. โกเธน อภิภูตสฺส น ทีปํ โหติ กิญฺจินํ. ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมไม่มีที่พำนักสักนิดเดียว.
องฺ. สตฺตก. 23/99.
24. หนฺติ กุทฺโธ สมาตรํ. ผู้โกรธ ย่อมฆ่ามารดาของตนได้.
องฺ. สตฺตก. 23/99.
25. โกธชาโต ปราภโว. ผู้เกิดความโกรธแล้ว เป็นผู้ฉิบหาย.
องฺ. สตฺตก. 23/100.
26. โกธํ ทเมน อุจฺฉินฺเท. พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ.
นัย. องฺ. สตฺตก. 23/100.
27. โกธํ ปญฺญาย อุจฺฉินฺเท. พึงตัดความโกรธด้วยปัญญา.
นัย-องฺ. สตฺตก. 23/100.
28. มา โกธสฺส วสํ คมิ. อย่าลุอำนาจความโกรธ.
ขุ. ชา. ทุก. 27/69.
รวบรวม
29/10/53 เว็บมาสเตอร์