ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

              เขียนเรื่องเกี่ยวกับจิตติดต่อกันมาหลายวัน สืบค้นจากพุทธภาษิตปรากฎว่ามีศาสนสุภาษิตที่แสดงเรื่องเกี่ยวกับจิตไว้จำนวนมาก จิตนั้นมีความสำคัญพุทธวจนะและพระเถระทั้งหลายได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับจิตไว้หลากหลายมีปรากฎในพระไตรปิฎกจำนวนมาก วันนี้จึงได้รวบรวมพุทธศาสนสุภาษิตในจิตตวรรคหมวดที่ว่าด้วยเรื่องของจิต มาไว้ในที่เดียวกัน เพื่อที่ว่าผู้ที่สนใจจะได้ค้นคว้าได้ง่ายขึ้น 

1. จิตฺเต  สงฺกิลิฏเฐ  ทุคฺคติ  ปาฏิกงฺขา.
            เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว  ทุคติเป็นอันต้องหวัง.
            ม.  มู.  12/64.
   2. จิตฺเต  อสงฺกิลิฏฺเฐ  สุคติ  ปาฏิกงฺขา.
            เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว  สุคติเป็นอันหวังได้.
            ม.  มู.  12/64.
   3. จิตฺเตน  นียติ  โลโก.  โลกอันจิตย่อมนำไป.
            สํ.  ส.  15/54.
4. จิตฺตสฺส  ทมโถ  สาธุ. การฝึกจิตเป็นความดี.
            ขุ.  ธ.  25/19.

 

 

5. จิตฺตํ  ทนฺตํ  สุขาวหํ.  จิตที่ฝึกแล้ว  นำสุขมาให้.
            ขุ.  ธ.  25/19.
 6. จิตฺตํ  คุตฺตํ  สุขาวหํ. จิตที่คุ้มครองแล้ว  นำสุขมาให้.
            ขุ.  ธ.  25/19.
7. วิหญฺตี  จิตฺตวสานุวตฺตี.
            ผู้ประพฤติตามอำนาจจิต  ย่อมลำบาก.
            ขุ.  ชา.  ทุก.  27/90.
8. จิตฺตํ  อตฺตโน  อุชุกมกํสุ. คนฉลาดได้ทำจิตของตนให้ซื่อตรง.
            ที.  มหา.  10/288.
   9. สจิตฺตปริยายกุสลา  ภเวยฺยุํ.  พึงเป็นผู้ฉลาดในกระบวนจิตของตน.
            นัย-องฺ.  ทสก.  24/100.
10. เตลปตฺตํ  ยถา  ปริหเรยฺย  เอวํ  สจิตฺตมนุรกฺเข. พึงรักษาจิตของตน.  เหมือนคนประคองบาตรเต็มด้วยน้ำมัน.
            ขุ.  ชา.  เอก.  27/31.
11. สจิตฺตมนุรกฺขถ.  จงตามรักษาจิตของตน.
             ขุ.  ธ.  25/58.

12. จิตฺตํ  รกฺเขถ  เมธาวี. ผู้มีปัญญาพึงรักษาจิต.
            ขุ.  ธ.  25/19.
13. ยโต  ยโต  จ  ปาปกํ  ตโต  ตโต  มโน  นิวารเย.  ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ  พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ.
            สํ.  ส.  15/20.
14.  อนวฏฺฐิตจิตฺตสฺส               สทฺธมฺมํ  อวิชานโต
       ปริปฺลวปสาทสฺส                ปญฺญา  น  ปริปูรติ.
       เมื่อมีจิตไม่มั่นคง  ไม่รู้พระสัทธรรม  มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์.
        (พุทฺธ)                                      ขุ.  ธ.  25/20.
15.  อปฺปมาณํ  หิตํ  จิตฺตํ                 ปริปุณฺณํ  สุภาวิตํ                
         ยํ   ปมาณํ  กตํ  กมฺมํ                น  ตํ  ตตฺราวสิสฺสติ.   
        จิตเกื้อกูลที่อบรมบริบูรณ์ดีแล้ว  เป็นจิตหาประมาณมิได้,  กรรมใดที่ทำแล้วพอประมาณ  กรรมนั้นจักไม่เหลือในจิตนั้น.
        (อรกโพธิสตฺต)                    ขุ.  ชา.  ทุก.  27/59.
16.  อานาปานสฺสติ  ยสฺส                อปริปุณฺณา  อภาวิตา
       กาโยปิ  อิญฺชิโต  โหติ               จิตฺตมฺปิ  โหติ  อิญฺชิตํ.
        สติกำหนดลมหายใจเข้าออก   อันผู้ใดไม่อบรมให้บริบูรณ์,  ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็หวั่นไหว.
        (สารีปุตฺต)                                                ขุ.  ปฏฺ.  31/250.
17.  อานาปานสฺสติ   ยสฺส             ปริปุณฺณา  สุภาวิตา
       กาโยปิ  อนิญฺชิโต  โหติ          จิตฺตมฺปิ  โหติ  อนิญฺชิตํ.
        สติกำหนดลมหายใจเข้าออก  อันผู้ใดอบรมบริบูรณ์ดีแล้ว,  ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็ไม่หวั่นไหว.
        (สารีปุตฺต)                                                ขุ.  ปฏิ.  31/250.
18.  ทิโส  ทิสํ  ยนฺตํ  กยิรา           เวรี  วา  ปน  เวรินํ                   
       มิจฺฉาปณิหิตํ  จิตฺตํ               ปาปิโย  นํ  ตโต  กเร.
        โจรกับโจรหรือไพรีกับไพรี   พึงทำความพินาศให้แก่กัน,  ส่วนจิตที่ตั้งไว้ผิด  พึงทำเขาให้เสียหายยิ่งกว่านั้น.
        (พุทฺธํ)                                                        ขุ.  ธ.  25/20.

19.  ทูรงฺคมํ  เอกจรํ                       อสรีรํ  คุหาสยํ
       เย  จิตฺตํ  สญฺเมสฺสนฺติ         โมกฺขนฺติ  มารพนฺธนา.
        ผู้ใดจักสำรวมจิตที่ไปไกล  เที่ยวไปดวงเดียว  ไม่มีรูปร่าง  มีถ้ำ(คือกาย)  เป็นที่อาศัย,  ผู้นั้นจักพ้นจากเครื่องผู้ของมารได้ ให้ตรงได้  เหมือนช่างศรทำลูกศรให้ตรงได้ฉะนั้น.
        (พุทฺธ)                                                        ขุ.  ธ.  25/19,20.
20.  น  ตํ  มาตา  ปิตา  กยิรา                อญฺเญวาปิจ ญาตกา
       สมฺมาปณิหิตํ  จิตฺตํ                        เสยฺยโส  นํ  ตโต  กเร.
        มารดาบิดาหรือญาติเหล่าอื่น   ไม่พึงทำเหตุนั้นให้ได้,  ส่วนจิตที่ตั้งไว้ดีแล้ว  พึงทำเขาให้ดีกว่านั้น.
        (พุทฺธ)                                                        ขุ.  ธ.  25/20.
22.  ผนฺทนํ  จปลํ  จิตฺตํ              ทุรกฺขํ  ทุนฺนิวารยํ                   
       อุชุํ  กโรติ  เมธาวี                อุสุกาโรว  เตชนํ. 
        คนมีปัญญาทำจิตที่ดิ้นรน   กวัดแกว่ง  รักษายาก  ห้ามยากให้ตรงได้   เหมือนช่างศรทำลูกศรให้ตรงได้ฉะนั้น.
        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  25/19.
23.  ยถา  อคารํ  ทุจฺฉนฺนํ        วุฏฺฐี  สมติวิชฺฌติ
       เอวํ  อภาวิตํ  จิตฺตํ             ราโค  สมติวิชฺฌติ.
        ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีฉันใด,   ราคะย่อมรั่วรดจิตที่ไม่ได้อบรมฉันนั้น.
        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  25/16.

24.  โย  จ  สทฺทปฺปริตฺตาสี        วเน  วาตมิโต  ยถา
       ลหุจิตฺโตติ  ตํ  อาหุ          นาสฺส  สมฺปชฺชเต  วตํ.
        ผู้ใด  มักหวาดสะดุ้งต่อเสียง   เหมือนเนื้อทรายในป่า,  ท่านเรียกผู้นั้นว่ามีจิตเบา,  พรตของเขาย่อมไม่สำเร็จ.
        (อญฺตฺรภิกฺขุ)                                        สํ.  ส.  15/296.
25.  วาริโชว  ถเล  ขิตฺโต          โอกโมกตอุพฺกโต                     
        ปริผนฺทติทํ  จิตฺตํ                มารเธยฺยํ  ปหาตเว.
        จิตนี้ถูกยกขึ้นจากอาลัยคือกามคุณ  เพื่อละที่ตั้งแห่งมาร  ย่อมดิ้นรน  เหมือนปลาถูกจับขึ้นจากน้ำโยนไปบนบกฉะนั้น.
        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  25/19.


 26.  สญฺญาย  วิปรีเยสา                จิตฺตนฺเต  ปริฑยฺหติ
                 นิมิตฺตํ  ปริวชฺเชหิ          สุภํ  ราคูปสญฺหิตํ.
        จิตของท่านย่อมเดือดร้อน   เพราะเข้าใจผิด,  ท่านจงเว้นเครื่องหมายที่สวยงามประกอบด้วยความรัก.
        (อานนฺท)                                                สํ.  ส.  15/277.
 27.  เสโล  ยถา  เอกฆโน           วาเตน  น  สมีรติ
                 เอวํ  นินฺทาปสํสาสุ     น  สมิญฺชนฺติ   ปณฺฑิตา.
        ภูเขาหินแท่งทึบ  ไม่สั่นสะเทือนเพราะลมฉันใด,  บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและสรรเสริญฉันนั้น.
        (พุทฺธ)                                                ขุ.  ธ.  25/25.
28.  อนวสฺสุตจิตฺตสฺส        อนนฺวาหตเจตโส
       ปุญฺญปาปปหีนสฺส       นตฺถิ  ชาครโต  ภยํ.
           ผู้มีจิตอันไม่ชุ่มด้วยราคะ  มีใจอันโทสะไม่กระทบแล้ว  มีบุญและบาปอันละได้แล้ว  ตื่นอยู่  ย่อมไม่มีภัย.
                     ( พุทฺธ )                               ขุ.  ธ.  25/20.
29.  กุมฺภูปมํ  กายมิมํ  วิทิตฺวา                             
       นครูปมํ  จิตฺตมิทํ  ถเกตฺวา
       โยเธถ  มารํ  ปญญาวุเธน
       ชิตญฺจ  รกฺเข  อนิเวสโน  สิยา.
           บุคคลรู้กายนี้ที่เปรียบด้วยหม้อ  กั้นจิตที่เปรียบด้วยเมืองนี้แล้ว พึงรบมารด้วยอาวุธคือปัญญา  และพึงรักษาแนวที่ชนะไว้  ไม่พึงยับยั้งอยู่.
                     ( พุทฺธ )                               ขุ.  ธ.  25/20.
30.  จิตฺเตน  นียติ  โลโก     จิตฺเตน  ปริกสฺสติ
       จิตฺตสฺส  เอกธมฺมสฺส    สพฺเพว  วสมนฺวคู.
           โลกถูกจิตนำไป  ถูกจิตชักไป,  สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่งจิตอย่างเดียว.
                     ( พุทฺธ )                               สํ.  ส.  15/54.

31.  ตณฺหาธิปนฺนา  วตฺตสีลพทฺธา
       ลูขํ  ตปํ  วสฺสสตํ  จรนฺตา
       จิตฺตญฺญจ  เนสํ  น  สมฺมา  วิมุตฺตํ
       หีนตฺตรูปา  น  ปารงฺคมา  เต.
           ผู้ถูกตัณหาครอบงำ  ถูกศีลพรตผูกมัด  ประพฤติตบะอันเศร้าหมองตั้งร้อยปี,  จิตของเขาก็หลุดพ้นด้วยดีไม่ได้.  เขามีตนเลวจะถึงฝั่งไม่ได้.
                     ( พุทฺธ )                               สํ.  ส.  15/40
32.  ทุนฺนิคฺคหสฺส  ลหุโน     ยตฺถ  กามนิปาติโน                 
จิตฺตสฺส  ทมโถ  สาธุ            จิตฺตํ  ทนฺตํ  สุขาวหํ.
           การฝึกจิตที่ข่มยาก  ที่เบา  มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่  เป็นความดี,  ( เพราะว่า )  จิตที่ฝึกแล้ว  นำสุขมาให้.
         ( พุทฺธ )                                                  ขุ.  ธ.  25/19.

33.  ปทุฏฺฐจิตฺตสฺส  น  ผาติ  โหติ
       น  จาปิ  นํ  เทวตา  ปูชยนฺติ
       โย  ภาตรํ  เปตฺติกํ  สาปเตยฺยํ
       อวญฺจยี ทุกฺกฏกมฺมการี.
           ผู้ใดทำกรรมชั่ว  ล่อลวงเอาทรัพย์สมบัติพี่น้องพ่อแม่  ผู้นั้นมีจิตชั่วร้าย  ย่อมไม่มีความเจริญ  แม้เทวดาก็ไม่บูชาเขา.
         ( นทีเทวตา )                                       ขุ.  ชา.  ติก.  27/120.
34.  ภิกฺขุ  สิยา  ฌายิ  วิมุตฺตจิตฺโต
       อากงฺเข  เว  หทยสฺสานุปตฺตึ
       โลกสฺส  ตฺวา  อุทยพฺพยญฺจ
        สุเจตโส  อนิสฺสิโต  ตทานิสํโส.
           ภิกษุเพ่งพินิจ  มีจิตหลุดพ้น  รู้ความเกิดและความเสื่อมแห่งโลกแล้ว  มีใจดี  ไม่ถูกกิเลสอาศัย  มีธรรมนั้นเป็นอานิสงส์  พึงหวังความบริสุทธิ์แห่งใจได้.
         ( เทวปุตฺต )                                             สํ.  ส.  14/73.


35.  โย  อลีเนน  จิตฺเตน      อลีนมนโส  นโร                
       ภาเวติ  กุสลํ  ธมฺมํ        โยคกฺเขมสฺส  ปตฺติยา
       ปาปุเณ  อนุปุพฺเพน       สพฺพสํโยชนกฺขยํ.
           คนใดมีจิตไม่ท้อถอย  มีใจไม่หดหู่  บำเพ็ญกุศลธรรม  เพื่อบรรลุธรรมที่เกษมจากโยคะ  พึงบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวงได้.
        ( พุทฺธ )                                                 ขุ.  ชา.  เอก.  27/18.
36.  สุทุทฺทสํ  สุนิปุณํ         ยตฺถ  กามนิปาตินั
       จิตฺตํ  รกฺเขถ  เมธาวี     จิตฺตํ  คุตฺตํ  สุขาวหํ.
           ผู้มีปัญญา  พึงรักษาจิตที่เห็นได้ยากนัก  ละเอียดนัก  มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่,(เพราะว่า) จิตที่คุ้มครองแล้ว  นำสุขมาให้.
         ( พุทฺธ )                                                   ขุ.  ธ.  25/19.


หมายเหตุ: ตัวเลขที่อ้างหมายถึง เล่มที่..... และ หน้าที่..... อ้างตามฉบับภาษาบาลี เช่น ขุ.  ธ.  25/19. หมายถึง ขุททกนิกาย ธรรมบท เล่มที่ 25 หน้าที่ 19 เป็นต้น


พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
รวบรวม
07/06/53

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก