ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

              พระพุทธศาสนสุภาษิต เป็นหลักธรรมสั้นๆ ที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย นำไปปฏิบัติได้ทันที มีอยู่เป็นจำนวนมาก ในหนังสือพุทธศาสนสุภาษิตุได้แบ่งเป็นหมวดหมู่ว่าด้วยเรื่องเดียวกัน ซึ่งได่้เสนอทั้งภาษาบาลี ภาษาไทย พร้อมทั้งบอกที่มาเช่น ขุ.ธ. ๒๕/๒๙ หมายถึง ขุททกนิกาย ธรรมบท เล่มที่ ๒๕ ข้อที่ ๒๙ เป็นต้น ซึ่งหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็สามารถตรวจสอบได้จากพระไตรปิฏกโดยตรง แต่ในที่นี้ไม่ได้อ้างหน้าไว้เพราะอาจจะไม่ตรงกันนัก พระไตรปิฎกทุกฉบับเล่มและข้อจะตรงกัน(ยกเว้นฉบับอรรถกถา) ส่วนหน้าอาจจะแตกต่างกันไปตามแต่ละภาษา วันนี้เริ่มต้นด้วยหมวดตน ส่วนวันอื่นๆจะได้นำเสนอหมวดอื่นๆต่อไป

๑.อัตตวรรคคือหมวดตน

                ๑.  อตฺตา  หเว  ชิตํ  เสยฺโย. ชนะตนนั่นแหละเป็นดี.
                            ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๙.
                ๒.  อตฺตา  หิ  กิร  ทุทฺทโม. ได้ยินว่าตนแลฝึกได้ยาก.
                            ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๖.
                ๓.  อตฺตา  สุทฺนฺโต  ปุริสสฺส  โชติ. ตนที่ฝึกดีแล้ว  เป็นแสงสว่างของบุรุษ.
                            สํ.  ส.  ๑๕/๒๔๘.
                ๔.  อตฺตา  หิ  อตฺตโน  นาโถ. ตนแล  เป็นที่พึ่งของตน.
                            ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๖,๖๖.
                ๕.  อตฺตา  หิ  อตฺตโน  คติ. ตนเทียว  เป็นคติของตน.
                            ขุ.  ธ.  ๒๕/๖๖.
                ๖.  อตฺตา  หิ  ปรมํ  ปิโย. ตนแล  เป็นที่รักยิ่ง.
                            องฺ.  สตฺตก.  ๒๓/๙๙. 
                ๗.  นตฺถิ  อตฺตสมํ  เปมํ. ความรัก  (อื่น)  เสมอด้วยตนไม่มี.
                            สํ.  ส.  ๑๕/๙.
                ๘.  อตฺตนา  ว  กตํ  ปาปํ  อตฺตนา  สงฺกิลิสฺสติ. ตนทำบาปเอง  ย่อมเศร้าหมองเอง.
                            ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๗.  ขุ.  มหา.  ๒๙/๓๗.  ขุ.  จู.  ๓๐/๑๑๖.
                ๙.  อตฺตนา  อกตํ  ปาปํ    อตฺตนา  ว  วิสุชฺฌติ. ตนไม่ทำบาปเอง  ย่อมหมดจดเอง.
                            ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๗.  ขุ.  มหา.  ๒๙/๓๗.  ขุ.  จู.  ๓๐/๑๑๖.
                ๑๐. อตฺตตฺถปญฺา  อสุจี  มนุสฺสา. มนุษย์ผู้เห็นแก่ประโยชน์ตน  เป็นคนไม่สะอาด.
                            ขุ.  สุ.  ๒๕๑๓๓๙.
                ๑๑. อตฺตานํ  ทมยนฺติ  ปณฺฑิตา. บัณฑิต  ย่อมฝึกตน.
                             ม.  ม.  ๑๓/๔๘๗.  ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๕.  ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๘๙.
                ๑๒.  อตฺตานํ  ทมยนตฺติ  สุพฺพตา.  ผู้ประพฤติดี  ย่อมฝึกตน.
                            ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๔.
                ๑๓. อตฺตนา  หิ  สุทนฺเตน    นาถํ  ลภติ  ทุลฺลภํ. ผู้มีตนฝึกดีแล้ว  ย่อมได้ที่พึ่งซึ่งได้ยาก.
                            ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๖. 
                ๑๔. โย  รกฺขติ  อตฺตานํ    รกฺขิโต  ตสฺส  พาหิโร. ผู้ใดรักษาตนได้  ภายนอกของผู้นั้นก็เป็นอันรักษาด้วย.
                            องฺ.  ฉกฺก.  ๒๒/๔๑๗.
                ๑๕. อตฺตานญฺเจ  ปิยํ  ชญฺญา  รกฺเขยฺย  นํ  สุรกฺขิตํ. ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก  ก็ควรรักษาตนนั้นให้ดี.
                            ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๖.
                ๑๖. ปริโยทเปยฺย  อตฺตานํ   จิตฺตเกฺลเสหิ  ปณฺฑิโต. บัณฑิตพึงทำตนให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้าหมองจิต.
                            สํ.  มหา.  ๑๙/๒๙.  ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๖.
                ๑๗. อตฺตานญฺเจ  ตถา  กยิรา  ยถญฺญมนุสาสติ.  ถ้าพร่ำสอนผู้อื่นฉันใด  ก็ควรทำตนฉันนั้น.
                            ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๖.
                ๑๘. อตฺตนา  โจทยตฺตานํ. จงเตือนตนด้วยตนเอง.
                            ขุ.  ธ.  ๒๕/๖๖.
                ๑๙. ปฏิมํเสตมตฺตนา. จงพิจารณาตนด้วยตนเอง.
                            ขุ.  ธ.  ๒๕/๖๖.
                ๒๐. ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร.จงถอนตนขึ้นจากหล่มเหมือนช้างตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น.
                            ขุ.  ธ.  ๒๕/๕๘. 
                ๒๑. อตฺตานุรกฺขี  ภว  มา  อฑยฺหิ. จงเป็นผู้ตามรักษาตน  อย่าได้เดือดร้อน.
                            ขุ.  ชา.  ปกิณฺณก.  ๒๗/๓๗๒.
                ๒๒. อตฺตานญฺจ  น  ฆาเตสิ. อย่าฆ่าตนเสียเลย.
                            ขุ.  ชา.  มหา.  ๒๘/๒๗๙.
                ๒๓. อตฺตานํ  น  ทเท  โปโส. บุรุษไม่พึงให้ซึ่งตน.
                            สํ.  ส.  ๑๕/๖๐.
                ๒๔. อตฺตานํ  น  ปริจฺจเช. บุรุษไม่พึงสละเสียซึ่งตน.
                            สํ.  ส.  ๑๕/๖๐.
                ๒๕. อตฺตานํ  นาติวตฺเตยฺย. บุคคลไม่ควรลืมตน.
                            ขุ.  ชา.  ตึส.  ๒๗/๕๐๓.
                ๒๖. อตฺตทตฺถํ  ปรตฺเถน    พหุนาปิ  น  หาปเย.ไม่ควรพร่าประโยชน์ตน  เพราะประโยชน์ผู้อื่นแม้มาก.
                            ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๗.
                ๒๗. อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา น นํ ปาเปน สํยุเช.ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ไม่ควรประกอบตนนั้นด้วยความชั่ว.
                            สํ.  ส.  ๑๕/๑๐๔.  
                ๒๘.  ยทตฺตครหึ  ตทกุพฺพมาโน. ติตนเองเพราะเหตุใด ไม่ควรทำเหตุนั้น.
                            ขุ.  ส.  ๒๕/๔๘๖.

๒.  อัปปมาทวรรคคือหมวดไม่ประมาท.

                ๒๙. อปฺปมาโท    อมตํปทํ. ความไม่ประมาท  เป็นทางไม่ตาย.
                           ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๘.  ขุ.  ชา.  ตึส.  ๒๗/๕๒๔.
                ๓๐. อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏฐํํว รกฺขติ.ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้เหมือนทรัพย์ประเสริฐสุด.
                           ม.  ม.  ๑๓/๔๘๘.  สํ.  ส.  ๑๕/๓๖.  ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๘.  ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๙๐.
                ๓๑. อปฺปมาทํ  ปสํสนฺติ. บัณฑิตย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท.
                          สํ.  ส.  ๑๕/๑๒๖.  องฺ.  ปญฺจก.  ๒๒/๕๓.  ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๙.  ขุ.  อิติ.  ๒๕/๒๔๒.
                ๓๒. อปฺปมาเท  ปโมทนฺติ. บัณฑิตย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท.
                          ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๘.
                ๓๓. อปฺปมตฺตา  น  มียนฺติ. ผู้ไม่ประมาท  ย่อมไม่ตาย.
                          ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๘.  ขุ.  ชา.  ตึส.  ๒๗/๕๒๔.
                ๓๔. อปฺปมตฺโต  หิ  ฌายนฺโต ปปฺโปติ วิปุลํ  สุขํ. ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่  ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์.
                          ม.  ม.  ๑๓/๔๘๘.  สํ.  ส.  ๑๕/๓๖.  ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๘.  ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๙๐.
                ๓๕. อปฺปมตฺโต  อุโภ  อตฺเถ อธิคฺคณหาติ ปณฺฑิโต. บัณฑิตผู้ไม่ประมาทย่อมได้รับประโยชน์ทั้งสอง.
                          สํ.  ส.  ๑๕/๑๒๖.  องฺ.  ปญฺจก.  ๒๒/๕๓.  ขุ.  อิติ.  ๒๕/๒๔๒.
                ๓๖. อปฺปมาเทน  สมฺปาเทถ. ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม.
                         ที.  มหา.  ๑๐/๑๘๐.  สํ.  ส.  ๑๕/๒๓๑.
                ๓๗. อปฺปมาทรตา  โหถ. ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท.
                         ขุ.  ธ.  ๒๕/๕๘.

๓.  กัมมวรรคคือหมวดกรรม.        

                ๓๘. กมฺมํ สตฺเต วิภชติ  ยทิทํ  หีนปฺปณีตตาย.  กรรมย่อมจำแนกสัตว์คือให้ทรามและประณีต.
                         ม.  อุป.  ๑๔/๓๘๕. 
                ๓๙. ยงฺกิญฺจิ  สิถิลํ  กมฺมํ น  ตํ โหติ  มหปฺผลํ.การงานอะไร ๆ ที่ย่อหย่อน  ย่อมไม่มีผลมาก.
                         นัย-สํ.  ส.  ๑๕/๖๘.
                ๔๐. สานิ  กมฺมานิ  นยนฺติ ทุคฺคตึ. กรรมชั่วของตนเอง  ย่อมนำไปสู่ทุคติ.
                         ขุ.  ธ.  ๒๕/๔๗.
                ๔๑. สุกรํ  สาธุนา  สาธุ. ความดี  อันคนดีทำง่าย.
                          วิ.  จุล.  ๗/๑๙๕.  ขุ.  อุ.  ๒๕/๑๖๗.
                ๔๒. สาธุ  ปาเปน  ทุกฺกรํ. ความดี  อันคนชั่วทำยาก.
                          วิ.  จุล.  ๗/๑๙๕.  ขุ.  อุ.  ๒๕/๑๖๗.
                ๔๓. อกตํ  ทุกฺกฏํ  เสยฺโย. ความชั่ว  ไม่ทำเสียเลยดีกว่า.
                          สํ.  ส.  ๑๕/๖๘.  ขุ.  ธ.  ๒๕/๕๖.
                ๔๔.  ปจฺฉา  ตปฺปติ  ทุกฺกฏํ. ความชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง.
                          สํ.  ส.  ๑๕/๖๘.  ขุ.  ธ.  ๒๕/๕๖.
                ๔๕. กตญฺจ  สุกตํ  เสยฺโย. ความดีทำนั่นแลดีกว่า.
                          สํ.  ส.  ๑๕/๖๘.  ขุ.  ธ.  ๒๕/๕๖.
                ๔๖. น  ตํ  กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ. ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี.
                          สํ.  ส.  ๑๕/๘๑.  ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๓.
                ๔๗. ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ. ทำกรรมใดแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นแลเป็นดี.
                         สํ.  ส.  ๑๕/๘๑.  ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๓.
                ๔๘. สุกรานิ อสาธูนิ อตฺตโน อหิตานิ  จ. การที่ไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์แก่ตน  ทำได้ง่าย.
                         ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๗.
                ๔๙. ยํ  เว หิตญฺจ สาธุญฺจ ตํ เว ปรมทุกฺกรํ. การใดแลเป็นประโยชน์ด้วยดีด้วย การนั้นแลทำได้ยากยิ่ง.
                         ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๗.
                ๕๐. น  หิ  ตํ  สุลภํ โหติ สุขํ ทุกฺกฏการินา. สุขไม่เป็นผลอันคนทำชั่วจะได้ง่ายเลย.
                        สํ.  ส.  ๑๕/๑๐๔.
                ๕๑. กลฺยาณการี  กลฺยาณํ. ปาปการี  จ  ปาปกํ. ทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว.
                       สํ.  ส.  ๑๕/๓๓๓.  ขุ. ชา.  ทุก.  ๒๗/๘๔.
                ๕๒. กมฺมุนา  วตฺตี  โลโก. สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม.
                       ม.  ม.  ๑๓/๖๔๘.  ขุ.  สุ.  ๒๕/๔๕๗.
                ๕๓. นิสมฺม  กรณํ  เสยฺโย. ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำดีกว่า.
                       ว.  ว.
                ๕๔. กตสฺส  นตฺถิ  ปฏิการํ. สิ่งที่ทำแล้ว  ทำคืนไม่ได้.
                       ส.  ส.
                ๕๕. ปฏิกจฺเจว ตํ กยิรา ยํ ชญฺญา หิตมตฺตโน.รู้ว่าการใดเป็นประโยชน์แก่ตน พึงรีบทำการนั้นเทียว.
                       สํ.  ส.  ๑๕/๘๑.
                ๕๖. กยิรา  เจ  กยิราเถนํ. ถ้าจะทำ  ก็พึงทำการนั้น  (จริง ๆ).
                       สํ.  ส.  ๑๕/๖๗.  ขุ.  ธ.  ๒๕๑๕๖.
                ๕๗. กเรยฺย  วากฺยํ  อนุกมฺปกานํ. ควรทำตามถ้อยคำของผู้เอ็นดู.
                       ขุ.   ชา.  ทสก.  ๒๗/๒๗๒.
                ๕๘. กาลานุรูปํว  ธุรํ  นิยุญฺเช.พึงประกอบธุระให้เหมาะแก่กาลเทียว.  
                       ว.  ว.
                ๕๙. รกฺเขยฺย อตฺตโน สาธุํ ลวณํ โลณตํ ยถา. พึงรักษาความดีของตนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม.
                      ส.  ส.
                ๖๐. กิจฺจานุกุพฺพสฺส  กเรยฺย  กิจฺจํ. พึงทำกิจแก่ผู้ช่วยทำกิจ.
                      ขุ.  ชา.  ทสก.  ๒๗/๘๔.
                ๖๑. นานตฺถกามสฺส กเรยฺย อตฺถํ. ไม่พึงทำประโยชน์แก่ผู้มุ่งความพินาศ.
                      ขุ.  ชา.  ทสก.  ๒๗/๘๔.
                ๖๒.  มา  จ  สาวชฺชมาคมา. อย่ามาถึงกรรมอันมีโทษเลย.
                     ส.  ฉ.

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
รวบรวม
26/05/53

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก