ภาษาบาลีมีรูปประโยคและวิธีการแปลที่เป็นเอกลักษณ์พิเศษ อาจจะไม่เหมือนภาษาใดในโลก ลักษณะประโยคที่เรียกในภาษาบาลีว่าวาจกนั้น มีถึงห้าวาจกโดยขึ้นอยู่กับการกระทำของประธานว่าเป็นผู้ทำเอง ผู้ถูกกระทำ ประธานเป็นเพียงผู้ที่ถูกอ้างถึง ประธานใช้ให้ผู้อื่นทำ หรือประธานถูกกระทำโดยมีผู้อื่นใช้ให้ผู้อื่นทำ ดังนั้นการกำหนดประโยคหรือวาจกจึงมีส่วนสำคัญในการแปลภาษาบาลีเป็นภาษาไทย ในบทนี้จะได้นำเสนอประโยคและการแปลภาษาบาลี(Sentence and Translation in Pāli Language) เบื้องต้นพอเป็นแนวทางสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาต่อไป
ภาษาบาลีมีลักษณะพิเศษไปจากภาษาอื่นคือการเรียงลำดับการแปล มีรูปแบบทั่วไปคือ ประธาน +ตัวขยาย + กิริยา เช่น วานรา วเน วสนฺติ ฝูงลิงย่อมอยู่ในป่า วานรา(ลิง) เป็นประธาน วเน(ป่า) เป็นตัวขยาย วสนฺติ(ย่อมอยู่) เป็นกิริยา เป็นต้น ดังนั้นการศึกษาการแปลภาษาบาลีส่วนสำคัญคือต้องกำหนดประโยคให้ได้ว่า ในแต่ละประโยคประกอบด้วยส่วนใดบ้าง เมื่อกำหนดได้แล้วจึงดูว่าเป็นวาจกอะไร ส่วนคำศัพท์สามารถเปิดพนานุกรมบาลีไทยดูได้ แต่ถ้าแปลผิดวาจกถือว่าผิดมากในภาษาบาลี ในบทนี้ จึงได้อธิบายประโยคหรือวาจกและหลักการแปลพอสังเขป
ประโยคหรือวาจกในภาษาบาลี
ประโยคในภาษามคธได้แก่ข้อความที่รู้จักกันว่า “วาจก” แปลว่าบอกคือบอกบทที่เป็นประธานของกิริยาในประโยคว่าทำหน้าที่อะไร แต่ละวาจกก็คือประโยคหนึ่งๆนั่นเอง ในภาษาบาลีแบ่งวาจกตามลักษณะของไวยากรณ์ได้ดังนี้
1. ประโยคกัตตุวาจก คือประโยคที่ประธานทำเอง ลงปัจจัย 10 ตัว คือ อ, เอ, ย, ณุ, ณา, นา, ณฺหา, โอ, เณ, ณย. ปัจจัยทั้ง 10 ตัว เช่น สูโท โอทนํ ปจติ อ. พ่อครัว หุงอยู่ ซึ่งข้าวสุก,อหํ ชาคโรมิ อ.ข้าฯ ตื่นอยู่, ตุมฺเห กมฺมํ กโรถ อ. ท่าน ท . จงกระทำซึ่ง การงาน
2. ประโยคกัมมวาจก คือประโยคที่ประธานถูกทำลงอิ อาคม หน้า ย ปัจจัย และ เต วัตตมานาวิภัตติฝ่ายอัตตโนบท ใช้ได้เฉพาะธาตุที่เป็นสกัมธาตุเท่านั้นเช่น สูเทน โอทโน ปจิยเต อ. ข้าวสุก อันพ่อครัว หุงอยู่ สามเณรสฺส จีวรํ สิวิยเต เป็นต้น
3. ประโยคภาววาจก คือประโยคที่ประธานเป็นตติยาวิภัตติ กิริยาที่กล่าวเพียงความเป็นไปของกิริยาอาการส่วนมากเป็นอกัมมธาตุ เช่น เตน ภูยเต อันเขา เป็นอยู่
4. ประโยคเหตุกัตตุวาจก คือประโยคที่ประธานใช้ให้ผู้อื่นทำลงปัจจัย 4 ตัวคือ เณ. ณย, ณาเป, ณาปย เช่น สามิโก สูทํ โอทนํ ปาเจติ อ.นาย ยังพ่อครัวให้หุงอยู่ซึ่งข้าวสุก
5. ประโยคเหตุกัมมวาจก คือประโยคที่ประธานถูกกระทำโดยมีผู้อื่นใช้ให้ผู้อื่นทำ ลงปัจจัย 4 ตัว ตัวใดตัวหนึ่งในเหตุกัตตุวาจกแล้วลง อิ อาคม และ ย ปัจจัยในกัมมวาจก เช่น สามิเกน สูเทน โอทโน ปาจาปิยเต อ.ข้าวสุก อันนาย ยังพ่อครัวให้หุงอยู่
สกัมมธาตุและอกัมมธาตุในธาตุทั้ง 8 หมู่นั้น ธาตุบางเหล่าเป็นธาตุไม่มีกรรม ธาตุบางเหล่ามีกรรม ธาตุเหล่าใด ไม่ต้องเรียกหากรรม คือสิ่งอันบุคคลพึงทำ ธาตุเหล่านั้น เรียกว่าอกัมมธาตุ ธาตุไม่มีกรรม ธาตุเหล่าใดเรียกหากรรม ธาตุเหล่านั้น เรียกว่าสกัมมธาตุ ธาตุมีกรรม เช่น
รุธฺ ธาตุ เป็นไปในความ ปิด เรียกหากรรมว่า ปิดซึ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีประตูเป็นต้น
อิกฺขฺ เป็นไปในความ เห็น เรียกหากรรมว่า เห็นซึ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีต้นไม้เป็นต้น ถึงแม้ธาตุที่มีกรรมอันเหลือจากนี้ ก็พึงรู้โดยนัยนี้เถิด
ส่วนธาตุที่เป็นอกรรมธาตุเช่น สกฺก อาจ, มนฺต ปรึกษา, ทิว เล่น, มร ตาย, ภู มี เป็น,หุ มี เป็น,สี นอน เป็นต้น
การแปลภาษาบาลี
ในการแปลภาษาบาลีเป็นภาษาไทยนั้น เนื่องจากภาษาบาลีมีรูปแบบที่แตกต่างไปจากภาษาไทย คือประโยคภาษาไทยจะเริ่มต้นด้วยประธาน กิริยา และกรรม แต่ประโยคในภาษาบาลีจะมีโครงสร้างประโยคเป็นประธาน กรรม และกิริยา กาแปลมี 2 อย่างคือ
1. แปลโดยพยัญชนะ คือแปลออกสำเนียงธาตุ วิภัตติ ปัจจัย ให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
2. แปลโดยอรรถ คือการแปลมุ่งเอาใจความเป็นสำคัญ ไม่ได้มุ่งวิภัตติ ปัจจัยเป็นสำคัญ เช่น สามเณรา ติสฺสํ สาลายํ ภตฺตานิ ภุญฺชนฺติ เหล่าสามเณร กำลังฉันข้าว ที่ศาลาหลังนั้น เป็นต้น (เวทย์ วรัญญู,หลักเกณฑ์ การแปลบาลีและหลักสัมพันธ์,พิมพ์ครั้งที่ 1,(นครปฐม: บรรณกรการพิมพ์,2545),หน้า 1.
ก่อนจะแปลควรทราบประโยคต่างๆ ในภาษาบาลีดังต่อไปนี้
โครงสร้างรูปประโยคภาษามคธ โครงสร้างหลักของรูปประโยคแบ่งออกเป็น 3 ภาคคือ
1. ภาคประธาน
2. ภาคกิริยาในระหว่าง
3. ภาคกิริยาคุมพากย์
การเรียงลำดับการแปล มีอยู่ 10 อย่าง ต้องดำเนินไปตามลำดับดังนี้
1. อาลปนะ
2. นิบาตต้นข้อความ
3. บทกาลสัตตมี
4. บทประธาน
5. บทที่เนื่องด้วยประธาน
6. กิริยาในระหว่าง
7. บทที่เนื่องด้วยกิริยาในระหว่าง
8. ประโยคแทรก
9. กิริยาคุมพากย์
10. บทที่เนื่องด้วยกิริยาคุมพากย์
1. อาลปนะ
ตามสำนวนบาลีเรียงไว้เป็นที่ 2 ในข้อความอันนั้น เช่น สงฺฆํ ภนฺเต อุปสมฺปทํ ยาจามิ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้า ฯ ขอ ซึ่งอุปสมบท กะสงฆ์ ถ้ามีสัพพนามหรือ นิบาตอยู่ เรียงอาลปนะไว้ เป็นที่ 3 บ้าง เป็นที่ 4 บ้าง เช่น ธมฺมํ หิ โว ภิกฺขเว เทเสสฺสามิ แน่ะภิกษุ ท. เรา จักแสดงซึ่งธรรม แก่ท่าน ท. กุหึ ปน ตฺวํ อาวุโส วสฺสํ วุตฺโถ. ดูก่อนผู้มีอายุ ก็ ท่าน อยู่ ตลอดพรรษาแล้ว ในที่ไหน
ตามสำนวนอรรถกถา เรียงอาลปนะไว้ข้างต้นบ้าง ในที่สุดแห่งประโยคบ้าง เช่น ภนฺเต มํ มา นาเสถ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญขอท่าน ท. อย่ายังข้า ฯ ให้ฉิบหาย เอวํ กโรหิ มหาราช. ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์ จงทรงทำอย่างนี้ อาลปนะมีสองแบบคืออาลปนนามและอาลปนะนิบาต
1.อาลปนนามนาม ได้แก่ศัพท์ที่ประกอบด้วย สิ ,โย ปฐมาวิภัตติ ซึ่งใช้ในอรรถอาลปนะ ออกเสียงสำเนียงอายตนิบาตว่า แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่ เช่น ปุริส (ดูก่อนบุรุษ),สามิ (ข้าแต่นาย),ภิกฺขเว (ดูก่อนภิกษุ ท.) เช่น
อหํ ธมฺมํ โว ภิกฺขเว เทเสสฺสามิ ดูก่อนภิกษุ ท. อ. เรา จักแสดงซึ่งธรรม แก่เธอ ท.
สามิ เอโก ปุตฺโต ชาโต ข้าแต่นาย อ. บุตร คนหนึ่ง เกิดแล้ว
2. อาลปนะนิบาต เช่น อมฺโภ (ดูก่อนท่านผู้เจริญ) ,ภนฺเต (ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ),อาวุโส (ดูก่อนท่านผู้มีอายุ)ภเณ (แน่ะพนาย), เร (เว้ย) เช่น
กนิฏฺฐภาตา เม อตฺถิ ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อ. น้องชายผู้น้อยที่สุด ของข้าพเจ้ามีอยู่
ถ้าหากอาลปนะนามนาม และอาลปนะนิบาต มาร่วมในประโยคเดียวกัน ให้แปลอาลปนะนามนามก่อน และแปลอาลปนะนิบาตทีหลัง เช่น
ตฺวํ วเทหิ ตาว อาวุโส ปาลิต แนะปาลิตะ ผู้มีอายุ อ.ท่าน จงกล่าวก่อน
2. นิบาตต้นข้อความ
บาตมีหลายหมวดกำหนดให้แปลต่อจากอาลปนะ นิบาตเช่น กิร,ขลุ,สุทํ หนฺท,ตคฺฆ, อิงฺฆ,อาม,อามนฺตา,สเจ, เจ,อถ,ยทิ,ยนฺนูน,อปฺเปวนาม,หิ,จ,ปน,ตุ,อถโข,อถวา,อโห ฯลฯ เช่น
อยฺโย ปน ภนฺเต กุหึ คมิสฺสติ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ อ. พระผู้เป็นเจ้า จักไป ณ ที่ไหน
ศัพท์เป็นอัพยยะคือนิบาตและปัจจัย บางเหล่า ไม่ต้องแจกวิภัตติอย่างใดอย่างหนึ่ง เรียงลงตามรูปศัพท์เดิมเช่นสเจ ปาปํ น กเรยฺยาสิ, สุขํ ลภิสฺสสิ ถ้า เจ้า ไม่พึงทำ ซึ่งบาป เจ้าจักได้ซึ่งสุข
นิบาตที่เป็นต้นข้อความ มักเรียงไว้เป็นศัพท์ที่ 2 ในข้อความอันนั้น เช่น กุหึ ปน ตฺวํ วสสิ ก็ เจ้า อยู่ที่ไหน เป็นต้น
3. บทกาลสัตตมี
แบ่งออกเป็น 3 อย่างคือ กาลสัตตมีนามนาม,กาลสัตตมีนิบาต, กาลสัตตมีสัพพนาม
1.กาลสัตตมีนามนาม ได้แก่ศัพท์จำพวกที่เกี่ยวกับ กาล,เวลา,ขณะ,วัน,เดือน,ปี เป็นต้น เช่น
กาเล ในกาล,สมเย ในสมัย, ทิวเส ในวัน,มาเส ในเดือน, สํวจฺฉเร ในปี, ขเณ ในขณะ,ตํขณํ ในขณะนั้นเทสนาวสาเน ในกาลจบเทศนา,อตีเต ในกาลเป็นที่ล่วงไปแล้ว,ปุพฺเพ ในกาลก่อน, ตํทิวสํ ในวันนั้น เช่น
ตสฺมึ สมเย สตฺถา ปริสมชฺเฌ ธมฺมํ เทเสติ ในสมัยนั้น อ. พระศาสดา ย่อมทรงแสดง ซึ่งธรรม ในท่ามกลางบริษัท
ตํทิวสํ นฬการเชฏฐกสฺส เวฬุนา อตฺโถ โหติ ในวันนั้น อ. ความต้องการ ด้วยไม้ไผ่ ย่อมมี แก่บุคคลผู้กระทำซึ่งไม้ไผ่ผู้เจริญที่สุด
2.กาลสัตตมีนิบาต ได้แก่ศัพท์ที่เป็นกาลสัตตมีที่สำเร็จรูปขึ้นเองโดยไม่ต้องประกอบด้วยวิภัตติ เช่น อถ ครังนั้น, ปาโต ปาตํ ในเวลาเช้า, สายํ ในเวลาเย็น,สุเว ในวัน,หิยฺโย ในวันวาน,เสฺว ในวันพรุ่ง,สมฺปติ ในบัดเดี๋ยวนี้, อายตึ ในกาลต่อไป เช่น
อถ สพฺเพว ชนา ปพฺพชฺชํ ยาจึสุ ครั้งนั้น อ.ชน ท. ทั้งปวงเทียว ทูลขอแล้ว ซึ่งการบวช
เสฺว ภนฺเต อมฺหากํ ภิกฺขํ คณฺหถ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในวันพรุ่ง อ. ท่าน ท. ขอจงรับ ซึ่งภิกษาของดิฉัน ท.
3.กาลสัตตมีสัพพนาม ได้แก่สัพพนามที่นำไปประกอบด้วยปัจจัยท้ายนาม ลงแล้วเป็นเครื่องหมายสัตตมีวิภัตติใช้เกี่ยวกับกาลเวลา 7 ตัวนี้คือ ทา,ทานิ,รหิ,ธุนา,ทาจนํ,ชฺช ชฺชุ รูปสำเร็จ เช่น ยทา ในกาลใด,ตทา ในกาลนั้น,เอตรหิ ในกาลบัดนี้,อิทานิ ในกาลนี้,อชฺช ในวันนี้ เช่น
ตทา สาวตฺถิยํ สตฺต มนุสฺสโกฏิโย วสนฺติ ในกาลนั้น อ. โกฏิแห่งมนุษย์ ท. เจ็ด ย่อมอยู่ในเมืองชื่อว่าสาวัตถี
อชฺช ภนฺเต โอกาโส นตฺถิ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในวันนี้ อ. โอกาส ย่อมไม่มี
อิทานิ ตํ อิตฺถึ อนฺธํ กริสฺสามิ ในกาลนั้น อ. เรา จักกระทำ ซึ่งหญิงนั้นให้บอด
4. บทประธาน คือศัพท์ที่ประกอบด้วย สิ,โย ปฐมาวิภัตติ ศัพท์ที่ใช้เป็นประธานในประโยคได้คือ
1. นามนาม เช่น ปรุโส (อ.บุรุษ), กญฺา (อ.นางสาวน้อย),กุลานิ( อ.ตระกูล ท.) เป็นต้น เช่น เต ภิกฺขู เถรํ ขมาเปตฺวา อนฺโตคามํ ปวิสึสุ อ. ภิกษุ ท.เหล่านั้น ยังพระเถระ ให้อดโทษแล้ว เข้าไปแล้ว สู่ภายในแห่งบ้าน ฯ
2. ปกติสังขยา ตั้งแต่ เอกูนสตํ (99) ขึ้นไปเป็นนามนาม แปลเป็นประธานได้เช่น สตํ อ.ร้อย สตานิ อ. ร้อย ท. เช่น
อถสฺสาหํ “เอตฺตกานิ สตานิ วา สหสฺสานิ วา สตสหสฺสานิ วาติ น สกฺกา คณนาย ปริจฺฉินฺทิตุนฺติ วทามิ ฯเปฯ ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ อ. เรา ย่อมกล่าว แก่พราหมณ์นั้นว่า อันใครๆไม่อาจ เพื่ออันกำหนด ด้วยการนับว่า อ. ร้อย ท. หรือ หรือว่า อ.พัน ท. หรือว่า อ.แสน ท. อันมีประมาณเท่านี้ ฯลฯ
3. ปุริสสัพพนาม เช่น โส (อ.ท่าน), เต (อ.ท่าน ท.) อหํ, มยํ ตฺวํ,ตุมฺเห เช่น ตุมฺเห ปน สามิ ข้าแต่นาย ก็ อ.ท่าน ท. เล่า,
มยํ อิมินา กญฺเหิ น รญฺโ อุยฺยานํ คจฺฉาม เรา ท. ไปอุทยานกับหญิงสาว ท.
อหํ ปุรตฺเถน อาทิจฺจํ ปสฺสาม ข้า ดูพระอาทิตย์ทางทิศตะวันออก ทลิทฺทสฺส ขโร อาพาโธ อุปชฺชติ, โส มุหุตฺเตน มรติ อาพาธหนักเกิดขึ้นแก่คนเข็ญใจ เขาเสียชีวิตในขณะนั้น
4. นามกิตต์ มีทั้งที่แปลเป็นนามและคุณนาม เช่น ทายโก (อ.ทายก), สาวโก (อ.สาวก),กรณํ (อ.การกระทำ) เช่น
อาจริย มยฺหํ โทโส นตฺถิ ข้าแต่อาจารย์ อ. โทษ ของกระผม ย่อมไม่มี
5. กิริยากิตต์ มีปัจจัยที่ใช้เป็นนามนามได้มีอยู่ 3 ตัวคือ อนีย,ตพฺพ,ต ปัจจัย เช่น พุทฺโธ โลเก อุปปนฺโน อ. พระพุทธเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก ฯ
6. บทสมาส เช่น มหาเถโร (อ.พระมหาเถระ),นตฺภิปูโว (อ.ขนมไม่มี),ปตฺตจีวรํ (อ.บาตรและจีวร) เช่น
เตน มยฺหํ จิตฺตสุขํ นาม น โหติ เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า อ.ความสบายแห่งจิต ของข้าพเจ้า ย่อมไม่มี
7. บทตัทธิต เช่น สามเณโร (อ.สามเณร), สหายตา (อ.ประชุมแห่งสหาย) เช่น อตฺถิ โกจิ ภติเกน อตฺถิโก อ.บุคคลผู้มีความต้องการ ไร ๆ ด้วยบุคคลผู้รับจ้าง มีอยู่หรือ
8. บทพิเศษ แปลเป็นประธานได้บ้าง เช่น เอวํ (อ. อย่างนั้น), ตถา (อ.เหมือนอย่างนั้น) อลํ (อ.พอละ), ตุ (อ อัน), อชฺช (อ.วันนี้), สกฺกา (อ.อันอาจ)เป็นต้น เช่น เอวํ กิร ภิกฺขเว ได้ยินว่า อ. อย่างนั้น, สตฺถา อลํ เอตฺตเกน อิมสฺสาติ ปกฺกามิ. พระศาสดาตรัสแก่บุคคลนั้นว่า อ. พอละ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ หลีกไปแล้ว
5. บทที่เนื่องด้วยประธาน
คือบทที่แปลหรือสัมพันธ์เข้ากับตัวประธานทั้งสิ้น เช่น บทวิเสสนะ, บทคุณนาม,สัพพนาม ที่มีลิงค์, วจนะ ,วิภัตติ เสมอกับตัวประธาน หรือบทอื่นๆ ที่ประกอบฉัฏี วิภัตติ,สัตตมีวิภัตติ หรือศัพท์หรือบทที่สามารถสัมพันธ์เข้ากับ บทประธานได้ ก็เป็นตัวเนื่องด้วยประธานทั้งสิ้น มีกฎว่าคุณนามของนามนามบทใด ต้องมีลิงคะ วจนะ วิภัตติเหมือนลิงคะ วจนะ วิภัตติ ของนามนามบทนั้น เรียงไว้หน้านามนามบทนั้น เช่น อุจฺโจ รุกฺโข ต้นไม้สูง, อจฺเจ รุกฺเข สกุณา นกทั้งหลาย บนต้นไม้สูง, สุคนฺธํ ปุปฺผํ ดอกไม้หอม, นีลานํ ปุปฺผานํ ราสิ กองดอกไม้เขียว, สุคนเธ ปุปฺเผ ภมโร แมลงผึ้งในดอกไม้หอม, วิสาลํ เขตฺตํ นากว้าง, สุกฺกสฺส โอทนสฺส ปาตี ถาดแห่งข้าวสุกขาว, อญฺญตโร ภิกฺขุ คามํ ปิณฺฑาย ปวิฏฺโฐ อ. ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเข้าไปแล้วสู่บ้านเพื่อบิณฑะ
ถ้าเกี่ยวเนื่องกับสังขยามีกฎอยู่ว่า เอกศัพท์ซึ่งเป็นสังขยา เป็นเอกวจนะอย่างเดียว ตั้งแต่ทฺวิ จนถึง อฏฺารส เป็นพหุวจนะอย่างเดียว ตั้งแต่เอกูนวีสติ ถึง อฏฺนวุติ เป็นเอกวจนะ อิตถีลิงค์อย่างเดียว แม้เข้ากับศัพท์ที่เป็นพหุวจนะลิงค์อื่น ก็คงอยู่อย่างนั้น ไม่เปลี่ยนไปตาม เช่น เอโก ชโน ชน ผู้เดียว, เทฺว ชนา ชนทั้งหลาย 2, ปญฺจตฺตึสาย ชนานํ ลาโภ อุปฺปนฺโน ลาภ เกิดขึ้นแล้ว แก่ชนทั้งหลาย,อฏฺนฺนํ ภควโต สาวกานํ สมุโห หมู่แห่งสาวกของพระพุทธเจ้า, จตฺตาโร ภิกฺขู คามํ ปิณฺฑาย ปวิฏฺา ภิกฺษุสี่รูปเข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต,
ตีณิ อุปลานิ อุทเก ชาตานิ ดอกบัวสามดอกเกิดในน้ำ,เอกูนวีสติ นาริโย นหานาย นทึ คตา หญิงสิบเก้าคน ไปสู่แม่น้ำเพื่ออาบน้ำ, เอกํ ผลํ รุกฺขา ปติตํ ผลไม้หนึ่งลูกตกจากต้นไม้, สตฺต อิสโย นครา นิกฺขนฺตา ฤษีเจ็ดรูปออกจากเมือง, เตวีสติยา กุมารานํ อาจริโย คามํ ปวิฏฺโ อ. อาจารย์ ของกุมาร ท. 23 เข้าไปแล้วสู่บ้าน
ปุริสสัพพนาม ประถมบุรุษ ใช้แทนนามนามบทใดต้องมีลิงคะ และวจนะ เหมือนลิงคะและวจนะของนามนามบทนั้น ส่วนวิภัตตินั้น เหมือนกันก็ได้ ต่างกันก็ได้ เช่น เอโก อุยฺยาเน รุกฺโข, โส วาเตน ปหโต, ตสฺส ปณฺณานิ ปติตานิ. ต้นไม้ ในสวน ต้นหนึ่ง ต้นไม้นั้น อันลม กระทบ แล้ว, ใบทั้งหลาย ของต้นไม้นั้น หล่นแล้ว
เต, เม, โว, โน, มัธยมบุรุษ และอุตตมบุรุษสัพพนามนั้น ต้องมีบทอื่นนำหน้าก่อน จึงใช้ได้ เช่น อาจริโย โน อาจารย์ ของข้า ท. อยนฺเต ปตฺโต นี้ บาตร ของเจ้า
วิเสสนสัพพนาม ของนามนามบทใด ต้องมีลิงคะ วจนะ วิภัตติ เหมือนลิงคะ วจนะ วิภัตติ ของนามนามบทนั้น เรียงไว้ข้างหน้าแห่งนามนามบทนั้น ดังนี้ ยสฺมึ ภควติ มยํ อภิปฺปสนฺนา, ตํ ภควนฺตํ สรณํ คตา. เรา ท. เลื่อมใสยิ่งแล้วในพระผู้มีพระภาค ใด เรา ท. ถึงแล้ว ซึ่งพระผู้มีพระภาคนั้นเป็นที่ระลึก
ถ้าไม่นิยมนามนาม เป็นแต่นิยมลิงค์เท่านั้น จะไม่เรียงนามนามไว้ด้วยก็ได้ ดังนี้ ยสฺส ลาโภ อุปฺปนฺโน, ตสฺส อลาโภ อุปฺปนฺโน. ลาภ เกิดขึ้นแล้ว แก่ผู้ใด, ความไม่มีลาภ เกิดขึ้นแล้ว แก่ผู้นั้น. ยสฺสา ปุตฺโต ชาโต, สา ตุฏฺา. บุตรของหญิงใด เกิดแล้ว หญิงนั้น ยินดีแล้ว
6. กิริยาในระหว่างของบทประธาน
กริยาในระหว่างของประธานได้แก่กิริยากิตก์ มีปัจจัยที่เป็นกิริยาในระหว่างที่แจกด้วยวิภัตตินามได้ 5 ตัวคือ อนฺต,ตวนฺตุ,ตาวี,มาน, ต ปัจจัย ปัจจัยทั้ง 5 ตัวนี้ต้องมีลิงค์,วจนะ,วิภัตติ เสมอกับประธาน ทั้งเอกวจนะและพหุวจนะ ถึงจะใช้เป็นกิริยาในระหว่างได้เช่น
1. สเจ ภนฺเต อยฺโย อิมสฺมึ ฐาเน เอวํ วิหรนฺโต ปพฺพชิตกิจฺจํ มตฺถกํ ปาเปตุ สกฺขิสฺสติ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าว่า อ. พระผู้เป็นเจ้าอยู่ ๆ อย่างนี้ ในที่นี้จักอาจ เพื่ออันยังกิจแห่งบรรพชิตให้ถึงที่สุด ไซร้ ฯ
ปัจจัย 3 ตัวคือ ตูน,ตฺวา,ตวาน ใช้เป็นกิริยาในระหว่างของตัวประธานได้ไม่ต้องแจกไปตามตัวประธาน เพราะเป็น อัพยยปัจจัยแจกด้วยวิภัตติทั้งเจ็ดไม่ได้ เช่น
อปรภาเค เวฏฺทีปกตาปโส กาลํ กตฺวา มเหสกฺโข เทวราชา หุตฺวา นิพฺพตฺติ. ในกาลเป็นส่วนอื่นอีก อ. ดาบสชื่อว่าเวฏฐทีปกะ กระทำแล้ว ซึ่งกาละบังเกิดแล้วเป็นเทวดาผู้พระราชาผู้มีศักดิ์ใหญ่
7. บทที่เนื่องด้วยกิริยาในระหว่าง
บทที่เนื่องด้วยกิริยาในระหว่างได้แก่ศัพท์ที่ไม่ได้ประกอบด้วยวิภัตติ หรือศัพท์ที่ประกอบด้วยวิภัตติตั้งแต่ ทุติยาวิภัตติ ถึง สัตตมีวิภัตติ หรือที่มีข้อความเกี่ยวเนื่องถึงกันกับกิริยาในระหว่าง ทำหน้าที่ขยาย ก็จัดเป็น บทที่เนื่องด้วยกิริยาในระหว่าง เช่น
ตสฺมา ตํทิวสํ สตฺถา ตสฺส อุปนิสฺสยํ โอโลเกตฺวา ธมฺมํ เทเสนฺโต อนุปุพฺพีกถํ กเถสิ. เพราะเหตุนั้น เมื่อทรงแสดงซึ่งธรรม ตรัสแล้ว ซึ่งอนุปุพพีกถา
ชโน เสฏฺิโน คาเม กมฺมํ กตฺวา สญฺจํ ลภิ อ.ชน ทำแล้ว ซึ่งการงาน ในบ้าน ของเศรษี ได้แล้วซึ่งค่าจ้าง
8. กิริยาคุมพากย์
กิริยาคุมพากย์คือธาตุที่นำไปประกอบด้วยเครื่องปรุงของอาขยาต ในวิภัตติทั้ง 8 หมวด ใช้เป็นกิริยาคุมพากย์ทั้งสิ้น และยังมีปัจจัยในกิริยากิตก์อีก 3 ตัวคือ อนีย,ตพฺพ,ต ปัจจัย ใช้เป็นกิริยาคุมพากย์ (รวมทั้ง ตฺวา ปัจจัย เป็นกิริยาคุมพากย์ ปธานนัย)
กิริยาอาขยาตมีกฎว่า กิริยาอาขยาตของนามนาม ของปุริสสัพพนามบทใด ต้องมีวจนะ และบุรุษ เหมือนวจนะ และบุรุษ ของนามนาม ปุริสสัพพนาม บทนั้น เช่น ชโน ยาติ, ชนา ยนฺติ, โส ยาติ, เต ยนฺติ, ตฺวํ ยาสิ, ตุมฺเห ยาถ, อหํ ยามิ, มยํ ยาม. กิริยาอาขยาตนี้ เรียงไว้ในที่สุด ประโยค เช่นตัวอย่างที่แสดงมาแล้ว บางทีก็เรียงไว้หน้าประโยค เช่น สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ ท่านผู้เจริญ สงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า
วิธีใช้มัธยมบุรุษ และอุตตมบุรุษ, จะไม่เขียนตัวประธานลงด้วยก็ได้ แต่ต้องใช้กิริยาให้ถูกตามวจนะ และบุรุษ ดังนี้ กตรสฺมึ อาวาเส วสฺสํ วสสิ ท่าน อยู่ตลอดพรรษา ในอาวาสไหน มชฺฌนฺติการาเม วสฺสํ วสามิ ข้าพเจ้า อยู่ ตลอดพรรษา ในวัดมัชฌันติการาม, สูโท โอทนํ ปจติ อ. พ่อครัว หุงอยู่ ซึ่งข้าวสุก ฯ
คุณนาม ที่เนื่องด้วยกิริยา ว่ามี ว่าเป็น เรียงไว้หลังนามนาม ซึ่งเป็นเจ้าของ หน้ากิริยา ว่ามี ว่าเป็น นั้น ดังนี้ สุคนฺธํ ปุปฺผํ สพฺเพสํ มนาปํ โหติ ดอกไม้ หอม เป็น ที่ชอบใจ ของชนทั้งหลายทั้งปวง. แม้จะไม่เรียงกิริยาไว้ด้วยก็ได้ ดังนี้ อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนแล เป็นที่พึ่งของตน,ราชา อตฺตโน รฏฺเฐ ชนานํ อิสฺสโร โหติ, พระราชาเป็นใหญ่กว่าชนทั้งหลายในแว่นแคว้นของพระองค์, อยํ ทารโก เสฏฺิโน นตฺตา โหติ, ทารกนี้ เป็นหลานของเศรษี
นามนาม ซึ่งใช้เป็นคุณนาม ต้องมีวจนะและวิภัตติ เหมือนนามนามซึ่งเป็นเจ้าของ แต่ลิงค์นั้นคงอยู่ตามที่ คือศัพท์เดิม เป็นลิงค์อะไร ก็คงเป็นลิงค์นั้น ดังนี้ พุทฺโธ เม วรํ สรณํ พระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง อันประเสริฐ ของเรา. ปมาโท มจฺจุโน ปทํ, ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย, ราชา มนุสฺสานํ มุขํ. ราชาเป็นประมุขของมนุษย์ทั้งหลาย
กิริยากิตก์มีกฎว่า กิริยากิตก์ ที่ไม่ใช่อัพยยะ ถ้ามีกิริยา ว่ามี ว่าเป็นอยู่หลัง เข้ากับกิริยา ว่ามี ว่าเป็น นั้น ใช้เหมือนกิริยาอาขยาต ซึ่งมีธาตุอย่างเดียวกับกิริยากิตก์นั้น เช่น เสฏฺิโน ลาโภ อุปฺปนฺโน โหติ มีความเป็นอย่างเดียวกันกับ เสฏฺิโน ลาโภ อุปฺปชฺชติ ลาภเกิดขึ้นแก่เศรษี ,ภิกฺขุ คามํ ปิณฺฑาย ปวิฏฺโ อ.ภิกษุ เข้าไปแล้ว สู่บ้าน เพื่อบิณฑะ, สาวตฺถิยํ อญฺตโร ภิกฺขุ อหินา ทฏฺโ กาลกโต โหติ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งถูกงูกัดตาย, เสฏฺิโน อาพาโธ อุปฺปนฺโน โหติ อาพาธเกิดขึ้นแก่เศรษี , สงฺฆสฺส จีวรํ อุสฺสนฺนํ โหติ จีวรของสงฆ์เป็นของหนา, ภิกฺขุ อตฺตโน สนฺตเกน ตุฏฺโ โหติ ภิกษุเป็นผู้ยินดีในของๆตน
9.ประโยคแทรก
ถ้ามีข้อความเรื่องอื่นแทรกเข้ามาในระหว่าง แห่งประโยคนามนาม ที่เป็นประธาน ในข้อความนั้น ใช้ฉัฏี หรือสัตตมีวิภัตติ กิริยาของนามนามบทนั้นใช้กิริยากิตก์ มี ลิงคะ วจนะ วิภัตติเหมือน ลิงคะ วจนะ วิภัตติ ของนามนามบทนั้น แทรกเข้ามาในที่ไหนก็เรียงไว้ในที่นั้น เช่น สุริเย อตฺถงฺคเต, จนฺโท อุคฺคจฺฉติ ครั้นเมื่อพระอาทิตย์ ตกแล้ว, พระจันทร์ ขึ้นไปอยู่
ทารกสฺส รุทนฺตสฺส, ปิตา ปพฺพชิ เมื่อเด็ก ร้องให้อยู่, พ่อ บวชแล้ว
ทารกา, อตฺตโน หตฺเถ ผเล มาตรา คหิเต, โรทนฺติ. ครั้นเมื่อมารดาถือเอาผลไม้ในมือของตน ทารกร้องให้อยู่
ปทุมานิ, สุริเย อุคฺคเต, ปุปฺผนฺติ, ตสฺมึ อตฺถงฺคเต, ปตฺตานิ ปิทหนฺติ. ครั้นเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นไปอยู่ ดอกประทุม ท. ก็เบ่งบาน ครั้นเมื่อพระอาทิตย์ตกไป ดอกประทุมก็เหี่ยวแห้งไป
10. บทที่เนื่องด้วยกิริยาคุมพากย์
คือบทหรือศัพท์ที่เรียงไว้หน้ากิริยาคุมพากย์บ้าง หลังกิริยาคุมพากย์บ้าง เรียงไว้หน้าเช่น เอวํ สตฺถา เตสํ ภิกฺขูนํ ธมฺมํ เทเสสิ. อ. พระศาสดา ทรงแสดงแล้ว ซึ่งธรรม แก่ภิกษุ ท. เหล่านั้น
เรียงไว้หลังเช่น สตฺถา ภตฺตคฺคํ ปวิสิตฺวา ปญฺตฺตาสเน นิสีทิ สทฺธึ ภิกฺขุสงฺเฆน. อ. พระศาสดา เสด็จเข้าไปแล้ว สู่โรงแห่งภัตร ประทับนั่งแล้ว บนอาสนะอันบุคคลปูลาดแล้ว กับ ด้วยหมู่แห่งภิกษุ ฯ
ตัวอย่างการแปลพระวินัยปิฎก
เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เวรญฺชายํ วิหรติ นเฬรุปุจิมนฺทมูเล มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธึ ปญฺจมตฺเตหิ ภิกฺขุสเตหิ ฯ อสฺโสสิ โข เวรญฺโช พฺราหฺมโณ สมโณ ขลุ โภ โคตโม สกฺยปุตฺโต สกฺยกุลา ปพฺพชิโต เวรญฺชายํ วิหรติ นเฬรุปุจิมนฺทมูเล มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธึ ปญฺจมตฺเตหิ ตํ โข ปน ภวนฺตํ โคตมํ เอวํ กลฺยาโณ กิตฺติสทฺโท อพฺภุคฺคโต อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ โส อิมํ โลกํ สเทวกํ สมารกํ สพฺรหฺมกํ สสฺสมณพฺราหฺมณึ ปชํ สเทวมนุสฺสํ สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทติ โส ธมฺมํ เทเสติ อาทิกลฺยาณํ มชฺเฌกลฺยาณํ ปริโยสานกลฺยาณํ สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ เกวลปริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ พฺรหฺมจริยํ ปกาเสติ สาธุ โข ปน ตถารูปานํ อรหตํ ทสฺสนํ โหตีติ ฯ
คำแปลเป็นไทย
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ควงไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์ สิงสถิต เขตเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ 500 รูป เวรัญชพราหมณ์ ได้สดับข่าวถนัดแน่ว่า ท่านผู้เจริญ พระสมณะโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยตระกูล ประทับอยู่ ณ บริเวณต้นไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต เขตเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่ประมาณ 500 รูป ก็แลพระกิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้น ขจรไปแล้ว อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคองค์นั้น ทรงเป็นพระอรหันต์แม้เพราะเหตุนี้ ทรงตรัสรู้เองโดยชอบ แม้เพราะเหตุนี้ ทรงบรรลุวิชชาและจรณะแม้เพราะเหตุนี้ เสด็จไปดีแม้เพราะเหตุนี้ ทรงทราบ โลกแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่าแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นศาสดาของเทพและมนุษย์ทั้งหลายแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นพุทธะแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นพระผู้มีพระภาคแม้เพราะเหตุนี้ พระองค์ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัด ด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง แล้วทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทพ และมนุษย์ ให้รู้ ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ อนึ่ง การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น เป็นความดี
ตัวอย่างการแปลพระสุตตันตปิฎก
ปมํ โอฆตรณสุตฺตํ เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ฯ อถ โข อญฺตรา เทวตา อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา อภิกฺกนฺตวณฺณา เกวลกปฺปํ เชตวนํ โอภาเสตฺวา เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา เอกมนฺตํ อฏฺาสิ ฯ
เอกมนฺตํ ิตา โข สา เทวตา ภควนฺตํ เอตทโวจ กถํ นุ ตฺวํ มาริส โอฆมตรีติ ฯ อปฺปติฏฺํ ขฺวาหํ อาวุโส อนายูหํ โอฆมตรินฺติ ฯ ยถากถํ ปน ตฺวํ มาริส อปฺปติฏฺํ อนายูหํ โอฆมตรีติ ฯ ยทา สฺวาหํ อาวุโส สนฺติฏฺามิ ตทาสฺสุ สํสีทามิ ยทา สฺวาหํ อายูหามิ ตาสฺสุ นิวุยฺหามิ เอวํ ขฺวาหํ อาวุโส อปฺปติฏฺํ อนายูหํ โอฆมตรินฺติ ฯ
จิรสฺสํ วต ปสฺสามิ พฺราหฺมณํ ปรินิพฺพุตํ
อปฺปติฏฺํ อนายูหํ ติณฺณํ โลเก วิสตฺติกนฺติ ฯ
อิทมโวจ สา เทวตา สมนุญฺโ สตฺถา อโหสิ ฯ อถ โข สา เทวตา สมนุญฺโ เม สตฺถาติ ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา ปทกฺขิณํ กตฺวา ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ
คำแปลเป็นไทย
โอฆตรณสูตรที่ 1 ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้วเทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
เทวดานั้น ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลคำนี้ กะพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ข้าพระองค์ขอทูลถาม พระองค์ ข้ามโอฆะได้อย่างไร ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ท่านผู้มีอายุ เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ ข้ามโอฆะได้แล้ว ฯ
เทวดา : ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ก็พระองค์ไม่พักไม่เพียร ข้ามโอฆะได้ อย่างไรเล่า ฯ
พ. ท่านผู้มีอายุ เมื่อใด เรายังพักอยู่ เมื่อนั้น เรายังจมอยู่โดยแท้ เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ เมื่อนั้น เรายังลอยอยู่โดยแท้ ท่านผู้มีอายุ เราไม่พัก เรา ไม่เพียร ข้ามโอฆะได้แล้วอย่างนี้แล ฯ
เทวดานั้นกล่าวคาถานี้ว่า "นานหนอ ข้าพเจ้าจึงจะเห็นขีณาสวพราหมณ์ผู้ดับรอบแล้ว ไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ ข้ามตัณหาเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในโลก ฯ
เทวดานั้นกล่าวคำนี้แล้ว พระศาสดาทรงอนุโมทนา ครั้งนั้นแลเทวดานั้นดำริว่า พระศาสดาทรงอนุโมทนาคำของเรา จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วก็หายไป ณ ที่นั้นแล ฯ
สรุปท้ายบท
การแปลภาษาบาลีเป็นภาษาไทยนั้นมีหลักการที่แน่นอน ว่าศัพท์ไหนควรแปลก่อน ศัพท์ไหนควรแปลทีหลัง การแปลนอกจากจะคำนึงถึงหลักไวยากรณ์แล้ว ยังจะต้องศึกษาหลักการสัมพันธ์ไปด้วยว่าศัพท์ใดควรแปลเข้ากับศัพท์ใด ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมในส่วนที่ว่าด้วยวิชาสัมพันธ์ซึ่งใช้เป็นหลักสูตรเปรียญธรรม 3 ประโยค ครั้นจะนำมาอธิบายในที่นี้เห็นว่าจะทำให้หนังสือเล่มนี้ยากเกินไป คงต้องเขียนอีกเล่มหนึ่งว่าด้วยวิชาสัมพันธ์โดยตรง ส่วนผู้เริ่มต้นเมื่อกำหนดหลักการได้แล้ว ก็สามารถแปลตามกฏเกณฑ์ได้เลย
คำถามทบทวน
1.จงประกอบปัจจัยกับธาตุต่อไปนี้ให้ครบทั้งห้าวาจก
มร ตาย, คม ไป,ภุช กิน,พุธ รู้,สิว เย็บ,ญา รู้,สกฺก อาจ,ชาคร ตื่น
2. จงเปลี่ยนประโยคต่อไปนี้ให้เป็นกัมมวาจก,เหตุกัตตุวาจก,เหตุกัมมวาจก
2.1. พุทธสฺส สาวโก ธมฺมํ เทเสติ
2.2. ปิตุโน ปุตฺโต สิปฺปํ สิกฺขติ
2.3. ปุริโส กมฺมํ กโรติ
2.4. มนุสฺโส ภตฺตํ ภุญชติ
2.5. ภิกฺขุ ธมฺมํ จินฺเตติ
2.6. อาจริยสฺส สิสฺโส ธมฺมํ สิกฺขติ
2.7. กญฺญา วตฺถํ สิพฺพติ
2.8. มาตุยา ธีตา ปุปฺผํ วุณาติ
2.9. กสโก เขตฺตํ กสติ
2.10. อสฺสุ มนสฺส ปญฺหํ อูลติ
3. จงแปลเป็นไทย
1. ตุมฺเห รุกฺเข สกุเณ ปสฺสถ
2.ปญฺจหิ ภิกฺขูหิ ปญฺจสตานํ มนุสฺสานํ ธมฺโม เทสิยเต
3.ภูปาโล นายเกน ภิกฺขูนํ ทาเปสิ
4.สมโณ อุปาสเก สนฺนิปาเตตฺวา ธมฺมํ เทเสสิ
5.กุสเลน ครุนา สิสฺเสน สุนฺทรํ สิปฺปํ สิกฺขาปิยเต
6.เอโก ภิกฺขุ อุปาสเก จ อุปาสิกาโย จ พุทธสฺส ธมฺมํ สุณาเปติ
7. ชนโก จ ชนนี จ ชนปเท วสนฺติ, ปุตฺโต ปน นคเร วสติ
8.ยทิ เทโว สมฺมา น วสฺสิสฺสติ, กุโต ปานียํ ลภิสฺสาม
9. อิธ ตปฺปติ เปจฺจ ตปฺปติ ปาปการี อุภยตฺถ ตปฺปติ
ปาปํ เม กตนฺติ ตปฺปติ ภิยฺโย ตปฺปติ ทุคฺคตึ คโต ฯ
10.ยถา อคารํ ทุจฺฉนฺนํ วุฏฺิ สมติวิชฺฌติ
เอวํ อภาวิตํ จิตฺตํ ราโค สมติวิชฺฌติ ฯ
4. จงแปลเป็นบาลี
1. พระพุทธศาสนา อันสาวกทั้งหลาย รักษาอยู่
2.อาหาร อันมารดา ยังบุตรให้บริโภคอยู่
3.พระธรรมอันพระพุทธเจ้าตรัสแล้วแก่เทวดาทั้งหลายด้วย แก่มนุษย์ทั้งหลายด้วย
4.โจรทั้งหลาย อันราชบุรุษ ยังบุรุษให้ประหารอยู่
5.บิดาของพวกเรายังภิกษุ 6329 รูป ให้ฉันอยู่ซึ่งอาหารที่บ้าน
5.ประโยคต่อไปนี้เป็นวาจกอะไร
1. โก ธมฺม เทเสติ ใคร สำแดงอยู่ ซึ่งธรรม
2. สามเณเรน ธมฺโม ปกาสิยเต. ธรรม อันสามเณร ประกาศอยู่.
3. เกนา - ย ถูโป ปติฏฺาปิยเต สตูป นี้ อันใคร ให้ตั้งจำเพาะอยู่
4. มหาราชา ต การาเปติ. พระราชาผู้ใหญ่ให้ทำอยู่ ซึ่งสตูปนั้น.
5. กถ มาตาปิตโร ปุตฺเต อนุสาเสยฺยุ มารดาและบิดา ท. พึงตามสอน ซึ่งบุตร ท. อย่างไร
6. เต ปาปา ปุตฺเต นิวาเรนฺติ, เต กลฺยาเณ ปุตฺเต นิเวเสนฺติ. เขา ท. ย่อมห้าม ซึ่งบุตร ท. จากบาป. เขา ท. ยังบุตร ท.ย่อมให้ตั้งอยู่ ในกรรมงาม.
7. กถ มยา ปฏิปชฺชเต อันข้า จะปฏิบัติ อย่างไร
8. กึ อมฺหาก สุข อุปฺปาเทสฺสติ สิ่งไร จักยังสุข ให้เกิดแก่ข้า ท.
9. กุสลญฺ - เจ กเรยฺยาสิ. ถ้าว่า เจ้า พึงทำ ซึ่งกุศลไซร้.
10. กุสล กโรหิ. ท่าน จงทำ ซึ่งกุศล.
11. กสฺมา สิสฺโส ครุนา ครหิยเต เพราะเหตุอะไร ศิษย์อันครู ย่อมติเตียน
12. สุร ปิวามิ. ข้า ดื่มอยู่ ซึ่งเหล้า.
13. มา เอว - มกาสิ. (เจ้า)อย่าได้ทำแล้ว อย่างนั้น.
14. ตสฺโส - วาท กโรหิ. (เจ้า)จงทำ ซึ่งโอวาท ของท่าน.
15. กห อิเม คมิสฺสนฺติ (ชน ท.)เหล่านี้ จักไป ในที่ไหน
16. ราชนิเวสน คมิยเต. พระราชวัง (อันเขา ท.)ไปยู่.
17. จิร อิธ วสฺมฺหา. (ข้า ท.)อยู่แล้ว ในที่นี้ นาน.
18. พาล น เสเวยฺย. (เขา)ไม่พึงเสพ ซึ่งชนพาล.
19. ปณฺฑิต-เมว ภชตุ. (เขา)จงคบ ซึ่งบัณฑิตอย่างเดียว.
20. ย ธีโร กาเรยฺย, ต กรสฺสุ. ผู้มีปัญญา ให้เจ้าทำ ซึ่งกรรมใด, (เจ้า)จงทำ ซึ่งกรรมนั้น.
21. ขโณ โว มา อุปจฺจคา. ขณะ อย่าได้เข้าไปล่วงแล้ว ซึ่งเจ้า ท.
22. ขณาตีตา หิ โสจนฺติ. เพราะว่า (ชน ท.)มีขณะเป็นไปล่วงแล้ว ย่อมโศก.
23. เตนา - ห โปราโณ. ด้วยเหตุนั้น อาจารย์ มีแล้วในก่อน กล่าวแล้ว.
24. เตนา - หู โปราณา. ด้วยเหตุนั้น อาจารย์ ท. มีแล้วในก่อนกล่าวแล้ว.
25. พหู ชนา อิธ สนฺนิปตึสุ. ชน ท. มาก ประชุมกันแล้วในที่นี้.
26. กินฺนุ ภีโต ว ติฏฺสิ ทำไมหนอ (เจ้า)เป็นผู้กลัวเทียวยืนอยู่
27. ชีวนฺโต น สุข ลเภ. (ข้า)เป็นอยู่ ไม่พึงได้ ซึ่งสุข.
28. สจา - ห เอว อชานิสฺส, ต นา - ภวิสฺส. ถ้าว่า (ข้า)จักได้รู้แล้ว อย่างนี้ไซร้, สิ่งนั้น จักไม่ได้มีแล้ว.
29. ยนฺนูนา - ห ทุกฺขา มุจฺเจยฺย. ไฉนหนอ (ข้า)พึงพ้นได้จากทุกข์.
30. มา ปจฺฉา วิปฺปฏิสาริโน อหุวตฺถ. (เจ้า ท.)อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อน มีแล้ว ในภายหลัง.
6. จงแปลเป็นไทย
6.1. อตีเต เอกสฺมึ นคเร อฏ อนฺธา วสนฺติ. ราชา เต อนฺเธ ปกฺโกสาเปตฺวา วทติ “กึ ตุมฺเหหิ กุญฺชโร ทิฏฺโติ. อนฺธา วทนฺติ อมฺเหหิ มหาราช กุญฺชโร น ทิฏฺโติ. ราชา ราชปุริเส กุญฺชรํ อาหราเปติ. เต อนฺธา กุญฺชรสฺส องฺคานิ ปรามสนฺติ. เอโก ตสฺส หตฺถํ ปรามสติ. เอโก ปาทํ. เอโก สีสํ.เอโก นงฺคุฏฺฐํ. ราชา วทติ “ทิฏฺโ ตุมฺเหหิ กุญฺชโรติ. เต วทนฺติ “อาม มหาราชาติ. ราชา ปุจฺฉติ “กุญฺชโร กีทิโส โหตีติ. เตสุ เอโก วทติ “มหาราช กุญฺชโร มนุสฺสสฺส หตฺถสทิโส โหตีติ.
เอโก วทติ “มหาราช กุญฺชโร เคหสฺส ถมฺภสทิโส โหตีติ. เอโก วทติ “มหาราช กุญฺชโร กุมภสทิโส โหตีติ. เอโก วทติ “มหาราช กุญฺชโร สมฺมชฺชนีทิโส โหตีติ. เต อนฺธา วิวทนฺติ “ น กุญฺชโร ตาทิโส โหติ โส อีทิโส โหตีติ. เต อญฺมญฺญํ ปหรนฺติ. ราชา มหาหสิตํ หสติ.
6.2. เอวมฺเม สุตํ ฯ เอกํ สมยํ ภควา อนฺตรา จ ราชคหํ อนฺตรา จ นาฬนฺทํ อทฺธานมคฺคปฏิปนฺโน โหติ มหตา ภิกฺขุสํเฆน สทฺธึ ปญฺจมตฺเตหิ ภิกฺขุสเตหิ ฯ สุปฺปิโยปิ โข ปริพฺพาชโก อนฺตรา จ ราชคหํ อนฺตรา จ นาฬนฺทํ อทฺธานมคฺคปฏิปนฺโน โหติ สทฺธึ อนฺเตวาสินา พฺรหฺมทตฺเตน มาณเวน ฯ ตตฺร สุทํ สุปฺปิโย ปริพฺพาชโก อเนกปริยาเยน พุทฺธสฺส อวณฺณํ ภาสติ ธมฺมสฺส อวณฺณํ ภาสติ สํฆสฺส อวณฺณํ ภาสติ ฯ สุปฺปิยสฺส ปน ปริพฺพาชกสฺส อนฺเตวาสี พฺรหฺมทตฺโต มาณโว อเนกปริยาเยน พุทฺธสฺส วณฺณํ ภาสติ ธมฺมสฺส วณฺณํ ภาสติ สํฆสฺส วณฺณํ ภาสติ ฯ อิติห เต อุโภ อาจริยนฺเตวาสี อญญมญญฺสฺส อุชุวิปจฺจนิกวาทา ภควนฺตํ ปิฏฺิโต ปิฏฺิโต อนุพนฺธา โหนฺติ ภิกฺขุสํฆญฺจ ฯ
อถโข ภควา อมฺพลฏฺิกายํ ราชาคารเก เอกรตฺติวาสํ อุปคญฺฉิ อุชุวิปจฺจนีกวาทา ฯ อนุพทฺธาติปิ ปาโฐ ฯ สทฺธึ ภิกฺขุสํเฆน ฯ สุปฺปิโยปิ โข ปริพฺพาชโก อมฺพลฏฺิกายํ ราชาคารเก เอกรตฺติวาสํ อุปคญฺฉิ สทฺธึ อนฺเตวาสินา พฺรหฺมทตฺเตน มาณเวนฯ ตตฺรปิ สุทํ สุปฺปิโย ปริพฺพาชโก อเนกปริยาเยน พุทฺธสฺส อวณฺณํ ภาสติ ธมฺมสฺส อวณฺณํ ภาสติ สํฆสฺส อวณฺณํ ภาสติ ฯ
สุปฺปิยสฺส ปน ปริพฺพาชกสฺส อนฺเตวาสี พฺรหฺมทตฺโต มาณโว อเนกปริยาเยน พุทฺธสฺส วณฺณํ ภาสติ ธมฺมสฺส วณฺณํ ภาสติ สํฆสฺส วณฺณํ ภาสติ ฯ อิติห เต อุโภ อาจริยนฺเตวาสี อญญมญญสฺส อุชุวิปจฺจนิกวาทา ภควนฺตํ ปิฏฺิโต ปิฏฺิโต อนุพนฺธา โหนฺติ ภิกฺขุสํฆญฺจ ฯ
6.3. กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพฺยากตา ธมฺมา สุขายเวทนายสมฺปยุตฺตา ธมฺมา ทุกฺขายเวทนายสมฺปยุตฺตา ธมฺมา อทุกฺขมสุขายเวทนายสมฺปยุตฺตา ธมฺมา วิปากา ธมฺมา วิปากธมฺมธมฺมา เนววิปากนวิปากธมฺมธมฺมา อุปาทินฺนุปาทานิยา ธมฺมา อนุปาทินฺนุปาทานิยา ธมฺมา อนุปาทินฺนานุปาทานิยา ธมฺมา สงฺกิลิฏฺฐสงฺกิเลสิกา ธมฺมา อสงฺกิลิฏฺฐสงฺกิเลสิกา
ธมฺมา อสงฺกิลิฏฺฐาสงฺกิเลสิกา ธมฺมา สวิตกฺกสวิจารา ธมฺมา อวิตกฺกวิจารมตฺตา ธมฺมา อวิตกฺกาวิจารา ธมฺมา ปีติสหคตา ธมฺมา สุขสหคตา ธมฺมา อุเปกฺขาสหคตา ธมฺมา ทสฺสเนนปหาตพฺพา ธมฺมา ภาวนายปหาตพฺพา ธมฺมา เนวทสฺสเนนนภาวนายปหาตพฺพา ธมฺมา ทสฺสเนนปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา ภาวนายปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา เนวทสฺสเนนนภาวนายปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา อาจยคามิโน ธมฺมา อปจยคามิโน ธมฺมา เนวาจยคามิโนนาปจยคามิโน ธมฺมา เสกฺขา ธมฺมา อเสกฺขา ธมฺมา เนวเสกฺขานาเสกฺขา ธมฺมา ปริตฺตา ธมฺมา มหคฺคตา ธมฺมา อปฺปมาณา ธมฺมา ปริตฺตารมฺมณา ธมฺมา มหคฺคตารมฺมณา ธมฺมา อปฺปมาณารมฺมณา ธมฺมา หีนา ธมฺมา มชฺฌิมา ธมฺมา ปณีตา ธมฺมา มิจฺฉตฺตนิยตา ธมฺมา สมฺมตฺตนิยตา ธมฺมา อนิยตา ธมฺมา มคฺคารมฺมณา ธมฺมา มคฺคเหตุกา ธมฺมา มคฺคาธิปติโน ธมฺมา อุปฺปนฺนา ธมฺมา อนุปฺปนฺนา ธมฺมา อุปฺปาทิโน ธมฺมา อตีตา ธมฺมา อนาคตา ธมฺมา ปจฺจุปฺปนฺนา ธมฺมา ฯ
พระมหาบุญไทย ปุญญมโน (ป.ธ.7)
เรียบเรียง
04/09/53
เอกสารอ้างอิง
กรมการศาสนา.พระไตรปิฏกภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ.เล่มที่ 1,9,15,34.กรุงเทพ ฯ:กรมการศาสนา,2525.
กรมการศาสนา.พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับหลวง,เล่มที่ 15. กรุงเทพ ฯ:กรมการศาสนา,2514.
เวทย์ วรัญญู.หลักเกณฑ์ การแปลบาลีและหลักสัมพันธ์.พิมพ์ครั้งที่ 3.นครปฐม: บรรณกรการพิมพ์,2545.