ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

             มนุษย์ในแต่สังคมย่อมมีภาษาในการพูดคุยสนทนา เพื่อให้ได้รับรู้เรื่องที่ตนเองต้องการพูดและสื่อสารจากเรื่องที่คนอื่นพูด ดังนั้นจึงคิดค้นภาษาขึ้นมาเพื่อเป็นสิ่งที่ใช้ในการสื่อสาร มนุษย์จึงมีภาษาที่ปลีกย่อยคือเป็นภาษาเฉพาะกลุ่มอีกจำนวนมาก บางภาษาก็เลือนหายและสาบสูญไปตามกาลเวลา ในส่วนของพระพุทธศาสนาเถรวาทได้มีการบันทึกคัมภีร์ด้วยภาษาบาลีหรือภาษามคธ ซึ่งปัจจุบันมีคนใช้พูดกันในบางพื้นที่ของอินเดียเท่านั้น พระภิกษุสามเณรในประเทศไทยจึงมีหลักสูตรภาษาบาลีเพื่อให้พระสงฆ์สามารถเข้าใจภาษาบาลีได้ วันนี้ได้นำเรื่องคำสัพพนามมาให้ได้ศึกษากัน        
            เวลาที่เราสนทนาปราศรัยกับคนอื่น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้คำแทนตัวเราเอง คนที่เราพูดด้วย และคนที่เรากำลังกล่าวถึง ให้ถูกต้องตามฐานะ แม้คำๆเดียวกันอาจจะมีความหมายและให้ความรู้สึกที่ต่างกันเช่น คำว่า “ฉัน” ถ้าเป็นสัพพนามหมายถึงตัวคนพูด แต่คำว่า “ฉัน” ที่เป็นกิริยาหมายถึงการรับประทานอาหารของพระภิกษุสามเณรเป็นต้น แม้ว่าคำปุริสสัพพนามจะมีเพียงสามคำ แต่ก็สามารถนำมาใช้ได้ทุกสถานการณ์ ส่วนส่วนวิเสสนสัพพนามนั้นแม้มีจำนวนมาก แต่ที่นำมาใช้จริงกลับมีไม่มากนัก ในบทนี้จึงควรทำความรู้จักกับคำสัพพนามเป็นลำดับต่อไป

สัพพนามหรือสรรพนาม
            สัพพนามหรือสรรพนาม คือนามที่ใช้แทนสิ่งทั้งปวงได้แก่ คน สัตว์และสิ่งของ  แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ    
            1.ปุริสสัพพนาม   ต (เขา), ตุมฺห  (ท่าน), อมฺห (ข้าพเจ้า) 
            2.วิเสสนสัพพนาม แบ่งเป็น 2 คือนิยม ได้แก่ ต,เอต,อิม,อมุ  และอนิยมได้แก่ ย(ใด),อญฺญ(อื่น),อญฺญตร(อย่างใดอย่างหนึ่ง) ,อญฺญตม(อย่างใดอย่างหนึ่ง), ปร(อื่น),อปร(อื่นอีก),กตม(ไหน), เอก(หนึ่ง),เอกจฺจ(บางอย่าง),สพฺพ (ทั้งปวง) กึ (อะไร)  
            ปุริสัพพนาม  เป็นศัพท์สำหรับใช้แทนชื่อคนและสิ่งของที่ออกชื่อมาแล้ว  เพื่อจะไม่ให้เป็นการซ้ำซาก  นับตามบุรุษที่ท่านจัดไว้ใน  อาขยาต  เป็น 3  คือ  ต  ศัพท์, ตุมฺห  ศัพท์, และอมฺห  ศัพท์    
            ต  ศัพท์เป็น  ปฐมปุริส  หรือ  ประถมบุรุษ ชายที่ 1   สำหรับออกชื่อคนและสิ่งของ  ที่ผู้พูดออกชื่อถึง  เช่นคำในภาษาของเราว่า "เขา" ภาษาอังกฤษคือ he she it  
            ตุมฺห  ศัพท์ เป็น  มชฺฌิมปุริส  หรือ  มัธยมบุรุษ  ชายมีในท่ามกลาง   สำหรับออกชื่อคนที่ผู้พูด ๆ  กับคนใด    สำหรับออกชื่อคนนั้น  เช่นคำในภาษาของเราว่า  "เจ้า,  เธอ,ท่าน,  สู,  เอง,  มึง"   ตามคำสูงและต่ำ    ภาษาอังกฤษคือ You
            อมฺห  ศัพท์  เป็นอุตฺตมปุริส  หรือ  อุตตมบุรุษ  ชายสูงสุด  สำหรับใช้ออกชื่อผู้พูดเช่นคำในภาษาของเราว่า  "ผม,ดิฉัน, ข้าพเจ้า, อาตมา, กู"  ภาษาอังกฤษคือ I             
            คำสรรพนานทั้งสามคำนั้นเป็นไตรลิงค์คือแจกได้ทั้ง 3  ลิงค์  ในสัพพนามทั้งปวงไม่มีอาลปนะ (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส,บาลีไวยากรณ์(สัพพนาม) พิมพ์ครั้งที่ 48,(กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย,2547),หน้า 77.)

วิธีแจกปุริสสัพพนาม
ต ศัพท์ ใน ปุลิงค์ แจกอย่างนี้
     เอก.                              พหุ.
ป.  โส                               เต
ทุ.  ต   น                     เต   เน
ต.  เตน                             เตหิ
จ.  ตสฺส   อสฺส               เตส  เตสาน  เนส   เนสาน
ปญฺ.  ตสฺส  อสฺมา  ตมฺหา   เตหิ
ฉ. ตสฺส  อสฺส     เตส     เตสาน   เนส  เนสาน
ส. ตสฺมึ   อสฺมึ  ตมฺหิ         เตสุ

วิธีเปลี่ยน วิภัตติ และการันต์
            1. สิ อยู่หลัง เอา ต ที่มิใช่ นปุ. เป็น ส. อ อยู่หน้า เอา โยทั้งสอง เป็น เอ, เอา ต เป็น น ได้บ้าง
            2. ส สฺมา สฺมึ อยู่หลัง เอา ต เป็น อ ได้บ้าง ในลิงค์ทั้งปวง. เอา น เป็น ส เป็น สาน แล้ว เอา อ ข้างหน้า เป็น เอ
            3. เอา ต เป็น อ แล้วห้ามมิให้แปลง สฺมา เป็น มฺหา แปลง สฺมึ เป็น มฺหิ

ต ศัพท์ ใน อิตถีลิงค์ แจกอย่างนี้
    เอก.                                          พหุ.
ป. สา                                             ตา
ทุ. ต   น                                   ตา
ต. ตาย                                          ตาหิ
จ. ตสฺสา   อสฺสา  ติสฺสา  ติสฺสาย   ตาส   ตาสาน
ปญฺ. ตาย                                         ตาหิ
ฉ. ตสฺสา  อสฺสา  ติสฺสา  ติสฺสาย   ตาส   ตาสาน
ส. ตาย   ตสฺส  อสฺส  ติสฺส   ตาสุ

วิธีเปลี่ยน วิภัตติ และ การันต์
            1. ใน อิตถีลิงค์ เอา อ การันต์ เป็น อา และ ลบ โย ทั้งสองเสีย 
            2. เอา ส เป็น สฺสา เป็น สสาย แล้ว รัสสะ การันต์ ให้เป็น อ บ้าง แปลงเป็น อิ บ้าง 
            3. เอา สฺมึ เป็น สฺส แล้ว รัสสะ การันต์ ให้เป็น อ บ้าง แปลงเป็น อิ บ้าง
            ต ศัพท์ใน นปุสกลิงค์ แจกเหมือน ใน ปุลิงค์ แปลกแต่ ป. เอก. ต, พหุ. ตานิ, ทุ, พหุ. ตานิ เท่านั้น   ต ศัพท์ ที่เป็นประถมบุรุษ มิใช่วิเสสนสัพพนามนี้ เห็นว่าตรงกับคำที่เราใช้ในภาษาของเราว่า "ท่าน, เธอ, เขา, มัน" ตามคำสูงและต่ำ จะไม่ต้องแปลว่า "นั้น" เหมือนวิเสสนสัพพนาม ก็ได้ เช่น  
            1. อาจริโย ม นิจฺจเมว โอวทติ อนุสาสติ โส หิ มยฺห วุฑฺฒึ อาสึสติ คำแปล  อาจารย์ ว่ากล่าวอยู่ ตามสั่งสอนอยู่ ซึ่งข้าพเจ้าเป็นนิตย์ทีเดียว เพราะว่า ท่าน หวังอยู่ ซึ่งความเจริญ แก่ข้าพเจ้า
            2.รญฺโ ปเสนทิโกสลสฺส มลฺลิกา นาม เทวี พหุนน ปิยา อโหสิ,สา หิ เตส อุปการมหาสิ  คำแปล นางเทวี  ของพระราชา ปเสนทิโกศลนามว่า มัลลิกา ได้เป็นที่รัก ของชนทั้งหลายเป็นอันมาก มีแล้วเพราะว่า เธอ ได้ทำแล้ว ซึ่งอุปการะ แก่เขาทั้งหลาย
            3. นามรูป อนิจฺจ ตญฺหิ อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌติ  คำแปล  นามรูป ไม่เที่ยง เพราะว่า มัน เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป 
            คำที่ใช้ในประถมบุรุษ ในภาษาของเรามาก จะใช้ยืนเป็นแบบเดียวไม่ได้ ครั้นจะใช้ยักเยื้องไปต่าง ๆ ก็จะพาให้ผู้เริ่มศึกษา สังเกตยากหรืออย่างไรแล ท่านจึงสอนให้ยกเอานามศัพท์ที่สัพพนามเล็งเอาขึ้นแปลด้วย เหมือนอุทาหรณ์ที่ต้น ต้องแปลว่า  "โส อาจริโย อาจารย์นั้น," ในอุทาหรณ์ที่สอง ต้องแปลว่า "สา มลฺลิกา นางเทวี นางมัลลิกานั้น," ในอุทาหรณ์ที่สาม ต้องแปลว่า "ต นามรูป นามรูปนั้น" ดังนี้  แต่ที่ยกเอานามศัพท์ขึ้นแปลด้วยนี้ ก็เป็นอุบายที่จะให้ผู้แรกศึกษาเข้าใจความได้ชัด และฉลาดในการที่จะแจกวิภัตติและผูกประโยค เพราะฉะนั้น แปลต่อไปข้างหน้า จะต้องใช้ตามแบบที่เคยใช้มาแต่ก่อน ไม่เปลี่ยนแปลง 
            ต ศัพท์ ที่ท่านเขียนไว้กับนามศัพท์ หรือ ตุมฺห อมฺห ศัพท์ เป็นวิเสสนสัพพนาม แปลว่า "นั้น" เช่น 
            1.อภิญฺาย โข โส ภควา ธมฺม เทเสติ โน (เทเสติ) อนภิญฺาย พระผู้มีพระภาคเจ้า นั้น ย่อมแสดง ซึ่งธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง แล ไม่ (แสดง) เพื่อความไม่รู้ยิ่ง 
            2. เอกมนฺต ิตา โข สา เทวตา. เทวดา นั้น ยืนแล้ว ส่วนข้างหนึ่ง แล 
            3. น ต กมฺม กต สาธุ, ย (กมฺม) กตฺวา อนุตปฺปติ. กรรมนั้น อันบุคคลทำแล้ว ให้ประโยชน์สำเร็จได้ หามิได้ (บุคคล) ทำแล้ว ซึ่งกรรมไรเล่า ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง 
            4. ตสฺส เต อลาภา. มิใช่ลาภทั้งหลาย ของท่าน นั้น 
            5.โส โข อห ภนฺเต ปิตุ วจน สกฺกโรนฺโต ฯ ล ฯ ทิสา นมสฺสามิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระพุทธเจ้า นั้น แล เมื่อสักการะ ซึ่งคำ ของบิดา ฯลฯ นอบน้อมอยู่ ซึ่งทิศทั้งหลาย" ดังนี้

 ตุมฺห ท่าน ทั้งสองลิงค์ แจกอย่างเดียวกัน อย่างนี้ 
        เอก.                                       พหุ.
ป. ตฺว  ตุว                           ตุมฺเห  โว
ทุ. ต   ตฺว  ตุว                   ตุมฺเห  โว
ต. ตยา  ตฺวยา  เต                     ตุมฺเหหิ  โว
จ. ตุยฺห  ตุมฺห  ตว  เต         ตุมฺหาก  โว
ปญฺ. ตยา                                ตุมฺเหหิ
ฉ. ตุยฺห  ตุมฺห  ตว  เต       ตุมฺหาก  โว
ส. ตยิ  ตฺวยิ                             ตุมฺเหสุ

วิธีเปลี่ยน วิภัตติ และ การันต์
            1 ศัพท์ที่อาเทศผิดจากรูป ตุมฺห ทีเดียว พึงรู้ว่าเอาวิภัตตินั้น ๆ กับตุมฺห เป็นอย่างนี้
            2 ตุมฺห อมฺห อยู่หน้า เอา น เป็น อาก
            3 เต โว มีบทอื่นนำหน้าจึงมีได้

อมฺห  ศัพท์แปลว่า ข้า ทั้งสองลิงค์ แจกเป็นแบบเดียวกัน อย่างนี้
    เอก.                             พหุ.
ป. อห                             มย        โน
ทุ. ม  มม                     อมฺเห  โน
ต. มยา  เม                        อมฺเหหิ  โน
จ. มยฺห  อมฺห  มม  มม  เม  อมฺหาก  อสฺมาก  โน
ปญฺ. มยา                            อมฺเหหิ
ฉ. มยฺห  อมฺห  มม  มม  เม  อมฺหาก  อสฺมาก  โน
ส. มยิ                             อมฺเหสุ

หมายเหตุ: ตุมฺห ที่เป็น จ. ฉ. เอก. โดยสูตรมูลกัจจายนะ ว่า สสฺส. และสูตรสัททนีติ ว่า มตนฺตเร สสฺส ว่า อ.
วิธีเปลี่ยน วิภัตติ และ การันต์
            1 เอา อมฺห กับ วิภัตติ นั้น ๆ เป็นรูปนั้น ๆ
            2 เม โน มีบทอื่นนำหน้าจึงมีได้

วิธีแจก วิเสสนสัพพนาม นิยมานิยม
  ย ศัพท์ ใด ในปุลิงค์ แจกอย่างนี้
    เอก.                พหุ.
ป. โย                  เย
ทุ. ย                 เย
ต. เยน                เยหิ
จ. ยสฺส  เยส    เยสาน
ปญฺ. ยสฺมา  ยมฺหา   เยหิ
ฉ. ยสฺส   เยส    เยสาน
ส. ยสฺมึ  ยมฺหิ       เยสุ
ศัพท์เหล่านี้ แจกเหมือน ย ศัพท์ 
            อญฺ  อื่น    กตม, กตร     คนไหน
            อญฺตร    คนใดคนหนึ่ง   เอก  คนหนึ่ง, พวกหนึ่ง
            อญฺตม   คนใดคนหนึ่ง  เอกจฺจ   บางคน, บางพวก
            ปร   อื่น    อุภย    ทั้งสอง
            อปร  อื่นอีก    สพฺพ   ทั้งปวง          
            ย ศัพท์ ในอิตถีลิงค์ แจกอย่างนี้
      เอก.                  พหุ.
ป.    ยา                   ยา
ทุ.    ย                 ยา
ต.    ยาย                ยาหิ
จ.    ยสฺสา              ยาส    ยาสาน
ปญฺ. ยาย                ยาหิ
ฉ.    ยสฺสา              ยาส    ยาสาน
ส.    ยสฺส             ยาสุ
             “ย ศัพท์” ในนปุสกลิงค์ แจกเหมือน ปุลิงค์ แปลกแต่ ป. เอก. ย, พหุ. ยานิ, ทุ. พหุ. ยานิ เท่านั้น
กึ ศัพท์ ใคร , อะไร คงเป็นรูป กึ อยู่แต่ในนปุ. ป. ทุ. เอก. เท่านั้น   นอกนั้น แปลงเป็น ก แล้วแจกในไตรลิงค์ เหมือน ย ศัพท์ กึ ศัพท์ ที่แจกด้วยวิภัตติในไตรลิงค์นี้ มี จิ อยู่ท้ายศัพท์ แปลว่า
"น้อย" บ้าง "บางคน หรือ บางสิ่ง" บ้าง เป็นคำให้ว่าซ้ำสองหน เหมือนในภาษาของเราเขียนรูป "ๆ" ดังนี้บ้าง เช่นว่า โกจิ ชาย บางคน หรือ ใคร ๆ " "กาจิ อิตฺถี หญิงบางคน หรือ หญิงไร ๆ"
            "กิญฺจิ วตฺถุ ของน้อยหนึ่ง หรือของบางสิ่ง" ถ้าเป็นพหุวจนะ แปลว่า "บางพวก หรือ บางเหล่า" เช่น "เกจิ ชนา ชน ทั้งหลายบางพวก กาจิ อิตฺถี หญิงทั้งหลายบางพวก กานิจิ กุลานิ ตระกูลทั้งหลายบางเหล่า" ถ้ามี ย นำหน้า มี จิ อยู่หลัง แปลว่า"คนใดคนหนึ่ง หรือ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง" เช่น "โย โกจิ เทโว วา  มนุสฺโส วา เทวดาหรือ หรือมนุษย์ คนใดคนหนึ่ง 
            ยา กาจิ เวทนาอตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนา เวทนา อย่างใดอย่างหนึ่ง ล่วงแล้วหรือยังไม่มาหรือเกิดขึ้นเฉพาะแล้ว 
            ยงฺกิญฺจิ วิตฺต อิธ วา หุร วา ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ อันใดอันหนึ่ง ในโลกนี้หรือ หรือในโลกอื่น
            ทั้ง ย ทั้ง ก นี้ แจกด้วยวิภัตติใด ๆ ก็ต้องเปลี่ยนเป็นรูปวิภัตตินั้น ๆ แล้วเอา จิ ไว้ท้ายศัพท์ เหมือนดังนี้ เอก. ทุ. ยงฺกิญฺจิ, ต. เยน เกนจิ, จ. ยสฺส กสฺสจิ, พหุ. ป. ทุ. เย เกจิ, ต. เยหิ เกหิจิ, จ. เยส เกสญฺจิ เป็นต้น
            กึ ศัพท์ ที่เป็นคำถามแปลว่า "หรือ" เหมือนคำว่า "กึ ปเนต อาวุโส ปฏิรูป ดูก่อนอาวุโส ก็ อันนั้น สมควร หรือ." บางทีในคำถามไม่มี กึ ก็มี ใช้แต่หางเสียงที่กิริยา เหมือนในภาษาอังกฤษ
อุ. ว่า "อุตฺถิ ปนายสฺมโต โกจิ เวยฺยาวจฺจกโร  ก็ ใคร ๆ ผู้เป็นไวยาวัจกร (ทำซึ่งกรรมของผู้ขวานขวาย) ของท่านผู้มีอายุมีหรือ "
            กึ ศัพท์ ที่เป็นคำถามถึงเหตุที่เป็น แปลว่า "ทำไม" ตัวอย่างเช่น "กึ ปาลิต ปมชฺชสิ ดูก่อนปาลิต ทำไม (ท่าน) ประมาทอยู่

เอต ศัพท์ (นั่น) ในปุลิงค์ แจกอย่างนี้
      เอก.    พหุ.
ป. เอโส    เอเต
ทุ. เอต  เอน    เอเต
ต. เอเตน   เอเตหิ
จ. เอตสฺส   เอเตส   เอเตสาน
ปญฺ. เอตสฺมา  เอตมฺหา   เอเตหิ
ฉ. เอตสฺส    เอเตส  เอเตสาน
ส. เอตฺสฺมึ  เอตมฺหิ   เอเตสุ

เอต ศัพท์ ในอิตถีลิงค์ แจกอย่างนี้ 
      เอก.    พหุ.
ป. เอสา     เอตา
ทุ. เอต  เอน    เอตา
ต. เอตาย    เอตาหิ
จ. เอตสฺสา  เอติสฺสา  เอติสฺสาย  เอตาส  เอตาสาน
ปญฺ. เอตาย    เอตาหิ
ฉ. เอตสฺสา  เอติสฺสา  เอติสฺสาย  เอตาส  เอตาสาน
ส. เอตสฺส เอติสฺส   เอตาสุ

  “เอต ศัพท์” ในนปุสกลิงค์ แจกเหมือนในปุลิงค์ แปลกแต่เอก. ป. เอต, พหุ. ป. ทุ. เอตานิ เท่านั้น

อิม ศัพท์ (นี้) ในปุลิงค์ แจกอย่างนี้
    เอก.     พหุ.
ป. อย     อิเม
ทุ. อิม     อิเม
ต. อิมินา  อเนน    อิเมหิ
จ. อิมสฺส   อสฺส    อิเมสํ   อิเมสานํ
ปญฺ. อิมสฺมา  อิมมฺหา  อสฺมา  อิเมหิ
ฉ. อิมสฺส  อสฺส    อิเมสํ   อิเมสานํ
ส. อิมสฺมึ  อิมมฺหิ  อสฺมึ   อิเมสุ
วิธีเปลี่ยน วิภัตติ และ การันต์
1. เอา อิม ใน ปุ. อิตฺ. กับ สิ เป็น อย
2. นา อยู่หลัง เอา สระ อ ที่สุดแห่ง อิม เป็น อิ,อีกอย่างหนึ่งเอา อิม เป็น อน แล้วเอา นา เป็น เอน
3. ส  สฺมา  สฺมึ  อยู่หลัง เอา อิม เป็น อ ได้บ้าง

อิม ศัพท์ ในอิตถีลิงค์ แจกอย่างนี้
    เอก.     พหุ.
ป. อย     อิมา
ทุ. อิม     อิมา
ต. อิมาย    อิมาหิ
จ. อิมิสฺสา  อิมิสฺสาย  อสฺสา  อิมาส  อิมาสาน
ปญฺ. อิมาย    อิมาหิ
ฉ. อิมิสฺสา  อิมิสฺสาย  อสฺสา  อิมาส  อิมาสาน
ส. อิมิสฺส   อสฺส    อิมาสุ
  “อิม ศัพท์” ใน นปุ. แจกเหมือนใน ปุ. แปลกแต่ เอก. ป. อิท, ทุ. อิท อิม, พหุ. ป. ทุ. อิมานิ เท่านั้น. ที่เป็น อิท นั้น ใน นปุ.  เอา อิม กับ สิ หรือ อ เป็น อิท

 อมุ ศัพท์ (โน้น) ใน ปุลิงค์ แจกอย่างนี้ 
     เอก.     พหุ.
ป. อมุ     อมู
ทุ. อมุ     อมู
ต. อมุนา    อมูหิ
จ. อมุสฺส  อมุโน    อมูส   อมูสาน
ปญฺ. อมุสฺมา  อมุมฺหา   อมูหิ
ฉ. อมุสฺส   อมุโน   อมูส   อมูสาน
ส. อมุสฺมึ   อมุมฺหิ   อมูสุ
  “อมุ ศัพท์” นี้อาเทศเป็น อสุ บ้างก็ได้ อมุ และ อสุ ทั้ง 2 นี้ ถ้ามี ก เป็นที่สุด เป็น อมุก อสุก ดังนี้ แจกตามแบบ ย ศัพท์ ทั้ง 3 ลิงค์  อมุ และ อสุ ที่มี ก เป็นที่สุด ท่านใช้มากกว่าที่ไม่มี ก

อมุ ศัพท์ ในอิตถีลิงค์ แจกอย่างนี้
เอก.     พหุ
ป. อมุ     อมู
ทุ. อมุ     อมู
ต. อมุยา    อมูหิ
จ. อมุสฺสา    อมูส   อมูสาน
ปญฺ. อมุยา    อมูหิ
ฉ. อมุสฺสา    อมูส   อมูสาน
ส. อมุสฺส    อมูสุ
            “อมุ ศัพท์” ใน นปุสกลิงค์ แจกเหมือนใน ปุลิงค์ แปลกแต่ ป. ทุ. เอก. อทุ, พหุ. อมูนิ เท่านั้น ที่เป็น อทุ นั้น ใน นปุ. เอา อมุ กับ สิ หรือ อ เป็น อทุ

สรุปท้ายบท
            สัพพนามหรือสรรพนามนั้นใช้แทนคำนามเพื่อให้เกิดความสลวยในการอ่าน เขียนพูด ในหนังสือบาลีไวยากรณ์ส่วนมากจะแบ่งออกเป็นปุริสสัพพนามและวิเสสนสัพพนาม  บางท่านอาจคุ้นเคยกับคำว่า “บุรุษ” ในภาษาอังกฤษคือ บุรุษที่ 1 ใช้แทนผู้พูดใช้คำว่าฉันหรือ( I) ในภาษาอังกฤษ   บุรุษที่ 2(You) ใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ส่วนบุรุษที่ 3 หมายถึงคนที่เรากล่าวถึง (He She It) แต่ในภาษาบาลีจะกลับกันคือบุรษที่ 1 หรือปฐมบุรุษ ใช้เรียกคนที่เรากล่าวถึง  บุรุษที่ 2 มัธยมบุรุษ ใช้ตรงกันกับภาษาอังกฤษ และบุรุษที่ 3 อุตตมบุรุษ ภาษาบาลีใช้แทนตัวผู้พูด  ผู้ที่กำลังศึกษาทั้งภาษาอังกฤษและภาษาบาลีจึงต้องแยกแยะให้ชัดเจน

คำถามทบทวน

1. จงประกอบประโยคต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

 1. ภิกขุ     คามก   อาหาร  ภิกฺข       อ. ภิกษุ ท. ย่อมขอ ซึ่งอาหาร จากชาวบ้านทั้งหลาย
 2.  เกตุ     สิขร   วส                          อ. ธง ย่อมอยู่ บนภูเขา
 3.  พพฺพุ   มจฺฉ    ขาท                      อ.แมว ท. ย่อมกินซึ่งปลา ท.
 4. กตญฺญู  สาธุ   นิมิตฺต   หุ              อ. ผู้รู้อุปการะที่คนอื่นทำแล้ว เป็นเครื่องหมายของคนดี
 5. อุรุ    นที   ปาร   วส                      อ. ทราย ท. ย่อมอยู่บนฝั่งแห่งแม่น้ำ ท.
 6. อุกฺขลิ    ยาคุ   ปูร               อ. หม้อข้าว ท. ย่อมเต็มด้วยข้าวต้ม ท.
 7. สรพู  ชมฺพูทีป  วน  ชมฺพู  วส อ. ตุ๊กแก ย่อมอยู่บนต้นหว้าในป่าแห่งชมพูทวีป
 8.  อสฺสุ   กญญา  อกฺขิ  นิกฺข        อ.น้ำตา ท. ย่อมไหลออกจากนัยน์ตาของนางสาวน้อย
 9. ชน   อายุ  มรณ    ขี                  อ. อายุ ของชน ท. ย่อมสิ้นไป ด้วยความตาย
 10. ภู    โลก  ชนฺตุ   หุ                อ.   แผ่นดิน   ย่อมเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เกิดทั้งหลาย
11.ตุมฺห  อมุ  คาม  คมฺ   อ. ท่าน ท. จงไปสู่บ้านชื่อโน้น
12. อมฺห  ปญฺ ปญฺห  จินฺต  อ.เรา ท. ย่อมคิด ซึ่งปัญหา ท. ด้วยปัญญา
13. วิญฺญู  มาร    ชิ  ผู้รู้ ท. ย่อมชนะซึ่งมาร
14.อํสุมาลี  ปุรตฺถิม  คมฺ   พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก
15.พุทฺธ     วิสาขมาส   พุธฺ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ในเดือนวิสาขะ
16.รวิวาร   สุข  อาราม    สี วันอาทิตย์เรานอนที่วัดด้วยความสุข
17.อมฺห เชฏฺภาตุ โปราณ  ปณฺณํ  หุ หนังสือเก่าเป็นของพี่ชาย
18.ตุมฺห อาทิจฺจ จ กามี จ อิกฺข  พวกท่านจงดูพระอาทิตย์และพระจันทร์
19.โจลกี  วน   อส   ดอกไม้มีอยู่ในป่า
20.มนุสฺส กาย อนฺต ปุพฺพ  เขฬ ยกน  ภู ลำไส้ หนอง น้ำลาย ตับ  มีอยู่ในกายของมนุษย์

2.จงแปลเป็นไทย
            2.1. เอโก  กสโก ชนปเท วสติ. โส เอกํ คทฺรภํ เอกญฺจ  สุนขํ โปเสติ. เอกทิวสํ โจโร วนสฺมา อาคนฺตฺวา  กสกสฺส เคหํ คนฺตฺวา โจรกมฺมํ  กโรติ. คทฺรโภ  สุนขํ  วทติ “โจโร  สมฺม  สามิกสฺส  เคหํ  ปวิสติ. โส โจโร สามิกสฺส ภณฺฑํ  โจเรติ.  ตฺวํ ภุภุกฺกโรหีติ.  สุนโข  สยมาโน  น ภุภุกฺกโรติ.  คทฺรโภ  เอวํ  วทติ   “สุนข  ตฺวํ  น สทฺทํ กโรสิ. โส คทฺรโภ อุจฺจาสทฺทํ  กโรนโต  ติฏฺติ. โจโร  ปลายติ.  สามิโก  ปน  เตน  อุจฺจาสทฺเทน พุชฺฌิตฺวา  กุชฺฌติ. โส  ทณฺฑํ  คเหตฺวา  คทฺรภสฺส  สีสํ  ปหรติ.  สุนโข  วทติ  “ตฺวํ  คทฺรภ  อตฺตโน  กิจฺจํ  อกโรนฺโต  มม  กิจฺจํ  กโรสิ.  ตสฺมา  ตฺวํ ทุกฺขํ  ลภสีติ ฯ 
            2.2.อถโข   ภควา   สตฺตาหสฺส  อจฺจเยน  ตมฺหา  สมาธิมฺหา   วุฏฺหิตฺวา   ราชายตนมูลา  เยน  อชปาลนิโคฺรโธ  เตนุปสงฺกมิ  ฯ   ตตฺร   สุทํ   ภควา   อชปาลนิโคฺรธมูเล   วิหรติ   ฯ  อถโข  ภควโต   รโหคตสฺส    ปฏิสลฺลีนสฺส    เอวํ    เจตโส    ปริวิตกฺโก    อุทปาทิ   อธิคโต   โข   มยายํ   ธมฺโม   คมฺภีโร   ทุทฺทโส  ทุรนุโพโธ  สนฺโต  ปณีโต    อตกฺกาวจโร    นิปุโณ    ปณฺฑิตเวทนีโย   อาลยรามา   โข  ปนายํ   ปชา   อาลยรตา   อาลยสมฺมุทิตา   อาลยรามาย   โข   ปน  ปชาย    อาลยรตาย    อาลยสมฺมุทิตาย   ทุทฺทสํ   อิทํ   านํ   ยทิทํ  อิทปฺปจฺจยตาปฏิจฺจสมุปฺปาโท    อิทํปิ    โข    านํ    สุทุทฺทสํ   ยทิทํ  สพฺพสงฺขารสมโถ    สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค   ตณฺหกฺขโย   วิราโค   นิโรโธ นิพฺพานํ   อหฺเจว   โข   ปน  ธมฺมํ เทเสยฺยํ ปเร  จ  เม  น อาชาเนยฺยุ  โส  มมสฺส  กิลมโถ  สา   มมสฺส วิเหสาติ ฯ 

3. จงแปลเป็นบาลี
            ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงกราบคำทูลอาราธนาของพรหม และทรงอาศัย  ความกรุณาในหมู่สัตว์ จึงทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ เมื่อตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ  ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อยก็มี ที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุมากก็มี ที่มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี ที่มีอินทรีย์อ่อนก็มี ที่มีอาการดีก็มี ที่มีอาการทรามก็มี ที่จะสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี ที่จะสอนให้รู้ได้ยากก็มี ที่มีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ก็มี.  
            มีอุปมาเหมือนดอกอุบลในกออุบล ดอกปทุมในกอปทุม หรือดอกบุณฑริกในกอบุณฑริก  ที่เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ งอกงามแล้วในน้ำ บางเหล่ายังจมในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้  บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าตั้งอยู่พ้นน้ำ อันน้ำไม่ติดแล้ว.  
            พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย บางพวกมีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย บางพวกมีธุลีคือกิเลสในจักษุมาก บางพวกมีอินทรีย์แก่กล้า  บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมีอาการดี บางพวกมีอาการทราม บางพวกสอนให้รู้ได้ง่าย  บางพวกสอนให้รู้ได้ยาก บางพวกมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ ฉันนั้น เหมือนกัน 

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
21/08/53

เอกสารอ้างอิงประจำบทที่ 6

กรมการศาสนา.พระไตรปิฏกภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ,เล่มที่4 .กรุงเทพ ฯ:กรมการศาสนา,2525.
กรมการศาสนา.พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับหลวง,เล่มที่ 4.กรุงเทพ ฯ:กรมการศาสนา,2514.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส.บาลีไวยากรณ์(สัพพนาม).พิมพ์ครั้งที่ 48.กรุงเทพฯ:
        มหามกุฏราชวิทยาลัย,2547 77.
เสฐียรพงษ์   วรรณปก ศ.พิเศษ.บาลีเรียนง่าย.พิมพ์ครั้งที่ 2,กรุงเทพฯ: หอรัตนชัยการพิมพ์,2543.

 

 

 

 

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก