ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

 

          ภาษาบาลีเป็นภาษาที่ใช้ในการบันทึกคำสอนของพระพุทธศาสนาในฝ่ายเถรวาท ส่วนฝ่ายมหายานใช้ภาษาสันสกฤตในการจดบันทึกหลักคำสอน ภาษาบาลีเป็นภาษาดั้งเดิมมีอายุนานกว่าสามพันปีแล้ว หากไม่ศึกษาค้นคว้าจริงๆอาจจะทำความเข้าใจได้ยาก ในปัจจุบันบทสวดมนต์ต่างๆ หรือหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา แม้จะมีผู้ถ่ายทอดเป็นภาษาต่างๆมากมาย แต่หากมีข้อสงสัยว่าหลักคำสอนนั้นถูกต้องผิดพลาด คลาดเคลื่อนหรือไม่ ก็สามารถตรวจสอบได้จากต้นฉบับภาษาบาลี ตราบใดที่ยังมีผู้ศึกษาภาษาบาลีหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาที่แท้จริงก็ยังมีปรากฏให้เห็น

          การแปลภาษาบาลีออกเป็นภาษาต่างๆนั้น อาจจะมีเงื่อนไขทางหลักไวยากรณ์ บางครั้งอาจจะแปลความผิดไปเช่น คำว่า “เอวมฺ เม สุตํ” ในพระสูตรต่างๆ นิยมแปลว่า “ข้าพเจ้าฟังมาอย่างนี้” มีผู้โทรศัพท์มา คำว่า “ข้าพเจ้า” หมายถึงใคร มีบางคนแปลว่า “ข้าพเจ้า (พระสงฆ์) ฟังมาอย่างนี้”
          คำว่า “เม” ในบทนำแห่งพระสูตรทั้งหลายนั้น “เม” หมายถึง “พระอานนท์” ซึ่งเป็นผู้ทรงจำพุทธวจนะ มาจากพระพุทธเจ้าโดยตรง เมื่อทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก ผู้ที่สาธยายพระสูตรคือพระอานนท์ ดังนั้นพระอานนท์จึงสาธยายพระสูตรในทำนองว่า “ข้าพเจ้า(พระอานนท์) ได้ฟังมาอย่างนี้ ส่วนภิกษุรูปอื่นจะได้ฟังมาจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าอย่างไร ก็ให้ว่ามาต่อหน้าพระสงฆ์ที่มาชุมนุมกัน หากไม่ตรงกันจะได้แก้ไขให้ถูกต้อง
          ดังนั้นคำว่า “เอวมฺ เม สุตํ” จึงมักจะใช้เป็นคำขึ้นต้นในพระสูตรต่างๆ หากจะแปลตรงๆตามตัวอักษาก็จะเป็น "เรื่องอย่่างนี้ อันข้าพเจ้า(พระอานนท์) ฟังแล้ว" เป็นประโยคกรรมวาจก แตเมื่อแปลเอาความ จึงนิยมแปลว่า "ข้าพเจ้า(พระอานนท์) ฟังมาอย่างนี้
          เคยนำเรื่องภาษาบาลีลงเผยแผ่ทางเว็บไซต์ แต่ยังเหลืออีกหลายเรื่องเช่นสนธิ ตัทธิต กิริยากิตต์   กติปยศัพท์ นามกิตต์ เป็นต้น จะพยายามลวงให้ครบทุกเรื่องตามลำดับต่อไป    
          สนธิ เป็นชื่อเรียกทางไวยากรณ์ภาษาบาลี ในการตัด ต่อ เชื่อมคำในภาษาบาลี  การเชื่อมหรือการต่อคำศัพท์กระทำได้ทั้งสระต่อกับสระ พยัญชนะต่อกับพยัญชนะ และนิคหิตต่อกับนิคหิตเอง การต่ออาจทำได้ด้วยการลบ     การแปลง ลงตัวอักษรใหม่ ทำให้สั้น ทำให้ยาว หรือซ้อนตัวอักษร ขึ้นอยู่กับวิธีเชื่อมต่อในแต่ละสนธิ ซึ่งจะได้นำเสนอต่อไป

ความหมายของสนธิ

          สนธิ แปลว่าคำเชื่อม หรือ คำต่อ หมายถึง การต่ออักษรให้เนื่องกันด้วยอักษร    ในบาลีภาษา มีวิธีต่อศัพท์และอักขระ ให้เนื่องกันด้วยอักขระ เพื่อจะย่นอักขระให้น้อยลง เป็นการอุปการะในการแต่งฉันท์และให้คำพูดสละสลวย      สนธิหรือการต่อมี 2 อย่างคือ (1) ต่อศัพท์ที่มีวิภัตติ ให้เนื่องด้วยศัพท์ที่มีวิภัตติเหมือน จตฺตาโร  อิเม ต่อเข้าเป็น จตฺตาโรเม เป็นต้น  (2) ต่อบทสมาส ย่ออักษรให้น้อยลง เหมือน กต อุปกาโร ต่อเข้าเป็น กโตปกาโร เป็นต้น สนธิในภาษาบาลีมี  3 ประการคือ
          1.    สระสนธิ           การต่อสระ
          2.    พยัญชนะสนธิ     การต่อพยัญชนะ
          3.     นิคคหิตสนธิ      การต่อนิคคหิต
 

สนธิกิริโยปกรณ์
          วิธีเชื่อมหรือต่อตัวอักษรให้เข้ากันสนิท สนธิแต่ละประเภทต้องมีอุปกรณ์ในการเชื่อมเรียกว่าสนธิกิริโยปกรณ์ ซึ่งวิธีเป็นอุปการะแก่การทำสนธิมี 8 อย่างคือ
                    1.โลโป      ลบ
                    2. อาเทโส     แปลง
                    3. อาคโม     ลงตัวอักษรใหม่
                    4. วิกาโร     ทำให้ผิดจากรูปเดิม
                    5. ปกติ      ปรกติ คงรูปไว้ตามเดิม
                    6. ทีโฆ         ทำให้ยาว
                    7. รสฺสํ     ทำให้สั้น
                    8.สญฺโญโค     ซ้อนตัวอักษร 
          (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส,บาลีไวยากรณ์(สนธิ), พิมพ์ครั้งที่ 36,(กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย,2536),หน้า 17.)

 
1. สระสนธิ

          หมายถึง การเชื่อมสระด้วยกัน คือใช้สระในพยางค์ท้ายของคำแรก ต่อกับสระในพยางค์ต้นของคำต่อไป ให้เข้ากันสนิทเป็นคำเดียวกันในสระสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์เบื้องต้น 7 ตัว ยกเว้น สฺโโค อย่างเดียว มีชื่อเรียก 2 ชนิดคือลบสระหน้า และลบสระหลัง

1.1.โลโป เรียกว่าโลปสระสนธิ มีวิธีลบได้ 2 ชนิดคือ

          1.1.1. ลบสระหน้า สระที่สุดของศัพท์หน้า เรียกสระหน้า สระหน้าของศัพท์หลัง เรียกสระเบื้องปลาย หรือสระหลัง เมื่อสระทั้ง 2 นี้ไม่มีพยัญชนะอื่นคั่นในระหว่าง ลบได้ตัวหนึ่ง ถ้าพยัญชนะคั่น ลบไม่ได้ ลบสระเบื้องต้น
          1.1.2   ลบสระหลัง 
 

ก.ลบสระหน้า มีหลักดังนี้
                    1.สระหน้าและสระหลัง มีรูปไม่เสมอกัน คำแรกเป็นรัสสะ คำหลังเป็นรัสสะแต่อยู่หน้าพยัญชนะสังโยค ให้ลบสระหน้า เช่น
ยสฺส-อินฺทฺริยานิ,ลบสระหน้า คือ อ ในที่สุดแห่งศัพท์ ยสฺส เสีย สนธิเป็น ยสฺสินฺทฺริยานิ

                    2. สระหน้าเป็นรัสสะ สระหลังเป็นฑีฆะ ให้ลบสระหน้า เช่น
                              โนหิ -เอตํ ลบสระหน้า คือ อิ ที่สุดแห่งศัพท์ โนหิ เสีย สนธิเป็นโนเหตํ
                              สเมตุ-อายสฺมา ลบสระหน้าคือ อุ ที่สุดแห่งศัพท์ สเมตุ เสีย สนธิเป็น สเมตายสฺมา
                    3.สระหน้าและสระหลังเป็นรัสสะ มีรูปเหมือนกัน ลบสระหน้าแล้ว ฑีฆะสระหลัง เช่น
                              ตตฺร-อยํ เป็น ตตฺรายํ
                    4. สระหน้าเป้นฑีฆะ สระหลังเป็นรัสสะ เมื่อลบสระหน้าแล้ว ต้องฑีฆะสระหลัง เช่น
                              สทฺธา-อิธ เป็น สทฺธีธ เป็นต้นเมื่อ
                    5.สระหน้าและสระหลังเป็นรัสสะ แต่มีรูปไม่เหมือนกัน คือข้างหน้าเป็น อ,อิ,อุ, ข้างหลังเป็น อุ,อิ,อ  ให้ลบสระหน้า แล้วไม่ต้องฑีฆะสระหลังเช่น
                              เตน – อุปสงฺกมิ   เป็น เตนุปสงฺกมิ
                              จตูหิ-อปาเยหิ เป็น จตูหปาเยหิ
                              ปญฺจหิ-อุปาลิ เป็น  ปญจหุปาลิ
                              ยสฺส – อิมานิ เป็น   ยสฺสิมานิ
 

ข. ลบสระหลัง  มีหลักดังนี้  
          1. ถ้าสระหน้าเป็นฑีฆะ สระหลังเป็นรัสสะ ให้ลบสระหลัง เช่น
        
                    จตฺตาโร-อิเม เป็น จตฺตาโรเม,
          2. ถ้าสระหน้าและสระหลังเป็นรัสสะ แต่มีรูปไม่เหมือนกัน ให้ลบสระหลัง เช่น
                              กินฺนุ-อิมา ลบสระ อิ ที่ศัพท์ อิมา เสีย สนธิเป็น กินฺนุมา
          นิคคหิต (  ) อยู่หน้า ลบสระหลังแล้ว แปลงนิคคหิต เป็นพยัญชนะที่สุดวรรคของพยัญชนะ
ตัวหลังเช่น อภินนฺทุุํ-อิติ เป็น อภินนฺทุนฺติ (พระมหาเทียบ  สิริญาโณ(มาลัย),การใช้ภาษาบาลี,(กรุงเทพฯ:,มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,2547), หน้า 174

1.2. อาเทสะ    

          อาเทโส  เรียกว่าอาเทสสระสนธิ คือการแปลงสระเป็นอย่างอื่นได้ สระที่อาเทสได้มี 4 ตัวคือ อิ,เอ,อุ,โอ อาเทสมี 2 ชนิดคือแปลงสระเบื้องหน้า  และแปลงสระเบื้องหลัง
 

ก. แปลงสระเบื้องหน้า  มีหลักดังนี้
          1.ถ้าสระหน้าเป็น อิ เอ มีสระอยู่หลัง ใหแปลง อิ,เอ ตัวหน้าเป็น ย  ถ้าพยัญชนะซ้อนกัน 2 ตัว ให้ลบพยัญชนะที่มีรูปเหมือนกันหนึ่งตัวเช่น
      
                    ปฏิสณฺารวุตฺติ-อสฺสเป็น ปฏิสณฺารวุตฺยสฺส
                         อคฺคิ-อาคาร เป็น อคฺยาคาร
                         เต-อสฺส เป็น ตฺยสฺส ได้ในคำว่า ตฺยสฺส ปหีนา โหนฺติ
                         เม-อย เป็น มฺยาย ได้ในคำว่า อธิคโต โข มฺยาย ธมฺโม
                         เต-อห เป็น ตฺยาห ได้ในคำว่า ตฺยาห เอว วเทยฺย
          2. ถ้าสระหน้าเป็น อุ,โอ มีสระอยู่หลัง ให้แปลง อุ,โอ เป็น ว เช่น
                         อถโข-อสฺส เป็น อถขฺวสฺส
                         พหุ-อาพาโธ เป็น พหฺวาพาโธ
                    จกฺขุ-อาปาถ เป็นจกฺขฺวาปาถ
 

ข.แปลงสระหลัง มีหลักดังนี้
          1.ถ้ามีสระอยู่ข้างหน้า แปลง เอ ตัวหน้าแห่ง เอว ศัพท์อันตั้งอยู่เบื้องปลายเป็น ริ ได้บ้าง แล้วรัสสะสระเบื้องหน้าให้สั้น เช่น
                              ยถา-เอว เป็น ยถริว
                              ตถา-เอว เป็น ตถริว
 

1.3.อาคโม  
          อาคโม หมายถึงการลงตัวอักษรใหม่ ถ้าสระ โอ อยู่หน้า พยัญชนะอยู่หลัง ลบ โอ เสีย แล้วลง อ อาคมได้บ้าง เช่น
                              โส-สีลวา เป็น สสีลวา
                              โส -ปฺวา เป็น สปฺวา
                               เอโส ธมฺโม เป็น เอสธมฺโม,
          พยัญชนะอยู่เบื้องปลายลง โอ อาคมได้ บ้าง เช่น
                               ปร-สหสฺส ลบ อ ที่สุดแห่ง ปร ศัพท์ แล้วลง โอ อาคม เป็น ปโรสหสฺส
                    สรท-สต ลบ อ ที่สุดแห่ง สรท ศัพท์แล้วลง โอ อาคม เป็น สรโทสต
 

1.4.วิกาโร
          วิกาโร ได้แก่การแปลงสระให้ผิดไปจากรูปเดิม ซึ่งต่างจากอาเทสคือแปลงสระให้เป็นพยัญชนะ ส่วนวิการได้แก่แปลงสระเป็นสระมีวิธีทำ 2 ประการคือ
          1.วิการสระหน้า  คือลบสระหลังแล้ววิการสระหน้าคือ อิ เป็น เอ, อุ เป็น โอ เช่น
                              มุนิ-อาลโย เป็น มุเนลโย
                              สุ-อตฺถี เป็น โสตฺถี
          2. วิการสระหลัง คือลบสระหน้าแล้ววิการสระหลังคือ อิ เป็น เอ, อุ เป็น โอ เช่น
    
                          มาลุต-อิริต เป็น มาลุเตริต,
                              พนฺธุสฺส-อิว เป็น พนฺธุสฺเสว
                              น-อุเปติ เป็น โนเปติ
                              อุทก-อุมิกชาต เป็น อุทโกมิกชาต  ลบนิคคหิตด้วยโลปสนธิ
 

1.5.ปกติ
          ปกติสระสนธินั้น คือต่อโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่มีวิเศษอันใด เป็นแต่เมื่อสระเรียงกันอยู่ 2 ตัว ควรจะทำเป็นสระสนธิอย่างหนึ่งอย่างใดได้ แต่หาทำไม่ คงรูปไว้เป็นปรกติอย่างเดิมเท่านั้น เช่น
                              โก-อิมํ ก็คง เป็น โกอิมํ

1.6.ทีฆํ

          ฑีฆะ มีวฺธีต่อ 2 อย่างคือ ทีฆะสระหน้าอย่าง  และทีฆะสระหลังอย่าง
          1. ทีฆะสระหน้า มีหลักดังนี้
                    1. ฑีฆะสระหลัง ทีฆะสระหน้าเช่น
                              กึสุ-อิธ เป็น กึสูธ-อิติ เป็น สาธูติ
                    2.พยัญชนะอยู่หลัง ทีฆะสระหน้าได้เช่น
                              มุนิ-จเร เป็น มุนีจเร
                              ขนฺติ –ปรมํ   เป็น  ขนฺตีปรมํ
          2.ทีฆะสระหลัง คือลบสระหน้าแล้วฑีฆะสระหลัง เช่น
        
                    สทฺธา-อิธ เป็น สทฺธีธ
          
                   จ-อุภยํ เป็น จูภยํ
1.7.รสฺสํ 

          รัสสะ มีหลักดังนี้
          1.ถ้าพยัญชนะอยู่หลัง ให้รัสสะสระหน้าที่เป้นฑีฆะได้เช่น
    
                    โภวาที-นาม เป็น โภวาทินาม
          2. สระหน้าเป็นฑีฆะ แต่มี เ แห่ง เอว ศัพท์อยู่หลัง ให้แปลง เอ แห่ง เอว ศัพท์ เป็น ริ แล้วรัสสะสระหน้า เช่น
                              ยถา-เอว เป็น   ยถริว
                              ตถา- เอว  เป็น  ตถริว

2. พยัญชนะสนธิ

 

          ในพยัญชนะสนธิ มีสนธิกิริโยปกรณ์ 5 คือ โลโป  อาเทโส  อาคโม  ปกติ  สฺโโค
2.1. โลปะ

          คือการลบพยัญชนะ สระหน้ามีนิคคหิตอยู่หน้า และลบสระหลังแล้ว ถ้าพยัญชนะซ้อนเรียงกัน 2 ตัว ลบเสียตัวหนึ่ง เช่น
                    เอว-อสฺส เป็น เอวส ได้ในคำว่า เอวส เต อาสวา
                    ปุปฺผ-อสฺสา เป็น ปุปฺผสา
2.2 อาเทสพยัญชนะ

          คือการแปลงพยัญชนะเป็นอย่างอื่นได้ มีวิธีแปลง 5 ชนิดคือ
          1. สระอยู่หลังให้แปลง ติ เป็น ตฺย แล้วแปลง ตฺย เป็น จฺจ เช่น
        
          อิติ-เอว เป็น อิจฺเจว
        
          ปติ-อุตฺตริตฺวา เป็น ปจฺจุตฺตริตฺวา
2. สระอยู่หลังให้แปลง แปลง ธ เป็น ท ได้บ้าง เช่น
    
              เอก-อิธ-อห เป็น เอกมิทาห( เอก อยู่หน้า )
3.พยัญชนะอยู่หลัง แปลง ธ เป็น ห ได้บ้าง เช่น

                    สาธุ-ทสฺสน เป็น สาหุทสฺสน
4.แปลงพยัญชนะเป็นรูปต่างๆ โดยไม่คำนึงว่าจะมีสระหรือพยัญชนะอยู่หลังเช่น

                    แปลง ท เป็น ต อุ. ว่า สุคโท เป็น สุคโต
                    แปลง ต เป็น ฏ อุ. ว่า ทุกฺกต เป็น ทุกฺกฏํ
                    แปลง ต เป็น ธ อุ. ว่า คนฺตพฺโพ เป็น คนฺธพฺโพ
                    แปลง ต เป็น ตฺร อุ. ว่า อตฺตโช เป็น อตฺรโช
                    แปลง ค เป็น ก อุ. ว่า กุลุปโค เป็น กุลุปโก
                    แปลง ร เป็น ล อุ. ว่า มหาสาโร เป็น มหาสาโล
                    แปลง ย เป็น ช อุ. ว่า คฺวโย เป็น คฺวโช
                    แปลง ว เป็น พ อุ. ว่า กุวโต เป็น กุพฺพโต
                    แปลง ย เป็น ก อุ. ว่า สย เป็น สก
                    แปลง ช เป็น ย อุ. ว่า นิช เป็น นิยํ
                    แปลง ต เป็น ก อุ. ว่า นิยโต เป็น นิยโก
                    แปลง ต เป็น จ อุ. ว่า ภโต เป็น ภจฺโจ
          แปลง ป เป็น ผ อุ. ว่า นิปฺผตฺติ เป็น นิปฺผตฺติ
5.อุปสัคอยู่หน้า สระอยู่หลัง ให้แปลงอุปสัคเป็นอย่างอื่นได้มี 2 วิธีคือ
      1. สระอยู่หลัง ให้แปลง อภิ เป็น อพฺภ เช่น
              
     อภิ-อุคฺคจฺฉติ เป็น อพฺภุคฺคจฺฉติ
               
    แปลง อธิ เป็น อชฺฌ เช่น
                    อธิ-โอกาโส เป็น อชฺโฌกาโส
                    อธิ-อคมาเป็น อชฺฌคมา (นี้สระอยู่หลัง)
         2.พยัญชนะอยู่หลัง  ให้แปลง  อว เป็น โอ ตัวอย่างเช่น

                    อว-นทฺธา เป็น โอนทฺธา ( พยัญชนะอยู่หลัง )
 2.3.พยัญชนะอาคม

          มี  8 ตัวคือ ย ว ม ท น ต ร ฬ   ทั้ง 8 ตัวนี้ต้องมีสระหน้าและสระหลัง จึงจะลงได้ โดยใช้แทรกลงตรงกลางระหว่างสระหน้ากับสระหลังเช่น
                    ลง ย อาคม เช่น  ยถา-อิท เป็น ยถายิท
                    ลง ว อาคม เช่น อุ-ทิกฺขติ เป็น วุทิกฺขติ เป็น วุทิกฺขติ
                    ลง ม อาคม เช่น ครุ-เอสฺสติ เป็นครุเมสฺสติ
                    ลง  ท อาคม เช่น อตฺต-อตฺโถ เป็น อตฺตทตฺโถ
                    ลง น อาคม เช่น อิโต-อายติ เป็น อิโตนายติ
                    ลง ต อาคม เช่น ตสฺมา-อิห เป็น ตสฺมาติห
                    ลง  ร อาคม เช่น สพฺภิ-เอว เป็น สพฺภิเรว
                    ลง ฬ อาคม เช่น ฉ-อายตน เป็น ฉฬายตน
     ในสัททนีติ ว่า ลง ห อาคมก็ได้ เช่น  สุ-อุชุ เป็น สุหุชุ
            
          สุ-อุฏิต เป็น สุหุฏิต
2.4.ปกติพยัญชนะ

          ปกติพยัญชนะนั้นก็ไม่วิเศษอันใด เหมือนกันกับปกติสระ เป็นแต่เมื่อลักษณะที่จะลบหรือแปลง ลงอาคมหรือซ้อนพยัญชนะลงได้ หาทำไม่ คงรูปไว้ตามปรกติเดิม เหมือนคำว่า สาธุ ก็ไม่แปลงเป็น สาหุ คงรูป สาธุ ไว้เป็นต้นเท่านั้น
 

2.5.สญฺโญโค
     สญฺโญโค คือซ้อนตัวอักษรเข้ามาใหม่มี 2 วิธีคือ
1.ซ้อนพยัญชนะที่มีรูปเหมือนกัน เช่น
         อิธ-ปโมทติ เป็น อิธปฺปโมทติ
จาตุ-ทสี เป็น จาตุทฺทสี
2. ซ้อนพยัญชนะที่มีรูปไม่เหมือนกัน เช่น เอาอักขระที่ 1 ซ้อนหน้าขระที่ 2 เอาอักขระที่ 3 ซ้อนหน้าอักขระที่ 4 เช่น
         จตฺตาริ-านานิ เป็น จตฺตาริฏฺานานิ
เอโสว จ-ฌานผโล เป็น เอโสวจชฺฌานผโล

                                                                                3. นิคคหิตสนธิ
 

          ในนิคคหิตสนธิ ได้สนธิกิริโยปกรณ์ 4 คือ โลโป, อาเทโส, อาคโม, ปกติ
3.1.โลปะ เมื่อมีสระหรือพยัญชนะอยู่เบื้องหลัง ลบนิคคหิตซึ้งอยู่หน้าเช่น
            
       ตาส-อห เป็น ตาสาห ได้ในคำว่า ตาสาห สนฺติเก พฺรหฺมจริย  จริสฺสามิ
                    วิทูน-อคฺค เป็น วิทูนคฺค
                    อริยสจฺจาน-ทสฺสน เป็น อริยสจฺจานทสฺสน
                    พุทฺธาน-สาสน เป็น พุทฺธานสาสน
3.2.อาเทสนิคคหิต  เมื่อมีพยัญชนะอยู่หลัง นิคคหิต อยู่หน้า แปลงนิคคหิตเป็นพยัญชนะสุดวรรคได้ทั้ง 5 ตามสมควรแก่พยัญชนะวรรคที่อยู่เบื้องหลังดังนี้

                    แปลงนิคคหิตเป็น ง เช่น เอว-โข เป็น เอวงฺโข
                    แปลงนิคคหิตเป็น  เช่น ธมฺม-จเร เป็น ธมฺมฺจเร
                    แปลงนิคคหิตเป็น ณ เช่น ส-ิติ เป็น สณฺิติ
                    แปลงนิคคหิตเป็น น เช่น  ต-นิพฺพุต เป็น ตนฺนิพฺพต
                    แปลงนิคคหิตเป็น ม เช่น  จิร-ปวาสึ เป็น จิรมฺปวาสึ
          ถ้า เอ และ ห อยู่เบื้องหลัง แปลงนิคคหิตเป็น  ดังนี้
        
          ปจฺจตฺตเอว เป็น ปจฺจตฺตฺเว
                    ต-เอว เป็น ตฺเว
                    เอว-หิ เป็นเอวฺหิ
                    ต-หิ เป็น ตฺหิ
          ถ้า ย อยู่เบื้องหลัง แปลงนิคคหิตกับ ย เป็น  ดังนี้ สโยโค เป็น สฺโโค
ในสัททนีติว่าถ้า ล อยู่เบื้องปลาย แปลง นิคคทิตเป็น ล เช่น
    
               ปุ-ลิงฺค เป็น ปุลฺลิงฺค
                    ส-ลกฺขณา เป็น สลฺลกฺขณา เป็นต้น
ถ้าสระอยู่เบื้องปลาย แปลงนิคคหิตเป็น ม และ ท ดังนี้

                    ต-อห เป็น ตมห
                    พฺรูมิ พฺราหฺมณ
                    เอต-อโวจ เป็น เอตทโวจ
3.3.นิคคหิตอาคม คือเพิ่มนิคคหิตเข้ามาใหม่ เมื่อสระหรือ พยัญชนะอยู่หลัง ลงนิคคหิตได้เช่น

                    จกฺขุ-อุทปาทิ เป็น จกฺขุ- อุทปาทิ
                    อว-สิโร เป็น อวสิโร เป็นต้น
3.4.ปกตินิคคหิต  คือการคงนิคคหิตไว้ตามเดิม ไม่วิเศษอันใด ควรจะลบหรือแปลงหรือลงนิคคหิตอาคมได้ ไม่ทำอย่างนั้น ปกติไว้ตามรูปเดิม เช่น  

                    ธมฺม จเร ก็คงไว้ตามเดิม ไม่อาเทสนิคคหิตเป็น  ให้เป็น ธมฺมฺจเร เป็นต้น
          วิธีทำสนธิในบาลีภาษานั้น ท่านไม่นิยมให้เป็นแบบเดียว ซึ่งจะยักเยื้องเป็นอย่างอื่นไม่ได้ เหมือนวิธีสนธิในสันสกฤตภาษา ผ่อนให้ตามอัธยาศัยของผู้ทำ จะน้อมไปให้ต้องตามสนธิกิริโยปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใดที่ตนชอบใจ ถ้าไม่ผิดแล้ว ก็เป็นอันใช้ได้ ส่วนในสันสกฤตนั้น มีวิธีข้อบังคับเป็นแบบเดียว ยักเยื้องเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ จะเลือกเอาวิธีนั้น ซึ่งจะใช้ได้ในบาลีภาษามาเขียนไว้ที่นี้เพื่อจะได้เป็นเครื่องประดับปัญญาของผู้ศึกษา แต่พอสมควร
 

แบบสนธิตามวิธีสันสกฤต
          ถ้าศัพท์มีที่สุดเป็น สระ อ หรือ อา ก็ดี อิ หรือ อี ก็ดี อุ หรือ อู ก็ดี สระตามหลังก็เป็นเหมือนกันอย่างนั้น คือ ถ้าสระ หน้าเป็น อ หรือ อา ก็เป็น อ หรือ อา เหมือนกัน ถ้าสระหน้าเป็น อิ หรือ อี ก็เป็น อิ หรือ อี เหมือนกัน ถ้าสระหน้าเป็น อุ หรือ อู ก็เป็น อุ หรือ อู เหมือนกัน สระ 2 นั้นผสมกันเข้าเป็นทีฆะ คือ เป็น อา อี อู ตามรูปของตน ถ้าสระหน้าเป็น อ หรือ อา สระหลังเป็นสระอื่นไม่เหมือนกัน คือ เป็น อิ อี ก็ดี อุ อู ก็ดี, อ อา กับ อิ อี ผสมกันเข้า เป็น เอ, อ อา กับ อุ อู ผสมกันเข้าเป็น โอ
          ถ้าสระหน้าเป็น อิ อี หรือ อุ อู สระหลังเป็นสระอื่น มีรูปไม่เสมอกัน เอาสระหน้า คือ อิ อี เป็น ย, อุ อู เป็น ว, ถ้าสระหน้าเป็น เอ หรือ โอ สระหลังเป็น อ ลบ อ เสีย ถ้าสระหลังเป็นสระอื่นนอกจาก อ, เอา เอ เป็น อย, เอา โอ เป็น อว, อนุสารคือ นิคคหิต ถ้าพยัญชนะวรรคอยู่หลัง อาเทสเป็นพยัญชนะที่สุดวรรคดังกล่าวแล้วข้างต้น (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส,บาลีไวยากรณ์(สนธิ), พิมพ์ครั้งที่ 36,(กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย,2536),หน้า 26)

สรุปท้ายบท

          สนธินั้นแม้จะมีเพียงสามอย่างคือสระสนธิ พยัญชนะสนธิและนิคคหิตสนธิ แต่สนธิกิริโยปกรณ์มีไม่เท่ากัน มากน้อยต่างกัน แต่เมื่อศึกษาและจำให้แม่นแล้วก็สามารถแยกแยะได้  สำรับผู้ศึกษาเบื้องต้นอาจจะไม่จำเป็นนัก แต่สำหรับผู้ศึกษาในชั้นสูงขึ้นไปมีความสำคัญมาก เพราะสนธิเป็นอุปกรณ์ในการแต่งฉันท์ภาษาบาลี ในชั้นนี้เพียงแต่นำเสนอไว้พอสังเขปเท่านั้น ต่อเมื่อศึกษาในชั้นสูงต่อไปจึงควรศึกษาโดยพิสดารต่อไป
คำถามทบทวน

1. ศัพท์ต่อไปนี้เป็นสนธิอะไร
         1 ตตฺร - อย - อาทิ ตตฺรายมาทิ

          2 ตตฺร - อภิรตึ - อิจฺเฉยฺย ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย
          3 ยสฺส - อินฺทฺริยานิ ยสฺสินฺทฺริยานิ
          4 จตฺตาโร - อิเม จตฺตาโรเม
          5 ตโย - อสฺสุ ตยสฺสุ
          6 พนฺธุสฺส - อิว พนฺธุสฺเสว
          7 ตถา - อุปม ตถูปม
          8 ปฺจหิ - อุปาลิ ปฺจหุปาลิ
          9 อิติ - อสฺส อติสฺส
          10 เต - อสฺส ตฺยสฺส
          11 วตฺถุ - เอตฺถ วตฺเถวตฺถ
          12 ปติ - อาหรติ ปจฺจาหรติ
          13 สาธุ - ทสฺสน สาหุทสฺสน
          14 วิตฺติ = อนุภูยเต วิตฺยานุภูยเต
          15 ตถา - เอว ตถริว
          16 ขนฺติ - ปรม ขนฺตีปรม
          17 โภวาที - นาม โภวาทินาม
          18 โส - ปฺวา สปฺวา
          19 อิธ - ปโมโท อิธปฺปโมโท
          20 น - ขมติ นกฺขมติ
          21 ต - การุณิก ตงฺการุณิก
          22 สนฺต - ตสฺส สนฺตนฺตสฺส มน
          23 ต - เอว - เอตฺถ ตฺเวตฺถ
          24 ส - ยุตฺต สฺุตฺต
          25 เอวรูป - อกาสึ เอวรูปมกาสึ
          26 ย - อิท ยทิท
          27 น - อิมสฺส นยิมสฺส วิชฺชา
          28 อชฺช - อคฺเค อชฺชตคฺเค
          29 อารคฺเค - อิว อารคฺเคริว
          30 ปร - สหสฺส ปโรสหสฺส
          31 อนุ - ถูลานิ อนุถูลานิ
          32 วิทูน - อคูค วิทูนคฺค
          33 พุทฺธาน - สาสน พุทฺธานสาสน
          34 ปุปฺผ - อสฺสา ปุปฺผสา
          35 วุตฺติ - อสฺส วุตฺยสฺส
          36 เอว - อสฺส เอวส เต อาสวา.
 

2. จงแปลเป็นไทย

          2.1. สุณาตุ  เม   ภนฺเต   สงฺโฆ.  อชฺชุโปสโถปณฺณรโส.   ยทิ   สงฺฆสฺส    ปตฺตกลิลํ, สงฺโฆ   อุโปสถํ   กเรยฺย,    ปาฏิโมกฺขํ  อุทฺทิเสยฺย. กึ   สงฺฆสฺส   ปุพฺพกิจฺจํ,   ปาริสุทฺธึ อายสฺมนฺโต    อาโรเจถ,   ปาฏิโมกฺขํ   อุทฺทิสิสฺสามิ.    ตํ   สพฺเพว   สนฺตา   สาธุกํ  สุโณม  มนสิกโรม.   ยสฺส   สิยา   อาปตฺติ, โส   อาวิกเรยฺย,   อสนฺติยา   อาปาตฺติยา  ตุณฺหี   ภวิตพฺพํ.   ตุณฺหีภาเวน   โข   ปนายสฺมนฺเต   ปริสุทฺธาติ   เวทิสฺสามิ.   ยถา โข   ปน   ปจฺเจกปุฏฺสฺส    เวยฺยากรณํโหติ,   เอวเมวํ   เอวรูปาย   ปริสาย   ยาวตติยํ   อนุสฺสาวิตํ    โหติ.  โย   ปน  ภิกฺขุ  ยาวตติยํ   อนุสฺสาวิยมาเน    สรมาโน  สนฺตึ   อาปตฺตึ    นาวิกเรยฺย,    สมฺปชานมุสาวาทสฺส   โหติ,  สมฺปชานมุสาวาโท   โข  ปนายสฺมนฺโต   อนฺตรายิโก   ธมฺโม   วุตฺโต ภควตา;   ตสฺมา   สรมาเนน   ภิกฺขุนา อาปนฺเนน   วิสุทฺธราเปกฺเขน   สนฺตี   อาปตฺติ  อาวิกาตพฺพา.   อาวิกตา   หิสฺส   ผาสุ  โหติ  (คณะกรรมการแผนกตำรา มหามกุฏราชวิทยาลัย.ภิกฺขุปาฏิโมกข์,(กรุงเทพ ฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย,2549), หน้า 19.
          2.2. สตฺถา  สายํ  นครทฺวาเร  ตฺวา  อานนฺทตฺเถรํ  อามนฺเตสิ    อิมํ  อานนฺท  รตนสุตฺตํ  อุคฺคณฺหิตฺวา  ลิจฺฉวิกุมาเรหิ   สทฺธึ   วิจรนฺโต  เวสาลิยํ  ติณฺณํ  ปาการานํ  อนฺตเร  ปริตฺตํ   กโรหีติ ฯ   เถโร   สตฺถารา   ทินฺนํ   รตนสุตฺตํ  อุคฺคณฺหิตฺวา   สตฺถุ   เสลมยปตฺเตน   อุทกํ  อาทาย  นครทฺวาเร  ฐิโต   ปณิธานโต ปฏฺาย   ตถาคตสฺส    ทส  ปารมิโย  ทส  อุปปารมิโย  ทส  ปรมตฺถปารมิโยติ   สมตึส   ปารมิโย   ปญฺจ   มหาปริจฺจาเค   โลกตฺถจริยา  ญาตตฺถจริยา     พุทฺธตฺถจริยาติ     ติสฺโส    จริยาโย    ปจฺฉิมภเว  คพฺภาวกฺกนฺตึ   ชาตึ   อภินิกฺขมนํ   ปธานจริยํ  โพธิปลฺลงฺเก  มารวิชยํ  สพฺพญฺญุตญาณปฺปฏิเวธํ     ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนํ     นว    โลกุตฺตรธมฺเมติ สพฺเพปิเม   พุทฺธคุเณ   อาวชฺชิตฺวา   นครํ  ปวิสิตฺวา  ติยามรตฺตึ  ตีสุ ปาการนฺตเรสุ  ปริตฺตํ  กโรนฺโต  วิจริ ฯ   เตน    ยงฺกิญฺจีติ วุตฺตมตฺเตเยว   อุทฺธํ  ขิตฺตํ  อุทกํ  อมนุสฺสานํ  อุปริ  ปติ  ฯ ยานีธ ภูตานีติ คาถากถนโต ปฏฺาย   รชตวฏํสกา  วิย  อุทกพินฺทูนิ  อากาเส  อุคฺคนฺตฺวา  คิลานานํ  มนุสฺสานํ   อุปริ   ปตึสุฯ  ตาวเทว   วูปสนฺตโรคา  มนุสฺสา  อุฏฺาย  เถรํ   ปริวาเรสุ ฯ   ยงฺกิญฺจีติ  วุตฺตปทโต  ปฏฺาย  ปน  อุทกผุสิเตหิ   ผุฏฺา   ผุฏฺา   ปุพฺเพ  อปลายนฺตา  สงฺการกูฏภิตฺติปเทสาทีนิ  นิสฺสิตา อมนุสฺสา   เตน   เตน   ทฺวาเรน   ปลายึสุ ฯ  
               ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ                 ภุมฺมานิ วา ยานิ ว อนฺตลิกฺเข ฯ 
               สพฺเพว ภูตา สุมนา ภวนฺตุ              อโถปิ สกฺกจฺจ สุณนฺตุ ภาสิตํ  
               ตสฺมา หิ ภูตา นิสาเมถ สพฺเพ          เมตฺตํ กโรถ มานุสิยา ปชาย ฯ  
               ทิวา จ รตฺโต จ หรนฺติ เย พลึ          ตสฺมา หิ เน รกฺขถ อปฺปมตฺตา ฯ  (ขุ.ขุท.๒๕/๗/๕)

4.จงแปลเป็นบาลี

          4.1.  ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราพ้นแล้ว  จากบ่วงทั้งปวง  ทั้งที่เป็นของทิพย์  ทั้งที่เป็นของมนุษย์  แม้พวกเธอก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง  ทั้งที่เป็นของทิพย์  ทั้งที่เป็นของมนุษย์  พวกเธอจงเที่ยวจาริก  เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก  เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์  พวกเธออย่าได้ไปรวมทางเดียวกันสองรูป  จงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น  งามในท่ามกลาง  งามในที่สุด  จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์ บริสุทธิ์ สัตว์ทั้งหลาย  จำพวกที่มีธุลีคือกิเลศในจักษุน้อย  มีอยู่  เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรม  จักมี  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  แม้เราก็จักไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม  เพื่อแสดงธรรม.  วิ. มหา 4/32/ 32.)  
           4.2. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสงสัยเคลือบแคลงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ใน    มรรค หรือในข้อปฏิบัติ จะพึงมีบ้างแก่ภิกษุ แม้รูปหนึ่ง พวกเธอจงถามเถิด อย่าได้มีความร้อนใจภายหลังว่า พระศาสดาอยู่เฉพาะหน้าเราแล้ว ยังมิอาจ  ทูลถามพระผู้มีพระภาคในที่เฉพาะพระพักตร์ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว   ภิกษุเหล่านั้นพากันนิ่ง แม้ครั้งที่สอง ... แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสงสัยเคลือบแคลงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในมรรค หรือในข้อปฏิบัติจะพึงมีบ้างแก่ภิกษุแม้รูปหนึ่ง พวกเธอจงถามเถิด อย่าได้มีความร้อนใจในภายหลังว่า พระศาสดาอยู่เฉพาะหน้าเรา แล้ว เรายังมิอาจทูลถามพระผู้มีพระภาคในที่เฉพาะพระพักตร์ แม้ครั้งที่สามภิกษุ  เหล่านั้น ก็พากันนิ่ง ฯ    
          ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย   บางทีพวกเธอไม่ถาม แม้เพราะความเคารพในพระศาสดา แม้ภิกษุผู้เป็นสหาย    ก็จงบอกแก่ภิกษุผู้สหายเถิด เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุพวกนั้น  พากันนิ่ง ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว ข้าพระองค์เลื่อมใสในภิกษุสงฆ์อย่างนี้ว่า   ความสงสัยเคลือบแคลงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในมรรค หรือในข้อปฏิบัติ มิได้มีแก่ภิกษุแม้รูปหนึ่ง ในภิกษุสงฆ์นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกร อานนท์เธอพูดเพราะความเลื่อมใสตถาคตหยั่งรู้ในข้อนี้เหมือนกันว่า ความสงสัย   เคลือบแคลงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในมรรค หรือในข้อปฏิบัติ มิได้มีแก่ภิกษุแม้รูปหนึ่ง ในภิกษุสงฆ์นี้ บรรดาภิกษุ 500 รูปนี้ ภิกษุรูปที่ต่ำที่สุด  ก็เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็น
ผู้เที่ยงมีอันจะตรัสรู้ในภายหน้า ฯ
            ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา  พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ฯ นี้เป็นพระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต ฯ (ที.มหา,10/142-143/123)
   

 

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน, ป.ธ.7
05/04/59






 




เอกสารอ้างอิง

          กรมการศาสนา.พระไตรปิฏกภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ,เล่มที่ 25.กรุงเทพ ฯ:กรมการศาสนา,2525.
          กรมการศาสนา.พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับหลวง,เล่มที่ 4.กรุงเทพ ฯ:กรมการศาสนา,2514.
          คณะกรรมการแผนกตำรา มหามกุฏราชวิทยาลัย.ภิกฺขุปาฏิโมกข์. กรุงเทพ ฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย,2549.
          พระมหาเทียบ  สิริญาโณ(มาลัย).การใช้ภาษาบาลี.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,2547.
          สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส.บาลีไวยากรณ์ (สนธิ). พิมพ์ครั้งที่ 36.กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย,2536.

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก