ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

         ข่าวลือเกี่ยวกับคำทำนายว่าโลกจะแตกผ่านมาสองเดือนแล้ว โลกก็ไม่ได้แตกตามคำทำนาย โลกนี้ยังอยู่เป็นปรกติตามธรรมดาของโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพตามดินฟ้าอากาศ หนาวร้อนฝนโลกก็ยังทนทานได้ ไม่ได้แตกทำลายเหมือนกับคำทำนาย มนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลายต่างก็ดำเนินชีวิตตามวิถีที่ควรจะเป็นไปตามสภาพของแต่ละสิ่ง  มนุษย์ทำมาหากินเลี้ยงตนเองและครอบครัว ส่วนสรรพสัตว์โลกอื่นๆก็ดำเนินไปตามธรรมชาติของตน ผู้ที่อาศัยอยู่บนโลกก็ทำหน้าที่ของตนไป ส่วนธรรมชาติของโลกนั้นพร่องอยู่เป็นนิตย์ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา

         คำว่า “โลก” มีความหายได้สามนัยคือ (1) สังขารโลก โลกคือสังขาร ได้แก่สภาวธรรมทั้งปวงที่มีการปรุงแต่งตามเหตุปัจจัย (2)  สัตวโลก  โลกคือหมู่สัตว์  (3) โอกาสโลก โลกอันกำหนดด้วยโอกาส โลกอันมีอวกาศ จักรวาล 
         โลกในความหมายที่สอง คือ“สัตวโลก”โลกคือหมู่สัตว์ มีคำอธิบายต่อไปว่า สัตวโลกประกอบด้วยมนุษยโลก โลกคือหมู่มนุษย์  เทวโลก โลกคือหมู่เทพ สวรรค์ชั้นกามาวจรทั้งหก  และพรหมโลก โลกคือหมู่พรหม พรหมโลก
         คำว่า “โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์” ในส่วนของสังขารโลกคือถมเท่าไหร่ก็ไม่เต็ม แม้จะมีอะไรต่างๆมาทับถมลงไปยังพื้นปฐพีทุกวัน เช่นภูเขาไฟระเบิด น้ำท่วม หิมะถล่ม พายุโหมกระหน่ำ แต่ก็ไม่อาจจะถมโลกให้เต็มได้ ในส่วนของสิ่งปลูกสร้างที่เกิดจากฝีมือเช่นมนุษย์อาคารบ้านเรือนสร้างทุกวัน มีอาคารหลังใหม่ๆเกิดขึ้นทุกวัน มีมนุษย์และสัตว์อื่นๆกำเนิดขึ้นทุกวัน แต่พื้นที่โลกยังมีที่ว่าง ดูเหมือนกับว่าแม้จะใช้กำลังมนุษย์ทั้งโลกมาถมโลกให้เต็มก็ทำไม่ได้ โลกนี้เหมือนสัตว์ขนาดใหญ่ที่กินเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักอิ่ม ยังคงก้มหน้ากินอยู่ร่ำไป

         โลกเป็นทาสแห่งตัณหา  คำว่า “ตัณหา” แปลว่าความทะยานอยาก มักจะมาคู่กับ “มานะ” บางครั้งจึงนิยมเรียกว่า “ตัณหามานะ”  ในตัณหาสูตร อังคุตรนิกาย ฉักกนิบาตแสดงตัณหาและมานะเป็นสิ่งที่ควรละ ตัณหาแสดงไว้สามประการ (23/377/494) ความว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหา สามและมานะสามควรละ ตัณหาสามเป็นไฉน คือ กามตัณหา  ภวตัณหา  วิภวตัณหา ตัณหา  นี้ควรละมานะสามเป็นไฉน คือ ความถือตัวว่าเสมอเขา  ความถือตัวว่าเลวกว่าเขา  ความถือตัวว่าดีกว่าเขา  มานะสามนี้ควรละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ตัณหาสามและมานะสามนี้ย่อมเป็นธรรมชาติอันภิกษุละได้แล้ว เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้ตัดตัณหาขาดแล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว ได้กระทำที่สุดทุกข์เพราะละมานะได้โดยชอบ” ตัณหาทั้งสามประการมีคำอธิบายโดยย่อดังนี้

         1. กามตัณหา หมายถึงความทะยานอยากในกาม ความอยากได้กามคุณ คือสิ่งสนองความต้องการทางประสาททั้งห้า หากจะแปลให้เข้าใจง่ายกามตัณหาเป็นกิเลสที่อยากให้ได้มาเพื่อสนองความต้องการของตนเอง
         2. ภวตัณหา หมายถึงความทะยานอยากในภพ  ความอยากในภาวะของตัวตนที่จะได้จะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง อยากเป็น อยากคงอยู่ตลอดไป ความใคร่อยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ หากจะแปลความว่า “อยากให้อยู่” ก็พอจะเข้าใจได้ สิ่งใดก็ตามที่เราอยากให้อยู่กับเรานานๆไม่อยากให้หลุดลอยๆไปสิ่งนั้นคือภวตัณหา คำว่า “ภพ” มาจากคำว่า “ภว” แปลว่าความมีความเป็น หากจะแปลตามตัวอักษรอยากในภพคืออยากมีอยากเป็น
         3.ภวตัณหา หมายถึงความทะยานอยากในวิภพ ความอยากในความพรากพ้นไปแห่งตัวตนจากความเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งอันไม่ ปรารถนา อยากทำลาย อยากดับสูญ ความใคร่อยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ หากจะแปลว่า “อยากให้ไป” พอจะอนุโลมได้ มีบางอย่างที่เราไม่อยากให้อยู่กับเราอยากให้ไปเสียพ้นๆแต่ก็ทำไม่ได้ บางวอย่างจึงจำเป้นทนอยู่กับสิ่งที่เราอยากให้ไป
       ตัณหาทั้งสามมีผู้แปลความหมายที่เข้าใจได้ง่ายๆว่า “อยากให้มา อยากให้อยู่ และอยากให้ไป” ความอยากทั้งสามจึงเป็นกิเลสที่ครอบงำจิตใจของมนุษย์ชาติ หากใครพ้นจากความอยากทั้งสามนี้ชีวิตจะอยู่เป็นสุขไม่ต้องทุกข์ทนกับสภาวะอื่นใดอีกแล้ว แต่มนุษย์ธรรมดาทั่วไปยังตกอยู่ใต้ความอยากทั้งสามประการนี้จึงยังเป็นทาสแห่งตัณหา

       ตราบใดที่ยังมีความอยากอยู่ในจิตใจ มนุษย์ก็ยังคงเป็นทาสแห่งตัณหา ดังที่มีแสดงไว้ในรัฐปาลสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ (13/446/309) ตอนหนึ่งว่า “โลกบกพร่องอยู่เป็นนิตย์ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา” แปลมาจากภาษาบาลีว่า “อูโน โลโก อติตฺโต ตณฺหาทาโส”  โลกในที่นี้หมายรวมถึงโลกทั้งสามคือสังขารโลก สัตว์โลกและเทวโลก เมื่อยังมีตัณหาอันเป็นสาเหตุของความทุกข์ จะอยู่ในโลกก็ยังมีทุกข์
         หากจะวิ่งตามความอยากไม่มีวันที่จะทำจิตใจของสัตว์โลกเต็มได้ เพราะตัณหาเหมือนห้วงน้ำใหญ่ที่ไม่มีวันเต็ม ผู้ที่วิ่งตามความอยากมีแต่จะทำให้เดือดร้อนใจ หากทำให้ความอยากบรรเทาเบาบางลงได้ก็เดินเข้าใกล้ทางแห่งสันติสุข

 

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
04/02/56

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก