ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

       ช่วงหน้าร้อนนี้หลายประเทศอากาศร้อนมาก นอกจากจะอยู่ลำบากแล้ว สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นในช่วงที่ความร้อนกำลังแผดเผาคือการเกิดไฟไหม้ มนุษย์ในโลกนี้จึงต้องระมัดระวังเรื่องสุขภาพอาจตายเพราะความร้อนได้ง่ายๆ หรืออาจจะเกิดไฟไหม้อาคารบ้านเรือนก่อให้เกิดความเสียหายได้เช่นกัน เราไม่สามารถไประงับอากาศให้ร้อนได้ โลกมันจะร้อนก็เป็นเรื่องของโลก ปัญหาโลกร้อนแก้ปัญหาไม่ได้ในวันเดียว แต่ต้องแก้เป็นขบวนการต้องใช้เวลา สิ่งที่เราทำได้ในห้วงที่อากาศร้อนจะระงับได้เพียงบางช่วงเวลา ด้วยเครื่องทำความเย็น เครื่องปรับอากาศ แต่มนุษย์ไม่อาจจะอยู่ในห้องได้ตลอดเวลา ต้องออกมาเผชิญกับโลกภายนอกบ้าง โลกภายนอกก็ร้อน ถ้าโลกภายในคือจิตใจร้อนรนไปด้วยก็ยิ่งยากแท้จะแก้ไข


       ในพระพุทธศาสนาได้แสดงเรื่องไฟไว้ในสองมิติคือไฟที่ควรละเว้น และไฟที่ควรสักการะ ไฟจึงมีสองลักษณะทั้งด้านที่เป็นโทษ และด้านที่เป็นประโยชน์ เรียกว่าตัวของไฟมิได้มีด้านเดียว อยู่ที่การใช้ นั่นคือลักษณะของไฟภายนอกที่สามารถมองเห็นได้ ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นไฟที่อยู่ภายในจิตใจของมนุษย์เรียกว่าไฟภายใน ไฟจึงเป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม หรืออาจจะเรียกว่าไฟภายนอกและไฟภายใน
       ในอัคคิสูตร อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต (23/44/44) พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่อุคคตสรีรพราหมณ์ ที่เชตะวันวิหาร เมืองสาวัตถี ได้แสดงไฟที่พึงละเว้นไว้ความว่า “ดูกรพราหมณ์ ท่านพึงละ พึงเว้น ไม่พึงเสพไฟ 3 กองนี้คือ ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ

bu02

 


       เหตุผลที่ไม่พึงละเว้น ไม่พึงเสพไฟทั้งสามกองนี้มีคำอธิบายไว้ว่า “เพราะบุคคลผู้กำหนัดอันราคะครอบงำย่ำยีจิตย่อมประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจได้ ครั้นประพฤติทุจริตทางกายทางวาจาทางใจแล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฉะนั้น จึงพึงละพึงเว้น ไม่พึงเสพไฟคือราคะนี้”
       เพราะเหตุไร จึงพึงละพึงเว้น ไม่พึงเสพไฟคือผู้โกรธ อันโทสะครอบงำย่ำยีจิต ย่อมประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจได้โทสะนี้ เพราะบุคคลครั้นประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฉะนั้น จึงพึงละ พึงเว้น ไม่พึงเสพไฟคือโทสะนี้
       เพราะเหตุไร จึงพึงละ พึงเว้น ไม่พึงเสพไฟคือโมหะนี้ เพราะบุคคลผู้หลงอันโมหะครอบงำย่ำยีจิต ย่อมประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจได้ ครั้นประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก ฉะนั้น จึงพึงละ พึงเว้น ไม่พึงเสพไฟคือโมหะนี้

bu04

 

       ราคะแปลว่า ความกำหนัด, ความยินดีในกาม, ความติดใจหรือความย้อมใจติดอยู่ในอารมณ์
       โทสะ แปลว่าความคิดประทุษร้าย
       โมหะ แปลว่า ความหลง
       หากจะแปลให้ได้ใจความง่ายๆคือความกำหนัดในกามตัณหา ความอยากได้ ความโกรธ และความหลง นั่นเอง อันเป็นรากเหง้าสำคัญของกิเลส มีลักษณะที่ควรสังเกตอย่างหนึ่งคือ ถ้าสอนฆราวาสมักจะใช้คำว่า “โลภะ แปลว่าความอยากได้” แทน “ราคะ” เป็น โลภะ โทสะ โมหะ แต่ถ้าแสดงแก่พระภิกษุจะใช้คำว่า “ราคะ” แทน “โลภะ” แต่ความหมายยังคงเป็นกิเลสสายเดียวกัน

bu05

 

       ไฟอีกสามกองที่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ ได้แสดงไว้ ความว่า “ดูกรพราหมณ์ ไฟ 3 กองนี้คือ ไฟคืออาหุไนยบุคคล ไฟคือคหบดี ไฟคือทักขิไณยบุคคล
       ความหมายของไฟที่ควรสักการะแสดงไว้ว่า “ดูกรพราหมณ์ ก็ไฟคืออาหุไนยบุคคลเป็นไฉน ดูกรพราหมณ์ คนในโลกนี้ คือมารดาหรือบิดา เรียกว่าไฟคืออาหุไนยบุคคล ข้อนั้นเพราะอะไร เพราะบุคคลเกิดมาแต่มารดาบิดานี้ ฉะนั้น ไฟคืออาหุไนยบุคคล จึงควรสักการะ เคารพนับถือ บูชา บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ
       ไฟคือคหบดีเป็นไฉน คนในโลกนี้คือ บุตร ภรรยา ทาส หรือคนใช้ นี้เรียกว่าไฟคือคหบดี ฉะนั้น ไฟคือคหบดีจึงควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ
       ไฟคือทักขิไณยบุคคลเป็นไฉน สมณพราหมณ์ในโลกนี้ งดเว้นจากความมัวเมาประมาทตั้งอยู่ในขันติและโสรัจจะ ฝึกฝนจิตใจให้สงบ ดับร้อนได้เป็นเอก นี้เรียกว่าไฟคือทักขิไณยบุคคล ฉะนั้น ไฟคือทักขิไณยบุคคลนี้ จึงควรสักการะ เคารพนับถือ บูชา บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ
       ดูกรพราหมณ์ ไฟ 3 กองนี้แลควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ ส่วนไฟที่เกิดแต่ไม้ พึงก่อให้โพลงขึ้น พึงเพ่งดู พึงดับ พึงเก็บไว้ตามกาลที่สมควร”

bu06


       ไฟภายนอกเป็นเรื่องของรูปธรรมมองเห็นได้ จับต้องได้ นำมาใช้ประโยชน์ได้มาก เพราะถ้าโลกขาดไฟหรือขาดแสงสว่างก็จะกลายเป้นโลกที่มืดมิด ข้าวปลาอาหารก็จะเป็นของดิบ อาคารบ้านเรือนก็ต้องออกแบบใหม่ เพราะไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกเช่นแอร์ พัดลม เป็นต้น แต่ถ้าไม่ระมัดระวังก็อาจจะทำให้เกิดโทษได้ เช่นไฟไหม้ เป็นต้น ส่วนไฟภายนอกที่เป็นเรื่องของที่เรียกว่าทักขิไนยบุคคลคือบิดามารดา บุตร ภรรยา ทาสหรือคนใช้ สมณะพราหมณ์ ในอัคคีสูตรท่านใช้คำว่า “ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ” ก็ต้องแยกให้ออกว่าใครควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ใครควรบริหารให้เป็นสุขโดยชอบ
       ส่วนไฟที่อยู่ภายในจิตใจของมนุษย์นั้นเป็นเรื่องของนามธรรม ที่จะต้องศึกษา เรียนรู้ ทำความเข้าใจให้ดีว่าทำไมจึงเรียกว่าไฟ เพราะกิเลสทั้งสามอย่างที่สิงอยู่ในจิตใจมนุษย์นั้น มีลักษณะะอาการที่ทำให้ร้อนเหมือนกับไฟที่คอยแผดเผาจิตใจให้เร่าร้อน ถ้าไม่ระมัดระวังก็อาจจะทำให้เกิดเรื่องก่อคดี ทำให้คนอื่นเดือดร้อน โบราณจึงมีคำสอนไว้ว่า “อย่าเล่นกับไฟ” ความหมายคือให้ระมัดระวังทั้งไฟภายนอกและไฟภายในนั่นเอง แต่โลกปัจจุบันมักจะเล่นกับไฟจนกลายเป็นเรื่องปรกติธรรมดา ถ้าใครเล่นกับไฟด้วยความเข้าใจ ตัวเราเองก็ปลอดภัย โลกก็ไม่วุ่นวาย

 

พระมหาบุญไทย ปุญญมโน
01/05/67

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก