ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

     สมัยเป็นเด็กเวลาที่เข้าเรียนวิชาเลขคณิตจะมีความรู้สึกว่าโลกนี้มีความสมบูรณ์แบบอย่างยิ่ง ผลลัพธ์จากการบวกลบคูณหาร จะต้องมีคำตอบที่สำเร็จรูปทุกครั้งไป หนึ่งบวกหนึ่งจะต้องเป็นสองทุกที ครั้นจะตอบว่าหนึ่งบวกหนึ่งเป็นหนึ่งหรือเป็นสาม คำตอบที่ได้คือผิด ก็ยังสงสัยอยู่ตลอดว่าทำไมมันจึงผิด วันหนึ่งพ่อสั่งให้เอากองทรายสองกองมารวมกัน กองทรายอย่างละกองก็เหมือนเลขหนึ่งสองตัว แต่พอนำมารวมกันกลายเป็นกองทรายเพียงหนึ่งกอง ถามพ่อว่าทำไมกองทรายหนึ่งกองกับกองทรายอีกหนึ่งกอง ทำไมมันไม่เป็นทรายสองกองเหมือนเลขคณิตที่ครูสอน พ่อบอกว่า “แนวโน้มในอนาคตเอ็งคงไม่เหมาะจะเป็นพ่อค้าหรอก เพราะหากค้าขายเอ็งจะขาดทุน หนึ่งบวกหนึ่งมันต้องเป็นสามสิ” คำตอบพร้อมกับเสียงหัวเราะของพ่อยิ่งทำให้งงหนักเข้าไปอีก

     พอเรียนมัธยมปลายพ่อส่งไปเรียนวิชาบัญชีแผนกพณิชยการ เป็นวิชาเกี่ยวกับตัวเลข ก็เรียนไปอย่างนั้นเอง ไม่เคยคิดว่าจะนำวิชานี้ไปทำมาหากินแต่อย่างใด ทนเรียนอยู่ตั้งสามปี ได้คัดเลือกอยู่ห้องที่เรียกว่า “ห้องที่เรียนดีที่สุด” ด้วยนะ ซึ่งมีเพียงห้องเดียว ไม่รู้เขามีเกณฑ์คัดเลือกอย่างไร จึงทำให้กลายเป็นนักเรียนที่แย่ที่สุดในห้องเรียนที่มีนักเรียนเก่งที่สุด
     เรียนจบแล้วเพื่อนหลายคนพากันไปสอบแข่งขันเข้าทำงานด้านการทำบัญชีในธนาคารบ้าง ห้างร้านต่างๆบ้าง แต่ก็ไม่เคยไปสอบแข่งขันกับเขาสักครั้ง เพราะรู้ตัวดีว่าถึงแข่งก็น่าจะแพ้ มาคิดย้อนหลังมันก็ไม่แน่เหมือนกันนะ เพราะคนที่เรียนเก่งที่สุดในห้อง พอสอบแข่งขันจริงกับแพ้คนที่เรียนแย่พอๆกับเรา โลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน คำตอบอาจจะไม่ใช่อย่างที่เราคิดก็ได้ ดีใจกับเพื่อนที่เรียนร่วมห้องที่ได้มีงานทำ แต่ตัวเราเองกลับหายจากวงการไปเลย ไม่เคยได้ใช้วิชานี้ในการทำงานอีกเลย งานที่ทำก็คือทำนา ทำไร่ ก็แค่บวกลบคูณหารเป็นก็พอแล้ว สมกงสมการอะไรก็ไม่มีความจำเป็นอันใด อายุยี่สิบปีแล้วชีวิตเหมือนยังไม่ได้เริ่มต้น แต่อันที่จริงชีวิตเริ่มต้นตั้งแต่เกิดแล้ว


   


     สิ่งที่ได้จากการเรียนในสาขาวิชานี้คือเหตุผล ทุกอย่างมีคำตอบที่ถูกต้องรออยู่แล้ว เป็นคำตอบประเภทปรนัย หรือที่ทางปรัชญาเรียกว่าวัตถุวิสัย (Objective) ถ้าเป็นคำตอบก็จะเป็นปรนัย ต้องตอบให้ถูกตามคำตอบที่เลือกไว้แล้ว แม้จะมีคำตอบหลายอย่างที่คิดว่าใช่ แต่ถ้าตอบไม่ตรงกับคำเฉลยก็ถือว่าผิด เหมือนหนึ่งบวกหนึ่งจะต้องเป็นสอง ถ้าคำตอบเป็นหนึ่งหรือสาม ก็ถือว่าคำตอบนั้นผิด
     อีกด้านตรงข้ามของคำตอบจากคำถามเดียวกัน แต่ใครจะตอบอย่างไรก็ได้ คำตอบไม่ได้มีคำตอบเดียว เช่นเราควรมีชีวิตอย่างไร ในช่วงชีวิตหนึ่งควรทำอะไร ความดีคืออะไร ความชั่วคืออะไร เหตุผลคืออะไร ทำไมมนุษย์ต้องมีเหตุผล ไม่มีไม่ได้หรือ  เหตุผลอย่างหนึ่งอาจดีสำหรับคนหนึ่ง แต่อาจจะไม่ดีสำหรับอีกคนก็ได้” “เหตุอย่างเดียวกันนั่นแหละ เป็นผลดีแก่คนคนหนึ่ง แต่เป็นผลร้ายแก่อีกคนหนึ่งได้ เพราะฉะนั้น เหตุอย่างเดียวกัน มิใช่ว่าจะเป็นผลดีไปทั้งหมด และมิใช่ว่าจะเป็นผลร้ายไปทั้งหมด” (อสิลักขณชาดก ขุททกนิกาย ชาดก27/126)
      คำถามเดียวกัน อาจจะมีคำตอบหลายอย่างที่แตกต่างกัน เป็นประเภทอัตนัย (Subjective) น่าจะเหมาะกับการตั้งคำถามของชีวิต ซึ่งแต่ละคนคงตอบไม่เหมือนกัน แม้จะมีศาสนาเกิดขึ้นหลายศาสนาที่พยายามจะตอบคำถามเหล่านี้ แต่บางอย่างคำถามเดียวกันก็ตอบไม่เหมือนกัน จะบอกว่าคำตอบของใครผิดหรือใครถูกก็ยืนยันไม่ได้ แต่คำตอบนั้นถูกใจคนกลุ่มใดก็อยู่ในกลุ่มนั้น ถ้าออกไปในกลุ่มอื่นที่บอกว่าถูกอาจจะผิดก็ได้

     การที่คนมีอาชีพต่างกันส่วนหนึ่งมาจากการเลือกคำตอบของชีวิตต่างกัน โลกนี้ไม่ได้มีคำตอบเดียว ชีวิตก็เช่นกัน ไม่มีได้มีคำตอบเดียว ชีวิตต้องหลากหลาย มีวิธีเลือกการดำเนินชีวิต เลือกที่จะอยู่หรือเลือกที่จะทำอะไรนั่นเป็นทางชีวิตของเขา ข้าพเจ้าเริ่มต้นการศึกษาวิชาบัญชีแต่สุดท้ายกลับมาเรียนจบทางด้านปรัชญาและศาสนา ไม่ได้ทำอาชีพทางด้านค้าขายเหมือนที่พ่อบอกไว้ แต่นั่นก็ยังไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของชีวิต โลกนี้ไม่มีได้มีคำตอบเดียว ชีวิตของแต่ละคนก็มีทางเลือกที่ต่างกัน ชีวิตก็ไม่ได้มีคำตอบเดียวที่ถูกต้องที่สุด แต่เมื่อเลือกแล้ว ก็ต้องอยู่กับสิ่งที่ตนเลือกให้ได้
 

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
19/08/64

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก