ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

 

 

วิหาร
         ย้อนกลับไปที่วิหาร พบวิหารแห่งแรกที่สร้างขึ้นในยุคใหม่อยู่ที่กุสินาคาร์ในปีพุทธศักราช 2445 โดยพระมหาวีระ ต่อจากนั้นเป็นธัมมันกุระวิหาร สร้างขึ้นที่กัลกัตตา โดยพระกริปสรัน มหาสถวีระในปีพุทธศักราช 2446  ส่วนวิหารที่สร้างที่เปรัมบุระ มัทราสในปีพุทธศักราช 2449 โดยพุทธสมาคมอินเดียภาคใต้เป็นแห่งที่สาม  กลับมาที่ศรีธัมมราชิกวิหารอันงดงาม ที่กัลกัตตา      ซึ่งสร้างโดยท่านอนาคาริก ธรรมปาละในปีพุทธศักราช 2463  พระโพธนันทะสร้างวิหารแห่งที่ 5 ที่สวนสาธารณะไรสัลดาร์ ลัคเนาว์ในปีพุทธศักราช 2468  และในปีพุทธศักราช 2470 ยังได้สร้างพุทธวิหารขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่กัลลิกุต ควีโลน (เคราลา), ในปีพุทธศักราช 2474 สร้างมูลคันธกุฎีวิหารที่มีชื่อเสียงที่สารนาถ โดยมหาโพธิสมาคมทำการเปิด ซึ่งได้จารึกไว้บนแผ่นหินไว้เป็นประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาสมัยใหม่ในปีเดียวกัน  ดร. อานันดาโอ แอล เนียร์ได้สร้างอานันทวิหารขึ้นที่บอมเบย์ วิหารที่สร้างขึ้นภายหลังจากนั้นมามีดังนี้ พหุชนวิหาร บอมเบย์ (พ.ศ. 2480),พุทธวิหาร นิวเดลี (พ.ศ. 2482), เทสังปานีวิหาร อัสสัม(พ.ศ. 2482), พุทธวิหาร บังกาลอร์(พ.ศ. 2483),เวนุวันวิหาร อการตาลา (พ.ศ. 2489),มัทราส (เคนเนส เลน) วิหาร(พ.ศ. 2490),อโศกมิชชั่นวิหาร นิวเดลี(พ.ศ. 2493)และนิว เจติยคีรีวิหาร ศานจิ (พ.ศ. 2495) มีวิหารหลังอื่นๆ อีกมากที่เกิดขึ้นหลังจากการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในปีพุทธศักราช 2499 ที่เริ่มต้นด้วย ดร. เอ็มเบ็ดการ์ ในรัฐมหาราษฎร์ ทุกแห่งเกือบจะเป็นดินแดนของชาวพุทธแทบทุกหมู่บ้านจะมีวิหารเป็นของตัวเอง วิหารจำนวนมากที่สุดอยู่ที่นาคปุร์, ดีกสาภูมี, เดลีเมืองหลวงของอินเดียมีวิหารที่ใหญ่เป็นอันดับสอง ปัจจุบันมีวิหารมากกว่า 25 แห่ง เริ่มตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2499 จุดเด่นพิเศษในปีพุทธศักราช 2499 คือการสร้างวัดพร้อมด้วยอุโบสถพุทธที่สวยงามโดยชาวพุทธจากต่างประเทศเช่นวัดไทย(วัดพุทธ)ที่โพธคยา สร้างโดยรัฐบาลแห่งประเทศไทยในปีพุทธศักราช 2513-2515,วัดอินโดซาน นิปปอนจิ (วัดญี่ปุ่น) ที่โพธคยาสร้างโดยสมาคมพี่น้องชาวพุทธนานาชาติแห่งญี่ปุ่นในปีพุทธศักราช 2516,วัดไดโจเกียว (วัดญี่ปุ่น) สร้างโดยสมาคมไดโจเกียวแห่งญี่ปุ่นในปีพุทธศักราช 2526,สถูปสันติภาพแห่งโลก(วิศวศานติสถูป) บนยอดเขาคิชกูฏ เมืองราชคฤห์ สร้างโดยฟูจิอิ คุรุจิแห่งญี่ปุ่นในปีพุทธศักราช 2512,เจดีย์สันติภาพกลิงคะที่ภูเวเนสหวาร์ สร้างโดยฟูจิอิ คุรุจิในปีพุทธศักราช 2515 และและเวฬุวันวิหาร (วัดนิปปอนซาน เมียวโฮจิ) ที่ราชคฤห์ สร้างโดยฟูจิอิ คุรุจิในปีพุทธศักราช 2524
         เนื่องจากมีความขาดแคลนพระภิกษุที่มีคุณสมบัติ วิหารที่สร้างใหม่ในบางแห่งจึงไม่มีภิกษุพักอาศัยอยู่เลย การดำเนินการต่อไปมีความลำบาก เมื่อพระภิกษุที่มีชื่อเสียงมรณภาพลง นั่นคือพระ ดี. ศาสนศิริ(2509), พระเค. ศรีนิวาส (2511),พระอู จันทรามณี (2515) พระจักดิสห์ กัสหยัป (2519),พระธัมมรักษิต(2520),พระเอ็น.ชินรัตนะ(2526),พระเอ็ม. สังฆรัตนะ (2528), พระอู ธัมมรัตนะ(2528)และพระ ดร. ภทันต์ อนันท์ เกาสัลยยัน (2531)
         การนำเสนอโดยสังเขปนี้ เรามุ่งที่จะอธิบายสถานะของพระภิกษุและวิหารในแต่ละรัฐ ขณะที่ทำการศึกษาเรื่องนี้อยู่ ได้บอกจำนวนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนาในแต่ละรัฐ แต่ละอาณาเขตไว้ด้วย ตัวเลขมาจากสำมโนประชากรในปีพุทธศัราช 2524 พุทธศาสนิกชนในรัฐมหาราษฎร์จะมีจำนวนมากที่สุด มีจำนวนถึง 84 เปอร์เซ็นต์ของชาวพุทธในอินเดียอาศัยอยู่ในรัฐนี้

 

เกาะอันดามันและนิโคบาร์
         สหพันธรัฐอันดามันและหมู่เกาะนิโคบาร์มีชาวพุทธอยู่เพียง 127 คนเท่านั้น เป็นชาวพม่าที่อพยพเข้ามา พุทธวิหารในเกาะอันดามันและนิโคบาร์อยู่ที่เมืองท่าแบลร์ ไมเมียวและมายาบุนเดอร์ พระอู  คินาวงศ์แห่งวิสหวศานติวิหาร, โพนกยิ กยุง,พอร์ท แบลร์ เป็นประธานภิกษุในหมู่เกาะนี้

 

อันธระประเทศ
         ในปีพุทธศักราช 2494 อันธระมีชาวพุทธอยู่เพียง 230 คนเท่านั้น แต่ปัจจุบันมีชาวพุทธประมาณ 12,830 คน พระภิกษุรูปแรกที่ประกาศพระพุทธศาสนาในอันธรประเทศคือพระสุเมธา วิมลักษะ เกิดที่เบงกอล เดินทางมาที่คุนตุระในขณะที่ยังเป็นสามเณรในปีพุทธศักราช 2503 และจัดตั้งองค์กรขึ้นภายใต้ชื่อว่า “พุทธวิหาร สรัสวตี สามิธิ ที่คุนตุระ” เริ่มต้นประกาศพุทธธรรมในอันธระ ดินแดนที่เคยมีเกียรติคุณในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ในนามอมรวตีและนาครชุนคอนดา พระสุเมธายังได้สร้างวิหารอีกแห่งหนึ่งคือ “นาครชุนพุทธวิหาร” ทีฮินดูปุระรายัลสีมา ท่านยังได้จัดพิมพ์จุลสารคือ “พุทธธรรม” เรื่องที่นำมาตีพิมพ์และมีชื่อเสียงคือ ธัมมบท(เตลุกุ),ธัมมบท (พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษกำกับด้วยภาษาบาลี),อโศก สามรัฐ (เตลุกุ)และพุทธานี ชีวิตา กาธาลี (เตลุกุ)
         ภิกษุอีกสองรูปที่ทำงานเผยแผ่พุทธศาสนาในอันธรประะเทศคือท่านสารีปุตตภิกษุและพระอู รัตนปาล ภิกษุในฐานะกรรมการของมหาเถรสมาคม มัทราส เมื่อสร้างพุทธวิหารขึ้นที่ไฮเดอราบัด,เซคุนเดอราบัสและวิสาขปัตนัม จุดเปลี่ยนที่สำคัญในอันธระสมัยใหม่น่าจะอยู่ที่การสร้างพระพุทธรูปโดยรัฐบาลของอันธรประเทศ พระพุทธรูปสูง 60 ฟุตประดิษฐานอยู่บนหินคิบราลเตอร์มองเห็นทัศนียภาพของทะเลสาบหัสสอินซาคาร์ เป็นใจกลางของเมืองสองเมืองคือไฮเดอราบัสและเชคุนเดอราบัส

 

อรุนาจัลประเทศ
         อรุนาจัลประเทศ(ดินแดนแห่งพระอาทิตย์อุทัย) ในยุคแรกเป็นสำนักงานชายแดนด้านตะวันออกเฉียงเหนือ  (NEFA) มีชาวพุทธจำนวน 86,483 คน ส่วนมากอยู่ที่เมืองตะวัง,โลหิตและไตรัป สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ของอรุนาจัลประเทศคือวัดตะวัง
 วัดตะวังสร้างขึ้นโดยเมรา ลามะ ผู้นำชาวพุทธท้องถิ่นประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 22  ตั้งอยู่ที่ราบสูงมีความสูง 3,048 เมตร มองดูเหมือนเป็นป้อมปราการ สามารถมองเห็นทัศนียภาพอันสวยงาม วิหารหลักคือห้องโถงใหญ่อยู่กลางกอมปาที่ทอดยาว มี “ธังกา” (ภาพวาดบนแผ่นผ้า)ที่ศักดิ์สิทธิ์และมหัศจรรย์ ทะไลลามะองค์ที่ 5 ได้มอบให้ในช่วงที่ปกครองกอมปาแห่งนี้มีสภาพที่สมบูรณ์ ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีในห้องพิเศษ วัดตะวงมีคัมภีร์มากกว่า 700 เล่ม ชุดที่ใหญ่ที่สุดคือเกตมาที่มีคุณค่าและราคาประเมินค่ามิได้
 ต้นกำเนิดของตะวังกอมปาคือเป็นที่หลบซ่อนอันลึกลับ กล่าวกันว่าเป็นสถานที่สำหรับใช้ศึกษาสำหรับลามะในนิกายหมวกเหลืองของตาซิ มิมโป และเดรบุงในธิเบต เมื่อลามะหนุ่มเมรากลับไปที่บ้านเกิดและได้สร้างกอมปาเล็กๆขึ้นแห่งหนึ่ง ในไม่ช้าก็ได้กลายเป็นที่รู้จักแพร่หลายในพื้นที่ ลามะในนิกายตรงกันข้ามได้เกิดความอิจฉาขึ้น      ในเวลากลางคืนได้จุดไฟเผาทำลาย
         กอมปาของเมรา แต่เมราลามะหนีรอดไปได้โดยเดินทางไปทางภูเขา เพราะความอ่อนเพลียและหิวโหยจึงได้นอนหลับในป่าทึบ ในระหว่างที่ม่อยหลับไปนั้นได้นิมิตว่ามีม้าขาวกำลังนอนเล่นอยู่บนเนินหญ้า ท่านพิจารณาว่าน่าจะเป็นสัญญาณแห่งศุภมงคลฤกษ์ จึงได้ตัดสินใจสร้างกอมปาขึ้นใหม่ในบริเวณนั้น  ทางดินแดนทางภาคเหนือ คำว่าโมนปาหมายถึงม้า และวังหมายถึงความเจริญรุ่งเรือง การแปลความหมายอีกอย่างหนึ่งคือสถานที่ที่ “ม้า(ตา)คือเงื่อนไขแห่งความฉลาด อีกทัศนะหนึ่งหมายถึง “ม้า (ตา)หมายถึงพระพุทธเจ้า และ“โอง” หมายถึงการประทานพรเพื่อความโชคดี ดังนั้นคำว่า “ตะอง” หรือ “ตะวัง” จึงหมายถึงการประทานพรเพื่อความโชคดีของพระพุทธเจ้า
         วัดตะวัง ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางทางศาสนาและวัฒนธรรมของอรุนาจัลประเทศ เป็นสถานที่ที่ยิ่งใหญ่ที่ให้การศึกษาและฝึกอบรมลามะ ปัจจุบันมีลามะที่กำลังศึกษาประมาณ 350 รูป ตามประเพณีชาวพุทธในตะวังจะถวายลูกชายคนที่สองให้แก่วัด รินโปเชองค์ปัจจุบัน ประธานลามะได้รับแต่งตั้งเมื่อปีพุทธศักราช 2524  เมื่อครั้งที่ทะไล ลามะองค์ที่ 14 แห่งธิเบตเสด็จเยือนวัดตะวัง
         วัดสำคัญอื่นๆในอรุนาจัลประเทศคือ ไดราน,ดโซง,โดมซาง,จักดา,จังดา,จาง,บันกาจันกะและการโพซัง ส่วนวิหารยุคใหม่ที่สำคัญคือโชว์ขัม ราช วิหาร โชว์ขัม

 

อัสสัม
         ในรัฐอัสสัมมีชาวพุทธประมาณ 55,000 คน ชาวพุทธอัสสัมมีต้นกำเนิดมาจากคนไทจากประเทศไทยและรัฐฉานในพม่า ชาวพุทธอัสสัมทางภาคกลางและภาคตะวันออกเป็นเผ่าอโฮมา ชาวเผ่านี้มีความสัมพันธ์กับรัฐฉานของพม่าที่อยู่สูงขึ้นไปทางตอนเหนือ ที่อพยพเข้าไปยังอัสสัมประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 และก่อตั้งอาณาจักรนี้ขึ้น มีวิหารประมาณ 100 แห่งและมีภิกษุประมาณ 150 รูป
         พระภิกษุที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคแรกในอัสสัมสมัยใหม่คือพระนันทพรรษา เกิดในครอบครัวฮินดูพุทธศักราช 2452 ที่เมืองสิบสาคาร์ เริ่มต้นศึกษาศาสนาภายหลังจากที่พ่อแม่เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ เริ่มศึกษาคัมภีร์ฮินดู แต่ไม่พอใจในคัมภีร์เหล่านั้น จึงกลับไปศึกษาพระพุทธศาสนาในปีพุทธศักราช 2473  ต่อมาในปีพุทธศักราช 2480 ได้รับการอุปสมบทที่วัดราหันปาเธอร์ โดยมีพระอุสุมังคล มหาสถวีระเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอุตตมนันทะ มหาสถวีระและพระเตชภันตะ มหาสถวีระ เป็นกรรมวาจาจารย์ ในปีพุทธศักราช 2482 ท่านได้สร้างวัดพระพุทธศาสนาขึ้นที่เทสังปานี และได้ก่อตั้งพุทธสมาคมแห่งอัสสัมขึ้น นอกจากทำให้พระพุทธศาสนาในอัสสัมเจริญขึ้นแล้ว พระนันทพรรษายังได้สร้างโรงเรียนและวิทยาลัยขึ้นอีกด้วย ท่านยังได้จัดพิมพ์หนังสือธรรมะจากพระพุทธศาสนาให้แพร่หลายในอัสสัมมากกว่า 25 เล่ม ซึ่งช่วยให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอัสสัมแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ภิกษุที่มีชื่อเสียงรูปอื่นๆในอัสสัมคือพระสีลพรรษา มหาสถวีระ, พระพุทธนันทะ มหาสถวีระ,พระศาสนพรรษา,พระปรัชญานันทะ,พระเทพปริยา, พระราหุล,พระสัญชัยนันทะ,ดร. พระธัมมวงศ์,พระพระคุณาจร,พระสังฆรักขิตและพระคนทินยา
         วัดพระพุทธศาสนาที่สำคัญๆ ในอัสสัมอยู่ที่เมืองเทสังปานี,สิบสาคาร์,เมืองชาลาปาเธอร์,สิบสาคาร์,เกรแฮมบาร์ซาร์,ทีบรูครห์, ทิคโบอิ, โจรหัต,นาหารคาเตีย,ติปัม,ทีบรุครห์,ทุเลียจัน, คุวาหติ,ตินสุเกีย,โบรขมตี, ลาขิมปุระเหนือ,ราชปุขุรี,โคลัคหัต

 

พิหาร
         ประชากรชาวพุทธในรัฐพิหาร  เมืองโบราณดินแดนแห่งวิหาร ปัจจุบันมีจำนวนประมาณ 3,003 คน มีพระภิกษุประมาณ 50 รูปในรัฐนี้ พระที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือพระ ดร. ธัมมวังโส มหาเถระ,พระบี. ปัญญารามะ มหาเถระ, พระชญาณชกัต มหาเถระ,พระ ดร. รัชตรปาล,พระอู ชยันตะ,พระ เท็นโซ ยากิ,พระเทพวิสุทธิโมลี,พระวิปัสสี,พระดี. วิมลา,พระบี.เอ็ม.ปรัชญา นันทศรี
         สถานที่ศักดิ์สิทธิ์มากที่สุดในพิหารคือวัดมหาโพธิ์ที่โพธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ตามประวัติศาสตร์วัดมหาโพธิ์มีปรากฏว่าสร้างตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 หลังจากนั้นมาก็มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุง โดยชาวพุทธในแต่ละช่วงเวลา เมื่อพระพุทธศาสนาในอินเดียเสื่อมลง โพธคยาก็ได้ถูกทอดทิ้ง ผู้ที่ถือเอาประโยชน์ในสถานนั้นคือฮินดูนิกายมหันต์ได้สร้าง “มาธ” ขึ้นที่โพธคยาในปีพุทธศักราช 2133 เมื่อมหันต์เข้ายึดครอง  สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธก็ตกอยู่ภายใต้การครอบครองของฮินดูมหันต์ พวกเขาได้ทำการหลบหลู่สถานที่สักการะอันศักดิ์สิทธิ์ จนกระทั่งปีพุทธศักราช 2404 เซอร์คันนิ่งแฮมได้พบพวกมหันต์และบรรดาศานุศิษย์กระทำพิธีกรรมที่มิใช่ของพระพุทธศาสนาในวิหารใหญ่ของวัดมหาโพธิ์ ถึงแม้มหันต์จะอ้างกรรมสิทธิ์ในการครอบครองพื้นที่รอบๆบริเวณวัดว่าเป็นสมบัติของพวกเขาก็ตาม แต่ก็ไม่เคยคิดที่จะทำการซ่อมแซมวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เลย
         ในปีพุทธศักราช 2418 กษัตริย์มินทัน มินแห่งพม่าได้รับคำมั่นสัญญาจากรัฐบาลอินเดียและฮินดูมหันต์ เพื่ออนุมัติให้ทำการปรัปรุงซ่อมแซม วัดมหาโพธิ์ที่เสื่อมโทรม การซ่อมแซมจึงเริ่มต้นขึ้นโดยชาวพม่าซึ่งมิได้เป็นไปตามรูปแบบในอดีตนัก ในปีพุทธศักราช 2423 ทางรัฐบาลอินเดียได้แต่งตั้งให้เจ.ดี.เบคลาร์เพื่อทำการซ่อมแซมอาคาร คันนิ่งแฮมและดร.ราเชนทรา ลาล มิตราเป็นผู้ควบคุมดูแลการซ่อมแซม การซ่อมแซมได้เริ่มกระทำที่ฐานตัวแบบเล็กๆในแผ่นหิน ได้ค้นพบซากปรักหักพังจากสิ่งที่ออกแบบทั้งหมดของตัวอาคารซึ่งสร้างในยุคกลาง สามารถที่จะพบร่องรอยความสมบูรณ์ที่ยังคงมีความแข็งแรง การซ่อมแซมเพื่อให้กลับคืนสู่สภาพเดิม วัดมหาโพธิ์เพื่อให้มีสภาพที่ดีขึ้น เกือบจะเป็นรูปจำลองที่ชัดเจนตามวิหารอันเป็นต้นกำเนิด เป็นเรื่องราวที่ยาวนาน แต่สำเร็จด้วยความเลื่อมใสบูชาและการอุทิศตนด้วยความเสียสละ
         วัดมหาโพธิ์ ปัจจุบันมีเจดีย์ใหญ่สูงประมาณ 170 ฟุต ฐานวัดโดยรอบ 50 ฟุต ประกอบด้วยอาคารรูปปิรามิดรายล้อมสถูป ภายในวิหารมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ปิดทองที่กำลังสัมผัสพื้นดิน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเหตุการณ์ในการตรัสรู้อันยิ่งใหญ่ ต้นโพธิ์อยู่ทางด้านตะวันตกของวิหาร มีแท่นวัชรอาสน์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กำหนดไว้ด้วยแผ่นดินหนาสีแดง
        การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องกรรมสิทธิ์ในการครอบครองวัดมหาโพธิ์อันศักดิ์สิทธิ์   เริ่มต้นขึ้นในเดือนมกราคมพุทธศักราช  2434 เมื่อท่านอนาคาริกธรรมปาละเดินทางมาที่โพธคยา ที่ประทับนั่งสำหรับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าได้ถูกทอดทิ้งละเลยไม่ใส่ใจ ธรรมปาละจึงตัดสินใจตั้งแต่บัดนั้นว่าจะดำเนินการเพื่อให้มหันต์เลิกดูหมิ่นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธ ด้วยการมองการไกลของธรรมปาละ จึงได้ก่อตั้ง “พุทธคยามหาโพธิสมาคม” ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2434 และได้นิมนต์พระภิกษุจากศรีลังกา 4 รูปให้มาอยู่จำพรรษาที่โพธคยามีพระทูอนุรลา จันทโชติ,พระมตเล สุมังคละ,พระอนุราธปุระ เปมนันทะและพระกัลเลสุทัสสนะ เดินทางมาถึงโพธคยาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2434 และเข้าพักจำพรรษาที่บ้านพักสำหรับนักจาริกแสวงบุญที่พม่าได้สร้างไว้เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา ฮินดูมหันต์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ถูกต้องในการครอบครองพุทธคยา จึงได้เสนอคำคัดค้านต่อการเข้ามาอยู่จำพรรษาของพระภิกษุในเดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2436 พระภิกษุ 2 รูปถูกทำร้ายอย่างรุนแรงโดยมหันต์ ต่อมาในปีพุทธศักราช 2438 เมื่อธรรมปาละพยายามที่จะประดิษฐานพระพุทธรูปที่ประชาชนชาวญี่ปุ่นนำมาถวาย บนพื้นด้านบนของวิหาร ก็ได้ถูกโจมตีและขัดขวางโดยคนของมหันต์ พระพุทธรูปจึงได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่บ้านพักสำหรับชาวพม่า
         ในปีพุทธศักราช 2449 มหันต์ได้คัดค้านการที่พระภิกษุอยู่อาศัยที่บ้านพัก พระภิกษุจึงได้เรียกร้องสิทธิ์ในการครอบครองวัดมหาโพธิ์  การต่อสู้ในทางกฎหมายยังคงดำเนินต่อไป หลังจากที่อินเดียได้รับเอกราช รัฐบาลรัฐพิหารจึงได้ออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารจัดการวัดพุทธคยาในปีพุทธศักราช 2492  เพื่อให้มีความสอดคล้องกันในทางการบริหาร รัฐบาลกลางแต่งตั้งกรรมการบริหารขึ้นในปีพุทธศักราช 2495 ได้มอบหมายให้คณะกรรมการเข้าจัดการและควบคุมที่ดินและทรัพย์สินอื่นๆของวัด คณะกรรมการที่เข้าจัดการบริหารพุทธคยาในปีพุทธศักราช 2492 ให้มีคณะกรรมการประกอบด้วยสมาชิก 8 คน เป็นฮินดู 4 คนและพุทธ 4 คน โดยมีผู้ที่ควบคุมดูแลจากคยาเป็นประธาน
         พระชญาณชกัตปัจจุบันเป็นผู้ควบคุมดูแลในฐานะคณะกรรมการบริหารพุทธคยา  ส่วนการให้บริการประจำวันในวัดมหาโพธิ์อยูในการดูแลของพระบี. ปัญญารามะ ภิกษุผู้บริหารบ้านพักมหาโพธิ์ ผู้ช่วยของท่านคือพระดี.วิมลาเถระ
         วัดมหาโพธิ์ที่ยิ่งใหญ่ได้กลับมามีประกายอันโชติช่วงอีกครั้ง มีนักเดินทางจาริกแสวงบุญปีละหลายพันคนจากทั่วโลกมาเยือนมิได้ขาด สัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรืองที่ยังคงมีชีวิตอยู่นี้ได้ถูกเสริมด้วยวิหารและวัดสมัยใหม่จำนวนหนึ่งที่สร้างขึ้นที่พุทธคยา โดยพุทธศาสนิกชนจากนานาประเทศ มีบันทึกไว้ดังนี้วัดพม่า (2418),วัดจีน(2478),วัดธิเบต(2481),วัดไทย(2515),วัดญี่ปุ่น อินโดซาน นิปปอนจิสร้างโดยสมาคมพี่น้องชาวพุทธนานาชาติ(2516),วัดไดโจเกียว สร้างโดยสมาคมไดโจเกียวแห่งญี่ปุ่น(2526),วัดภูฐาน(2531)และพระพุทธรูปใหญ่โดยสมาคมไดโจเกียว(2532)
         ราชคิระหรือเมืองราชคฤห์ในอดีต เมืองหลวงของพระเจ้าพิมพิสารในสมัยพุทธกาล ในปัจจุบันที่รู้จักกันดีคือมหาวิศวะศานติสถูป (เจดีย์เสรีภาพแห่งโลก) สร้างบนยอดเขารัตนคีรีใกล้ๆกับคิฌกูฏ หรือเขาอีแร้งที่ราชคฤห์ เป็นศิลปะการออกแบบของศาสตราจารย์มิโนรุ โอโฮกะแห่งญี่ปุ่น ร่วมกับช่างฝีมือชาวอินเดียผู้มีชื่อเสียงคืออุเปนทร มหาราธี เจดีย์สูง 16 ฟุตปิดทองทองคำตลอดองค์ เกือบจะมีขนาดเท่ากับเจดีย์ศานจิสถูป  สร้างโดยฟูจิอิ คุรุจิ ผู้สถาปนาคณะสงฆ์ในญี่ปุ่น ทำพิธีฉลองเจดีย์ในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2512 บนยอดเจดีย์มีห้องบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่รัฐบาลอินเดียมอบให้ญี่ปุ่นในปีพุทธศักราช 2495 ประดิษฐานไว้ด้วย
         พุทธสังฆ์แห่งญี่ปุ่นก่อตั้งโดยฟูจิอิ คุรุจิ ได้มีการสร้างวิหารที่สวยงามที่ราชคฤห์โดยจำลองแบบมาจากเวนุวัน วิหาร ซึ่งพระพุทธเคยพักจำพรรษาในสัมยที่พักอยู่ที่ราชคฤห์ สร้างในพื้นที่ 32,400 ตารางฟุต  วิหารแห่งนี้รู้จักกันดีว่าวัดนิปปอนซาน เมียวโฮจิ เป็นวิหารที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียยุคใหม่ พิธีฉลองเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2524
         ราชคฤห์สมัยใหม่ยังมีวัดพม่าอีกแห่งหนึ่ง ปัจจุบันพระอู  ชยันตะ เป็นผู้บริหารวิหารแห่งนี้ ที่นาลันทา นวนาลันทามหาวิหารก่อตั้งโดยพระจักดิสห์ กัสหยัปเป็นสถาบันหลักที่สำคัญในนาลันทา นอกจากนั้นยังมีวัดจีน,วัดญี่ปุ่น,วัดไทย,และวัดธิเบต
         ในรัฐพิหารยังมีวิหารที่สำคัญอีกสามแห่งคือปาตลีบุตร วิหาร, ราเชนทร นาคาร์,ที่ปัตตนะมีพุทธวิหาร,เกาตัมธร,รานจิและพุทธวิหาร,สักชิ,จัมเชดปุระ

 

จันดิการห์
         ประชากรที่นับถือพุทธศาสนาในจันดิการห์มีจำนวน 454 คน พุทธวิหารที่สร้างเมื่อไม่นานนี้อยู่ใกล้หมู่บ้านกูดาอาลีเชร์ ห่างจากตัวเมืองจันดิการห์ประมาณ 5 กิโลเมตร

 

ดาดราและนาคาร์ฮาเวลี
         มีพุทธศาสนิกชนอยู่เพียง 189 คนเท่านั้น

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก