ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

             ได้พบกับ ดร.โสภณ ขำทัพ อาจารย์สอนที่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย สนทนากันถึงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ดร.โสภณบอกว่ามีสรุปงานวิจัยที่เคยเสนอที่มหาวิทยาลัยหนานฮวา ประเทศไต้หวัน ซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีการประชุมสัมมนาร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยหนานฮวา ที่ประเทศไต้หวัน ได้เขียนไว้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย อ่านแล้วเห็นว่ามีสาระน่าจะเป็นปประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังสนใจศึกษาในบริบทของเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีชีวิตแบบพุทธ จึงขออนุญาตนำเผยแผ่ เชิญอ่านและศึกษาได้ตามสะดวก

 

 

 

เศรษฐกิจพอเพียงในบริบทวิถีชีวิตแบบพุทธตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎก

ดร. โสภณ ขำทัพ

 

            นับตั้งแต่ประเทศไทยประเทศไทยประสบภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจในปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานแนวพระราชดำรัสเกี่ยวกับ “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของชาวไทยทุกหมู่เหล่า จนมาถึงทุกวันนี้ ปรากฏว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่าง กว้างขวางผ่านการทดสอบมาแล้วว่าได้ผลดี ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาล นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ  พร้อมทั้งเป็นการเทิดพระเกียรติแด่พระองค์ และเพื่อให้ชาวไทยทุกหมู่ทุกเหล่าได้รู้ และเข้าใจในปรัชญาของ “เศรษฐกิจพอเพียง” อย่างถ่องแท้ จนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างสอดคล้องกับหน้าที่และบทบาทของแต่ละบุคคล ฉะนั้นในโอกาสนี้จึงขอกล่าวถึง “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อท่านทั้งหลายได้นำไปประยุกต์ใช้กันอย่างถูกต้องและเหมาะสมสืบไป

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

           เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี


           เศรษฐกิจพอเพียงมีรากฐานมาจากเศรษฐกิจแนวพุทธ  ซึ่งเป็นหลักคำสอนเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับหลักพุทธธรรม  และมีกระบวนการของไตรสิกขาอยู่ในฐานะที่เป็นปทัสถานให้เกิดดุลยภาพระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ มนุษย์กับสังคม และกายกับจิต อันเป็นบริบทวิถีชีวิตแบบพุทธที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความพอดี พออยู่ พอกินและพอใช้  โดยยึดหลักมัชฌิมาปฏิปทาในการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ  และดำเนินชีวิตแบบสัมมาอาชีวะก่อนเป็นเบื้องต้น  จากนั้นจึงพัฒนาชีวิตและสังคมไปสู่ความยั่งยืนด้วยการรู้จักตัวเองด้วยการพึ่งตนเอง  มีความพอประมาณ ไม่โลภ มีเหตุผลในการดำเนินชีวิต และสร้างภูมิคุ้มกันในตนด้วยความไม่ประมาทตามหลักธรรมที่มีปรากฏในพระไตรปิฎก
           โดยเฉพาะหลักธรรมคำสอนตามทางสายกลางของพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับความพอดีและพอเพียงในเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งแนวคิดนี้ยังนำไปสู่การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและปัญหาต่าง ๆ ของสังคมได้ เพราะเป็นการแก้ปัญหาและป้องกันปัญหาก่อนที่จะเกิดด้วยการให้ความเข้าใจต่อการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง  โดยต้องเริ่มทีใจศรัทธาหรือมีสัมมาทิฐิก่อนจากนั้นจึงนำไปสู่การปฏิบัติบนหลักการของความพอประมาณ มีเหตุผล และพึ่งตนเองได้ ซึ่งทุกคนสามารถทำตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเกษตรกร
           ดังนั้นรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียงในบริบทวิถีชีวิตแบบพุทธตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎกอันเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน  จะเป็นผลมาจากความศรัทธาที่เป็นกำลังในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา  โดยเริ่มจากสัมมาทิฐิซึ่งประกอบด้วยเหตุผล  และทำให้เกิดปัญญานำไปสู่สัมมาอาชีวะได้นั้น  เพราะมีหลักพุทธธรรมที่สนับสนุนอยู่ ๓ ประการ คือ

 

            ๑) ศีล เป็นวิธีการพัฒนาที่สมดุล เป็นการปฏิบัติตนที่แสดงออกทางกาย ในเรื่องความความพอประมาณด้วยสันโดษ
            ๒) สมาธิ  เป็นวิธีการกำกับที่ยั่งยืน เป็นการปฏิบัติตนที่แสดงออกทางใจ  ในเรื่องความมีเหตุผลด้วยโยนิโสมนสิการ
            ๓) ปัญญา เป็นวิธีการสนับสนุนที่มั่นคง  เป็นการปฏิบัติตนที่แสดงออกทางปัญญา ในเรื่องการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตนด้วยอัปปมาทธรรม
           จึงกล่าวได้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
           โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต ในการจัดการการศึกษา  และเห็นด้วยกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงว่าสามารถนำไปสู่การพัฒนาคน สังคม และประเทศชาติได้อย่างยั่งยืนและมั่นคง  เพราะเป็นการพึ่งพาตนเอง และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทย  ซึ่งผู้บริหารและสมาชิกเห็นว่าควรนำหลักธรรมในเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการศึกษา เพื่อเป็นการเสริมสร้างพื้นฐาน

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก