พระพุทธศาสนาในเทือกเขาหิมาลัย
ในขณะที่พระพุทธศาสนาเสื่อมสลายและหายไปจากแผ่นดินมาตุภูมิคืออินเดียนั้น แต่ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณเชิงเขาหิมาลัยยังนับถือพระพุทธศาสนาและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันตลอดมา บริเวณภูเขาสูงนามว่าหิมาลัยเช่นลาดักห์,ลาหุล,สปิติ,คินาอูระ,สิกขิมและอรุนาจัลประเทศ ปรากฏการณ์นี้ได้อุบัติขึ้นอย่างโอฬาร เพราะความสัมพันธ์ต่อประเทศทิเบต อาณาจักรในหุบเขาอันมหัศจรรย์ สถานที่ที่พระพุทธศาสนาเจาะลึกเข้าไปประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 และต่อมาก็ได้มีความเจริญรุ่งเรือง จนกระทั่งจีนเข้ายึดครองทิเบตในปีพุทธศักราช 2502 และผลักดันให้ทะไล ลามะ องค์ที่ 14 ผู้นำทางจิตวิญญาณและราชอาณาจักรของทิเบตต้องลี้ภัยไปอยู่อินเดีย ก่อนที่จะหันไปศึกษาเรื่องราวของพระพุทธศาสนาในบริเวณเทือกเขาหิมาลัย น่าจะมีความคุ้มค่าที่จะหันไปศึกษาความเจริญรุ่งเรืองและพัฒนาการของพระพุทธศาสนาในทิเบต
แม้ว่าพระพุทธศาสนาจะเข้าสู่ทิเบตครั้งแรกในพุทธศตวรรษที่ 9 ก็ตาม แต่ก็รอจนกระทั่งพุทธศตวรรษที่ 12 จึงสามารถวางรากฐานอย่างมั่นคงได้ ด้วยความวิริยะอุตสาหะของผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่คนแรกของทิเบตคือซอนซัน สกัม ปะ (ซอนเซ็น คัมโป) (1163-1193) ในขณะนั้นทิเบตยังไม่มีภาษาเขียน พระองค์ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีผู้ฉลาดรอบรู้ทางด้านภาษาศาสตร์ชื่อโธมบี ชัมโบตะ เดินทางมาศึกษาศิลปะการเขียนที่มหาวิทยาลัยนาลันทา ในอินเดีย เขาได้ศึกษาภาษาสันสกฤต,พุทธปรัชญาและวรรณกรรม เมื่อเดินทางกลับทิเบต ก็ได้ประดิษฐ์ตัวอักษรทิเบตขึ้นบนพื้นฐานอยู่บนตัวอักษรภาษาอินเดีย จากนั้นเป็นต้นมา วรรณกรรมในทิเบตทั้งหมดก็ได้รับการแปลและเขียนลงในตัวอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ในระหว่างที่พระเจ้าซองซัน คัมโปครองราชย์นั้น พระองค์ได้สร้างวัดที่มีชื่อเสียงขึ้นคือริมโปเชและโจคังในลาซา พระองค์ได้ประกาศใช้กฎหมายอย่างเป็นทางการ เพื่อให้กลมกลืนกับระบบคุณธรรม 10 ประการที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ หลังจากนั้นประมาณหนึ่งศตวรรษต่อมาธิซง เดตซัน หรือขริสโรน อิเดซาน (พ.ศ. 1318-1340) ผู้ปกครองทิเบตองค์ที่ 5 ได้นิมนต์พระศานตรักษิต จากมหาวิทยาลัยนาลันทามายังทิเบตเพื่อเผยแผ่คำสอนที่แท้จริงของพระพุทธศาสนาในทิเบต แต่ทว่าพระศานตรักษิตไม่ประสบความสำเร็จในการเผยแผ่ต่อประชาชน เพราะขณะนั้นศาสนาบอนยังคงมีอิทธิพลในหมู่มหาชน
พระศานตรักษิตจึงได้แนะนำให้นิมนต์ปัทมะสัมภวะ ผู้เผยแผ่ศาสนาที่ทรงพลังคนหนึ่งในนิกายตันตระ มาจากหมู่บ้านอูรกยันในหุบเขาสวัต เพื่อทำการเผยแผ่พุทธศาสนาต่อไป ดังนั้นกษัตริย์ทิเบตจึงได้นิมนต์ปัทมสัมภวะมายังทิเบตในปีพุทธศักราช 1290 และท่านปัทมสัมภวะได้อุทิศตนเพื่องานเผยแผ่พระพุทธศาสนา จนกระทั่งชาวทิเบตได้หันมานับถือพระพุทธศาสนา ปัทมสัมภวะได้แนะนำรูปแบบใหม่ของพระพุทธศาสนาคือลัทธิลามะ ซึ่งแน่นอนทีเดียวว่าลัทธิบอนยังคงถูกรักษาและได้รับการปฏิบัติอยู่ในสภาพเดิม สำหรับการปฏิบัติงานที่น่าอัศจรรย์เพื่อประโยชน์ของพระพุทธศาสนาของเขา ชาวทิเบตจึงเรียกปัทมสัมภวะว่า “คุรุรินโปเช” หรือครูที่ทรงคุณค่า ในปีพุทธศักราช 1292 ภายใต้คำแนะนำของปัทมสัมภวะกษัตริย์ทิเบตได้สร้างวัดขึ้นใกล้ ๆ สัมเย และแต่งตั้งพระศานตรักษิตเป็นหัวหน้า คุรุที่มีพลังมากที่สุดชาวอินเดียในยุคต่อมาที่เดินทางไปสู่ทิเบตเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาคืออติษะ ผู้ยิ่งใหญ่ แห่งวัดวิกรมศิลา ในรัฐพิหาร ชาวทิเบตนิยมเรียกท่านว่า “ทีปังกรศรีชญาณ” ท่านมาถึงทิเบตในปีพุทธศักราช 1581 เสียชีวิตในปีพุทธศักราช 1597 ผลของความเพียรพยายามของอติษะ ทำให้พระพุทธศาสนาได้วางรากฐานที่มั่นคงในทิเบต และมีความเจริญรุ่งเรืองเรื่อยมา และมีวิถีปฏิบัติอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายตามแนวคิดทางศาสนาและความคิดทางปรัชญา
ด้วยเหตุที่คัมภีร์พระพุทธศาสนาถูกนำเสนอโดยนักปราชญ์ต่างๆ ทั้งอินเดียและทิเบต ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน นิกายที่แตกต่างกัน ตลอดจนนิกายย่อยที่เกิดขึ้นในทิเบต แต่ทั้งหมดก็มีหลักการอยู่บนทฤษฎีอันเดียวกัน นิกายหลักๆ แห่งพระพุทธศาสนาในทิเบตคือนยิงมาปะ,การกยุดปะ,ศากยะปะและเกลุกปะ นิกายที่เก่าแก่ที่สุดคือนยิงมาปะ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากคำสอนของปัทมสัมภวะผู้ที่นำเอาพระพุทธศาสนามาสู่ทิเบตในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 และชาวทิเบตเรียกท่านว่าคุรุรินโปเช นิกายการกยุดปะ หรือนิกายที่มีการสืบต่อหลักคำสอนโดยประเพณีการท่องจำจากปากต่อปาก (มุขปาฐะ)
กล่าวกันว่าตั้งขึ้นในพุทธศักราช 1593 โดยท่านมารปะ ลามะชาวทิเบต เพื่อนของอติษะ (ทีปังกร ศรีชญาณ) และลูกศิษย์ของตันตริกในอินเดียคือท่านนาโรปะหัวหน้ามหาวิทยาลัยนาลันทาในพิหารในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 ผู้ที่เป็นตัวแทนที่ยิ่งใหญ่อีกคนหนึ่งในนิกายนี้คือมิลาเรปะ นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ในทิเบต นิกายที่สามคือศากยะหรือศาสกยปะ ได้ชื่อมาจากสีของแผ่นดินอันเป็นที่ตั้งวัดแห่งแรกในนิกายนี้ในทิเบต สร้างขึ้นในปีพุทธศักราช 1614 นิกายนี้มีอิทธิพลอย่างมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 แต่ต่อมาก็เสื่อมสลายลง นิกายเหล่านี้เรียกว่านิกาย “หมวกแดง” ส่วนนิกายที่สี่คือนิกายเกลุกปะ(นิกายคุณธรรม) หรือนิกาย “หมวกเหลือง” เป็นนิกายที่ได้รับการปรับปรุงและก่อตั้งขึ้นโดยนักบุญซงขปะประมาณปีพุทธศักราช 1943 องค์ทะไล ลามะในปัจจุบันก็อยู่ในนิกายนี้
ความก้าวหน้าของระบบการปกครองโดยคณะบริหารที่เป็นพระขององค์ทะไล ลามะ เป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุดบทหนึ่ง ในหนังสือ (ที่ประชุมสงฆ์) ในประวัติศาสตร์ของทิเบตในยุคต่อมา เส้นทางของทะไล ลามะ เริ่มต้นจาก เกดุน ทรุปะ (พุทธศตวรษที่ 19) จนกระทั่งมาถึงทะไล ลามะองค์ที่ 14 ในปัจจุบัน ผู้ที่ได้หลบลี้ภัยทางการเมืองในอินเดียในปีพุทธศักราช 2502 ได้ตกเป็นผู้ก่อการที่เด่นชัดมากที่สุดแห่งพระพุทธศาสนาในทิเบต ก่อนจะถึงปีพุทธศักราช 2502 ในทิเบตมีวัดมากกว่า 5,000 แห่ง กระจัดกระจายอยู่ทั่วทิเบต นิกายที่เป็นหลักมากที่สุดคือนิกายเกลุกปะ นิกายที่ทะไล ลามะสังกัดอยู่นั่นเอง วัดเดรปุง,เซราและกันเดน เคยเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดในทิเบต ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก มีลามะอยู่มากกว่า 20,000 รูป
ชาวทิเบตไม่เพียงแต่จะปฏิบัติตามพุทธธรรมตลอดอายุเท่านั้น พวกเขายังรักษาตำราทางพระพุทธศาสนาจากอินเดียจำนวนหนึ่งทั้งต้นฉบับและฉบับแปล ชาวทิเบตมีตำราทางพระพุทธศาสนาจากอินเดียมากกว่า 4,566 เล่ม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือคันเจอร์(คำสอนของพระพุทธเจ้า) มีตำราอยู่ถึง 1,108 เล่ม และตันเจอร์ คือเรื่องที่เป็นงานเขียนของนักปราชญ์อินเดียในเรื่องเกี่ยวกับปรัชญา,ศาสนา,ไวยากรณ์และประวัติศาสตร์ มีตำราอยู่ประมาณ 3,458 เล่ม
พระพุทธศาสนาในหุบเขาหิมาลัยในอินเดียโดยสังเขป
ลาดัคห์
ลาดักคห์ ปัจจุบันเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจัมมูแคชเมียร์ รัฐที่อยู่ทางตอนเหนือสุดของอินเดีย กล่าวกันว่า พระเจ้าอโศกได้สร้างวัดประมาณ 500 แห่งในแคชเมียร์ และต่อมาได้อุทิศหุบเขาเพื่อเป็นของขวัญแก่คณะสงฆ์ของพระพุทธศาสนา เหมือนกับที่พระเจ้าอโศกเคยกล่าวไว้ พระเจ้ากนิษกะก็กล่าวไว้ในทำนองเดียวกันว่าชาวแคชเมียร์ได้มีการมอบของขวัญแก่คณะสงฆ์ ดังนั้นจึงน่าจะถือได้ว่าพระพุทธศาสนามีความเจริญมั่นคงอยู่หลายศตวรรษ อย่างไรก็ตาม ชาวพุทธก็ได้ถูกกระทำทารุณกรรมอย่างไม่ปราณีโดยมิหิรกุล ฮูนา ผู้ที่เข้ายึดอำนาจในปีพุทธศักราช 1058 เมื่อมิหิรกุลสิ้นชีวิตลง ก็นับว่าเป็นความโชคดีของแคชเมียร์ที่มีผู้ปกครองชาวพุทธในยุคต่อมา เขาคือเมฆวาหนะ พระองค์ได้ดำเนินการเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้วยความกระตือรือร้นอันร้อนแรงและได้สร้างวิหารเป็นจำนวนมาก มเหสีของพระองค์ก็ได้ร่วมแข่งขันในการสร้างวิหารในที่อื่นๆ ด้วย ที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งคืออมฤตภาวนา ซึ่งพระนางอมฤตาประภาในฐานะพระราชินีแห่งลาดักคห์ได้สละทรัพย์ในการสร้างขึ้น คุรุของพระองค์ก็มาจากลาดักคห์
พระองค์อุทิศวิหารนี้ต่ออมิตายุ แม่น้ำแห่งชีวิตที่มีอายุยืนยาวนาน สถานที่แห่งนี้ปัจจุบันรู้จักกันว่าอันตภาวัน ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงวิหารวิชารนาก ศรีนาคาร์ ถึงแม้ผู้ปกครององค์ต่อจากพระเจ้าเมฆวาหนะจะไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา แต่สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธยังคงมีอยู่ในยุคนี้ ในยุคสมัยของประวารเสนที่ 2 ผู้ที่เป็นผู้ปกครองในยุคต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 11 วิหารหลังใหญ่ ๆ ได้ถูกสร้างขึ้นในศรีนาคาร์โดยลุงของกษัตริย์ชื่อชเยนทรา วิหารแห่งนี้จึงมีชื่อว่าชเยนทราวิหาร เมื่อหลวงจีนเหี้ยนจังได้เดินทางมาเยี่ยมแคชเมียร์ก็ได้เข้าพักที่วิหารแห่งนี้ ในทำนองเดียวกันกับสคันธาที่ได้สร้างวิหารที่ใหญ่โตเรียกว่าสคันธาภวันวิหาร ซึ่งนำชื่อมาจากสคันธาภวันชื่อหมู่บ้านในในศรีนาคาร์ ลลิตาทิตยา ผู้ปกครองดั้งเดิมแห่งแคชเมียร์ผู้ยิ่งใหญ่ เพียงแต่มิได้เป็นชาวพุทธได้มีความสนใจร้องให้คร่ำครวญต่อพระพุทธศาสนา เขาได้สร้างวิหารอันใหญ่โตคือราชวิหารในปริหสโปรา ซากปรักหักพังของวิหารนี้ถูกขุดค้นที่ปรัสโปเร โดยจันคุณา หัวหน้าคณะรัฐมนตรีแห่งลาลิตทิตยา เป็นชาวพุทธและเขายังได้สร้างวิหารในชื่อของเขาด้วยคือจันคุณาวิหาร
ในขณะที่พระพุทธศาสนาได้เสื่อมไปจากหุบเขาแคชเมียร์ ภายหลังพุทธศตวรรษที่ 17 สำหรับเหตุผลที่เราไม่ต้องการที่จะนำมาอธิบายอีก แต่ก็ยังมีกระแสแห่งศรัทธาที่ยังคงมีชีวิตชีวาในลาดักคห์ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา มีความสำเร็จที่น่าสนใจของประชาชนชาวลาดักคห์ เบื้องหลังแห่งการสืบทอดเรื่องราวด้วยความกล้าหาญและเสียสละของพวกเขา
อาณาจักรอันกว้างใหญ่ไพศาลในอาณาบริเวณอันเป็นที่โล่งเตียนในบริเวณเทือกเขาที่แสนแห้งแล้ง ลาดักคห์ทอดตัวยาวไปทางทิศตะวันออกของแคชเมียร์ ที่ความสูง 12,000- 18,000 ฟุต เหนือระดับน้ำทะเล มีชายแดนติดประเทศจีน(ชินเกียง) กิลกิตและทิเบต มีเนื้อที่ประมาณ 97,872 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยภูมิภาคต่างๆ ที่รู้จักกันดีคือการจิล,ซันสการ์,รูปซู,นูบรา,อักไสเชน,รอง,ตังกเซและเลห์ เลห์เป็นศูนย์กลางของลาดักคห์ ปัจจุบันเชื่อมสัมพันธ์กับศรีนาคาร์โดยถนนลูกรังยาว 434 กิโลเมตร ซึ่งผ่านไปทางด้านโซซิลา และโฟเตลา ที่ความสูง 13,400 ฟุต เส้นทางอื่นๆอีกสองสายที่ไปทางเลห์คือผ่านทางกุลุ และผ่านทางสุรุการจิล เส้นทางเหล่านี้ยากลำบากและต้องใช้การเดินทางด้วยเกวียนเพียงอย่างเดียว
ดูเหมือนว่าพระพุทธศาสนาจะเข้าสู่ลาดักคห์เป็นเวลายาวนานก่อนที่จะเริ่มต้นคริสตวรรษเสียอีก ในพุทธศตวรรษที่ 6 ลาดักห์ภายใต้อำนาจทางจักดิพรรดินิยมของจักรพรรดิ์พระพุทธศาสนาคือพระเจ้ากนิษกะ (แห่งราชวงศ์กุษาณ) ที่กลายมาเป็นผู้ปกครองแคชเมียร์ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 ลาดักคห์เป็นส่วนหนึ่งของแคชเมียร์ ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 12 กษัตริย์ซองตสัน คัมโป กษัตริย์ผู้มีชื่อเสียงแห่งทิเบต ผู้พิชิตลาดักคห์ และในยุคเริ่มต้นแห่งพุทธศตวรรษที่ 15 และได้กลายเป็นอาณาจักรส่วนหนึ่งของทิเบตทางตะวันตกแห่งกูเก้ ซึ่งก่อตั้งโดยกยิเด นยิมากอน ก่อนที่พระองค์จะสวรรคตในปีพุทธศักราช 1473 นยิมากอน ได้แบ่งอาณาจักรกูเก้ ออกเป็นสามส่วน และมอบให้ราชบุตรทั้งสามพระองค์ปกครอง ราชบุตรคนโตคือปาลกยิกอน ได้ปกครองลาดักคห์ตามความเหมาะสม กษัตริย์กูเก้ทุกพระองค์ศรัทธาในพระพุทธศาสนาและเป็นศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่ในส่วนของพุทธศิลปะและพุทธวรรณคดี ราชวงศ์พระพุทธศาสนานี้ปกครองลาดักคห์ 540 ปี จนกระทั่งถูกเปลี่ยนเป็นราชวงศ์พุทธอื่นในปีพุทธศักราช 2013
ในช่วงระหว่างการปกครองของกษัตริย์กูเก้ ลาดักคห์ได้มีวัดทางพระพุทธศาสนาจำนวนมาก ทั้งทางตรงและทางอ้อม วัดที่สำคัญที่สุดที่สร้างระหว่างยุคนี้คือวัดอัลชิและวัดลามายุระ วัดเหล่านี้สร้างโดยกษัตริย์รินเชน ซังโป ผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนาในพุทธศตวรรษที่ 15 จิตรกรรมที่สวยงามในวัดอัลชิ ซึ่งยังคงเหลืออยู่ เป็นตัวอย่างจิตรกรรมในยุคแรกๆของแคชเมียร์
การแผ่อิทธิพลของอิสลามในแคชเมียร์ได้มีผลกระทบต่อลาดักคห์ด้วย มุสลิมเริ่มต้นการบุกผ่านไปทางด่านโซจิลาในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 19 การโจมตีที่โหดร้ายที่สุดที่ลาดักห์โดยซาอินฟูล อบิดุน ผู้บุกรุกลาดักคห์ได้ปล้นสะดมภ์ทำลายวัดวาอารามต่างๆ ที่สร้างขึ้นในระหว่างการปกครองของกษัตริย์ลาดักห์, โลโด, โซดัน (พ.ศ. 1983-2013) การถือเอาข้อได้เปรียบแห่งสถานะที่อ่อนแอของกษัตริย์ภคัล นามกยัล ญาติของ โลโด โจดัน ได้ปลดกษัตริย์ออกจากตำแหน่งและจองจำในคุก และได้ก่อตั้งราชวงศ์ลาดักคห์ที่ 2 ขึ้นในปีพุทธศักราช 2013 ในช่วงระยะเวลา 350 ปีต่อมา ลาดักคห์ประสบกับความทุกข์ในการรุกรานอย่างรุนแรงทั้งจากฝีมือของกษัตริย์มุสลิมจากเอเชียกลาง และกษัตริย์ที่ปกครองแคชเมียร์เอง กษัตริย์ลาดักคห์อีกองค์หนึ่งคือเดลดัล นัมกยัล (พ.ศ. 2183-2218) ใช้กำลังเข้ายึดตามสภาวะแวดล้อม ไม่เพียงแต่ยอมรับอำนาจการปกครองของมุกหัลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสัญญาที่จะส่งเครื่องบรรณาการต่อจักรพรรดิ์มุกหัล ภายใต้อิทธิพลของตัวแทนจากแคชเมียร์ แม้ว่าจะยอมรับอิสลามในปีพุทธศักราช 2207 และอกาบัส ข่านขึ้นครองราชย์ อย่างไรก็ตาม นับเป็นความโชคดีที่ผู้ดำรงตำแหน่งต่อมาจากพระองค์ ได้เปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา
กษัตริย์ชาวพุทธแห่งลาดักคห์ ผู้ทรงมีอิสระองค์สุดท้ายคือตเซบัล นัมกยัล (พ.ศ. 2333-2377 หรือ 2383-2385) พระองค์เป็นนักปกครองที่อ่อนแอและเกียจคร้าน พระองค์ล้มเหลวในการรวมประเทศและอำนาจอธิปไตยของลาดักคห์ ในระหว่างการปกครองของพระองค์ ลาดักคห์ถูกรุกรานและโจมตีหลายครั้งในปีพุทธศักราช 2364 กองทัพที่เข้มแข็งของบัลติเข้าสู่ลาดักคห์ ปล้นสะดมภ์ชาวบ้านและนำสิ่งของที่ได้จากการปล้นหลบหนีไป ในปีพุทธศักราช 2368 ผู้ปกครองฮินดูที่ทรงอำนาจแห่งจัมปาได้เข้ารุกรานซานสการ์ จนพินาศย่อยยับ สิ่งที่เลวร้ายที่สุดเกิดขึ้นที่ลาดักคห์ในปีพุทธศักราช 2377 เมื่อราชากุลับ ซิงห์ ผู้ปกครองโดคราแห่งจัมมู ได้แผ่อิทธิพลมาที่ลาดักคห์ โซรวาร์ ซิงห์ คหลูเรีย นายกรัฐมนตรีแห่งคณะรัฐบาลกุลับ ซิงห์ ในกิสหตวาร์ ได้เข้าบุกโจมตีลาดักคห์ถึง 4 ครั้ง ในช่วงระหว่างพุทธศักราช 2377-2382 ชาวลาดักคห์ได้ต่อต้านอย่างเข็มแข็ง และต้อสู่อย่างกล้าหาญในการรบพุ่งหลายครั้ง แต่ในที่สุดก็ต้องพ่ายแพ้ เมื่อประชาชนแห่งหุบเขาสุรุ ก่อการปฏิวัติในปีพุทธศักราช 2379 โซรวาร์ ซิงห์ รีบบุกเข้าอย่างรวดเร็วในที่นั่นด้วยกองทหารม้าของพระองค์ หลังจากปราบกบฏให้สงบราบคาบลงโดยจับผู้ก่อการได้ 13 คน พระองค์ได้กำหนดค่าหัวของกบฏแต่ละคนไว้คนละ 40 รูปี ผู้ก่อการประมาณ 200 คนถูกจับและถูกตัดสินประหารชีวิต
เบื้องหลังเส้นทางสายโลหิตนี้ พระองค์ได้ยกกองทัพมุ่งหน้าเข้าประชิดชายแดนแห่งเลห์ ซึ่งชาวลาดักคห์ได้ก่อการ แต่ต่อมาอีก 2 ปี หลังจากที่ยึดป้อมปราการ กล่าวกันว่าชาตารการห์ โซรวาร์ ซิงห์ สั่งให้ตัดหูและจมูกของนักโทษทุกคนที่ถูกจับได้ ในปีพุทธศักราช 2383 โซรวาร์ ซิงห์ บุกรุกบัลติสถาน ด้วยความทะเยอทะยานเขาบุกรุกทิเบตในปีพุทธศักราช 2384 แต่ในเวลานี้ โดกรัสต่อสู้อย่างเข้มแข็งตีกลับจนทำให้พ่ายแพ้อย่างย่อยยับ ทหารถูกเข่นฆ่าล้มตายเป็นอันมาก โซรวาร์ ซิงห์ถูกยิงตายในวันที่ 14 ธันวาคม 2384 เมื่อถือเอาประโยชน์ตามโอกาสเช่นนี้ กษัตริย์ลาดักคห์ เซปัล นัมกยัล จึงได้ประกาศอิสระภาพตามคำแนะนำของทิเบต อย่างไรก็ตาม ไม่นานนัก โดกรัสก็ตีโต้กลับและบดขยี้พวกก่อการกบฏ กองทัพของโดกรัสยังติดตามชาวทิเบตไปจนถึงประเทศ ในที่สุด โดกรัสและทิเบตก็ทำสนธิสัญญาสงบศึกในวันที่ 24 กันยายน 2385 มีการยืนยันชายแดนตามประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่งระหว่างลาดักคห์และทิเบตและกำหนดเงื่อนไขการไม่แทรกแซงซึ่งกันและกันตามข้อตกลงของแต่ละฝ่าย ดังนั้นจึงมาถึงยุคสุดท้ายแห่งอาณาจักรของพระพุทธศาสนายุคที่ 2 หลังจากที่มีการปกครองอยู่ประมาณ 372
หลังจากสงครามแองโกล-ซิคห์ครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2388 รัฐบาลอังกฤษได้ยอมรับฐานะตำแหน่งของกุลับ ซิงห์แห่งลาดักคห์ อย่างไรก็ตามในขณะที่กระทำการเช่นนั้นในปีพุทธศักราช 2389 อังกฤษได้แยกหุบเขาลาหุลและสปิติออกจากลาดักห์ และเพิ่มการครอบครองของอังกฤษไปที่คันกรา กุลุและมันดี แต่ปัจจุบันลาหุลและสปิติเป็นส่วนหนึ่งของรัฐหิมาจัลประเทศ
ณ ห้วงเวลาหนึ่ง ลาดักคห์เกือบทั้งหมดเป็นชาวพุทธ แต่ปัจจุบันพื้นที่การจิลอยู่ในเขตอิทธิพลของมุสลิม ตามสัมโนประชากรในปีพุทธศักราช 2524 มีชาวพุทธประมาณ 69,706 คน อาศัยอยู่ตามหมู่บ้านในชนบท 64,944 คน และอาศัยอยู่ในเมือง 4,962 คน ดังนั้นพระพุทธศาสนาในลาดักคห์ส่วนใหญ่จึงมีพื้นฐานอยู่ตามหมู่บ้านในชนบท วัดหรือกอมปาที่สำคัญๆ ในลาดักห์คือวัดลาขางที่เลห์,สันการ์ กอมปา ห่างจากเลห์ 3 กิโลเมตร,เฮมิส กอมปา วัดที่ใหญ่ที่สุดมีความศักดิ์สิทธิ์มากที่สุดห่างจากเลห์ประมาณ 45 กิโลเมตรบนถนนสายลาดักคห์-ทิเบตและธิกเชย์และเชย์ กอมปา อยู่ทางเดียวกับเฮมิส กอมปา วัดลามายุรุ ห่างจากเลห์ 96 กิโลเมตรบนถนนสายเลห์-การคิล และวัดอัลซิ ไปทางเดียวกับวัดลามะ-ยุรุ ห่างจากถนนหลวงประมาณ 10 กิโลเมตร วัดที่สำคัญๆ อื่นๆ ในลาดักห์คือลิคิร,สปิตุก,นิมาอุน,สกรา,ผิองค์,สตานะ,สัสปัล,ริซง,ชิมเรย์,มัตฮูและสักเต เพราะมีอาณาเขตอยู่ใกล้กับทิเบต และมีการติดต่อสัมพันธ์กับทิเบตอย่างใกล้ชิดมากกว่าอินเดีย ลาดักคห์จึงนับถือพระพุทธศาสนาตามแบบทิเบตซึ่งเรียกว่าลัทธิลามะ นิกายลามะทั้งสี่นิกายในทิเบตก็ได้แพร่หลายในลาดักคห์ด้วย นิกายเหล่านี้คือนยิงมาปะ, การกยุดปะ, ศากยปะและเกลุกปะ
ทางด้านกอมปาที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในลาดักคห์ เมื่อเดินทางเข้าสู่หมู่บ้านมักจะได้ยินเสียงหัวเราะอย่างร่าเริงเบิกบานใจ มนตร์มหายานที่มีชื่อเสียงคือ “โอม มณี ปัทเม ฮูม” (ขอให้พวกเราเป็นเจ้าของดอกบัววัชระ) เกือบทุกแห่งจะได้รับการสาธยายโดยผู้ศรัทธาชาวพุทธ ไม่เพียงแต่เท่านั้น ยังได้รับการเขียนบนแผ่นผ้าหรือเขียนจารึกไว้บนแผ่นหิน และนำไปไว้ในสถานที่ที่คนส่วนมากสามารถมองเห็นและอ่านออกเสียงได้ เช่นอนุสาวรีย์ที่เรียกว่า “ผนังมณี”และมองเห็นได้ในแทบทุกแห่งใกล้หมู่บ้าน,บนทางผ่าน(ด่าน),ใกล้ป้อมปราการ,ฝั่งแม่น้ำ ถึงแม้พระพุทธศาสนาที่ชาวลาดักคห์ถือปฏิบัติจะเป็นเรื่องของพิธีกรรมมากกว่า แต่ก็มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนส่วนมาก
โดยธรรมชาติแล้วชาวลาดักคห์เป็นคนซื่อสัตย์ มีเมตตา สุภาพอ่อนโยน และมีมิตรไมตรี มหาบัณฑิตราหุล สันกฤตยายัน นักวิชาการและนักสำรวจที่ยิ่งใหญ่ชาวพุทธ ได้เดินทางไปเยี่ยมลาดักคห์ในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม พุทธศักราช 2476 เขาก็ได้รับความยินดีอย่างท่วมท้นเหลือคณนา เพราะความสุภาพอ่อนโยนและความเมตตาในการต้อนรับในขณะที่พักอยู่ที่เลห์ ต่อมามหาบัณฑิตราหุลได้เขียนหนังสือเล่มเล็กๆ ขึ้น 3 เล่มเป็นภาษาทิเบต เพื่อประโยชน์ของเด็กๆ ชาวลาดักคห์ เป็นการบรรยายถึงการเดินทางจาริกแสวงบุญสู่ลาดักคห์ในชื่อว่า “เมริ ลาดักคห์ ยาตรา” ได้พูดถึงความเลื่อมใสศรัทธาที่ชาวลาดักคห์มีต่อพระพุทธศาสนาไว้อย่างสูงส่ง
มิเชล พิสเซล นักวิชาการชาวฝรั่งเศส ผู้ที่ใช้เวลาถึงสองสัปดาห์ในซาสการ์ในปีพุทธศักราช 2521 กล่าวถึงสภาวะแห่งความอดทน,ความเมตตา,ความกรุณาอันสูงส่งของประชาชนชาวลาดักคห์ไว้ว่า “นับเป็นความลี้ลับมหัศจรรย์ และความชอบธรรมด้วย ที่ได้มีความสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนาในทิเบต แม้จะเป็นเพียงความจริงในทางพิธีกรรมเท่านั้น โดยทั่วไปชาวพุทธในหิมาลัยได้รักษาลักษณะคำสอนของพระพุทธศาสนาไว้ในสภาพเดิมมากที่สุด รวมทั้งความอดทน,ความเมตตาและการใช้ทางสายกลาง มีวิธีการเขียนและพูดถึงศาสนาแห่งโลกในเรื่องของศาสนาแบบดั้งเดิม และพิธีกรรมให้มากไว้ แต่พูดถึงการแผ่ซ่านไปยังคนทั่วไปอย่างที่เป็นอยู่จริงนั้นเพียงเล็กน้อย”
แน่นอนทีเดียวย่อมมีความแตกต่างที่ควรพิจารณาระหว่างทฤษฎีและการปฏิบัติเสมอ ในขณะที่หลักทฤษฎีของลัทธิลามะมีความสลับซับซ้อนมาก มีข้อเท็จจริงที่กระจายอยู่ตามวรรณกรรม มีเทพเจ้าเป็นร้อยองค์พันองค์และพิธีกรรมที่พิศดารอีกมากมาย แต่หลักแห่งขันติธรรม,ความเมตตากรุณา พวกเขาก็ยังนำมาปฏิบัติโดยทั่วไป นับเป็นเครื่องเตือนสติที่ยิ่งใหญ่ ที่จะเห็นพลเมืองแห่งหิมาลัยที่สับสนวุ่นวายทางธรรมชาติ ผู้ซึ่งปกป้องประเทศโดยธรรมชาติและมีจิตใจที่แข็งกระด้าง ได้ลดความรุนแรงลง ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้พวกเขากลายเป็นผู้มีความอดทนและเมตตา แม้แต่ต่อผู้ที่มีความเห็นขัดแย้ง,สัตว์,แมลงที่มาเผชิญหน้า”