เว็บมาสเตอร์แม้จะเป็นพระธรรมทูต(ธรรมยุต)แต่ยังไม่เคยเดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกาเลย แต่คงอีกไม่นานมีแนวโน้มว่าคงจะได้ไปเยือนสักครั้ง มีเพื่อนพระภิกษุที่อยู่จำพรรษาที่ประเทศอเมริกาส่งสภาพพื้นที่ของรัฐหนึ่งในอเมริกามาให้ พระครูสาสนกิจวิเทศ(บุญเนตร)ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดอลาสก้าญาณวราราม เดินทางไปปฏิบัติศาสนากิจที่ประเทศอเมริกานานเกือบยี่สิบปีแล้ว พอประกาศจะมีการประชุมพระธรรมทูตทั่วโลกจากสี่ทวีป ท่านแจ้งความจำนงว่าอยากกลับประเทศไทย อย่างน้อยก็ได้มาเยี่ยมบ้าน พระธรรมทูตในต่างประเทศในสายตาของพระสงฆ์ที่อยู่ประเทศไทยกับพระสงฆ์ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นพระธรรมทูตจริงๆอาจจะมีมุมมองที่แตกต่างกัน
วันนี้ได้นำเสนอเรื่อง “รายงานการปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศของพระธรรมทูต (ธรรมยุต)” ของวัดอลาสก้าญาณวราราม ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเรื่องแรก ว่ามีสภาพเป็นอย่างไร ส่วนวัดอื่นๆในประเทสอื่นๆจะนำเสนอเป็นลำดับไป พระธรรมทูตท่านใดที่จะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการปฎิบัติศาสนกิจของพระธรรมทูตในต่างประเทศ ส่งเรื่องและภาพมาร่วมเผยแผ่ได้เลย ข้อมูลโดยละเอียดดูได้จาก www.tidga.net ซึ่งเปิดเป็นเว็บไซต์สำหรับพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธรรมยุต) แต่วันนี้ขออนุญาตนำเสนอทางเว็บไซต์ไซเบอร์วนารามดอทเน็ต
รายงานการปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศของพระธรรมทูต (ธรรมยุต) ประจำปี 2554
1. ชื่อวัด (ภาษาไทย) วัดอลาสก้าญาณวราราม
(ภาษาอังกฤษ) WAT ALASKA YANNA VARARAM
สถานที่ตั้ง 2309 “D” Street เมือง Anchorage, มลรัฐ Alaska รหัสไปรษณีย์ 99503
โทรศัพท์ (907) 272-3699 อีเมลล์
2. ประวัติการก่อตั้งวัดอลาสก้าญาณวราราม
เมื่อเดือนมิถุนายน พุทธศักราช 2539 พระเดชพระคุณพระญาณวโรดม (สมเด็จพระญาณวโรดม) เลขาธิการคณะธรรมยุต และกรรมการมหาเถรสมาคม ได้เดินทางไปเป็นประธานการประชุมสามัญประจำปีของคณะสงฆ์ธรรมยุตในประเทศสหรัฐอเมริกา วัดพุทธรัตนาราม เมืองเคลเลอร์ รัฐเท็กซัส ได้มาเยี่ยมชาวพุทธรัฐอลาสก้า มีพระอมรโมลี (พระเทพวรคุณ) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ พระครูวิเทศศาสนกิจ (พระนิเทศศาสนคุณ) เจ้าอาวาสวัดธรรมบูชา รัฐเท็กซัส รองประธานกรรมการคณะสงฆ์ธรรมยุตในสหรัฐอเมริกา และพระคำจันทร์ โชติญาโณ วัดธรรมบูชา เป็นพระอนุจรได้เห็นภูมิประเทศของรัฐอลาสก้า เป็นสถานที่เหมาะแก่การสร้างวัดเพื่อเป็นที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนใกล้ขั้วโลกเหนือ พระนิเทศศาสนคุณ ได้ประชุมญาติโยมแล้วนำเรื่องเข้าปรึกษาคณะกรรมการสงฆ์ธรรมยุตในสหรัฐ อเมริกา มีความเห็นว่าควรจะสร้างวัดขึ้นเพื่อถวายเป็นอนุสรณ์ แด่พระเดชพระคุณพระญาณวโรดม (สมเด็จพระญาณวโรดม) ในโอกาสที่ท่านมีอายุครบ 80 ปี เมื่อปี พ. ศ. 2540
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้มีเมตตาต่อคณะสงฆ์ธรรมยุตในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทุ่มเทเอาใจใส่งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศมาโดยตลอด พระนิเทศศาสนคุณ และชาวพุทธเมืองแองโคเรจ รัฐอลาสก้า ได้จัดสรรหาสถานที่ตั้งวัดฯ คณะสงฆ์ธรรมยุตในอเมริกาและพระครูพุทธมนต์ปรีชา (พระวิทูรธรรมมาภรณ์) เจ้าอาวาสวัดแคโรไลนาพุทธจักรวนาราม ได้ส่งพระมหาบุญเนตร ขนฺติพโล (พระครูสาสนกิจวิเทศ) มารักษาการเจ้าอาวาสและได้นิมนต์พระสงฆ์อีก 2 รูป รวมเป็น 3 รูป เข้ามาอยู่จำพรรษา
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ. ศ. 2539 ค.ศ. 1996 ได้ทำสัญญาชื้อที่ 41,850 สแควร์ฟุต เท่ากับ 0.96 เอเคอร์ พร้อมอาคาร 2 หลัง สภาพเก่าอายุประมาณได้ 55 ปี ในราคา $ 250,000.00 (250,000.00 เหรียญดอลลาร์)
วันที่ 19 พฤษภาคม 2540 พระครูวิเทศศาสนกิจ (พระนิเทศศาสนคุณ) วัดธรรมบูชา รัฐเท็กซัส ได้รับบริจาคปัจจัยจำนวน $ 45,000.00 จาก คุณสมศักดิ์ ชูจงกล มลรัฐ ชิคาโก ชึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่าน เป็นทุนใช้จ่ายปรับปรุงวัดและสำรองจ่ายในการประชุมคณะสงฆ์ธรรมยุตในสหรัฐอเมริกา
พระราชวชิรโสภณ (พระเทพสารมุณี) ประธานที่ปรึกษา เป็นผู้แทนคณะสงฆ์ธรรมยุต และคณะญาติโยมชาวพุทธในสหรัฐอเมริกา อ่านถวายรายงานเปิดป้ายวัด และได้กล่าวขอโอกาสน้อมถวายวัด อลาสก้าญาณวราราม ให้เป็นอนุสรณ์สมัยอันเป็นอุดมมงคลฤกษ์ ที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณวโรดม มีอายุครบ 80 พรรษา ให้อยู่ในการอุปถัมภ์ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เพื่อเป็นศิริมงคลและเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาสืบต่อไป
ปี พ. ศ. 2540 วัดอลาสก้าญาณวราราม รับเป็นเจ้าภาพประชุมประจำปีคณะสงฆ์ธรรมยุตในสหรัฐอเมริกา ในที่ประชุมคณะสงฆ์ฯครั้งนั้น โดยมีพระอมรมุนี เป็นประธานคณะสงฆ์ธรรมยุตในสหรัฐ อเมริกา ได้แต่งตั้งพระมหาบุญเนตร ขนฺติพโล เป็นเจ้าอาวาสวัดอลาสก้าญาณวราราม มีเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณวโรดม เป็นประธานที่ประชุมคณะ สงฆ์ธรรมยุตในสหรัฐอเมริกา มีเมตตามอบใบตราตั้งเจ้าอาวาสให้ พระมหาบุญเนตร ขนฺติพโล เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ. ศ. 2540 เวลา 16.39. น
เมื่อปี พ. ศ. 2542 ค. ศ.1999 ได้มีการต่อเติมจากอาคารหลังเก่าให้ชื่อว่า “วิหารมารวิชัย” กว้าง 16X48 ฟุต ใช้งบประมาณก่อสร้าง 23,263.54 เหรียญฯ สาเหตุสำคัญคือสถานที่แคบไม่เพียงพอต่อการประกอบกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
เมื่อเดือนมิถุนายน พ. ศ. 2542 พระเดชพระคุณพระเทพวราภรณ์ (พระธรรมเมธาจารย์) วัดโสมนัสวรวิหาร กรุงเทพฯ พร้อมศิษยานุศิษย์จากประเทศไทยมาถวายผ้าป่าเป็นทุนเพื่อบำรุงวัด จำนวนเงินถึง 2,000.00 เหรียญฯ
ปี พ.ศ. 2548 ค.ศ. 2005 วัดอลาสก้าญาณวราราม รับเป็นเจ้าภาพประชุมประจำปีคณะสงฆ์ธรรมยุตในสหรัฐอเมริกา ในที่ประชุมคณะสงฆ์ฯ ครั้งนั้น โดยมีพระราชสิทธิโมลี เป็นประธานคณะสงฆ์ธรรมยุตในอเมริกา และมีเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณวโรดม เป็นประธานในที่ประชุมคณะสงฆ์ธรรมยุตในสหรัฐอเมริกา
วันที่ 8 มิถุนายน พ. ศ. 2549 ค. ศ. 2006 ได้รับความอนุเคราะห์จากสำนักงานพระพุทธ ศาสนาแห่งชาติ จำนวนเงิน $ 50,643.16 โดยผ่านเช็ค Bank of America ของสถานเอกอัครราชทูตฯ D.C. เลขที่ 4526 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 จำนวนเงินดังกล่าวนี้ ทางวัดได้นำไปจ่ายหนี้ค่าที่ดินวัดที่ยังอยู่ให้หมดเรียบร้อยแล้ว (ขณะนี้ทางวัดไม่มีหนี้จากกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น)
วันที่ 14 ธันวาคม พ. ศ. 2549 ค. ศ. 2006 ได้รับความอนุเคราะห์จากสำนักงานพระพุทธ ศาสนาแห่งชาติ จำนวนเงิน $ 3,135.49 โดยผ่านเช็ค Bank of America ของสถานเอกอัครราชทูตฯ D.C. เลขที่ 5652 ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ค.ศ. 2006 จำนวนเงินดังกล่าวนี้ทางวัดได้ใช้จ่ายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป
3. จำนวนพระธรรมทูตที่อยู่ปฏิบัติศาสนกิจ จำนวน 3 รูป ดังนี้
ชื่อ พระครูสาสนกิจวิเทศ สังกัดวัด โพธิ์สมภรณ์ จ. อุดรธานี
ชื่อ พระนิรันดร์ สุจิตฺโต สังกัดวัด คำงูเหลือม จ. อำนาจเจริญ
ชื่อ พระมหาอามร ปญฺญาวโร สังกัดวัด พุทธบูชา จ. กรุงเทพมหานคร
4. ศาสนสมบัติประกอบด้วย ที่ดิน 41,850 สแควร์ฟุต เท่ากับ 0.96 เอเคอร์
สิ่งปลูกสร้างประกอบด้วย อาคาร 2 หลัง สภาพเก่าอายุประมาณได้ 59 ปี
5. การปฏิบัติศาสนกิจของวัดประกอบด้วย
5.1 ด้านการเผยแผ่
จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ในวันสำคัญของชาติและในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา มีการแสดงพระธรรมเทศนา ตลอดจนถึงการปฏิบัติธรรมด้วย
5.2 ด้านการศึกษา
เปิดสอนหลักสูตรภาษาไทยภาคฤดูร้อนแก่เยาวชนไทยและชาวต่างชาติ และสนับสนุนพระภิกษุในด้านการพัฒนาทักษะด้านภาษา(อังกฤษ) ให้เกิดความชำนาญในการใช้งาน
5.3 ด้านการสาธารณูปการ และสังคมสงเคราะห์
จัดตั้งกองทุนเพื่อสงเคราะห์ชาวพุทธในยามที่สมาชิกเสียชีวิต โดยทางวัดเป็นศูนย์กลางในการประสานงานและเป็นที่ตั้งของกองทุน โดยขึ้นทะเบียนตามกฎหมายของรัฐว่า “สมาคมชาวพุทธรัฐอลาสก้า”
5.4 ด้านอื่นๆ
สร้างความสามัคคีระหว่างเพื่อนสหธรรมิกวัดอื่นๆ และชาวต่างชาติที่เป็นชาวพุทธและต่างศาสนา ที่อยู่ในมลรัฐอลาสก้า และต่างรัฐตามโอกาส
6. คณะศรัทธาผู้ให้การอุปถัมภ์วัดอลาสก้าญาณวราราม
6.1 สมาชิกผู้ให้การอุปถัมภ์จากต่างรัฐในอเมริกา มี 150 ครอบครัว
6.2 สมาชิกผู้ให้การอุปถัมภ์ ในรัฐอลาสก้า อเมริกา มี 200 ครอบครัว
7. ข้อเสนอแนะ ที่ทางวัดอยากให้มี
ส่วนกลางหรือสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ เมื่อมีการอบรมแต่ละปีขอให้เน้นหลักภาษาอังกฤษ ด้านการพูดและการเขียนเป็นสำคัญประการแรก เพราะการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศมีความจำเป็นมาก ส่วนความรู้ทางพระพุทธศาสนาและพระธรรมวินัยนั้น พระภิกษุสงฆ์ท่านศึกษามาดีแล้ว และอีกอย่างพระธรรมทูตต่างประเทศ โดยเฉพาะที่ท่านปฏิบัติศาสนกิจอยู่ต่างประเทศ ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป หรือพระธรรมทูตที่มีผลงานดีในสังกัดที่ปฏิบัติอยู่นั้น สมควรถวายตำแหน่งพระสัญญาบัตรแด่ท่านก็จะเป็นการดีอย่างมากๆ
พระครูสาสนกิจวิเทศ(บุญเนตร)
เจ้าอาวาส/ประธานสงฆ์
วัดอลาสก้าญาณวราราม
รายงานผลการปฏิบัติงานของพระธรรมทูต ประจำปีพุทธศักราช 2554
พระครูสาสนกิจวิเทศ อายุ 55 พรรษา 33 วิทยฐานะ น.ธ. เอก ป.ธ. 3 ปฏิบัติศาสนกิจ ที่วัดอลาสก้าญาณวราราม เมือง แองโคเรจ รัฐ อลาสก้า ประเทศสหรัฐอเมริกา
ตำแหน่งหน้าที่การงาน เป็นพระธรรมทูต/เจ้าอาวาส และประธานกรรมการบริหารวัดฯ เผยแผ่หลักพระธรรมวินัย อันเป็นคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่ด้วย 3 รูป คือ
1. พระครูสาสนกิจวิเทศ อายุ 55 พรรษา 33 วิทยฐานะ น.ธ. เอก ป.ธ. 3 ตำแหน่ง ธรรมทูต
2. พระนิรันดร์ สุจิตฺโต อายุ 59 พรรา 29 วิทยฐานะ น.ธ. เอก ตำแหน่ง ผู้ดูงานต่างประเทศ
3.พระมหาอามร ปญฺญษวโร อายุ 37 พรรษา 17 วิทยฐานะ น.ธ. เอก ป.ธ. 3 ตำแหน่ง ธรรมทูต
ผลการปฏิบัติงาน ในรอบปีที่ผ่านมา
1. ด้านการเผยแผ่ แสดงธรรม/อบรมสั่งสอนประจำวัน และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแก่ชาวพุทธในวัดและนอกวัดตามที่มีกิจนิมนต์
2. ด้านการศึกษา สอนภาษาไทย เป็นรายบุคคลแก่ชาวอเมริกัน ผู้ที่สนใจ
3. ด้านการปกครอง เอาพระธรรมวินัย เป็นหลัก
4. ด้านการก่อสร้าง ปรับปรุงซ่อมแซมในส่วนที่ชำรุด
5. ด้านศาสนสงเคราะห์ มีการนำปฏิบัติและแสดงธรรมร่วมกับชาวพุทธฝ่ายมหายาน
6. ด้านกิจวัตรประจำวัน มีทำวัตร เช้า - ค่ำ และทำกัมมัฏฐาน ด้วยอานาปานสติ
7. ด้านอื่น ๆ ประกอบพิธีในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพื่อหารายได้ทำกองทุนสร้างศาลาอุโบสถ
ปัญหาในการปฏิบัติงาน ปัญหาใหญ่คือ อากาศหนาว สโนว์ตก ญาติโยมมาทำบุญและปฎิบัติธรรมและฟัง ธรรมเทศนาที่วัดไม่สดวกเท่าที่ควร เพราะพื้นที่และถนนเต็มไปด้วยน้ำแข็งตลอด 6 เดือน คือตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงเดือนมีนาคม เป็นเช่นนี้ทุกๆ ปี และอุปกรณ์ในการเผยแผ่ เช่นหนังสือธรรมะที่เป็นภาษาไทย และภาษาอังฤกษ
จากท่านเจ้าคุณ พระภาวนาวิธารปรีชา
ผลดี คือวัดอยู่ในการดูแลของคณะสงฆ์ธรรมยุตในสหรัฐอเมริกา และเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณวโรดม เป็นผู้อุปถัมภ์ มีพระเดชพระคุณ พระอมรมุนี (สมัย) และพระนิเทศศาสนคุณ (สมาน) ได้ไปประชุมญาติโยมแล้ว ได้ทำความเข้าใจในการสร้างวัดฯ และพระวิธูรธรรมาภรณ์ รองประธานคณะสงฆ์ธรรมยุตในสหรัฐอเมริกา ได้มี เมตตาจิตออกหนังสือประกาศให้วัดคณะสงฆ์ธรรมยุต และชาวพุทธทั้งหลายในสหรัฐอเมริกา ได้รับทราบโดยทั่ว กันเป็นอย่างดี ถึงจะมีอุปสรรค์ในการทำงานอยู่บ้าง แต่คณะพระธรรมทูต ก็จะพยายามปรับปรุง แก้ไขข้อบก พร่องต่างๆ และจะทำการพัฒนาในส่วนที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป ตามกำลังความสามารถ เพื่อให้มวลชน ทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในเมืองแองโคเรช มลรัฐ อลาสก้า ได้เข้าใจหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างซาบซึ้ง อันจะ เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนา และประเทศชาติในอนาคตต่อไป
กิจกรรมพิเศษ โครงการสร้างศาลลา-อุโบสถ
ศาลาอุโบสถ กว้าง 36x50 ฟุต จัดเป็นชั้นเดียว แยกเป็น 3 มุข คือ
มุขที่ 1 มีห้องโถง ขนาด 36x50 ฟุต ประดิษฐานพระพุทธประธาน และเป็นสถานที่บำเพ็ญบุญกุศลในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
มุขที่ 2 ด้านทิศตะวันออก กว้าง 15x20 ฟุต แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 กว้าง 8x15 ฟุต สำหรับประตู และทางเดิน
ส่วนที่ 2 กว้าง 12x15 ฟุต สำหรับห้องสมุด
มุขที่ 3 ด้านทิศใต้ 15x20 ฟุต แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 กว้าง 8x15 ฟุต สำหรับประตู และทางเดิน
ส่วนที่ 2 กว้าง 12x15 ฟุต สำหรับทำห้องน้ำชาย-หญิง แบ่งเป็น 2 ห้อง คือ
1 ห้องน้ำชาย กว้าง 12x6 ฟุต แบ่งเป็น 2 ห้อง คือ ห้องอาบน้ำ และห้องสุขา
2 ห้องน้ำหญิง กว้าง 12x9 ฟุต แบ่งเป็น 3 ห้อง คือ ห้องอาบน้ำ 1 ห้องๆสุขา 2 ห้อง
ประเมินราคาก่อสร้างศาลา-อุโบสถ โดยประมาณ $ 350,000.00 จะประกอบพิธีวาง ศิลาฤกษ์ ประมาณเดือนมิถุนายน ปี พ. ศ. 2555/2012 และหลังประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์แล้ว เริ่มทำการก่อสร้างต่อไป
จึงประกาศบอกบุญมายังพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ได้ร่วมทำบุญตามกำลังศรัทธา ณ โอกาสนี้
หลักการและเหตุผล
สร้างศาลา-อุโบสถ ด้วยขนาดอาคารกว้าง 36X50 ฟุต ใช้งบประมาณในการก่อสร้างถึง 350,000.00 เหรียญ ฯ สหรัฐอเมริก เพื่อเป็นสถานที่สำหรับประดิษฐาน พระพุทธปฏิมาประธานองค์ใหญ่ที่หล่อใหม่ตามที่ ได้แจ้งให้ทราบแล้วนั้น
วัตถุประสงค์
1 เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติตามวินัยกรรมของพระสงฆ์ และประกอบกิจกรรมบำเพ็ญบุญของชาวพุทธ
2 เพื่อเป็นสถานที่ประชุมของสมาคมต่าง ๆ เช่น สมาคมของไทย-ลาว เป็นต้น
3 เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาภาษาไทย/วัฒนธรรมไทยของเยาวชนชาวพุทธในอลาสก้า
งบประมาณโครงการ
1 จากเงินกองทุนสร้างศาลา-อุโบสถวัดอลาสก้าญาณวราราม และที่ประเทศไทยบางส่วน
2 จากคณะศรัทธาชาวพุทธรัฐอลาสก้า และต่างรัฐ ในสหรัฐอเมริกา
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1 เป็นสถานที่สง่าเชิดหน้าชูตาของชนชาวพุทธในต่างแดน
2 เยาวชนชาวพุทธได้รับการศึกษาภาษาไทย และวัฒนะธรรมไทย
3 พระสงฆ์ได้กระสังฆกรรมตามพระธรรมวินัย และที่บำเพ็ญบุญกุศลของชาวพุทธทั้งหลาย
ปัญหาอุปสรรค
1 งบประมาณที่ได้รับจากแหล่งงบประมาณดังกล่าวนั้นไม่เพียงพอกับความต้องการ
2 ทางวัดต้องหาเงินเพื่อจ่ายประจำเดือนทุก ๆ เดือน(ค่าน้ำประป่า/ไฟฟ้า/แก๊ส/ขยะ/ประกันรถ/วัดและอื่นๆ)
3 พระสงฆ์ที่อยู่ต้องทนต่อความหนาวของสโนว์ และลำบากต่อการไปมาในเมื่อมีธุระ
แนวทางแก้ปัญหา
1. ชี้แจงให้ประธานกรรมการและกรรมการคณะสงฆ์ธรรมยุต ในสหรัฐอเมริกา ชึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผู้รับผิดชอบที่จะต้องส่งเสริมและอุดหนุน
2. เสนอรายงานให้ทางกรมการศาสนาได้โปรดรับทราบ เพื่อพิจารณาถวายความอุปถัมภ์
3. แจ้งข่าวบอกบุญคณะศรัทธาญาติโยมชาวพุทธในสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมบริจาค
ประวัติรัฐอลาสก้า รัฐที่เป็นพรมแดนสุดขั้วโลกเหนือ
อลาสก้า เป็นชื่อที่คุ้นหูอยู่ไม่น้อยสำรับคนไทย ถ้าเอ่ยถึงชื่อนี้แล้วคนไทยเราอาจจะนึกถึงดินแดนสุดขั้วโลกเหนือที่เย็น มีสีขาวโพลปกคลุมไปด้วยหิมะ มีคนเผ่าเอสกิโมแต่งตัวเทอะทะอาศัยอยู่ในกระท่อมน้ำแข็ง เลี้ยงชีพด้วยการเจาะน้ำแข็งตกปลาเป็นอาหาร มีรถหมาเป็นพาหะเดินทางเป็นแน่แท้ แม้ผู้เขียนก่อนมาที่นี่ก็คิดว่าเป็นเช่นนั้น จนเมื่อมาถึงอลาสก้า ดินแดนที่อยุ่ในความฝันแห่งนี้แล้ว จึงได้รู้ว่า อลาสก้านั้น มีอะไรมากมายเกินกว่าที่เราคิด ที่นี่จึงได้ถูกขนานนามว่า อลาสก้า พรมแดนสุดขั้วโลกเหนือ
คำว่า Alaska "อลาสก้า" เป็นชื่อที่มาจาก คำว่า Alyeska "อัลแยสก้า" จากภาษา Aleut ซึ่งมีความหมายว่า "ดินแดนที่ยิ่งใหญ่" อลาสก้า ได้รับการยกฐานะเป็นรัฐที่ 49 ของประเทศ สหรัฐอเมริก้า ในวันที่ 3 มกราคม ค. ศ. 1959 ในช่วงที่ท่าน Dewight D. Eisenhower เป็นประธานาธิบดี แต่กว่าที่อลาสก้าจะได้เป็นส่วนหนึ่งของอเมริกานั้นมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน เพราะถ้านับจากวันที่ ท่าน William H. Seward ได้ทำการซื้อจากประเทศรัสเซีย ใน ปี ค. ศ. 1867
ด้วยเงินแค่จำนวน 7.2 ล้านดอลล่า กับผืนดินอันกว้างใหญ่แห่งนี้ถือว่าคุ้มสุดคุ้มเลยทีเดียว นับจากวันที่ซื่อมาถึงปัจจุบันปี ค. ศ. 2011 ก็นับได้ 144 ปีพอดี
ขอพาท่านผู้อ่านย้อนศึกษาประวัติศาสตร์สักเล็กน้อย
อลาสก้า ถ้าจะสืบสาวราวเรื่องแล้ว ต้องตั้งจิตย้อนยุคไปศึกษาถึงช่วงสุดท้ายของยุค Upper Paleolithic Period ประมาณกว่า 12,000 ก่อน ค. ศ. โน้น นานซะจนเราคิดไม่ออกว่าเป็นยุคไหน แต่ตามที่นักประวัติศาสตร์ได้ศึกษามานั้น กล่าว่าชนเผ่าที่อาศัยบริเวณนี้ในยุคแรกๆ เป็นพวก Asiatic คือ พวกอพยพจากบริเวณไซบีเรีย ซึ่งอยู่บริเวณตอนใต้ของรัสเซีย ได้ข้ามฝั่งสะพานบก Bering Land Bridge อันเป็นช่วงที่แผ่นดินเชื่อมต่อกันระหว่าง North Asia กับ Alaska ซึ่งปัจจุบันน้ำทะเลได้ท่วมบริเวณนี้หมดแล้ว แต่มีก็ช่องแคบห่างแค่ร้อยกิโลเมตรเท่านั้น พวกที่อพยพเข้ามาได้อาศัยตามหมู่เกาะตามชายฝั่งด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอลาสก้า และได้ตั้งรากฐานสืบบรรพบุรุษกันต่อมาเรื่อยๆ ซึ่งหน้าตาของคนท้องถิ่นที่นี่นั้น ก็ไม่ต่างอะไรกับชาวเอเซียเรามากนัก หรืออาจจะเป็นเซื้อสายเดียวกันด้วยซ้ำไป
ต่อมาคนท้องถิ่นที่นี่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ Aleutiaus. Eskimos Athabaksan. Haida. Tsimshian. Yuits และ Inuits ซึ่งยังแยกเป็นหลายชนเผ่า ตามภูมิภาค เช่น กลุ่มพวก เอสกิโม และกลุ่มอินเดียนอาศัยอยู่บริเวณตอนเหนือของอลาสก้า อยู่ในกระท่อมที่ทำด้วยน้ำแข็ง เรียกว่า Igloo และใช้รถหมาที่เรียกว่า Dogsleds เป็นพาหนะ มีการเลี้ยงชีพด้วยการล่าสัตว์ เช่น วาฬ สัตว์พวกวอลรัส รูปร่างคล้ายแมวน้ำมีเขี้ยวคล้ายงาช้าง สิงโตทะเล แมวน้ำ โดยเฉพาะวาฬนั้น เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของชนเผ่าเหล่านี้มากเพราะสามารถนำมาแยกเป็นอาหาร ทำเสื้อกันหนาว ทำเครื่องมือใช้สอยได้ด้วย ส่วนพวกทางทิศใด้แถบชายฝั่งเป็นที่อยู่ของชนเผ่าที่มีความชำนาญในการเดินเรือ การหาปลา ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มชาว Tlingit. Tsminshian, Haida, Kwakiutt. Nootka, Chinook, Salish, Makah and Tillamook เป็นต้น(แต่ละชื่อก็จำยากทั้งนั้น) ซึ่งแม้ปัจจุบันก็มีคนท้องถิ่นหลายเผ่ากระจัดกระจ่ายอยู่ตามเกาะ ตามเมืองต่างๆ ภาษาที่ใช้เฉพาะของคนท้องถิ่นก้มีถึง 20 ภาษาด้วยกัน ไม่นับรวมภาษาอังกฤษและภาษาอื่นๆ ที่คนในยุคปัจจุบันได้สื่อสารกัน เพราะถ้านับรวมหมดมีภาษาที่พูดในอลาสก้าถึง 90 ภาษา ด้วยกัน เป็นข้อมูลจากหนังสือการท่องเที่ยวของอลาสก้าสำรวจไว้ ถือได้ว่า แม้ในปัจจุบัน อลาสก้า ก็ยังเป็นดินแดนที่คนทยอยอพยพมาอยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะชาวเอเชียนั้นมีมากขึ้น เช่น คนฟิลิปปินส์ เกาหลี จีน ญีปุ่น ม้ง ลาว เขมร ไทย และพากแถบลาตินอเมริกาอีกก็มาก
ยุคล่าอาณานิคม
ในศตวรรษที่ 8 เป็นยุคของการล่าอาณานิคมของพวกยุโรป โดยมีชาวอังกฤษ ชาวฝรั่งเศส สเปน และจากนั้นก็เป็นชาวรัสเชีย ที่เข้ามาบุกเบิกอลาสก้า โดยรัสเชียได้ส่ง Vitus Bering ซึ่งเป็นคนเดนมาร์กแต่ทำงานกองทหารเรือของรัสเซีย มาเป็นชุดแรกที่บุกดินแดนอลาสก้าในปี ค. ศ. 1925 ต่อ มา Vitus Bering เสียชีวิตในระหว่างเดินทางใกล้ทางใกล้ช่องแคบรัสเซียกับอลาสก้า จึงได้เรียกช่องแคบนี้ว่า Bering ในปี ค. ศ. 1744 อลาสก้าก็ตกเป็นอาณานิคมของรัสเซีย โดยที่รัสเซียเข้ามาล่าแมวน้ำ นาก และสัตว์ต่างๆ เพื่อนำหนังขนสัตว์ไปทำเสื้อผ้าและเครื่องประดับต่างๆ หลังจากรัสเซียได้ทำการบุกเบิกดินแดนแห่งนี้มานานพอสมควรและเห็นว่าพวกสัตว์ที่นำมาทำเสื้อขนสัตว์ก็ร่อยหรอลงบวกกับการค้าขายที่ไม่ดี และพื้นที่ส่วนใหญ่ก็ปกคลุ่มด้วยน้ำแข็งที่ดูแล้วไม่มีค่าอะไร จึงได้ขายให้กับอเมริกาในเวลาต่อมา
ในปี ค. ศ. 1867 ช่วงของประธานาธิบดี Andrew Johnson ได้ทำการตกลงซื้ออลาสก้า จากรัสเซีย โดยอเมริกามี William H Seward เป็นผู้ติดต่อซื้อ ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่เมือง Sitka ในวันที่ 18 ตุลาคม ค. ศ. 1867 และชาวอลาสก้าจะถือวันนี้เป็นวัน Alaska day และอีก 92 ปีต่อมาจึงได้ยกฐานะของอลาสก้าเป้นรัฐที่ 49 ของอเมริกา ดังกล่าว
ภูมิภาคของอลาสก้า
กับพื้นที่อันยิ่งใหญ่มโหฬารนี้เทียบกับราคาที่ซื้อแล้วถูกมาก ยิ่งต่อมาอลาสก้า ได้เป็นแหล่งที่อาศัยของสัตว์ทะเล พวกฝูงวาฬ ฝูงปลาเซลมอน ยิ่งมีการค้นพบแหล่งทองคำ และสุดท้ายได้ค้นพบสมบัติอันล้ำค่า นั้นคือ น้ำมัน ยิ่งทำให้รัสเซียเสียดายมากในภายหลัง
พื้นที่ของอลาสก้าอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้ แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามภูมิภาคได้ 4 ส่วน คือ
1. South Central Alaska: คือบริเวณแถบชายฝั่งทางทิศใต้ เป็นส่วนที่มีประชากรอาศัยอยู่มากที่สุด มีเมืองใหญ่เช่นเมือง Anchorage, Palmer, Wasilla โดยเฉพาะเมืองแองโคเรจนั้นเป็นเมืองศูนย์กลางด้านคมนาคม การติดต่อการค้าขาย การท่องเที่ยว การศึกษา เพราะที่นี้ มีทั้งสนามบินนานาชาติ ท่าเรือ ถนนเชื่อมต่อที่ต่างๆ การจะเดินทางมาที่อลาสก้าจึงต้องมาตั้งต้นที่นี่ก่อน
2. Southeast Alaska: คือบริเวณตามชายฝังทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอลาสก้าอยู่ใกล้อเมริกาแผ่นดินใหญ่ที่สุด เป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของอลาสก้า คือเมือง Juneau (จูโน) พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเกาะแก่ง มีป่าดงดิบ มีธารน้ำแข็งจำนวนมาก เป็นแหล่งตกปลา และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ
3. Alaska Interior: คือบริเวณใจกลางของอลาสก้า มีเมืองสำคัญคือ เมือง Fairbanks : เป็นจุดศูนย์กลางมีแม่น้ำสำคัญสองสายไหลผ่านคือ แม่น้ำ Yukon และ Kuskokwim เมือง Fairbanks ถือเป็นจุดเชื่อมต่อในการเดินทางเข้าสู่ขั้วโลกเหนือ ถนนหลวงของอลาสก้า จะมาสิ้นสุดที่เมืองนี้ (Fairbanks)
4. The Alaska Bush: เป็นพื้นที่ควบคลุม อยู่บริเวณสุดขั้วโลกเหนือ มีประชากรอยู่จำนวนน้อย โดยมากเป็นคนท้องถิ่น มีหมู่บ้านชาวท้องถิ่นอยู่ประมาณ 380 หมู่บ้าน และมีชุมชนที่เป็นเมืองเล็กๆ อยู่กระจัดกระจ่าย เช่น เมือง Nome, Barrow เมือง Barrow นั้น เป็นเมืองตั้งอยู่สูงที่สุดของอเมริกา ส่วนอีกเมืองหนึ่งคือ Prudhoe Bay มีแหล่งขุดเจาะน้ำมัน ที่สำคัญของอเมริกาอยู่ที่ North Slope ซึ่งน้ำมันที่นี่ ถือเป็นรายได้ที่สำคัญของอลาสก้าเลยทีเดียว
ข้อมูลเพื่อการท่องเที่ยวในอลาสก้า
ถ้าจะพูดถึงการเดินทางมาท่องเที่ยวอลาสก้าแล้ว ที่นี่เสมือนเป็นหนึ่งในความไฝ่ฝัน ที่นักท่องเที่ยวตัวจริงทั้งหลายจากทั่วทุกมุมของโลกอยากมาสัมผัสสักครั้งหนึ่งในชีวิต เพราะคำว่า อลาสก้า เหมือนเป็นชื่อที่มีความยิ่งใหญ่อลังการมีแผ่นดินที่กว้างใหญ่ไพศาลปกคลุมไปด้วยหิมะ มีธารน้ำแข็งหมื่นปี เป็นแหล่งที่อยู่ของมนุษย์น้ำแข็ง เอสกิโม เป็นที่อยุ่ของสัตว์ป่าและสัตว์ทะเล ที่หายากที่อาศัยอยู่กับความหนาวเย็นตลอดปี นับเป็นเรื่องมหัศจรรย์ของนักเดินทาง
จึงจะสรุปข้อมูล โดยย่อของอลาสก้าแก่ผู้สนใจใคร่รู้และใคร่จะหาโอกาสมาเที่ยวที่นี่สักคั้ง อลาสก้า เป็นพรมแดนสุดท้าย และมีคติอยู่ว่า เหนือสู่อนาคต North to the Future
มีชื่อเล่นๆ ว่า พรมแดนสุดท้าย The Last Frontier และเมืองหลวงประจำรัฐคือ เมืองจูโน Juneau ได้ชื้อจากรัฐเซียในปี ค. ศ. 1867
ได้ยกฐานะเป็นรัฐที่ 49 ของอเมริกาเมื่อ วันที่ 3 มกราคม ค. ศ. 1959 และผู้ว่าการรัฐชื่อ Frank H. Murkowski
มีพื้นที่ 570,373.6 ตารางไมล์ หรือ 365,000,000 เอเคอร์ เป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกา มีพื้นที่ เท่ากับ 1 ใน 5 ของ 48 รัฐรวมกันเข้า
จำนวนประชากร 663,661 คน จากการสำรวจประชากร ปี 2005 เมืองที่มีประประชากรมาก คือ เมืองแองโคเรจ ประมาณ 278,241 คน
เมืองที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ คือ เมือง สิตกา (Sitka) มีพื้นที่ 4,710 ตารางไมล์ รวมพื้นที่ที่เป็นน้ำอีก 1,816 ตารางไมล์ และเมืองจูโน ใหญ่เป็นอันดับสอง มีพื้นที่ 3,108 ตารางไมล์ และเฉลี่ยอายุตามสำนักงานสถิติของอเมริกาอยู่ที่ 31.8 ปี ถือว่ามีอายุเฉลี่ยยาวเป็นอันดับสองของประเทศ
รายได้เฉลี่ยในปี ค.ศ. 2006 มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวละ $72,900 และพื้นที่ต่อบุคคล เฉลี่ยพื้นที่ 0.92 ตารางไมล์ ต่อคน ขณะที่รัฐนิวยอร์ค 0.003 ตารางไมล์ ต่อคน
อุณหภมิ สูงสุด 100 องศาฟาเรนไฮ ที่เมือง ยูคอนในปี 1915 ต่ำสุด ที่ ลบ 80 องศาฟาเรนไฮ วัดได้ที่ แคมฟ์ครึก ในปี 1971 และปีที่หิมะตกหนักที่สุด ประมาณ 974.5 นิ้ว ที่ บริเวณทอมฟ์สัน พาส ใกล้ เมือง วาลดีส ระหว่างฤดูหนาวปี 1952-53 และ มียอดเขาสูงที่สุดในอเมริกา ยอดเขา Mount Mckinley สูง 20,320 ฟุต
เมืองที่อยู่ไกลสุดของอเมริกา เมือง แบโร Barrow ระยะห่างไปทางเหนือ 350 ไมล์ จากคาบสมุทรอาคติก และมีสนามบินทางทะเลที่ใหญ่ที่สุดและมีเที่ยวบินขึ้นลงที่มากที่สุดในโลก ที่ทะเลสาบวูด เมืองแองโคเรจ มีเที่ยวบินขึ้นลงเฉลี่ย 900 เที่ยวต่อวัน ในช่วงฤดูร้อน
มีอุทยานแห่งชาติ 17 แห่ง รวมพื้นที่อุทยานมีถึง 54 ล้านเอเคอร์ หรือประมาณ 13 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด และอุทยานแห่งชาติ Wrangell St. Elias มีพื้นที่ 13.2 ล้านเอเคอร์ เป็นอุทยานแห่งชาติใหญ่ที่สุดของอเมริกา ถ้าเที่ยบเนื้อที่แล้วจะมีขนาดใหญ่กว่า อุทยานแห่งชาติ Yellow Stone ถึง 6 เท่า
หนังสือพิมพ์ที่ใหญ่ที่สุดของรัฐ Anchorage Dialy News คือ หนังสือพิมพ์ที่จำหน่ายได้มากที่สุด 90,150 ฉบับ ในวันอาทิตย์
อลาสก้า เป็นพื้นที่ที่เกิดแผ่นไหวมากที่สุด และรุนแรงที่สุดของอเมริกา ที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในอเมริกา เมื่อวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1964 แรงสั่นสะเททือนวัดได้ 9.2 ริคเตอร์ เกิดขึ้นบริเวณใจกลางทางทิศใต้ของอลาสก้า
มีแนวน้ำขึ้นลงที่สวยงามที่สุดอันดับสองของอเมริกา ความสูง38.9 ฟุต ใกล้เมืองแองโคเรจ ใน Upper Cook Intet
มีแหล่งผลิตสังกะสีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ Red Dog Mine ใน The Northwest Arctie Borough ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อลาสก้า
มีธารน้ำแข็งที่สวยงามที่สุดของประเทศ ประมาณ 29,000 ตารางไมล์ เฉลี่ย 5 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปกคลุมโดยน้ำแข็ง
อุทยานที่มีนักท่องเที่ยวนิยมมาเข้าชมมากที่สุด คือ อุทยานแห่งชาติภูเขา Denali
มีภูเขาไฟ อยู่ 80 ลูก และประมาณ 44 ลูก ที่กำลังคลุกกรุ่น ส่วนมากอยู่ในบริเวณหมู่เกาะ Aleutian ในปี 1912 ภูเขาไฟ Novarupta ได้ระเบิดขึ้น นับเป้นการระเบิดของภูเขาไฟครั้งใหญ่ที่สุดของอเมริกา
มีสวนสาธารณะเรียกว่า Chugach อันเป็นเสมือนหนึ่งสวนหลังบ้านของชาวเมือง แองโคเรจ มีพื้นที่ประมาณกว่า 500,000 เอเคอร์ ถือเป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกา ตั้งอยู่ในวนอุยานแห่งชาติ Chugach ซึ่งใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ มีพื้นที่ 5.6 ล้านเอเคอร์
มีท่อส่งน้ำมันที่ยาวถึง 800 ไมล์ จากเหนือสุดสู่เมือง Valdez ทางทิศใต้ข้ามภูเขา ข้ามแม่น้ำเป็นร้อยเป็นพันครั้งผ่าใจกลางรัฐจากเหนือสู่ใต้
ในสมาคมสัตว์ปีกของอเมริกาได้ระบุว่า อลาสก้า มีจำนวนนกถึง 462 ชนิด ที่อาศัยอยู่ที่นี่ มีแม่น้ำ Yukon เป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับสามของประเทศ
เป็นแหล่งที่อยู่ของหมีสีน้ำตาลจำนวนมาก และถือเป้นแหล่งหมีสีน้ำตาลสุดท้ายของโลกอีกด้วย ใน อลาสก้า จะเห็น bald Eagle หรือที่เรียกว่า นกอินทรีหัวขาว อันเป็นสัญลักษณ์ของอเมริกา เป็นร้อยๆ ตัว ตามริมแม่น้ำที่เป็นแหล่งอาศัยของฝูงปลาแซลมอล
เป็นแหล่งที่อยู่ของ วาฬ หลากชนิดในแถบบริเวณทะเลทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ อลาสก้า ฤดูร้อนจะมีวาฬ หลังไหลขึ้นมาที่นี้จำนวนมากมาย
เป็นแหล่งที่วางไข่ของปลาแซลมอน ในฤดูร้อนตามชายฝั่งทะเลของอลาสก้า จะมีฝูงปลาแซลมอนเป็นล้านๆ ตัวขึ้นมาจากทะเลเพื่อจะมาวางไข่ในน้ำจืด ช่วงฤดูร้อนที่นี่จึงเป็นช่วงตกปลาของผู้คนที่นี่ อาหารทะเลที่นี่บับว่าเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ
อลาสก้า ถือเป็นแหล่งตกปลาที่ใหญ่ที่สุดเช่นกัน มีการบันทึกลงในหนังสือกินเนสบุค ว่า นาย Les Anderson จับปลา คิงแซลมอน ได้ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีน้ำหนัก 97.4 ปอนด์ ในปี 1985 และนาย Joch Tragis จับปลาฮาลิบัด (Halibut) ได้ขนาดถึง 459 ปอนด์ ในปี 1996
ข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นแค่ข้อมูลโดยคร่าวๆ เรียกน้ำย่อยหรือออเดิฟ ให้กับนักเดินทางแค่นั้น ส่วนในปลีกย่อยรายละเอียดนั้นยังมีส่วนที่น่าสนใจอีกมากเพราะอลาสก้าดูท่าว่าจะยิ่งใหญ่อลังการเกินกว่าที่เราจะเรียกว่าเป็นรัฐหนึ่งเท่านั้น หากท่านไดสนใจใคร่ศึกษาก็สามรถหาข้อมูลได้ตามหนังสืออ้างอิงที่ได้อ้างไว้นี้
หนังสืออ้างอิง
1. AAA Publishing Tourbook: Western Canada & Alaska 2006. New York: Quebecor world, 2006
2. Anchorage Daily News. Alaska Visitors' Guide 2006. Alaska: Daily News Commercial Printing, 2006.
3. Halliday, Jan. Native Peoples of Alaska: A traveler's guide to land, art,
and culture. Seattle: Sesquatch Books, 1998
4. Lonely planet. U.S.A. CA: Lonely Planet Publications Ltd., 2006.
5. O'Meara, Jan. Alaska Dictionary and Pronuciation Guide. Alaska: Wizard Works. 1988
6 . Whitekeys, Mr. The Alaska almanac: Facts about Alaska. Alaska: Alaska Northwest Books, 1998
Website: http://en.wikipedia. org/wiki/Alaska