ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

มุมมองเชิงเปรียบเทียบ
                
           สิ่งสัมบูรณ์ทั้ง 4 นี้ มีความเหมือนกันคือต่างก็เป็นสิ่งสูงสุดในศาสนาและสำนักปรัชญานั้นๆ เป็นเป้าหมายสูงสุดหรือสิ่งสูงสุดที่มนุษย์ผู้ศรัทธาควรที่จะปฏิบัติตนเพื่อบรรลุถึง เป็นภาวะที่ไม่บกพร่อง กล่าวคือเมื่อบรรลุถึงแล้วก็ไม่มีสิ่งใดที่จะต้องพยายามให้บรรลุถึงอีกต่อไป
            พระนิพพาน เต๋า โมกษะ และแบบ ต่างก็ถูกอธิบายว่าเป็นภาวะที่อยู่เหนือเหตุและผล อยู่เหนือการปรุงแต่งของจิตใจ และอยู่เหนือประสบการณ์ระดับประสาทสัมผัสทั้งหมดของมนุษย์  นี้ไม่ได้หมายความว่ามนุษย์จะไม่มีทางเข้าถึงภาวะอันสัมบูรณ์นี้ได้ในขณะที่มีชีวิตอยู่ในร่างกายนี้ แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าปราศจากชีวิตในร่างกายนี้แล้วมนุษย์ก็ไม่อาจบรรลุสิ่งสัมบูรณ์นี้ได้ อาจกล่าวได้ว่า สิ่งสัมบูรณ์คือภาวะที่เป็นไปได้ (Possibility)ที่มีอยู่ในมนุษย์นั่นเอง แต่รอวันเวลาที่เหมาะสมมาถึงเมื่อมนุษย์ฝึกฝนตนเองตามแนวทางที่คู่ควรแก่การเข้าถึงภาวะอันสัมบูรณ์นั้น
              ในบรรดาสิ่งสัมบูรณ์เหล่านี้ พระนิพพาน ในพระพุทธศาสนาเท่านั้นที่ถูกแสดงไว้อย่างชัดเจนว่า เป็นภาวะที่เป็นอนัตตา คือภาวะที่ไร้ตัวตนทุกชนิดหรือสิ่งที่คอยกำกับบงการทุกสิ่ง เป็นภาวะที่ อวิชชา ตัณหา อุปาทานถูกทำลายลง  นอกนั้นดูจะมีแนวโน้มไปในการยืนยันว่าเป็นสิ่งที่เป็นอัตตาถึงแม้จะมีการอธิบายแตกต่างกันไปบ้างก็ตาม เต๋า ถูกอธิบายว่าเป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่งทุกสิ่งเกิดจากเต๋าและจะดับลงในเต๋า ซึ่งมีทัศนะในการอธิบายใกล้เคียงกับ โมกษะ ในตอนที่อธิบายว่า โมกษะคือภาวะที่ชีวาตมันเข้าใจอย่างชัดแจ้งว่าตัวเองคืออาตมันซึ่งเป็นอันเดียวกันกับปรมาตมันหรือพรหมัน และพรหมันนี้ คือสรรพมูลการณ์ของสรรพสิ่ง สรรพสิ่งล้วนเป็นมายาหรือลีลาของพรหมัน และท้ายสุดแล้วล้วนกลับเข้าสู่พรหมันซึ่งเป็นอัตตารวมศูนย์ สำหรับ แบบ ตามทัศนะของเพลโต เป็นภาวะที่คล้ายคลึงกับพรหมันในหลายประเด็น เช่นประเด็นที่ว่าเป็นภาวะเป็นอมตะและไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ล้วนเป็นสิ่งที่เรียนแบบสิ่งสัมบูรณ์คือแบบ ดังนั้นพอจะสรุปได้ว่าในบรรดาสิ่งสัมบูรณ์ทั้ง 4ทรรศนะนี้ นิพพานเป็นทัศนะฝ่ายอนัตตา ส่วน เต๋า โมกษะ และแบบ เป็นทัศนะฝ่ายอัตตา

จากแนวคิดเกี่ยวกับสิ่งสัมบูรณ์สู่ประโยชน์ในการแก้ปัญหาระดับโลกสมมุติสัจ
           จากการกล่าวถึงสิ่งสัมบูรณ์ข้างต้นนั้น คงจะมีประโยชน์น้อย ถ้ามัวถกเถียงกันว่าทัศนะไหนถูกที่สุด ปัญหานี้ก็คงคล้ายปัญหาว่าระหว่างไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน เพราะปัญหาที่เราอยากจะทราบความจริงนี้เป็นเรื่องของปรมัตถสัจ แต่มนุษย์เราผู้ยังเต็มไปด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน พยายามจะศึกษาให้เข้าใจ ก็คงพอเข้าใจตามประสามนุษย์ แต่ก็คงไม่เข้าใจในเนื้อแท้แห่งความจริง ก็เหมือนกับนิทานเรื่องเต่ากับปลา ที่เต่าพยายามจะบอกว่าแผ่นดินเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ ปลามันก็ได้แต่จินตนาการไปว่าคงเหมือนสิ่งนั้นสิ่งนี้ที่มันคุ้นเคย และก็คงเปรียบเหมือนคนรวยถึงจะเห็นอกเห็นใจคนจนสักปานใดเขาก็คงไม่รู้ซึ้งว่าความจนเป็นอย่างไรเท่ากับเขากลายเป็นคนจนจริงๆ 
           ไม่ว่าจะนิพพาน เต๋า โมกษะ หรือ แบบ (มโนคติ) ถึงจะมีชื่อเรียกแตกต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือเป็นสิ่งสัมบูรณ์เหมือนกันหมดเป็นภาวะที่ไม่มีเงื่อนไขใดๆ คงมีแต่ภาวะที่เราพอจะพูดได้ว่า น่าจะเป็นภาวะที่สงบระงับเป็นหนึ่งเดียว ปราศจากความทุกข์โศก มีแต่ภาวะสันติภาพ จากแนวคิดนี้นำไปสู่การเกิดแนวคิดเพื่อบรรเทาปัญหาเลวร้ายต่างๆในโลก ในความเป็นจริง มนุษย์เกิดมาบนโลกอันแสนจะสวยงามใบนี้ พร้อมกับความไม่มีอะไร ไม่ว่าความรู้ ศาสนา วัฒนธรรม ภาษา ฯลฯ แต่ต่อเมื่อมีความสามารถในการรับรู้และมีขีดความสามารถที่จะปรุงแต่ง (conceptualize)สิ่งต่างๆตามที่กล่าวมาจึงเกิดมีขึ้น มนุษย์แต่ละคนต่างก็มีโลก (ประสบการณ์) เป็นของตนเอง ทำหน้าที่ตามโลกของตนเอง จึงดูเหมือนว่ามนุษย์แต่ละคนแตกต่างกัน ไม่ว่าจะทางเชื้อชาติ ทางศาสนา วัฒนธรรม ภาษา ฯลฯ แต่ถ้าใช้หลักคิดที่มุ่งหาความเป็นจริงซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษย์จริงแล้ว จะพบว่ามนุษย์แตกต่างกันเพียงแค่ปรากฏการณ์ หรือ สิ่งสมมุติ เท่านั้น ในความเป็นจริงแล้ว มนุษย์ล้วนแต่มีลักษณะที่เป็นเอกภาพ เป็นอันเดียวกันทั้งนั้น “สัจจธรรมสูงสุดของชีวิตและสกลจักรวาลเป็นเอกภาพ แต่ในขณะเดียวกันก็ปรากฏเป็นความหลากหลายตามเงื่อนไขของกาละเทศะและระบบวิธีการที่ใช้ศึกษาค้นคว้า”[2] จากคำกล่าวนี้ อาจกล่าวต่อไปอีกได้ว่า ทัศนะเกี่ยวกับสิ่งสัมบูรณ์ข้างฝ่ายอนัตตาและอัตตา เป็นเพียงความเห็นต่างกัน แต่ความเป็นจริงแล้วคือภาวะอันเดียวกัน เหมือนกับคนมองเหรียญคนละด้านแต่เหรียญนั้นก็คือเหรียญเดียวกัน
           เด็กแรกเกิดจะมีความบริสุทธิ์ไร้เดียงสาเหมือนกันทั้งหมด วัฒนธรรม ภาษา ศาสนา แม้กระทั่ง ความรัก ความชัง ความคิดแบ่งแยกเขาแยกเรา ยังไม่มีในเด็กแรกเกิดเลย  จะแตกต่างก็เพียงส่วนที่เป็นร่างกายเท่านั้น เช่นอาจมีผิวสีดำ สีขาว น้ำหนักน้อย น้ำหนักมาก ต่อเมื่อมีการรับรู้และการปรุงแต่งจินตนาการของจิต จึงถูกอิทธิพลของสภาพแวดล้อม เช่น ความคิดทางศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ภาษา ความรัก ความชัง ฯลฯ  ที่มนุษย์ผู้เกิดก่อนถ่ายทอดมาให้ในการดำเนินชีวิต สิ่งที่ได้รับอิทธิพลมานั้นก็ล้วนแต่ก็เป็นฝีมือทางความคิดของมนุษย์ทั้งนั้น มนุษย์แต่ละคนก็เพียงแค่ทำหน้าที่แตกต่างกันไปตามสาขาอาชีพ สภาพแวดล้อม การดำเนินชีวิตบนโลกใบนี้จึงไม่ผิดอะไรกับคำพังเพยที่ว่า “โลกนี้เป็นเหมือนละคร” แต่มนุษย์ก็ไปยึดเอาบทบาทดุจละครของแต่ละคนว่าเป็นความต่างระหว่างบุคคล จึงก่อให้เกิดยึดติดว่าเขาว่าเรา และปัญหาต่างๆตามมาบนพื้นฐานนี้ มนุษย์ต้องสำนึกในความเป็นจริงอันนี้ให้จงหนัก และปรากฎการณ์ต่างๆที่มนุษย์พากันสรรค์สร้างขึ้นจุดหมายปลายทางที่แท้จริงแล้วควรต้องมีต้องเป็นเพื่อความสงบสุขแห่งจิตวิญญาณ ความไม่เบียดเบียนกันของมนุษย์ นั่นถึงจะสอดคล้องกับหลักสัจธรรมคือเอกภาพ มนุษย์รวมถึงสรรพสิ่งทั้งผองล้วนเป็นพี่น้องกันเพราะถือกำเนิดมาจากสัจธรรมอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่ว่าแหล่งกำเนิดของสรรพสิ่งเหล่านี้จะถูกเรียกในชื่อที่แตกต่างกัน เช่น เรียกว่า “พระเจ้า” “พระพรหม” “เต๋า” “นิพพาน” “แบบ” และ “ธรรมชาติ” เป็นต้น ก็ตาม นั่นก็เป็นเพราะวัฒนธรรมทางภาษาที่มนุษย์ปรุงแต่งขึ้นแตกต่างกัน แต่ในความจริงแล้ว มนุษย์และสรรพสิ่งทั้งผองล้วนเป็นพี่น้องกันเพราะมีสาเหตุที่มาอันเดียวกันนั่นคือภาวะตามที่มันเป็น การที่มนุษย์ทุกคนตระหนักในหัวใจว่าพวกเราและสรรพสิ่งต่างเป็นพี่น้องกันนี้ก็คงจะไม่น่าน้อยใจนักใช่ไหม  ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถตระหนักได้เลยว่าตัวเราเป็นอันเดียวกันกับพรหมัน โลกใบนี้ก็คงไม่เกิดสงครามฆ่าฟันกันเช่นนี้อีกต่อไป
           ในช่วง 2-3 ปีมานี้ เราพบว่าโลกเต็มไปด้วยปัญหาต่างๆมากมาย ซึ่งก็ล้วนเกิดมาจากน้ำมือของมนุษย์บางคนซึ่งยังไม่ทราบซึ้งถึงสัจธรรมดังกล่าว และมนุษย์เหล่านี้ก็มีอำนาจครอบงำจิตใจให้หลงมัวเมาในอำนาจสั่งสมความอยากได้อยากมีเพื่อตัวเอง พรรคพวกตัวเอง เมืองของตัวเอง และประเทศของตัวเอง แต่ไม่คิดเพื่อโลกทั้งหมดว่าเป็นของตัวเอง ปัญหาการเข้ายึดครองอิรัก การก่อการร้ายนานาชาติ ความขัดแย้งกรณี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหายาเสพติด จี้ ปล้น ข่มขืน การต้มตุ๋น หลอกลวง เป็นต้น ล้วนแต่สร้างภาวะอสัจจธรรม (ความเลวร้าย) มากยิ่งขึ้น
ผู้ที่จะต้องรับผิดชอบและแก้ไขปัญหาอันเลวร้ายเหล่านี้ ก็คือมนุษย์เราทุกคนที่จะต้องเข้าใจอย่างถูกต้องต่อความจริงแท้สูงสุด (Ultimate Truth) ไม่หลงมัวเมาในความเป็นจริงที่จอมปลอม (Conventional Truth) ทุกคนต้องตระหนักในธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์และสรรพสิ่ง ร่วมมือร่วมใจกันสร้างสรรค์แต่สิ่งที่ดีงามกล่าวคือสัจธรรม โดยไม่ทำกิจการทุกอย่างที่ทำลายเบียดเบียนผู้อื่นทั้งมนุษย์ และสรรพสิ่งทางธรรมชาติบนโลกนี้ ลดละเลิกการกระทำที่เห็นแก่ตัวทุกอย่าง และตระหนักอยู่ในใจเสมอว่า “สรรพสิ่งทั้งผองล้วนเป็นพี่น้องกัน” เมื่อนั้นปัญหาความวุ่นวาย ความเดือดร้อนต่างๆ ก็คงจะมีน้อยหรือว่าไม่มีเลยก็เป็นได้

ดร. สมบูรณ์ วัฒนะ  ศน.บ. M.A. Ph.D. (Philosophy)
ที่มา:
http://buddhistphilo.blogspot.com/search?updated-max=2010-09-28T04%3A56%3A00-07%3A00&max-results=7

 

บรรณานุกรม
สุชีพ ปุญญานุภาพ, ศาสนาเปรียบเทียบ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ 2534
สุนทร ณ รังสี, ปรัชญาอินเดีย ประวัติและลัทธิ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,กรุงเทพฯ 2537
จำนง ทองประเสริฐ, ปรัชญาตะวันตกสมัยโบราณ. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, กรุงเทพ: 2533
พระธรรมปิฏก (ประยุทธ์ ปยุตโต) , พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ.  โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,กรุงเทพ:  2538.
ฟริตจอฟ คาปรา, เต๋าแห่งฟิสิกส์. วเนช แปล
รศ. ทองหล่อ วงษ์ธรรมา, ปรัชญาจีน. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์,  กรุงเทพ.
โจเซฟ แกร์, ศาสนาทั้งหลายนับถืออะไร,  ฟื้น ดอกบัว (แปล).สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ ,กรุงเทพ:2533.
Y. Mashi.  A Critical History of Western Philosophy. Motilal Banarsidass, Delhi :1994.
Sinha Jadunath. Outlines of Indian Philosophy. New Central Book Agency (P) LTD. 1996.
Dr. N.N. Banerjee, K. Singh. Western Philosophy. Prakashan Kendra, Lucknow.
John Cottingham,Western Philosophy An Anthology.  Blackwell Publishers, Oxford: 1996.

 

 

________________________________________
[1] Stace, W.T., A Critical History of Greek Philosophy, Macmillan&Co.,Ltd., 1953,p. 44.  ดู เมธีธรรมาภรณ์, พระ, ปรัชญากรีก,  สำนักพิมพ์ศยาม,  กรุงเทพ., 2537 หน้า 143.
[2]   คำนิยมโดย ศ. ระพี ภาวิไล  ฟริตจอฟ คาปรา, เต๋าแห่งฟิสิก, วเนช (แปล)

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก