พระพุทธศาสนากำเนิดขึ้นในชมพูทวีปหรือปัจจุบันคือดินแดนทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย และบางส่วนของประเทศเนปาล พระพุทธศาสนาเคยเจริญรุ่งเรืองในดินแดนแถบนี้เรื่อยมาจนกระทั่งหายสาบสูญไปจากดินแดนที่เรียกว่ามาตุภูมิ พระพุทธศาสนาอยู่กับสังคมอินเดียได้ประมาณพันกว่าปี ก่อนที่สังคมอินเดียจะลืมพระพุทธศาสนา ชาวอินเดียได้ย้อนไปนับถือศาสนาฮินดูอีกครั้งซึ่งน่าจะเหมาะกับระบบสังคมอินเดียมากกว่า ยังมีชาวอินเดียส่วนหนึ่งหันไปนับถือศาสนาอิสลาม แม้จะมีชาวพุทธเหลืออยู่แต่ก็เป็นฆราวาส พระภิกษุชาวอินเดียจริงๆมีน้อยมาก จนแทบจะกล่าวได้ว่าไม่มีพระสงฆ์ชาวอินเดียที่อุปสมบทในอินเดียเลยนานกว่าพันปี หากจะมีอยู่บ้างก็อุปสมบทจากพม่า ศรีลังกา หรือไม่ก็เป็นพระฝ่ายมหายานที่ได้รับการอุปสมบทตามแบบวัชรยาน
จนกระทั่งได้มีการขุดค้นทางโบราณคดี ในยุคที่อังกฤษปกครองอินเดีย ได้พบโบราณสถานเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาจำนวนมาก จึงได้เกิดการตื่นตัวทำให้มีการศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ต่อไปนี้เป็นข้อความที่แปลมาจากหนังสือ Buddhism in Modern India เขียนโดย D.C. Ahir ซึ่งได้แปลไว้นานแล้วแต่ยังแปลไม่จบ ตั้งใจว่าหากมีเวลาจะขัดเกลาสำนวนและตรวจสอบความถูกต้อง แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่ได้ทำ วันนี้ลองศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดียสมัยใหม่ จากฐานแห่งความเข้าใจจากหนังสือที่เขียนขึ้นในอินเดียเอง
ประวัติศาสตร์การดำเนินการเพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนาแบ่งได้เป็น 3 ระยะดังต่อไปนี้
(1) ยุคสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (1750-1890 (พศ. 2293-2433)
(2) ยุคฟื้นฟูศาสนาที่ดำเนินการอย่างเป็นระบบ (1891-1947 (พศ. 2434-2490)
(3) การดำเนินการที่เป็นมวลชน(1947-1990 (พศ 2490-2533)
(1) สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (ค.ศ. 1750-1890, พ.ศ. 2293-2433)
ยุคแห่งการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย อาจกล่าวได้ว่ามีการเริ่มต้นขึ้นประมาณกลางคริสตวรรตที่ 18 เมื่อข้าราชการแห่งรัฐบาลอังกฤษ เริ่มนำเอาแสงสว่างของสิ่งที่มีคุณค่าที่ถูกซ่อนไว้ภายใต้ฝุ่นและซากปรักหักพังต่างๆ เรื่องราวของคนที่มีความรักในการขุดค้นทางโบราณคดี ต้องย้อนกลับไปในปี ค.ศ.1750 (พ.ศ.2293) เมื่อปาเดอร์ ทิฟเฟนธาเลอร์ ค้นพบชิ้นส่วนจารึกของพระเจ้าอโศกบนเสาหินที่เดลี-เมรุส ปัจจุบันนำแสดงไว้ที่ริดจ์ เดลี ในปีเดียวกันนั่นเอง อัลลาห์บาด ก็ได้ค้นพบเสาหินอัลลาฮาบัส เกาสัมพี ติดตามมาด้วยการค้นพบเสาหินเลาริยา-ฮาราราช ในปี 1784 (2327) และจารึกที่ถ้ำภูเขาพาราบาร์ในปี 1785 (2328) นอกจากนั้นยังได้พบเสาหินเดลี-โทปรา ที่ เฟอโรสซาร์ โคตต้า เดลี ที่ค้นพบโดยร้อยเอก โปลิเออร์เขาได้นำเสนอภาพจิตรกรรมบางภาพในจารึกนี้ต่อเชอร์วิลเลี่ยม โจน ผู้ก่อตั้งสมาคมเอเชียแห่งเบงกอลที่เมืองกัลกัตตา เพื่อรวบรวม แปลความหมาย ตีความหมาย ตัวอย่างทางโบราณคดีชาติพันธ์วิทยาธรณีวิทยาสัตววิทยาที่สมาชิกค้นพบ
ในปีค.ศ.1801 (2344) กัปตันเจมส์ โธอาเรได้จัดพิมพ์ผลการวิจัยทางเอเชียวิทยาครั้งแรก ในวารสารของสมาคมเอเชียติกแห่งเบงกอลว่าด้วยเรื่องจารึกโทปราแห่งเดลี เรื่องนี้ได้กระตุ้นความสนใจของนักวิชาการเป็นอย่างยิ่ง และพยายามแปลความหมาย (ถอดรหัส)การกำเนิดอาณาจักรของพระเจ้าอโศกเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างจริงจัง
ในปี 1819 (2362) การค้นพบที่สำคัญอย่างยิ่งเกิดขึ้นโดยบังเอิญโดยทหารอังกฤษ 2 คน มีหน้าที่ลาดตะเวน ได้พบถ้ำอชันตะโดยบังเอิญ ซึ่งจมอยู่ใต้พื้นดิน และไม่มีใครมองเห็นมายาวนานกว่า 1,000ปี ถ้ำอชันตะปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันดีทั่วโลก ถ้ำอชันตะมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว เชื่อมด้วยศิลปทั้ง 3แบบคือด้านสถาปัตยกรรม ปติมากรรม จิตรกรรม เมื่อค้นพบถ้ำอชันตะ จำนวนถ้ำาแกะธรรมชาติออกมา มีองค์ประกอบในรูปแบบที่แตกต่างกันมากมาย ยังถูกค้นพบที่เอลโลรา, นาสิก, การ์เล,พาจาและจุนนาร์ เป็นต้น ทั้งหมดนี้อยู่ที่อินเดียตะวันตก
ในปี ค.ศ. 1822 (2365) พันตรีเจมส์ ทอดด์ ค้นพบบทบัญญัติ(ประกาศ)บนหินก้อนแรกที่เกอร์นาร์(Girnar) ภูเขาศักดิ์สิทธ์ใกล้จูนากาดห์ ในคูจราช ในปี 1834 (2377) Lt.TS. Burt ได้ทำการคัดลอกจารึกบนเสาหินอัลลาฮาบาด วารสารของสมาคมเอเชียติกที่เบงกอลได้พิมพ์เผยแพร่ สองปีต่อมาบทบัญญัติบนแผ่นหินที่ซาห์ ปาสการหิ(เมืองเปสวอร์ ปากีสถาน)ถูกค้นพบโดย M.A. Court เจ้าหน้าที่ชาวฝรั่งเศสในการบริการของมหาราชรันจิต ซิงห์ ปี ค.ศ. 1836 (2379) จารึกบนแผ่นหินและเสาหินได้ถูกค้นพบในส่วนต่างๆของอินเดียแต่ไม่มีใครรู้สาระหรือชื่อของผู้สร้างหินเหล่านั้น ไม่มีนักปราชญ์ชาวอินเดียคนใดเลยที่มีความสามารถเพียงพอที่จะแปลความหมายจารึกภาษาอินเดียโบราณที่สำคัญเหล่านั้น ไม่เพียงแต่พบแผ่นหินและเสาหินเท่านั้น แต่ยังพบเหรีญญเงินอีกจำนวนหนึ่งด้วย ในปี พ.ศ. 2380(1837) เจ้าหน้าที่ระดับสูงแห่งโรงงานกษาปณ์ของอินเดียและเลขาธิการสมาคมเอเชียติกแห่งเบงกอลประสบความสำเร็จหลังจากเวลาผ่านไปหลายปีของการศึกษาอย่างเพียรพยายามอย่างหนักในการแปลความหมายจารึกซึ่งเป็นภาษาปรากฤต (Prakrit) ซึ่งเป็นภาษาผสมระหว่างภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ปรินเสพ (Prinsep) ได้ปรึกษากับนักวิชาการภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต และด้วยความช่วยเหลือของนักวิชาการเหล่านั้น เขาก็สามารถดึงเอาความจริงออกมาโดยวิธีแปลความหมาย (ถอดรหัส) ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2380 (1837)ปรินเสพก็ได้แยกพิมพ์ การแปลความทางสัทศาสตร์และแปลเป็นภาษาอังกฤษประกาศบนเสาหิน 7 หลัก ถ้อยคำที่ถูกเปิดเผยมีดังนี้ “คำพูดเช่นนี้อันเป็นที่รักของเทพเจ้า กษัตริย์ปิยทัสสี ผู้ยังคงเป็นกษัตริย์ผู้มีความลึกลับ ด้วยคงามโชคดีในปรเดียวกันนั่นเอง จอร์จ เทอร์เนอร์ (George Turnour) แปลและจัดพิมพ์คัมภีร์มหาวงศ์เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นการบันทึกพงศาวดารเกี่ยวกับภาษาบาลีแห่งศรีลังกาการเกิดขึ้นของคำว่าปิยทัสสีในคัมภีร์มหาวงศ์ช่วยให้เจมส์ปรินเสพสามารถระบุได้ว่ากษัตริย์ปิยทัสสีก็คือพระเจ้าอโศกมหาจักรพรรดิ์แห่งพระพุทศาสนาผู้ยิ่งใหญ่การแปลความหมาย Asokan Lip1 และการระบุว่าอโศกก็คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคสมัยนั้นทำให้เพิ่มคุณค่าประวัติศาสตร์อินเดียที่ต้องทำการปรับปรุงใหม่
ในปี พ.ศ. 2381 (1838)เจมส์ปริพเสพ ได้แปลความหมายและพิมพ์คำจารึกบนแผ่นหินที่ค้นพบที่เกอร์นาร์ (Girnar)และดาอูลี Dhauli ในเมืองปุรี (puri) โอริสสา (Lieutenant Kittoe ค้นพบในปี พ.ศ. 2380) ดังนั้น เจมส์ ปรินเสพ จึงได้โหมงานอย่างหนักซึ่งเกือบจะเป็นงานที่ต้องทำคนเดียว ซึ่งหามาได้ในช่วง 10เดือน ส่วนสำคัญๆของจารึกอโศกนี้เป็นภาระหน้าที่ที่ต้องใช้พลังมหาศาลอย่างแท้จริง ผลกระทบต่อการทำงานหนักเกินไป มีผลต่อสุขภาพของปรินเสพ เขาได้ล้มป่วยลง จึงได้ออกจากอินเดียกลับคืนสู่ภูมิลำเนาคืออังกฤษในปี พ.ศ. 2383 (1840) หลังจากนั้นไม่นานนักเขาได้เสียชีวิตลง
ในปีพ.ศ 2383(1840) ประกาศบาบรูบนแผ่นหินที่เมืองไพรัช ใกล้เมืองไชยปุระที่ค้นพบโดยร้อยเอกเบอร์ท (Burt) ร้อยเอกคิตโต (Kittoe) ได้ถอดความและแปลประกาศฉบับนี้10 ปีต่อมาในปีพ.ศ. 2393 (1850) เซอร์วอลเตอร์ อัลเลียต ค้นพบจารึกบนแผ่นหินที่เจากาดา (Jaugada) ในเมืองคันจัม รัฐโอริสสา และทำการคัดลอกออกมา ผู้รับรองยืนยันว่ามันเป็นคำบรรยายอย่างหนึ่งของประกาสพระเจ้าอโศกที่ถูกค้นพบที่ดาอูริ( Dhauli)เกอร์นาร์และซาร์บาซการทิ (Girnar and Shahbazgarhi) ในปี พ.ศ. 2403 (1860) ฟอร์เรส (Forrest) ได้ค้นพบจารึกบนแผ่นหินพระเจ้าอโศกอื่นๆอีกที่เมืองคาลสีใกล้เมืองเดห์รา ดุน (Kalsi) Dehra Dun
ในปี พ.ศ. 2394 (1851) ที่เมืองศานจิ (Sanchi) มีการค้นพบที่สำคัญใกล้ๆกับโบพัล (Bhopal) แม้ว่าอนุสาวรีย์ที่เมืองศานจิจะถูกค้นพบและการช่วยเหลือจากภาวะที่ถูกลืมเลือนในยุคแรกๆคือพ.ศ. 2361(1818) แต่ในปี พ.ศ. 2394(1851) คันนิ่งแฮมก็ได้เปิดเผยสถูปนี้จากภายในสถูป 3 แห่ง เขาได้ค้นพบโบราณวัตถุ สารีริกธาตุของอัครสาวก 2 รูปคือพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ โครงกระดูกอันลึกลับเหล่านี้ ได้นำไปที่กรุงลอนดอนและเก็บรักษาไว้ในการอารักขาอันปลอดภัย จนกระทั่งส่งกลับมาที่อินเดียในศตวรรตต่อมาคือในปี พ.ศ. 2492 (1949)
การเดินทางมาถึงของเซอร์อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม ได้เร่งการค้นหาและปฏิสังขรณ์สถานที่ทางโบราณคดีในอินเดีย เขาเป็นนักโบราณคดีและวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ในยุคของการฟื้นฟูอย่างไม่ต้องสงสัย ในปี พ.ศ. 2404 (1861) รัฐบาลอินเดียได้แต่งตั้งเขาเป็น ผู้อำนวยการทั่วไปแห่งการสำรวจทางโบราณคดีคนแรก ความกระตือรือร้นและความสนใจในเรื่องราวทางโบราณคดีของคันนิ่งแฮม ได้เปิดแนวทางแห่งการระลึกถึงเรื่องในอดีต(vista) ในการศึกษาโบราณคดีในอินเดีย ตัวเขาเองท่องเที่ยวไปทั่วอินเดียเพื่อเยี่ยมชมแหล่งโบราณสถานแทบทุกแห่ง และเตรียมการจัดทำแผนที่ทางภูมิศาสตร์อย่างเป็นระบบสำหรับอินเดียในยุคโบราณ ผลงานที่ยิ่งใหญ่สำหรับการรำลึกถึงเขาคือ “ภูมิศาสตร์โบราณของอินเดีย”ในส่วนที่หนึ่ง ยุคแห่งพระพุทธศาสนา คันนิ่งแฮมได้สรุปว่า เป็นประวัติศาสตร์ที่งดงามบรรเจิดสำหรับการคงอยู่ของพระพุทธศาสนาและอนุสรณสถานที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศในปีพ.ศ.2413 (1807)เขาได้ขุดค้นบริเวณใกล้วัดมหาโพธิและจัดพิมพ์สรุปผลการสำรวจในบทความชื่อ “มหาโพธิหรือวัดที่ยิ่งใหญ่ของพระพุทธศาสน ณ พุทธคยา” ในปี พ.ศ. 2416-17 (1873-74) คันนิ่งแฮมได้ขุดค้นมหาสถูปบารหุต (Bharhut) ทำให้ได้พบศิลปะของพระพุทธศาสนาอันงดงามประณีตจากการลืมเลือนในอดีต การจัดพิมพ์หนังสือของเขาในชื่อ “สถูปแห่งบารหุต” ได้จุดประกายบนสถานที่สัะกการะของพระพุทธศาสนาในอินเดียกลาง การพิมพ์หนังสือที่สำคัญอย่างหนึ่งของคันนนิ่งแฮม ที่มีพื้นฐานบนการวิจัยของเขาคือบิลห์สาสถูป (Bhilsa Stupa) คันนิ่งแฮมยังสนใจจารึกพระเจ้าอโศกอีกด้วย ในปีพ.ศ. 2420 (1877) ได้จัดพิมพ์จารึกที่รู้จักกันดีในการรวมบทความชื่อ “Corpus Inscriptionam Indicarum” ในบทความชุดนีจารึกทั้งหมดถูกพิมพ์ใน Fascimile การแปลความหมายโดยใช้สัทศาสตร์และการแปลเป็นภาษาอังกฤษ ในเวลาใกล้เคียงกันนี้ได้มีการค้นพบ จารึกบนแผ่นหินไพรัต ไมเนอร์,จารึกบนแผ่นหินรูปนารท ไมเนอร์และจารึกบนเสาหินรามปุรวะอีกด้วย
ในปี พ.ศ. 2425 (1882)ชิ้นส่วนของประกาศบนแผ่นหินพระเจ้าอโศกถูกค้นพบที่โสปารา ในเมืองรานา มหาราษฏร์ โดย ดร.ภควัน ลาล อินทราจิ และในปี พ.ศ. 2432 (1889)ร้อยเอกเลจห์ (Leigh) ได้พบจารึกบนแผ่นหินที่แมนเซหรา ในเมืองฮาซารา ปากีสถาน ในปี พ.ศ. 2433 (1890) หลุยส์ ริดส์ ได้ค้นพบประกาศบนแผ่นหินชิ้นเล็กๆในไมซอร์
การค้นพบทางโบราณคดีมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นแรงกระตุ้นต่ออนาคตเพื่อดำเนินการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ได้ก่อเกิดกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางด้านวรรณกรรมของนักิชาการชาวตะวันตก ผู้มีความน่าเชื่อถือสำหรับการก่อให้เกิดบรรยากาศสำหรับผู้ที่มีรสนิยมและธรรมชาติเหมือนกัน เพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนาในอินเดียและต่างประเทศ
ผู้นำในการบุกเบิกการดำเนินการทางด้านวรรณกรรมพระพุทธศาสนาคือ เอ็ม วินเดอร์นิส, อี. เบอร์โนฟ,วี. เฟาว์ฟอล,ปรินเสพ,เควิน,คอสมา เดอ โกเรส์,โอเดนเบอร์ก,ฟุสซิน,ลีวายส์,เซอร์บาสกีและนายและนางริดส์เดวิดส์ การค้นพบวรรณกรรมพระพุทธศาสนาเริ่มต้นด้วยวินเดอร์นิส ผูพยายามเขียนประวัติศาสตร์วรรณกรรมพระพุทธศาสนาในภาษาฝรั่งเศสเป็นชุดที่2ในชื่อ “ประวัติศาสตร์วรรณคดีอินเดีย” ในปี พ.ศ. 2387 (1844) เบอร์โนฟ ได้จัดพิมพ์ “ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา” ครั้งแรก หนังสือเล่มที่ 2 ของเขาแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสคือ “สัทธรรมปุณฑริก” ประมาณปี พ.ศ. 2395 (1852)เบอร์โนฟได้รวบรวบประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในภาษาสันสกฤต ส่วนด้านการศึกษาภาษาบาลีเริ่มดำเนินการโดยฟาอุสฟอลล์ ผู้ที่จัดพิมพ์ “ธรรมบท” โดยแปลเป็นภาษาลาตินฉบับแปลภาษาอังกฤษของเขาคือสุตตะ-นิพาตะ (Sutta-Nipata) จัดพิมพ์ในปี พ.ศ. 2424 (1881)ผลงานที่ยิ่งใหญ่ของฟาอุสฟอลล์คือการแปลชาดก พิมพ์ออกมา 6 ชุดระหว่างปี พ.ศ. 2420-2440 (1877-1897) เฮอร์มานน์ โอลเดนเบอร์ก เป็นนักอินโดวิทยาที่ยิ่งใหญ่อีกคนหนึ่ง เขาได้แปลวินัยปิฎก (วินัยสำหรับพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา)เ ป็นภาษาอังกฤษจากปีพ.ศ. 2422-2426 (1879-1883)นอกจากนั้นยังแปลเป็นภาษาอังกฤษอีกคือปาฏิโมกข์,มหาวัคค์และจุลวัคค์ ในการทำงานร่วมกับริดส์ เดวิดส์ปรากฏออกมาในชุดที่ 8,9,และ10 ในหนังสือความลับแห่งเอเชีย (Sacred Books of the East )ระหว่างปี พ.ศ. 2424-2428 (1881-85) ริดส์ เดวิดส์เป็นนักวิชาการด้านภาษาบาลี เขาศึกษาภาษาบาลีที่ศรีลังกา เพราะเคยรับราชการเป็นนักประชากรศาสตร์ที่นั่น ในปี พ.ศ. 2422 (1879) เขาได้จัดพิมพ์นิทานกถา (เรื่องราวของการกำเนิดขึ้นของพระพุทธศาสนา) เป็นภาษาอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2424 (1881) เขาได้ก่อตั้งสมาคมบาลีปกรณ์ (Pali Text Society) ขึ้นที่กรุงลอนดอน ภายใต้การอุปถัมภ์ของสมาคมนี้ นายและนางริดส์ เดวิดส์ได้ให้บริการแก่เสรีชนเพื่อการศึกษาภาษาบาลีและพระพุทธศาสนา ริดส์ เดวิดส์ ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการเอง ตรวจสอบแก้ไขและจัดพิมพ์ตำราเช่นฑีฆนิกาย พ.ศ.2432 (1889),อภิธัมมัตถสังคหะ พ.ศ. 2427 (1884) ทาฐวังสะ (Dathavansa) พ.ศ.2427 (1884) และหนังสือคู่มือพระโยคาวจร 2439 (1896) และยังแปลมิลินทปัญหาและฑีฆนิกายไว้ด้วย
งานวิจัยของนักสำรวจ นักโบราณคดีและนักวิชาการเหล่านี้ ช่วยก่อให้เกิดการตื่นตัวขึ้นใหม่ในหมู่ประชาชน แต่ยังไม่มีใครทำการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดียอย่างจริงจัง ในปี พ.ศ.2428 (1885)เซอร์เอ็ดวิน อาร์โนลด์ นักเขียนผู้มีผลงานระดับโลกที่เขียนหนังสือ “Light of Asia : ประทีปแห่งทวีปเอเชีย”ได้มาเยือนพุทธคยา ต้องตกใจที่ได้เห็นสภาพอันน่าเศร้าใจของสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญยิ่งของชาวพุทธ เขาจึงเขียนบทความเกี่ยวกับพุทธคยาขึ้นเมื่อได้รับการตีพิมพ์ ทำให้กลายเป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของชาวพุทธในสภาพที่น่าสงสารของวัดมหาโพธิ์และกระตุ้นให้ชาวพุทธหันมาฟื้นฟูสภาพวัดมหาโพธิ์หรือพุทธคยาให้พ้นจากความเสื่อมโทรมและเรียกความศักดิ์สิทธิ์คืนกลับมาสู่ชาวพุทธอีกครั้ง
พระมหาบุญไทย ปุญญมโน
แปลจาก D.C. Ahir,Buddhism in Modern India,New Delhi:Kiram Mudram Kendra,1991.
แก้ไขปรับปรุง 21/01/54