ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai


                      เมื่อผู้เขียนถามถึงการกลับชาติมาเกิดของดาไลลามะ เพราะเคยดูจากภาพยนตร์เรื่อง Little Buddha ดร. วังยัลได้อธิบายให้ฟังว่า “การกลับชาติมาเกิดเป็นความเชื่อที่ชาวทิเบตเชื่อถือกันมานาน บุคคลที่จะเป็นดาไลลามะจะถูกเรียกว่าลามะตุลกู (Lamas tulku)เป็นผู้มีพลังจิตสูง เมื่อมรณภาพไปแล้ว ย่อมกลับชาติมาเกิดอีกเพื่อช่วยเหลือสัตว์โลกให้พ้นจากความทุกข์ พระองค์เป็นพระราชาและพระสังฆราชของทิเบต จะไม่ทอดทิ้งชาวทิเบตจึงต้องเวียนว่ายตายเกิดเพื่อทำหน้าที่ต่อไป ซึ่งเป็นเพราะพลังอำนาจความศักดิ์สิทธิ์ของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ดังนั้นองค์ดาไลลามะตั้งแต่องค์ที่ 1 จนถึงองค์ปัจจุบันจึงเป็นองค์เดียวกัน คือเปลี่ยนแปลงเพียงร่างกาย ส่วนวิญญาณคือดวงเดียวกัน”
              ทิเบตมีคณะผู้ค้นหาองค์ดาไลลามะโดยเฉพาะ ลามะชั้นสูงต้องตรวจสอบด้วยสมาธิชั้นสูงเพื่อหาสถานที่เกิดแห่งวิญญาณของดาไลลามะองค์ก่อนจุติ เมื่อพบแล้วจะทำการพิสูจน์โดยนำสิ่งของที่ดาไลลามะเคยใช้มาให้เลือก โดยปนไว้กับสิ่งของชนิดเดียวกันหลายๆอย่าง ถ้าเด็กเลือกได้ถูกก็ให้ตั้งสมุติฐานไว้ก่อนว่าคือองค์ดาไลลามะ บางครั้งต้องใช้เวลาค้นหาหลายปีจึงจะพบ ท่านซองโปลามะชาวอิตาเลี่ยนพูดแทรกขึ้นมาว่า “จะแน่ใจได้อย่างไรว่าเป็นองค์ทะลไลามะกลับชาติมาเกิดจริงๆ”
              ดร.วังยัลจึงชี้แจงต่อว่า “แน่ใจได้สิ เพราะเหตุผลง่ายๆว่า ถ้าไม่ใช่วิญญาณที่ระลึกชาติได้จริง จะไม่มีทางจดจำเรื่องราวในอดีตได้ จะต้องมีการเลือกที่ผิดๆถูกๆ เมื่อดาไลลามะสิ้นพระชนม์เด็กที่เกิดในช่วงนั้นหรือประมาณ 1-3ปี มีสิทธิ์เป็นดาไลลามะกลับชาติมาเกิด การค้นหาวิญญาณดาไลลามะในร่างใหม่ถือว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ เด็กที่ผ่านการคัดเลือกยังต้องเตรียมตัวอีกหลายปี ด้วยการให้การศึกษาอย่างเต็มรูปแบบภายใต้การควบคุมดูแลของลามะชั้นสูง ต้องฝึกงานทุกอย่างแม้แต่การเข้าร่วมฟังการประชุมคณะรัฐมนตรี” 
              ช่วงเวลาแห่งชีวิตก่อนที่จะได้รับการสถาปนาเป็นองค์ดาไลลามะมิใช่เรื่องง่าย วิชาที่ถูกบังคับให้เรียนตามบันทึกของดาไลลามะองค์ปัจจุบันท่านบันทึกไว้ในหนังสือ Freedom in Exile มีใจความตอนหนึ่งว่า “อาตมาจะตื่นนอนเวลา 6 นาฬิกาทุกเช้า แต่งตัวเสร็จสวดมนต์บำเพ็ญสมาธิ เวลา 7 นาฬิกาฉันอาหาร หลังจากนั้นเข้าเรียนช่วงแรก เมื่อเรียนอ่านได้แล้วจึงเรียนเขียน ท่องจำพระสูตรและคัมภีร์ 10 โมงเช้า เข้าร่วมประชุมกับคณะรัฐมนตรี แล้วกลับไปเรียนต่อที่ห้อง” ถ้าเป็นอย่างนี้ทุกวันกว่าจะผ่านวัยเด็กไปได้คงต้องใช้ความอดทนเป็นพิเศษ 


              เกี่ยวกับหลักสูตรที่ดาไลลามะต้องเรียน เป็นหลักสูตรเดียวกันกับที่ลามะรูปอื่นใช้ศึกษาในระดับปริญญาเอก ท่านบันทึกไว้ว่า “หลักสูตรที่ต้องเรียนเป็นวิชาเอก 5 วิชา วิชาโท 5 วิชา วิชาเอกได้แก่ ตรรกศาสตร์, ศิลปและวัฒนธรรมทิเบต,ภาษาสันสกฤต,วิชาแพทย์และพุทธปรัชญา โดยเฉพาะวิชาพุทธปรัชญายังแบ่งเป็นรายวิชาย่อยอีกคือปรัชญาปารมิตา,มัธยามิกะ,วินัยบัญญัติ,อภิธรรมปิฎก,และประมาณทวิทยา วิชาโท 5 สาขาได้แก่ กาพย์กลอน,ดนตรีและการละคร,โหราศาสตร์,วากยสัมพันธ์และคำสมาส วิชาพื้นฐานที่ขาดไม่ได้ในระบบการศึกษาของลามะในทิเบตคือวิภาษวิธี (Dialectic) ซึ่งใช้เป็นศิลปะในการตอบโต้ธรรมะ” (ประวัติและความเป็นมาของดาไลลามะองค์ปัจจุบัน ศึกษาได้จากหนังสือที่พระองค์นิพนธ์เองคือ Freedom in Exile)
              เมื่ออ่านจากหนังสือที่องค์ดาไลลามะนิพนธ์เองแล้ว ต้องยอมรับว่าการกลับชาติมาเกิดแม้จะถือเป็นหลักการใหญ่ แต่การจัดการศึกษาในช่วงระยะเวลาต่อมาก่อนที่จะได้รับการสถาปนาเมื่อายุ 18 ปี นั้น เป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่า ผู้ที่จะเป็นผู้นำของทิเบตจึงต้องมีความรู้แทบทุกสาขาเทียบเท่าปริญญาเอก จึงไม่น่าแปลกใจที่พระพุทธศาสนาแบบทิเบตได้เผยแผ่ไปทั่วโลกได้ในเวลารวดเร็ว เพราะภูมิรู้ของลามะโดยเฉาะดาไลลามะองค์ปัจจุบันเป็นผู้มีความรู้ลึกซึ้งทั้งทางโลกและทางธรรม
              ถึงจะมีความรู้และความสามารถขนาดไหน ก็ยังไม่สามารถที่จะทำให้ชาวทิเบตได้รับเอกราช จากจีน แม้แต่พระองค์เองก็กลายเป็นราชาและสังฆราชาที่ต้องลี้ภัยการเมืองอาศัยแผ่นดินของชาติอื่นเป็นที่อยู่อาศัยตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2505 ร่วมเสพเคาะห์กรรมกับพลเมืองทิเบตที่ต้องจากมาตุภูมิกลายเป็นผู้ไร้แผ่นดิน แต่ไม่สิ้นชาติ เพราะทุกวันนี้ชาวทิเบตยังคงกู่ร้องหาอิสรภาพด้วยสันติวิธีตามแนวทางแห่งพระพุทธศาสนา แม้เวลาจะล่วงเลยมาหลายปีแล้วก็ตาม 
              ท่านลอบชัง วังยัล ถอนหายใจอย่างเหนื่อยอ่อนในเคราะห์กรรมของชาวทิเบตที่ต้องกลายเป็นผู้ไร้อิสรภาพ ต้องอพยพจากบ้านเกิดเมืองนอนมาอาศัยแผ่นดินของผู้อื่นอยู่ ท่านจิบน้ำชาที่รสชาติเริ่มจืดชืด ผู้เขียนจึงสั่งเด็กชาวเนปาลให้นำโค็กมาให้พอดื่มและหายเหนื่อยแล้วท่านวังยัล ก็เริ่มจะสาธยายชีวิตความเป็นอยู่ของชาวทิเบตในภารตะประเทศต่อไป แต่ท่านธูปเท็น ชองโป โบกมือขอให้พอก่อนพร้อมด้วยประโยคที่ชาวอิตาเลี่ยนและชาวโลกไม่เคยลืมเลือนว่า “กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว” พวกเราจึงเข้าใจ และจบการสนทนากึ่งวิชาการบนดาดฟ้าอาคารหอวัฒนธรรมทิเบต ริมฝั่งแม่น้ำยุมนา ในขณะที่ดวงตะวันยามสายัณห์กำลังจะเลือนหายไปจากขอบฟ้าเบื้องปัจฉิมทิศ ฝูงนกกากำลังกลับรวงรังเหนือสายน้ำที่กำลังเอื่อยไหล หลังจากอ่อนล้าจากการแสวงหาอาหาร คงจะได้พักผ่อนเสียที ผู้เขียนรู้สึกอิจฉานกกาที่ยังมีรวงรังให้หวนกลับ แต่ศากยบุตรรูปนี้ไร้รัง เพราะต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนมาร่อนเร่พเนจรเหมือนนกจากรัง แฝงตัวอยู่ในท่ามกลางของผู้คนที่แตกต่างทางวัฒนธรรม พูดกันคนละภาษา อาหารการกินมีรสชาติที่ไม่ค่อยจะถูกลิ้น แต่ยังดีที่มีร่องรอยแห่งพระพุทธศาสนาให้ศึกษาผ่านวัฒนธรรมที่แตกต่างนั่นเอง

              ดร.ลอบชัง วังยัล จบการสนทนาด้วยประโยคที่น่าคิดว่า  “เวลาที่มนุษย์มีอิสรภาพมักจะมองไม่เห็นคุณค่าของอิสรเสรี แต่เมื่อใดที่คุณเป็นผู้ลี้ภัยจึงจะเห็นคุณค่าของอิสรภาพว่ามีคุณค่าเหนือสิ่งอื่นใด ทุกวันนี้ชาวทิเบตประมาณหกล้านคน ยังคงคิดอยู่เสมอว่าจีนจะใจกว้างยอมให้ทิเบตปกครองตนเองโดยเสรี เมื่อนั้นพวกเราชาวทิเบตคงจะมีประเทศเป็นของตัวเองเสียที ”
              ในรอบหลายปีที่ผ่านมาองค์ดาไลลามะยังคงเดินทางพบปะผู้นำประเทศต่างๆทั่วโลก แม้จะมีนัยแอบแฝงทางการเมือง แต่สิ่งหนึ่งที่มีผลตามมาคือชาวโลกได้รู้จักพระพุทธศาสนามากขึ้น และมีบุคคลผู้มีชื่อเสียงหลายท่านหันมานับถือพระพุทธศาสนาตันตรยานแบบทิเบต  หากจำไม่ผิดในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีจะมีงานใหญ่เฉลิมฉลองในกลุ่มชาวทิเบตที่เมืองธรรมศาลา อินเดีย ในช่วงเวลานั้นจะมีบุคคลผู้มีชื่อเสียงจากทุกมุมโลกเดินทางมาร่วมงาน
           
   เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการเมือง แต่ต้องการให้ย้อนอ่านถึงพระพุทธศาสนาในทิเบตและความสัมพันธ์กับจีน ทำไมจีนจึงโกรธนักโกรธหนาเมื่อองค์ดาไลลามะเดินทางไปพบกับประธานาธิบดีบารัค โอบามา เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา นัยทั้งหลายอ่านแล้วโปรดพิจารณา

 

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
เรียบเรียง/แก้ไขปรับปรุงใหม่
22/02/53

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก