ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai


              ดร.วังยัลเล่าต่อว่า “กษัตริย์ซองต์เซน กัมโป ของทิเบตมีพระมเหสี 2 พระองค์คือ เจ้าหญิง เวน เชงหรือบุ้นเช้งจากจีน และเจ้าหญิงภฤกฏเทวี จากเนปาล พระมเหสีทั้งสองเป็นพุทธศาสนิกชนได้นำเอาพระพุทธศาสนาเข้าไปด้วย ดังนั้นในยุคแรกพระพุทธศาสนาในทิเบตจึงเป็นการผสมระหว่างมหายายแบบจีน เนปาล และไสยศาสตร์ของทิเบต”
              ผู้ที่วางรากฐานของพระพุทธศาสนาในทิเบต คือท่านปัทมะสัมภาวหรือคุรุปัทมสัมภวะ(Padmasambhava) กับ ท่านศัณฑะรักขิต(สังฆรักขิต) ภิกษุจากแคว้นแคชเมียร์ ประมาณพุทธศักราช 1308-1363) ได้สร้างวัดแรกขึ้นชื่อวัดซัมเย การเผยแผ่พุทธศาสนาในยุคแรกเป็นไปอย่างไม่ราบรื่นนัก เพราะถูกผู้นิยมในศาสนาเก่าคือศาสนาบอนคอยขัดขวาง แต่มีพระทิเบตจำนวนหนึ่งได้เดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาทั้งจากจีนและอินเดียมีการแปลคัมภีร์เป็นภาษาทิเบตเป็นจำนวนมากทำให้คำสอนของพระพุทธศาสนาแพร่หลายอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13 เรื่อยมา พระพุทธศาสนาในทิเบตมีความเจริญและแตกเป็นนิกายต่าง ๆ 4 นิกาย คือ  


                      1. นิกายญิงมาปะ (Rnin-ma-pa ) ให้กำเนิดโดยท่านคุรุปัทมะสัมภวะ ภิกษุชาวแค็ซเมียร์ กษัตริย์ตริซอง เด็ทเซ็น ได้อาราธนาไปวางรากฐานพระพุทธศาสนาในทิเบต ระหว่างพุทธศักราช (1308-1363) ท่านได้ตั้งคณะสงฆ์ชาวทิเบตขึ้น มีการแปลพุทธธรรมและบทบัญญัติต่างๆเป็นภาษาทิเบต เมื่อท่านมรณภาพแล้วได้มีคณาจารย์สืบต่อกันเรื่อยมา เป็นพุทธศาสนาแบบตันตระ (Tantra) สวมหมวกแดง เครื่องแต่งกายสีแดง
                      2. นิกายการยุดปะ ((Bka-rgyud-pa) ก่อตั้งโดยท่านนาโรปะ ( Naropa พ.ศ.1555-1642 ) ภิกษุชาวอินเดีย นิกายนี้นิยมสีขาวในการประกอบพิธีบางครั้งพระจะห่มผ้าสีขาว กำแพงวัด วิหารล้วนนิยมสีขาว จึงมักนิยมเรียกนิกายนี้ว่า นิกายขาว (White Sect) พระในนิกายนี้ที่โด่งดังมากที่สุดรูปหนึ่งคือท่านมิราเลปะ (Milarepa) ผู้ประพันธ์ A Hundred Thousand Songs) ซึ่งบางตอนของบทเพลงตามนี้ ร. บุญโญรส ได้ถ่ายทอดเป็นภาษาไทยในชื่อ ธรรมคีตาของมิลาเรปะ
                      3. นิกายศากยะ (Sa-skya-pa) ก่อตั้งโดยท่านอติษะ (Atisa พ.ศ. 1536-1593) ชาวอินเดีย นิกายนี้มีความเชื่อว่าสัจธรรมของพระโพธิสัตว์สามารถจะบรรลุได้ด้วยการเจริญสมาธิภาวนาตามลำดับขั้น ต้องรักษาศีลอย่างเคร่งครัดและหมั่นศึกษาพุทธธรรมอยู่เสมอ นอกจากนั้นยังเน้นที่การประสานงานระหว่างอาจารย์ลูกศิษย์สัจธรรมจนกลายเป็นหนึ่งเดียว
                      4. เกลุกปะ (Dge-lugs-pa) ก่อตั้งโดยท่านซองขะปะ (Tson kha-pa พ.ศ. 1890-1962)ภิกษุชาวทิเบต ซึ่งปฏิรูปมาจากคำสอนของท่านอติษะ แห่งนิกายศากยะ เมื่อเริ่มก่อตั้งเรียกว่าคาแดมปะ (Kha-dam-pa) ซึ่งเน้นหนักที่มายาศาสตร์ ท่านซองขะปะนักบุญชาวทิเบตได้ปฏิรูปนิกายนี้เสียใหม่ โดยเน้นที่ความเป็นเลิศทางศีลธรรมและสติปัญญา พระในนิกายนี้นิยมเรียกว่าพระหมวกเหลือง (เกี่ยวกับการจำแนกนิกายในทิเบต ผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก Buddhism in Tibet โดย Donald S. Lopez, Jr. รวมพิมพ์ใน Companion Encyclopedia of Asian Philosophy พิมพ์ในปีคริสตศักราช 1997)
                      ผู้เขียนไม่แปลกใจว่าทำไมทิเบตจึงยอมรับพระพุทธศาสนานิกายตันตระก่อนนิกายอื่น เพราะนิกายตันตระ ออสติน แวดเดล (Austin Waddel ) ได้อธิบายตันตระไว้ในหนังสือพุทธศาสนาประวัติระหว่าง 2500 ปีที่ล่วงแล้วหน้า 251 ว่า “ลัทธิตันตระในพระพุทธศาสนานั้น ไม่ใช่อะไรอื่น นอกจากลัทธิพุทธ ผีสางเทวดา” ลักษณะพิเศษของตันตระคือเชื่อในเทพเจ้าและเทพี ชาวตันตระเชื่อว่าด้วยความโปรดปรานของเทพเจ้าจะทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุ “สิทธิ” หรือความสำเร็จได้ ซึ่งความเชื่อแบบนี้สอดคล้องกับความเชื่อดังเดิมของชาวทิเบตคือความเชื่อในอำนาจของเทพเจ้า ชาวทิเบตรับเอาพุทธศาสนานิกายตันนตระเพราะตรงกับความเชื่อแบบดั้งเดิมของพวกเขา เป็นการเสริมพลังอำนาจให้เข้าใกล้ตัวเทพเจ้ามากยิ่งขึ้น ดังนั้นตันตระซึ่งยังคงมีอิทธิพลต่อชาวทิเบตตลอดมา


                      นิกายที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือนิกายเกลุกปะ ต่อมาในปีพุทธศักราช 2086 ผู้นำชาวมองโกลชื่อ อัลตานข่าน (Altan Khan) ได้มองเห็นความสำคัญของลามะในนิกายเกลุกปะ จึงได้สถาปนาผู้นำนิกาย เกลุกปะ ชื่อสอดนัมยาโส ประมุขสงฆ์องค์ที่ 3 ขึ้นเป็นดาไลลามะ แต่ให้มีผลย้อนหลังไปยังประมุขสงฆ์องค์ที่ 1คือเกดัน ทรัปปะ ดังนั้นคำว่า “ดาไลลามะ”(Dalai Lamas) จึงเริ่มต้นในปี 2121 และสืบต่ออำนาจเรื่อยมา ดาไลลามะที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือองค์ที่ 5 พระนามว่า งาวัง โลซัง กยัตโส มีอายุระหว่างพ.ศ. 2158-2223 พระองค์เป็นทั้งนักปราชญ์และนักปกครอง ได้ทรงรวบรวมประเทศทิเบตให้เป็นปึกแผ่น จนกระทั่งกษัตริย์มองโกล ซึ่งมีอำนาจปกครองทิเบตในขณะนั้น    ได้มอบอำนาจให้ดาไลลามะเป็นผู้มีอำนาจในการปกครองทิเบตอย่างเด็ดขาดทั้งฝ่ายราชอาณาจักรและศาสนจักร ทิเตจึงถือเป็นปีระเพณีสืบต่อกันมาว่า ดาไลลามะคือผู้ปกครองประเทศที่มีอำนาจสูง (การสถาปนาลามะ ความเป็นไปของคณะสงฆ์ในทิเบต ผู้สนใจศึกษาเพิ่มเติมได้จาก The Tibet : The Rise and Fall of a Monastic Tradition โดย Per Kvaerne รวมพิมพ์ใน World of Buddhism พิมพ์ในปี ค.ศ. 1984)
                      ปัจจุบันทิเบต มีดาไลลามะองค์ที่ 14 มีพระนามว่าจัมเฟล ลอบซัง เยเซ เท็นซิน กยัตโส (ชื่อเดิมคือลาโม ทอนดุป ลูกชายชาวนาแห่งหมู่บ้านตักเซอร์ แคว้นอัมโด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชายแดนระหว่างทิเบตกับจีน ทิเบตมีนายกรัฐมนตรี 2 ตำแหน่งคือลามะเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ และนายกรัฐมนตรีฆราวาสเป็นผู้นำทางการเมือง ส่วนดาไลลามะเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศที่ตัวเองต้องลี้ภัยในการเมือง มีรัฐบาลที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในประเทศของตน แต่ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ในเมืองธรรมศาลาหรือธรัมศาลา (Dharamsala ) ประเทศอินเดีย ในปี 2532 พระองค์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพด้วย มีเพียงประเทศเดียวในโลกที่ประมุขของประเทศเป็นพระสงฆ์คือดาไลลามะแห่งทิเบต 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก