ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

            วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11ของทุกปีเป็นวันวันปวารณาออกพรรษา พระภิกษุสามเณรได้อยู่จำพรรษามาครบสามเดือนเต็มก็ถึงเวลาที่มีสิทธิ์ในการเดินทางไปพักยังที่อื่นๆได้ ซึ่งก็ยังคงเป็นวัดเหมือนเดิมแต่เปลี่ยนสถานที่ ตามธรรมดาของมนุษย์มักจะจะอยู่ที่ไหนนานๆติดต่อกันไม่ค่อยได้ ต้องเปลี่ยนที่เปลี่นทางกันบ้าง แต่ปีนี้คงไปไหนได้ยากเพราะถนนหลายสายถูกน้ำท่วม การคมนาคมเลยถูกตัดขาด หนังสือพิมพ์และโทรทัศน์เสนอข่าวน้ำท่วมทุกวัน เลยลืมข่าวที่เคยเป็นที่นิยมติดต่อกันมาตลอดระยะเวลาหลายปีคือบั้งไฟพญานาค ซึ่งมีขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พอดี  ที่จังหวัดหนองคาย อ๋อ...ลืมไปต้องบอกว่าจังหวัดบึงกาฬสิเพราะพึ่งเป็นจังหวัดใหม่ล่าสุดของประเทศไทย 
         บั้งไฟพญานาคนั้นจะเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติหรือเป็นเรื่องที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภพภูมิหนึ่งคือนาคพิภพก็ตาม แต่ว่าชาวบ้านในแถบนั้นได้มีความเชื่อว่าดวงไฟที่ผุดขึ้นจากแม่น้ำโขงคือการบูชาพระพุทธศาสนาโวยการจุดบั้งไฟมาจากเมืองใต้บาดาลอันเป็นที่อาศัยของพญานาค  การผุดขึ้นของดวงไฟคาดคะเนไม่ได้ว่าจะมากหรือน้อย แต่คนส่วนหนึ่งก็ยังคงเตรียมตัวเตรียมใจเฝ้ารอชมมหกรรมริมฝั่งแม่น้ำโขง จนกลายเป็นประเพณีอย่างหนึ่งของผู้คนสองฝั่งโขง เรื่องของพญานาคนั้นพระพุทธศาสนาได้แสดงหลักฐานไว้อย่างไรหรือไม่  

          พญานาคหมายถึงงูใหญ่ มีหงอน เป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา  และบันไดสายรุ้งสู่จักรวาล  เป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์  จากการจำศีล บำเพ็ญภาวนา ศรัทธาในพุทธศาสนา  ไม่เบียดเบียนผู้อื่น  พญานาคนั้นเรามักจะพบเห็นเป็นรูปปั้นหน้าโบสถ์ ตามวัดต่างๆ บันไดขึ้นสู่วัดในพุทธศาสนาภาพเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง กับศาสนาพุทธอีกมากมาย และนครวัดมหาปราสาท ถ้าเราจะสังเกต ก็คงจะเป็นที่ศาสนาพุทธ ทำไมมีเรื่องราวพญานาคมาเกี่ยวข้องมาก พญานาค ในตำนานของฝรั่ง หรือชาวตะวันตก ถือว่าเป็นตัวแทนของกิเลส ความชั่วร้าย  ตรงข้ามกับชาวตะวันออก ที่ถือว่า งูใหญ่ พญานาค มังกร  เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พลังอำนาจ   ชาวฮินดูถือว่า พญานาคเป็นผู้ใกล้ชิดกับเทพองค์ต่าง ๆ เป็นเทพเจ้าแห่งน้ำ เช่น  อนันตนาคราช  ที่เป็นบัลลังก์ของพระนารายณ์ตรงกับความเชื่อของลัทธิพราหมณ์ ที่เชื่อว่า นาค เป็นเทพแห่งน้ำ เช่นปีนี้ นาค ให้น้ำ 1 ตัว  หมายถึงน้ำจะมาก จะท่วมที่ทำการเกษตร ไร่นา ถ้าปีไหน นาคให้น้ำ  7 ตัว  น้ำจะน้อย   ตัวเลขนาคให้น้ำจะกลับกันกับเหตุการณ์ เนื่องจาก ถ้านาคให้น้ำ 7 ตัว น้ำจะน้อยเพราะนาคกลืนน้ำไว้

พญานาคกับพระพุทธศาสนา
             พญานาคมีปรากฎหลายแห่งทั้งในพระไตรปิฎกอันเป็นคัมภีร์สำคัญของพระพุทธศาสนาเถรวาทและอรรถกถาดังต่อไปนี้ ในวินัยปิฎก มหาวรรค (4/5/7) กล่าวถึงมุจจลินทนาคราช  ความว่าครั้นล่วง 7 วัน พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากควงไม้อชปาลนิโครธ เข้าไปยังต้นไม้มุจจลินท์ แล้วประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้มุจจลินท์ตลอด 7 วัน  ครั้งนั้น เมฆใหญ่ในสมัยมิใช่ฤดูกาลตั้งขึ้นแล้ว ฝนตกพรำเจือด้วยลมหนาว ตลอด 7 วัน  มุจจลินทนาคราชออกจากที่อยู่ของตน ได้แวดวงพระกายพระผู้มีพระภาคด้วยขนด 7 รอบ ได้แผ่พังพานใหญ่เหนือพระเศียรสถิตอยู่ด้วยหวังใจว่า ความหนาว ความร้อนอย่าเบียดเบียนพระผู้มีพระภาค สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน อย่าเบียดเบียนพระผู้มีพระภาค ครั้นล่วง 7 วัน มุจจลินทนาคราชรู้ว่า อากาศปลอดโปร่งปราศจากฝนแล้ว จึงคลายขนดจากพระกายของพระผู้มีพระภาค จำแลงรูปของตนเป็นเพศมาณพ ได้ยืนประคองอัญชลีถวายมนัสการพระผู้มีพระภาค ทางเบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาค
            ในอรรถกถาพระวินัย  สมันตปาสาทิกา   มหาวิภังควรรณนา หน้า 202  ในการอรรถาธิบายพระพุทธคุณบทว่า “ปุริสทมฺมสารถิ”  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นที่ทรงพระนามว่า   ปุริสทมฺมสารถิ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่ายังบุรุษผู้พอจะฝึกได้ให้แล่นไป   มีอธิบายไว้ว่าย่อมฝึกคือแนะนำ สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ก็ดี  มนุษย์ผู้ชายก็ดี   อมนุษย์ผู้ชายก็ดี  ผู้ที่ยังมิได้ฝึก  ควรเพื่อจะฝึกได้    ชื่อว่าปุริสทัมมา   ในคำว่าปุริสทมฺมสารถินั้น แม้สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้มีอาทิอย่างนี้   คือ    อปลาลนาคราช  จุโฬทรนาคราช  มโหทรนาคราช  อัคคิสิขนาคราช ธูมสิขนาคราช   อาลวาฬนาคราช   ช้างชื่อธนบาลก์ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกแล้วคือทรงทำให้สิ้นพยศแล้วให้ตั้งอยู่ในสรณะและศีลทั้งหลาย 
              อรรถกถาปาสราสิสูตร  มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม 1 ภาค 2  หน้าที่ 456 ได้กล่าวถึงพญานาคไว้ว่า เมื่อพระโพธิสัตว์เสด็จไปยังริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราแล้ววางถาดทองไว้ริมฝั่งลงสรงน้ำเสด็จขึ้นแล้ว   ทรงปั้นข้าวมธุปายาสจำนวน 49 ก้อน   เสวยข้าวมธุปายาสแล้วทรงเสี่ยงทายว่าถ้าเราจะเป็นพระพุทธเจ้าวันนี้  ขอถาดจงลอยทวนกระแสน้ำดังนี้แล้วทรงเหวี่ยงถาดไป   ถาดก็ลอยทวนกระแสน้ำแล้วหยุดหน่อยหนึ่ง   เข้าไปสู่ภพของท้าวกาฬนาคราช   วางทับถาดของพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ 
              อรรถกถาพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม 3 ภาค 1  หน้าที่ 115  กล่าวไว้ทำนองเดียวกันว่า พระโพธิสัตว์ครั้นเสวยข้าวข้าวปายาสนั้นแล้ว  จับถาดทองทรงอธิษฐานว่า  ถ้าเราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในวันนี้ไซร้   ถาดของเราใบนี้จงลอยทวนกระแสน้ำไป   ถ้าจักไม่ได้เป็นจงลอยไปตามกระแสน้ำ    ครั้นทรงอธิษฐานแล้วได้ลอยถาดไป    ถาดนั้นลอยตัดกระแสน้ำไปถึงกลางแม่น้ำ ณ ที่ตรงกลางแม่น้ำนั่นแลได้ลอยทวนกระแสน้ำไปสิ้นสถานที่ประมาณ  80  ศอก   เปรียบเหมือนม้าซึ่งเพียบพร้อมด้วยฝีเท้าอันเร็วไวฉะนั้น แล้วจมลงที่น้ำวนแห่งหนึ่งจมลงไปถึงภพของกาลนาคราช กระทบถาดเครื่องบริโภคของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ มีเสียงดังกริ๊ก ๆ แล้วได้วางรองอยู่ใต้ถาดเหล่านั้น  กาลนาคราชครั้นได้สดับเสียงนั้นแล้ว   กล่าวว่า  เมื่อวานนี้พระพุทธเจ้าทรงบังเกิดแล้วองค์หนึ่ง   วันนี้บังเกิดอีกองค์หนึ่ง   จึงได้ยืนกล่าวสดุดีด้วยบทหลายร้อยบท ได้ยินว่า    เวลาที่มหาปฐพีงอกขึ้นเต็มท้องฟ้าประมาณหนึ่งโยชน์สามคาวุต ได้เป็นเสมือนวันนี้  หรือวันพรุ่งนี้แก่กาลนาคราชนั้น  อายุของกาลนาคราชยืนยาวมากเพราะหากถือตามนี้หนึ่งพุทธันดรเท่ากับ 1 วันของพญานาค
               พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม 1 ภาค 2 ตอน 1  หน้าที่ 119 บรรยายไว้ว่า เวลาเย็นทรงรับหญ้าที่นายโสตถิยะถวาย  มีพระคุณอันพระยากาฬนาคราชชมเชยแล้ว  เสด็จสู่ควงไม้โพธิ ปฏิญญาว่า"เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้ ตลอดเวลาที่จิตของเราจักยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายด้วยการไม่เข้าไปถือมั่น"

               อรรถกถารัฏฐปาลสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม 2 ภาค 2  หน้าที่ 48    ได้กล่าวถึงพญานาคเคยถวายทานแด่พระพุทธเจ้าว่า ครั้งนั้นกุฏุมพีทั้งสองนั้นทำการบำรุงดาบสเหล่านั้นจนตลอดชีวิต เมื่อเหล่าดาบสบริโภค แล้วอนุโมทนา  รูปหนึ่งกล่าว   พรรณนาคุณของภพท้าวสักกะ   รูปหนึ่งพรรณนาคุณภพของนาคราชเจ้าแผ่นดิน
               บรรดากุฏุมพีทั้งสอง  คนหนึ่งปรารถนาภพท้าวสักกะ  ก็บังเกิดเป็นท้าวสักกะ   คนหนึ่งปรารถนาภพนาคก็เป็นนาคราชชื่อปาลิตะ  ท้าวสักกะเห็นนาคนั้นมายังที่บำรุงของตน   จึงถามว่า  ท่านยังยินดียิ่งในกำเนิดนาคอยู่หรือ   ปาลิตะนาคราชนั้นตอบว่า    เราไม่ยินดีดอกท้าวสักกะบอกว่าถ้าอย่างนั้นท่านจงถวายทานแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระสิ  แล้วทำความปรารถนาจะอยู่ในที่นี้      เราทั้งสองจะอยู่เป็นสุข นาคราชนิมนต์พระศาสดามาถวายมหาทาน 7 วันแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งมี  ภิกษุ 100,000 รูป   เป็นบริวาร   เห็นสามเณรโอรสของพระปทุมุตตรทศพลชื่ออุปเรวตะ  วันที่  7  ถวายผ้าทิพย์แด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขจึงปรารถนาตำแหน่งของสามเณร 
                อรรถกถาปุณโณวาทสูตร  มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม 3 ภาค 2  หน้าที่ 449   พระพุทธเจ้าเคยเสด็จไปแม่น้ำชื่อ นัมมทา ได้เสด็จไปถึงฝั่งของแม่น้ำนั้น   นัมมทานาคราชถวายการต้อนรับ  พระศาสดาทูลเสด็จเข้าสู่ภพนาคได้กระทำสักการะพระรัตนตรัยแล้ว   พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่นาคราชนั้นแล้ว  ก็เสด็จออกจากภพนาค  นาคราชนั้นกราบทูลขอว่าได้โปรดประทานสิ่งที่พึงบำเรอแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงบทเจดีย์  รอยพระบาท ไว้ที่ฝั่งแม่น้ำนัมมทา  รอยพระบาทนั้นเมื่อคลื่นซัดมาก็ถูกปิด  เมื่อคลื่นเลยไปแล้วก็ถูกเปิด   กลายเป็นรอยพระบาทที่ถึงสักการะอย่างใหญ่   เมื่อพระศาสดาทรงออกจากนั้นแล้วก็เสด็จถึงภูเขาสัจจพันธ์     ตรัสกับพระสัจจพันธ์ว่ามหาชนถูกเธอทำให้จมลงในทางอบาย เธอต้องอยู่ในที่นี้แหละ  แก้ลัทธิของพวกคนเหล่านี้เสีย  แล้วให้พวกเขาดำรงอยู่ในทางพระนิพพาน  แม้ท่านพระสัจจพันธ์นั้น  ก็ทูลชื่อสิ่งที่จะต้องบำรุง พระศาสดาก็ทรงแสดงรอยพระบาทไว้บนหลังแผ่นหินทึบเหมือนประทับตราไว้บนก้อนดินเหนียวสด ๆ  ฉะนั้นต่อจากนั้นก็เสด็จไปถึงพระเชตวัน
               ในรัตนสูตร  ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม 1 ภาค 1  หน้าที่ 225  กล่าวถึงการต้อนรับของพญานาคว่า ครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสาร   ทรงทำเรือขนาน 2 ลำแล้วสร้างมณฑปประดับด้วยพวงดอกไม้    ปูลาดพุทธอาสน์ทำด้วยรัตนะล้วน  ณ  มณฑปนั้น ที่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์นั้น แม้ภิกษุ  500  รูปก็ลงเรือนั่งกันตามสมควร  พระราชาส่งเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าลงน้ำประมาณแต่พระศอกราบทูลว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอยู่กันริมฝั่งแม่น้ำคงคานี้นี่แหละจนกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จกลับมา   แล้วก็เสด็จกลับ เทวดาเบื้องบนจนถึงอกนิษฐภพได้พากันทำการบูชานาคราชทั้งหลายมีกัมพลนาคและอัสสตรนาคเป็นต้น    ซึ่งอาศัยอยู่ใต้แม่น้ำคงคา   ก็พากันทำการบูชาด้วยการบูชาใหญ่อย่างนี้   พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปทางแม่น้ำคงคาสิ้นระยะทางไกลประมาณโยชน์หนึ่ง  ก็เข้าเขตแดนของพวกเจ้าลิจฉวีกรุงเวสาลี

               ในอรรถกถาชาดก  เอกนิบาต  ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม 3 ภาค 1  หน้าที่ 58 กล่าวถึงพระพุทธเจ้าเคยเป็นพญานาคว่า ในกาลนั้นพระมหาสัตว์ได้เป็นนาคราชนามว่า อตุละมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก  พระยานาคนั้นได้ยินว่า พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว   มีหมู่ญาติห้อมล้อมแล้ว   ออกจากนาคพิภพ   ให้กระทำการบรรเลงถวายด้วยทิพยดนตรี  แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์บริวารแสนโกฎิถวายผ้าคู่เฉพาะองค์แล้วตั้งอยู่ในสรณะ  พระศาสดาแม้นั้นก็ทรงพยากรณ์เขาว่าจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต    พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ชื่อเมขลา  พระราชาทรงพระนามว่า  สุทัตตะ   เป็นพระราชบิดาพระราชมารดาทรงพระนามว่าสิริมา  พระอัครสาวกสององค์คือสรณะและภาวิตัตตะ พระอุปราชนามว่าอุเทนะ  พระอัครสาวิกาสององค์นามว่า    โสณาและอุปโสณา  และต้นนาคพฤกษ์เป็นไม้ตรัสรู้   พระสรีระสูงได้  90 ศอก ประมาณพระชนมายุได้ 90,000 ปี ด้วยประการฉะนี้

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก