ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

             มีปัญหาที่ถกเถียงกันมาตลอดว่าพระพุทธศาสนามีแนวคิดใกล้เคียงกับอภิปรัชญาใดมากที่สุดเป็นธรรมชาตินิยม สัจจนิยม จิตตนิยม สสารนิยม หรือเหตุผลนิยม  มีนักปรัชญาพุทธหลายท่านพยายามตอบคำถามนี้ ซึ่งแต่ละประเด็นเป็นสิ่งที่ควรศึกษาค้นคว้า  พระพุทธศาสนานั้นมีคำสอนหลายอย่างที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับปรัชญา และปรัชญาก็มีเนื้อหาหลายส่วนที่มีอยู่ในพระพุทธศาสนา ดังนั้นจึงมีการนำเสนอแนวคิดที่หลากหลาย

ความจริงแท้คืออะไร     
             เนื่องจากแนวคิดของปรัชญาตะวันตกกับพระพุทธศาสนานั้น มีกำเนิดต่างกันปรัชญาตะวันตกส่วนหนึ่งมาจากพื้นฐานความเชื่อเรื่องการมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้นการอธิบายหลักการต่างๆจึงมักจะสิ้นสุดลงที่พระเจ้า  ส่วนพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม(Atheism)คือไม่ยอมรับการมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้นการอธิบายหลักการต่างๆ จึงไม่ขึ้นอยู่กับพระเจ้า แต่ขึ้นอยู่กับมนุษย์และธรรมชาติ พระพุทธศาสนายอมรับความจริงแท้ ซึ่งอยู่ในขอบข่ายของอภิปรัชญา  แต่แตกต่างไปจากปรัชญาตะวันตก   มีปัญหาถกเถียงกันมากว่าพระพุทธศาสนามีทัศนะใกล้เคียงกับอภิปรัชญาใดมากที่สุด เป็นธรรมชาตินิยม สัจจนิยม จิตตนิยม สสารนิยมหรือเหตุผลนิยมตามหลักปรัชญาตะวันตก
              ปัญหาที่ว่าความจริงแท้คืออะไรนั้นหากตอบตามทัศนะของปรัชญาความจริงแท้เทียบได้กับคำว่าอันติมสัจจะ(Ultimate Reality) ในทางปรัชญาหมายถึงความเป็นจริงขั้นสูงสุด   (ราชบัณฑิตยสถาน,พจนานุกรมศัพท์ปรัชญาฉบับราชบัณฑิตสถาน,พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ:ราชบัณฑิตยสถาน,2548, หน้า 101.)
              ในแต่ละสำนักทางปรัชญาหรือศาสนามีคำตอบไม่เหมือนกันเช่นทาเลสคือน้ำ ในศาสนาฮินดูคือปรมาตมัน
              ในพระพุทธศาสนาสัจจะหรือความจริงมีสองอย่างตามที่แสดงไว้ในอรรถกถา อังคุตตรนิกายว่า   พระสัมพุทธเจ้าเป็นยอดของผู้กล่าวสอนทั้งหลายได้ตรัสสัจจะสองอย่างคือสมมติสัจจะ    และปรมัตถสัจจะไม่ตรัสสัจจะที่สาม  คำที่ชาวโลกหมายรู้กันก็เป็นสัจจะ เพราะมีโลกสมมติเป็นเหตุ    คำที่ระบุถึงสิ่งที่เป็นปรมัตถ์ก็เป็นสัจจะเพราะมีความจริงของธรรมทั้งหลายเป็นเหตุ    เพราะฉะนั้นมุสาวาทจึงไม่เกิดแก่พระโลกนาถผู้ศาสดาผู้ฉลาดในโวหาร ผู้ตรัสตามสมมติ (องฺ. อรรถกถา. 1/185.) 
              สมมุติสัจจะคือความจริงโดยสมมุติ ความจริงที่ขึ้นต่อการยอมรับของคน ความจริงที่ถือตามความกำหนดหมายตกลงกันไว้ของชาวโลกเช่นว่าคนสัตว์ โต๊ะ เก้าอี้เป็นต้น
              ปรมัตถสัจจะ  ความจริงโดยปรมัตถ์ ความจริงที่มีอยู่ในธรรมชาติ โดยไม่ขึ้นต่อการยอมรับของคน  ความจริงตามความหมายขั้นสุดท้ายที่ตรงตามสภาวะและเท่าที่จะกล่าวถึงได้เช่นว่า รูป นาม เวทนา จิต เจตสิก เป็นต้น   (พระพรหมคุณาภรณ์,พจนานุกรมพุทธศาสตร์,พิมพ์ครั้งที่ 13,กรุงเทพ ฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์,2548,หน้า 75.)
              ในพระพุทธศาสนาแสดงความจริงอันประเสริฐไว้ว่าอริยสัจสี่อันประกอบด้วยทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดังคำกล่าวยืนยันว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ 
               ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา  ภวตัณหา วิภวตัณหา  
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน 
               ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ 8  คือปัญญาอันเห็นชอบ   ความดำริชอบ  เจรจาชอบ  การงานชอบ  เลี้ยงชีวิตชอบ  พยายามชอบ  ระลึกชอบ  ตั้งจิตชอบ   (วิ.มหา 4/13/16)
               ความจริงแท้ในพระพุทธศาสนาจึงมิใช่สิ่งเดียวแต่เป็นทั้งตัวปัญหา สาเหตุ การแก้ปัญหา และวิธีการในการแก้ปัญหา เมื่อกระทำให้สิ้นสุดตามกระบวนการแล้วจึงเข้าสู่ภาวะแห่งการตรัสรู้ดังที่พระองค์ยืนยันว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา ในอริยสัจสี่นี้  มีรอบสาม มีอาการ 12 อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่าเป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์  อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความพ้นวิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีต่อไป (วิ.มหา. 4/16/18)
               อริยสัจจ์ตรงตามความหมายของความจริงแท้ในที่นี่ พร้อมทั้งแสดงวิธีการในการเข้าถึงความจริง จึงเป็นอภิปรัชญาคือทุกขสัจจ์ ร้อมทั้งสาเหตุเกิดคือสมุทัย ญานวิทยาคือมรรคมีองค์ 8 นิโรธความดับทุกข์ได้นั้นจึงเป้นความจริงแท้ที่พระพุทธศาสนาเรียกว่า นิพพานคือภาวะที่จิตรู้ตามความเป็นจริงแล้วเข้าสู้การรู้แจ้ง นิพพานรู้ได้ยาก ดังที่พระพุทธเจ้าหลังจากตรัสรู้ใหม่ๆก็ทรงใคร่ครวญว่า บัดนี้ เรายังไม่ควรจะประกาศธรรมที่เราได้บรรลุแล้วโดยยาก เพราะธรรมนี้อันสัตว์ผู้อันราคะและโทสะครอบงำแล้วไม่ตรัสรู้ได้ง่าย สัตว์ผู้อันราคะย้อมแล้ว ถูกกองอวิชชาหุ้มห่อแล้ว จักไม่เห็นธรรมอันละเอียดลึกซึ้ง ยากที่จะเห็น ละเอียดยิ่ง อันจะยังสัตว์ให้ถึงธรรมที่ทวนกระแสคือนิพพาน  (วิ.มหา.4/7/9)
                ส่วนความจริงแท้อีกอย่างหนึ่งแสดงไว้ในอภิธรรมเรียกว่าปรมัตถธรรม คือสภาวะที่มีอยู่โดยปรมัตถ์ สิ่งที่เป็นจริงโดยความหมายสูงสุดได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน  ความจริงแท้ในพระพุทธศาสนาจึงสรุปลงที่รูปนาม 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก