ความสัมพันธ์ทางศาสนาระหว่างไทยกับศรีลังกา
ประเทศไทยกับศรีลังการับเอาพระพุทธศาสนาเข้ามาในยุคเดียวกัน แต่มีช่วงหนึ่งพระสงฆ์ศรีลังกาถูกรุกรานจนไม่มีพระสงฆ์พอจะทำพิธีอุปสมบทได้จนมีนักปราชญ์บางท่านบอกว่าเหลือเพียงสามเณรสณังกรรูปเดียว จนต้องขอพระสงฆ์ไทยเพื่อไปทำการอุปสมบทให้กับชาวพุทธในศรีลังกาดังข้อความตอนหนึ่งว่า “กษัตริย์ลังกาได้รับคำแนะนำจากพระสรณังกร เมื่อ พ.ศ. 2294 (ไทยนับ 2293 ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้ส่งพระสมณทูตไทยจำนวน 10 รูป มีพระอุบาลีเป็นหัวหน้า เดินทางมาประเทศลังกา มาทำการบรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรชาวลังกาถึงสามพันคน ณ เมืองแคนดี สามเณรสรณังกรซึ่งได้รับการอุปสมบทในครั้งนี้ ได้รับการสถาปนาจากกษัตริย์ลังกาให้เป็นสมเด็จพระสังฆราช จึงได้เกิดคณะสงฆ์นิกายสยามวงศ์ หรืออุบาลีวงศ์ขึ้นในลังกา ต่อมาพระอุบาลีเถระเกิดอาพาธและได้มรณภาพในลังกาในเวลาต่อมา ในสมัยเดียวกันนั้นได้มีสามเณรคณะหนึ่งเดินทางไปขอรับการอุปสมบทในประเทศพม่า แล้วกลับมาตั้งนิกาย “ อมรปุรนิกาย” ขึ้น อีกคณะหนึ่งได้เดินทางไปขออุปสมบทจากคณะสงฆ์เมืองมอญ กลับมาตั้งนิกาย “ รามัญนิกาย” ขึ้น ในสมัยนี้ได้มีนิกายเกิดขึ้นในลังกา 3 นิกาย คือ 1. นิกายสยามวงศ์ หรือลังกาวงศ์ 2. นิกายอมรปุรนิกาย 3. นิกายรามัญ นิกายทั้ง 3 นี้ ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน (พระเทพเวที,(ประยุทธ์ ปยุตฺโต, พระพุทธศาสนาในเอเซีย) กรุงเทพฯ : ธรรมสภา 2540 หน้า 248)
สยามวงศ์จึงเกิดขึ้นในศรีลังกา และคงอยู่เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน มีการแลกเปลี่ยนพระสงฆ์ระหว่างสองประเทศเพื่อไปศึกษาหลักธรรมเรื่อยมา จนบางสำนักถือเป็นธรรมเนียมที่จะต้องส่งพระภิกษุหรือสามเณรไปศึกษาที่ศรีลังกา ดังนั้นวัฒนธรรมประเพณีด้านพระพุทธศาสนาจึงใกล้เคียงกัน
สายสัมพันธ์ไทย-ศรีลังกา สมัยรัตนโกสินทร์
ประเทศไทยกับศรีลังกามีการติดต่อด้านกิจการพระพุทธศาสนาครั้งแรกดังหลักฐานว่า “ได้จัดส่งพระสงฆ์ไทย 10 รูป ออกเดินทางเมื่อ พ.ศ. 2357 เมื่อไปถึงพักอยู่ที่บุปผาราม เมืองแกนดี้ พักอยู่หนึ่งปีจึงเดินทางกลับ หน่อต้นโพธิ์ลังกา และพระพุทธรูปหลายชนิดมาถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย หน่อต้นโพธิ์ปลูกที่นครศรีธรรมราช 2 ต้น วัดมหาธาตุ 1 ต้น วัดสระเกศ 1 ต้น และมีผู้ทูลขอไปปลูกที่กลันตัน 1 ต้น
ปัจจุบันภาพรวมพุทธในศรีลังกาและประเทศไทย
พระมหามนัส กิตติสาโร ซึ่งเดินทางไปอินเดียในเดือนธันวาคม 2548 เล่าให้ฟังว่า สภาพทั่วไปของศรีลังกา เมื่อแรกที่ไปถึงจะทราบได้ทันที่ว่าเป็นเมืองพุทธ เพราะมีสัญญลักษณ์มากมายเช่นธงฉัพพัณณรังสี ปักเป็นธงธิวอย่างสวยงาม โบราณสถานทางพระพุทธศาสนาได้รับการอนุรักษ์ดูแลรักษาไว้อย่างดีเยี่ยม ชาวพุทธความความรพอย่างจริงใจ เวลาเดินภายในบริเวณโบราณสถานจะต้องถอดรองเท้า นอกจากนั้นยังมีการสร้างเจดีย์สถานใหม่ๆขึ้นสรุปว่าด้านโบราณสถานศรีลังกาเจริญก้าวหน้ามาก
ด้านวัฒนธรรมประเพณีที่เกี่ยวกับพุทธศาสนายังอนุรักษ์ไว้ ในปีหนึ่งๆจะมีประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก ลูกเล็กเด็กหนุ่มให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีสอดคล้องกับทีมีผู้ยืนยันว่าวัดเป็นศูนย์กลางของชาวพุทธว่า “ชาวพุทธศรีลังกาไม่ว่าจะอยู่ในเมืองใหญ่หรือในชนบทยังยึดถือวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนและมักจะเข้าร่วมกิจกรรมของวัดอยู่เป็นประจำ ในการไปร่วมงานตามวัดต่างๆนั้น ชาวบ้านจะมีทุกเพศทุกวัย เด็กเล็ก วัยรุ่น หนุ่มสาว ผู้ใหญ่ ผู้เฒ่า หรือแม้แต่คนพิการจะมาร่วมงานอย่างเนืองแน่น และผู้ที่เป็นเรี่ยวแรงสำคัญของวัดในการจัดงาน จัดสถานที่หรือให้บริการผู้ที่มาร่วมงาน ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กวัยรุ่นหนุ่มสาว
การฉลองวันวิสาขะในเพ็ญเดือนเจ็ดของทุกปี ชาวศรีลังกาจะมีงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่เพราะถือว่าเป็นวันที่พระมหินทเถระนำเอาพระพุทธศาสนามาเผยแผ่ที่ศรีลังกาเป็นครั้งแรกเรียกว่าวันโปสัน นอกจากนั้นยังมีประเพณีที่ไทยไม่มีคือประเพณีแห่พระบรมสารีริกธาตุ ส่วนสิ่งที่ใช้เป็นตัวแทนคือธงฉัพพรรณรังสีมีเฉพาะที่ศรีลังกาเท่านั้น
ความคิดเห็นของนักศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
พระมหามนัส กิตติสาโรมองว่า“ในศรีลังการัฐให้การสนับสนุนได้มากกว่าไทย มีผู้รับผิดชอบดูแลพระพุทธศาสนาโดยตรง ผิดกับประเทศไทยต่างฝ่ายต่างทำไม่มีความเป็นเอกภาพ นอกจากนั้ พระภิกษุเป็น สส.ได้ เป็นนักการเมืองได้ ดังนั้นตามตรรกะย่อมมีสิทธิ์เป็นนายกได้”
ในขณะที่พระมหาบุญศรี ญาณวุฑฺโฒ มองไปที่ด้านเศรษฐกิจ“ในด้านเศรษฐกิจศรีลังกาอาจจะเจริญสู้เราไม่ได้ แต่ด้านวัฒนธรรมทางศาสนาเข้าก้าวหน้ากว่าเรามาก ในอนาคตไม่แน่เราอาจจะมี สส. สว. เป็นพระภิกษุได้”
นายยงสยาม สนามพล เสนอว่า “ประเทศไทยติดขัดที่รัฐธรรมนูญ พระไม่มีสิทธิทางการเมือง เลือกตั้งไม่ได้ ไม่เหมือนลังกาพระพุทธศาสนาถูกรังแกจากระบบการเมืองและศาสนาอื่นมามาก จึงต้องมีกฎหมายคุ้มครอง แต่พุทธศาสนายังรักษาตัวและฟื้นฟูไว้ได้ ตราบใดที่เรายังรักษาพระไตรปิฎกไว้ได้ ศาสนาก็น่าจะยังเหลืออยู่ได้ต่อไป
นายคงชิต ชินสิญจน์“รัฐธรรมนูญเป็นเพียงส่วนหนึ่ง แต่ที่ศาสนาอยู่ได้เพราะแนวคิดอนุรักษ์นิยมด้วย ในลังกาพุทธศาสนาเป็นตำนาน ยังอนุรักษ์คำสอนดั้งเดิมไว้ได้ ถ้ายังยึดแนวอนุรักษ์ไว้ได้ ศาสนาน่าจะยังอยู่ได้อีกนาน การบิณฑบาตสามเวลา เช้าข้าว เที่ยงเภสัช เย็นดอกไม้ เป็นวัฒนธรรมเฉพาะที่ไม่อาจเลียนแบบได้
พระมหาบุญไทย ปุญญมโนเสริมว่า“ที่ภาคเหนือมีประเพณีการบิณฑบาตรดอกไม้ในวันอาสาฬหบูชา เพื่อจะได้นำดอกไม้ไปขอขมาก่อนเข้าพรรษา และบิณฑบาตรในวันเที่ยงคืนพุธ เดือนเพ็ญ นัยว่าเป็นประเพณีบูชาพระอุปคุต”
นายแหวนทอง บุญคำ “เพราะได้บทเรียนจากทมิฬ ที่เบียดเบียนทำลายจนพระต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ และจัดตั้งกระทรวงพระพุทธศาสนาขึ้นมาจุดประสงค์หลักคือปกป้องพระพุทธศาสนา ทุกนิกายมีสมเด็จพระสังฆราชของตนเอง ประเทศไทยการรุกรานจากศาสนาอื่นไม่ค่อยรุนแรง เพราะเรามีกษัตริย์เป็นศาสนูปถัมภก มีผู้ใหญ่คอยดูแลศาสนาอื่นเลยไม่ค่อยกล้า พึ่งจะมีบางศาสนาใช้การเมืองนำศาสนา ออกกฎหมายให้อำนาจแก่ศาสนาของตนเอง เมื่อมีกฎหมายรองรับย่อมจะทำงานได้สะดวก ขณะที่ชาวพุทธยังหลับไหลอยู่”
ดร.ไพทูรย์ รื่นสัตย์ “ในด้านการเผยแผ่พระสงฆ์ศรีลังกาเรียนภาษาต่างประเทศมาก สามารถเผยแผ่ยังนานาประเทศได้มากกว่าพระไทย ปัจจุบันนิยมใช้คำว่า Buddhasasana แทน Buddhism ที่ฝรั่งตั้งให้ ศรีลังกากล้าบัญญัติศัพท์ใหม่ๆขึ้นมา
นายประพันธ์ สหพัฒนา “เจริญเพราะสถาบันกษัตริย์ เสื่อมเพราะศาสนาอื่นรุกราน เช่นในเกาหลี กษัตริย์ ราชวงศ์โซซอนหันไปนับถือขงจื้อ พระพุทธศาสนาก็หมดความหมาย พระมหายานเกาหลีเรียกร้องสิทธิได้มาก
พระมหาธรรมรัตน์ อริยธัมโม “ปัจจุบันวัยรุ่นเกาหลีหันไปนับถือคริสต์มากขึ้น เพราะพิธีกรรมง่ายกว่า
นายโสภณ ขำทัพ “เป็นการเลื่อนไหลทางวัฒนธรรม ต่างชาติช่วยเหลือทมิฬในฐานะที่ทมิฬเป็นคริสเตียน
นายสุมานพ ศิวารัตน์ “ระบบการปกครอง ลังกาปกป้องศาสนา กระทรวงพุทธ วิทยาลัยพุทธ เกาหลีใช้การเมืองนำหน้าศาสนา คนจะเดินตามผู้นำ ประเทศไทยในยุคที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี พุทธศาสนาไทยเจริญมาก ปัจจุบันอิสลามใช้กฏหมายและการปกครองนำหน้าศาสนา
นายแหวนทอง “ ความเจริญทางศาสนาจะมีมากกว่าไทย มีอิทธิพลต่อนานาชาติได้มากกว่า พระเกาหลีไม่ค่อยมีบทบาท อนาคตศาสนาในเกาหลีจะอยู่ลำบาก
นายพิศาล แช่มโสภา “อนาคตไทยควรวางแผนงานและการจัดการ โดยการทำแผนแม่บททางศาสนา เรามีทรัพย์สินในศาสนามากแต่ไม่ค่อยมีการใช้อย่างพอเพียง ควรช่วงงานด้านสาธารณสงเคราะห์ให้มากและทันการณ์ ควรทำพิธีกรรมในโบสถ์เช่นการแต่งงาน โกนจุก
นายดลสวัสดิ์ ชาติเมธี “ผู้ปกครองศรีลังกาเหมือนลูกกำพร้าจึงต้องเข้มแข็ง ไทยลูกเศรษฐีอ่อนแอ กษัตริย์ลังกาที่นับถือศาสนาอื่นเบียดเบียนพุทธ ปรักกมาหุ เจริญมาก พระต่างประเทศไปเรียนพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก ลังกาเสื่อมจนกระทั่งเหลือเพียงสามเณรสรณังกรรูปเดียว ต้องขอพระจากไทยไปเป็นพระอุปัชฌาย์ น่าสังเกตุว่าหลัง 2475 รัฐทำลายสถาบันศาสนามาโดยตลอด
รศ.ผจญ คำชูสังข์“ผู้นำมีการศึกษาและกล้านำ ปัจจัยพื้นฐานก็มีส่วนด้วย
นายพิศาล “มหายานและเถรวาทเริ่มมีผลกระทบ พระมหายานขอบิณฑบาตตามชุมชนใหญ่ ๆ มหายานเข้ามามาก และสร้างปัญหาขึ้นมากมาย กรรมาธิการเคยถามว่า ทำไมพระจึงไม่ยอมให้คนเป็นโรคเอ็ดส์บวช เป็นการรดรอนสิทธิมนุษยชน
นายสุมานพ เสริมว่า “มาตร 72 รัฐธรรมนูญเปิดไว้ให้”
ผศ.ประจวบ ประเสริฐสังข์ "ในอนาคตชาวพุทธจะรวมตัวกัน เพื่อป้องกันศาสนา แต่ตอนนี้ยังไม่มีสนามรบ คนเราเราเป็นประเภท ยาศึกเราช่วยกันรบ ยามสงบเรารบกันเอง