บทสรุป
สิ่งหนึ่งที่จะเป็นปัจจัยสำคัญในการติดต่อสื่อสารของโลกยุคยูบิควิตัสในอนาคตอันใกล้คือเทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย (Mobility Technology) ปัจจุบันเป็นคำที่ใช้แทนเทคโนโลยี 3G สามารถรับส่งข้อมูลในความเร็วสูง ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้ อย่างรวดเร็ว และ มีรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้นประกอบกับอุปกรณ์สื่อสารไร้สายในระบบ 3Gสามารถให้บริการระบบเสียงและแอพพลิเคชั่นรูปแบบใหม่เช่นจอแสดงภาพสี, เครื่องเล่น mp3, เครื่องเล่นวีดีโอ การดาวน์โหลดเกม, แสดงกราฟฟิกและการแสดงแผนที่ตั้งต่างๆ ทำให้การสื่อสารเป็นแบบอินเตอร์แอคทีฟ ที่สร้างความสนุกสนานและสมจริงมากขึ้น ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและคล่องตัวขึ้นโดยโทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเสมือน คอมพิวเตอร์แบบพกพา,วิทยุส่วนตัว และแม้แต่กล้องถ่ายรูป ผู้ใช้สามารถใช้บริการข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวเกาะติดสถานการณ์, ข่าวบันเทิง, ข้อมูลด้านการเงิน, ข้อมูลการท่องเที่ยว และ ตารางนัดหมายส่วนตัว คุณสมบัติหลักของ 3G คือ มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องโทรศัพท์ นั่นคือไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และ log-in ทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล อุปกรณ์สื่อสารไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่โทรศัพท์เท่านั้น แต่ยังปรากฏในรูปแบบของอุปกรณ์ สื่อสารอื่น เช่น Palmtop, Personal Digital Assistant (PDA), Laptop และ PC (พีรยา พลายละหาร, เทคโนโลยี 3G คืออะไร <http://www.pantown.com/board.php 27 ก.ค. 52> (25/11/52)
ในอนาคตจะมีเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายในระบบ 4G จะเพิ่มประสิทธิภาพให้ผู้ใช้สามารถดาวโหลดเพลง MP 3 จำนวน 100 เพลงในเวลาน้อยกว่า 3 วินาทีเท่านั้น แม้ว่าผู้ใช้กำลังใช้งานอื่นอยู่ก็ตาม (พรรณี สวนเพลง(ผศ.ดร.),เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมสำหรับการจัดการความรู้,(กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น,2552), หน้า 339.)
ดังนั้นเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายในระบบ 3G และ4G ที่นำมาใช้ในโทรศัพท์เคลื่อนที่ปัจจุบันได้กลายเป็นอุปกรณ์ที่มากกว่าเครื่องโทรศัพท์สามารถใช้ฟังเพลง ถ่ายภาพ รับส่งข้อมูลและภาพได้ ทำให้มีการทำงานที่คล่องตัวรวดเร็ว ในที่สุดก็จะกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่เกือบทุกคนต้องใช้ในชีวิตประจำวัน
แม้ว่าเทคโนโลยีไร้สายจะเน้นไปที่การทำพาณิชยกรรม และธุรกิจด้านบรรเทิงเป็นหลัก แต่หากนำมาใช้กับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาก็จะทำให้พระพุทธศาสนามีอยู่ทุกหนทุกแห่ง แม้ว่าผลกระทบที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีมีอยู่หลายด้าน แต่ถ้านำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ก็จะเป็นผลดีต่อพระพุทธศาสนา เพราะทำให้มีช่องทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนามากขึ้น
หากสังคมพระพุทธศาสนามีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอินเทอร์เน็ตอย่างกว้างขวางและมีกฎระเบียบที่ชัดเจน ก็จะทำให้มีการเผยแผ่พระพุทธศึกษาสามารถมีอยู่ในทุกที่ ทุกเวลา ทุกคนสามารถศึกษาพระพุทธศาสนาได้ทางอินเทอร์เน็ตในรูปแบบของ E-learning หรือการเรียนแบบออนไลน์ M-Learning หรือ Mobile-Learning เป็นการเรียนผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นต้นซึ่งสามารถศึกษาได้ตลอดเวลาที่มีมือถือในมือและเข้าระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ได้ นอกจากนั้นคณะสงฆ์สามารถถ่ายทอดสดการแสดงธรรม การปะชุมองค์กรทางพระพุทธศาสนาไปทั่วโลก มีเว็บไชต์ทางพระพุทธศาสนาแพร่กระจายมากยิ่งขึ้น มีองค์กรของคณะสงฆ์ไทยดูแลการใช้อินเทอร์เน็ต และมีระบบเครือข่ายของคณะสงฆ์ไทยและจะกลายเป็นสังคมยูบิควิตัส (Ubiquitous Society) คือสภาพแวดล้อมของคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ได้ทุกหนทุกแห่งและตลอดเวลา
ในศตวรรตที่ 21 การขยายตัวของอินเทอร์เน็ตทำให้สามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ต่างๆได้ เพราะการพัฒนาเทคโนโลยีโมบายส์เช่นโทรศัพท์มือถือได้ทำให้โลกของเน็ตเวิร์กและคอมพิวเตอร์ไม่ถูกจำกัดอยู่เพียงแค่ที่บ้านหรือที่ทำงานเท่านั้น แต่ทำให้สามารถใช้ได้ทุกหนทุกแห่งและตลอดเวลา พระพุทธศาสนาก็จะกลายเป็นพุทธยูบิควิตัส (Buddhist Ubiquitous) คือมีการศึกษาค้นคว้าพระพุทธศาสนาได้ทุกหนทุกแห่งโดยผ่านระบบคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เพราะในอนาคตสังคมจะกลายเป็นสังคมมีการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตได้ในทุกหนทุกแห่ง โดยไม่จำกัดด้วยเงื่อนไขของกาลเวลาหรือสถานที่ สอดคล้องกับพระธรรมคุณข้อหนึ่งในมหานามสูตร อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาตว่า “อกาลิโก” (องฺ ฉกฺก.22/281/318.) หมายถึงไม่ประกอบด้วยกาลคือไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา บรรลุได้ทันที บรรลุเมื่อใดเห็น ผลได้ทันที เป็นจริงอยู่อย่างไรก็เป็นอย่างนั้นไม่จำกัดด้วยกาล หากนำมาใช้ในการศึกษาก็จะกลายเป็นว่ามีการศึกษาค้นคว้าพระพุทธศาสนาโดยไม่ถูกจำกัดด้วยกาลเวลาอีกต่อไป ในโลกอนาคตผู้ที่มีความรู้ การเข้าถึงข้อมูลและเทคโนโลยีที่ทันสมัยจึงจะทำให้มีโอกาสอยู่รอดในสังคมได้
พระมหาบุญไทย ปุญญมโน(ป.ธ.7)
อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
นักศึกษาปริญญาเอก ศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต
หมายเหตุ: คำว่า "พุทธยูบิควิตัส" ผู้เขียนบัญญัติขึ้นใช้เอง เพื่อใช้เป็นชื่อบทความและให้เหมาะกับเนื้อหา ยังไม่ได้รับการรับรองจากนักวิชาการใดๆ นำเสนอในงานสัมมนาวิชาการนักศึกษาปริญญาเอก(ศน.ด) เมื่อวันที่ ๒๙ พ.ย. ๒๕๕๒ ที่จังหวัดนครปฐม
บรรณานุกรม
กรมการศาสนา.พระไตรปิฎกภาษาบาลี.กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์กรมการศาสนา, 2514.
กรมการศาสนา.พระไตรปิฎกภาษาไทย.กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์กรมการศาสนา, 2514.
บ็อบ เฮอร์เบร์ต.เด็กสหรัฐอ่านหนังสือน้อยลง.นิวยอร์คไทม์. ฉบับวันที่ 1 กันยายน 2548.
พรรณี สวนเพลง(ผศ.ดร.).เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมสำหรับการจัดการความรู้.กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น,2552.
พีรยา พลายละหาร. เทคโนโลยี 3G คืออะไร <http://www.pantown.com/board.php 27 ก.ค. 52> (25/11/52).
มติชน.ฉบับวันที่ 1 พฤษภาคม 2551.
ศรีศักดิ์ จามรมาน(ศ.ดร.).อินเทอร์เน็ตนักล่าอาณานิคมโลก.กรุงเทพฯ:ฐานบุคส์ 2551.
ห้างหุ้นส่วนมุทเทอร์ อูนด์ โซน,พระไตรปิฎกฉบับซีดีรอม.
อัลวิน และ ไฮดี ทอฟเลอร์. ความมั่งคั่งปฏิวัติ.แปลโดยสฤณี อาชวานันทกุล. กรุงเทพฯ:มติชน,2552.
ฮิเดกะ โซกิ.ยูบิควิตัสคีย์เวิร์ดของโลกIT ในอนาคต. แปลโดย ดร.อิทธิ ฤทธาภรณ์ และคณะ.กรุงเทพฯ:สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น),2545.