ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai

        เมื่อเดินทางไปอินเดียครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2542 นั้น บรรณาธิการวารสารปัญญาได้ขอให้เขียนบทความลงในวารสารโดยกำหนดหัวข้อไว้ว่า “ร่องรอยพระพุทธศาสนาในอินเดีย” โดยเน้นที่สมัยปัจจุบัน  นอกจากจะเดินทางไปดูสถานที่ต่างๆด้วยตนเองตามแต่โอกาสจะเอื้ออำนวยแล้ว ยังต้องหาหนังสือเพื่ออ่านประกอบ หนังสือที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในอินเดียสมัยใหม่ เป็นหนึ่งในอีกหลายเล่มที่ได้อ่าน เมื่ออ่านแล้วจึงค่อยๆ แปลเพื่อหยิบยกเอาเนื้อหาที่จำเป็นมาเขียนบทความ หนังสือเล่มนี้มีเจ็ดบท เมื่อแปลเป็นภาษาไทยมีเนื้อหามากกว่า 300 หน้า เรื่อง “พระพุทธศาสนาในเทือกหิมาลัย” เป็นเนื้อหาในบทที่ 3 สำหรับชื่อบุคคล  ชื่อเมือง ชื่อสถานที่ต่างๆ อาจจะออกเสียงแตกต่างกันไปบ้าง นั่นเพราะการถอดความของผู้แปลเอง อาจจะแตกต่างจากที่อื่นๆ แต่ขอให้อ่านเพื่อการศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา เพียรพยายามอยู่หลายปีจึงแปลจบ หากเก็บไว้อ่านคนเดียวไม่เผยแผ่ก็คงไม่มีประโยชน์อันใด


        พระพุทธศาสนามีแหล่งกำเนิดในดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในอดีต ปัจจุบันคืออินเดียและเนปาล ภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน คณะสงฆ์ได้จัดทำสังคายนาพระธรรมวินัยหลายครั้ง จนกระทั่งมาถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ได้กระทำสังคายนาครั้งที่สาม และได้ส่งสมณทูตเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังนานาประเทศ
        พระพุทธศาสนาในอินเดียไปแตกแยกออกเป็นนิกายต่างๆ มากมายถึง 18 นิกายกระจายอยู่ตามส่วนต่างๆของอินเดีย แต่นิกายที่สำคัญๆ มีอยู่เพียงสองนิกายคือนิกายมหายานเจริญรุ่งเรืองอยู่ทางตอนเหนือของอินเดีย สิกขิม ภูฐาน ทิเบต จีน ญี่ปุ่น มองโกเลีย เป็นต้น ส่วนนิกายเถรวาทเจริญรุ่งเรืองอยู่ทางตอนใต้ของอินเดีย ลังกา ไทย พม่า ลาว เขมร เป็นต้น
        ในส่วนของประเทศอินเดียเอง พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองเรื่อยมาและเริ่มเสื่อมลงตามลำดับระหว่างพุทธศักราช 1243-1693 จนกระทั่งถึงยุคที่พระพุทธศาสนาได้หายไปจากอินเดียอย่างสิ้นเชิงเรียกว่ายุคมืดอยู่ในช่วงระหว่างพุทธศักราช 1693-2343 ช่วงระยะเวลา 650 ปี อินเดียไม่มีภิกษุเหลืออยู่เลย วัดวาอารามต่างๆที่เคยเจริญรุ่งเรืองก็อยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมขาดคนดูแลรักษา  สถานที่สำคัญๆ ในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาถูกปล่อยปละละเลย บางแห่งถูกศาสนาอื่นเข้าครอบครองเช่นวัดมหาโพธิ์สถานที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่พุทธคยาก็ถูกฮินดูนิกายมหันต์เข้ายึดครอง ป่าอิสิปตนมฤคทายวันก็ได้ถูกศาสนาเชนเข้ายึดครองเป็นต้น
        จนกระทั่งชาวอินเดียเริ่มตื่นตัวเมื่อมีการขุดค้นทางโบราณคดีได้พบสถูปเจดีย์และสถานที่สำคัญๆของพระพุทธศาสนา โดยชาวอังกฤษที่ปกครองอินเดียอยู่ในขณะนั้น กระแสแห่งการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาจึงได้เริ่มก่อตัวขึ้น
       ในหนังสือเล่มนี้ได้ให้ข้อมูลของพระพุทธศาสนาสมัยใหม่เริ่มจากปี พ.ศ. 2293 ที่นักโบราณคดีชาวอังกฤษได้ค้นพบจารึกพระเจ้าอโศกข้างๆเมืองเดลี เมืองหลวงของอินเดีย จนก่อให้เกิดการขุดค้นโบราณวัตถุในพระพุทธศาสนาในสถานที่อื่นๆ ทั่วอินเดีย แต่ก็ยังจำกัดวงอยู่ที่การศึกษาทางศิลปะและโบราณคดี

 
        ต่อมาเมื่อท่านอนาคาริกธรรมปาละ ชาวลังกาได้เดินทางมาที่อินเดียในปีพุทธศักราช 2434 การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอย่างเป็นระบบจึงเกิดขึ้น และค่อยๆขยายวงออกไปเรื่อยๆ ในรูปของการก่อตั้งพุทธสมาคม การชักชวนให้ชาวอินเดียหันมาอุปสมบทเป็นภิกษุ และเชิญชวนประเทศต่างๆที่นับถือพระพุทธศาสนาให้มาสร้างวัดและเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อที่จะได้นำเอาพระพุทธศาสนากลับคืนมายังมาตุภูมิ จนกระทั่งมีการสร้างวัด,วิหาร เกิดขึ้นในอินเดียหลายแห่ง
        การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ทำให้คนอินเดียหันมานับถือพระพุทธศาสนา เป็นจำนวนมากคือ เหตุการณ์ที่ ดร. บี.อาร์ เอ็มเบ็ดการ์ ได้ประกาศตนหันมานับถือพระพุทธศาสนาในปีพุทธศักราช 2499  จนทำให้มีผู้ปฏิบัติตามเป็นจำนวนหลายแสนคน และมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ภายหลังที่อินเดียได้จัดงานพุทธชยันตีในปี พ.ศ. 2500 นั้น ทำให้ชาวอินเดียรู้จักกับพระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาที่เคยยิ่งใหญ่ในอดีต แต่ได้สูญหายไปจากอินเดียเป็นเวลายาวนาน จนทำให้คนอินเดียลืมเลือนพระพุทธศาสนา
        หนังสือ “Buddhism in Modern India” D.C. Ahir พิมพ์เผยแพร่โดย  Sri Satguru Publications,Delhi,1991 หนังสือเล่มนี้ยังให้ข้อมูลพระภิกษุ,วัด,วิหาร,พุทธสมาคม,องค์กร,วารสาร, สถานที่สำคัญๆในสมัยพุทธกาลและหลังพุทธกาล นอกจากนั้นยังได้ให้ข้อมูลจำนวนประชากรชาวพุทธในแต่ละรัฐของอินเดีย จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับชาวพุทธในประเทศไทยที่ควรศึกษา หรือผู้ที่มีโอกาสเดินทางไปเยือนอินเดียก็ควรอ่านเพื่อเป็นคู่มือในการท่องเที่ยวชมสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา แม้แต่นักศึกษาที่สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ศาสนาจะได้รับทราบข้อมูลการหายสาบสูญและการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดียยุคใหม่ เพราะหนังสือเล่มนี้ได้ให้รายละเอียดไว้ค่อนข้างจะชัดเจน


 

 

พระพุทธศาสนาในเทือกเขาหิมาลัย

        ในขณะที่พระพุทธศาสนาเสื่อมสลายและหายไปจากแผ่นดินมาตุภูมิคืออินเดียนั้น แต่ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณเชิงเขาหิมาลัยยังนับถือพระพุทธศาสนาและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันตลอดมา บริเวณภูเขาสูงนามว่าหิมาลัยเช่นลาดักห์,ลาหุล,สปิติ,คินาอูระ,สิกขิมและอรุนาจัลประเทศ ปรากฏการณ์นี้ได้อุบัติขึ้นอย่างโอฬาร เพราะความสัมพันธ์ต่อประเทศทิเบต อาณาจักรในหุบเขาอันมหัศจรรย์ สถานที่ที่พระพุทธศาสนาเจาะลึกเข้าไปประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 และต่อมาก็ได้มีความเจริญรุ่งเรือง จนกระทั่งจีนเข้ายึดครองทิเบตในปีพุทธศักราช 2502 และผลักดันให้ทะไล ลามะ องค์ที่ 14 ผู้นำทางจิตวิญญาณและราชอาณาจักรของทิเบตต้องลี้ภัยไปอยู่อินเดีย ก่อนที่จะหันไปศึกษาเรื่องราวของพระพุทธศาสนาในบริเวณเทือกเขาหิมาลัย น่าจะมีความคุ้มค่าที่จะหันไปศึกษาความเจริญรุ่งเรืองและพัฒนาการของพระพุทธศาสนาในทิเบต
        แม้ว่าพระพุทธศาสนาจะเข้าสู่ทิเบตครั้งแรกในพุทธศตวรรษที่ 9 ก็ตาม แต่ก็รอจนกระทั่งพุทธศตวรรษที่  12 จึงสามารถวางรากฐานอย่างมั่นคงได้ ด้วยความวิริยะอุตสาหะของผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่คนแรกของทิเบตคือซอนซัน สกัม ปะ (ซอนเซ็น คัมโป) (1163-1193) ในขณะนั้นทิเบตยังไม่มีภาษาเขียน พระองค์ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีผู้ฉลาดรอบรู้ทางด้านภาษาศาสตร์ชื่อโธมบี ชัมโบตะ เดินทางมาศึกษาศิลปะการเขียนที่มหาวิทยาลัยนาลันทา ในอินเดีย เขาได้ศึกษาภาษาสันสกฤต,พุทธปรัชญาและวรรณกรรม  เมื่อเดินทางกลับทิเบต ก็ได้ประดิษฐ์ตัวอักษรทิเบตขึ้นบนพื้นฐานอยู่บนตัวอักษรภาษาอินเดีย จากนั้นเป็นต้นมา วรรณกรรมในทิเบตทั้งหมดก็ได้รับการแปลและเขียนลงในตัวอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ในระหว่างที่พระเจ้าซองซัน คัมโปครองราชย์นั้น พระองค์ได้สร้างวัดที่มีชื่อเสียงขึ้นคือริมโปเชและโจคังในลาซา พระองค์ได้ประกาศใช้กฎหมายอย่างเป็นทางการ เพื่อให้กลมกลืนกับระบบคุณธรรม 10 ประการที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ หลังจากนั้นประมาณหนึ่งศตวรรษต่อมาธิซง เดตซัน หรือขริสโรน อิเดซาน (พ.ศ. 1318-1340) ผู้ปกครองทิเบตองค์ที่ 5  ได้นิมนต์พระศานตรักษิต จากมหาวิทยาลัยนาลันทามายังทิเบตเพื่อเผยแผ่คำสอนที่แท้จริงของพระพุทธศาสนาในทิเบต แต่ทว่าพระศานตรักษิตไม่ประสบความสำเร็จในการเผยแผ่ต่อประชาชน เพราะขณะนั้นศาสนาบอนยังคงมีอิทธิพลในหมู่มหาชน

 

        พระศานตรักษิตจึงได้แนะนำให้นิมนต์ปัทมะสัมภวะ ผู้เผยแผ่ศาสนาที่ทรงพลังคนหนึ่งในนิกายตันตระ มาจากหมู่บ้านอูรกยันในหุบเขาสวัต เพื่อทำการเผยแผ่พุทธศาสนาต่อไป ดังนั้นกษัตริย์ทิเบตจึงได้นิมนต์ปัทมสัมภวะมายังทิเบตในปีพุทธศักราช 1290 และท่านปัทมสัมภวะได้อุทิศตนเพื่องานเผยแผ่พระพุทธศาสนา จนกระทั่งชาวทิเบตได้หันมานับถือพระพุทธศาสนา ปัทมสัมภวะได้แนะนำรูปแบบใหม่ของพระพุทธศาสนาคือลัทธิลามะ ซึ่งแน่นอนทีเดียวว่าลัทธิบอนยังคงถูกรักษาและได้รับการปฏิบัติอยู่ในสภาพเดิม  สำหรับการปฏิบัติงานที่น่าอัศจรรย์เพื่อประโยชน์ของพระพุทธศาสนาของเขา ชาวทิเบตจึงเรียกปัทมสัมภวะว่า “คุรุรินโปเช” หรือครูที่ทรงคุณค่า ในปีพุทธศักราช 1292 ภายใต้คำแนะนำของปัทมสัมภวะกษัตริย์ทิเบตได้สร้างวัดขึ้นใกล้ ๆ สัมเย และแต่งตั้งพระศานตรักษิตเป็นหัวหน้า คุรุที่มีพลังมากที่สุดชาวอินเดียในยุคต่อมาที่เดินทางไปสู่ทิเบตเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาคืออติษะ ผู้ยิ่งใหญ่ แห่งวัดวิกรมศิลา ในรัฐพิหาร ชาวทิเบตนิยมเรียกท่านว่า “ทีปังกรศรีชญาณ” ท่านมาถึงทิเบตในปีพุทธศักราช 1581 เสียชีวิตในปีพุทธศักราช 1597 ผลของความเพียรพยายามของอติษะ ทำให้พระพุทธศาสนาได้วางรากฐานที่มั่นคงในทิเบต และมีความเจริญรุ่งเรืองเรื่อยมา และมีวิถีปฏิบัติอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายตามแนวคิดทางศาสนาและความคิดทางปรัชญา
        ด้วยเหตุที่คัมภีร์พระพุทธศาสนาถูกนำเสนอโดยนักปราชญ์ต่างๆ ทั้งอินเดียและทิเบต ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน นิกายที่แตกต่างกัน ตลอดจนนิกายย่อยที่เกิดขึ้นในทิเบต แต่ทั้งหมดก็มีหลักการอยู่บนทฤษฎีอันเดียวกัน นิกายหลักๆ แห่งพระพุทธศาสนาในทิเบตคือนยิงมาปะ,การกยุดปะ,ศากยะปะและเกลุกปะ นิกายที่เก่าแก่ที่สุดคือนยิงมาปะ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากคำสอนของปัทมสัมภวะผู้ที่นำเอาพระพุทธศาสนามาสู่ทิเบตในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13  และชาวทิเบตเรียกท่านว่าคุรุรินโปเช นิกายการกยุดปะ หรือนิกายที่มีการสืบต่อหลักคำสอนโดยประเพณีการท่องจำจากปากต่อปาก (มุขปาฐะ)

 

        กล่าวกันว่าตั้งขึ้นในพุทธศักราช 1593 โดยท่านมารปะ ลามะชาวทิเบต เพื่อนของอติษะ (ทีปังกร ศรีชญาณ) และลูกศิษย์ของตันตริกในอินเดียคือท่านนาโรปะหัวหน้ามหาวิทยาลัยนาลันทาในพิหารในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 ผู้ที่เป็นตัวแทนที่ยิ่งใหญ่อีกคนหนึ่งในนิกายนี้คือมิลาเรปะ นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ในทิเบต นิกายที่สามคือศากยะหรือศาสกยปะ ได้ชื่อมาจากสีของแผ่นดินอันเป็นที่ตั้งวัดแห่งแรกในนิกายนี้ในทิเบต สร้างขึ้นในปีพุทธศักราช 1614   นิกายนี้มีอิทธิพลอย่างมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 แต่ต่อมาก็เสื่อมสลายลง นิกายเหล่านี้เรียกว่านิกาย “หมวกแดง” ส่วนนิกายที่สี่คือนิกายเกลุกปะ(นิกายคุณธรรม) หรือนิกาย “หมวกเหลือง” เป็นนิกายที่ได้รับการปรับปรุงและก่อตั้งขึ้นโดยนักบุญซงขปะประมาณปีพุทธศักราช 1943 องค์ทะไล ลามะในปัจจุบันก็อยู่ในนิกายนี้
        ความก้าวหน้าของระบบการปกครองโดยคณะบริหารที่เป็นพระขององค์ทะไล ลามะ เป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุดบทหนึ่ง  ในหนังสือ (ที่ประชุมสงฆ์) ในประวัติศาสตร์ของทิเบตในยุคต่อมา เส้นทางของทะไล ลามะ เริ่มต้นจาก เกดุน ทรุปะ (พุทธศตวรษที่ 19) จนกระทั่งมาถึงทะไล ลามะองค์ที่ 14 ในปัจจุบัน ผู้ที่ได้หลบลี้ภัยทางการเมืองในอินเดียในปีพุทธศักราช 2502 ได้ตกเป็นผู้ก่อการที่เด่นชัดมากที่สุดแห่งพระพุทธศาสนาในทิเบต ก่อนจะถึงปีพุทธศักราช 2502 ในทิเบตมีวัดมากกว่า 5,000 แห่ง กระจัดกระจายอยู่ทั่วทิเบต นิกายที่เป็นหลักมากที่สุดคือนิกายเกลุกปะ นิกายที่ทะไล ลามะสังกัดอยู่นั่นเอง วัดเดรปุง,เซราและกันเดน เคยเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดในทิเบต ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก มีลามะอยู่มากกว่า 20,000 รูป
        ชาวทิเบตไม่เพียงแต่จะปฏิบัติตามพุทธธรรมตลอดอายุเท่านั้น พวกเขายังรักษาตำราทางพระพุทธศาสนาจากอินเดียจำนวนหนึ่งทั้งต้นฉบับและฉบับแปล ชาวทิเบตมีตำราทางพระพุทธศาสนาจากอินเดียมากกว่า 4,566 เล่ม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือคันเจอร์(คำสอนของพระพุทธเจ้า) มีตำราอยู่ถึง 1,108 เล่ม และตันเจอร์ คือเรื่องที่เป็นงานเขียนของนักปราชญ์อินเดียในเรื่องเกี่ยวกับปรัชญา,ศาสนา,ไวยากรณ์และประวัติศาสตร์ มีตำราอยู่ประมาณ 3,458 เล่ม
        พระพุทธศาสนาในหุบเขาหิมาลัยในอินเดียโดยสังเขป

 

 

 

ลาดัคห์

        ลาดักคห์ ปัจจุบันเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจัมมูแคชเมียร์ รัฐที่อยู่ทางตอนเหนือสุดของอินเดีย กล่าวกันว่า พระเจ้าอโศกได้สร้างวัดประมาณ 500 แห่งในแคชเมียร์ และต่อมาได้อุทิศหุบเขาเพื่อเป็นของขวัญแก่คณะสงฆ์ของพระพุทธศาสนา เหมือนกับที่พระเจ้าอโศกเคยกล่าวไว้ พระเจ้ากนิษกะก็กล่าวไว้ในทำนองเดียวกันว่าชาวแคชเมียร์ได้มีการมอบของขวัญแก่คณะสงฆ์ ดังนั้นจึงน่าจะถือได้ว่าพระพุทธศาสนามีความเจริญมั่นคงอยู่หลายศตวรรษ อย่างไรก็ตาม ชาวพุทธก็ได้ถูกกระทำทารุณกรรมอย่างไม่ปราณีโดยมิหิรกุล ฮูนา ผู้ที่เข้ายึดอำนาจในปีพุทธศักราช 1058 เมื่อมิหิรกุลสิ้นชีวิตลง ก็นับว่าเป็นความโชคดีของแคชเมียร์ที่มีผู้ปกครองชาวพุทธในยุคต่อมา เขาคือเมฆวาหนะ พระองค์ได้ดำเนินการเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้วยความกระตือรือร้นอันร้อนแรงและได้สร้างวิหารเป็นจำนวนมาก มเหสีของพระองค์ก็ได้ร่วมแข่งขันในการสร้างวิหารในที่อื่นๆ ด้วย ที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งคืออมฤตภาวนา ซึ่งพระนางอมฤตาประภาในฐานะพระราชินีแห่งลาดักคห์ได้สละทรัพย์ในการสร้างขึ้น คุรุของพระองค์ก็มาจากลาดักคห์

        พระองค์อุทิศวิหารนี้ต่ออมิตายุ แม่น้ำแห่งชีวิตที่มีอายุยืนยาวนาน สถานที่แห่งนี้ปัจจุบันรู้จักกันว่าอันตภาวัน ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงวิหารวิชารนาก ศรีนาคาร์  ถึงแม้ผู้ปกครององค์ต่อจากพระเจ้าเมฆวาหนะจะไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา แต่สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธยังคงมีอยู่ในยุคนี้  ในยุคสมัยของประวารเสนที่ 2 ผู้ที่เป็นผู้ปกครองในยุคต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 11 วิหารหลังใหญ่ ๆ ได้ถูกสร้างขึ้นในศรีนาคาร์โดยลุงของกษัตริย์ชื่อชเยนทรา วิหารแห่งนี้จึงมีชื่อว่าชเยนทราวิหาร เมื่อหลวงจีนเหี้ยนจังได้เดินทางมาเยี่ยมแคชเมียร์ก็ได้เข้าพักที่วิหารแห่งนี้ ในทำนองเดียวกันกับสคันธาที่ได้สร้างวิหารที่ใหญ่โตเรียกว่าสคันธาภวันวิหาร  ซึ่งนำชื่อมาจากสคันธาภวันชื่อหมู่บ้านในในศรีนาคาร์ ลลิตาทิตยา ผู้ปกครองดั้งเดิมแห่งแคชเมียร์ผู้ยิ่งใหญ่ เพียงแต่มิได้เป็นชาวพุทธได้มีความสนใจร้องให้คร่ำครวญต่อพระพุทธศาสนา เขาได้สร้างวิหารอันใหญ่โตคือราชวิหารในปริหสโปรา ซากปรักหักพังของวิหารนี้ถูกขุดค้นที่ปรัสโปเร โดยจันคุณา หัวหน้าคณะรัฐมนตรีแห่งลาลิตทิตยา เป็นชาวพุทธและเขายังได้สร้างวิหารในชื่อของเขาด้วยคือจันคุณาวิหาร
        ในขณะที่พระพุทธศาสนาได้เสื่อมไปจากหุบเขาแคชเมียร์ ภายหลังพุทธศตวรรษที่ 17 สำหรับเหตุผลที่เราไม่ต้องการที่จะนำมาอธิบายอีก แต่ก็ยังมีกระแสแห่งศรัทธาที่ยังคงมีชีวิตชีวาในลาดักคห์ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา มีความสำเร็จที่น่าสนใจของประชาชนชาวลาดักคห์ เบื้องหลังแห่งการสืบทอดเรื่องราวด้วยความกล้าหาญและเสียสละของพวกเขา

 

         อาณาจักรอันกว้างใหญ่ไพศาลในอาณาบริเวณอันเป็นที่โล่งเตียนในบริเวณเทือกเขาที่แสนแห้งแล้ง ลาดักคห์ทอดตัวยาวไปทางทิศตะวันออกของแคชเมียร์ ที่ความสูง 12,000- 18,000 ฟุต เหนือระดับน้ำทะเล มีชายแดนติดประเทศจีน(ชินเกียง) กิลกิตและทิเบต มีเนื้อที่ประมาณ 97,872 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยภูมิภาคต่างๆ ที่รู้จักกันดีคือการจิล,ซันสการ์,รูปซู,นูบรา,อักไสเชน,รอง,ตังกเซและเลห์  เลห์เป็นศูนย์กลางของลาดักคห์ ปัจจุบันเชื่อมสัมพันธ์กับศรีนาคาร์โดยถนนลูกรังยาว 434 กิโลเมตร ซึ่งผ่านไปทางด้านโซซิลา และโฟเตลา ที่ความสูง 13,400 ฟุต เส้นทางอื่นๆอีกสองสายที่ไปทางเลห์คือผ่านทางกุลุ และผ่านทางสุรุการจิล เส้นทางเหล่านี้ยากลำบากและต้องใช้การเดินทางด้วยเกวียนเพียงอย่างเดียว
        ดูเหมือนว่าพระพุทธศาสนาจะเข้าสู่ลาดักคห์เป็นเวลายาวนานก่อนที่จะเริ่มต้นคริสตวรรษเสียอีก ในพุทธศตวรรษที่ 6 ลาดักห์ภายใต้อำนาจทางจักดิพรรดินิยมของจักรพรรดิ์พระพุทธศาสนาคือพระเจ้ากนิษกะ (แห่งราชวงศ์กุษาณ) ที่กลายมาเป็นผู้ปกครองแคชเมียร์ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 ลาดักคห์เป็นส่วนหนึ่งของแคชเมียร์ ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 12 กษัตริย์ซองตสัน คัมโป กษัตริย์ผู้มีชื่อเสียงแห่งทิเบต ผู้พิชิตลาดักคห์ และในยุคเริ่มต้นแห่งพุทธศตวรรษที่ 15 และได้กลายเป็นอาณาจักรส่วนหนึ่งของทิเบตทางตะวันตกแห่งกูเก้ ซึ่งก่อตั้งโดยกยิเด นยิมากอน ก่อนที่พระองค์จะสวรรคตในปีพุทธศักราช 1473 นยิมากอน ได้แบ่งอาณาจักรกูเก้ ออกเป็นสามส่วน และมอบให้ราชบุตรทั้งสามพระองค์ปกครอง ราชบุตรคนโตคือปาลกยิกอน ได้ปกครองลาดักคห์ตามความเหมาะสม กษัตริย์กูเก้ทุกพระองค์ศรัทธาในพระพุทธศาสนาและเป็นศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่ในส่วนของพุทธศิลปะและพุทธวรรณคดี ราชวงศ์พระพุทธศาสนานี้ปกครองลาดักคห์ 540 ปี จนกระทั่งถูกเปลี่ยนเป็นราชวงศ์พุทธอื่นในปีพุทธศักราช 2013
        ในช่วงระหว่างการปกครองของกษัตริย์กูเก้ ลาดักคห์ได้มีวัดทางพระพุทธศาสนาจำนวนมาก ทั้งทางตรงและทางอ้อม วัดที่สำคัญที่สุดที่สร้างระหว่างยุคนี้คือวัดอัลชิและวัดลามายุระ วัดเหล่านี้สร้างโดยกษัตริย์รินเชน ซังโป ผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนาในพุทธศตวรรษที่ 15 จิตรกรรมที่สวยงามในวัดอัลชิ ซึ่งยังคงเหลืออยู่ เป็นตัวอย่างจิตรกรรมในยุคแรกๆของแคชเมียร์
        การแผ่อิทธิพลของอิสลามในแคชเมียร์ได้มีผลกระทบต่อลาดักคห์ด้วย มุสลิมเริ่มต้นการบุกผ่านไปทางด่านโซจิลาในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 19 การโจมตีที่โหดร้ายที่สุดที่ลาดักห์โดยซาอินฟูล อบิดุน ผู้บุกรุกลาดักคห์ได้ปล้นสะดมภ์ทำลายวัดวาอารามต่างๆ ที่สร้างขึ้นในระหว่างการปกครองของกษัตริย์ลาดักห์, โลโด, โซดัน (พ.ศ. 1983-2013) การถือเอาข้อได้เปรียบแห่งสถานะที่อ่อนแอของกษัตริย์ภคัล นามกยัล ญาติของ โลโด โจดัน ได้ปลดกษัตริย์ออกจากตำแหน่งและจองจำในคุก และได้ก่อตั้งราชวงศ์ลาดักคห์ที่ 2 ขึ้นในปีพุทธศักราช 2013 ในช่วงระยะเวลา 350 ปีต่อมา ลาดักคห์ประสบกับความทุกข์ในการรุกรานอย่างรุนแรงทั้งจากฝีมือของกษัตริย์มุสลิมจากเอเชียกลาง และกษัตริย์ที่ปกครองแคชเมียร์เอง กษัตริย์ลาดักคห์อีกองค์หนึ่งคือเดลดัล นัมกยัล (พ.ศ. 2183-2218) ใช้กำลังเข้ายึดตามสภาวะแวดล้อม ไม่เพียงแต่ยอมรับอำนาจการปกครองของมุกหัลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสัญญาที่จะส่งเครื่องบรรณาการต่อจักรพรรดิ์มุกหัล ภายใต้อิทธิพลของตัวแทนจากแคชเมียร์ แม้ว่าจะยอมรับอิสลามในปีพุทธศักราช 2207 และอกาบัส ข่านขึ้นครองราชย์ อย่างไรก็ตาม นับเป็นความโชคดีที่ผู้ดำรงตำแหน่งต่อมาจากพระองค์ ได้เปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา

 

         กษัตริย์ชาวพุทธแห่งลาดักคห์  ผู้ทรงมีอิสระองค์สุดท้ายคือตเซบัล นัมกยัล (พ.ศ. 2333-2377 หรือ 2383-2385) พระองค์เป็นนักปกครองที่อ่อนแอและเกียจคร้าน พระองค์ล้มเหลวในการรวมประเทศและอำนาจอธิปไตยของลาดักคห์ ในระหว่างการปกครองของพระองค์ ลาดักคห์ถูกรุกรานและโจมตีหลายครั้งในปีพุทธศักราช 2364 กองทัพที่เข้มแข็งของบัลติเข้าสู่ลาดักคห์ ปล้นสะดมภ์ชาวบ้านและนำสิ่งของที่ได้จากการปล้นหลบหนีไป ในปีพุทธศักราช 2368 ผู้ปกครองฮินดูที่ทรงอำนาจแห่งจัมปาได้เข้ารุกรานซานสการ์ จนพินาศย่อยยับ สิ่งที่เลวร้ายที่สุดเกิดขึ้นที่ลาดักคห์ในปีพุทธศักราช 2377 เมื่อราชากุลับ ซิงห์ ผู้ปกครองโดคราแห่งจัมมู ได้แผ่อิทธิพลมาที่ลาดักคห์ โซรวาร์ ซิงห์ คหลูเรีย นายกรัฐมนตรีแห่งคณะรัฐบาลกุลับ ซิงห์ ในกิสหตวาร์ ได้เข้าบุกโจมตีลาดักคห์ถึง 4 ครั้ง ในช่วงระหว่างพุทธศักราช 2377-2382 ชาวลาดักคห์ได้ต่อต้านอย่างเข็มแข็ง และต้อสู่อย่างกล้าหาญในการรบพุ่งหลายครั้ง แต่ในที่สุดก็ต้องพ่ายแพ้ เมื่อประชาชนแห่งหุบเขาสุรุ ก่อการปฏิวัติในปีพุทธศักราช 2379 โซรวาร์ ซิงห์ รีบบุกเข้าอย่างรวดเร็วในที่นั่นด้วยกองทหารม้าของพระองค์  หลังจากปราบกบฏให้สงบราบคาบลงโดยจับผู้ก่อการได้ 13 คน พระองค์ได้กำหนดค่าหัวของกบฏแต่ละคนไว้คนละ 40 รูปี ผู้ก่อการประมาณ 200 คนถูกจับและถูกตัดสินประหารชีวิต

        เบื้องหลังเส้นทางสายโลหิตนี้ พระองค์ได้ยกกองทัพมุ่งหน้าเข้าประชิดชายแดนแห่งเลห์ ซึ่งชาวลาดักคห์ได้ก่อการ แต่ต่อมาอีก 2 ปี หลังจากที่ยึดป้อมปราการ กล่าวกันว่าชาตารการห์ โซรวาร์ ซิงห์ สั่งให้ตัดหูและจมูกของนักโทษทุกคนที่ถูกจับได้ ในปีพุทธศักราช  2383 โซรวาร์ ซิงห์ บุกรุกบัลติสถาน ด้วยความทะเยอทะยานเขาบุกรุกทิเบตในปีพุทธศักราช 2384 แต่ในเวลานี้ โดกรัสต่อสู้อย่างเข้มแข็งตีกลับจนทำให้พ่ายแพ้อย่างย่อยยับ ทหารถูกเข่นฆ่าล้มตายเป็นอันมาก โซรวาร์ ซิงห์ถูกยิงตายในวันที่ 14 ธันวาคม 2384 เมื่อถือเอาประโยชน์ตามโอกาสเช่นนี้ กษัตริย์ลาดักคห์ เซปัล นัมกยัล จึงได้ประกาศอิสระภาพตามคำแนะนำของทิเบต  อย่างไรก็ตาม ไม่นานนัก โดกรัสก็ตีโต้กลับและบดขยี้พวกก่อการกบฏ กองทัพของโดกรัสยังติดตามชาวทิเบตไปจนถึงประเทศ ในที่สุด โดกรัสและทิเบตก็ทำสนธิสัญญาสงบศึกในวันที่ 24 กันยายน 2385 มีการยืนยันชายแดนตามประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่งระหว่างลาดักคห์และทิเบตและกำหนดเงื่อนไขการไม่แทรกแซงซึ่งกันและกันตามข้อตกลงของแต่ละฝ่าย ดังนั้นจึงมาถึงยุคสุดท้ายแห่งอาณาจักรของพระพุทธศาสนายุคที่ 2 หลังจากที่มีการปกครองอยู่ประมาณ 372
        หลังจากสงครามแองโกล-ซิคห์ครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2388 รัฐบาลอังกฤษได้ยอมรับฐานะตำแหน่งของกุลับ ซิงห์แห่งลาดักคห์ อย่างไรก็ตามในขณะที่กระทำการเช่นนั้นในปีพุทธศักราช 2389 อังกฤษได้แยกหุบเขาลาหุลและสปิติออกจากลาดักห์ และเพิ่มการครอบครองของอังกฤษไปที่คันกรา กุลุและมันดี แต่ปัจจุบันลาหุลและสปิติเป็นส่วนหนึ่งของรัฐหิมาจัลประเทศ
        ณ ห้วงเวลาหนึ่ง ลาดักคห์เกือบทั้งหมดเป็นชาวพุทธ แต่ปัจจุบันพื้นที่การจิลอยู่ในเขตอิทธิพลของมุสลิม ตามสัมโนประชากรในปีพุทธศักราช 2524 มีชาวพุทธประมาณ 69,706 คน อาศัยอยู่ตามหมู่บ้านในชนบท 64,944 คน และอาศัยอยู่ในเมือง 4,962 คน ดังนั้นพระพุทธศาสนาในลาดักคห์ส่วนใหญ่จึงมีพื้นฐานอยู่ตามหมู่บ้านในชนบท วัดหรือกอมปาที่สำคัญๆ ในลาดักห์คือวัดลาขางที่เลห์,สันการ์ กอมปา ห่างจากเลห์ 3 กิโลเมตร,เฮมิส กอมปา วัดที่ใหญ่ที่สุดมีความศักดิ์สิทธิ์มากที่สุดห่างจากเลห์ประมาณ 45 กิโลเมตรบนถนนสายลาดักคห์-ทิเบตและธิกเชย์และเชย์ กอมปา อยู่ทางเดียวกับเฮมิส กอมปา วัดลามายุรุ ห่างจากเลห์ 96 กิโลเมตรบนถนนสายเลห์-การคิล และวัดอัลซิ ไปทางเดียวกับวัดลามะ-ยุรุ ห่างจากถนนหลวงประมาณ 10 กิโลเมตร วัดที่สำคัญๆ อื่นๆ ในลาดักห์คือลิคิร,สปิตุก,นิมาอุน,สกรา,ผิองค์,สตานะ,สัสปัล,ริซง,ชิมเรย์,มัตฮูและสักเต เพราะมีอาณาเขตอยู่ใกล้กับทิเบต     และมีการติดต่อสัมพันธ์กับทิเบตอย่างใกล้ชิดมากกว่าอินเดีย ลาดักคห์จึงนับถือพระพุทธศาสนาตามแบบทิเบตซึ่งเรียกว่าลัทธิลามะ นิกายลามะทั้งสี่นิกายในทิเบตก็ได้แพร่หลายในลาดักคห์ด้วย นิกายเหล่านี้คือนยิงมาปะ, การกยุดปะ, ศากยปะและเกลุกปะ  

 

        ทางด้านกอมปาที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในลาดักคห์ เมื่อเดินทางเข้าสู่หมู่บ้านมักจะได้ยินเสียงหัวเราะอย่างร่าเริงเบิกบานใจ มนตร์มหายานที่มีชื่อเสียงคือ “โอม มณี ปัทเม ฮูม” (ขอให้พวกเราเป็นเจ้าของดอกบัววัชระ) เกือบทุกแห่งจะได้รับการสาธยายโดยผู้ศรัทธาชาวพุทธ  ไม่เพียงแต่เท่านั้น ยังได้รับการเขียนบนแผ่นผ้าหรือเขียนจารึกไว้บนแผ่นหิน และนำไปไว้ในสถานที่ที่คนส่วนมากสามารถมองเห็นและอ่านออกเสียงได้ เช่นอนุสาวรีย์ที่เรียกว่า “ผนังมณี”และมองเห็นได้ในแทบทุกแห่งใกล้หมู่บ้าน,บนทางผ่าน(ด่าน),ใกล้ป้อมปราการ,ฝั่งแม่น้ำ ถึงแม้พระพุทธศาสนาที่ชาวลาดักคห์ถือปฏิบัติจะเป็นเรื่องของพิธีกรรมมากกว่า แต่ก็มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนส่วนมาก

        โดยธรรมชาติแล้วชาวลาดักคห์เป็นคนซื่อสัตย์ มีเมตตา สุภาพอ่อนโยน และมีมิตรไมตรี มหาบัณฑิตราหุล สันกฤตยายัน นักวิชาการและนักสำรวจที่ยิ่งใหญ่ชาวพุทธ ได้เดินทางไปเยี่ยมลาดักคห์ในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม พุทธศักราช 2476 เขาก็ได้รับความยินดีอย่างท่วมท้นเหลือคณนา เพราะความสุภาพอ่อนโยนและความเมตตาในการต้อนรับในขณะที่พักอยู่ที่เลห์ ต่อมามหาบัณฑิตราหุลได้เขียนหนังสือเล่มเล็กๆ ขึ้น 3 เล่มเป็นภาษาทิเบต เพื่อประโยชน์ของเด็กๆ ชาวลาดักคห์ เป็นการบรรยายถึงการเดินทางจาริกแสวงบุญสู่ลาดักคห์ในชื่อว่า “เมริ ลาดักคห์ ยาตรา” ได้พูดถึงความเลื่อมใสศรัทธาที่ชาวลาดักคห์มีต่อพระพุทธศาสนาไว้อย่างสูงส่ง
        มิเชล พิสเซล นักวิชาการชาวฝรั่งเศส ผู้ที่ใช้เวลาถึงสองสัปดาห์ในซาสการ์ในปีพุทธศักราช 2521  กล่าวถึงสภาวะแห่งความอดทน,ความเมตตา,ความกรุณาอันสูงส่งของประชาชนชาวลาดักคห์ไว้ว่า “นับเป็นความลี้ลับมหัศจรรย์ และความชอบธรรมด้วย ที่ได้มีความสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนาในทิเบต แม้จะเป็นเพียงความจริงในทางพิธีกรรมเท่านั้น โดยทั่วไปชาวพุทธในหิมาลัยได้รักษาลักษณะคำสอนของพระพุทธศาสนาไว้ในสภาพเดิมมากที่สุด รวมทั้งความอดทน,ความเมตตาและการใช้ทางสายกลาง มีวิธีการเขียนและพูดถึงศาสนาแห่งโลกในเรื่องของศาสนาแบบดั้งเดิม และพิธีกรรมให้มากไว้ แต่พูดถึงการแผ่ซ่านไปยังคนทั่วไปอย่างที่เป็นอยู่จริงนั้นเพียงเล็กน้อย”
        แน่นอนทีเดียวย่อมมีความแตกต่างที่ควรพิจารณาระหว่างทฤษฎีและการปฏิบัติเสมอ ในขณะที่หลักทฤษฎีของลัทธิลามะมีความสลับซับซ้อนมาก มีข้อเท็จจริงที่กระจายอยู่ตามวรรณกรรม มีเทพเจ้าเป็นร้อยองค์พันองค์และพิธีกรรมที่พิศดารอีกมากมาย แต่หลักแห่งขันติธรรม,ความเมตตากรุณา พวกเขาก็ยังนำมาปฏิบัติโดยทั่วไป นับเป็นเครื่องเตือนสติที่ยิ่งใหญ่ ที่จะเห็นพลเมืองแห่งหิมาลัยที่สับสนวุ่นวายทางธรรมชาติ ผู้ซึ่งปกป้องประเทศโดยธรรมชาติและมีจิตใจที่แข็งกระด้าง ได้ลดความรุนแรงลง ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้พวกเขากลายเป็นผู้มีความอดทนและเมตตา แม้แต่ต่อผู้ที่มีความเห็นขัดแย้ง,สัตว์,แมลงที่มาเผชิญหน้า”


 

 

ลาหุล,สปิติและคินนาอูระ

        หุบเขาลาหุลและสปิติในหิมาจัลประเทศมีความสูง 10,000-16,000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล แยกจากหุบเขากุลุที่ด่านโรหตังที่มีชื่อเสียง ที่รู้จักกันดีว่าเป็นด่านมรณะ หุบเขาลาหุลทอดยาวผ่านด่านโรหตังไปทางทิศเหนือกอปรด้วยแม่น้ำจันทราและแม่น้ำภคะต่อมาได้เชื่อมกับเชนาบในพื้นที่ 2,200 ตารางไมล์ ความสูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ยประมาณ 12,000 ฟุต สปิติทอดยาวไปทางตะวันออกของกุลุ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทางด่านโรหตังมีพื้นที่ 2,931 ตารางไมล์ สปิติ ชาวพื้นเมืองเรียกว่าปีติ ภาษาทิเบตหมายถึงจังหวัดที่อยู่ในท่ามกลาง มีชายแดนติดต่อกับสามประเทศคือลาดักคห์,ทิเบตและบูซาหาร์ (รามปุระ) หุบเขาคินนาอูระทอดยาวไปตามฝั่งแม่น้ำสุตเลจ ส่วนที่สูงที่สุดอยู่ติดชายแดนทิเบต
        อาจกล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาได้เข้าสู่ลาหุลและสปิติประมาณพุทธศตวรรษที่ 5 แม้ว่าความจริงจะได้รับการเผยแผ่เข้าสู่ดินแดนในหุบเขาหิมาลัยประมาณพุทธศตวรรษที่ 2 โดยนักเผยแผ่ศาสนามีพระมัชฌิมะเป็นประธาน โดยการมอบหมายของพระเจ้าอโศก เพื่อเปลี่ยนให้ชาวหิมาลัยหันมานับถือพระพุทธศาสนาตามโครงการธรรมวิจัยของพระองค์ ความเกี่ยวพันในทางศาสนาของพวกเขามีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับปัทมสัมภวะมากกว่า เมื่อท่านได้เดินทางมาพักที่หุบเขาแห่งนี้ช่วงหนึ่งระหว่างการเดินทางไปทิเบตในปีพุทธศักราช 1290-1291 นักการศาสนาที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในพื้นที่ส่วนนี้คือท่านรินเชนซางโป (ราธภัทร์) (พ.ศ. 1501-1598) กล่าวกันว่าท่านเกิดที่สุมระในคินนาอุระ วัดโบราณในพื้นที่ส่วนนี้ต้องรอจนถึงพุทธศตวรรษที่ 16 เชื่อกันว่าท่านเป็นผู้สร้าง
        พระพุทธศาสนาในลาหุล,สปิติและคินนาอูระ ถือปฏิบัติตามทิเบต พระภิกษุเรียกว่าลามะเหมือนกัน เพราะความใกล้ชิดกับทิเบตนั่นเอง ผลกระทบทางจากวัฒนธรรมจากทิเบตได้ไหลบ่ามาสู่ประเทศเหล่านี้ด้วย มีสิ่งที่สังเกตเห็นได้หลายอย่างเช่น วิหาร,กอมปา,วัดต่างๆ มีชื่อเป็นภาษาทิเบต วิหารใหญ่ๆในแต่ละวัดก็ถูกเรียกว่าลาขาง และพระพุทธรูป,พระโพธิสัตว์และเทพเจ้าอื่นๆ ที่ได้รับการสถาปนาในที่นี้ด้วย วัดแต่ละแห่งมีห้องโถงใหญ่เพื่อใช้ในการสอนเรียกว่าทูขาง  หมายถึงห้องประชุม วัดหลายแห่งมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงาม เป็นภาพเหตุการณ์ที่พรรณามาจากชาดกและพุทธประวัติ ที่ทางเข้าหมู่บ้านแทบทุกแห่ง มักจะได้ยินเสียงร้องรำทำเพลงเสมอ รูปจำลองสถูปโบราณ การสร้างโชร์เต็นเหล่านี้ ได้รับการพิจารณาว่าเป็นการทำบุญ (จากจำนวนของโชร์เต็น)

  

        ดังนั้นโชร์เต็นจึงมีจำนวนมาก และสามารถมองเห็นได้ในที่แทบทุกแห่งทั้งในคินนอุระ,ลาหุลและสปิติ มีมนตร์มหายานที่มีชื่อเสียงบทหนึ่งคือ “โอม มณี ปัทเม ฮูม” (ขอให้พวกเราเป็นเจ้าของดอกบัววัชระ) ชาวพุทธเชื่อว่ามนตร์บทนี้จะเป็นผู้ช่วยเหลือให้พ้นจากอันตรายทั้งปวง และเกือบทุกแห่งจะได้ยินเสียงสวดมนตร์โดยผู้ที่เลื่อมใสศรัทธา ไม่เพียงแต่เท่านั้น ยังได้รับการเขียนบนแผ่นผ้าหรือเขียนจารึกไว้บนแผ่นหิน และนำไปไว้ในสถานที่ที่คนส่วนมากสามารถมองเห็นและอ่านออกเสียงได้ เช่นอนุสาวรีย์ที่เรียกว่า “ผนังมณี”และมองเห็นได้ในแทบทุกแห่งใกล้หมู่บ้าน,บนทางผ่าน(ด่าน),ใกล้ป้อมปราการและฝั่งแม่น้ำ
        ในปัจจุบันมีวัดประมาณ 30 แห่งในลาหุล,สปิติและคินนาอุระ วัดที่สำคัญของลาหุลอยู่ที่คเยลาง,การดัง,กุรมรัง,เคมุร,โฉลิง,ซาซิน และตุบชิลิง วัดที่สำคัญในสปิติอยู่ที่ ดหันการ์, คุนกรี,ฮันสา,กิ,กิบาร์,โลซาร์และตาโบ และในคินนาอุระอยู่ที่ ซินี,กานุม,ลิปา, นาโกและปู  ในวัดบางแห่งมักจะมีชาร์เปล(ห้องสวดมนตร์)หลังเล็กเป็นส่วนสำคัญ
        ในหิมาจัลประเทศ นิกายการกยุดปะและนิกายเกลุกปะได้รับความนิยมมาก มีวัดในหลายนิกายกระจายอยู่ตามส่วนต่างๆทั้งในลาหุล,สปิติและคินนาอุระ นิกายการยุดปะดุกปะประมาณ 40 วัด (ลาหุล 28 วัดและคินนาอุระ 12 วัด) นิกายเกลุกปะ 37 แห่ง (ในลาหุล 1 แห่ง,สปิติ 21 แห่งและคินนาอุระ 15 แห่ง) นิกายนยิงมาปะ 12 แห่ง (สปิติ 7 แห่งและคินนาอุระ 5 แห่ง) และนิกายศากยะปะ 2 แห่ง (อยู่ในสปิติ) ในปีพุทธศักราช 2524 ประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนามีอยู่ประมาณ 52,629 คน ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของประชากรในลาหุล,สปิติและคินนาอุระ

สิกขิม

        สิกขิมรู้จักกันดีว่าเดนซง(ประเทศแห่งนาข้าว) เป็นรัฐที่ชวนให้หลงไหลมากที่สุดแห่งหนึ่ง ณ บริเวณเทือกเขาหิมาลัย สิกขิมเป็นพื้นที่ลาดเอียงทอดยาวไปทางตอนใต้ของภูเขาหิมาลัยระหว่างทิศตะวันตกและทิศตะวันออกอย่างละครึ่ง ทิศเหนือมีชายแดนติดกับทิเบต  ทิศตะวันออกติดภูฐาน และทางทิศตะวันตกติดเนปาล จากคังโตกเมืองหลวงของสิกขิม ทางรถไฟที่ใกล้ที่สุดคือศิลิคีรีและนิวจัลไพคุรี มีระยะทางประมาณ 114 กิโลเมตรและ 25 กิโลเมตร  คังโตกมีถนนเชื่อมต่อกับดาร์จิลิงและกาลิมปง

 

        ปัจจุบันประชากรชาวสิกขิมประกอบด้วยชนชาติที่แตกต่างกันสามกลุ่มคือเลปชา,โพธิยะและเนปาลี  ชาวเลปชาคือกลุ่มชนที่อาศัยมาแต่ดั้งเดิม ส่วนเนปาลีและโพธิยะอพยพมาจากทิเบต,ภูฐานและเนปาล ตามประวัติศาสตร์ของเลปชาในยุคแรกๆ ที่เปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนาโดยนักเผยแผ่ศาสนาในปีพุทธศักราช 2183 ซึ่งไม่มีบันทึกไว้ชัดเจนนัก สิกขิมได้แยกเป็นอิสระทางการเมืองและการปกครองในปีพุทธศักราช 2185 เมื่อลามะ 3 ท่านคือกยัลวา ลัสตซัน เฉมโป, เซมปะ เชมโป เฉมโป และริคชิม เฉมโปแห่งนิกายนยิงมาปะจากทิเบต ได้สถาปนาผุนโซก นัมกยัลขึ้นเป็นกษัตริย์เผ่าโพธิยะ(พ.ศ. 2147-2213) ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งเลปชาด้วยตำแหน่งโชกยัล(ผู้ปกครองผู้ประกอบด้วยธรรม) ที่ยักสัมในสิกขิมตะวันตก  หลังจากนั้นได้มีคลื่นผู้อพยพจำนวนมากมาจากทิเบตและภูฐาน ลามะจากทิเบตทั้งสามท่านนั้น ได้รับความเชื่อถือให้เป็นผู้วางรากฐานในการก่อสร้างวัดทางพระพุทธศาสนาครั้งแรกขึ้นในสิกขิม และได้เปลี่ยนศาสนาบอนเป็นพุทธศาสนา ราชวงศ์นัมกยัลได้ปกครองสิกขิมอยู่ 333 ปี จนกระทั่งถึงปีพุทธศักราช 2518 เมื่อสิกขิมได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย
        ผุนโซก นัมกยัลสืบสันติวงศ์ต่อมาโดยพระราชโอรสคือเทนซัง นัมกยัลในปีพุทธศักราช  2213 ไม่นานนักหลังจากที่ได้ครองราชสมบัติ พระองค์ก็ย้ายเมืองหลวงจากจากยักสัมในสิกขิมตะวันตกมาที่รับเดนเซ ซึ่งอยู่ในสิกขิมตะวันตกเหมือนกัน เมื่อเทนซัง นัมกยัลสิ้นพระชนม์ในปีพุทธศักราช 2243 ราชโอรสคือซักโดร์ นัมกยัลได้ครองราชย์ต่อ ซักโดร์เป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ด้วยการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ปรับปรุง ซ่อมแซมและสร้างวัดขึ้นเป็นจำนวนมาก วัดที่สำคัญที่พระองค์ได้สร้างขึ้นคือวัดเปมยังเซ สร้างในปีพุทธศักราช 2258 และวัดตาซิดิง ลามะผู้ทรงความรู้มากที่สุดในเวลานั้นคือจิกมี ปาโวแห่งวัดลาบรัง ภายใต้การให้คำแนะนำของจิกมี ปาโว ซักโดร์ยังได้คิดประดิษฐ์อักษรภาษาเลปซาขึ้น จิกมี ปาโวยังได้รวบรวมเรียบเรียงพงศาวดารสิกขิมขึ้นครั้งแรก รู้จักกันแพร่หลายในชื่อว่าบรัส ลโจงส์ รกยัล รับส์ 

 

        กษัตริย์ที่ปกครองสิกขิมองค์ต่อมาคือกยรุมิ นัมกยัล (พ.ศ. 2250-2276) ได้สร้างวัดการมาปะขึ้นครั้งแรกที่สิกขิม ที่ราลังในปีพุทธศักราช  2273 หลังจากนั้นมาก็มีวัดการมาปะอีกมากมายเช่น โผดัง และรุมเตกในสิกขิมสร้างในปีพุทธศักราช  2283 โชคยัลมีกษัตริย์ที่ปกครองต่อมานามว่านัมกยัล ผุนโซก นัมกยัล (พ.ศ.2276-2323) ในช่วงที่พระองค์ปกครองนั้น สิกขิมได้ล่มสลายลงในเวลาอันรวดเร็ว เพราะภูฐานเข้าโจมตีสิกขิมในปีพุทธศักราช 2313 และได้ยึดครองดินแดนทางตะวันออกฝั่งแม่น้ำติสสะ เนปาลก็เข้ารุกรานสิกขิมในปีพุทธศักราช  2317-18 และเข้ายึดครองอาณาเขตทางตะวันตกเทือกเขาสินคลี การที่เนปาลเข้ารุกรานสิกขิมได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากครั้งแล้วครั้งเล่า ชาวเนปาลก็ได้เริ่มตั้งหลักแหล่งในทางตอนใต้ของสิกขิม ปัจจุบันชาวเนปาลได้กลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ของสิกขิม ส่วนชาวเลปชาและโพธิยะ ชนพื้นเมืองดั้งเดิมของสิกขิม  ปัจจุบันได้กลายเป็นชนกลุ่มน้อยในแผ่นดินเกิดของตัวเอง
        เพราะสภาพแวดล้อมบังคับ รัฐบาลสิกขิมจึงหันไปขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลอังกฤษในอินเดีย เพื่อป้องกันการรุกรานของโครขัสแห่งเนปาล โดยเฉพาะโชคยัลแห่งสิกขิมซุกผุ นัมกยัล(พ.ศ. 2328-2406)  ได้เสนอดาร์จีลิงและกลิมปงให้รัฐบาลอังกฤษในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2378 และในปีพุทธราช  2384 อังกฤษเงินช่วยเหลือจำนวน 3,000 รูปีต่อปีเพื่อเป็นการตอบแทนต่อสิกขิม ในปี พ.ศ 2389 เพิ่มขึ้นเป็น 6,000 รูปี  และในปีพ.ศ 2404 สิกขิมก็ได้กลายเป็นประเทศอาณานิคมของรับบาลอังกฤษในอินเดีย ในสนธิสัญญาที่ลงนามโดยสิทกยง ตุลกู และเมื่อโชคยัลแห่งสิกขิม วันที่ 28 มีนาคม  พ.ศ. 2404 สิกขิมก็ตกลงให้รัฐบาลอินเดียสร้างถนนผ่านสิกขิมไปยังชายแดนทิเบต และยังย้ายที่ตั้งรัฐบาล (เมืองหลวง) จากตุมลองทางตอนเหลือของสิกขิม (ที่ถูกย้ายในปี พ.ศ.  2457 เคยเป็นเมืองหลวงในยุคแรกๆของสิกขิมคือลาเบนเซ ซึ่งอยู่ติดชายแดนเนปาลมากเกินไป) ไปที่ คังโตกในสิกขิมตะวันออก ในสนธิสัญญายังยินยอมให้มีการติดต่ออย่างเสรีระหว่างข้าราชการ (ข้าราชการของอังกฤษในอินเดียและสิกขิม) และยอมให้รัฐบาลอินเดียสำรวจประเทศ จากนั้นเป็นต้นมา รัฐบาลอังกฤษก็ได้ปฏิบัติต่อสิกขิมเหมือนกับที่ปฏิบัติกับอินเดีย

 

 

        เมื่ออินเดียได้รับเอกราชในปีพุทธศักราช 2490 และการรวมตัวกันของรัฐใหญ่ๆ ทั้งหลายที่อยู่ในอินเดีย ความเปลี่ยนแปลงต่างๆก็เกิดให้ในสิกขิมเหมือนกัน ประชาชนเชื้อสายเนปาล ส่วนมากเป็นชาวฮินดู ที่เป็นประชากรส่วนมากของประเทศ ก็เรียกร้องให้มีการบริหารในระบบประชาธิปไตย ในการตื่นตัวทางการเมืองที่ยุ่งยากสับสนนี้ รัฐบาลอินเดียจึงส่งกำลังเข้าสู่สิกขิมในวันที่ 14 พฤษภาคม 2518 เพราะเหตุนี้สถาบันโชคยัลจึงได้ถูกล้มล้างให้ยกเลิกไปด้วย โชคยัลองค์สุดท้ายแห่งสิกขิมคือปัลเด็น โธนดุป นัมกยัล สิ้นชีวิตด้วยโรคหัวใจล้มเหลวที่นิวยอร์คในปีพุทธศักราช 2525
        ในสิกขิมมีวัดพุทธศาสนาหรือกอมปาประมาณ 70 แห่ง วัดที่สำคัญๆ คือเปมยังเซ,ตาซิดิงและรุมเต็ก วัดอื่นๆ ที่สำคัญคือ เอ็นเช(อยู่ที่คังโตก) เผนซัง,เผดง, โธลัง (อยู่ในสิกขิมเหนือ) ราลง,ซังซอยลิง,ขาโชด ปัลริ,ดับดี, สีโนน (อยู่ในสิกขิมตะวันตก) พระพุทธศาสนาจากทิเบตทั้งสี่นิกายนั้นมีเพียงสองนิกายเท่านั้นที่ชาวสิกขิมนับถือคือนยิงมาปะและการกยุดปะ ในปีพุทธศักราช 2524 มีประชานชาวสิกขิมที่เป็นชาวพุทธจำนวน 90,848 คน จากจำนวนประชากรทั้ง 316,385 คน

 

อรุนาจัลประเทศ

        อรุนาจัลประเทศ (แผ่นดินแห่งพระอาทิตย์อุทัย) ในยุคแรกๆมักจะรู้จักกันในนามว่าเป็นองค์กรพิทักษ์ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะมีชายแดนติดกับทิเบตและจีนทางตอนเหนือ ทิศตะวันตกติดภูฐาน ทิศตะวันออกติดพม่า ทางทิศใต้ติดหุบเขาพรหมบุตรของอัสสัม  อรุนาจัลประเทศมีพื้นที่ประมาณ 18,426 ตารางกิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเขาประมาณ 30 เผ่า และยังแบ่งเป็นเผ่าเล็กเผ่าน้อยอีกมากมาย หมู่ชนที่นับถือพระพุทธศาสนาอยู่ที่มนปัสและเซอร์ดุกปัสแห่งเมืองกาเม็ง, ขัมปติสและสิงหบสแห่งเมืองโลหิต และบางส่วนอยู่ที่ตอนกัสแห่งเมืองไตรัป

 

        พระพุทธศาสนาเข้าสู่อรุนาจัลประเทศโดยปัทมสัมภวะนักบุญผู้ยิ่งใหญ่แห่งอินเดีย (ประมาณพ.ศ. 1260-1305) ผู้ที่ได้รับความเคารพในฐานะคุรุ,รินโปเซ ผู้ยิ่งใหญ่ในทิเบต  อย่างไรก็ตามเป็นการติดต่อสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องระหว่างอรุนาจัลประเทศ(โดยเฉพาะอย่างยิ่งตวัง)และทิเบต มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าการมาปะนักเผยแผ่ศาสนาจากทิเบตได้เดินทางมาเยี่ยมบริเวณเมืองตวังในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 17-18 และได้สร้างวัดขึ้นในที่นี้ บุคคลที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในกลุ่มนักเผยแผ่เหล่านั้นคือรังจุง โดร์จี(พ.ศ. 1652-1735)ได้ก่อตั้งนิกายการมาปะซึ่งแตกออกมาจากนิกายการกยุดปะ จากทิเบต กล่าวกันว่าท่านได้สร้างวัดขึ้นที่โดมซัง, คารัม(จังดา),จังและบันคาจันคา ในเมืองตวัง ลามะแห่งนิกายนยิงมาปะที่มีชื่อเสียงหลายรูปได้เดินทางจาริกมาที่อรุนาจัลประเทศในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18-19 และเผยพุทธธรรมที่ส่วนนี้

        ในพุทธศตวรรษที่ 22 ทะไลลามะองค์ที่ 5 ได้ช่วยเหลือให้การสนับสนุนพระพุทธศาสนาในอรุนาจัลประเทศอีกด้วย กล่าวกันว่าพระองค์ได้บริจาคตังกา (ภาพเขียนบนแผ่นผ้า)แก่วัดตวังที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งสร้างขึ้นในยุคสมัยของพระองค์และสำเร็จบริบูรณ์ในปีพุทธศักราช 2223 วัดที่สำคัญๆอีก 2 แห่งในอรุนาจัลประเทศคือไดรางและดโฮง พุทธศาสนิกชนในอรุนาจัลประเทศมีจำนวน 86,483 คน จากจำนวนประชากรทั้งประเทศ 631,839 คน คิดเป็น 13.69 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด

 

 

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
แปลจาก D.C. Ahir, Buddhism in Modern India, Sri Satguru Publications,Delhi,1991. (บทที่ 3)

14/05/55

 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก