ไซเบอร์วนาราม.เน็ต

เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนา อารามหนึ่งบนโลกไซเบอร์

laithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithailaithai



บทวิเคระห์มิลินทปัญหา
              มิลินทปัญหาไม่ปรากฏว่าผู้ใดแต่งไว้ แต่เป็นปกรณ์ที่เก่าแก่ เชื่อกันว่าแต่งขึ้นประมาณพุทธศักราช 500 ดังที่ปรากฎตามพระติปิฏกจุฬาภัย เป็นผู้รจนา มธุรัตถปกาสินี ฎีกาแห่งมิลินทปัญหา ส่วนพระพุทธโฆษาจารย์ แต่งนิทานกถา และนิคมคาถา มิลินทปัญหา ฉบับหอสมุดแห่งชาติ พระนิพนธ์ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่าพระปิฎกจุฬาภัยเป็นผู้รจนา
 มีนักปราชญ์บางท่านอ้างว่ามิลินทปัญหาต้นฉบับเดิมเป็นภาษาสันสกฤต แต่ได้แปลงเป็นบาลีในภายหลังดังคำว่า “เมื่อประมาณ พ.ศ. 500 ได้มีการกล่าวถึงวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่องหนึ่งคือมิลินทปัญหา ซึ่งต้นฉบับเป็นภาษาสันสกฤต แต่งในอินเดียภาคเหนือ  ต่อมาลังกาได้แปลงต้นฉบับเดิมเป็นภาษาบาลี  (พัฒน์  เพ็งผลา,ประวัติวรรณคดีบาลี, กรุงเทพฯ:รามคำแหง,2541, หน้า 103) แต่ไม่ได้ระบุไว้ว่าใครเป็นคนแปลงเป็นบาลี
              พระอานันท์  เกาศัลยายนะเถระ  ชาวอินเดีย กล่าวว่ามิลินทปัญหารวบรวมขึ้นโดยพระนาคเสนมหาเถระ เป็นคัมภีร์ที่มีหลักฐานดีเล่มหนึ่ง คงรจจนาขึ้นในสมัยพระเจ้าเมนันเดอร์หรือหลังจากนั้น แต่ต้องแต่งขึ้นก่อนสมัยพระพุทธโฆษาจารย์  เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในช่วง พ.ศ. 392   ทางตอนเหนือของแม่นํ้าคงคา   ระหว่างพระเจ้ามิลินท์ผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก   เป็นผู้ตั้งปัญหาธรรมะที่ยากจะตอบได้ และมีพระนาคเสนผู้รอบรู้ในสภาวะธรรมเป็นผู้เฉลยปัญหาโดยอาศัยธรรมชาติรอบตัวมาเปรียบเทียบให้ฟังได้อย่างแจ่มแจ้ง  มีนักปราชญ์หลายท่านเสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องมิลินทปัญหาเช่น 
              ออนเนอร์อ้างว่าแต่งขึ้นในแคชเมียร์ประมาณพ.ศ.300-400
              ริส เดวิดส์  บอกว่า แต่งขึ้นที่อินเดียตอนเหนือ (ปัญจาป)  รจนาขึ้นหลังกถาวัตถุ (โมคคัลลีติสสะ) ประมาณ พ.ศ. 235  เมื่อประมวลจากสถานที่สำคัญ และแม่น้ำสำคัญที่กล่าวถึงในคัมภีร์แล้ว จึงสรุปว่า ผู้รจนาคัมภีร์นี้อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียหรือรัฐปัญจาปในปัจจุบัน   รจนาขึ้นหลังกถาวัตถุ เพราะมีข้อความหลายตอนมาจากคัมภีร์กถาวัตถุ เช่นปัญหาเรื่องทิพยจักษุเป็นได้จริงหรือไม่ เรื่องคฤหัสถ์ที่บรรลุพระอรหัตแล้วจะบวชด้วยวิธีอย่างไร  
              มิลินทปัญหาได้รับความนิยมในหมู่ผู้ศึกษาพระพุทธศาสนามาก จนมีผู้แปลเป็นภาษาต่างหลายสำนวนเช่น 
                            พุทธศักราช  2290 พระหีนฏกุมพุเรสุมังคลเถระ แปลเป็นภาษาสิงหล
                            พุทธศักราช 2433  ริส เดวิดส์ แปลเป็นอังกฤษ
                            พุทธศักราช 2448  เอ็ฟ อ็อตโต ชราเดอร์  แปลเป็นเยอรมัน แต่แปลไม่จบ
                            พุทธศักราช 2462   พระญาณติโลก (เยอรมัน) แปลต่อจนจบ
                            พุทธศักราช  2466   หลุยส์  ฟีโนต์  แปลเป็นภาษาฝรั่เศส
                            พุทธศักราช 2467   ปอล เดอมีวิลล์  แปลเป็นฝรั่เศสจากภาษาจีน
                            พุทธศักราช 2504   นางสาวไอ.บี.ออนเนอร์  แปลเป็นอังกฤษ อีวานอฟสกี  แปลเป็นรัสเซีย โซเงน  ยามากามิ  แปลเป็นญี่ปุ่น
              ในประเทศไทยมิลินทปัญหาได้รับการเผยแพร่ครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชานี แต่มีเนื้อหายังไม่สมบูรณ์นัก  ต่อมาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 กรมศิลปากรได้รวบรวมและจัดพิมพ์ขึ้น ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มหามกุฏราชวิทยาลัยได้แปลจนจบเรียกว่าฉบับแปลของมหามกุฏราชวิทยาลัย  ในปีพุทธศักราช 2483 ยิ้ม  ปัณฑยางกูร ได้จัดพิมพ์ ปัญหาพระยามิลินท์ขึ้นเผยแผ่  ตั้งแต่นั้นมาก็มีผู้จัดพิมพ์หนังสือมิลินทปัญหาขึ้นอีกหลายสำนวน จนกลายเป็นที่แพร่หลายในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีเผยแพร่ทางเว็ปไชด์ต่างๆ อีกมากมาย  สำนวนก็แตกต่างกันออกไป บางฉบับต่อเติมในส่วนของประวัติพระนาคเสนเสียจนเลิศลอย เกินความเป็นจริงไปบ้าง เช่นพระอรหันต์ประชุมกันจำนวน 100 โกฏิเป็นต้น ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้พระอรหันต์ที่ไหนจะมีมากขนาดนั้น แต่ในส่วนของเนื้อหาออกมาคล้ายๆกัน และเราสามารถตรวจสอบได้จากพระไตรปิฎก หากผิดหลักธรรมก็ต้องพิจารณาต่อไป

 

สรุป
              พระนาคเสนเถระที่ปรากฏในมิลินทปัญหานี้  ไม่มีหลักฐานยืนยันไว้ว่ามีพระเถระชื่อนี้อยู่จริงๆ ในยุคสมัยนั้น แต่พระเจ้าเมนันเดอร์หรือพระยามิลินท์มีหลักฐานปรากฏ มีเหรียญเป็นรูปพระเจ้าเมนันเดอร์ที่จารึกอักษรไว้ว่า “Basileus  Soteros Menandros” ค้นพบในที่ต่างๆ 22 แห่งในลุ่มแม่น้ำกาบูลและสินธ์ และในบริเวณภาคตะวันตกของมณฑลอุตตรประเทศ   ต่อมาพระยามิลินท์ยังได้สร้างวิหารชื่อ “มิลินทวิหาร” ถวายพระนาคเสน ภายหลังผนวชเป็นภิกษุ และบรรลุพระอรหันต์ ที่เหรียญตราของพระองค์ยังมีตราธรรมจักรด้วย  (คณะกรรมการแผนกตำรา มหามกุฏราชวิทยาลัย,มิลินทปัญหา : ฉบับแปลในมหามกุฏราชวิทยาลัย,กรุงเทพ ฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย,2543, หน้า 528) 
              อย่างไรก็ตามพระนาคเสนเถระ จะมีตัวตนหรือไม่ มิใช่ประเด็นปัญหาเพราะมิลินทปัญหาได้ให้ความรู้ทางด้านศาสนาแก่ผู้ศึกษาอย่างดีเยี่ยม และกษัตริย์กรีกอย่างพระยามิลินท์ยอมนับถือพระพุทธศาสนาก็เพราะได้สนทนาธรรมกับพระนาคเสน น่าจะเป็นที่น่าศึกษาว่า การที่กษัตริย์ผู้เชี่ยวชาญปรัชญากรีกต้องมายอมรับพระพุทธศาสนานั้น พุทธศาสตร์และปรัชญาน่าจะไปด้วยกันได้ไม่ขัดแย้งกัน  
              รูปแบบการนำเสนอมิลินทปัญหามีส่วนคล้ายกับการนำเสนอปรัชญาของโสเครตีสเช่นไครโต เฟรโด เป็นต้น คือเป็นการสนทนาโต้ตอบกัน ไม่ใช่การนำเสนอในรูปแบบของการแสดงธรรมซึ่งแสดงคนเดียว ไม่มีโอกาสให้ซักถาม แต่ในมิลนทปัญหา มีการโต้ตอบ ซักถาม ยกอุปมาอุปไมยเป็นการเปรียเทียบในปัญหาบางอย่างที่ไม่อาจหาตัวอย่างทางรูปธรรมได้ 
              พระยามิลินท์เป็นกษัตริย์เชื้อสายกรีกและชำนาญเชี่ยวชาญในศิลปะสิบแปดแขนง ย่อมเป็นผู้ทรงภูมิปัญญา ที่สำคัญได้ใช้หลักการของตรรกศาสตร์ที่ว่าด้วยการใช้เหตุผลมาใช้ในการสนทนา ถ้าคนที่ไม่เคยศึกษาตรรกศาสตร์มาก่อนย่อมไม่อาจจะแก้ปัญหาทางตรรกะได้ แต่พระนาคเสนน่าจะเคยศึกษาตรรกมาอย่างชำนาญ จึงตอบปัญหาของพระยามิลินท์ได้
              มิลินทปัญหาเป็นตัวอย่างของการเผยแผ่พระพุทธศาสนากับคนต่างชาติต่างศาสนาได้เป้นอย่างดี เมื่อเราเข้าไปอยู่ในสังคมใด ก็ย่อมจะต้องศึกษาความเป็นอยู่ พื้นเพทางลัทธิปรัชญาความเชื่อเก่าของคนในสังคมนั้นให้เข้าใจ แล้วจึงนำเสนอหลักการของพระพุทธศาสนา เพื่อให้เขาพิจารณา ไม่ใช่ไปบังคับให้เขาศรัทธา พระพุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาแห่งความใจกว้าง ใครจะนับถือหรือไม่ ไม่ได้บังคับ แต่ถ้าสนใจต้องศึกษาเรียนรู้ จากนั้นจึงนับถือ ดังกรณีของพระยามิลินท์ที่ไม่นับถือพระพุทธศาสนามาก่อน แต่ภายหลังเมื่อได้ศึกษาโดยการสนทนากับพระนาคเสนจึงหันมานับถือพระพุทธศาสนา พระนาคเสนจึงเป็นเสมือนตัวแทนแห่งการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่กำลังตกต่ำเพราะต้องแข่งขันกับศาสตร์สมัยใหม่ให้พลิกฟื้นคืนมามีพลังต่อมวลมหาชนอีกครั้ง ปัจจุบันยิ่งมีศาสตร์ใหม่ๆมากขึ้น พระพุทธศาสนาก็ต้องถูกท้าทายจากศาสตร์เหล่านั้น หากภูมิคุ้มกันไม่แน่นหนาพออาจจะต้องถูกกลืนหายไปพร้อมกับความเจริญของโลกยุคใหม่ก็ได้
 

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
เรียบเรียง
22/09/53

ภาพประกอบ:พระมหาสมศรี ปญฺญาสิริ
ผศ.ดร.ธวัช หอมทวนลม

 

   
บรรณานุกรม

คณะกรรมการแผนกตำรา มหามกุฏราชวิทยาลัย.มิลินทปัญหา : ฉบับแปลในมหามกุฏราชวิทยาลัย.กรุงเทพ ฯ: 
              มหามกุฏราชวิทยาลัย,2543.
พัฒน์  เพ็งผลา.ประวัติวรรณคดีบาลี. กรุงเทพฯ:รามคำแหง,2541.
พระราชธรรมนิเทศ(ระแบบ ฐิตญาโณ)เ.ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา.กรุงเทพฯ:  มหามกุฏราชวิทยาลัย,2542.  
พระมหาดาวสยาม  วชิรปญฺโญ. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย.กรุงเทพฯ:พิมพ์สวย,2546.
วศิน  อิทสระ.อธิบายมิลินทปัญหา. กรุงเทพ ฯ:  สำนักพิมพ์บรรณาคาร,2528.
เสถียร  โพธินันทะ.ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา.กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย,2541.
อภิชัย  โพธิประสิทธ์ศาสต์.พระพุทธศาสนามหายาน.กรุงเทพ ฯ: สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย,2534.
www.geocities.com/sakyaputto/mbuddhism1.htm

 


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

กองธรรมสนามหลวง

กองบาลีสนามหลวง

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กรมการศาสนา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บัณฑิตวิทยาลัย  มมร

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ(ธ)

เว็บไชต์นักศึกษาปริญญาเอก สาขาพุทธศาสน์ศึกษา มมร

 

วัดไทย

เว็บวัดในประเทศไทย

วัดไทยในต่างประเทศ

คณะสงฆ์ธรรมยุตUSA

 วัดป่าธรรมชาติ LA

พระคุ้มครอง

วัดธรรมยุตทั่วโลก

 

ส่วนราชการในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ส่วนราชการในประเทศไทย

กระทรวงในประเทศไทย

 

หนังสือพิมพ์ไทย

ไทยรัฐ
เดลินิวส์
มติชน
ผู้จัดการ
กรุงเทพธุรกิจ
คม ชัด ลึก
บ้านเมือง
ข่าวสด
ฐานเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ
สยามกีฬา
แนวหน้า
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
สยามรัฐ
สยามธุรกิจ
บางกอกทูเดย์

 

ข่าวภาษาต่างประเทศ

ข่าว CNN

ข่าว BBC

Bangkok Post

The Nation

หนังสือพิมพภาษาต่างประเทศ

เมนูสมาชิก